ฮิตไทต์
ฮิตไทต์ (อักษรโรมัน: Hittites) เป็นชนอานาโตเลียที่ก่อตั้งอาณาจักรแรกในคูสซารา (ก่อน 1750 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมาในกึลเทเป (ประมาณ 1750–1650 ปีก่อนคริสตกาล) ก่อนจะสถาปนาจักรวรรดิที่มีศูนย์กลางที่ฮัตทูซาทางภาคกลางตอนเหนือของอานาโตเลีย (ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล)[2][3] จักรวรรดิฮิตไทต์รุ่งเรืองถึงขีดสุดช่วงกลางศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาลในสมัยพระเจ้าซัปปีลัลลีอูมาที่ 1 โดยครอบครองอานาโตเลียเกือบทั้งหมด ลิแวนต์ตอนเหนือและเมโสโปเตเมียตอนบน[4]
จักรวรรดิฮิตไทต์ Ḫa-at-tu-ša / 𒄩𒀜𒌅𒊭 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล–ประมาณ 1190 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||
ตราพระเจ้าซัปปีลัลลีอูมาที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้าย
| |||||||||||
จักรวรรดิฮิตไทต์ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด (ประมาณ 1350–1322 ปีก่อนคริสตกาล) | |||||||||||
เมืองหลวง | ฮัตทูซา, ทาร์ฮันทัชชา (สมัยพระเจ้ามูวาทัลลีที่ 2) | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาฮิตไทต์, ภาษาฮัตติก, ภาษาลูเวีย, ภาษาแอกแคด | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาฮิตไทต์ | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อาณาจักรเก่า) ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อาณาจักรกลางและใหม่)[1] | ||||||||||
กษัตริย์ | |||||||||||
• ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้าลาบาร์นาที่ 1 (แรก) | ||||||||||
• ประมาณ 1210–1190 ปีก่อนคริสตกาล | พระเจ้าซัปปีลัลลีอูมาที่ 2 (สุดท้าย) | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสัมฤทธิ์ | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• สิ้นสุด | ประมาณ 1190 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ตุรกี ซีเรีย เลบานอน ไซปรัส |
ระหว่างศตวรรษที่ 15–13 ก่อนคริสตกาล จักรวรรดิฮัตทูซา (หรือชื่อสมัยใหม่คือจักรวรรดิฮิตไทต์) ขัดแย้งกับจักรวรรดิอียิปต์ จักรวรรดิอัสซีเรียสมัยกลางและจักรวรรดิมีแทนีเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือตะวันออกใกล้ ที่สุดแล้วจักรวรรดิอัสซีเรียสมัยกลางขึ้นเป็นมหาอำนาจเด่นและผนวกดินแดนของจักรวรรดิฮิตไทต์จำนวนมาก ขณะที่ดินแดนส่วนที่เหลือถูกชาวฟรีเจียตีแตก ต่อมาเมื่อเกิดการล่มสลายปลายยุคสัมฤทธิ์ (ประมาณ 1180 ปีก่อนคริสตกาล) จักรวรรดิฮิตไทต์สลายกลายเป็นรัฐย่อยอิสระที่เรียกว่ารัฐไซโร-ฮิตไทต์ ซึ่งบางส่วนดำรงอยู่จนถึงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลก่อนจะเสียให้จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ในสมัยคลาสสิก[5] หลังจากนั้นชาวฮิตไทต์ได้กระจัดกระจายและกลืนเข้ากับกลุ่มชนอื่น ๆ ในตุรกี ลิแวนต์และเมโสโปเตเมีย[6]
ภาษาฮิตไทต์เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาอานาโตเลีย ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาฮิตไทต์และภาษาลูเวียเป็นหนึ่งในภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่เก่าแก่ที่สุด[7] ชาวฮิตไทต์เรียกภาษานี้ว่า nešili (ภาษาเนชา) และเรียกอาณาจักรของตนว่าอาณาจักรฮัตทูซา ตามชื่อฮัตเทียน กลุ่มชนพูดภาษาฮัตติก[8] ที่อาศัยอยู่ในอานาโตเลียกลางจนถึงต้นสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ฮิตไทต์เป็นคำเรียกสมัยใหม่ที่มาจากการระบุนามกลุ่มชนที่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูโดยนักโบราณคดีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19[9]
เรื่องราวของฮิตไทต์ส่วนใหญ่มาจากข้อความอักษรรูปลิ่มที่บันทึกโดยชาวฮิตไทต์เอง และเอกสารการทูตและการค้ากับอาณาจักรอื่น เช่น อียิปต์โบราณ อัสซีเรีย บาบิโลเนียและตะวันออกกลาง การถอดรหัสข้อความดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในการศึกษาภาษาอินโด-ยูโรเปียน การศึกษาฮิตไทต์เพิ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เมื่อมีการก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีในปี ค.ศ. 1923 ในช่วงเวลาใกล้กันตุรกีได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมอานาโตเลียซึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุและงานศิลปะฮิตไทต์
เดิมนักวิชาการเสนอว่าชาวฮิตไทต์พัฒนาการถลุงเหล็กช่วงปลายยุคสัมฤทธิ์และผูกขาดการผลิตเหล็กในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องผูกขาดการผลิตเหล็กของฮิตไทต์ถูกตั้งข้อสังเกตและไม่ได้รับการเห็นพ้องในวงวิชาการ[10] เนื่องจากเทคโนโลยีการถลุงเหล็กในอานาโตเลียช่วงปลายยุคสัมฤทธิ์/ต้นยุคเหล็กนั้นแพร่หลายไปยังภูมิภาคใกล้เคียงด้วย นอกจากนี้มีการพบเครื่องมือเหล็กในอานาโตเลียจำนวนใกล้เคียงกับที่พบในอียิปต์และที่อื่นในช่วงเวลาเดียวกัน[11]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Crime and Punishment in the Ancient World, p. 29, Israel Drapkin – 1989
- ↑ Kloekhorst & Waal 2019.
- ↑ Kloekhorst 2020.
- ↑ Mark, Joshua J. (May 20, 2014). "Suppiluliuma I". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ September 22, 2022.
- ↑ "Neo-Hittites". Livius.org. October 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 22, 2022.
- ↑ Ancient History Encyclopedia. "Sea Peoples." September 2009. Sea Peoples เก็บถาวร 18 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "2006-05-02 Hittite". 7 July 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
- ↑ Ardzinba, Vladislav. (1974): Some Notes on the Typological Affinity Between Hattian and Northwest Caucasian (Abkhazo-Adygian) Languages. In: "Internationale Tagung der Keilschriftforscher der sozialistischen Länder", Budapest, 23–25. April 1974. Zusammenfassung der Vorträge (Assyriologica 1), pp. 10–15.
- ↑ Mark, Joshua J. (May 1, 2018). "Hittites". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ September 22, 2022.
- ↑ Muhly, James D. 'Metalworking/Mining in the Levant' in Near Eastern Archaeology ed. Suzanne Richard (2003), pp. 174–183
- ↑ Waldbaum, Jane C. From Bronze to Iron. Gothenburg: Paul Astöms Förlag (1978): 56–58.