พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1

พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1 เป็นพีระมิดแห่งอียิปต์โบราณที่สร้างขึ้นสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 พีระมิดนี้สร้างขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ที่เอล-ลิชต์ โดยตั้งอยู่ใกล้กับพีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งเป็นพีระมิดพระราชบิดาของพระองค์ และพีระมิดแห่งนี้มีชื่อเดิมว่า เซนุสเรต เพเตอิ ทาวิ (เซนุสเรตทรงทอดพระเนตรทั้งสองดินแดน)

พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1
เซนุสเรตที่ 1
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°33′36.04″N 31°13′15.40″E / 29.5600111°N 31.2209444°E / 29.5600111; 31.2209444
นามร่วมสมัย
<
F12S29D21
X1
O34
N35
>Q3 X1
D21
D4D4N16
N16
O24

Ptr-tʒwj Sn-wsr-t
เพตร-ทาวี เซน-ยูเซอร์-เอต
"เซนุสเรตทรงทอดพระเนตรทั้งสองดินแดน"[1]
การก่อสร้างราชวงศ์ที่สิบสอง
ความสูง61.25 m (201.0 ft; 116.89 cu)[2]
ฐาน105.2 m (345 ft; 200.8 cu)[3]
ปริมาณ225,093 m3 (294,411 cu yd)[2]
ความชัน49°23′55″[2]
แผนภาพโครงสร้างภายในของพรีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1
แผนภาพของพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1ที่อัล-ลิษต์ และบริเวณวิหารโดยรอบ
ร่องรอยของการหุ้มหินของพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1
ชิ้นส่วนของวิหารฝังพระบรมศพของพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1

พีระมิดแต่ละด้านมีความยาวด้านละ 105 เมตร ความสูง 61.25 เมตร และมีความชันของด้านข้างทั้งสี่ของพีระมิดคือ 49° 24' พีระมิดแห่งนี้ใช้วิธีการก่อสร้างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในการก่อสร้างพีระมิดอียิปต์ในช่วงเวลาก่อนหน้า กำแพงหินทั้งสี่ที่แผ่ออกมาจากจุดศูนย์กลางซึ่งสร้างจากบล็อกหินที่หยาบ ซึ่งลดขนาดลงตามตำแหน่งที่สูงขึ้น แปดส่วนที่เกิดจากกำแพงเหล่านี้ถูกแบ่งย่อยด้วยกำแพงอีกสามส่วน โดยแยกพีระมิดออกเป็น 32 หน่วยที่แตกต่างกัน จากนั้นจึงเต็มไปด้วยแผ่นหินและเศษซาก และโครงสร้างภายนอกที่ปิดด้วยหินปูนชั้นดี[4] วิธีการก่อสร้างแบบใหม่นี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากนัก และพีระมิดที่สร้างแล้วเสร็จได้ประสบปัญหาความเสถียรของตัวพีระมิด หลักฐานที่ชัดเจนสำหรับทางลาดที่ใช้สร้างพีระมิดยังคงมีอยู่อย่างผิดปกติ

สถานที่ฝังพระบรมศพ แก้

บริเวณรอบพีระมิดจะมีอาคารเพิ่มเติมที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย วิหารฝังพระรมศพ โครงสร้างสี่เหลี่ยมที่มีลานตรงกลาง และพีระมิดที่มีขนาดเล็กกว่าจำนวน 9 แห่งสำหรับพระมเหสีในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ถัดจากส่วนที่ฝังพระบรมศพ พบทางเดินหลวงสร้างมาจากหินปูนที่มีรูปแกะสลักตั้งอยู่ทุกระยะ 10 ศอก ซึ่งนำตรงไปยังสู่วิหารที่อยู่นอกกำแพงสถานที่ฝังพระบรมศพ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้กล่าวมานี้ในปัจจุบันยังหลงเหลือมาเพียงแค่เล็กน้อย เนื่องจากมีการสร้างอาคารโรมันในยุคสมัยหลังทับลงที่บริเวณแห่งนี้

การขุดค้นสำรวจ แก้

พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างหนักตามกาลเวลา และยังคงมีการหุ้มหินปูนเพียงเล็กน้อย ในปัจจุบัน มันดูเหมือนจะเป็นเนินหินเสียมากกว่า ไม่มีการขุดเจาะค้นหาใด ๆ เข้าไปในห้องฝังพระบรมศพ เนื่องจากมีน้ำท่วมจากน้ำใต้ดิน แต่กลับได้ทราบข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างพีระมิดจากเหมืองหินโดยรอบ ซึ่งประกอบด้วยเศษซากโบราณที่มีพบมากที่สุดแห่งหนึ่งของแหล่งโบราณคดีอียิปต์[4]

โกติเออร์และเฌอกีเออร์ แก้

พีระมิดถูกค้นพบครั้งแรกโดย โกติเออร์ และเฌอกีเออร์ นักโบราณคดีในระหว่างปี ค.ศ. 1894 ถึง ค.ศ. 1895

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน แก้

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906 ถึง ค.ศ. 1943 พีระมิดแห่งนี้ถูกขุดค้นขึ้นโดยทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน ซึ่งเริ่มแรกนำโดยอัลเบิร์ต ลิธโก, อาเธอร์ เมกซ์ และอัมโบรส แลนซิง

ดิเอเตอร์ อาร์โนลด์ แก้

ระหว่างปี ค.ศ. 1984 จนถึงปี ค.ศ. 1987 ดิเอเตอร์ อาร์โนลด์ได้ดำเนินการขุดค้นเพิ่มเติมต่อ

อ้างอิง แก้

  1. Verner 2001, p. 399.
  2. 2.0 2.1 2.2 Lehner 2008, p. 17.
  3. Verner 2001, p. 465.
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ TCM

แหล่งที่มา แก้

  • Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3.
  • Verner, Miroslav (2001). The Pyramids: The Mystery, Culture and Science of Egypt's Great Monuments. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-1703-8.