ผู้ใช้:Alert9654/ฉายารัฐบาล (ประเทศไทย)

การตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำปี ของสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานเกือบ 40 ปี สะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาลโดยปราศจากอคติ ซึ่งรัฐบาลแรกที่ถูกนักข่าวทำเนียบตั้งฉายา ก็คือ "รัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์" (ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ช่วงปี พ.ศ. 2523-2531)

ช่วงแรก ๆ ปี พ.ศ. 2523-2525 จะเป็นการจัดอันดับให้กับรัฐมนตรี (รวม 3 ครั้ง) และในปี พ.ศ. 2526-2530 จะเป็นการจัดอันดับและตั้งฉายาให้กับรัฐมนตรี (รวม 4 ครั้ง) ก่อนที่ภายหลังปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา จะเป็นการตั้งฉายาให้กับรัฐมนตรีเหมือนดังปัจจุบัน ส่วนวาทะแห่งปี ช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า "คำขวัญประจำปี" ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นวาทะแห่งปีในภายหลัง

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2523-2527 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายา (การจัดอันดับ) และคำขวัญประจำปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2523 42 รัฐบาล -     -
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

(นายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีที่น่าเบื่อที่สุด    
นายบุญชู โรจนเสถียร

(รองนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีที่น่ารัก (น่าหมั่นไส้) ที่สุด
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์

(รองนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีที่ขยันให้ข่าวมากที่สุด
นายสมศักดิ์ ชูโต

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีที่ให้ข่าวน้อยที่สุด
นายบรรหาร ศิลปอาชา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

รัฐมนตรีที่ออกข่าวและตกเป็นข่าวมากที่สุด
พลเรือเอก อมร ศิริกายะ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

รัฐมนตรีที่มีอัธยาศัยดีที่สุด
นายตามใจ ขำภโต

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีที่ชาวบ้านด่ามากที่สุด
นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน)

รัฐมนตรีที่มีมนุษยสัมพันธ์ (กับนักข่าว) ดีที่สุด
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)

รัฐมนตรีที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งบ่อยครั้งที่สุด
นายเกษม ศิริสัมพันธ์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รัฐมนตรีที่ทำตัวน่าหมั่นไส้ขี้จุ๊ยได้ดีที่สุด
นายขุนทอง ภูผิวเดือน

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

รัฐมนตรีที่ปกป้องศีลธรรมและวัฒนธรรมไทยได้ยอดเยี่ยมที่สุด
คำขวัญประจำปี "กลับบ้านเถอะลูก"     วาทะของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี)
พ.ศ.2524 42 รัฐบาล -     -
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

(นายกรัฐมนตรี)

นักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุด    
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์

(รองนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีที่เลือดร้อนมากที่สุด
พลตรี สุตสาย หัสดิน

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีที่ถูกเมินมากที่สุด
พลเรือเอก อมร ศิริกายะ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

รัฐมนตรีที่น่ารักที่สุด
นายชวน หลีกภัย

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีที่แก้ปัญหาด้วยปากเปล่ามากที่สุด
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รัฐมนตรีที่กล้าหาญที่สุด
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

รัฐมนตรีที่น่าหมั่นไส้มากที่สุด
นายเกษม สุวรรณกุล

(รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย)

รัฐมนตรีที่อยู่นานที่สุด
นายวีระ มุสิกพงศ์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)

รัฐมนตรีที่มีความใฝ่ฝันจะได้ภริยาเป็นดารามากที่สุด
นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีที่น่าสงสารที่สุด
คำขวัญประจำปี "เหนือพรรค เหนือพวก มีแต่เพื่อน"     วาทะของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี)
พ.ศ.2525 42 รัฐบาล -     -
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

(นายกรัฐมนตรี)

มีคนโอ๋มากที่สุด    
พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร

(รองนายกรัฐมนตรี)

ลื่นที่สุด    
ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

จุ้นจ้านที่สุด    
นายมีชัย ฤชุพันธุ์

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

น่ารักที่สุด    
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ช่างจำนรรจาที่สุด    
นายเกษม สุวรรณกุล

(รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย)

หลบฉากเก่งที่สุด    
นายวีระ มุสิกพงศ์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)

น่วมที่สุด    
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม)

สุภาพบุรุษที่สุด    
นายทวี ไกรคุปต์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ฉาวโฉ่ที่สุด    
นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

ไฟแรงที่สุด    
คำขวัญประจำปี "เหนือพรรค เหนือพวก มีแต่เพื่อน"     วาทะของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี)
พ.ศ.2526 43 รัฐบาล -     -
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

(นายกรัฐมนตรี)

ขวัญใจชนบท    
นายพิชัย รัตตกุล

(รองนายกรัฐมนตรี)

คลายทุกข์ชาวบ้านมากที่สุด    
เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

สุภาพบุรุษที่สุด    
ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

จุ้น...ไม่เสร็จ    
นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

สร้างสรรค์กีฬามากที่สุด    
นายสมหมาย ฮุนตระกูล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

คุณ...ตัวดูด    
นายสมัคร สุนทรเวช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

เซลส์แมนฝันเฟื่อง    
นายพิภพ อะสีติรัตน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)

ใช้หัว...มากที่สุด    
นายดำรง ลัทธพิพัฒน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน)

ประชาสัมพันธ์ยอดเยี่ยมที่สุด    
นายอบ วสุรัตน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

ผลงานดีเด่นที่สุด    
คำขวัญประจำปี "ก็แล้วแต่..."     วาทะของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี)
พ.ศ.2527 43 รัฐบาล -     -
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

(นายกรัฐมนตรี)

บุรุษยอดทรหด    
พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร

(รองนายกรัฐมนตรี)

ว่าที่นายกฯ ตลอดกาล    
นายพิชัย รัตตกุล

(รองนายกรัฐมนตรี)

มนุษยสัมพันธ์ยอดเยี่ยม    
นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

คนว่างงาน    
นายสมหมาย ฮุนตระกูล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

ซามูไรทมิฬ    
นายสมัคร สุนทรเวช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

สิงห์จอมโว    
นายโกศล ไกรฤกษ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีเจ้าอารมณ์    
นายอบ วสุรัตน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

ฝ่านค้านใน ครม.    
ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ผู้มีสปิริตยอดเยี่ยม    
นายโอภาส พลศิลป

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ขวัญใจเสี่ยฮะ    
คำขวัญประจำปี "ขั้นตอน...ลูก...ขั้นตอน"     วาทะของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี)

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2528-2532 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายา (การจัดอันดับ) และคำขวัญประจำปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2528
พ.ศ.2529 44 รัฐบาล -     -
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

(นายกรัฐมนตรี)

แชมป์ตลอดกาล    
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย

(รองนายกรัฐมนตรี)

รับจนเละ    
นายพิชัย รัตตกุล

(รองนายกรัฐมนตรี)

แม่ไก่ดี๊ดด๊าด    
นายมีชัย ฤชุพันธ์

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีซึมไม่สร่าง    
นายสุธี สิงห์เสน่ห์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

รัฐมนตรีปรมาจารย์    
พลเอก หาญ ลีนานนท์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

รัฐมนตรีหิ่งห้อย    
นายบรรหาร ศิลปอาชา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

รัฐมนตรีด่วนมหาภัย    
ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีบุญน้อย    
นายมนตรี พงษ์พานิช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีท่าดีทีเหลว    
นายสอาด ปิยวรรณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)

ดร.ห้าแต้ม    
คำขวัญประจำปี "เจ็บไหมลูก"     วาทะของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี)
พ.ศ.2530 44 รัฐบาล -     -
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

(นายกรัฐมนตรี)

อารมณ์บูดที่สุด    
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย

(รองนายกรัฐมนตรี)

เฮงที่สุด    
นายพงส์ สารสิน

(รองนายกรัฐมนตรี)

สบายที่สุด    
นายบรรหาร ศิลปอาชา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

ซวยที่สุด    
นายมนตรี พงษ์พานิช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

หมดท่าที่สุด    
พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รัฐมนตรีไม่มีปัญหา    
นายประมวล สภาวสุ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

ขวัญใจนายทุน    
นายศุภชัย พานิชภักดิ์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)

รัฐมนตรีมีอนาคต    
พันโท สนั่น ขจรประศาสน์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)

กาวใจไร้น้ำยา    
นายไสว พัฒโน

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

เด่นที่สุด    
คำขวัญประจำปี "ปีนี้ไม่มีคำขวัญ เพราะอารมณ์ไม่ดี"     วาทะของ สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล

    เป็นวาทะหยิกแกมหยอกที่สะท้อนถึงภาวะทางอารมณฺของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) ในรอบปีที่ผ่านมา

พ.ศ.2531 45 รัฐบาล -     -
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

(นายกรัฐมนตรี)

น้าชาติ...มาดนักซิ่ง    
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีนักชกนักชน    
นายประมวล สภาวสุ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

ซานตาคลอส    
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

คุณปู่ใจน้อย    
พันโท สนั่น ขจรประศาสน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

รัฐมนตรีป่าลั่น    
พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รัฐมนตรีปากไว...ใจเร็ว    
นายวัฒนา อัศวเหม

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ขวัญใจฉันทนา    
นายสันติ ชัยวิรัตนะ

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รัฐมนตรีไฮเทค    
นายเสนาะ เทียนทอง

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รัฐมนตรีฟิวส์ขาด    
คำขวัญประจำปี "ไม่มีปัญหา"     วาทะของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (นายกรัฐมนตรี)
พ.ศ.2532 45 รัฐบาล -     -
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

(นายกรัฐมนตรี)

นักบริหารชั้นยอด    
นายพงส์ สารสิน

(รองนายกรัฐมนตรี)

นักธุรกิจการเมือง    
นายประมวล สภาวสุ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

รัฐมนตรีขี้โอ่    
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

รัฐมนตรีเต่าล้านปี    
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

ตุ๊กแกตีนเหนียว    
นายมนตรี พงษ์พานิช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

รัฐมนตรีโครงการแสนล้าน    
นายสุบิน ปิ่นขยัน

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐมนตรีหน้าเนื้อใจเสือ    
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

มลภาวะเป็นพิษ    
นายชวน หลีกภัย

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

รัฐมนตรีต้านเอดส์    
นายบรรหาร ศิลปอาชา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

ปลาไหลพันธุ์สั้น    
คำขวัญประจำปี "มีอะไรแล้วจะบอก"     วาทะของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (นายกรัฐมนตรี)

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2533-2537 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายาและวาทะแห่งปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2533 45-46 รัฐบาล รัฐบาลเก้าอี้ดนตรี     เนื่องจากรัฐบาลมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีกันบ่อยครั้ง จนคล้ายกับการ "เล่นเกมเก้าอี้ดนตรี" หากจะนับตั้งแต่ปลายปี 2532-ปลายปี 2533 ก็มีปรับเปลี่ยน-โยกย้าย ประมาณ 9 ครั้ง และครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีขนานใหญ่ที่สุด ก็คือ ปลายเดือนสิงหาคม ปี 2533 ที่มีการปรับเปลี่ยนรวม 29 ตำแหน่ง
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

(นายกรัฐมนตรี)

ปลาไหลใส่สเกต     สืบเนื่องจากพรรคชาติไทยที่พล.อ.ชาติชายเป็นหัวหน้าพรรคนั้น ได้รับฉายาว่า "พรรคปลาไหล" ประกอบกับภายในรอบปีที่ผ่านมาได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นหลายครั้งจนรัฐบาลและนายกฯ ต้องประสบกับวิกฤติศรัทธา

    แต่นายกฯ ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์เอาตัวรอดผ่านไปได้อย่างทุลักทุเล แม้จะออกนอกลู่นอกทางและอ้างเหตุผลไม่เข้าท่าในบางครั้งก็ตาม จากชายผู้เคยได้รับฉายาบุรุษจอมพลิ้ว มาบัดนี้กลับไม่พลิ้วเหมือนฉายา

นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

บัวในดงบอน     หากใครได้มีโอกาสสนทนาพาทีกับนายบุญเอื้อ ก็ดูคล้ายจะเข้าใกล้แสงแห่งธรรมไปทุกที ๆ เพราะนายบุญเอื้อเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งในจำนวนที่ไม่มากนักที่ได้รับการยอมรับในความซื่อสัตย์สุจริต เฉกเช่น "ดอกบัวที่เกิดและเติบโตท่ามกลางดงบอน"
นายบรรหาร ศิลปอาชา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

เสือสิ้นลาย     ในยุคนั้นถือว่าเป็นยุคตกต่ำทางการเมือง เดิมทีบรรดารัฐมนตรีร่วมรัฐบาลต่างพากันขนานให้นายบรรหารเป็น "ผู้จัดการรัฐบาล" ซึ่งนายบรรหารก็ขานรับ แต่คำพูดในอดีตก็ส่งผลให้ความเชื่อถือในฐานะผู้จัดการรัฐบาลลดน้อยลง เพราะนายบรรหารเคยประกาศกร้าวว่า "ถ้าหากมีการยุบสภา ตนเองต้องเป็นคนทำ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตนจะต้องเป็นผู้ชี้นำ ขนาดนายกฯ ยังต้องมาขอคำปรึกษา" แต่พอเอาเข้าจริง ๆ นายบรรหารกลับเพิกเฉยเข้าอีหรอบ "หนูไม่รู้"
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

หงส์ในหมู่กา     -
นายมนตรี พงษ์พาณิช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

นักบุญคนบาป     เนื่องจากผู้ผลักดันโครงการมูลค่านับแสนล้านบาท แต่มีพฤติกรรมเป็นที่น่าคลางแคลงใจ ไม่สามารถอธิบายเหตุผลต่อสาธารณชนให้กระจ่างได้ แม้จะพยายามทำบุญด้วยการทอดกฐินครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ด้วยจำนวนเงิน 33 ล้านบาทที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ก็ยังไม่วายถูกตั้งข้อครหาว่านำรายได้จากหน่วยงานรัฐมาทำบุญเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตน โดยที่ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจจริง
นายอมเรศ ศิลาอ่อน

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ต้นกล้าทระนง     เนื่องจากเป็นรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่เป็นเสมือนตัวแทน "รัฐมนตรีข้าวนอกนา (มาจากคนนอกหรือไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งเป็น ส.ส.)" แต่ก็ยังสามารถทนทานต่อแรงบีบคั้นจากนักการเมืองที่นิยมแสวงหาผลประโยชน์หลาย ๆ กลุ่ม

    ทั้งยังใช้ความรู้ความสามารถบริหารบ้านเมืองเหมือน "ต้นกล้าไม่หวั่นต่อแรงลม" ยกตัวอย่างเช่น กรณีการแสดงความเห็นเรื่องระบบการจัดสรรโควตามันสำปะหลัง ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งกับบุคคลอื่น ๆ ตามมา ในส่วนของการควบคุมราคาสินค้า ก็ถือว่าเป็นผลงานที่โดดเด่นเห็นประจักษ์

นายประมวล สภาวสุ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

หน่อมแน้ม     หลังจากถูกปรับออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มาเป็น รมว.อุตสาหกรรม ตอนปลายปี 2533 นายประมวลได้แสดงอาการน้อยเนื้อต่ำใจจนเห็นได้ชัด คล้ายกับเด็กสูญเสียของเล่น ชอบพูดจาประชดประชันกระแหนะกระแหนผ่านสื่ออยู่หลายครั้ง คล้าย "คนหน่อมแน้ม ทำอะไรแบบเด็ก ๆ ไม่รู้ประสีประสา"
นายสันติ ชัยวิรัตนะ

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

บูมเมอแรง     เนื่องจากพฤติการณ์ที่พรรคกิจสังคม ซึ่งเป็นพรรคต้นสังกัดได้กระทำกับนายสันติอย่างปวดแสบปวดร้อน เปรียบเสมือนการปัดสวะให้พ้นกอ แต่นายสันติกลับเป็นบูมเมอแรง "ยิ่งขว้างไปแรง ก็ยิ่งกลับมาเร็ว"

    เพราะเมื่อพ้นออกจากพรรค นายสันติก็ออกมาเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชันขนานใหญ่ ว่ารัฐมนตรีของพรรคกิจสังคม ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ต้องการหาเงินเข้าพรรคเป็นจำนวน 500 ล้านบาท แต่เนื่องจากตนที่เป็นรัฐมนตรีใหม่ไม่สามารถหาเงินเข้าพรรคได้ตามจำนวนที่สั่ง แล้วยังระบุอีกว่า "ผู้ใหญ่ภายในพรรค สอนวิธีให้ตนทุจริต"

    นี่จึงเป็นเหตุการณ์ที่สร้างเสียงฮือฮาที่สุดในรอบปี ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของพรรคกิจสังคมตกต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2517 ถือเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยที่รัฐมนตรีออกมาเปิดโปงวิธีการคอร์รัปชันได้อย่างหมดจดและเจ็บแสบ

นายเสนาะ เทียนทอง

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

เสือร้องไห้     ใคร ๆ ต่างก็รู้ดีว่านายเสนาะ เป็นเสมือนเจ้าพ่อแห่งภาคตะวันออก ที่มีความตรงไปตรงมา กล้าได้กล้าเสีย และดุดันดั่งเสือร้าย แต่ก็มิวายกลับต้องมาหลั่งน้ำตาต่อหน้านายกฯ เพราะข่าวฉาว จนหวิดหลุดจากตำแหน่ง

    กรณีคดีทุจริตที่ดินอัลไพน์ ในข้อกล่าวหากระทำการเอื้อประโยชน์ในการซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ เนื่องจากนางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน ประมาณ 730 ไร่ ถวายให้แก่วัดธรรมิการาม ก่อนที่มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยฯ ผู้จัดการมรดก จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับบริษัทที่มีนายเสนาะเป็นผู้ถือหุ้น

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

รัฐมนตรีบ่อนแตก     เพราะบุคลิกที่ขึงขัง โผงผาง ซ้ำยังนิยมบ่มเพาะศัตรูและหาคู่ขัดแย้งมาให้รัฐบาลเสมอ ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ร.ต.อ.เฉลิม จะกลายเป็นรัฐมนตรีบ่อนแตก อยู่ที่ไหนก็ทำให้วงแตกกระเจิง
วาทะแห่งปี "คุณรู้จักผมน้อยไปเสียแล้ว"     วาทะของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (นายกรัฐมนตรี)

    เป็นคำกล่าวเมื่อครั้งที่พล.อ.ชาติชายได้รับแรงกดดันทางการเมืองอย่างหนักหน่วง

พ.ศ.2534 47 รัฐบาล รัฐบาลหอยสิบเปลือก    
นายอานันท์ ปันยารชุน

(นายกรัฐมนตรี)

ผู้ดีมีปัญหา     เนื่องจากนายอานันท์เคยเป็นผู้ดีเก่า เป็นทูตประจำอยู่ในหลายประเทศ เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีก็ยังคงแสดงความเป็นผู้ดีอย่างไม่เสื่อมคลาย ดังจะเห็นได้จากอิริยาบถและอัธยาศัยอันนุ่มนวล ราวกับเดินออกมาจากหนังสือเรื่อง "สมบัติผู้ดี" พ่วงด้วยบุคลิกการพูดการจาที่นุ่มนวล ราบเรียบ แต่บาดลึก

    ตลอดเวลา 9 เดือนเศษที่นายอานันท์เข้ามาบริหารงาน เคยกล่าววิพากษ์วิจารณ์สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยอย่างแสบสัน เช่น เรื่องที่คนไทยชอบวิ่งเข้าหาศูนย์กลางอำนาจ เรื่องระบบราชการไทยที่อืดอาดชักช้า เรื่องการศึกษาที่มีปัญหา เรื่องภาคเอกชนโกงภาษีรัฐ ทำมาหากินไม่ซื่อสัตย์ โดยเฉพาะในช่วงเกิดวิกฤติการณ์ตุลาการและรัฐธรรมนูญ

