ฟาโรห์โซเบกเนเฟรู

(เปลี่ยนทางจาก ราชินีโซเบคเนฟรู)

โซเบคเนเฟรู หรือ เนเฟรูโซเบค (อียิปต์โบราณ: Sbk-nfrw) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่สิบสองในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง ซึ่งทรงเป็นสตรีเพศ พระองค์อาจเคยได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 มาก่อน ที่จะได้ครองพระราชบัลลังก์โดยสมบูรณ์ภายหลังจากการสวรรคตของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ผู้ซึ่งเป็นพระเชษฐาและพระสวามีของพระองค์ ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์จะไม่ได้รับการยืนยัน แต่พระองค์กลับยืนยันความชอบธรรมบนพระราชบัลลังก์ผ่านพระราชบิดาของพระองค์ คือ ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 มีพระสมัญญาว่า "นางเหยี่ยวผู้เป็นที่รักของเทพรา" รูปสลักบางชิ้นเป็นภาพนางสวมเครื่องแบบบุรุษบ้างก็เป็นเครื่องทรงแบบสตรี แต่ใช่ว่านางจะเป็นฟาโรห์หญิงเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์อียิปต์เพราะมีฟาโรห์สตรีอีกพระองค์ที่ทรงอำนาจที่ลือชื่อมากกว่าฟาโรห์โซเบกเนเฟรู นั่นคือ ฟาโรห์ฮัตเชปซุต จากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ได้บันทึกว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 3 ปี 10 เดือน กับ 24 วัน

พระองค์ทรงมีพระนามแห่งฟาโรห์ครบทั้งห้าพระนาม ซึ่งทำให้พระองค์เองทรงแตกต่างจากผู้ปกครองหญิงพระองค์ก่อน ๆ พระองค์ยังเป็นผู้ปกครองคนแรกที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าจระเข้พระนามว่า โซเบค มีหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยการครองราชย์ของพระองค์ที่ค่อนข้างน้อย มีรูปสลักที่หลงเหลือเพียงบางส่วน – รูปสลักหนึ่งมีพระพักตร์ของพระองค์ – พร้อมจารึกได้ถูกค้นพบ สันนิษฐานว่าพีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือน่าจะถูกโปรดสร้างสำหรับพระองค์ แม้ว่าข้อสันนิษฐานนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่โดยไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แค่อนุสาวรีย์ถูกทิ้งไม่แล้วเสร็จ โดยมีเพียงโครงสร้างพื้นฐานที่เคยสร้างเสร็จ บันทึกปาปิรุสที่ค้นพบในเมืองฮาราเกห์ได้กล่าวถึงสถานที่ที่เรียกว่า เซเคม โซเบคเนเฟรู ซึ่งอาจหมายถึงพีระมิด รัชสมัยของพระองค์ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์ต่าง ๆ หลายชิ้น

พระราชวงศ์

แก้
 
ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดาของพระองค์

ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3[7][8] กับพระราชมารดาไม่ทราบพระนาม[9] โดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 มีพระมเหสีจำนวนสองพระองค์คือ พระนางอาอัต และพระมเหสีไม่ทราบพระนาม ซึ่งทั้งสองพระองค์ถูกฝังอยู่ในพีระมิดของพระสวามีที่ดาห์ชูร์ พระองค์มีพระราชธิดาอีกอย่างน้อยหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าหญิงเนเฟรูพทาห์ ซึ่งถูกฝังไว้ที่พีระมิดแห่งที่สองของพระบิดาที่ฮาวารา ซึ่งเวลาต่อมาก็ทรงถูกย้ายพระศพไปอยู่ที่พีระมิดของพระองค์เอง[10] และดูเหมือนว่าเจ้าหญิงเนเฟรูพทาห์จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีในฐานะองค์รัชทายาทของโดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 เนื่องจากพบพระนามของพระองค์อยู่ในคาร์ทูช[11] หลักฐานการฝังพระศพของเจ้าหญิงอีกสามพระองค์คือ เจ้าหญิงฮาธอร์โฮเทป, เจ้าหญิงนุบโฮเทเพต และเจ้าหญิงซิตฮาธอร์ ซึ่งพบที่สถานที่ฝังพระศพที่ดาห์ชูร์ แต่ไม่ชัดเจนว่าเจ้าหญิงเหล่านี้เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 หรือไม่ เนื่องจากสถานที่ฝังพระศพแห่งนี้ใช้สำหรับฝังพระศพเชื้อพระวงศ์ตลอดช่วงการปกครองราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[12]

