เชปเซสเร เทฟนัคต์ (ในภาษากรีกโบราณ: Τνέφαχθος, อักษรโรมัน: Tnephachthos)[3] เป็นผู้ปกครองแห่งซาอิส และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์เพียงระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น พระองค์ทรงได้ขึ้นเป็นประมุขแห่งชาวมาในเมืองบ้านเกิดของพระองค์ เป็นที่เชื่อกันว่าพระองค์ทรงครองราชย์ระหว่างประมาณ 732 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 725 ก่อนคริสตศักราช หรือระยะเวลาทั้งหมด 7 ปี ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 1 ทรงเริ่มต้นในฐานะ "ประมุขผู้ยิ่งใหญ่แห่งตะวันตก" และผู้ปกครองแห่งซาอิส และเป็นผู้ปกครองที่อยู่ร่วมสมัยของผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบสองพระนามว่า โชเชงค์ที่ 5 ฟาโรห์เทฟนัคต์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สองแห่งซาอิส โดยที่ผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ คือ โอซอร์คอน ซี ซึ่งปรากฏในเอกสารยืนยันหลายฉบับที่กล่าวถึงพระองค์ในฐานะประมุขแห่งชาวมา และเป็นผู้นำกองทัพของเมืองตามการศึกษาของเค็นเน็ธ คิตเช่น[4] ในขณะที่ผู้ปกครองก่อหน้าของพระองค์ ซึ่งมีฐานะผู้ยิ่งใหญ่ประมุขแห่งตะวันตกนามว่า อังค์ฮอร์[5] โดยรูปสลักที่เพิ่งค้นพบซึ่งอุทิศโดยฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 1 ถวายแด่เทพเจ้าอามุน-เร ก็ได้เปิดเผยรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับต้นกำเนิดของพระองค์[6] ข้อความของรูปสลักได้ระบุว่า ฟาโรห์เทฟนัคต์ทรงเป็นบุตรชายของเกมเนฟซุตคาปุและทรงเป็นหลานชายของบาซา นักบวชแห่งอามุนใกล้เมืองซาอิส ดังนั้น ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 1 จึงทรงไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากประมุขแห่งชาวมาและชาวลิบูอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เชื่อกันแต่เดิม แต่มาจากครอบครัวของนักบวช และบรรพบุรุษของพระองค์น่าจะเป็นชาวอียิปต์มากกว่าชาวลิเบีย[7]

ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 1 ทรงไม่ได้ปรากฏอยู่ในบันทึกของแมนิโธ บางทีอาจจะเป็นการเขียนโดยย่อของหนังสือแอกิปเทียกา หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะมองฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 1 ว่าทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์

อ้างอิง แก้

  1. Peter A. Clayton, Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt, Thames and Hudson, London, 1994. p.188
  2. Tefnakht
  3. Diodorus Siculus 1.45
  4. KA Kitchen, The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC), 3rd ed. 1996, Aris & Phillips Limited, pp.351 & p.355
  5. Kitchen, op. cit., § 316.
  6. P.R. Del Francia, "Di una statuette dedicate ad Amon-Ra dal grande capo dei Ma Tefnakht nel Museo Egizio di Firenze", S. Russo (ed.) Atti del V Convegno Nazionale di Egittologia e Papirologia, Firenze, 10-12 dicembre 1999, Firenze, 2000, 63-112, 76-82
  7. Del Francia, pp.63-112 & 76-82