    นายอานันท์เคยปรารภกับผู้สื่อข่าวว่า "ผมไม่เข้าใจคนไทย ไม่เข้าใจสังคมไทยจริง ๆ" ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับฉายาว่า "ผู้ดีมีปัญหา"

นายมีชัย ฤชุพันธ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

พิมพ์ดำ     นายมีชัยได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระดับปรมาจารย์ตั้งแต่สมัยป๋าเปรม สมัย พล.อ.ชาติชาย ที่ถูกมอบหมายให้ร่างกฎหมายต่าง ๆ ชนิดสั่งปุ๊บ ได้ปั๊บ เพราะท่านมีความเชี่ยวชาญมากและไม่ได้เลียนแบบมาจากใคร ไม่ได้เป็นฉบับคัดลอกพิมพ์เขียว แต่เป็น "ต้นฉบับพิมพ์ดำ"

    จวบจนมาถึงยุคของสภาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นายมีชัยก็เข้าไปมีส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญการปกครอง และพระราชบัญญัติต่าง ๆ หลายฉบับ

นายเสนาะ อูนากูล

(รองนายกรัฐมนตรี)

อัจฉริยะไอซียู     นายเสนาะเข้ามารับภาระงานอันหนักหน่วงในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้นายเสนาะโหมงานอย่างเต็มที่ด้วยหวังจะให้บ้านเมืองเฟื่องฟู จนกระทั่งล้มป่วยด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ต้องนำตัวหามส่งเข้าห้องไอซียู แต่ท่านก็ยังไม่ยอมแพ้ พอรู้สึกตัวก็ไม่รั้งรอใช้ไม้ค้ำยันขึ้นรถเข็นกลับมาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลด้วยใจสู้ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
นายไพจิตร เอื้อทวีกุล

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีแรมโบ     นายไพจิตร เคยเป็นบุคคลสำคัญในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กรณีลดค่าเงินบาทจนต้องสังเวยตำแหน่งทางราชการมาแล้ว มาในรัฐบาลชุดนี้ก็ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพคับแก้ว เพราะนายไพจิตรมักออกความเห็นชนดะไปทั่วทุกแนวรบ (เหมือนพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง แรมโบ)

    อาทิ กรณีรื้อโครงการยักษ์ของรัฐบาลชุดที่แล้วขึ้นมาสะสางความซ้ำซ้อนเพื่อปกป้องเงินภาษีของประชาชน (เช่น โครงการรถไฟยกระดับโฮปเวลล์) การผลักดันให้ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว การปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อม การยับยั้งการตั้งสภาการเกษตร และได้รับความบอบช้ำอย่างสาหัสจากรณีม็อบชาวบ้านโครงการสวนสาธารณะบางกะเจ้า

    นายไพจิตร จึงกลายเป็น รมว.ที่สภาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) อยากเปลี่ยนตัวมากที่สุด

นายมีชัย วีระไวทยะ

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

รัฐมนตรีทอล์กโชว์     นายมีชัย เป็นผู้ทำให้วงการคุมกำเนิดโด่งดังจนถุงยางอนามัย ถูกเรียกกันติดปากว่า "ถุงมีชัย" มาคราวนี้ชื่อเสียงก็โด่งดังก้องโลก เมื่อนายมีชัยเข้าไปแจกถุงยางอนามัยให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมธนาคารโลก (การประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ 2534 / World Bank / International Monetary Fund Annual Meetings 1991) เพื่อรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บวกกับความสามารถในการตอบปัญหาต่าง ๆ ชนิดถามปุ๊บ ตอบปั๊บ เหมือนการนั่งโต๊ะซักถามในรายการทอล์กโชว์
นางสายสุรี จุติกุล

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

ดุ๊ยดุ่ย     นางสายสุรี เป็นผู้หญิงคนเดียวใน ครม.ที่ต่อสู้พิทักษ์ปกป้องสิทธิสตรีอย่างต่อเนื่อง อาทิ การผลักดันเรื่องการอนุญาตให้สตรีที่รับราชการสามารถลาคลอดได้ 90 วัน การต่อสู้ในเรื่องโสเภณี รวมทั้งต่อสู้ในเรื่องเด็กเยาวชน แต่ที่แหวกแนวและฮือฮามากที่สุด คือ "การเสนอแนวคิดเรื่อง การลดหรือบรรเทาปัญหาโสเภณีและปัญหาทางเพศ ด้วยการให้บุรุษทั้งหลายได้สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองบ้างเป็นครั้งคราว อย่าไปคร่ำเคร่งกับการร่วมเพศกับสตรีมากนัก"

    และเนื่องจากช่วงนั้นมีข่าวหลวงตา อายุ 72 ปี ปีนต้นไม้ขึ้นไปผูกว่าวดุ๊ยดุ่ยแล้วตกลงมาถึงแก่มรณภาพ ทางผู้สื่อข่าวจึงนำชื่อว่าวดังกล่าวมาตั้งเป็นฉายา

นายนุกูล ประจวบเหมาะ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

วิ่งสู้ฟัด     บุคลิกของนายนุกูลเป็นคนยอมหักไม่ยอมงอ ถึงขนาดงัดข้อกับคนโตในสภาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) อย่าง "พล.อ.วิโรจน์ แสงสนิท" รมช.กระทรวงเดียวกัน ด้วยการสั่งให้รื้อโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายที่ พล.อ.วิโรจน์ ดูแลอยู่ขึ้นมาพิจารณาใหม่ จนมีข่าวลือออกมาว่า่จะมีการปลดนายนุกูลออกจากตำแหน่ง ซึ่งนายนุกูลก็ไม่ได้แสดงความหวั่นเกรงแต่อย่างใด แถมยังออกมาให้ข่าวสวนกลับไปอีกว่า "ผมกลัวท่านจะตายอยู่แล้ว"

    สุดท้ายด้วยความวิ่งสู้ฟัดไปมาของเจ้ากระทรวงคมนาคมกับทำเนียบรัฐบาล เพื่อชี้แจงกับนายกรัฐมนตรี ได้ส่งผลให้มีการแก้ไขสัญญาในโครงการดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในเวลาต่อมา

นายอมเรศ ศิลาอ่อน

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

พ่อค้าฉุน     เมื่อนายอมเรศถูกผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์หรือซักถามเรื่องใด ก็จะเห็นอารมณ์ของท่านแปรเปลี่ยนไปในทางฉุนเฉียวขึ้นทุกที ทั้ง กรณีถามเรื่องสินค้าขาดแคลน เรื่องสินค้าราคาแพง ฯลฯ กลายเป็น "พ่อค้าที่ทำตัวฉุนเฉียวตลอดเวลา"
พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ตุ๋ย...โธ่เอ๊ย     พล.อ.อิสระพงศ์ มีชื่อเล่นว่า "ตุ๋ย" เมื่อรวมเข้ากับบุคลิกท่าทางอันจัดจ้าน ซึ่งถ้าเป็นมวยก็ต้องบอกว่าเป็นต่อตั้งแต่ยังไม่ได้ขึ้นชก แต่พอท่านได้ขึ้นเวทีจริง ลีลาการออกหมัดกลับทำให้สภาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ถึงกับพะอึดพะอมหลายต่อหลายครั้ง เพราะออกหมัดทีไร เป็นต้องโดนโห่เสียทุกรอบ อาทิ โครงการสี่ทหารเสือเผยแพร่ประชาธิปไตย โครงการลาดตั้งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และอื่น ๆ ซึ่งหมัดที่ออกไปแต่ละโครงการ เล่นเอา พล.อ.อิสระพงศ์ ต้องออกอาการละล้าละลังด้วยเสียงโห่ ถึงขั้นงอนไม่เข้าร่วมประชุม ครม.หลายต่อหลายครั้ง

    และเวลาที่ พล.อ.อิสระพงศ์ ให้สัมภาษณ์ ท่านก็มักจะอุทานว่า "โธ่เอ๊ย !!" เหมือนกับเพลงของวงปานามาอย่างไรก็อย่างนั้น

นายประภาศน์ อวยชัย

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)

รัฐมนตรีศรีธนญชัย     นายประภาศน์ ถูกมองว่าเคยใช้กฎหมายเพื่อสนองความเห็นของตนอย่างแยบคาย ประหนึ่ง "ศรีธนญชัย" ก็ไม่ปาน จนก่อให้เกิดวิกฤติตุลาการขึ้น
พลเอก วิมล วงศ์วาณิช

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม)

กันชนคุณภาพ     พล.อ.วิมล เป็นผู้ที่เข้าประชุม ครม.อย่างสม่ำเสมอ และแสดงบทบาทเป็น "กันชน" คอยคลี่คลายปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างรัฐบาลกับสภาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) การชี้แจงเรื่องราวต่าง ๆ เช่น การซื้ออาวุธ ข่าวที่สร้างความเสียหายให้กับ รสช. ท่านก็ออกมาชี้แจงอย่างสุขุมนุ่มนวล ใช้เหตุผลน่ารับฟัง สะท้อนให้เห็นถึง "คุณภาพ" ของนายทหารคนหนึ่งที่ฉายแสงโดดเด่นท่ามกลางวิกฤติภาพลักษณ์ตกต่ำของสภา รสช. ในสายตาประชาชน
วาทะแห่งปี -     -
พ.ศ.2535 48-49 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากพลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีประกาศลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 จากกรณีชุมนุมประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือพฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อนที่นายมีชัย ฤชุพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว


จนมีการแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีชุดนี้ ก็พ้นจากตำแหน่งไปตามวาระในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลชี้แจงว่า "รัฐบาลก่อนหน้านั้น ดำรงตำแหน่งท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง ประกอบกับการเพิ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีอีกชุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ จึงไม่อาจสะท้อนภาพการทำงานของรัฐบาลได้มากนัก จึงมีมติงดตั้งฉายาฯ"

พ.ศ.2536[1] 50 รัฐบาล รัฐบาลเต่ากระดองแตก     รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยฯ ที่ประกอบด้วย 5 พรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นที่คาดหวังของประชาชนว่าจะบริหารงานได้ดี มีผลงานปรากฏให้เห็นเด่นชัด

    แต่ในรอบปีที่ผ่านมาความเป็นรับบาลผสมกลับกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้งานสำคัญ ๆ หลายงานต้องล่าช้าและติดขัด เหมือนกับ "ลักษณะการเคลื่อนไหวของเต่า และยังเป็นเต่ากระดองแตกที่ขาดซึ่งความเป็นเอกภาพระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง"

นายชวน หลีกภัย

(นายกรัฐมนตรี)

จอมฟุตเวิร์ก     ลีลาการทำงานของนายชวนถูกวิจารณ์ว่าเป็นไปอย่างเชื่องช้า ยึดติดอยู่กับหลักการจนทำให้การตัดสินใจแต่ละเรื่องไม่ทันใจ เมื่อเกิดความขัดแย้งก็มักเลือกใช้วิธีการปล่อยให้เรื่องนั้นเดินไปตามขั้นตอน

    นอกจากนั้นยังโยนลูกให้ รมต. ที่รับผิดชอบเป็นผู้ตัดสินใจ เหมือนไม่ต้องการเข้ามาแตะต้องปัญหาโดยตรง อย่างมากก็เข้ามาเพียงแค่จด ๆ จ้อง ๆ พอให้เห็นว่าไม่ได้ทิ้งปัญหาไปไหน เปรียบเสมือน "นักมวยฟอร์มดีที่มัวแต่ออกลีลาเต้นฟุตเวิร์ก แต่ไม่ลงมือชกเสียที" ซึ่งนั่นก็ทำให้นายชวนได้รับการโจมตีว่าเป็นการลอยตัวเหนือปัญหา

นายบุญชู โรจนเสถียร

(รองนายกรัฐมนตรี)

บุญชู บุญไม่ช่วย     นายบุญชู เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการแก้ปัญหาจราจร แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทำให้งานเกิดความตัดขัด นอกจากนั้นยังต้องรับศึกจากพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน

    ดังนั้นถึงแม้นายบุญชูจะเป็นนักการเมืองที่ข้ามห้วยเข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม ซึ่งดูเหมือนว่า "มีบุญ" แต่บุญนั้นกลับไม่ชูให้ท่านสามารถทำงานได้อย่างบรรลุผล สมประสงค์ตามชื่อ

นายศุภชัย พานิชภักดิ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

ข้างหลังภาพ     นายศุภชัย เป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง (เป็น รมต.คนนอก) ซึ่งได้ใช้ความรู้ความสามารถในการกำกับดูแลงานด้านเศรษฐกิจของประเทศและระหว่างประเทศ ในลักษณะผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของงานต่าง ๆ ที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับรัฐบาล อาทิ การทำให้ประเทศหลุดพ้นจากมาตรการตอบโต้ทางการค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา

    และนอกเหนือจากความรู้ความสามารถแล้ว นายศุภชัยยังเป็น รมต.ประเภทก้มหน้าก้มตาทำงาน ไม่พยายามประชาสัมพันธ์บทบาทตัวเอง รวมทั้งไม่ตกอยู่ในวังวนความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี

นายสาวิตต์ โพธิวิหค

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

พรานม้วนเสื่อ     นายสาวิตต์ เป็น รมต.ผู้ได้รับความคาดหวังให้เข้ามาดูแลงานด้านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แต่กลับเสนอแนวความคิดแหวกแนว วางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ จนถูกต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ

    แถมถูกพรรคประชาธิปัตย์ต้นสังกัด ปล่อยลอยแพให้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว เปรียบเสมือน "นายพรานที่ต้องการช่วงชิงพื้นที่ป่าไม้มาให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยดูแลดำเนินการ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และต้องจำใจม้วนเสื่อกลับไปในที่สุด"

นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

ขุนคลังตลาดแตก     นายธารินทร์ เป็น รมต.ที่สร้างความฮือฮาด้วยการใช้มาตรการเด็ดขาดจัดระเบียบในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล สร้างความแตกตื่นและตกตะลึงในหมู่ผู้ซื้อ-ขายหุ้นจากการดำเนินการ จนมีการจับกุมนักปั่นหุ้นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง และก็เป็นยุคที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1,600 จุด
นายอุทัย พิมพ์ใจชน

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

มันจุกอก     ในรอบปีที่ผ่านมาต้องประสบกับมรสุมหลากรูปแบบ ทั้งปัญหาการสั่งพักราชการ "นายพชร อิศรเสนา ณ อยุธยา (ปลักกระทรวงพาณิชย์)", ปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ และเรื่องโควตามันสำปะหลังที่ทำให้กรรมการสมาคมพ่อค้าประกาศลาออกยกคณะ เป็นเหยื่อให้ฝ่ายค้านหยิบยกมาโจมตีในการอธิปรายไม่ไว้วางใจถึง 2 ครั้ง
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

สิงห์เดี้ยง     พล.อ.ชวลิต เป็น รมต.ในกระทรวงที่มีตราสิงห์เป็นสัญลักษณ์ แต่ในรอบปีที่ผ่านมาถูกปัญหารุมเร้า จนไม่สามารถคลี่คลายได้ ตั้งแต่ กรณีถูกมือดีปาระเบิดข้างตึกกระทรวงฯ การเผาโรงเรียนในภาคใต้ คลีเพชรซาอุดิอาระเบีย จนถึงกรณีความปั่นป่วนในการโยกย้ายอธิบดีกรมตำรวจ เปรียบเสมือน "สิงห์เดี้ยง" ที่มีอำนาจอยู่เต็มมือ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างถนัดถนี่เป็นชิ้นเป็นอัน
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

กาวใจไร้ยาง     พล.ต.สนั่น เคยเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นทางการเมืองจนได้รับสมญานามว่า "ผู้จัดการรัฐบาล" แต่ในรอบปีที่ผ่านมา กลับไม่สามารถทำหน้าที่เป็นกาวใจประสานความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล จนรัฐบาลชวน 1/1 ต้องพบกับจุดจบเมื่อพรรคกิจสังคมถูกขับออก และรัฐบาลชวน 1/2 ก็ยังมีปัญหากระทบกระทั่งกันอยู่เนือง ๆ
นายบุญชู ตรีทอง

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)

บัตรเขียว ตีนโต     นายบุญชู เป็น รมต.มาดเข้ม เป็นผู้กว้างขวางภายในพรรคความหวังใหม่ โด่งดังด้วยข่าวฮือฮาว่าจะมีการแจกบัตรเขียวสู่ประตูสวรรค์ในงานเลี้ยงสมาชิกพรรค มีบุคลิกเป็นเจ้าพ่อเมืองรถม้า (จังหวัดลำปาง) ผู้ชอบสะสมปืนเป็นงานอดิเรก เมื่อไม่พอใจคำถามของผู้สื่อข่าวก็ทำท่าทางคล้ายจะตบปืนให้ดู ขู่ให้กลัว ทั้งยังเป็นผู้ที่มีความพิถีพิถันในการแต่งกาย โดยเฉพาะรองเท้าที่ทำมาจากหนังชั้นดีราคาแพง และเมื่อฉุนเฉียว ก็จะใช้เบอร์รองเท้าข่มขวัญ เปรียบให้เห็นว่า "ของข้า...ใหญ่กว่าของเอ็ง !!"
นายทวี ไกรคุปต์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคมนาคม)

จอจุ้น     นายทวี มีความโดดเด่นในงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบดูแล ไม่ว่าจะเป็นกรณีวิพากษ์วิจารณ์เรื่องปั่นหุ้น จนเกิดปริศนาเกี่ยวกับ "มิสเตอร์ที" และกรณีให้สัมภาษณ์ตอบโต้กรรมการข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับปัญหาการโยกย้ายอธิบดีกรมดำรวจ
วาทะแห่งปี "ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน"     วาทะของ นายชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี)

    ซึ่งเป็นวาทะที่สะท้อนให้เห็นถึงหลักการทำงานส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี โดยบางครั้งนายชวนได้นำประโยคนี้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการเปิดเผยผลการตัดสินใจให้สาธารณชนได้รับทราบ เป็นการแสดงความเชื่อมั่นของความเป็นนักกฎหมาย นักการเมืองที่ยึดมั่นในระบบรัฐสภา รวมทั้งการให้น้ำหนักต่อการทำงานของข้าราชการประจำ

    ทั้งหมดจึงถูกมองว่าเป็นการซื้อเวลาให้ปัญหาเหล่านั้นคลี่คลายได้ด้วยตัวของมันเอง หรือปล่อยให้ปัญหานั้นค่อย ๆ ไกลตัวออกไป

พ.ศ.2537 50 รัฐบาล รัฐบาลเก้าอี้ดนตรี     ในระยะเวลาสั้น ๆ ของปี 2537 มีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาที่ห่างกันไม่มากนัก โดยในการปรับแต่ละครั้งนั้น มักหนีไม่พ้นเรื่องการแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรีกัน แม้กระทั่งกรณีการดึงพรรคฝ่ายค้านมาเข้าร่วมรัฐบาล ก็ปรากฏว่าพรรคการเมืองในซีกของฝ่ายค้านต่างพากันจ้องที่จะเสียบแทนที่พรรคความหวังใหม่

    ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาความไม่ลงตัวกันขึ้นในรัฐบาลแต่ละครั้ง ก็เปรียบเสมือน "เสียงดนตรีที่บรรเลงให้คนที่อยู่วงนอก คอยจ้องหาจังหวะเข้ามาช่วงชิงเก้าอี้ที่กำลังจะว่างลง"

นายชวน หลีกภัย

(นายกรัฐมนตรี)

-     -
พลตรี จำลอง ศรีเมือง

(รองนายกรัฐมนตรี)

จอมสร้างภาพ     ที่ผ่านมา พล.ต.จำลอง ถูกมองว่าสร้างภาพมาโดยตลอด ไม่ว่าจะกรณีการไม่ใช้รถประจำตำแหน่ง หรือการสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม เพื่อรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์ของความสมถะ