และท้ายที่สุดองค์รัชทายาทของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ก็คือ ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งได้รับการยินยันแล้วว่าพระโอรสของพระนางเฮเทปติ ถึงแม้ว่าตำแหน่งของพระนางจะไม่มีการอ้างถึงว่าพระองค์เป็น "พระมเหสีแห่งกษัตริย์"[13] ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 กับฟาโรห์โซเบคเนเฟรูนั้นยังคงไม่ชัดเจนคลุมเครือ ตามที่งานเขียน แอจิปเทียกา ของนักประวัติศาสตร์โบราณนามว่า มาเนโท ได้ระบุว่าทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพี่น้องร่วมสายเลือด[7] และตามคำกล่าวแก กัลเลนเดอร์ ที่ว่าทั้งพระองค์ทรงอภิเษกสมรมกันด้วย[14] แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันเกี่ยวกับพระสมัญญาของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูที่กล่าวถึง "พระมเหสีแห่งกษัตริย์" หรือ 'พระภคินีหรือพระขนิษฐาแห่งกษัตริย์'[9] การขึ้นสู่พระราชบัลลังก์ของพระองค์น่าจะมาจากสาเหตุที่ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ที่เสด็จสวรรคตโดยปราศจากองค์รัชทายาทชาย[7] อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์สองพระองค์จากราชวงศ์ที่สิบสามคือ ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 และฟาโรห์โซนเบฟ ได้รับการระบุว่าเป็นพระราชโอรสของพระองค์ โดยอาศัยพระนามร่วมกันว่า 'อเมนเอมฮัต'[15] ดังนั้น ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์หลังจากการสวรรคตของพระสวามี โดยทรงมองว่าองค์ทายาทของพระองค์นั้นไม่ชอบด้วยกฏมณเฑียรบาล[16]

ฟาโรห์กษัตริยา

แก้

พระองค์เป็นหนึ่งในสตรีเพียงไม่กี่คนที่สมาราถขึ้นมาปกครองอียิปต์[17][18] และเป็นพระองค์แรกที่ทรงมีพระนามแห่งฟาโรห์ครบทั้งห้าพระนาม ซึ่งทำให้พระองค์เองที่ทรงแตกต่างจากผู้ปกครองหญิงพระองค์ก่อน ๆ[7][19] พระองค์ยังเป็นผู้ปกครองคนแรกที่เกี่ยวข้องกับพระนามเทพเจ้าจระเข้ เทพโซเบค ซึ่งมีเอกลักษณ์ปรากฏทั้งในพระนามประสูติและพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์[20] คารา คูนีย์ มองว่า อียิปต์โบราณนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการอนุญาตให้สตรีมีอำนาจที่เป็นทางการและเด็ดขาด สตรีเหล่านั้นวางตัวว่าสตรีนั้นเป็นผู้ถูกยกขึ้นครองพระราชบัลลังก์ในช่วงวิกฤต เพื่อชี้นำอารยธรรมและรักษาระเบียบทางสังคม ถึงแม้ว่าเธอยังตั้งข้อสังเกตที่ว่า การยกระดับสู่อำนาจนี้อาจจะเป็นเรื่องหลอกลวง แต่การที่สตรีได้ครองพระราชบัลลังก์แทนผู้ปกครองที่เป็นบุรุษชั่วคราว การครองราชย์ของพวกนางมักจะตกเป็นเป้าหมายในการลบล้างโดยผู้สืบทอดในรุ่นต่อมา และโดยรวมแล้ว สังคมอียิปต์นั้นมักจะกดขี่ข่มเหงสตรี[21]

ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ มีหลักฐานบางอย่างเกี่ยวกับผู้ปกครองสตรีพระองค์อื่น ๆ อย่างในช่วงต้นประวัติศาสตร์ พระนางเมริตนิธจากราชวงศ์ที่หนึ่งได้รับการเสนอให้ปกครองอียิปต์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระราชโอรส[22] ในช่วงราชวงศ์ที่ห้า พระนางเซตอิบฮอร์ อาจจะทรงครองราชย์เป็นฟาโรห์หญิง โดยพิจารณาจากลักษณะที่อนุสาวรีย์ของพระองค์เป็นเป้าหมายสำหรับการทำลาย[23] ผู้ปกครองสตรีอีกพระองค์คือ พระนางนิโตคริส ซึ่งทราบกันดีว่าพระองค์ขึ้นปกครองอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่หก[24] ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระองค์[23][25] และพระองค์ไม่ได้กล่าวถึงช่วงก่อนราชวงศ์ที่สิบแปดเลย[24] ทำให้ตำแหน่งฟาโรห์ของพระนางนิโตคริสอาจจะเป็นเพียงตำนานกรีกแทน[25] และพระนามนี้มีที่มาจากการแปลที่ไม่ถูกต้องของฟาโรห์นิตอิเกอร์ติ ซิพทาห์[26]

รัชสมัย

แก้

พระราชอาณาจักรกลางกำลังเสื่อมอำนาจลง เมื่อฟาโรห์โซเบคเนเฟรูขึ้นมาปกครองต่อ[27] โดยความเจริญรุ่งเรืองจนถึงจุดสูงสุดของพระราชอาณาจักรกลางเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3[28][29] และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ก็ทรงเป็นแบบโครงสำหรับตัวละครในตำนานเซซอสทริสที่มาเนโทและเฮโรโดตัสได้บรรยายไว้[30][31] พระองค์ได้ส่งคณะเดินทางทางทหารไปยังนิวเบียและดินแดนซีเรีย-ปาเลสไตน์[32][33] และสร้างพีระมิดอิฐโคลนสูง 60 เมตร (200 ฟุต) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์[34] พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 39 ปี ตามหลักฐานจากจารึกในอไบดอส ซึ่งพระองค์ถูกฝังพระศพไว้[35] ในทางตรงกันข้าม ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ทรงขึ้นปกครองอียิปต์ในช่วงเวลาที่สงบสุข ซึ่งมีการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ การพัฒนาในไฟยุม และการสำรวจเหมืองแร่จำนวนมาก[36][37] และรัชสมัยของพระองค์กินเวลาอย่างน้อย 45 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น[14] พระองค์โปรดให้สร้างพีระมิดจำนวนสองแห่งที่ดาห์ชูร์และฮาวารา[38] โดยนิโกลา กรีมัล ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การครองราชย์ที่กินระยะเวลายาวนานดังกล่าวมีส่วนที่ทำให้ราชวงศ์ที่สิบสองสิ้นสุดลง แต่ไม่มีการล่มสลายอย่างในช่วงสิ้นสุดสมัยราชอาณาจักรเก่า[27] ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 9 หรือ 10 ปี[39] เนื่องจากพบหลักฐานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์[14]

ด้วยสาเหตุนี้เองที่ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูจึงได้ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์[27] โดยพระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลาประมาณ 4 ปี แต่เช่นเดียวกับผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ มีบันทึกที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่บันทึก[40] การเสด็จสวรรคตของพระองค์ได้ทำให้การปกครองของราชวงศ์ที่สิบสองสิ้นสุดลง[41][42] และเริ่มต้นสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง ซึ่งกินระยะเวลาไปอีกสองศตวรรษ[43]

ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่นักไอยคุปต์วิทยาทราบเพียงเล็กน้อย เนื่องจากขาดหลักฐานอ้างอิงถึงผู้ปกครองในช่วงเวลานั้น[44] และฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1[45] หรือฟาโรห์เวกาฟ[46] ได้ขึ้นมาปกครองอียิปต์ต่อจากพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามแห่่งอียิปต์ขึ้น[27] สตีเฟน ไควร์ค์ ได้เสนอความเห็นโดยพิจารณาจากจำนวนฟาโรห์และการปกครองในระยะเวลาที่สั้นว่า การสืบราชพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดของอียิปต์ได้ขึ้นมาครองพระราชบัลลังก์[40][47] ฟาโรห์เหล่านั้นอาจจะรักษาเมืองอิตจ์-ทาวี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองได้ตลอดช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม[48][49] อย่างไรก็ตาม พระราชสถานะของฟาโรห์เหล่านั้นได้เสื่อมลงให้อยู่ในสถานะที่น้อยกว่าเมื่อก่อนมาก และอำนาจกลับอยู่ในกับขุนนางฝ่ายบริหาร[47][49] และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พระราชอาณาจักรอียิปต์ยังคงเป็นปึกแผ่นจนถึงช่วงปลายราชวงศ์[48] คิม รีฮอล์ตเชื่อว่า เมื่อฟาโรห์โซเบคเนเฟรูเสด็จสวรรคตลง ก็ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ขึ้นในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งมาเป็นฐานะคู่แข่งทางอำนาจของราชวงศ์ที่สิบสาม[50] โธมัส ชไนเดอร์ ได้โต้แย้งว่า หลักฐานสนับสนุนสำหรับข้อสมมติฐานนี้ยังน้อยเกินไป[51]

หลักฐานรับรอง

แก้

หลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย

แก้
 
รูปสลักของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

มีแหล่งหลักฐานเพียงกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้นที่สามารถยืนยันการปกครองของโซเบคเนเฟรูในฐานะฟาโรห์แห่งอียิปต์[40] บันทึกจากเมืองคุมมา ซึ่งเป็นเมืองที่มีป้อมปราการในเขตดินแดนนิวเบีย ได้บันทึกระดับความสูงน้ำท่วมของแม่น้ำไนล์ที่ 1.83 ม. (6.0 ฟุต) ในช่วงปีที่ 3 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[39][40] จารึกอื่นที่ค้นพบในทะเลทรายตะวันออกได้บันทึกว่า "ปีที่ 4 เดือนที่สองของฤดูกาลแห่งตลิ่งแม่น้ำไนล์"[52] ที่พิพิธภัณฑ์บริติชมีตราประทับทรงกระบอกอันวิจิตร ซึ่งปรากฏพระนามของพระองค์บนนั้น[40][53] เป็นตราประทับทำด้วยหินสบู่เคลือบและมีความยาว 4.42 ซม. (1.74 นิ้ว) และเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.55 ซม. (0.61 นิ้ว)[54]

มีค้นพบรูปสลักไร้พระเศียรของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูขนาดเล็ก[7][40][55]ที่สลักจากหินควอตซ์ก้อนเดียว ซึ่งเป็นรูปสลักที่พระองค์ทรงสวมชุดของสตรีและบุรุษรวมกัน พร้อมกับข้อความที่ว่า 'พระธิดาแห่งเทพเร(?), จากพระวรกายของพระองค์, โซเบคเนเฟรู, ขอให้พระองค์มีพระชนม์เหมือนดั่งเทำเทพเรชั่วกัลปวสาน'[40][55] บนพระวรกายของพระองค์มีจี้ห้อยตามแบบที่สวมใส่โดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3[55] พบรูปสลักหินบะซอลต์สามรูปของฟาโรห์สตรีในเทล เอด-ดับ'อา[56] มีสองรูปสลักที่อยู่อิริยาบถท่าประทับนั่ง อีกรูปหนึ่งอยู่ในอิริยาบททรงนั่งคุกเข่า[57][58] และอีกรูปสลักหนึ่งเป็นรูปสลักที่พระองค์กำลังเหยียบย่ำเก้าคันธนู ซึ่งเป็นตัวแทนของการปราบปรามศัตรูของอียิปต์[7] รูปสลักทั้งสามรูปดูเหมือนจะมีขนาดเท่าของจริง[58] อีกหนึ่งรูปสลักที่มีพระเศียรของพระองค์เป็นที่ทราบ ซึ่งรูปสลักดังกล่าวถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งเบอร์ลิน แต่สูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การมีอยู่ของรูปสลักดังกล่าวได้รับการยืนยันด้วยภาพถ่ายและการหล่อปูนปลาสเตอร์ พอดีกับส่วนล่างของรูปสลักนั่งที่ค้นพบที่เซมนาซึ่งมีสัญลักษณ์คาร์ทูช smꜣ tꜣwy ที่ด้านข้างของพระราขบัลลังก์[59] ซึ่งรูปสลักสวนครึ่งล่างดังกล่าวได้ถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ในบอสตัน[60][61] มีรูปสลักทีพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนในนิวยอร์กที่ได้สันนิษฐานว่าเป็นตัวแทนของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู แม้ว่าข้อสันนิษฐานนี้จะไม่ได้รับการยืนยัน[60] รูปสลักที่ทำจากหินชีสต์ซึ่งเป็นรูปให้เห็นสตรีคนหนึ่งที่สวมวิกผมและสวมมงกุฎที่ประกอบด้วยงูเห่ายูเรอุสและนกแร้งสองตัวที่มีปีกที่กางออกซึ่งไม่ทราบความหมายของสัญลักษณ์ดังกล่าว และสวมเสื้อคลุม ḥb-sd[40][62] ฐานของรูปสลักอีกรูปที่มีพระนามของพระองค์และระบุว่าเป็นตัวแทนของพระราชธิดาแห่งกษัตริย์ถูกค้นพบในเมืองเกเซอร์ ถึงแม้ว่าจะหมายถึงพระราชธิดาของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 หรืออาจจะเป็นฟาโรห์โซเบคเนเฟรูก็ตาม[63][64] แต่สฟิงซ์จากหินบะซอลต์สีดำที่ไม่มีส่วนศีระษะซึ่งค้นพบโดย เอดูอาร์ด นาวิลล์ในคาทานา-กันตีร์ ซึ่งมีจารึกที่เสียหายที่ระบุถึงฟาโรห์โซเบคเนเฟรูอย่างไม่แน่ชัด[65]

มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นในเฮราคลีโอโพลิส แมกนา และต่อเติมพีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 3 ในฮาวารา[40] พระองค์ทรงโปรดให้จารึกข้อความไว้บนเสาหินแกรนิตสี่เสาที่พบในวิหารแห่งหนึ่งในคอม เอล-อาคาริบ ในขณะที่คานหินแกรนิตอีกสิบอันอาจมีอายุย้อนไปถึงในช่วงเวลาเดียวกัน[66] มีสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่เชื่อมโยงเธอกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 มากกว่าฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 โดยสนับสนุนทฤษฎีที่ว่า พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 และอาจจะเป็นเพียงพระภคินีหรือพระขนิษขาบุญธรรมของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งมีพระราชมารดาที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ แหล่งหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยจากรัชสมัยของพระองค์แสดงให้เห็นว่า ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูมีพระสมัญญาเฉพาะ 'พระราชธิดาแห่งกษัตริย์' ซึ่งสนับสนุนข้อสมมติฐานนี้ต่อไป[63] ตัวอย่างของจารึกดังกล่าวมาจากบล็อกหินปูนของ 'เขาวงกต' ของพีระมิดที่ฮาวารา มันอ่านว่า 'ผู้ทรงที่รักของเทพี Dḥdḥt แลเทพ Nỉ-mꜣꜥt-rꜥ [อเมนเอมฮัตที่ 3] มอบให้ [... ] * พระธิดาแห่งเทพเร, โซเบคเนเฟรู, เจ้าแห่งเชเดต, มอบชีวิตทั้งหมด' จารึกยังเป็นเพียงการอ้างอิงถึงเทพี Dḥdḥt เท่านั้น[67][68] ในทางตรงกันข้าม พระนามของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ก็ไม่ปรากฏที่ฮาวารา[69]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

แก้
 
ภาพวาดโดยฟลินเดอร์ส เพทรี จากตราประทับทรงกระบอกของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู ในพิพิธภัณฑ์บริติช

พระองค์ถูกกล่าวถึงในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งคาร์นักในส่วนแรก ๆ[70], บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งซัคคารา[71] และบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน[40] แต่ไม่ได้ถูกบันทึกบนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอสอย่างเด่นชัด[72] นอกจากพระองค์แล้วยังมีพระนามของฟาโรห์จากสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งและสอง และฟาโรห์จากสมัยอาร์มานาก็ไม่ได้ถูกบันทึกเช่นกัน ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีฟาโรห์พระองค์ใดบ้างที่ฟาโรห์รามเสสที่ 2 และฟาโรห์เซติที่ 1 ทรงมองว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องและชอบธรรมของอียิปต์[72] ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ได้ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 3 ปี 10 เดือน กับ 24 วัน[39][73][74] มาเนโทกล่าวถึงพระองค์โดยมีพระนามว่าเป็น 'สเคมิโอฟริส' ซึ่งพระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 4 ปี[75]

