ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ลำดับที่สามและราชวงศ์สุดท้ายของในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ของอียิปต์โบราณ ซึ่งนับตั้งแต่ 1189 ปีก่อนคริสตกาลถึง 1,077 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ราชวงศ์ที่สิบเก้าและยี่สิบยังรวมกันเป็นกลุ่มของราชวงศ์ที่อยู่ช่วงสมัย ยุครามเสส และราชวงศ์ที่ยี่สืบถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมถอยของอียิปต์โบราณ

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์

1189 ปีก่อนคริสตกาล–1077 ปีก่อนคริสตกาล
ภาพวาดของฟาโรห์รามเสสที่ 9 จากหลุมฝังพระบรมศพเควี 6
ภาพวาดของฟาโรห์รามเสสที่ 9 จากหลุมฝังพระบรมศพเควี 6
เมืองหลวงไพ-รามเสส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก
• ก่อตั้ง
1189 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
1077 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ประวัติราชวงศ์ แก้

เบื้องหลังของราชวงศ์ที่ยี่สิบ แก้

หลังจากการสวรรคตของพระนางทวอสเรต ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเก้า อียิปต์ได้เข้าสู่ช่วงสงครามกลางเมือง ซึ่งยืนยันโดยจารึกจากเกาะเอลิเฟนไทน์ที่โปรดให้สร้างโดยฟาโรห์เซตนัคห์เต ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุการสวรรคตของพระองค์อย่างแน่ชัด พระองค์อาจจะสวรรคตอย่างสงบในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ หรือถูกโค่นพระราชบัลลังก์โดยฟาโรห์เซตนัคห์เต ซึ่งน่าจะอยู่ในวัยกลางคนแล้วในขณะนั้น[1]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ แก้

ประเด็นที่สอดคล้องกันของราชวงศ์ที่ยี่สิบคือการสูญเสียอำนาจของฟาโรห์ให้กับมหาปุโรหิตแห่งอามุน ฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบแห่งราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ทรงได้ฟื้นฟูศาสนาอียิปต์โบราณแบบดั้งเดิมและฐานะปุโรหิตแห่งอามุน หลังจากที่ฟาโรห์อะเคนอาเตนได้ทรงยกเลิกการบูชาไปนั้น ด้วยที่มหาปุโรหิตทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเทพเจ้าและประชาชน แทนที่จะเป็นฟาโรห์ ตำแหน่งของฟาโรห์ไม่ได้ควบคุมอำนาจแบบเดียวกับในอดีตอีกต่อไป[2]

ฟาโรห์เซตนัคห์เต แก้

พระองค์ทรงทำให้อียิปต์เกิดเสถียรภาพ และอาจจะขับไล่ความพยายามรุกรานของชาวทะเล พระองค์ทรงปกครองอยู่ประมาณ 4 ปีก่อนที่พระราชโอรส คือ ฟาโรห์รามเสสที่ 3 จะขึ้นครองราชย์แทน

ฟาโรห์รามเสสที่ 3 แก้

ในปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงเอาชนะการรุกรานอียิปต์ของชนเผ่าลิเบียโบราณโดยชาวลิบู เมชเวส และเซเปดผ่านมาร์มาริกา ซึ่งก่อนหน้านี้บุกไม่สำเร็จในรัชสมัยของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์[3]

พระองค์ทรงมีชื่อเสียงที่สุดในการเอาชนะกลุ่มพันธมิตรของชาวทะเลอย่างเด็ดขาด รวมถึงชาวเดนเยน, ทเจกเกอร์, เพเลเซต, ชาร์ดินา และเมชเวสในยุทธการที่ดจาฮิและยุทธการที่ปากน้ำไนล์ในช่วงปีที่ 8 ในรัชสมัยของพระองค์ ในปาปิรุสแฮร์ริส หมายเลข 1 ซึ่งยืนยันเหตุการณ์เหล่านี้อย่างละเอียด ว่ากันว่าพระองค์ทรงได้ตั้งถิ่นฐานให้กับชาวทะเลที่พ่ายแพ้ใน "ฐานที่มั่น" ซึ่งน่าจะอยู่ในคานาอันในฐานะราษฎรของพระองค์[2][4]