    ในขณะที่เกิดปัญหาขึ้นภายในพรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่ามีกลุ่ม 23 (น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ, โรจนเสถียร และ พ.อ.วินัย สมพงษ์) ที่เป็นเสมือนหอกข้างแคร่ แต่ท่านก็พยายามบอกกับสังคมว่า "ไม่มีอะไร..." รวมทั้งการสร้างกฎเหล็กขึ้นมาบังคับลูกพรรคให้เข้าประชุมตรงต่อเวลา แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะตัวของท่านเอง

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน

(รองนายกรัฐมนตรี)

กันชนสายเสมอ     นายบัญญัติ มักทำหน้าที่เป็นด่านหน้ารอรับปัญหาต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้าใส่รัฐบาล ด้วยการคอยชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้กระแสของความรุนแรงเบาบางลง เปรียบเสมือนกันชนรถยนต์

    ส่วนคำว่า "สายเสมอ" มาจากการปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ ไม่ว่าการประชุม ครม. หรือการได้รับเชิญไปเปิดงานต่าง ๆ นายบัญญัติก็มักเดินทางไปสายอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ก็เพราะการเดินทางของท่านไม่มีขบวนรถของตำรวจนำหน้า เพื่อเคลียร์เส้นทางการจราจรเหมือนกับ รมต.ท่านอื่น ๆ

นายศุภชัย พานิชภักดิ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

เหนือคำบรรยาย     เพราะผลงานในอดีตที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะสั่นคลอนเพียงใด นายศุภชัยก็ไม่เคยนำมาเป็นแรงกดดันในการทำงาน ตรงกันข้ามกับพร้อมทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติตลอดเวลา รวมทั้งการเดินหน้าในโครงการเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ อีกหลายโครงการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ขงเบ้งตะกายดาว     พล.อ.ชวลิต เคยได้รับสมญานามว่า "ขงเบ้ง" ประกอบกับมีเป้าหมายทางการเมืองด้วยการเดินทางไกลหาเสียงให้กับลูกพรรคถึง 200,000 กิโลเมตร เพื่อต้องการให้พรรคความหวังใหม่ของตนได้รับเสียงข้างมาก เข้ามาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและตนก็จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่การเดินทางครั้งนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จ เปรียบเสมือน "ผู้พยายามตะกายดาวหวังไขว้คว้าในสิ่งที่ตนเองวาดหวังเอาไว้"
นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

พ่อมดหมดฤทธิ์     ด้วยภาพลักษณ์และบุคลิกที่ลึกลับ จนถูกกล่าวหาว่าเป็น "ซีไอเอเมืองไทย" หลายคนจึงมอง น.ต.ประสงค์ ด้วยความกลัวที่ว่าการพูดหรือการปฏิบัติอะไรต้องมีเงื่อนงำซ่อนเร้น โดยเฉพาะที่ผ่านมา น.ต.ประสงค์ สามารถนำเอาข้อมูลลับหลายเรื่องมาใช้เล่นงานโจมตีฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จ

    และแม้ภายหลังจะหลุดจากตำแหน่ง รมต. และพ้นจากรัฐบาลไปแล้ว ท่านก็ยังคงแสดงออกซึ่งบทบาททางการเมืองเหมือนเช่นเคย แต่ไม่สามารถทำอะไรได้มากเท่าที่ควร คล้ายกับ "พ่อมดที่สิ้นฤทธิ์เดช"

นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

สุภาพบุรุษจำยอม     ผลงานตลอดปีของนายนิพนธ์ที่ไม่ค่อยโดดเด่น แถมยังต้องแบกรับกับปัญหา ส.ป.ก. 4-01 ต่อจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์) ที่ลาออกไป จนเจ้าตัวไม่สามารถทนทานต่อกระแสแรงกดดันได้ ทำให้ต้องจำยอมสวมบทบาทความเป็นสุภาพบุรุษสละตำแหน่งตามนายสุเทพไปอีกคน
นายอุทัย พิมพ์ใจชน

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

โบนัสสีทอง     นายอุทัย กลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่ถูกหนุ่มสติเฟื่องบุกเข้าไปให้ของขวัญอันไม่พึงปรารถนา (อุจจาระ) ถึงตึกกระทรวง ถือว่าเป็นโบนัสสีทองที่เจ้าตัวคงต้องจดจำไปตลอดชีวิต จนมิอาจลืมเลือนได้ง่าย ๆ
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รมต. ฉก.     เมื่อครั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เคยตั้งหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ขึ้นมาทำงานแทนจนถูกมองว่าเจ้ากระทรวงทำงานไม่เป็น ในขณะที่หน่วยเฉพาะกิจชุดดังกล่าวก็ไม่สามารถทำงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ และเมื่อเข้ามารับตำแหน่งเจ้ากระทรวงมหาดไทย แทนพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ถูกปรับออกจากตำแหน่ง ก็สร้างความฮือฮาขึ้นมาอีกครั้ง จากกรณีมีแนวความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นอีกหลายชุด จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ นานา ในท้ายที่สุดก็ต้องเปลี่ยนชื่อหน่วยเพื่อไม่ให้เป็นที่แสลงแคลงใจประชาชน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

เทพสะท้าน ป่าสะเทือน     จากปัญหานโยบายการปฏิรูปที่ดินในการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ที่ส่งผลให้นายสุเทพ ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง รมต. ทำให้นโยบายได้รับผลกระทบ จนต้องมีการทบทวนวิธีการดำเนินการในการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01
นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)

หวานแต่เจ็บ     เพราะความเป็นนักการเมืองหญิงที่เพียบพร้อมด้วยรูปสมบัติ คุณสมบัติ แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในพรรคพลังธรรมของตน ก็สามารถแปรเปลี่ยนความหวานเป็นความดุดันเข้าห่ำหั่นใส่เหล่าผู้อาวุโสทางการเมืองชนิดตั้งรับกันแทบไม่ทัน
วาทะแห่งปี "เฮงซวย"     วาทะของ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

    รมต.หลาย ๆ คนนำวาทะหรือคำอุทานนี้มาใช้ เริ่มจากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้กล่าวคำนี้ข้ามประเทศมาจากเวียดนาม เพื่อสื่อสารโดยตรงถึง ส.ว.ที่ลงมติคว่ำร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลในวาระที่ 1

    ต่อมาคำพูดนี้ได้หลุดออกจากปากของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2537 จากการให้สัมภาษณ์นักข่าวภายหลังการเป็นประธานเปิดโครงการถนนสีเขียวที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับกรุงเทพมหานคร โดยนักข่าวในวันนั้นได้ถาม พล.อ.ชวลิต ว่า "การที่ท่านไม่ไปหารือกับวิปรัฐบาล เหมือนกับเป็นการไม่ให้เกียรติหรือไม่"

    พล.อ.ชวลิต ก็ตอบว่า "การที่ผมไม่ได้เข้าร่วมหารือกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ไม่ถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ เมื่อสั่งผมไปพบวิป ผมก็ไปพบ เมื่อมีการนัดหมายหารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ผมก็ไปรอพบ แต่ไม่เห็นมีพรรคไหนมาแม้แต่พรรคเดียว หรือว่าจะมาเรียกผมไปก็ไม่มี และเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมก็ไปรอพบตั้งแต่ 09.00 น. แต่ก็ไม่เห็นแม้แต่หัวเดียว จนกระทั่งเวลา 16.00 น. ผมได้เดินทางไปทำพิธีขลิบผมเพื่อทำพิธีบวชนาคที่เยาวราช ซึ่งขณะนั้นก็มีการเรียกผมเข้าพบ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องเรียกในช่วงนั้นทุกที ไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไร พอไปถึงแทนที่จะได้พบทั้ง 5 พรรคร่วมรัฐบาล แต่กับพบแต่ท่านนายกฯ เพียงคนเดียว"

    "เมื่อวานนี้ก็เช่นเดียวกัน อยุ่ดี ๆ ก็เรียกผมเข้าพบในขณะที่ผมกำลังทำพิธีวันสิ้นพระชนม์กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นพิธีของกระทรวงมหาดไทย ผมจะมาพบได้อย่างไร ใครไม่ให้เกียรติใครกันแน่ ผมอยากจะถามว่าใครอดทนมากกว่ากัน หรืออยากเห็นผมไม่อดทนหรือไม่ สำหรับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ผมเห็นว่า...ไม่ได้เรื่อง เฮงซวย ไม่เข้าท่า"

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2538-2542 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายาและวาทะแห่งปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2538 51 รัฐบาล รัฐบาลต่างตอบแทน     เนื่องจากรัฐบาลได้อ้างอาญาสิทธิ์จากประชาชนเข้ามาทำการจัดตั้งรัฐบาลโดยแบ่งสรรโควตา รัฐมนตรี และงานที่รับผิดชอบกันภายใน 7 พรรคร่วมรัฐบาล เหมือนการแบ่งสัมปทานประเทศ ซ้ำยังเมินเฉยต่อกระแสเรียกร้องของสังคมที่ต้องการให้ปรับรัฐมนตรีประเภท "ยี้" หรือก็คือรัฐมนตรีผู้ไม่เป็นที่พึงประสงค์ให้ปรับออกจากคณะ

    สะท้อนให้เห็นภาพการทำงานของรัฐบาลที่มุ่งสานผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองมากกว่าประโยชน์ของประชาชน

นายบรรหาร ศิลปอาชา

(นายกรัฐมนตรี)

หลงจู๊เสียศูนย์     เนื่องจากลักษณะการทำงานแบบเถ้าแก่บริษัท ไม่ค่อยมีหลักการในการบริหารประเทศ อีกทั้งในส่วนของมติคณะรัฐมนตรีที่ออกมานั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงกันง่ายดายราวกับว่าเป็นการเล่นขายของ รวมทั้งไม่สามารถควบคุมการบริหารงานตลอดจนพรรคร่วมรัฐบาลและลูกพรรคชาติไทยได้

    คำว่า "หลงจู๊" เป็นคำจีนสยาม ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้จัดการ" ในกิจการใดกิจการหนึ่ง ในบริบทของสังคมสมัยก่อนหลงจู๊มีหน้าที่กำกับดูแลแทบทุกเรื่องในกิจการนั้น ๆ แต่ในปัจจุบันสภาพของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ผู้ที่เป็นหลงจู๊ต้องปรับเปลี่ยนลดบทบาทของการกำกับดูแลเรื่องต่าง ๆ ทุกเรื่อง รวมทั้งการเข้าไปล้วงลูกก็ลดลงตามไปด้วย เมื่อคำนี้ถูกนำมาใช้ตั้งฉายา จึงมีความหมายเชิงเสียดสีถึงลักษณะการบริหารงานว่าเข้าข่าย "หลงจู๊" กล่าวคือ นายบรรหารเข้าไปล้วงลูกการทำงานของลูกพรรคตนเอง

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

(รองนายกรัฐมนตรี)

หน้ากากเทวดา     พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ที่มีแบบฉบับของบุคลิกและการทำงานต่างจากพลตรี จำลอง ศรีเมือง อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรม โดยเน้นการสร้างภาพที่ดีให้กับตนเองและพรรคเพื่อให้คนกรุงเทพฯ มองเขาเหมือนกับเป็นเทวดาผู้มีบทบาทอันโดดเด่นอยู่เพียงคนเดียว ในขณะที่หลังฉากนั้นยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยในธุรกิจส่วนตัวของเขา
นายสมัคร สุนทรเวช

(รองนายกรัฐมนตรี)

ไดโนเสาร์ติดหล่ม     นายสมัคร ถูกมองว่าเป็นผู้ที่เล่นการเมืองมายาวนานประมาณ 20 ปีแล้ว แต่ยังมีพฤติกรรมการทุบกระจกเล่นบทบาทอนุรักษนิยม มักจะทะเลาะกับสื่อมวลชน รวมทั้งไม่ยอมเปลี่ยนแนวความคิดและพฤติกรรมของตน
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

คลื่นใต้น้ำ     พล.อ.ชวลิต เป็นผู้ที่พยายามดำเนินบทบาททางการเมืองอย่างเงียบ ๆ มีการสั่งสมบารมี การเตรียมความพร้อม และการจัดขบวนทัพใหม่เพื่อให้สามารถบรรลุความใฝ่ฝันอันสูงสุดในชีวิต คือ "ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี" จึงทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเกิดความหวาดระแวงในความซุ่มเงียบ ซึ่งเปรียบเสมือนคลื่นใต้น้ำที่รอวันโผล่ขึ้นมาประกาศศักดาเหนือพื้นผิวน้ำ
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

วิญญูชนจอมปลอม     นายสุรเกียรติ์ เป็นผู้ที่ย้ำอยู่เสมอว่าตนเองเป็นนักวิชาการ หวังจะเข้ามาทำงานเพื่อช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดีขึ้น แต่กลับกล่าวหาสังคมไร้สติ อีกทั้งมีพฤติกรรมเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะการถูกกล่าวหาว่าใช้วิชาการที่ร่ำเรียนมาเป็นประโยชน์ในอาชีพนายหน้า

    ในขณะที่ไม่แสดงความรับผิดชอบหรือเคลียร์ปัญหาใด ๆ ทว่ากลับใช้อำนาจสั่งปลดรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยออกจากตำแหน่ง โดยอ้างว่ามีหลักฐานการกระทำความผิด แต่ไม่ยอมแสดงหลักฐานดังกล่าวให้สังคมประจักษ์ นอกจากนั้นพฤติกรรมการอัดฉีดเม็ดเงิน 30,000 ล้านบาท เข้าตลาดหุ้น ก็เป็นการแก้ปัญหาโดยไม่ตั้งสติให้ดีเสียก่อน

นายมนตรี พงษ์พานิช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

นักรื้อจอมล้วง     เพราะการกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนี้ นายมนตรีมีพฤติกรรมอันโดดเด่น คือเป็นผู้ที่รื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า ไม่ว่ากรณีเรื่องการประมูลปุ๋ย การเปลี่ยนแปลงจัดสรรงบประมาณ การรื้อบอร์ดการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การรื้อบอร์ดการท่าอากาศยาน รวมไปถึงการออกคำสั่งย้ายข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ลาดื้อ     นายชูชีพ เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้โดยตรง แต่กลับดื้อรั้นไม่ยอมฟังเสียงทักท้วงจากผู้ใด ยกตัวอย่าง กรณีการแต่งตั้งปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรณีการดันทุรังคงไว้ซึ่งโควตามันสำปะหลังโดยไม่สามารถอธิบายเหตุผลให้เป็นที่ยอมรับได้ เป็นต้น
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)

จอมวางยา     เพราะการทำหน้าที่เหมือนกับเป็นสายลับในรัฐบาลและช่วยเหลือนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบทบาทเดียวกันกับสมัยที่อยู่ร่วมรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ บทบาทอันโดดเด่น คือ การออกมาตอบโต้หัวหน้าพรรคพลังธรรมที่กำลังเขย่าบัลลังก์ของรัฐบาล ด้วยการวางยาหลอกล่อให้คนอื่นตกหลุมพราง
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

จิ้งจกเปลี่ยนสี     เนื่องจากเคยเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลพลเอกสุจินดา และรัฐบาลนายชวน แต่พอเข้ามาร่วมทำงานกับรัฐบาลนายบรรหาร กลับไม่แยแสต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ลืมคำที่ตนเองเคยประกาศไว้ว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคชาติไทย โต้ตอบองค์กรประชาธิปไตยที่เคยร่วมต่อสู้เคียงบ่าไหล่กันมา และไม่มีผลงานด้านการปราบปรามน้ำมันเถื่อนปรากฏให้เห็นชัดเจนดังเช่นที่ได้คุยไว้ก่อนหน้าที่จะมารับตำแหน่ง
นายเนวิน ชิดชอบ

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)

ยี้ห้อยร้อยยี่สิบ     มาจากความหมายของคำ 3 คำรวมกัน คือ "ยี่" "ห้อย" และ "ร้อยยี่สิบ"

    ในส่วนของคำว่า "ยี้" นั้น เป็นคำบ่งบอกพฤติกรรมในอดีตของนายเนวินที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากคนในสังคมส่วนหนึ่งมากเท่าใดนัก ซึ่งพอเวลาผู้คนเหล่านั้นได้ยินชื่อของนายเนวิน ก็จะออกอาการยี้ขึ้นมาทันทีทันใด

    ส่วนคำว่า "ห้อย" เป็นการล้อเลียนถึงลักษณะรูปปากของนายเนวิน

    และคำว่า "ร้อยยี่สิบ" เป็นเรื่องราววิบากกรรมของนายเนวินที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2538 กรณีนายนฤดล และนางประภาพร ศิริพานิช เตรียมการซื้อเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งของทีมนายเนวิน ชิดชอบ โดยตำรวจชุดเฉพาะกิจพบธนบัตรใบละ 100 บาท และใบละ 20 บาท เย็บติดกันเป็นชุด ๆ รวมเป็นเงิน 11,399,900 บาท

วาทะแห่งปี "ผมจะไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง"     วาทะของ นายบรรหาร ศิลปอาชา (นายกรัฐมนตรี)

    คำพูดสัญญาประชาคมที่เคยให้ไว้กับประชาชนทั้งประเทศในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ปี 2538 แต่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นไปตามสิ่งที่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะให้ทุกอย่างเป็นไปตามคำพูดนั้น

พ.ศ.2539 52 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 เพื่อรอการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤจิกายน พ.ศ. 2539 ก่อนจะมีการประกาศพระบรมราชโองการ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 แต่งตั้งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลชี้แจงว่า "รัฐบาลชุดดังกล่าว เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ จึงไม่อาจสะท้อนภาพการทำงานของรัฐบาลได้มากนัก จึงมีมติงดตั้งฉายาฯ"
พ.ศ.2540 53 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีประกาศลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 จากกรณีวิฤกติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนจะมีการลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ก่อนจะมีการประกาศพระบรมราชโองการ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 แต่งตั้งนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลชี้แจงว่า "รัฐบาลชุดดังกล่าว เพิ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ จึงไม่อาจสะท้อนภาพการทำงานของรัฐบาลได้มากนัก จึงมีมติงดตั้งฉายาฯ"
พ.ศ.2541 53 รัฐบาล อัศวินม้าไม้     รัฐบาลชวน หลีกภัย เข้ามาบริหารประเทศต่อจากรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงจยุทธ ด้วยเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.ในสภาและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศชาติในขณะนั้น ท่ามกลางความคาดหวังของคนทั้งประเทศ ดังนั้นตัวของผู้นำจึงเปรียบเสมือน "อัศวินขี่ม้าขาว" ที่เข้ามาช่วยกอบกู้เศรษฐกิจให้ฟื้นคืนกลับมาดีดังเดิม

    ทว่าการบริหารงานหนึ่งปีที่ผ่านมา นอกจากจะไม่คืบหน้าแล้ว ยังมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายในรัฐบาลโดยเฉพาะปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและการบริหารงานที่ผิดพลาด ทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไม่ได้เป็นอัศวินที่แท้จริง หรือหากเป็นอัศวินก็เป็นได้แค่เพียง "อัศวินม้าไม้ที่ไม่มีชีวิต" ไม่ใช่อัศวินม้าขาวอย่างที่หลายคนเข้าใจและตั้งความหวังไว้ในครั้งแรก

นายชวน หลีกภัย

(นายกรัฐมนตรี)

ช่างทาสี     เนื่องจากเป็นการกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง นับเป็นความยุ่งยากพอสมควร เพราะว่ากว่าจะได้มาซึ่งตำแหน่ง นายชวนต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำหลาย ๆ อย่าง ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าทิ้งหลักการเพื่อตนเอง อาทิ การนำเอาคนที่ตนเองเคยกล่าวหามาร่วมรัฐบาลแล้วบอกว่าเป็นคนดี ใครก็ตามที่มีพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชัน เมื่อมาอยู่ข้างนายชวน ก็จะกลับกลายเป็นคนดี ส่วนฝ่ายตรงข้ามก็จะกลายเป็นคนเลวไปในพริบตา

