อา เป็นพระนามของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้น พระนามของพระองค์เป็นที่ทราบจากพระนามเซเรคที่แกะสลักบนหินทราย ซึ่งพบอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 12 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอุมม์ อัล-ดาบาดิบที่โอเอซิสคาร์กาในทะเลทรายตะวันตก การปรากฏพระนามเซเรคในบริเวณดังกล่าวแสดงให้เห็นหลักฐานของพระราชกรณียกิจในดินแดนอันไกลโพ้นของทะเลทรายตะวันตกตั้งแต่ช่วงต้นของสมัยราชวงศ์แห่งอียิปต์[1]

การค้นพบพระนาม แก้

ในช่วง ค.ศ. 2004 ของการสำรวจโอเอซิสคาร์กาเหนือ (NKOS) ได้มีการค้นพบพระนามเซเรคบนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหินทราย ซึ่งคณะสำรวจดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของซะลิมะฮ์ อิคราม ซึ่งตั้งใกล้กับดัร์บ อัยน์ อะมุร์ ซึ่งเป็นเส้นทางกองคาราวานโบราณที่เชื่อมต่อโอเอซิสคาร์กา โดยผ่านที่ตั้งของอุมม์ อัล-ดาบาดิบ และอัยน์ อะมุมไปยังโอเอซิส ดัคลา ซึ่งเซเรคดังกล่าวตั้งอยู่ท่ามกลางภาพสลักแบบอื่นๆ ที่มีรูปแบบและความลึกในแกะที่ต่างกัน จึงบ่งบอกว่าภาพสลักที่ในแห่งนั้นมาจากช่วงเวลาที่ต่างกัน[2]

พระนามเซเรค แก้

พระนามเซเรคของพระองค์นั้นได้สลักรูปนกเหยี่ยวฟอลคอล ซึ่งเป็นลักษณะโดยทั่วไปของพระนามเซเรค และปรากฏสัญลักษณ์เพียงสัญลักษณ์เดียวในเซเรค คือ สัญลักษณ์รูปแขนหรือ อา (D36 ในรายการสัญลักษณ์ของการ์ดิเนอร์) ซึ่งพระนามดังกล่าวไม่ตรงกับผู้ปกครองในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นพระองค์ใดที่เป็นที่ทราเซเรคที่ปรากฏพระนามฮอรัสว่า 'อา' ของฟาโรห์ที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานใด ซึ่งอยู่ในราชวงศ์ที่ศูนย์หรือราชวงศ์ที่หนึ่ง รอบๆ เซเรคดังกล่าวปรากฏภาพประกอบของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งจระเข้ ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส นกกระจอกเทศ วัวหรือกระทิง และออริกซ์ที่กำลังตั้งท้อง[2]

อ้างอิง แก้

  1. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 5. ISBN 978-977-416-221-3.
  2. 2.0 2.1 Ikram, Salima; Rossi, Corinna (2004). "An Early Dynastic serekh from the Kharga Oasis". The Journal of Egyptian Archaeology. 90: 211–215. ISSN 0307-5133.