ราชอาณาจักรคุช
ราชอาณาจักรคุช (อังกฤษ: Cush, Kush; อียิปต์โบราณ: 𓎡𓄿𓈙𓈉 kꜣš, อัสซีเรีย: Kûsi, ใน LXX กรีกโบราณ: Κυς Kus และ Κυσι[โปรดขยายความ] Kusi; คอปติก: ⲉϭⲱϣ Ecōš; ฮีบรู: כּוּשׁ Kūš) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คุช เป็นอาณาจักรโบราณในบริเวณนิวเบีย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งปัจจุบัน คือ ตอนเหนือของประเทศซูดานและตอนใต้ของประเทศอียิปต์
ราชอาณาจักรคุช | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ป. 1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ป. ค.ศ. 550[2] | |||||||||||||||||
ศูนย์กลางของคุช และราชอาณาจักรคุชแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3] | |||||||||||||||||
เมืองหลวง | เคอร์มา แนปาตา เมโรวี | ||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | เมโรวี อียิปต์[4] คูไชต์[5] นิวเบีย | ||||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาคุช[6] ลัทธิพหุเทวนิยมคุช ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยสัมฤทธิ์จนถึงปลายสมัยโบราณ | ||||||||||||||||
• สถาปนา | ป. 1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||||||||||
• ย้ายราชธานีไปยังเมโรวี | 591 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||||||||||||||
• ล่มสลาย | ป. ค.ศ. 550[2] | ||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||
• ช่วงเมโรวี[7] | 1,150,000 | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ซูดาน อียิปต์ |
ภูมิภาคนิวเบียเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมในยุคแรก ซึ่งก่อให้เกิดสังคมที่ซับซ้อนหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการค้าและอุตสาหกรรม[8] นครรัฐเคอร์มากลายเป็นฐานอำนาจทางการเมืองที่โดดเด่นในช่วงระหว่าง 2450 ถึง 1450 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยควบคุมพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ระหว่างแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่หนึ่งจนถึงที่สี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่พอ ๆ กับอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นคนกลุ่มแรกที่ระบุว่านครรัฐเคอร์มาเป็น "ชาวคุช" และในอีกหลายศตวรรษต่อมา อารยธรรมทั้งสองก็มีส่วนร่วมในสงคราม การค้า และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นระยะ ๆ[9]
นิวเบียส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอียิปต์ในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ (ระหว่าง 1550–1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการล่มสลายของอียิปต์ท่ามกลางในช่วงการล่มสลายปลายยุคสัมฤทธิ์ โดยชาวคุชได้สถาปนาราชอาณาจักรขึ้นใหม่ในแนปาตา (ปัจจุบันคือเมืองการิมา ประเทศซูดาน) แม้ว่าราชอาณาจักรคุชจะได้พัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมหลายอย่างกับอียิปต์ เช่น ความเลื่อมใสต่อเทพอามุน และราชวงศ์ของทั้งสองอาณาจักรบางครั้งก็อภิเษกสมรสระหว่างกัน แต่วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติของราชอณาจักรคุช นั้นแตกต่างกัน โดยศิลปะอียิปต์ทำให้ชาวคคุชมีความโดดเด่นด้วยการแต่งกาย รูปร่างหน้าตา และแม้กระทั่งวิธีการเดินทาง[8]
ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์คาชตา ("ชาวคุช") ได้ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์บนโดยไม่มีการต่อต้าน ในขณะที่พระนางอเมนอิร์ดิส ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสาวิกาผู้ศักดิ์สิทธ์แห่งอามุนในธีบส์[10] กษัตริย์ปิเย ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ได้ทรงรุกรานอียิปต์ล่าง โดยทรงสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า ซึ่งปกครองโดยชาวคุช เชปเอนอูเพตที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ปิเยก็ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นสาวิกาผู้ศักดิ์สิทธ์แห่งอามุนเช่นดัน กษัตริย์แห่งคุชทรงปกครองอียิปต์มานานกว่าหนึ่งศตวรรษจนกระทั่งชาวอัสซีเรียเข้ามาพิชิตอียิปต์ ในที่สุดก็กษัตริย์คุชก็ทรงถูกกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนและกษัตริย์อาชูร์บานิปัลแห่งอัสซีเรียทรงขับไล่ออกจากอียิปต์ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากสิ้นสุดอำนาจการปกครองเหนืออียิปต์แล้ว เมืองหลวงของจักรวรรดิคูไชต์ก็ตั้งอยู่ที่เมืองเมโรวี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวชาวกรีกรู้จักกันในนามของเอธิโอเปีย