    เปรียบเสมือน "ช่างทาสี" ที่เลือกจะทาสีขาวให้กับพรรคพวกตนเองและทาสีดำให้กับผู้อื่น ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการบริหารงานส่วนอื่น ๆ ที่ฉาบด้วยสีสดใส ทำให้ผู้คนมองเห็นแต่ภาพภายนอกที่สวยงาม แต่ที่สุดแล้วไม่ว่าจะทาด้วยสีอะไรก็ตาม เนื้อแท้ข้างในซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีมันก็ยังคงไม่ดีอยู่วันยันค่ำ

นายศุภชัย พานิชภักดิ์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

อาทิตย์ผิดฟ้า     ถึงแม้นายกรัฐมนตรีจะวางตัวนายศุภชัยให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจคู่กับนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) ทว่าภาพที่ออกมานั้นปรากฏว่านายชวนให้น้ำหนักหรือสนับสนุนยกย่องนายธารินทร์มากกว่า ทำให้ความสามารถของนายศุภชัยที่เคยได้มีโอกาสก้าวขึ้นสู่เวทีระดับโลก ในฐานะผู้ชิงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) ถูกมองว่าไม่ได้รับการนำมาใช้งาน เปรียบเสมือน "ดวงอาทิตย์ที่ขึ้นผิดฟ้า ผิดที่ผิดทางฉันใดก็ฉันนั้น"
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ชะลาวันสันหลังหวะ     เพราะตลอดเวลาของการเป็นรัฐมนตรีในช่วงปีเศษ มีแต่เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล มีทั้งเรื่องอื้อฉาวส่วนตัว ครอบครัว ลิ่วล้อ และบริวาร รวมทั้งความบกพร่องในการบริหารงานอันแสดงให้เห็นว่าไม่มีความรู้ความสามารถ แต่ได้ดิบได้ดีเพราะเป็นผู้จัดการรัฐบาล เลยมีอำนาจแต่นำไปใช้ในทางที่ผิด ตั้งแต่การจัดตั้งรัฐบาล ไม้ป่าสาละวิน องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) การขึ้นค่าทางด่วน ทัวร์ขยะฝรั่งเศส คดีจ่าสิบตำรวจสุวิทย์ มลธุวัช ไปจนถึงการณีบ้านพักริมเขื่อนศรีนครินทร์

    ทำให้ พล.ต.สนั่น เหมือนกับ "คนที่มีบาดแผลอยู่เด็มตัว สะกิดตรงไหนก็โดนแผล" เฉกเช่น "วัวสันหลังหวะ" และเนื่องจาก พล.ต.สนั่น เป็น ส.ส.จากจังหวัดพิจิตร ซึ่งจังหวัดพิจิตรมีสมญานามว่า "จังหวัดชาละวัน"

คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

ฉุยฉาย     ด้วยเพราะงานภายใต้การกำกับดูแลส่วนใหญ่ถือเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาล อาทิ โครงการไทยช่วยไทย องค์การสวนสัตว์ กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ไม่ค่อยมีความคืบหน้ามากเท่าใดนักในรอบปีที่ผ่านมา อีกทั้งเวลามีปัญหาอะไร คุณหญิงสุพัตราก็มักทำหน้าตาเหรอหรา ปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่อง ถึงภาระงานจะเยอะแต่ก็ทำงานแบบฉาบฉวย เปรียบเสมือน "นางรำฉุยฉาย" รำเบิกโรงคณะรัฐมนตรี เสร็จแล้วก็ไม่มีอะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

สาระแนหน้าจอ     เนื่องจากพฤติกรรมที่ผู้คนมองว่า "คอยเสนอหน้าไปเสียแทบทุกเรื่อง" ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายให้ทำงานอะไร จะต้องให้สื่อมวลชนโดยเฉพาะสาขาโทรทัศน์ทำข่าวสารประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าข่าวนั้นจะสำคัญหรือไม่ก็ตาม ขณะที่งานในหน้าที่เช่นงานเก่าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรืองานปัจจุบัน อาทิ เรื่องยาเสพติด ประธานวิปรัฐบาล (ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร) และการเตรียมความพร้อมในฐานะประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาเอเชียนเกมส์ 1998 ครั้งที่ 13 นายจุรินทร์มักจดจ่ออยู่กับการแถลงข่าวออกทีวีมากกว่า บางครั้งแถลงเรื่องหนึ่งได้ข่าวอีกเรื่องหนึ่งก็เอา
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

นักกู้สิบทิศ     นายธารินทร์ คือขุนคลังคู่บารมีของนายกรัฐมนตรีจนถูกยกย่องให้เป็นมืออาชีพ แต่พอเข้ามาบริหารงานจริง ๆ แนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกลับไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ผลงานไม่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม คนส่วนใหญ่เลยมองว่างานหลักของนายธารินทร์คือ "การกู้เงิน"

    ไม่ว่าจะกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ การกู้เงินกับธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) กองทุนมิยาซาวา กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่เป็นการกู้เพื่อสร้างหนี้สินให้กับคนไทยแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกลนายธารินทร์ก็จะบากหน้าไปขอกู้เขาลูกเดียว เช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น "การกู้หนี้เพื่อนำมาใช้หนี้"

นายปองพล อดิเรกสาร

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

หนังใหญ่เมืองสุพรรณ     เนื่องจากนายปองพลถูกนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ชักใยอยู่เบื้องหลังแทบทุกเรื่อง เหมือน "หนังใหญ่" ที่ทำอะไรไม่เป็น ปล่อยให้นายบรรหาร ณ สุพรรณ ครอบงำการทำงานแทบทุกอย่าง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

กล่องดำนายหัว     เมื่อใดที่นายสุเทพตกเป็นข่าวในทางที่ไม่ค่อยดี ก็จะเห็นภาพของนายกรัฐมนตรีออกมาพูดปกป้องแทบทุกครั้ง ทำให้หลายคนสงสัยในสัมพันธภาพระหว่างบุคคลทั้งสอง ว่าแต่ละคนต่างเก็บงำความลับซึ่งกันและกันไว้หรือไม่ ซึ่งไม่มีใครทราบได้ แต่ที่แน่ ๆ คือนายสุเทพมีความสำคัญต่อนายกรัฐมนตรีมากกว่าใครในพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดนายกฯ ยอมปล่อยให้รัฐบาลชวน 1 ล้มเพื่อปกป้องนายสุเทพ จากกรณี ส.ป.ก. 4-01 อันอื้อฉาว

    มาในคราวนี้ (สมับรัฐบาลชวน 2) ก็ยกตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้อีก จึงเปรียบนายสุเทพว่าเป็นเสมือน "กล่องดำ" ที่เก็บงำความลับทุกอย่างของนายหัว อย่าง "นายชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี)" เอาไว้

นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)

โกลบอล (ปาก) บอน     นับได้ว่าเป็นนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เพราะขยับจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก้าวพรวดพราดติดจรวดขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งที่เจ้าตัวเรียนจบด้านกฎหมายและประกอบอาชีพทนายความ แต่เพราะมีปากเป็กเอก ชอบเป็นองครักษ์พิทักษ์รัฐบาล จึงสร้างศัตรูให้แก่รัฐบาลบ่อยครั้ง และก็ปากอีกนั่นแหละที่เคยกล่าวหาฝ่ายค้านว่า "ถ่วงพระราชกำหนดว่าด้วยการออกพันธบัตรโกลบอลบอนด์ของรัฐบาล"

    ซึ่งหากการออกกฎหมายดังกล่าวล่าช้า จะทำให้ประเทศเสียหายนาทีละ 280,000 บาท ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ได้มากมายถึงขนาดนั้น ทำให้ฝ่ายค้านเกิดความหมั่นไส้ อันนำมาซึ่งความพยายามในการขัดขวางกฎหมายของรัฐบาลเกือบทุกฉบับ ทุกครั้งที่เกิดเรื่อง นายพิเชษฐมักใช้คำปากเป็นอาวุธทิ่มแทงตอบโต้ จะผิดจะถูกไม่สนใจ ขอให้มันปากเป็นพอ

นายวัฒนา อัศวเหม

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

เจ้าพ่ออสรพิษ     ด้วยความที่เคยถูกขนานนามว่าเป็น "เจ้าพ่อปากน้ำ" ครั้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ถูกมอบหมายงานให้ดูแลเรื่องปัญหาแรงงาน แม้ว่าชีวิตทางการเมืองต้องเผชิญกับมรสุมหลายลูก แต่ก็ไม่สิ้นลายผู้ทรอิทธิพล กรณียกพวก 12 คนออกจากพรรคประชากรไทย เพื่อสนับสนุนนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ตอกหน้าว่าเป็น "งูเห่าสารพัดพิษ"

    ต่อมานายวัฒนาก็สามารถขอเก้าอี้รัฐมนตรีได้ถึง 4 ตำแหน่ง แถมตนเองยังได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ขนาดถูกร้องว่า "เข้าไปมีส่วนในกรณีของการเลือกตั้งโคตรโกงที่ปากน้ำ ก็ยังไม่มีใครทำอะไรได้" ล่าสุดแผ่แม่เบี้ยให้การปกป้องดูแลนายพูลผล อัศวเหม ส.ส.จังหวัดสมุทรปราการ และเป็นลูกชายแท้ ๆ ของตนเองที่ไปก่อเหตุขับรถชนตำรวจจราจรจนได้รับบาดเจ็บ ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความเป็น "เจ้าพ่ออสรพิษ" ที่ไม่ใช่อสรพิษธรรมดา ๆ ทั่วไป

วาทะแห่งปี "ปัญหานี้สืบเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้ว"     วาทะของ นายชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี)

    เกือบทุกครั้งที่รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความบกพร่องในการบริหารงาน หรือทุกครั้งที่รัฐบาลไม่สามารถตอบชี้แจงต่อกรณีปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ นายกรัฐมนตรีก็มักจะโยนความผิดไปให้รัฐบาลชุดก่อน ๆ เช่นนี้ถือว่าเข้าข่ายการปัดสวะให้พ้นตัว

พ.ศ.2542 53 รัฐบาล รัฐบาลชวนเชื่อ     เนื่องจากการเข้ามาบริหารประเทศในช่วง 2 ปีเศษ ๆ ภาพของรัฐบาลมักใช้ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีมาเป็นจุดขาย มีการใช้กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบเพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหาของรัฐบาล โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่ข้อมูลที่รัฐบาลนำเสนอออกไปสู่สาธารณชนส่วนใหญ่ มักเป็นข้อมูลในด้านดีที่เป็นผลดีต่อรัฐบาล แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าปัญหาบางเรื่องได้รับการเข้าไปแก้ไข ก็ยังมีปัญหาอื่นเกิดขึ้นตามมาอยู่ตลอดเวลา

    จึงเปรียบเสมือนกับเป็นการเพิ่มปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา ซึ่งรัฐบาลยังคงเชื่อมั่นว่าวาทะของนายกรัฐมนตรีจะสามารถโน้มน้าวให้ประชาชนเชื่อถือได้ นอกจากนั้นแล้วในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาล ก็มีพฤติกรรมการทุจริตประพฤติมิชอบ มีการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด มีการปกป้องพวกพ้องของตนเอง และการกระทำในลักษณะสวนกระแสสังคมอย่างรุนแรง แต่รัฐบาลสามารถเอาตัวรอดมาได้ทุกครั้ง โดยมีนายกรัฐมนตรีออกมาให้การรับรอง ซึ่งเปรียบเสมือนกับ "การโฆษณาชวนเชื่อ"

นายชวน หลีกภัย

(นายกรัฐมนตรี)

นายประกันชั้น 1     เนื่องจากรัฐบาลมักนำเอาคุณสมบัติของนายชวนว่าด้วยเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต มาเป็นเครื่องรับรองหรือการันตีรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลถูกฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ที่แม้ว่ารัฐมนตรีบางคนจะไม่สามารถชี้แจงเหตุผลหรือแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างชัดเจน และบางคนถึงขนาดตอบไม่ได้หรืออ้างเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น แต่นายกฯ ก็สามารถใช้ความเชี่ยวชาญในการตอบโต้ในเวทีสภามาช่วยให้ข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านเบาลง

    และที่ผ่านมานายกฯ ก็ไม่เคยใช้บทบาทในฐานะผู้บริหารสูงสุดออกมาพูดกำราบหรือปรามรัฐมนตรีที่เหลิงอำนาจ เช่น กรณีการทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ หรือแม้แต่กรณีบ้าน 3 หลัง และกรณีซีดีเถื่อน

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี

(รองนายกรัฐมนตรี)

ตลกหลวง     แม้ว่าจะได้รับมอบหมายให้มีส่วนดูแลงานด้านเศรษฐกิจและได้รับความไว้วางใจจากนายกฯ ให้เป็นผู้ทำหน้าที่ในการช่วยชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่แทนที่จะกล่าวชี้แจงอย่างจริงจังในเนื้อหาสาระ นายไตรรงค์กลับใช้ลีลาปล่อยมุกตลกโปกฮาทำให้เรื่องราวที่เป็นสาระ กลายเป็นเรื่องไร้สาระโดยสิ้นเชิง
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

มาเฟียเสียฟอร์ม     ถูกมองว่ามีพฤติกรรมเหมือนกับเจ้าพ่อที่มีบริวารอยู่ล้อมรอบ เมื่อมีการกระทำความผิดหรือใช้อำนาจส่อไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของตนเองหรือบรรดาเหล่าลูกน้อง พล.ต.สนั่น ก็พยายามที่จะปกปิดพฤติกรรมเหล่านั้น ซึ่งในที่สุดแล้วก็ไม่สามารถปกปิดได้มิด หลายเรื่องถูกนำมาเปิดเผยหรือตีแผ่ต่อการรับรู้ของสาธารณชน ไม่ว่าจะกรณีเรื่องบ้าน 3 หลังในบริเวณพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ เรื่องนายอุลริค โวล์ฟกัง เรื่องซีดีเถื่อน และเรื่องการปกปิดบัญชีทรัพย์สินในรูปของการกู้ยืมเงิน
คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

ตุ๊กตาทองเค     เพราะคุณหญิงสุพัตราเป็นรัฐมนตรีหญิงเพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับการส่งเสริมให้กำกับดูแลงานสำคัญ ๆ หลายอย่าง อาทิ เป็นประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ เป็นกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ควบคุมดูแลสื่อของรัฐบาลทั้งหมด แต่ปรากฏว่างานทุกอย่างที่อยู่ในความดูแลกลับไม่มีผลงานเป็นรูปธรรมชัดเจน

    ขณะเดียวกันมีการใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซงโดยคุณหญิงสุพัตราก็มักออกมาปฏิเสธเสมอ ๆ ไม่ยอมรับในพฤติกรรมดังกล่าวด้วยสีหน้าและท่าทางที่สมจริงสมจัง ประหนึ่งว่าเป็น "นักแสดงมืออาชีพที่มีรางวัลตุ๊กตาทองเป็นเครื่องการันตี แต่ทว่าผลงานที่ปรากฏกลับทำให้ตุ๊กตาทองที่ได้รับเป็นได้แค่ตุ๊กตาทองเค ไม่ใช่ตุ๊กตาทองคำ"

นางปวีณา หงสกุล

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

แม่พระผิดโบสถ์     เนื่องจากเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ของความเป็นแม่พระ คอยให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกข่มเหงรังแก แต่สำหรับเรื่องหน้าที่การงานด้านการท่องเที่ยวที่ต้องสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และกำหนดนโยบายอันเป็นกลยุทธ์เพื่อดึงดูดเงินตราเข้าประเทศ นางปวีณากลับติดอยู่กับบทบาทเดิม ๆ ส่งผลให้งานด้านการท่องเที่ยวไม่ค่อยคืบหน้าเท่าที่ควร เปรียบเสมือนการทำงานที่ผิดที่ผิดทาง
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

คนขายฝัน     การเข้ามาเป็นขุนคลังได้ก็เพราะนายกฯ ให้ความเชื่อถือในฝีมือ แต่เมื่อเข้ามาบริหารงานในหน้าที่ หลักสำคัญคือการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ กลับสร้างความผิดหวังให้หลาย ๆ คนที่เฝ้ามองอยู่ แม้นายธารินทร์จะพยายามออกมาตรการต่าง ๆ ทั้งมาตรการ 14 สิงหาคม มาตรการ 4 เมษายน รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ เพื่อขายแนวความคิดหรือขายฝัน อันจะทำให้ประชาชนเชื่อว่าเป็นแนวทางที่สามารถทำให้สภาพทางเศรษฐกิจฟื้นตัวได้

    จนนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังจะคอยให้คำชี้แนะอยู่ตลอด นายธารินทร์ก็ยังยืนยันในแนวคิดของตนเอง โดยพยายามบอกอยู่เสมอว่า "สิ่งเหล่านั้น กำลังทำอยู่แล้ว" ทว่าก็ไม่มีความชัดเจนปรากฏออกมาให้เห็นแต่อย่างใด

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

หางเครื่องลุงแซม     เนื่องจากถูกมองว่าการทำงานที่ผ่านมามักคล้อยตามการชี้นำของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันในนามของ "เมืองลุงแซม" มาโดยตลอด จนทำให้ดูเหมือนว่าประเทศไทยไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งบางครั้งได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น กรณีความพยายามในการผลักดันนโยบายสัมพันธ์แบบยืดหยุ่นในกลุ่มประเทศอาเซียน ความพยายามเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศเมียนมาตามนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกา
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

หอกข้างแคร่     ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสองที่มีอำนาจในการต่อรองทางการเมืองสูง นายสุวัจน์จึงถูกมองว่าเป็นคู่แข่งบารมีกับนายกร ทัพพะรังสี หัวหน้าพรรคของตนเอง และเป็นผู้มีบทบาทในคณะรัฐมนตรีที่มักใช้สถานการณ์ต่าง ๆ พลิกผันให้เกิดประโยชน์กับตนเอง

    รวมทั้งเป็นรัฐมนตรีคนเดียวที่กล้าลุยกล้าชน ด้วยการแสดงความคิดเห็นสวนทางกับแนวทางของรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ ยกตัวอย่างเช่น กรณีการลดหย่อนภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ที่ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเองเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน นายสุวัจน์จึงเป็นเสมือน "หอกข้างแคร่ในรัฐบาล"

นายวัฒนา อัศวเหม

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

อัศว-เหิม     เมื่อได้มาเข้าร่วมรัฐบาลก็สร้างปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยกรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด ก็คือ กรณีทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ, กรณีการจัดเลี้ยงโต๊ะจีน แนะนำอดีตลูกน้องให้กับผู้เข้าร่วมงานเลี้ยงได้รู้จักว่ากำลังจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. แถมยังหาเสียงแทนอีกต่างหาก นอกจากนั้นลูกชายทั้งสองคนต่างก็มีพฤติกรรมที่ท้าทายกฎหมาย

    ซึ่งที่ผ่านมานายวัฒนามักพูดอย่างภาคภูมิใจว่า "ตระกูลของตนเปรียบเสมือนม้าทอง" แต่พฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกมากลับเป็นการกระทำของม้าที่เหิมเกริม ไม่ใช่ม้าทองอย่างที่กล่าวอ้าง น่าจะเป็น อัศว (ม้า) - เหิม (เกริม) เสียมากกว่า

นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

รัฐมนตรีเงาเตี่ย     เพียงแค่ได้เป็น ส.ส.มาแล้ว 2 สมัย ก็ได้รับการผลักดันจากนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ผู้เป็นบิดาให้ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีชนิดวิ่งข้ามหัวผู้มีอาวุโสกว่าของพรรคหลาย ๆ คน ประกอบกับแนวทางการทำงานในกระทรวงก็มีลักษณะเป็นไปตามแนวทางที่นายบรรหารเป็นผู้กำหนด คอยกำกับอยู่เบื้องหลัง เสมือนเป็นเงาที่คอยครอบงำอยู่ตลอดเวลา
วาทะแห่งปี "ผมไม่ขอโทษ แต่ถ้าทำให้เสียความรู้สึก ผมก็เสียใจ"     วาทะของ นายชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี)

    ซึ่งวาทะดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากกระแสสังคมส่วนหนึ่งเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีกล่าวคำขอโทษต่อประชาชน กรณีที่นายกฯ เตรียมเสนอแต่่งตั้ง "จอมพล ถนอม กิตติขจร" ผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ให้เป็นนายทหารพิเศษรักษาพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่สวนกระแสความรู้สึกของประชาชนจำนวนมาก แต่ท้ายที่สุดนายกรัฐมนตรีก็กลับใช้วาทะดังกล่าวมาแสดงถึงหลักการของตนเอง ทำให้ดูเสมือนว่า..."สิ่งที่ตนกำลังดำเนินการอยู่นั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว"

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2543-2547 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายาและวาทะแห่งปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2543 53 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เพื่อรอการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ทำให้รัฐบาลชุดนี้มีสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ
พ.ศ.2544[1] 54 รัฐบาล บริษัท จำกัด (ไม่มหาชน)     นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีส่วนใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้ ล้วนมีที่มาจากการเป็น "ผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารบริษัทมหาชน" เมื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศชาติ ก็ได้นำเอารูปแบบการบริหารแบบบริษัทมหาชนมาปรับใช้กับการบริหารราชการแผ่นดิน จนเรียกกันว่า "ระบบ CEO"

   และเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในกระทรวงต่าง ๆ นายกฯ จะเป็นผู้ที่ลงมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาทุกครั้ง นอกจากนั้นแล้วลักษณะของการบริหารก็ไม่อิงรูปแบบตามหลักเกณฑ์เดิม ทำให้เกิดความแปลกใหม่ อย่างไรก็ตาม มีอยู่หลายครั้งหลายกรณีด้วยกันที่รัฐบาลถูกมองว่าไม่ค่อยให้ความสนใจในการรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย

   ดังนั้น ลักษณะการบริหารของรัฐบาลจึงเปรียบเสมือนกับ "บริษัท" แต่ไม่มีความเป็นมหาชนเพราะผู้ถือหุ้น (ประชาชน) ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็น หรือมีสิทธิแสดงความคิดเห็น แต่ไม่ได้รับความสนใจและการตอบสนอง

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

(นายกรัฐมนตรี)

เศรษฐีเหลิงลม    เนื่องจากเป็นผู้ที่มีฐานะร่ำรวยเข้าขั้นอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่งของเมืองไทย และภายหลังพ้นจากข้อกล่าวหากรณีซุกหุ้นซึ่งส่งผลให้นายกฯ ได้ดำรงตำแหน่งต่อไป ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนว่าต้องการบริหารประเทศชาติเป็นรัฐบาล 2 สมัย หรือ 8 ปี

   ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเป็นนายกฯ ได้ยังไม่ถึงปี การใช้อำนาจบริหารประเทศก็เป็นไปในลักษณะของความมั่นอกมั่นใจว่าสามารถนำพาประเทศชาติให้พ้นจากภาวะวิกฤติได้ หากนายกฯ ถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือติติงเรื่องการบริหาร ก็มักตอบโต้กลับด้วยท่าทีแข็งกร้าวพร้อมกับแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว จนทำให้มีภาพลักษณ์เชื่อมั่นในตัวเอง คล้าย ๆ กับคนที่กำลังเหลิงในอำนาจที่ตนมีอยู่

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

เสือเฒ่าจำศีล    เนื่องจาก พล.อ.ชวลิต เคยตำรงตำแหน่งสูงสุดในกองทัพและนายกฯ มาแล้ว เปรียบเสมือนเสือใหญ่ที่ผ่านสมรภูมิทั้งทางการทหารและการเมืองมาอย่างโชกโชน มาในสมัยรัฐบาลทักษิณ แม้ว่าจะยอมลดตัวเองลงมาดำรงตำแหน่งรองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ทว่ายังคงเป็นเสือเฒ่าทางการเมืองที่มีเขี้ยวเล็บอันน่ากลัว อย่างไรก็ตาม ท่วงท่าการแสดงออกในการอยู่ร่วมกันกับรัฐบาลยังคงสงบนิ่งอยู่ เปรียบเสมือน "เสือเฒ่าจำศีล" นั่นเอง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

ร่างทรงตึกไทย     นายสมคิดมักเดินทางเข้ามาปรึกษาหารือกับนายกฯ ที่ห้องทำงานบนตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ก่อนจะกำหนดออกมาเป็นนโยบายหรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้นายสมคิด ยังมักให้สัมภาษณ์กล่าวยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่เสมอ ๆ รวมทั้งมักอ้างอิงว่าทิศทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีที่มาจากแนวความคิดของนายกฯ จึงเปรียบเสมือน "ร่างทรงของนายกฯ หรือร่างทรงตึกไทยคู่ฟ้า"
นายอดิศัย โพธารามิก

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ขุนนางค้างสต็อก     ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบถึงบุคลิกการทำงานของนายอดิศัย ว่าเหมือนกับขุนนางเก่าที่เป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ถือตนเป็นใหญ่ ทำให้เกิดกรณีปัญหาความขัดแย้งกับข้าราชการระดับสูงในกระทรวง และกรณีไม่สามารถแก้ปัญหาการส่งออกที่ไม่บรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้น ท่าทีการทำงานเหมือนขุนนางเก่า จึงไม่สามารถนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ในตอนนี้ได้ เช่นเดียวกันกับสินค้าไทยจำนวนมากที่ยังคงค้างสต็อกอยู่ ไม่สามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ร้อยตํารวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

มือปราบสายเดี่ยว     ด้วยภาพลักษณ์ที่ยึดมั่นในหลักการและกฎระเบียบบ้านเมือง ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา จริงจังกับนโยบายการปราบปรามอบายมุข และเน้นการบังคับใช้กฎหมายกับสถานบันเทิงและสถานบริการอย่างเข้มงวด ตามนโยบาย "จัดระเบียบสังคม" ที่กำหนดให้สถานบันเทิงและสถานบริการ ต้องไม่ให้เด็กวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าไปใช้บริการ

    แต่ในสายตาวัยรุ่นจำนวนมาก กลับมองภาพของ ร.ต.อ.ปุระชัย ว่าเป็นมือปราบสายเดี่ยวที่เข้ามาสร้างผลกระทบกับวิถีชีวิตของพวกตน หรือพูดง่าย ๆ คือ "การสวมใส่เสื้อสายเดี่ยวออกไปเที่ยวยามค่ำคืนทำได้ยากมากขึ้น"

นายสุวิทย์ คุณกิตติ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

กลวง     เนื่องจากในอดีตได้รับการยกย่องว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีภาพลักษณ์ดีและมีคุณภาพเพียงพอที่จะไม่ไต่เต้าบนเส้นทางการเมืองไปจนถึงขั้นได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่ครั้นพอได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบในนโยบายกองทุนหมู่บ้านและการปฏิรูปการศึกษา กลับไม่ได้รับการยอดรับจากคนจำนวนหนึ่งในวงการศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งลักษณะของการทำงานดูเหมือนไม่รู้จริง เข้าทำนองที่ว่าท่าดีแต่ทีเหลว ไม่สามารถนำเอาแนวนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลได้อย่างแท้จริง
นายนที ขลิบทอง

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

ตั๋วจำนำ     เพราะเมื่อครั้งที่มีการจัดตั้ง ครม.ชุดแรกในสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 นายเนวิน ชิดชอบ สังกัดพรรคชาติไทย ได้รับการเสนอชื่อจากนายบรรหาร ศิลปอาชา ให้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมต. ในโควตาของพรรคชาติไทย แต่เนื่องจากนายเนวินถูกสังคมส่วนหนึ่งตีตราว่าเป็นบุคคลเข้าข่ายประเภทที่เรียกว่า "ยี้" นายกฯ จึงไม่อาจกล้าฝืนกระแสสังคม

    ส่งผลให้นายบรรหารต้องเสนอชื่อ "นายนที ขลิบทอง" ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนนายเนวินไปพลาง ๆ ก่อน จึงเปรียบเสมือนทรัพย์สินที่นายเนวินนำไปจำนำไว้กับรัฐบาล แล้วรอเวลาที่จะไถ่ถอนกลับคืนมาในอนาคต

นายประชา มาลีนนท์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)

เถ้าแก่บ้อท่า     ก่อนหน้าที่จะเข้ามาเล่นการเมือง นายประชาเป็นนักธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน เมื่อเข้ามาทำงานในฐานะรัฐมนตรี ก็ยังคงไว้ซึ่งบุคลิกของการบริหารงานแบบเถ้าแก่ ด้วยการใช้อำนาจในการกำหนดทิศทางการบริหารงานกับข้าราชการประจำและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ

    จนก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ อาทิ "การบินไทย สถานบินสุวรรณภูมิ ถึงขนาดถูกประท้วงขับไล่และทุบรถยนต์ กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่ง"

นายสมบัติ อุทัยสาง

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)

มรดกบาป     เนื่องจากภายหลังการเข้ามาดำรงตำแหน่ง รมต. คุณสมบัติได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลปัญหาที่ค้างคามาจากรัฐบาลชุดก่อน ๆ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกบาป

    ที่ทำให้คุณสมบัติต้องถูกฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในเวลาต่อมา ปัญหาต่าง ๆ นั้น ได้แก่ "กรณีการนำที่ดินสงฆ์ของวัดธรรมมิกการามไปขาย ให้แก่บริษัทอัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด กรณีการเก็บภาษีเพิ่มรวมกับค่าทางด่วน และกรณีบริษัทบีบีซีดี ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จำนวน 6,200 ล้านบาทจากรัฐ"

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

หมอหลังฉาก     เนื่องจากเป็นคุณหมอที่เป็นคนต้นคิดนโยบาย "30 บาท รักษาทุกโรค" และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ

    แต่ นพ.สุรพงษ์ กลับไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าวมากนัก เพราะมักทำงานอยู่เบื้องหลังมากกว่าการสร้างภาพทางการเมืองเหมือนนักการเมืองทั่วไป นอกจากนั้นแล้วการทำงานในกระทรวง ภาพเบื้องหน้าส่วนมากจะเป็นการประชาสัมพันธ์การทำงานของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเสียมากกว่า

วาทะแห่งปี "บกพร่องโดยสุจริต"     วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้คำแถลงการณ์ปิดคดีด้วยวาจาต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ณ ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544

    กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จงใจซุกซ่อนบัญชีทรัพย์สิน ยื่นทรัพย์สินอันเป็นเท็จ (คดีซุกหุ้นทักษิณ ภาค 1) โดยในถ้อยแถลงได้เน้นว่าตนไม่มีเจตนาในการกระทำความผิด แต่อาจจะมีความบกพร่องผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสารและความสับสนในข้อกฎหมาย ซึ่งถือเป็น "ความบกพร่องโดยสุจริต มิได้ทำการทุจริตแต่อย่างใด" และเมื่อถึงวันที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมติคำวินิจฉัยกลางในคดีนี้ ผลออกมา 8 ต่อ 7 เสียง ส่งผลให้พ้นผิดในคดีซุกหุ้นไปได้อย่างหวุดหวิด

พ.ศ.2545[1] 54 รัฐบาล รัฐบาลหลอน     เนื่องจากนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ได้นำเสนอต่อประชาชน เป็นนโยบายที่สร้างความหวังให้กับคนทุกชนชั้นในสังคม ทั้งที่นโยบายเดิมยังไม่สัมฤทธิ์ผล แต่กลับมรนโยบายใหม่ ๆ ออกมาเพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธาและความหวังว่าจะหายยากจน สำหรับผู้ที่เป็นนักธุรกิจก็จะมีกำไรมากขึ้น รวมทั้งเหล่าข้าราชการก็จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย ครั้นพอนโยบายถูกตรวจสอบและส่อให้เห็นว่าจะมีปัญหายุ่งยากในทางปฏิบัติ กลับออกนโยบายและมาตรการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนการหลอนให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่ดีกับรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

(นายกรัฐมนตรี)

เทวดา     จากสไตล์การบริหารงานที่มีลักษณะเชื่อมั่นในตนเองสูง หากบุคคลใดแสดงความคิดเห็นท้วงติงการทำงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักถูกตอบโต้กลับไปอย่างรุนแรง ว่าไม่มีความรู้บ้าง ขาดความเข้าใจบ้าง เสมือนเป็น "เทวดา" ที่ยึดติดกับความคิดของตนเองว่าถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว สามารถชี้ถูกชี้ผิดในปัญหาต่าง ๆ ภายใต้บรรทัดฐานของตนเอง พยายามเนรมิตนโยบายที่ให้ความหวังกับประชาชนทุกกลุ่มชนชั้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และพยายามแสดงบทบาทให้สังคมเห็นว่าสามารถดำรงตนเป็นผู้นำในระดับเอเชียและระดับโลกได้
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

(รองนายกรัฐมนตรี)

นาย...ลิขิต     เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายงานให้กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจทั้งที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ขาดการยอมรับจากนักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศ เพราะมองว่ามีประสบการณ์การทำงานเพียงแค่ลูกจ้างของบริษัทชินวัตรฯ เท่านั้น เมื่อครั้งที่ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการนายกฯ ก็ทำงานภายใต้การสั่งงานของนาย (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) อยู่ตลอดเวลา และคอยแปลความคิดของนายถ่ายทอดออกมาสู่การปฏิบัติ ซึ่งหมายความว่า "ทุกอย่างได้มา ก็เพราะนายลิขิต"
นายวิษณุ เครืองาม

(รองนายกรัฐมนตรี)

เนติบริกร     เพราะความเป็นมือกฎหมายของรัฐบาลมาแล้วหลายชุดในฐานะเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มาในสมัยรัฐบาลทักษิณก็ทำหน้าที่ดังกล่าวอีกเช่นเคยถึงขนาดเข้าตากรรมการอย่างนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ที่สามารถใช้ความรู้ทางกฎหมายในการพลิกแพลงให้รัฐบาลมีความชอบธรรมและได้เปรียบฝ่ายที่เห็นแตกต่างจากรัฐบาล นับว่าเป็นข้าราชการการเมืองมืออาชีพที่สามารถตอบสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ จึงถูกเลือกให้มาบริการทางด้านกฎหมายในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

จอมจัดฉาก     เนื่องจากถูกมองว่าพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับตนเองและรัฐบาล (ช่วงนั้นรัฐบาลมีลักษณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก เกี่ยวกับเรื่องราวการทุจริตคอร์รัปชันหลายกรณีด้วยกัน) ด้วยการจัดฉากโชว์ผลงานฟันข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทางด่วนสายมอเตอร์เวย์ แต่ไม่สามารถสาวไปถึงตัวนักการเมืองผู้อยู่เบื้องหลังได้
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

ไอ้ก้านน่วม     เนื่องจากในอดีตสมัยเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยได้รับฉายาว่า "ไอ้ก้านยาว" ผู้ซึ่งกล้าหาญชาญชัยถือไม้ท่อนยาวยืนประจันหน้ากับรถถังบริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ทำให้มีภาพลักษณ์ของความเป็นฮีโร่ผู้ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ แต่พอได้มาเป็น รมว.กลับถูกกล่าวหาจากฝ่ายค้านว่าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับการทุจริตหลายเรื่อง อาทิ เรื่องโค-กระบือ เรื่องการรับจำนำลำไยอบแห้ง การบุกรุกที่ดินป่าสงวน จนทำให้ "น่วมไปทั้งตัว" เหมือนคนที่ถูกตีจนร่างกายน่วมไปหมดทั้งตัว
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

สิงห์ซุ่ม     เพราะในอดีตเป็นผู้ที่มีบุคลิกค่อนข้างนุ่มนวล แต่เมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย กลับพลิกบทบาทกลายเป็นสิงห์ที่มีความดุดันในการทำงาน คล้ายกับ "สิงห์ที่ซุ่มตัว เพื่อรอจังหวะในการโชว์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วไป"
ร้อยตํารวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)

ไม้บรรทัดงอ     เนื่องจาก ร.ต.อ.ปุระชัย เคยได้รับการยอมรับจากสังคมและสื่อมวลชนว่าเป็นคนเถรตรง ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร ยอกหักไม่ยอมงอ แต่ในที่สุดก็ต้องยอมโอนอ่อนผ่อนตามฝ่ายการเมืองเพื่อความอยู่รอดของตนเอง โดยไม่สามารถรักษาหลักการเอาไว้ได้

    อย่างเช่นกรณีไม่พยายามสืบสาวราวเรื่องเอาความผิดกับผู้ครอบครองสนามกอล์ฟอัลไพน์ ซึ่งสร้างอยู่บนที่ดินสงฆ์ กรณีการยอมจับมือยอมความ กับนายสุขวิช รังสิตพล ผู้ซึ่งเคยกล่าวหา ร.ต.อ.ปุระชัย ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีค่าโง่ทางด่วน

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

ตุ๊กตาทอง 2 หน้า     เพราะถูกมองว่ายังคงรูปแบบการทำงานแบบเดิม ๆ ในลักษณะของการสร้างภาพโชว์ผลงานผ่านสื่อมวลชนโดยตลอด ทั้งที่เนื้องานต่าง ๆ ไม่ปรากฏเป็นชิ้นเป็นอันอย่างชัดเจน แต่กลับสามารถสร้างกระแสความนิยมกลายเป็นขวัญใจของชาวบ้านได้ จึงเปรียบเสมือนได้กับนักแสดงที่มีความสามารถระดับรางวัลตุ๊กตาทอง
นายเนวิน ชิดชอบ

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

จิ้งจกตีนกาว     ก่อนหน้านั้นเคยถูกกีดกันไม่ให้เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ทั้งจากนายกฯ และพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล เพราะกระแสสังคม แต่ในท้ายที่สุดก็สามารถเบียดแทรกเข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วยได้เป็นผลสำเร็จ เปรียบเสมือนจิ้งจกตีนกาวเหนียวหนึบ ที่สามารถเกาะติดกับเก้าอี้รัฐมนตรีได้อย่างเหนียวแน่นโดยไม่ยอมปล่อยง่าย ๆ
นางอุไรวรรณ เทียนทอง

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม)

มรดกเจ้าพ่อ     นางอุไรวรรณ ถูกมองว่าได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วย เนื่องจากแรงหนุนของสามีอย่างนายเสนาะ เทียนทอง ผู้ซึ่งสื่อมวลชนเคยตั้งฉายาให้ว่าเป็น "เจ้าพ่อวังน้ำเย็น"
วาทะแห่งปี "รู้น้อยอย่าพูดมาก"     วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่าง ณ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2545

    มักใช้คำพูดนี้ตอบโต้กับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากตนในหลายครั้งหลายคราว

พ.ศ.2546 54 รัฐบาล รัฐบาลตระกูลเอื้อ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

(นายกรัฐมนตรี)

นายทาส     ผู้ประกาศปลดปล่อยประชาชนให้พ้นจาก "พันธนาการ" ความยากจน ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และพ้นจากทาสไอเอ็มเอฟ แต่กลับนำกลไกของรัฐมาสร้างพันธนาการใหม่ให้กับประชาชนด้วยนโยบาย "ก่อหนี้" ทุกรูปแบบ ทั้งยังส่งเสริมระบบเศรษฐกิจใต้ดินขึ้นมาบนดิน เปรียบประหนึ่งว่ากำลังสนับสนุนค่านิยมเสี่ยงโชค อาจส่งผลให้ประชาชนต้องตกเป็นทาสการพนันไปในที่สุด
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

