ฟาโรห์เซเฮบเร
เซเฮบเร เป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์โบราณ โดยทรงปกครองเป็นเวลาสามถึงสี่ปี ประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาลในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง[1] ตามคำกล่าวของนักอียิปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์, เยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าของราชวงศ์[1][2][3] ด้วยเหตุนี้ พระองค์จะทรงปกครองบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะไปถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วย โดยมีเมืองอวาริสเป็นศูนย์กลางการปกครอง
เซเฮบเร | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เซฮับเร | ||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||
รัชกาล | 3-4 ปี, ประมาณ 1704-1699 ปีก่อนคริสตกาล[1] | |||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เนเบฟาวเร | |||||||||||||||||
ถัดไป | เมอร์ดเจฟาเร | |||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
พระราชบิดา | ไม่แน่ชัด, เชชิ (ไรโฮลท์) | |||||||||||||||||
พระราชมารดา | ไม่แน่ชัด, ตาติ (ไรโฮลท์) | |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสี่ |
หลักฐานยืนยัน
แก้ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เพียงแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่ถูกแก้ไขใหม่ในช่วงต้นสมัยรามเสส หรือกว่า 400 ปีหลังจากการครองราชย์ของพระองค์ ตามการตีความบันทึกพระนามใหม่โดยไรโฮลท์ พระนามของพระองค์ถูกระบุไว้ในคอลัมน์ที่ 9 แถวที่ 4 ของบันทึก (ตรงกับรายการ 8.4 ของการอ่านบันทึกพระนามของการ์ดิเนอร์และฟอน เบ็คเคราธ) ในบันทึกพระนามได้ระบุว่า พระอค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 3 ถึง 4 ปี โดยไม่ทราบจำนวนเดือนและอีก 1 วัน[1]
การพิสูจน์ตัวตน
แก้จนถึงทุกวันนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานร่วมสมัยของพระองค์ แต่อย่างไรก็ตาม ไรโฮลท์ได้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งนี้ขัดแย้งกับการครองราชย์ของพระองค์นั้นที่มีความยาวสามถึงสี่ปี ซึ่งเป็นการครองราชย์ที่ยาวนานที่สุดของราชวงศ์ที่สิบสี่ และมีเพียงฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร ซึ่งทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์เท่านั้น ในทางกลับกัน ฟาโรห์ที่มีรัชสมัยสั้นกว่า เช่น ฟาโรห์เนเฮซีที่ทรงครองราชย์ประมาณ 1 ปี ล้วนได้รับการยืนยันจากหลักฐานร่วมสมัย ดังนั้น ไรโฮลท์จึงเสนอว่า พระนาม เซเฮบเร จะต้องเป็นพระนามของฟาโรห์วาซาดหรือฟาโรห์เชเนห์ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองราชวงศ์ที่สิบสี่ที่ปรากฏหลักฐานยืนยัน แต่ก็ไม่ปรากฏในอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน[1]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see p. 108-109
- ↑ Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 358-359