ฟาโรห์เคนด์เจอร์

ยูเซอร์คาเร เคนดเจอร์ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่ยี่สิบเอ็ดจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง[1] พระองค์อาจครองราชย์เป็นระยะเวลา 4 ถึง 5 ปี แต่หลักฐานทางโบราณคดีได้ระบุว่า พระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 หรือ 4 ปี 3 เดือน กับอีก 5 วัน มีการเสนอช่วงเวลาที่แน่นอนหลายช่วงสำหรับรัชสมัยของพระองค์ โดยขึ้นอยู่กับนักวิชาการคือ ระหว่าง 1764 - 1759 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยรีฮอล์ตและเบเกอร์[2], ระหว่าง 1756 - 1751 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยเรดฟอร์ด[3], และระหว่าง 1718 - 1712 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยชไนเดอร์[4] พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดขนาดเล็กของพระองค์ขึ้นในซัคคารา และ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ศูนย์กลางการปกครองของพระองค์จะอยู่ที่เมืองเมมฟิส

พระนาม แก้

พระนามของฟาโรห์เคนดเจอร์ไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นภาษาอียิปต์[5] โดยพระนาม เคนดเจอร์ "ได้รับการตีความว่าเป็น พระนามที่เป็นภาษาต่างดินแดน ซึ่ง hnzr เป็นนามสำหรับชาวเซมิติก และเขียนเป็น h(n)zr แปลว่า [สำหรับ] "หมูป่า" ตามคิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก[2] เขาตั้งข้อสังเกตว่า การระบุตัวตนนี้ได้รับการยืนยันโดยข้อเท็จจริง ว่าชื่อ h(n)zr เขียนเป็น hzr ในการสะกดพระนามฟาโรห์พระองค์นี้บนตราประทับจากรัชสมัยของพระองค์[6] ซึ่งรีฮอล์ตระบุว่าคำว่า 'หมูป่า' คือ:

โดยชื่อ 'หมูป่า' ปรากฏเป็นคำว่า huzīru ในภาษาอัคคาเดียน, hinzīr ในภาษาอาหรับ, hazīrā ในภาษาอาราเมอิก, hazīr ในภาษาฮีบรู (ชื่อที่ปรากฏเป็น hēzīr ใน I Chron. 24:15, Neh. 10:20) hu-zi-ri ในตำรานูซิ, hnzr ในอูการิต และ hi-zi-ri ในภาษาอะมอไรต์[2]

ดังนั้น ฟาโรห์เคนดเจอร์ จึงเป็นฟาโรห์ชาวเซมิติกพระองค์แรกสุดในราชวงศ์แห่งอียิปต์โบราณ พระนามนำหน้าหรือพระนามครองพระบัลลังก์ของพระองค์คือ ยูเซอร์คาเร แปลว่า "ดวงวิญญาณแห่งเทำเร ทรงมีพละกำลัง"[7]

อย่างไรก็ตาม พระองค์อาจจะมีพระนามครองพระบัลลังก์พระนามที่สองในพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ คือ 'นิมาอัตเร' ซึ่งแปลว่า 'ผู้ซึ่งทรงอยู่คู่กับความยุติธรรม คือ เทพเร'[8] พระนามนี้ปรากฏพร้อมกับพระนามประสูติที่ด้านบนสุดของจารึกแห่งอเมนิเซเนบ (พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ซี 11)[9]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาและระยะเวลาในรัชสมัย แก้

 
ฟาโรห์กำลังถวายเครื่องบูชา ซึ่งเป็นภาพสลักบนมงกุฏพีระมิดจากพีระมิดของพระองค์
 
มงกุฏพีระมิดจากพีระมิดแห่งเคนดเจอร์

ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของฟาโรห์เคนดเจอร์ในราชวงศ์ที่สิบสามยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด เนื่องจากความไม่แน่นอนระยะเวลาในช่วงรัชสมัยที่ส่งผลต่อลำดับฟาโรห์พระองค์ก่อนหน้าหลายพระองค์ของราชวงศ์ ดาร์เรล เบเกอร์ นักไอยคุปต์วิทยาได้ระบุให้ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งราชวงศ์ รีฮอล์ตได้มองว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบสอง และเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้ระบุให้ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบเจ็ดของราชวงศ์ ยิ่งกว่านั้น การระบุตัวตนของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดย เบเกอร์และรีฮอล์ต เชื่อว่า เป็นฟาโรห์เวกาฟ แต่ฟาโรห์พระองค์ดังกล่าวกลับเป็นที่สับสนกับฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทป ดังนั้นจึงไม่ทราบว่าใครในสองพระองค์นี้เป็นผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามขึ้นและพระองค์ใดคือผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เคนดเจอร์[2][1]