สมรู้ร่วมคิด
ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

อธิบดีคลัง
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

ผู้ดีฟอร์มยักษ์
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

ร้อยลิ้นพันล้าน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

เลขาฯ ก๊วนชวนอิ่ม
นายวัฒนา เมืองสุข

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ไก่ชน GMO
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ร.ม.ต.นอร์หัก
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม)

ลูกโป่งหลงจู๊
นายอดิศัย โพธารามิก

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

ครูพันธุ์ดื้อ
วาทะแห่งปี "ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ"     วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2546

    กรณีที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights: UNHCHR) จะส่งผู้แทนพิเศษเข้ามาตรวจสอบข่าวการฆ่าตัดตอนคดียาเสพติด และกรณีนายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เตือนว่า การฝ่าฝืนสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองจะไปสิ้นสุดที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ

พ.ศ.2547 54 รัฐบาล รัฐบาลกิน-แบ่ง
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

(นายกรัฐมนตรี)

ผู้นำจานด่วน     เนื่องจากเป็นปีสุดท้ายของการเป็นรัฐบาลไทยรักไทยวาระแรก 4 ปี ทักษิณจึงคลอดนโยบายประชานิยมออกมามากมาย เพื่อรองรับการหาเสียงเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2548
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

(รองนายกรัฐมนตรี)

ขุน...สึก
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

คนดีที่ลืมโลก
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

(รองนายกรัฐมนตรี)

โคบาลเป่าปี่
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

(รองนายกรัฐมนตรี)

ส.โหย
นายวัฒนา เมืองสุข

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

เขยเอื้ออาทร
นายอดิศัย โพธารามิก

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

เอี้ยมจุ๊นติดหล่ม
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

หน้าเด้งดอตคอม
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

เฮีย..ฟุ้ง
นายเนวิน ชิดชอบ

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

ห้อย...จัดให้
วาทะแห่งปี "โจรกระจอก"     วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าว ณ กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2547

    หลังเกิดกรณีโจรใต้บุกเข้าปล้นปืนไป 400 กว่ากระบอก จนส่งผลให้ทหาร 4 นายเสียชีวิตจากการต่อสู้

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2548-2552 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายาและวาทะแห่งปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2548[2] 55 รัฐบาล ประชาระทม     ที่ผ่านมารัฐบาลโหมใช้นโยบายประชานิยมโฆษณาชวนเชื่อ จนประชาชนมอบความไว้วางใจด้วยคะแนนท่วมท้นให้เป็นรัฐบาลอีกสมัย โดยหวังว่าจะเข้ามาพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีกินดี แต่หลังจากบริหารประเทศยังไม่ทันครบปี ปรากฏว่า "นโยบายประชานิยมกลับพ่นพิษ" ทำให้ประชาชนต่างทุกข์ระทม ภาวะหนี้สินทุกครัวเรือนพุ่งขึ้นไม่หยุด เข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพง เกิดความรุนแรงในสังคม กอปรกับสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่มีทีท่าจะยุติ มิหนำซ้ำยังมีข่าวฉาวคอร์รัปชัน เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง ขนาดองค์กรอิสระที่ชาวบ้านหวังเป็นที่พึ่งยังถูกครอบงำจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้

    แม้รัฐบาลจะตีปี๊บประโคมข่าว ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะดีดตัวสูงขึ้น แต่ประชาชนชั้นรากหญ้ายังต้องระทมทุกข์ต่อไป

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

(นายกรัฐมนตรี)

พ่อมดมนต์เสื่อม     ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนอย่างท่วมท้นกว่า 19 ล้านเสียง นั่งแท่นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 อย่างสง่างาม แต่จากการทำงานช่วงระยะเวลาไม่ถึงปี ภาพเดิมที่เคยถูกมองว่าเป็น "เทวดา" เก่งและเนรมิตได้ทุกเรื่อง ใครแตะต้องไม่ได้ กลับกลายเป็น "พ่อมด" ที่ใช้แต่อารมณ์ ยิ่งเมื่อถูกรุมเร้าด้วยปัญหาสารพัด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง สุดท้ายต้องแหงนหน้าพึ่งดาวพุธ ถอยฉากตั้งหลัก

    ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะถูกจับได้ไล่ทันว่าไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้ ประชาชนเสื่อมศรัทธาไม่เชื่อถือในความซื่อสัตย์ ไม่เพียงแค่ประชาชน แม้แต่ลูกพรรคไทยรักไทยยังออกมาลองของไม่เว้นแต่ละวัน คำพูดของท่านผู้นำที่เคยศักดิ์สิทธิ์ในวันนี้กลับเสื่อมถอยลง

นายแพทย์สุชัย เจริญรัตนกุล

(รองนายกรัฐมนตรี)

เด็กนายหญิง     รัฐมนตรีสายตรงจากนายหญิง ถูกส่งเข้ามาคุมกระทรวงหมอ แต่ด้วยความที่เป็นเด็กเส้น ขาดประสบการณ์งานบริหาร แค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เข้าไปทำงาน ได้สร้างความปั่นป่วน ด้วยการสั่งปลดโยกย้ายบิ๊กสาธารณสุข รวดเดียว 9 คน จนเกิดแรงต้านจากกลุ่มหมอ และลุกลามไปสู่การประลองกำลังระหว่าง "เจ๊ใหญ่" กับ "นายหญิง" ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีต้องรีบปลดชนวนระเบิด สั่งทบทวนโผโยกย้าย แต่เจ้าตัวยังฮึดฮัด ขัดขืน ประกาศยื่นใบลาออก ร้อนถึงนายหญิง ต้องออกแรงอุ้ม ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาศักดิ์ศรีจันทร์ส่องหล้า
นายวิษณุ เครืองาม

(รองนายกรัฐมนตรี)

ทนายหน้าหอ     เป็นเนติบริกร ให้กับรัฐบาลทักษิณเพื่อใช้ข้อกฎหมายมาพลิกแพลงให้เป็นคุณต่อรัฐบาล บางครั้งถึงกับยอมพลิกลิ้น ฉีกตำรากฎหมาย หาช่องทางสนองบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล

    มาในปีนี้ยิ่งหนักข้อขึ้น เมื่อรัฐบาลเจอวิกฤติร้อน ๆ สารพัดเรื่องจากสถานะมือกฎหมายของรัฐบาล นายวิษณุจึงต้องตกที่นั่งกลายมารับหน้าที่เป็นทนายแก้ต่าง เพื่อคลายปมปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "การทุจริตซีทีเอ็กซ์ ปัญหา กสช. การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช การถ่ายโอนโรงเรียนไปยังท้องถิ่น" จึงเปรียบได้แค่ทนายหน้าหอ มีหน้าที่คอยแก้ตัวสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลเท่านั้น

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

(รองนายกรัฐมนตรี)

พี.อาร์.25 ชั่วโมง     ขึ้นชื่อเป็นรัฐมนตรีที่เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ตัวเองเป็นหลัก มากกว่าผลงานในหน้าที่ มุ่งทำตัวเองให้เป็นข่าวออกหน้าจอทีวีเสมอ เก็บทุกประเด็นไม่แยกแยะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ขอให้ได้เป็นข่าวก็พอ จนเกิดปัญหาเกาเหลากับรัฐมนตรีเจ้าสังกัดโดยตรง ตกเป็นข่าวคึกโครมกับนายประชา มาลีนนท์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กรณี "รับธงซีเกมส์"
พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)

ปลั๊กหลวม     เป็นนายตำรวจรุ่นพี่นายกรัฐมนตรี มีดีกรีถึงดอกเตอร์ ถูกคาดหวังให้มารับผิดชอบเรื่องความมั่นคง แทน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รับหน้าเสือดับไฟใต้ แต่เมื่อทำงานจริงกลับไม่สัมฤทธิ์ผลตามราคาคุย ขยันออกนโยบายแต่ไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ เพราะฝีมือไม่ถึง บารมีไม่พอ ขาดประสบการณ์

    เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ "ปลั๊กหลวม" เสียบแล้วใช้การได้ไม่เต็มที่ ติด ๆ ดับ ๆ จึงไม่สามารถลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ลงได้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

ซากซีทีเอ็กซ์     ถูกฝ่ายค้านลากขึ้นเขียงอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นคนแรกของรัฐบาล "ทักษิณ 2" จากกรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ภาพลักษณ์รัฐบาลติดลบ สอบตกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตอย่างร้ายแรงนับตั้งแต่นั้นมา

    แม้นายกฯ จะปรับพ้นเก้าอี้ รมว.คมนาคม เพื่อลดกระแส แต่ยังเอื้ออาทร ยอมให้ตำแหน่งรองนายกฯ ควบกระทรวงอุตสาหกรรม แถมยังให้อำนาจกำกับดูแลกระทรวงคมนาคมต่อ และแม้จะพยายามดิ้นสุดฤทธิ์จนได้เครื่องซีทีเอ็กซ์ เจ้าปัญหามาการันตีความบริสุทธิ์แล้วก็ตาม แต่สังคมปักใจเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ชะตากรรมของนายสุริยะ จึงไม่ต่างกับซากซีทีเอ็กซ์ ที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดไป

นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

คลื่นแทรก     รับบทบาทพิมาตสื่อ คอยเป็นกันชนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อรัฐบาล ซ้ำร้ายจ้องจับผิดสื่อที่เป็นอริ สร้างความอึดอัดใจกันทั้งวงการ มีการใช้สารพัดวิชามารใต้ดิน บนดิน แทรกแซงจนสื่อแทบขาดอิสระในการทำงาน โดยเฉพาะสื่อของรัฐโดนครอบงำ ให้เสนอแต่เรื่องที่เป็นคุณแก่รัฐบาลข้างเดียว

    บทบาทของนายสุรนันทน์ จึงเป็นเหมือนคลื่นแทรก ที่คอยก่อกวน และสกัดการทำงานของสื่อ

นายวัฒนา เมืองสุข

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

อิกคิวเซ็ง     มีไอเดียแหวกแนว เหมือน "อิกคิวซัง" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีปัญญา แต่ทว่าชอบคิดอะไรเพี้ยน ๆ สวนกระแสสังคมบ่อยครั้ง หวังสร้างกระแสให้ตัวเอง อาทิ "การจัดถนนให้วัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ ให้ภรรยากราบเท้าสามีก่อนนอน การฉายสปอตไลต์หน้าโรงแรมม่านรูดในคืนวันลอยกระทง จนถูกประณามอย่างหนัก"

    พฤติกรรมดังกล่าวจึงน่าจะเข้าข่าย "อิกคิวเซ็ง" ที่คิดอะไรแย่ ๆ อวดฉลาด จนคนในสังคมเซ็งกับความคิดของนายวัฒนา

นายวิเศษ จูภิบาล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)

โบรกเกอร์รัฐบาล     ถูกส่งมากำกับดูแลด้านพลังงาน ท่ามกลางวิกฤตน้ำมันแพง แต่กลับทำตัวเป็นโบรกเกอร์ ที่คอยต่อรองสร้างผลกำไรให้กับกลุ่มทุนซีกรัฐบาล โดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่นำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ จนถูกมองว่า นำทรัพย์สินของประเทศไปขาย

    ขณะเดียวกันปัญหาน้ำมันแพงก็ยังแก้ไม่ตก ส่งผลให้กองทุนน้ำมันติดลบมหาศาล เนื่องจากนำเงินไปพยุงราคาน้ำมัน แบบฝืนกลไกการตลาด สุดท้ายชาวบ้านต้องก้มหน้ารับกรรมใช้น้ำมันแพงต่อไป

พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

รมต.พลัง "น้ำ"     อาศัยบารมี "ลูกน้ำ" ศรีภรรยา ซึ่งเป็นเพื่อนและเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยานายกรัฐมนตรี จนได้นั่งเก้าอี้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มมุ้งการเมืองในพรรคไทยรักไทยที่พลาดตำแหน่ง

    ขณะที่ผลงานติดลบตลอด ถูกลูบคมด้วยประทัดยักษ์ถึงหัวบันไดกระทรวง ไม่สามารถบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชนได้ เสนอไอเดียออกมาแต่ละอย่างมีแต่เสียงโห่ไล่ เช่น "การติดยูบีซีในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้" จนถูก ส.ส.รวมหัวตะเพิดออกจากตำแหน่ง แต่ด้วยพลังภายในของ "ลูกน้ำ" ทำให้ "พี่บิ๊ก" ยังเกาะเก้าอี้แน่นต่อไป

วาทะแห่งปี "จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เรา ต้องดูแลเป็นพิเศษ"     วาทะของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างเป็นประธานมอบหนังสือแสดงสิทธิสัญญาเช่าที่ราชพัสดุให้กับประชาชนตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ณ หอประชุมโรงเรียนบรรพตพิทยาคม อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2548

    หลังการเลือกตั้งซ่อมใน 3 จังหวัดที่พรรคไทยรักไทยส่งผู้สมัครลงแข่งขัน หลังผู้สมัคร 3 คนของพรรคได้รับใบเหลืองจาก กกต. แต่สามารถชนะการเลือกตั้งกลับเข้าสภามาได้เพียง 1 จังหวัด คือที่จังหวัดสิงห์บุรี ที่ชนะผู้สมัครจากพรรคชาติไทย กลับเข้ามาแบบฉิวเฉียด 700 กว่าคะแนน จากที่เคยชนะกว่า 2 หมื่นคะแนน ส่วนจังหวัดพิจิตรพ่ายแพ้ผู้สมัครจากพรรคมหาชน กว่า 17,000 คะแนน และแพ้พรรคชาติไทยในจังหวัดอุทัยธานี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศว่าเป็นบ้านเกิดของพ่อตาที่จะต้องเอาชนะให้ได้ เกือบ 1 หมื่นคะแนน

    เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของผู้นำในการเลือกปฏิบัติ เน้นการเมืองสำคัญมากกว่าการบริหารประเทศ จนสร้างความฮือฮาให้กับคนทั้งประเทศและถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด[3]

พ.ศ.2549 56 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง
พ.ศ.2550 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง
พ.ศ.2551 57-59 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ถึง 3 ครั้ง ภายในปีเดียว ตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช, รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พ.ศ.2552[4] 59 รัฐบาล ใครเข้มแข็ง?     รัฐบาลประกาศแผนพลิกฟื้นประเทศไทยให้พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง ผ่านแผนปฏิบัติการ "ไทยเข้มแข็ง" เพื่อลงทุนยกเครื่องประเทศครั้งใหญ่ ภายใต้ พ.ร.บ. และ พ.ร.ก.เงินกู้รวม 8 แสนล้านบาท เมื่อโครงการนี้ไปสู่การปฏิบัติมีเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาล ความไม่โปร่งใส จนเกิดคำถามว่าการสร้างหนี้เพื่อฟื้นประเทศไทยทำให้ใครเข้มแข็งระหว่างประชาชน หรือนักการเมือง ?
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

(นายกรัฐมนตรี)

หล่อหลักลอย     เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีภาพลักษณ์ดี หน้าตาดี การศึกษาดี จึงมีแม่ยกเป็นจำนวนมาก มักประกาศจุดยืนและหลักการด้านประชาธิปไตย โดยเฉพาะเมื่อรับตำแหน่งได้ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อให้คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบทางการเมืองมากกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย

    แต่เมื่อรัฐมนตรีบางคนมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย หรือมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส กลับไม่ได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง นั่นเท่ากับไม่สามารถกำกับให้กฎเหล็กมีผลใช้บังคับได้ หลักที่เคยประกาศไว้จึงเหมือนคำพูดที่เลื่อนลอย ไม่เป็นไปตามหลักการที่วางไว้

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

(รองนายกรัฐมนตรี)

กั๊ก-กอบ-โกย     ขึ้นชื่อว่าเป็นรองนายกฯ จอมตรวจสอบ กั๊ก และคอยดักจับโครงการของพรรคร่วมรัฐบาล จนเกิดเหตุกระทบกระทั่งกันอยู่เนือง ๆ และถูกแกนนำพรรคร่วมตั้งสมญาว่า "พ่อชุนละเอียด"

    แต่ไป ๆ มา ๆ กลับสะดุดขาตัวเอง เมื่อพบปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนจากการแต่งตั้งน้องชาย เป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) ที่มีตัวเองเป็นประธาน สุดท้ายทั้งพี่และน้องก็ฝ่าแรงกดดันจากสังคมไม่ไหว จำต้องโกยออกจากตำแหน่ง แม้กระทั่งตำแหน่งตัวเองก็ต้องโกยออกไปเป็นเลขาธิการนายกฯ

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

แม่นม อมทุกข์     แม้ไม่ใช่เป็นผู้ให้กำเนิดทางการเมืองแก่นายอภิสิทธิ์โดยตรง แต่ก็คอยดูแล อุ้มชู และสนับสนุนในทางการเมืองทุกอย่าง ถึงขั้นประกาศว่าความใฝ่ฝันทางการเมืองสูงสุด คือ การผลักดันให้นายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกฯ แต่เมื่อสานฝันได้สำเร็จ นายอภิสิทธิ์กลับสร้างปัญหาหนักอกให้นายสุเทพตามล้างตามเช็ด อาทิ "การแก้รัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)"

    ทำให้ผู้จัดการรัฐบาลถูกพรรคประชาธิปัตย์วิจารณ์อย่างหนักว่าตีตัวออกห่าง มัวแต่เอาใจพรรคร่วมรัฐบาล จนเจ้าต้องอยู่ในอาการอมทุกข์

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

ช่างจัดฉาก     เป็นคนสนิทของนายกฯ กำกับดูแลสื่อของรัฐ มักเปรียบเปรยว่าตัวเองเป็น "อิมเมจ เมเกอร์" พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านบวกให้รัฐบาล เป็นจอมจัดการ เช่น "การจัดคิวให้นายกฯ และคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่จัดฉากให้คณะรัฐมนตรีออกทีวี-วิทยุ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล" ทว่าเสียงสะท้อนกลับติดลบเป็นส่วนใหญ่

    โดยเฉพาะโครงการ "ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง" ที่ให้ทุกจังหวัดเกณฑ์คนมาร้องเพลงชาติ แต่ถูกตั้งข้อสงสัยเรื่องงบประมาณ เสมือนช่างที่พยายามจัดฉากให้ดูดี แต่ไม่มีเนื้องานเป็นรูปธรรม

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

ป้อมพลัง "ป"     ชื่อเล่นเขา คือ "ป้อม" ได้เป็นรัฐมนตรีที่ไม่มีความชัดเจนว่าเป็นโควตาของกลุ่มการเมืองใด ไม่ใช่สายตรงประชาธิปัตย์ ไม่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับภูมิใจไทย ไม่ใช่ตัวแทนของกองทัพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ได้รับความเกรงกลัว-เกรงใจจากคนในรัฐบาลอย่างมาก ถึงขั้นปล่อยผ่านเมกะโพรเจกต์ของกองทัพอย่างง่ายดาย

    เนื่องจากมีพลัง อิทธิพล และบารมีของคนชื่อ "ป ปลา" แห่งกองทัพเป็นป้อมปราการค้ำบัลลังก์และป้องกันภัยทางการเมือง

นายกรณ์ จาติกวณิช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

ทวิต-กู้     เป็นขุนคลังที่ประชาชนจดจำผลงานในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ นอกจากภาพการกู้เงินที่เป็นไม้ตายการแก้ปัญหา แต่ภาพของนายกรณ์ในโลกไซเบอร์คือนักโพสต์มือหนึ่ง ผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และไฮไฟว์ มักเข้าไปอัปเดตภาพ-ข่าวของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งขณะนั่งประชุมคณะรัฐมนตรีก็ยังทวิตข้อความและรูปภาพให้สมาชิกได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น