อนุสรณ์สถานที่เกี่ยวข้องกับพิธีพระบรมศพ

แก้

ยังไม่ได้รับการระบุที่ตั้งของหลุมฝังพระศพของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูอย่างแน่ชัด โดยมีพีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือถือเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดที่จะยืนยันสถานที่ดังกล่าวนี้[76][77] และพีระมิดดังกล่าวอาจจะมีอายุย้อนไปจนถึงช่วงหนึ่งหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ที่สิบสอง[78] ซึ่งมีเพียงโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้นที่เสร็จสมบูรณ์ การก่อสร้างโครงสร้างส่วนบนและวิหารที่ยิ่งใหญ่นั้นไม่เคยเริ่มต้นขึ้น ทางเดินของโครงสร้างพื้นฐานมีแผนที่ซับซ้อน บันไดทางลงใต้จากด้านตะวันออกของพีระมิดที่นำไปสู่ห้องสี่เหลี่ยมซึ่งเชื่อมต่อกับทางลาดถัดไปที่ทอดไปทางทิศตะวันตกไปยังประตูน้ำ ประตูทางเข้าประกอบด้วยบล็อกควอตซ์ขนาด 42,000 กิโลกรัม (93,000 ปอนด์) ที่ตั้งใจจะเลื่อนเข้าไปและปิดกั้นทางเดิน เมื่อเลยทางเดินผ่านไปอีกหลาย ๆ โค้งและช่องประตูเล็กๆ อีกอันที่สองก่อนจะสิ้นสุดที่ห้องโถง ทางใต้ของห้องนี้เป็นห้องฝังพระศพซึ่งเกือบทั้งหมดสลักจากหินควอทซ์ก้อนเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นห้องสำหรับใส่โลงพระศพ ในช่องลึก มีวางฝาหินควอทไซต์ซึ่งจะถูกเลื่อนเข้าที่เหนือโลงพระศพแล้วล็อคเข้าที่โดยแผ่นหินที่กั้นไว้ ผู้ทำการก่อสร้างได้ทาสีแดงและเติมเส้นสีดำ ทางเดินที่นำไปสู่พีระมิดสร้างด้วยอิฐโคลน ซึ่งคนงานต้องเคยใช้ ถึงแม้ว่าสถานที่ฝังศพจะถูกสร้างขึ้น แต่ไม่มีการฝังพระศพเลย[77][78] สถานที่นี้เรียกว่า เซเคม โซเบคเนเฟรู ซึ่งถูกกล่าวถึงบนบันทึกกระดาษปาปิรัสที่พบในฮาราเกห์ ซึ่งอาจเป็นชื่อพีระมิดของพระองค์[79][80] บนจารึกจากที่ฝังศพจากอไบดอส ซึ่งขณะนี้อยู่ในมาร์แซย์ ได้มีการกล่าวถึงผู้ดูแลห้องเก็บของของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูนามว่า เฮบิ ซึ่งจารึกขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม และเป็นหลักฐานยืนยันถึงการบูชาพระศพอย่างต่อเนื่อง[81][82]