ช่วงเวลาที่ได้รับการยืนยันสูงสุดสำหรับรัชสมับของฟาโรห์เคนดเจอร์ คือ เดือนที่สี่ แห่งฤดูกาลน้ำท่วม วันที่ 15 ในปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ โดยคิม รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตว่า บันทึกการควบคุมสองช่วงเวลาบนบล็อกหินจากพีระมิดที่ยังไม่แล้วเสร็จของพระองค์ ระบุว่า พระองค์ทรงปกครองอียิปต์อย่างน้อยที่สุด 3 หรือ 4 ปี 3 เดือน กับอีก 5 วัน[10] บันทึกการควบคุมดังกล่าวลงช่วงเวลาในปีที่ 1 เดือนที่ 1 แห่งฤดูอาเคต วันที่ 10 และปีที่ 5 เดือนที่ 4 แห่งฤดูอาเคต วันที่ 15 ในรัชสมัยของพระองค์[11] ในบันทึกการควบคุมเหล่านี้ มีการระบุนามเจ้าหน้าที่สามคนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพีระมิดนี้ด้วย พวกเขาคือมหาดเล็กในพระราชวังนามว่า เซเนบติฟิ มหาดเล็กนามว่า อาเมนิ และมหาดเล็กนามว่า เชเบนู[12] ในภายหลังยังได้รับการยืนยันจากหลักฐานอื่น ๆ อีก

พีระมิด แก้

ฟาโรห์เคนดเจอร์เป็นที่ทราบจากพีระมิดของพระองค์ที่ขุดค้นโดย จี. เฌอกีเออร์ ในซัคคารา ซึ่งอาจจะสร้างแล้วเสร็จ เนื่องจากพบมงกุฏพีระมิด[13] มีการพบชิ้นส่วนของโถคาโนปิก ซึ่งปรากฏพระนามเพียงบางส่วนของพระราชินีในพระองค์พระนามว่า เซเนบ[...] "ซึ่งอาจจะเป็นพระนามว่า โซนบ[เฮนัส]"[14] วัตถุชิ้นอื่น ๆ ที่ปรากฏพระนามของพระองค์ คือ จารึกจากอไบดอส ซึ่งได้บันทึกแผนการก่อสร้างโดยพระองค์ที่วิหารแห่งเทพโฮซิริสที่อไบดอส และบันทึกนามของราชมตรีนามว่า อังค์อู และจารึกอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ที่เมืองลิเวอร์พูล แต่ได้ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้บันทึกพระนามของพระราชโอรสแห่งกษัตริย์นามว่า "เคดเจอร์" ซึ่งพระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสแห่งกษัตริย์[15] วัตถุอื่นๆ ที่ปรากฏพระนามของพระองค์ตามรายการของรีฮอล์ต ได้แก่ ตราประทับทรงกระบอกสามชิ้นจากอาธริบิส แผ่นกระเบื้องที่พบใกล้เอล-ลิชต์ ตราประทับสคารับ และใบมีดขวาน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 181
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  3. Redford, Donald B., บ.ก. (2001). "Egyptian King List". The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 2. Oxford University Press. pp. 626–628. ISBN 978-0-19-510234-5.
  4. Thomas Schneider following Detlef Franke: Lexikon der Pharaonen
  5. The name Khedjer for private individuals appears on only two monuments: Stela Marischal Museum, University of Aberdeen ABDUA 21642 and on stela Liverpool M13635, see Iain Ralston: The Stela of Ibi son of Iiqi in the Marischal Museum, University of Aberdeen, In Discovering Egypt from the Neva, The Egyptologcial Legacy of Oleg D Berlev, edited by S. Quirke, Berlin 2003, pp.107-110, pl. 6 and W. Grajetzki: Two Treasurers of the Late Middle Kingdom, Oxford 2001, p. 28, pl. 2. Both monuments date to around the time of king Khendjer and the individuals there might have called themselves after the king.
  6. Ryholt, p.220 and footnote 763
  7. Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs, Thames and Hudson Ltd, 2006 paperback, p.91
  8. Khendjer Titulary เก็บถาวร 2012-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt 1964, 238
  10. Ryholt, p.193
  11. Ryholt, pp.193-195
  12. Felix Arnold: The Control Notes and Team Marks, The South Cemeteries of Lisht, Volume II, New York 1990, ISBN 0-87099-551-0, pp.176-183
  13. G. Jequier: Deux pyramides du Moyen Empire, Cairo 1933, S. 3-35
  14. Ryholt, op. cit., p.221 The object is Cairo JE 54498
  15. W. Grajetzki: Two Treasurers of the Late Middle Kingdom, Oxford 2001, p. 28, pl. 2