    ในช่วงที่ถูกโจมตีเรื่องการทำงาน บางครั้งศรีภริยาก็ออกมาทวิตแก้ต่างให้ สมเป็นขุนคลังออนไลน์ที่มีผลงานกู้เร็วทันใจราวกับไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต

นายกษิต ภิรมย์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

ไส้ติ่งรัฐบาล     เป็นอดีตนักการทูตที่ได้เข้ามารับตำแหน่งในรัฐบาล จากการเป็นดาวไฮปาร์กบนเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ แต่กลับไม่ยอมใช้วาทศิลป์ทางการทูตเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ตรงกันข้ามถูกวิจารณ์ว่าปากเป็นพิษ โดยเฉพาะการเปรียบเปรยนายกฯ กัมพูชา ว่าเป็น "แก๊งสเตอร์" จึงเปรียบเสมือนเป็น "ไส้ติ่ง" ที่แม้จะอยู่ในร่างกายได้ แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ดีไม่ดีพอเกิดการอักเสบขึ้นมาจะเป็นโทษต่อร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตด้วย
นายโสภณ ซารัมย์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

ภูมิใจ "นาย"     ไม่เคยทำงานบริหาร และผ่านงานคมนาคมมาก่อน แต่เป็นลูกน้องคนสนิทของนายเนวิน ชิดชอบ จึงได้รับความไว้วางใจให้คุมกระทรวงเกรดเอ อย่างกระทรวงคมนาคม จากนักการเมืองโนเนมจึงมีชื่อติดกระแสขึ้นมา

    การเสนอโครงการเป็นไปตามใบสั่ง "นาย" แทบทุกโครงการ โดยเฉพาะโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน หลังต่อสู้กับพรรคร่วมหลายรอบ เป็นโต้โผใหญ่ในการเปิดบ้านพักที่จังหวัดบุรีรัมย์ต้อนรับนายกฯ แทนลูกพี่ โดยไม่มีกลุ่มคนเสื้อแดงมาปั่นป่วน จึงถือเป็นลูกน้องที่สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เป็น "นาย" อย่าง "เนวิน"

นางพรทิวา นาคาศัย

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

เจ้าแม่แพ้หน้าเน็ต     เป็นรัฐมนตรีหญิงที่มีบทบาทสำคัญในคณะรัฐมนตรี เพราะพยายามผลักดันโครงการของพรรคภูมิใจไทยเข้าสู่คณะรัฐมนตรีตลอดเวลา อาทิ การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง การปรับเปลี่ยนระบบการจัดงบเพื่อบริหารสินค้าเกษตร ฯลฯ

    แต่ถูกแกนนำรัฐบาลรุมเตะสกัด ทำให้บางโครงการไม่ผ่านการอนุมัติ บางครั้งถึงกับร่ำไห้กลางวงประชุมคณะรัฐมนตรี เปรียบเสมือน "นักตบลูกหนังที่แค่ตั้งท่ายังไม่ทันตบ ก็ติดบล็อกจากฝ่ายตรงข้ามเสียแล้ว"

นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

สตั๊นท์เฒ่าเฝ้าเก้าอี้     สิงห์เฒ่า วัย 73 ปี ผู้นี้ได้เข้ามารั้งเก้าอี้ มท.1 พร้อมตำแหน่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แทนบุตรชายที่อยู่ในบ้านเลขที่ 111 การเป็นรัฐมนตรีถูกมองว่าเป็นการแสดงบทตามที่ลูก และเพื่อนลูกอย่างนายเนวิน ชิดชอบ คอยกำกับเท่านั้น เหมือนเป็นตัวแทนมานั่งเฝ้าเก้าอี้รอตัวจริง

    แม้จะเป็น "สตั๊นท์เฒ่า" ก็มากด้วยเล่ห์เหลี่ยม และชั้นเชิงทางการเมือง ทำให้สามารถเฝ้าเก้าอี้ มท.1 เฝ้าเก้าอี้หัวหน้าพรรคอยู่ในรัฐบาลได้อย่างเหนียวแน่น

วาทะแห่งปี "ใครก็ตามที่ประกาศชัยชนะ ผมถือว่าคน ๆ นั้นและกลุ่มคนนั้นคือศัตรูของประเทศอย่างแท้จริง"     วาทะของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างแถลงต่อสื่อมวลชน ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2552

    หลังจากกลุ่มคนเสื้อแดงนำมวลชนบุกล้มการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) และคู่เจรจา ครั้งที่ 14 ณ เมืองพัทยา ก่อนจะประกาศว่าเป็นชัยชนะของชาวเสื้อแดง

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2553-2557 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายาและวาทะแห่งปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2553[5] 59 รัฐบาล รัฐบาลรอดฉุกเฉิน     ตลอดปี 2553 รัฐบาลต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้าน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตภัยธรรมชาติ วิกฤตการเมืองทั้งในและนอกสภา เกิดความขัดแย้งและแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคม จนต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในหลายพื้นที่เพื่อควบคุมสถานการณ์ ยังไม่รวมวิกฤตสังคมอื่น ๆ จนทุกฝ่ายมองว่า รัฐบาลไม่น่าจะบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ แต่สุดท้ายรอดจากวิกฤตต่าง ๆ รวมทั้งรอดพ้นจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางข้อกังขาจากสังคม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

(นายกรัฐมนตรี)

ซีมาร์กโลชัน     ในภาวะที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก วิกฤติความขัดแย้งทางสังคมทั้งระดับประเทศ ลงไปถึงระดับครอบครัว เปรียบเสมือนผู้ป่วยหนักที่ต้องการยารักษาโรคให้หายขาด บางปัญหาต้องทำการผ่าตัด-ปรับโครงสร้าง-เปลี่ยนอวัยวะ สังคมคาดหวังว่านายกฯ จะเข้ามาแก้ไขปัญหาและรักษาอาการของประเทศได้ แต่ผลการปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯ ยังทำได้ผลเพียงการบรรเทาโรค เปรียบเสมือนการใช้ "ซีมาโลชัน" ทาแก้คันเท่านั้น
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์

(รองนายกรัฐมนตรี)

ลิ้นชาละวัน     ผลงานในตำแหน่งรองนายกฯ ไม่เป็นที่ประจักษ์-เป็นรูปธรรม แต่บทบาทที่เด่นชัด คือ "การเดินสายเจรจาสร้างความปรองดองกับทุกพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาล และกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองทุกสี รวมทั้งการเจรจากับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี" จนถูกวิจารณ์ว่า อยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ผลการเจรจาก็ไม่สำเร็จ

    เปรียบเหมือนการใช้ลิ้นจระเข้ที่ไม่มีต่อมรับรส กินอะไรก็ไม่รู้รสชาติ การเจรจาของชาละวัน-สนั่น จึงไม่มีการตอบรับจากทุกฝ่าย

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

ทศกัณฐ์กรำศึก     เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในทุกเรื่อง เปรียบเหมือนทศกัณฐ์ที่มีหลายหน้า อาทิ "รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แม่บ้านพรรคประชาธิปัตย์ ผู้จัดการรัฐบาล บิดาของนายแทน เทือกสุบรรณ" ที่ถูกโจมตีเรื่องการครอบครองที่ดินเขาแพง เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ทำให้ต้องเผชิญศึกหนักจากรอบด้าน ทั้งศึกที่จบไปแล้ว และศึกที่ยังดำรงอยู่

    แต่ด้วยความมีประสบการณ์การเมืองสูง รอบจัด จึงเอาตัวรอดจากศึกรอบด้านมาได้ ขนาดหลุดจากเก้าอี้ ส.ส. เพราะถือหุ้นต้องห้าม ตามด้วยการไขก๊อกจากเก้าอี้รองนายกฯ ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม สุดท้ายก็ฟื้นชีพการเมืองครบทุกตำแหน่ง เปรียบเสมือนทศกัณฐ์ที่ถอดกล่องดวงใจได้ ไม่มีวันสิ้นชีพ

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย

(รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)

กริ๊ง...สิงสื่อ     แม้จะพ้นจากการกำกับดูแลสื่อในช่วงครึ่งปีหลัง แต่บทบาทที่เด่นชัด คือ "การสั่งการสื่อสำนักต่าง ๆ ของรัฐ" โดยเฉพาะในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง มักโทรศัพท์สายตรงไปถึงกองบรรณาธิการ-สถานีโทรทัศน์ เพื่อชี้นำและกำหนดทิศทางในการนำเสนอประเด็นข่าว ทำให้บางสื่อเกิดความอึดอัด แต่ต้องทำตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกครั้งที่เสียงโทรศัพท์ของสื่อดังขึ้น มีชื่อผู้โทรเข้าเป็นนายสาทิตย์ จะทำให้ทุกสื่อรู้สึกสยองขวัญกับคำสั่งที่สิงสู่ส่งมาตามสาย
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

ป้อมทะลุเป้า     ชื่อเล่นคือ "บิ๊กป้อม" เป็นพี่ใหญ่ของนายพลทุกเหล่าทัพ แม้คนภายนอกมองว่า บทบาทของเขาไม่โดดเด่น แต่ในความเป็นจริงเขากลับสร้างผลงานได้ทะลุเป้าในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น "การกุมอำนาจในฝ่ายความมั่นคง การปฏิบัติการกระชับพื้นที่ชุมนุมย่านราชประสงค์ การขออนุมัติใช้งบของกองทัพ ทั้ง งบลับ-งบแจ้งที่ถูกครหาว่าสูงเป็นประวัติการณ์ การได้รับอนุมัติจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากรัฐบาลทุกรูปแบบ ทุกเงื่อนไข" ทำให้เป็นปีที่ "ป้อมทะลุทุกเป้า"
นายกรณ์ จาติกวณิช

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

โย่งคาเฟ่     ในฐานะ รมว.คลัง จำเป็นต้องมีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ การแสดงบทบาทต่อสาธารณะทุกครั้ง เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณต่อความเชื่อมั่นเรื่องภาวะเศรษฐกิจ และเป็นท่าทีทางนโยบายของรัฐบาล แต่สำหรับนายกรณ์กลับแสดงออกไม่สมบทบาทขุนคลัง ในหลายกรณี อาทิ "การเปิดผับเชียร์ฟุตบอลโลก การแสดงบท พ.ต.ประจักษ์ มหศักดิ์ คู่กับแอฟ ทักษอร ในละครวนิดา ภาคปลดหนี้" จนถูกวิจารณ์ว่า มีพฤติกรรมที่เน้นสร้างความบันเทิง-เฮฮา มากกว่าบทบาท รมว.คลัง
นายจุติ ไกรฤกษ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

หัวเทียนบอด-แบน     เป็นคนหนุ่มไฟแรงที่นายกฯ ตั้งความหวังเอาไว้มากว่าจะเข้ามาพัฒนาระบบไอทีของประเทศ แต่ทั้งนายกฯ และคนไทยกลับต้องผิดหวังแทบทุกเรื่อง เพราะทั้งระบบ 3 จี บัตรประชาชนอเนกประสงค์ (สมาร์ตการ์ด) ทุกโครงการยังไม่สำเร็จ ทั้งที่พยายามสตาร์ตมาทั้งปี แต่ยังไม่ติด เหมือนรถที่หัวเทียนบอด

    แต่รูปธรรมการทำงานกลับเป็นการไล่บี้-สั่งแบนเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้แบนติดดิน โดยเฉพาะการมุ่งแต่สะสางสัญญาสัมปทานของค่ายชินคอร์ป

นางพรทิวา นาคาศัย

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

นาง "ฟ้า" สต็อกลม     เป็นอดีตแอร์โฮสเตสที่ผันตัวมาเล่นการเมือง ก่อนรับบทแม่ค้าในฐานะ รมว.พาณิชย์ ต้องค้า-ขายบริหารสินค้าเกษตร และระบายสต็อกสินค้าเกษตรทั้งหมด แต่ทุกครั้งที่มีการเปิดประมูลสินค้าเกษตร มักมีปัญหาส่อความไม่ชอบมาพากล จนถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งอนุกรรมการสอบสวน เมื่อตรวจพบสินค้าเกษตรบางรายการเป็นเพียงสต็อกลม และสินค้ามีที่มาที่ไปไม่โปร่งใส ขณะเดียวกันยังเกิดปัญหาสินค้าราคาแพง ทำให้สบช่องจัดรายการ "ธงฟ้าราคาประหยัด" อยู่ตลอดทั้งปี
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

เสืออิ่ม สิงห์โอด     ถูกวิจารณ์จากทั้งคนในและนอกกระทรวงมหาดไทยว่า "เป็นยุคตกต่ำที่สุดของกระทรวงนักปกครอง" ที่ถูกเรียกขานตามสัญลักษณ์ "สิงห์" โดยปรากฏข่าวไม่ชอบมาพากลสารพัดโครงการ มีการแต่งตั้งโยกย้ายที่ถูกร้องเรียนว่าไม่เป็นธรรมมากที่สุด ทำลายสถิติเรื่องการมีว่าที่ปลัดกระทรวงมากที่สุด

    จนนักปกครองทุกสี ทั้ง สิงห์ดำ-สิงห์แดง-สิงห์ขาวออกมาโอดครวญ เพราะถูก "เสือ" เจ้ากระทรวงขย้ำ จนไม่เหลือความเป็น "สิงห์" ขณะที่เสือ-คนรอบตัว รมว.กลับอิ่มหมีพีมันเสพสุข

นายมั่น พัธโนทัย

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)

หยากไย่     เป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ได้เข้ามาร่วมรัฐบาลชนิดที่หลายฝ่ายคาดไม่ถึง เมื่อนำ ส.ส.พรรคมาตุภูมิ เพียง 3 เสียงมาร่วมรัฐบาล หลังพรรคประชาธิปัตย์ขับพรรคเพื่อแผ่นดินออกจากรัฐบาล แม้งานที่ทำจะเงียบเชียบ ไม่มีผลงานชัดเจน แต่ก็ยังชักใย-เกาะติดอยู่กับฝ่ายรัฐบาลได้ทุกยุค เปรียบเหมือน "หยากไย่" ที่เกาะอยู่ในบ้านเรือน ที่ไม่มีประโยชน์ รอวันถูกปัด-กวาดทิ้ง
วาทะแห่งปี "ถ้าเลือกตั้งแล้วนองเลือด แล้วผมชนะ ผมไม่เอาหรอก"     วาทะของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2553
พ.ศ.2554[6] 60 รัฐบาล ทักษิณส่วนหน้า     สืบเนื่องจากการบริหารงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ไม่สามารถสลัดภาพว่ามีพี่ชายอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังได้ จนรัฐบาลชุดนี้เปรียบเหมือนศูนย์บัญชาการส่วนหน้าของตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องทำตามสิ่ง ที่พ.ต.ท.ทักษิณ คิดและวางไว้ให้

    ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยม ที่ชูสโลแกน "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" หรือในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ผู้ที่มีสิทธิได้ตำแหน่ง ต่างเดินทางไปถึงดูไบ เพื่อแสดงวิสัยทัศน์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ

    ล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้ไปกรุยทางให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก่อนการเดินทางไปเยือนประเทศต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการการันตีว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือโคลนนิ่งของตัวเอง

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

(นายกรัฐมนตรี)

นายกฯ นกแก้ว     เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้หญิงที่มีความสวย บุคลิกดี มีความความโดดเด่น คล้ายกับนกแก้วที่มีสีสันสวยงาม แต่กลายเป็นนกแก้วที่ต้องติดอยู่ในกรงทอง ไม่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ต้องมีพี่เลี้ยงคอยประกบดูแลอย่างใกล้ชิด

    บทบาทที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แสดงต่อสาธารณชน จึงเป็นเพียงนกแก้วที่พูดตามบทที่มีคนเขียน หรือบอกให้พูดเท่านั้น และลักษณะการตอบคำถามก็มักพูดซ้ำไปซ้ำมา วกวนจนไม่รู้ข้อเท็จจริงคืออะไร หลายครั้งก็พูดผิด กระทั่งตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ในที่สุด

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ

(รองนายกรัฐมนตรี)

ประแจปากตาย     อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ผู้นี้ เป็นคนที่มีบุคลิกพูดน้อย มีท่าทีแข็งทื่อ หลายครั้งทำเหมือนพูดไม่รู้เรื่อง ทำให้ไม่มีบทบาทตามหน้าสื่อหรือภายในพรรคเพื่อไทย

    แต่ความจริง พล.ต.ท.โกวิท เป็นตัวเดินเกมและคอยแก้ไขปัญหาให้กับรัฐบาล รวมถึงพรรคเพื่อไทยในหลาย ๆ เรื่อง ที่โดดเด่น คือ การกล่อมให้ "พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี" ย้ายจากตำแหน่ง ผบ.ตร. มาเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเปิดทางให้กับ "พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" พี่ภรรยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็น ผบ.ตร. สมใจ หลังเจ้าตัวรอคอยตำแหน่งนี้มาอย่างยาวนาน

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง

(รองนายกรัฐมนตรี)

กุมารทองคะนองศึก     กุมารทองมักสวมเครื่องทรง แทนสัญลักษณ์ของผู้มีตำแหน่งสำคัญ โดยลักษณะทั่วไปของกุมารทอง คือ จะทำงานตามคำสั่งและทำเพื่อประโยชน์ของผู้เลี้ยงเท่านั้น เช่นเดียวกับ ร.ต.อ.เฉลิม ที่จะทำงานตามคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ

    นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังมักจะเป็นพรายกระซิบ คอยบอกบทของเพื่อนรัฐมนตรีระหว่างการชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม ยังมีความซุกซน ชอบเข้าไปเกี่ยวข้องกับหลายเรื่องที่ไม่ใช่งานในความรับผิดชอบของตัวเอง หวังเพียงสร้างประเด็นข่าว และยังมีความคึกคะนองพร้อมที่จะประกาศศึกกับใครก็ได้ จนบางครั้งกลายเป็นการชักศึกเข้าบ้านไป

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

ทักษิโด้ โชว์ห่วย     จากอดีตที่ผ่านมา นายยงยุทธเคยเป็นถึงแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี มีประวัติการทำงานที่เป็นถึงอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล นายยงยุทธจึงถูกวางตัวให้รับตำแหน่งสำคัญในฐานะ รมว.มหาดไทย เพื่อตอบแทนความภักดีที่คอยดูแลพรรคในช่วงเวลาที่ตกต่ำสุดขีด

    แต่นอกจากการเป็นผู้ที่แต่งกายและมีบุคลิกดี คล้ายผู้ชายใส่ "ทักซิโด" เมื่อถึงเวลาแสดงผลงานกลับสอบตก "โชว์ห่วย" จนมีเสียงเรียกร้องภายในพรรคให้ปรับออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ คำว่า "ทักษิโด้" ยังเป็นการล้อจากชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้อยู่เบื้องหลังของการได้มาซึ่งตำแหน่งของนายยงยุทธด้วยเช่นกัน

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)

"ปึ้ง" เป้าเป๊ะ     "ปึ้ง" เป็นชื่อเล่นของนายสุรพงษ์ ผู้ที่ถูกสังคมตั้งคำถามนับแต่เข้ารับตำแหน่ง รมว.การต่างประเทศ ว่ามีความรู้ความสามารถเพียงพอต่อการรับตำแหน่งสำคัญนี้ได้หรือไม่

    แต่ผลงานตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนผลงานนายสุรพงษ์เข้าเป้าทุกประการ เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นการขอวีซ่าเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และอาศัยจังหวะชุลมุนช่วงน้ำท่วม ออกหนังสือเดินทางให้กับอดีตนายกฯ หรือแม้แต่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง

นายธีระ วงศ์สมุทร

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

ขงเบ๊     "ขงเบ้ง" เป็นกุนซือคนสำคัญในเรื่อง สามก๊ก ซึ่งนายธีระเคยนำไปเปรียบเปรยในสภา ถึงปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาว่า "ต่อให้ขงเบ้งมาเกิดใหม่ ก็แก้ปัญหาไม่ได้"

