แทบไม่มีทราบเดี่ยวกับ เนคาอูบา (กรีกโบราณ: Νεχεψὼς Nekhepsṑs) พระองค์ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในฟาโรห์ของช่วงต้นราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งซาอิสตามที่บันทึกส่วนสรุปของแมนิโธ และทรงปกครองเป็นระยะเวลา 6 ปี อย่างไรก็ตาม พระราชสถานะของพระองค์ในฐานะฟาโรห์ยังไม่ได้รับการยืนยันจากเอกสารร่วมสมัยใด ๆ และพระองค์อาจจะเป็นกษัตริย์ที่ถูกสร้างโดยผู้ปกครองแห่งซาอิสในภายหลังเพื่อทำให้การเป็นฟาโรห์ของพระองค์นั้นถูกต้องตามกฏมณเฑียรบาล แมนิโธได้เขียนว่า ฟาโรห์เนคาอูบา ควรจะทรงเป็นผู้สืบพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์สเตฟินาเตส ซึ่งเป็นผู้สถานาราชวงศ์ที่ยี่สิบหก และทรงส่งต่อพระราชบัลลังก์ให้กับฟาโรห์เนโคที่ 1 ผู้เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 ฟาโรห์เนคาอูบาทรงขึ้นครองราชย์ในฐานะกษัตริย์ท้องถิ่นภายใต้ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าของชาวนิวเบียระหว่าง 678 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 672 ปีก่อนคริสตกาล หากพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองอิสระ[1] หากไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ทก็คงทรงเป็นเพียงผู้ปกครองท้องถิ่นของซาอิส ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาดังกล่าวก่อนการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์เนโคที่ 1

เค็นเน็ธ คิตเช่น นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่า[2] รัชสมัยของฟาโรห์เนคาอูบาจะเพิ่มขึ้นหนึ่งอีกทศวรรษ จาก 6 ปีเป็น 16 ปี ถึงแม้ว่าข้อเสนอดังกล่าวจะดูค่อนข้างมากเกินไปสำหรับผู้ปกครองที่คลุมเครือเช่นนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นข้อดีกว่ามากเมื่อนำมาพิจารณา ซึ่ง ตัวเลขปีที่น้อยกว่าของแมนิโธ ซึ่งทรงปกครองเพียงแค่ 6 ปีเท่านั้น อาจจะบ่งบอกว่ามีเวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ผ่านไประหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2 และการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์เนโคที่ 1

เป็นไปได้ว่า ฟาโรห์เนคาอูบาและฟาโรห์เนโคที่ 1 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2 ทั้งสองพระองค์

การมีอยู่ที่กังขา แก้

ในปี ค.ศ. 2002 โอลิวีเยร์ แปร์ดู ได้ตีพิมพ์เผยแพร่จารึกกัลปนาปีที่ 2 ที่เพิ่งค้นพบใหม่ ซึ่งพบใกล้กับเมืองเซเบนนิโตส ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงรัชสมัยของฟาโรห์เนโคที่ 1 โดยที่แปร์ดูได้เปิดเผยว่ามีลักษณะ รูปแบบ และเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันกับจารึกกัลปนาปีที่ 8 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เชปเซสเร เทฟนัคต์ที่ 1 ดังนั้นจึงเสนอว่าผู้ปกครองแห่งซาอิสทั้งสองพระองค์นี้อยู่รวมสมัยที่ใกล้ชิดกัน และฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 1 จะทรงปกครองเมืองซาอิสประมาณ 685 ปีก่อนคริสตกาล - 678 ปีก่อนคริสตกาล ก่อหน้ารัชสมัยของฟาโรห์เนคาอูบาและเนโคที่ 1 จึงเป็นว่า ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2 ทรงอยู่ร่วมช่วงเวลาเดียวกัน[3] แต่ข้อโต้แย้งของแปร์ดูกลับไม่ได้รับการยอมรับจากนักไอยคุปต์วิทยาหลายคนที่วิพากษ์วิจารณ์เกณฑ์การเขียนแบบที่เขียนขึ้นโดยแปร์ดู

ในปี ค.ศ. 2011 คิม ไรฮอล์ท[4] ได้สันนิษฐานว่าพระนามของฟาโรห์เนคาอูบาแปลว่า "เนโค ผู้ปราดเปรื่อง" และพระนามเนคาอูบาหรือเนเคปซอสจะหมายถึงฟาโรห์เนโคที่ 2 แทน โดยที่ไรฮอล์ตได้ยืนยันว่าไม่ปรากฏผู้ปกครองอิสระพระองค์ใดจะทรงมมีพระนามว่า เนคาอูบา ที่ขึ้นครองราชย์ระหว่างรัชสมัยฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2 และฟาโรห์เนโคที่ 1 และไรฮอล์ทยังเน้นว่าหลักฐานที่เป็นไปได้สำหรับการถอดถอนฟาโรห์ที่ทรงครองราชย์ระหว่างรัชสมัยฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2 และฟาโรห์เนโคที่ 1นั้นมาจากข้อโต้แย้งของแปร์ในข้างต้นเกี่ยวกับความคล้ายคลึงกันของจารึกทั้งสองชิ้น (ถึงแม้ว่าไรฮอล์ทจะระบุว่าจารึกกัลปนาปีที่ 8 เป็นของฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2 แทน) โดยการระบุว่าฟาโณห์ฌนคาอูบาทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 6 ปีนั้นจะทำให้ทั้งจารึกทั้งสองชิ้นจะห่างกันอย่างน้อยเจ็ดปี ในขณะที่ ถ้าฟาโรห์เนคาอูบาทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง ทั้งจารึกสองชิ้นอาจจะถูกสร้างขึ้นในช่วงหนึ่งถึงสองปี เนื่องจากฟาโรห์เนโคที่ 1 จะทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2[5]

อ้างอิง แก้

  1. Karl-Heinz Priese, "Der Beginn der Kuschitischen Herrschaft in Ägypten," ZÄS 98 (1970), pp. 16–32
  2. Kenneth Kitchen, The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC), 1996, Aris & Phillips Limited, Warminster, ISBN 0-85668-298-5, §§ 117-18.
  3. Olivier Perdu, "De Stéphinatès à Néchao ou les débuts de la XXVIe dynastie," Compte-rendus de l'Académie des Inscriptions et Belles-Lettres (CRAIBL) 2002, pp. 1215–1244
  4. Kim Ryholt, "New Light on the Legendary King Nechepsos of Egypt", Journal of Egyptian Archaeology 97 (2011), pp. 61-72 online PDF
  5. Ryholt, op. cit., p. 66