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ทางตอนเหนือของนิวเบียได้ถูกรุกรานและถูกผนวกโดยอียิปต์ ซึ่งปกครองโดยผู้ปกครองชาวมาซิโดเนียและผู้ปกครองชาวโรมันเป็นเวลา 600 ปีจากนั้น ดินแดนบริเวณดังกล่าวจะเป็นที่รู้จักในโลกของกรีก-โรมันในนาม ดอเดคาสสคออินอส ต่อมาถูกปกครองโดยกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรคุชที่สี่พระนามว่า เยเซโบเคอามานิ ราชอาณาจักรแห่งชาวคุชยังคงเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคดังกล่าวจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อราชอาณาจักรคุชอ่อนแอและได้สลายตัวจากการก่อจลาจลภายในท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้ายลง และการรุกรานและพิชิตโดยชาวโนบา (นิวเบีย) ซึ่งภาษานิวเบียเข้ามาแทนที่จากภาษาเมโรวีดั้งเดิมและเรียกตนเองวว่า นิวเบีย แทนที่ชื่อเรียกที่ครั้งหนึ่งเคยเรียกว่า คุช เมืองเมโรวีได้ถูกยึดและปล้นสะดมโดยราชอาณาจักรอักซุม ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของราชอาณาจักรและการสลายตัวเป็นสามขั้วอำนาจการเมือง คือ ราชอาณาจักรโนบาเทีย, ราชอาณาจักรมาคูเรีย, และราชอาณาจักรอะโลเดีย หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่นาน ราชอาณาจักรอะโลเดียจะเข้าควบคุมดินแดนทางตอนใต้ของจักรวรรดิเมโรวีในอดีต รวมทั้งบางส่วนของราชอาณาจักรเอริเทรียด้วย[11]
การค้นพบทางโบราณคดีตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 กลับไม่เป็นที่สนใจโดยเพื่อนบ้านชาวอียิปต์ที่โดดเด่นกว่ามายาวนาน ซึ่งเผยให้เห็นว่าราชอาณาจักรคุชนั้นเป็นอารยธรรมขั้นสูงในสิทธิของตนเอง ชาวคุชมีภาษาและลายลักษณ์อักษรที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีการรักษาระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อนบนพื้นฐานของการค้าและอุตสาหกรรม ชาวคุชเชี่ยวชาญการยิงธนู และพัฒนาสังคมเมืองที่ซับซ้อนด้วยการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในระดับสูงโดยเฉพาะ[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ Török 1998, p. 2 (1997 ed.).
- ↑ Welsby 1996, p. [ต้องการเลขหน้า]
- ↑ "Dive beneath the pyramids of Sudan's black pharaohs". National Geographic (ภาษาอังกฤษ). 2 July 2019.
- ↑ Török 1998, p. 49 (1997 ed.).
- ↑ Rilly, Claude (2019). "Languages of Ancient Nubia". ใน Raue, Dietrich (บ.ก.). Handbook of Ancient Nubia. De Gruyter. pp. 133–4. ISBN 978-3-11-041669-5. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
The Blemmyan language is so close to modern Beja that it is probably nothing else than an early dialect of the same language.
- ↑ "Kushite Religion". encyclopedia.com.
- ↑ 7.0 7.1 Stearns, Peter N., บ.ก. (2001). "(II.B.4.) East Africa, c. 2000–332 B.C.E.". The Encyclopedia of World History: Ancient, Medieval, and Modern, Chronologically Arranged (6th ed.). Boston: Houghton Mifflin Harcourt. p. 32. ISBN 978-0-395-65237-4.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 8.0 8.1 Society, National Geographic (2018-07-20). "The Kingdoms of Kush". National Geographic Society (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-29.
- ↑ Alberge, Dalya. "Tomb reveals Ancient Egypt's humiliating secret". The Times. London.
- ↑ Török 1998, pp. 144–6.
- ↑ Derek Welsby (2014): "The Kingdom of Alwa" in "The Fourth Cataract and Beyond". Peeters.
- ↑ Stirn, Isma'il Kushkush, Matt. "Why Sudan's Remarkable Ancient Civilization Has Been Overlooked by History". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.
บรรณานุกรม
แก้- Török, László (1998). "The Kingdom of Kush: Handbook of the Napatan-Meroitic Civilization". Handbook of Oriental Studies. Section 1 the Near and Middle East. Leiden: Brill. ISBN 978-9004104488.
- Welsby, Derek (1996). The Kingdom of Kush: the Napatan and Meroitic empires. London: Published for the Trustees of the British Museum by British Museum Press. ISBN 978-0-7141-0986-2. OCLC 34888835.