ในปีที่ 11 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ กลุ่มพันธมิตรผู้รุกรานชาวลิเบียอีกกลุ่มหนึ่งพ่ายแพ้ในอียิปต์

ระหว่างปีที่ 12 ถึงปีที่ 29 แห่งการครองราชย์ มีการดำเนินโครงการจัดระเบียบลัทธิต่าง ๆ ของศาสนาอียิปต์โบราณอย่างเป็นระบบ โดยสร้างและให้ทุนสนับสนุนลัทธิใหม่และบูรณะวัดวิหาร

ในปีที่ 29 แห่งการครองราชย์ เกิดการหยุดงานประท้วงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ หลังจากการปันส่วนอาหารสำหรับผู้สร้างสุสานราชวงศ์และช่างฝีมือในหมู่บ้านเชต มาอัต (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ เดียร์ อัล-เมดินา) ไม่สามารถจัดเตรียมได้[5]

รัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ยังเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการสมรู้ร่วมคิดในราชสำนัก ซึ่งพระราชินีทีเย หนึ่งในมเหสีของพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพยายามลอบสังหารฟาโรห์ โดยมีเป้าหมายเพื่อวางให้เจ้าชายเพนทาเวอร์ พระราชโอรสของพระองค์ขึ้นครองพระราชบัลลังก์ แต่ไม่สำเร็จ ฟาโรห์รามเสสที่ 3 สวรรคตจากการพยายามปลิดชีวิตพระองค์ อย่างไรก็ตาม รัชทายาทและพระราชโอรสโดยชอบด้วยกฎหมายของพระองค์คือฟาโรห์รามเสสที่ 4 ซึ่งเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ซึ่งหลังจากนั้นพระองค์ได้จับกุมและประหารผู้สมรู้ร่วมคิดประมาณ 30 คน[6][7]

ฟาโรห์รามเสสที่ 4 แก้

ในตอนต้นของรัชสมัย พระองค์ทรงโปรดให้ได้เริ่มโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในระดับเดียวกับโครงการของฟาโรห์รามเสสมหาราช พระองค์ทรงเพิ่มจำนวนกลุ่มคนงานที่หมู่บ้านเซต มาอัต ขึ้นสองเท่าเป็น 120 คน และส่งคณะเดินทางจำนวนมากไปยังเหมืองหินของวาดิ ฮัมมามัต และเหมืองเทอร์คอยซ์ของไซนาย หนึ่งในคณะสำรวจที่ใหญ่ที่สุดประกอบด้วยทหาร 8,368 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารประมาณ 2,000 นาย[8] พระองค์ทรงโปรดให้ขยายวิหารคอนซูของพระราชบิดาที่คาร์นัก และอาจจะโปรดให้เริ่มสร้างวิหารเก็บศพของพระองค์ขึ้นที่พื้นที่ใกล้กับวิหารฮัตเชปซุต วัดขนาดเล็กอีกแห่งที่มีความเกี่ยวข้องกับพระองค์ในทางตอนเหนือของเมดิเนตฮาบู

ฟาโรห์รามเสสที่ 4 ทรงเห็นปัญหาเกี่ยวกับการปันส่วนอาหารแก่คนงานของพระองค์ คล้ายกับสถานการณ์ในรัชสมัยของพระราชบิดา รามเสสนัคต์ มหาปุโรหิตแห่งอามุนในเวลานั้นได้เริ่มติดตามเจ้าหน้าที่ของรัฐขณะที่พวกเขาไปจ่ายปันส่วนให้กับคนงานโดยแนะนำว่าอย่างน้อยก็ในบางส่วน วิหารแห่งอามุนไม่ใช่รัฐอียิปต์ที่รับผิดชอบค่าจ้าง[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดให้ทำบันทึกปาปิรัสแฮร์ริส หมายเลข 1 ซึ่งเป็นบันทึกปาปิรัสจากอียิปต์โบราณที่ยาวที่สุดที่ทราบ โดยมีความยาว 41 เมตรพร้อมข้อความ 1,500 บรรทัดเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของพระราชบิดาของพระองค์

ฟาโรห์รามเสสที่ 5 แก้

พระองค์ทรงครองราชย์ได้ไม่เกิน 4 ปี ก็เสด็จสวรรคตด้วยไข้ทรพิษเมื่อ 1143 ปีก่อนคริสตกาล บันทึกปาปิรุสแห่งตูริน หมายเลข 2044 ได้ยืนยันว่าในรัชสมัยของพระองค์ คนงานของเซต มาอัตถูกบังคับให้หยุดสร้างหลุมฝังศพ เควี 9 ของพระองค์เป็นระยะ เนื่องจาก "กลัวศัตรู" บ่งบอกถึงความไม่มั่นคงที่เพิ่มขึ้นในอียิปต์และการไม่สามารถปกป้องประเทศจากสิ่งที่สันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายจู่โจมจากลิเบีย[9]

บันทึกปาปิรุสวิลบัวร์ ซึ่งคาดว่ามีอายุตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์รามเสสที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์ บันทึกดังกล่าวเผยให้เห็นว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในอียิปต์ ณ ตอนนั้นถูกควบคุมโดยวิหารแห่งอามุน และวิหารแห่งอามุนก็ควบคุมการเงินของอียิปต์อย่างสมบูรณ์[10]

ฟาโรห์รามเสสที่ 6 แก้

ฟาโรห์รามเสสที่ 6 เป็นที่ทราบดีในเรื่องหลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ ซึ่งเมื่อได้สร้างขึ้นทับหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนไว้ข้างใต้โดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ปลอดภัยจากการปล้นสุสานจนกระทั่งฮาวเวิร์ด คาร์เตอร์ค้นพบในปี ค.ศ. 1922

ฟาโรห์รามเสสที่ 7 แก้

อนุสรณ์สถานเพียงอย่างเดียวของพระองค์ คือ หลุมฝังพระบรมศพ เควี 1[ต้องการอ้างอิง]

ฟาโรห์รามเสสที่ 8 แก้

แทบไม่มีทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งครองราชย์เป็นระบะเวลาเพียงปีเดียว หลักฐานของพระองค์ได้ปรากฏที่เมดิเนตฮาบู และแผ่นโลหะเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น อนุสรณ์สถานเพียงแห่งเดียวในรัชสมัยของพระองค์ คือ หลุมฝังศพที่เรียบง่าย ซึ่งน่าจะใช้สำหรับฝังพระศพเจ้าชายเมนทูเฮอร์เคเปเชฟ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์รามเสสที่ 9 มากกว่า[ต้องการอ้างอิง]

ฟาโรห์รามเสสที่ 9 แก้

ในช่วงปีที่ 16 และปีที่ 17 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์รามเสสที่ 9 พระองค์ทรงพิจารณาคดีปล้นสุสานที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นตามที่ปรากฏในบันทึกปาปิรุสแอ็บบอตต์ ซึ่งมีการการตรวจสอบอย่างรอบคอบโดยคณะระดับขุนนางได้ดำเนินการกับสุสานหลวงสิบแห่ง สุสานสี่แห่งของคายิกาแห่งสาวิกาอันศักดิ์สิทธ์ และสุดท้ายคือสุสานในธีบส์ หลายแห่งพบว่าถูกทำลาย เช่น หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์โซเบเคมซาฟที่ 2 ซึ่งมัมมี่ถูกขโมยไป[11]

คาร์ทูชของพระองค์ถูกพบที่เกเซอร์ในคานาอัน ซึ่งบ่งบอกว่าอียิปต์ในเวลานี้ยังคงมีอิทธิพลในระดับหนึ่งในภูมิภาคนี้[12]

โครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ อยู่ที่เมืองเฮลิโอโปลิส[13]

ฟาโรห์รามเสสที่ 10 แก้

รัชสมัยของพระองค์ได้รับการบันทึกไว้น้อยมาก โดยบันทึกเนโครโพลิสแห่งเซต มาอัตได้บันทึกถึงความเกียจคร้านทั่วไปของคนงานในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากเสี่ยงต่ออันตรายจากผู้บุกรุกชาวลิเบีย[14]