อ้างอิง

แก้
  1. Schneider 2006, p. 174.
  2. Krauss & Warburton 2006, pp. 480 & 492.
  3. 3.0 3.1 Leprohon 2013, p. 60.
  4. Cooney 2018, p. 87.
  5. Cooney 2018, p. 88.
  6. The British Museum n.d., Description.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Gillam, Robyn (2001). "Sobekneferu". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. p. 301. ISBN 978-0-19-510234-5.
  8. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 92 & 95.
  9. 9.0 9.1 Zecchi, Marco (2010). Sobek of Shedet : The Crocodile God in the Fayyum in the Dynastic Period. Studi sull'antico Egitto. Todi: Tau Editrice. ISBN 978-88-6244-115-5., p. 84.
  10. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 93, 95–96 & 99.
  11. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., p. 98.
  12. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 92, 95–98.
  13. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., p. 95.
  14. 14.0 14.1 14.2 Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 158.
  15. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 102 & 104.
  16. Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press., p. 294.
  17. Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., pp. 12 & 14.
  18. Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 978-1-4088-1002-6., pp. 128–129.
  19. Robins, Gay (2001). "Queens". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. pp. 105–109. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 108.
  20. Zecchi, Marco (2010). Sobek of Shedet : The Crocodile God in the Fayyum in the Dynastic Period. Studi sull'antico Egitto. Todi: Tau Editrice. ISBN 978-88-6244-115-5., pp. 84–85.
  21. Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 9–12.
  22. Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 30.
  23. 23.0 23.1 Roth, Ann Macy (2005). "Models of Authority : Hatshepsut's Predecessors in Power". In Roehrig, Catharine (ed.). Hatshepsut From Queen to Pharaoh. New York: Metropolitan Museum of Art. ISBN 1-58839-173-6., p. 12.
  24. 24.0 24.1 Ryholt, Kim (2000). "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. 127 (1): 87–119. doi:10.1524/zaes.2000.127.1.87. ISSN 0044-216X., p. 92.
  25. 25.0 25.1 Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., pp. 9–10.
  26. Ryholt, Kim (2000). "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. 127 (1): 87–119. doi:10.1524/zaes.2000.127.1.87. ISSN 0044-216X., pp. 92–93.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 171.
  28. Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 154–158.
  29. Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., pp. 166–170.
  30. Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 166.
  31. Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 154.
  32. Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 154–155.
  33. Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 168.
  34. Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 156.
  35. Schneider, Thomas (2006). "The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12-17)". In Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (eds.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 168–196. ISBN 978-90-04-11385-5., p. 172.
  36. Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 156–157.
  37. Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 170.
  38. Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 157–158.
  39. 39.0 39.1 39.2 Schneider, Thomas (2006). "The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12-17)". In Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (eds.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 168–196. ISBN 978-90-04-11385-5., p. 173.
  40. 40.00 40.01 40.02 40.03 40.04 40.05 40.06 40.07 40.08 40.09 Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 159.
  41. Gillam, Robyn (2001). "Sobekneferu". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. p. 301. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 403.
  42. Simpson, William Kelly (2001). "Twelfth Dynasty". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. pp. 453–457. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 456.
  43. Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 182.
  44. Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 2.
  45. Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 100&102.
  46. Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 159–160.
  47. 47.0 47.1 Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 978-1-4088-1002-6., p. 131.
  48. 48.0 48.1 Quirke, Stephen (2001). "Thirteenth Dynasty". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. pp. 394–398. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 394.
  49. 49.0 49.1 Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 183.
  50. Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 75.
  51. Schneider, Thomas (2006). "The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12-17)". In Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (eds.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 168–196. ISBN 978-90-04-11385-5., p. 177.
