ฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร

เมอร์ดเจฟาเร เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสี่ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาล[2] ในฐานะฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสี่ พระองค์คงจะทรงปกครองบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วย โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอวาริส

หลักฐานยืนยัน แก้

พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในฟาโรห์เพียงสี่พระองค์จากราชวงศ์ที่สิบสี่ที่หลงเหลือหลักฐานยืนยันไว้นอกเหนือจากบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามฟาโรห์ที่รวบรวมไว้ในช่วงต้นสมัยรามเซส[3] อันที่จริงแล้ว มีการกล่าวถึงพระองค์บนแท่นของผู้ถือตราประทับของราชวงศ์และอัครมหาเสนาบดีที่มีชื่อว่า ศิลาแห่งรานิซอนบ์ ที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1988–89 ซึ่งภาพเหตุการณ์ที่พระองค์ทรงกำลังถวายเครื่องบูชาแก่เทพซอปดู และอาจจะมาจากหลุมฝังศพของรานิซอนบ์ที่ซัฟต์ อัล-ฮินนา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ขณะนี้ ศิลาดังกล่าวอยู่ในชุดสะสมส่วนตัวของเครียฟแล้ว[1][2][3]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา แก้

ตำแหน่งตามลำดับรัชสมัยของพระองค์ในราชวงศ์ที่สิบสี่นั้นยังคงหลงเหลืออยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งกล่าวถึงพระองค์ในคอลัมน์ 9 บรรทัดที่ 5 ตามบันทึกดังกล่าว โดยระบุว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลา 3 ถึง 4 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในรัชสมัยที่ยาวนานที่สุดของราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งฟาโรห์เซเฮบเรทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าและฟาโรห์เซวัดจ์คาเรที่ 3 ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์[2]

ในทางตรงกันข้าม ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของพระองค์นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์และดาร์เรล เบเกอร์ กล่าวว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบของราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งทรงครองราชย์ราวประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาล เป็นเวลา 3 ถึง 4 ปี[2] อย่างไรก็ตาม การตีความบันทึกพระนามฯ ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสี่ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ เช่น มันเฟรด เบียตัคและเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ เชื่อว่าราชวงศ์ที่สิบสี่น่าจะสถาปนาขึ้นไม่นานก่อนการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์เนเฮซิ หรือประมาณ 1710 ปีก่อนคริสตกาล แทนที่จะเป็นช่วงราว 1805 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยไรโฮลท์ในกรณีดังกล่าว พระองค์จะเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 5 ของราชวงศ์ที่สิบสี่เเท่านั้น[4][5]

การพิสูจน์ตัวตน แก้

เนื่องจากทราบเพียงแค่พระนามนำหน้า เมอร์ดเจฟาเร เท่านั้น ดังนั้นความพยายามที่จะระบุแหล่งที่มาของพระนามใดๆ ก็ตามที่หลงเหลือยังคงเป็นเพียงการคาดเดา อย่างไรก็ตาม ไรโฮลท์ เสนอว่าพระนาม เมอร์ดเจฟาเร อาจเป็นของฟาโรห์วาซาดหรือฟาโรห์เชเนห์ ตามข้อมูลของไรโฮลท์นั้น การเรียงลำดับของตราประทับสคารับในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่แสดงให้เห็นว่าทั้งฟาโรห์วาซาดและฟาโรห์เชเนห์ทรงขึ้นครองราชย์ถัดจากฟาโรห์เนเฮซิ นอกจากนี้ "มีฟาโรห์เพียงไม่กี่พระองค์ที่ทรงปกครองระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เนเฮซิและของฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์เท่านั้นที่ได้รับการยืนยันจากแหล่งหลักฐานร่วมสมัย" ไรโฮลท์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ฟาโรห์วาซาดอาจระบุว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับหนึ่งในผู้สืบทอดของฟาโรห์เนเฮซิ ซึ่งมีการครองราชย์ยาวนานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฟาโรห์เซเฮบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Jean Yoyotte, "Le roi Mer-Djefa-Rê et le dieu Sopdu, Un monument de la XIVe dynastie", Bulletin de la Société française d'égyptologie 114 (1989), pp.17-63
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  3. 3.0 3.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 203-204
  4. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  5. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46, Mainz am Rhein, 1997