ฟาโรห์รามเสสที่ 11 แก้

ฟาโรห์รามเสสที่ 11 เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ ในรัชสมัยของพระองค์ตำแหน่งเริ่มอ่อนแอลงจนทางตอนใต้ มหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์กลายเป็นผู้ปกครองอียิปต์บนโดยพฤตินัย ในขณะที่ฟาโรห์สเมนเดสได้ทรงควบคุมอียิปต์ล่างก่อนที่ฟาโรห์รามเสสที่ 11 จะเสด็จสวรรคต ในที่สุดฟาโรห์สเมนเดสก็ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ที่เมืองทานิส[15]

การเสื่อมอำนาจ แก้

ดังที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์ในก่อนหน้านี้ ราชวงศ์ที่ยี่สิบก็ต้องเผชิญต่อผลกระทบของการข้อพิพาทระหว่างรัชทายาทของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ตัวอย่างเช่น พระราชโอรสจำนวนสามพระองค์ที่แตกต่างกันของฟาโรห์รามเสสที่ 3 เป็นที่ทราบกันดีว่าได้ขึ้นมามีอำนาจเป็นฟาโรห์รามเสสที่ 4 ฟาโรห์รามเสสที่ 6 และฟาโรห์รามเสสที่ 8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว อียิปต์ยังถูกรุมเร้าด้วยภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำท่วมต่ำกว่าปกติในแม่น้ำไนล์ ความอดอยาก ความไม่สงบในบ้านเมือง และการฉ้อโกงของทางการ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้จำกัดความสามารถในการบริหารจัดการของฟาโรห์ไม่ว่าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง

รายพระนามฟาโรห์ แก้

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ทรงปกครองเป็นเวลาประมาณ 120 ปี นับตั้งแต่ 1187 ถึง 1064 ปีก่อนคริสตกาล วันและเวลาในตารางส่วนใหญ่นำมาจาก "Chronological Table for the Dynastic Period" ในเอริค ฮอร์นุง, รอล์ฟ เคราส์ & เดวิด วอร์เบอร์ตัน (บรรณาธิการ), Ancient Egyptian Chronology (คู่มือตะวันออกศึกษา), บริลล์, 2006 ฟาโรห์หลายพระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในหุบเขากษัตริย์ในธีบส์ (KV) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Theban Mapping Project[16]

ฟาโรห์ รูปภาพ พระนามครองราชย์ / พระนามประสูติ รัชสมัย หลุมฝังพระบรมศพ พระมเหสี คำอธิบาย
เซตนัคห์เต   ยูเซอร์คาอูเร-เซเทปเอนเร 1189 – 1186 ปีก่อนคริสตกาล เควี 14 ทิย์-เมเรเนเซ อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์มาจากฟาโรห์ทวอสเรต
รามเสสที่ 3   ยูเซอร์มาอัตเร-เมริอามุน 1186 – 1155 ปีก่อนคริสตกาล เควี 11 ไอเซต ทา-เฮมดเจิร์ตติติ

ทิเย

รามเสสที่ 4   ยูเซอร์มาอัตเร-เซเทปเอนอามุน, ภายหลังเป็น เฮกามาอัตเร-เซเทปเอนอามุน 1155 – 1149 ปีก่อนคริสตกาล เควี 2 ดูอัตเทนต์โอเพต
รามเสสที่ 5 / อาเมนฮิร์เคเปเชฟที่ 1   ยูเซอร์มาอัตเร เซเคเปอร์เอนเร 1149 – 1145 ปีก่อนคริสตกาล เควี 9 เฮนุตวาติ