  52. Almásy, Adrienn; Kiss, Enikő (2010). "Catalogue by Adrienn Almásy and Enikő Kiss". In Luft, Ulrich; Adrienn, Almásy (eds.). Bi'r Minayh, Report on the Survey 1998-2004. Studia Aegyptiaca. Budapest: Archaeolingua. pp. 173–193. ISBN 978-9639911116., pp. 174–175.
  53. "EA16581". The British Museum. The British Museum. n.d. Retrieved 20 August 2021., description.
  54. "EA16581". The British Museum. The British Museum. n.d. Retrieved 20 August 2021., materials, technique & dimensions.
  55. 55.0 55.1 55.2 Berman, Lawrence; Letellier, Bernadette (1996). Pharaohs : Treasures of Egyptian Art from the Louvre. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-521235-5., pp. 46–47.
  56. Bietak, Manfred (1999). "Tell ed-Dab'a, Second Intermediate Period". In Bard, Kathryn (ed.). Encyclopedia of the archaeology of ancient Egypt. London; New York: Routledge. pp. 949–953. ISBN 978-0-203-98283-9., p. 950.
  57. Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 338.
  58. 58.0 58.1 Habachi, Labib (1954). "Khatâ'na-Qantîr : Importance". Annales du Service des Antiquités de l'Égypte. Vol. 52. Le Caire: L'Institut Français d'Archéologie Orientale. pp. 443–559. OCLC 851266710., pp. 458–460.
  59. Fay, Biri; Freed, Rita; Schelper, Thomas; Seyfried, Friederike (2015). "Neferusobek Project: Part I". In Miniaci, Gianluci; Grajetzki, Wolfram (eds.). The World of Middle Kingdom Egypt (2000-1550 BC). Vol. I. London: Golden House Publications. pp. 89–91. ISBN 978-1906137434., pp. 89–91.
  60. 60.0 60.1 Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 339.
  61. "Lower body fragment of a female statue seated on a throne". MFA. Museum of Fine Arts Boston. n.d. Retrieved 21 October 2021.
  62. "Statuette of a Late Middle Kingdom Queen". The MET. The Metropolitan Museum of Art. n.d. Retrieved 21 October 2021.
  63. 63.0 63.1 Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 213.
  64. Weinstein, James (1974). "A Statuette of the Princess Sobeknefru at Tell Gezer". Bulletin of the American Schools of Oriental Research. 213: 49–57. doi:10.2307/1356083. ISSN 2161-8062., pp. 51–53.
  65. Naville, Édouard (1887). Goshen and The Shrine of Saft El-Henneh (1885). Memoir of the Egypt Exploration Fund. Vol. 5. London: Trübner & Co. OCLC 3737680., p. 21.
  66. Arnold, Dieter (1996). "Hypostyle Halls of the Old and Middle Kingdoms". In Der Manuelian, Peter (ed.). Studies in Honor of William Kelly Simpson. Vol. 1. Boston, MA: Museum of Fine Arts. pp. 38–54. ISBN 0-87846-390-9., p. 46.
  67. Uphill, Eric (2010). Pharaoh's Gateway to Eternity : The Hawara Labyrinth of Amenemhat III. London: Routledge. ISBN 978-0-7103-0627-2., p. 34.
  68. Petrie, Flinders (1890). Kahun, Gurob, and Hawara. London: Kegan Paul, Trench, Trübner, and Co. OCLC 247721143., p. Pl. XI.
  69. Zecchi, Marco (2010). Sobek of Shedet : The Crocodile God in the Fayyum in the Dynastic Period. Studi sull'antico Egitto. Todi: Tau Editrice. ISBN 978-88-6244-115-5., p. 85.
  70. "Chambre des Ancêtres". Louvre. Louvre. n.d. Retrieved 20 August 2021., Chambre des Ancêtres.
  71. Hawass, Zahi (2010). Inside the Egyptian Museum with Zahi Hawass. Cairo: American University in Cairo Press. ISBN 978-977-416-364-7., pp. 154–157.
  72. 72.0 72.1 "EA117". The British Museum. The British Museum. n.d. Retrieved 20 August 2021., curator's comments.
  73. Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 15.
  74. Malék, Jaromír (1982). "The Original Version of the Royal Canon of Turin". The Journal of Egyptian Archaeology. 68: 93–106. doi:10.2307/3821628. JSTOR 3821628., p. 97, fig. 2, col. 10, row. 2.
  75. Waddel, William Gillan; Manetho; Ptolemy (1964) [1940]. Page, Thomas Ethelbert; Capps, Edward; Rouse, William Henry Denham; Post, Levi Arnold; Warmington, Eric Herbert (eds.). Manetho with an English Translation. Cambridge, MA: Harvard University Press. OCLC 610359927., p. 69.
  76. Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3., p. 184.
  77. 77.0 77.1 Verner, Miroslav (2001). The Pyramids: The Mystery, Culture and Science of Egypt's Great Monuments. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-1703-8., p. 433.
  78. 78.0 78.1 Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3., p. 185.
  79. Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 96.
  80. "UC32778". UCL Museums & Collections. The Petrie Museum. n.d. Retrieved 5 September 2021
  81. Siesse, Julie (2019). La XIIIe Dynastie. Paris: Sorbonne Université Presses. ISBN 979-10-231-0567-4., p. 130.
  82. Ilin Tomich, Alexander (n.d.). "Hbjj on 'Persons and Names of the Middle Kingdom'". Johannes Gutenberg Universität Mainz. Johannes Gutenberg Universität Mainz. Retrieved 8 September 2021.

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แก้
  • หนังสือพงศาวดารไอยคุปต์ ของ รัฐ มหาดเล็ก และทีมงานต่วย'ตูน สำนักพิมพ์ พี.วาทิน พับลิกชั่น จำกัด