ทาเวเรตเทนรู

รามเสสที่ 6 / อาเมนฮิร์เคเปเชฟที่ 2   เนบมาอัตเร เมริอามุน 1145 – 1137 ปีก่อนคริสตกาล เควี 9 นุบเคสเบด
รามเสสที่ 7 / อิตอามุน   ยูเซอร์มาอัดเร เซเทปเอนเร เมริอามุน 1136 – 1129 ปีก่อนคริสตกาล เควี 1
รามเสสที่ 8 / เซตฮิร์เคเปเชฟ   ยูเซอร์มาอัตเร-อาเคนอามุน 1130 – 1129 ปีก่อนคริสตกาล
รามเสสที่ 9 / คาเอมวาเซตที่ 1   เนเฟอร์คาเร เซเทปเอนเร 1129 – 1111 ปีก่อนคริสตกาล เควี 6 บาเคตเวอร์เนล
รามเสสที่ 10 / อาเมนฮิร์เคเปเชฟที่ 3   เคเปอร์มาอัตเร เซเทปเอนเร 1111 – 1107 ปีก่อนคริสตกาล เควี 18
รามเสสที่ 11 / คาเอมวาเซตที่ 1   เมนมาอัตเร เซตป์เอนพทาห์ 1107 – 1077 ปีก่อนคริสตกาล เควี 4 เทนต์อามุน

พระราชพงศาวลีราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ แก้

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์เป็นราชวงศ์สุดท้ายของช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์ ซึ่งปราฏความสัมพันธ์ในพระราชวงศ์ที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะช่วงปลายราชวงศ์

 เซตนัคต์เอทัยย์-เมอร์เอนเนเซ
อิเซต ทา-เฮมดเจิร์ต ราเมสเซสที่ 3ทิเย
เพนทาเวเร
นุบเคสเบด ราเมสเซสที่ 6 ราเมสเซสที่ 4ดูอาเทนต์โอเพตอามุนเฮอร์เคเปชเอฟคาเอมวาเซต อี ราเมสเซสที่ 8พาเรเฮอร์เวเนมเอฟมอนทูเฮอร์เคเปชเอฟ บีทาคัต บี
 ราเมสเซสที่ 7 ราเมสเซสที่ 5บาเคตเวอร์เนล ราเมสเซสที่ 9
ทีติ ราเมสเซสที่ 10
ไม่ทราบ ราเมสเซสที่ 11

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ แก้

Ramesses XIRamesses XRamesses IXRamesses VIIIRamesses VIIRamesses VIRamesses VRamesses IVRamesses IIISetnakhte

อ้างอิง แก้

  1. Hartwig Altenmüller, "The Tomb of Tausert and Setnakht," in Valley of the Kings, ed. Kent R. Weeks (New York: Friedman/Fairfax Publishers, 2001), pp.222-31
  2. 2.0 2.1 "New Kingdom of Egypt". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  3. Grandet, Pierre (2014-10-30). "Early–mid 20th dynasty". UCLA Encyclopedia of Egyptology. 1 (1): 4.
  4. Lorenz, Megaera. "The Papyrus Harris". fontes.lstc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-15. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  5. William F. Edgerton, The Strikes in Ramses III's Twenty-Ninth Year, JNES 10, No. 3 (July 1951), pp. 137-145
  6. Dodson and Hilton, pg 184
  7. Grandet, Pierre (2014-10-30). "Early–mid 20th dynasty". UCLA Encyclopedia of Egyptology. 1 (1): 5–8.
  8. Jacobus Van Dijk, 'The Amarna Period and the later New Kingdom' in The Oxford History of Ancient Egypt, ed. Ian Shaw, Oxford University Press paperback, (2002), pp.306-307
  9. A.J. Peden, The Reign of Ramesses IV, (Aris & Phillips Ltd: 1994), p.21 Peden's source on these recorded disturbances is KRI, VI, 340-343
  10. Alan H. Gardiner, R. O. Faulkner: The Wilbour Papyrus. 4 Bände, Oxford University Press, Oxford 1941-52.
  11. Une enquête judiciaire à Thèbes au temps de la XXe dynastie : ...Maspero, G. (Gaston), 1846-1916.
  12. Finkelstein, Israel. "Is the Philistine Paradigm Still Viable?" (ภาษาอังกฤษ): 517. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Blackwell Books, 1992. p.289
  14. E.F. Wente & C.C. Van Siclen, "A Chronology of the New Kingdom" in Studies in Honor of George R. Hughes, (SAOC 39) 1976, p.261
  15. Dodson and Hilton, pg 185-186
  16. Sites in the Valley of the Kings