    ซึ่งนอกจากนายธีระไม่ใช่คนที่คอยวางแผนให้คนอื่นปฏิบัติตามแล้ว ยังจะเป็นคนที่รับคำสั่งจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ทั้งงานในกระทรวงเกษตรฯ และการบริหารจัดการน้ำ

    คำว่า "เบ๊" นอกจากแปลว่า ทำตามคำสั่งคนอื่นแล้ว ยังมาจากแซ่ของนายบรรหาร ที่แปลว่า "ม้า" หรือ "อาชา" ด้วย

นายพิชัย นริพทะพันธุ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)

ไอเดียกระฉอก     เป็นเจ้าโพรเจกต์ สารพัดคิด หลายเรื่องยังไม่ได้ข้อสรุปในที่ประชุม ก็เป็นเจ้าตัวที่ทำให้กระฉอกออกมา อย่างโครงการ "นิวไทยแลนด์" ที่เจ้าตัวออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมกู้เงิน 900,000 ล้านบาท เพื่อมาฟื้นฟูประเทศ แต่สุดท้ายนายกรัฐมนตรีกลับปฏิเสธว่า ไม่มีโครงการดังกล่าว

    หลายไอเดียที่เจ้าตัวคิดออกมาดัง ๆ แล้วถูกติติงจากผู้รู้ว่า ไม่น่าจะนำไปปฏิบัติได้จริง เพียงข้ามวัน นายพิชัยก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ใช่ไอเดียของตน เหมือนน้ำที่กระฉอกไป กระฉอกมา หาอะไรแน่นอนไม่ได้ สุดท้ายผลงานเลยไม่เป็นไปตามเป้า

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ปุเลง...นอง     ล้อมาจากคำว่า "บุเรงนอง" ที่เป็นแม่ทัพใหญ่ในนิยาย "ผู้ชนะสิบทิศ" เช่นเดียวกับนายกิตติรัตน์ที่เป็นขุนพลด้านเศรษฐกิจ ผู้ประกาศตัวว่าจะเข้ามากู้วิกฤติให้กับประเทศ แต่การทำงานของนายกิตติรัตน์ กลับเป็นไปอย่างติด ๆ ขัด ๆ ไม่ราบรื่นเหมือนกับปุเลง ๆ ไปเรื่อย ๆ

    นอกจากนี้ ยังมีปัญหากับ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง หลายครั้งหลายหน กระทั่งเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ ทะลักเข้านิคมอุตสาหกรรมสำคัญหลายแห่ง สร้างความเสียหายมหาศาล จนท้ายที่สุด นายกิตติรัตน์ต้องน้ำตานองหน้าต่อคนทั้งประเทศ

พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)

อินทรีหลงป่า     พล.ต.อ.ประชา มีดีกรีเป็นถึงอดีตอธิบดีกรมตำรวจ พื้นเพเป็นคนอีสาน และได้แสดงผลงานการปราบปรามสมัยสวมเครื่องแบบสีกากีอย่างโดดเด่น จนถูกขนานนามว่า เป็น "อินทรีอีสาน"

    แต่เมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรี กลับได้รับงานที่ผิดฝาผิดตัว คือ "งานแก้ปัญหาน้ำท่วม" ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ซึ่งไม่ใช่งานที่ถนัด อีกทั้งการแก้ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้ดีเท่าที่ควร หลงทิศหลงทาง ส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมลุกลาม ประชาชนหลายพื้นที่เกิดความขัดแย้ง กระทั่งตัว พล.ต.อ.ประชา ยังถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถูกฝ่ายค้านยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่ง จึงเป็นที่มาของ "อินทรีหลงป่า"

นายปลอดประสพ สุรัสวดี

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

ผีเจาะปลอด     เป็น รมว.วิทยาศาสตร์ฯ แต่โด่งดังจากการเตือนภัยว่าน้ำจะท่วม กทม. ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า "ตื่นตูมเกินเหตุ" แต่ท้ายสุดน้ำก็ท่วม กทม.จริง ๆ นับจากนั้น นายปลอดประสพจึงมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลเรื่องน้ำ อย่างไรก็ตาม การเตือนภัยระยะหลังของนายปลอดประสพ จะเป็นไปในลักษณะให้ตื่นกลัวมากกว่าตื่นตัว

    ที่สำคัญด้วยบุคลิกของนายปลอดประสพที่เป็นคนพูดเก่ง แม้แต่เรื่องที่ไม่ให้พูด เปรียบเสมอ "ผีเจาะปาก" แต่สำหรับนายปลอดประสพกลายเป็น "ผีเจาะปลอด" เพราะการพูดแต่ละครั้ง มักจะทำให้คนตื่นกลัว หรือตกใจ

วาทะแห่งปี "น้ำตาที่ไม่ได้ไหลจากความอ่อนแอ ใครไม่โดนไม่รู้ มันเป็นอารมณ์ร่วม"     วาทะของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ณ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2554

    ในช่วงเวลาที่รัฐบาลกำลังเผชิญวิกฤติอย่างหนัก หลังจากไม่สามารถสกัดกั้นไม่ให้น้ำเข้ามาท่วมกรุงเทพฯ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ ผลโพลต่าง ๆ ก็ออกมาตรงกันว่า ไม่เชื่อถือการทำงานของรัฐบาล นำไปสู่คำถามที่ว่า รัฐบาลจะสามารถประคองตนจนถึงสิ้นปีหรือไม่

    ช่วงเวลานั้นไม่ว่าจะไปปฏิบัติงานที่ใด น.ส.ยิ่งลักษณ์ มักจะหลั่งน้ำตาออกมา จนหลายคนมองว่า เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนภาวะจิตใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ไม่ได้ต้องการเล่นการเมืองมาแต่ต้น แต่ถูกพี่ชายผลักดันให้มาทวงความเป็นธรรมให้กับตระกูลชินวัตร แม้จะเฉไฉไปว่าร้องไห้เพราะเห็นใจประชาชนก็ตาม

พ.ศ.2555[7] 60 รัฐบาล พี่คนแรก     ล้อคำมาจากนโยบายที่ขึ้นชื่อของรัฐบาล เช่น รถคันแรก บ้านหลังแรก แต่ด้วยความที่รัฐบาลต้องทำงานบริหารประเทศ โดยมีเงาของพี่ชาย พี่สาว พาดผ่านเข้ามา

    รวมไปถึงปัญหาต่าง ๆ ก็มาจากเรื่องของพี่ ทั้งปัญหาของบ้านเมือง ข้าวของแพง ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน ข้อครหาทุจริตไม่ได้รับการแก้ไข หรือชี้แจงอย่างชัดเจน เรียกได้ว่า เอะอะอะไรก็พี่ เรื่องของพี่ต้องมาก่อน ต้องมาเป็นอับดับแรก

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

(นายกรัฐมนตรี)

ปูกรรเชียง     ล้อจากชื่อเล่นของนายกฯ คือ "ปู" ซึ่งลักษณะของปู คือ เดินเซไปเซมา ไม่ตรงทาง

    ในการบริหารงานของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ต้องแบกภาระ และใบสั่งจากพี่ชายชื่อทักษิณ พี่สาว (เจ๊ ด.) แม้แต่คนรอบข้างก็คอยลากไปลากมา ทำงานไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรม ได้แต่เดินโชว์ไปโชว์มา เมื่อมีปัญหาทางการเมือง ก็มักจะตีกรรเชียง ลอยตัวหนีปัญหา

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง

(รองนายกรัฐมนตรี)

กันชนตระกูลชิน     บอดี้การ์ดคอยปกป้องนายกฯ และนายใหญ่ โดยเฉพาะคนตระกูลชินวัตร ทุกรูปแบบทั้งงานในสภา และม็อบต้านรัฐบาล เดินหน้าท้าชนทุกเรื่อง แต่กลัวการลงไปแก้ปัญหาภาคใต้ ผลงานโดดเด่น คือ การปราบปรามยาเสพติด
นายปลอดประสพ สุรัสวดี

(รองนายกรัฐมนตรี)

ปั้นน้ำเป็นทุน     ผลงานโดดเด่น คือ "รับผิดชอบการแก้ปัญหาน้ำท่วม" และเนื่องจากปีนี้น้ำไม่ท่วม จึงแอ็กอาร์ต คุยโม้ มั่นใจว่าเป็นฝีมือของตนเอง โดยเฉพาะเมื่อได้รับการเลื่อนขั้นจากรัฐมนตรี ขึ้นเป็นรองนายกฯ ที่ได้ดูแลโพรเจกต์น้ำ มูลค่ากว่า 350,000 ล้าน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)

ลูกไก่ไวต์ไล     เป็นถึงรองนายกฯ ที่กำกับดูแลงานด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่กลับดิสเครดิตตัวเองจากกรณีโกหกสีขาว (White Lie) คือ การตั้งเป้าทางเศรษฐกิจเกินจริง จนถึงถูกตราหน้าว่าขี้โกหก เหมือนเด็กเลี้ยงแกะ

    ส่วนคำว่าลูกไก่ ล้อจากชื่อเล่น "โต้ง" แต่เนื่องจากผลงาน และประสบการณ์ ทางการเมืองยังไม่เด่นชัด และเก่งกาจตามที่ถูกคาดหวัง จึงเป็นได้เพียงลูกไก่ ไม่ใช่ไก่โต้ง

พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

ตามล่าหน้าหล่อ     ตำแหน่งใหญ่โตแต่กลับไม่มีผลงานโดดเด่นด้านความมั่นคง ผลงานเป็นที่ประจักษ์เพียงอย่างเดียว คือ การไล่ล่าอดีตนายกฯ หน้าหล่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อถอดยศ กรณีหนีการเกณฑ์ทหาร

    นอกจากนี้ยังถูกหลาน "โอ๊ก - พานทองแท้ ชินวัตร" โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กสั่งสอนข่าวลอบทำร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้ง ๆ ที่พานทองแท้ เป็นเพียงเด็กที่ผ่านการเรียน ร.ด.มาเท่านั้น แต่สามารถสั่งสอนคนระดับนายพลได้

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

โฟร์แมนสแตนบาย     เป็นรัฐมนตรีน้องใหม่ เป็นที่คาดหวังของรัฐมนตรีน้ำดี ถูกมอบหมายให้ทำงานสารพัด เป็นคนเก่ง ไฟแรง ประกาศไม่ขอยุ่งการเมือง เร่งผลักดันงานด้านคมนาคมด้านต่าง ๆ อาทิ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า ฯลฯ
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

บุญทรุด     รัฐมนตรีที่รับผิดชอบนโยบายหลักของรัฐบาล คือ "การรับจำนำข้าว การแก้ปัญหา สินค้าราคาแพง" แต่กลับถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะเรื่องการรับจำนำข้าว แทนที่จะเป็นผลงาน กลับกลายเป็นจุดอ่อนให้ถูกโจมตี ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ไม่สามารถชี้แจงได้ อาทิ สัญญาซื้อขายข้าวแบบจีทูจี

    ขณะเดียวกันกลับถูกมองว่า ที่ยังสามารถเป็นรัฐมนตรีอยู่ได้ เพราะเป็นเด็กเจ๊ ด.

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)

สิงห์สำรอง     สัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทย คือ "สิงห์" แต่เส้นทางการเข้ามาทำหน้าที่ของนายจารุพงษ์ ทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ถูกมองว่าเป็นเพียงหุ่นเชิด ไม่ใช่ตัวจริง เป็นการเดินตามรอย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่เจอวิกฤติการเมืองจนต้องลาออกไป จึงถูกมองว่าเป็นได้เพียงสิงห์สำรองเท่านั้น
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโลโนยี)

ด.ดันดี     เด็กเจ๊แดง (นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) ผลงานไม่เป็นที่ปรากฏ แต่ไม่เคยถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี ยึดเก้าอี้ได้เหนียวแน่นแถมล่าสุด ยังไต่ระดับขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการเลยทีเดียว เชื่อว่ามีแรงดันดีจากเจ๊ ด. อีกคน
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ไพร่เทียม     เป็นโควตาหนึ่งเดียวของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คนเสื้อแดงที่ได้เป็นรัฐมนตรี แม้ในการปรับคณะรัฐมนตรีล่าสุด ก็ยังคงเป็นได้เป็นรัฐมนตรี ส่งผลให้นายจตุพร พรหมพันธ์ หนึ่งในแกนนำ นปช. ที่ได้รับการคาดหมาย จะได้รับตำแหน่งต้องพลาดหวัง ขณะที่ผลงานไม่เด่นชัด มีชัดเจนเพียงการพูดเก่ง ดีแต่ปาก ขณะที่เมื่อมาเป็นรัฐมนตรี กลับใช้ชีวิต และการทำงาน ลักษณะอำมาตย์ ไม่ต่างจากคำว่าไพร่เทียม
วาทะแห่งปี "คำว่าลอยตัวนั้น ต่างกับคำว่าไม่รับผิดชอบ"     วาทะของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) กล่าวระหว่างชี้แจงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ณ รัฐสภา เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2555

    หลังถูกกล่าวหาเรื่องการขาดความรับผิดชอบ ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่ชี้แจงประเด็นที่ถูกกล่าวหา โดยเฉพาะเรื่องนโยบายรับจำนำข้าว โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่ถูกตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใส และเอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง

พ.ศ.2556 60 งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เพื่อรอการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ทำให้รัฐบาลชุดนี้มีสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ
พ.ศ.2557 - งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2558-2562 แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายาและวาทะแห่งปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2558 - งดตั้งฉายารัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และบรรยากาศทางการเมืองยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เชื่อมโยง หรือขยายผลทางการเมือง
พ.ศ.2559
พ.ศ.2560
พ.ศ.2561
พ.ศ.2562[8] 62 รัฐบาล รัฐเชียงกง     สะท้อนภาพรัฐบาลคล้ายแหล่งค้าขายอะไหล่มือสอง ประกอบกันขึ้นจากข้าราชการยุคก่อน และนักการเมืองหน้าเก่า แม้ใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังขาดความน่าเชื่อถือ สะท้อนความไม่มีเสถียรภาพ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

(นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

อิเหนาเมาหมัด     ยกคำสุภาษิตไทย "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง" เปรียบแนวทางปฎิบัติและนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่เห็นได้ชัดหลายเรื่อง มักจะตำหนิหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสุดท้ายก็กลับมาทำเอง เช่น โครงการลักษณะประชานิยม บอกไม่เป็นนายกฯ สุดท้ายก็กลับลำคำโต บอกไม่อยากเล่นการเมืองก็หนีไม่พ้น การหนีการตอบกระทู้ในสภาฯ มองข้ามข้อครหาเรื่องงูเห่าการเมือง การซื้อตัว ส.ส. การแต่งตั้งคนมีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองเป็นรัฐมนตรี การแต่งตั้งญาติพี่น้องเข้าสภาฯ การยอมให้พรรคที่สนับสนุนใช้นโยบายค่าแรงหาเสียง ทั้งที่เคยตำหนิว่าการขึ้นค่าแรงเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน

     อีกทั้งไม่สามารถควบคุมให้รัฐบาลมีความเป็นเอกภาพ เกิดปัญหาติดขัดการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงงบประมาณที่ยังไม่ผ่านความเห็นชอบ และ ฝ่ายตรงข้ามรุมเร้าคล้ายโดนระดมหมัดเข้าถาโถม แม้พยายามสวนหมัดสู้ แต่หลายครั้งถึงกับมึนชกโดนตนเองก็มี

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

พี่ใหญ่สายเอ็นฯ     ในฐานะพี่ใหญ่ของ สาม ป. นอกจากจะต้องคอยดูแลน้องรักแล้ว ยังต้องเอ็นเตอร์เทนพรรคร่วมรัฐบาล และต้องเอ็นดูคนในพรรคพลังประชารัฐที่ได้รับมอบหน้าที่ประธานยุทธศาสตร์ทุกด้าน ตั้งแต่คดีระหว่างประเทศ ยันฟาร์มไก่ ทำให้งานด้านความมั่นคงที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล เหลือเพียงเดินสายเปิดงานอีเวนต์ และประชุมทั่วไปเท่านั้น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

ชายน้อยประชารัฐ     เจ้าของโครงการประชารัฐ ที่หวังเดินหน้าต่อยอดในรัฐบาลนี้ กลับทำไม่ได้อย่างที่หวัง ถูกริบอำนาจงานด้านเศรษฐกิจหลายกระทรวง คล้ายคนง่อยเปลี้ยเสียขา ขาดมือไม้ในการทำงาน ทำให้เดินหน้าโครงการไม่ได้ 100% ถึงกับออกปากว่า "ตอนนี้เหมือนคนที่เหลือเพียงขาเดียวเท่านั้น สุดท้ายเหมือนตัวคนเดียว พรรคร่วมก็ไม่เอาด้วย"
นายวิษณุ เครืองาม

(รองนายกรัฐมนตรี)

ศรีธนญชัยรอดช่อง     ความเป็นกูรูด้านกฎหมายของรัฐบาล สามารถช่วยรัฐบาลรอดพ้นปากเหวได้ทุกครั้ง เปิดทางตันด้วยช่องว่างทางกฎหมายที่แม้แต่แว่นขยายก็ยังมองไม่เห็น
นายอนุทิน ชาญวีรกูล

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

สารหนู     แม้มีชื่อเล่นว่า "หนู" แต่ก็ไม่หนูอย่างที่คิด พิษสงรอบตัว ด้วยจำนวน ส.ส. ในมือ มีผลต่อความเป็นไปของรัฐบาล จนสามารถต่อรองคุมกระทรวงใหญ่ไว้ในมือได้ อีกทั้งนโยบายแบนสามสารพิษ ก็โดดเด่นและถูกจับตามอง ถึงกับเป็นชนวนความขัดแย้งเกิดขึ้นในรัฐบาล ก่อนจะสยบรอยร้าวได้ในที่สุด
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

รัฐอิสระ     เมื่อฝ่ายค้านมีฝ่ายค้านอิสระ รัฐบาลนี้ก็มีฝ่ายรัฐบาลอิสระเช่นกัน ให้ความสำคัญและเดินหน้าเฉพาะนโยบายของพรรคตนเองเป็นหลัก ไม่สนใจภาพรวมของรัฐบาล ไม่สามารถควบคุม ส.ส.ของพรรคได้ สร้างความหวาดระแวงภายในรัฐบาลตลอดเวลา ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

โอ๋ แซ่รื้อ     ตั้งแต่เข้ามากำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ผุดไอเดียบรรเจิดจนคนต่อต้าน เช่น ติดตั้ง GPS ในรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่พอยังเดินหน้ารื้อหลายโครงการที่เป็นปัญหา เช่น "รื้อมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า รื้อคดีค่าโง่ทางด่วน รื้อหลักสูตรสอบใบขับขี่ รื้อแผนท่าเรือปากบารา-สงขลา 2 รื้อแผนฟื้นฟู ขส.มก. แม้แต่ไม้กั้นรถไฟยังถูกรื้อ"
นายวราวุธ ศิลปอาชา

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

สัปเหร่อออนท็อป     นับแต่เข้ารับตำแหน่ง ได้เกิดเหตุไม่คาดฝันซ้ำไปซ้ำมา กับบรรดาสิงสาราสัตว์ที่มีชื่อเสียง ทั้ง พะยูนมาเรียม แพนด้าช่วงช่วง เสือของกลาง ช้างป่าเขาใหญ่ เป็นความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็สามารถแสดงศักยภาพรับมือเหตุต่าง ๆ ได้ดี คล้ายทำหน้าที่สัปเหร่อเก็บกวาดทุกเรื่อง รวมไปถึงคดีความร้อน ๆ ของคน และพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

เทามนัส     แม้คดีความต่าง ๆ จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่การถูกขุดคุ้ยล่าสุดทั้งเรื่องคดียาเสพติดในต่างประเทศ และวุฒิการศึกษา ยังทำให้คนกังขา ไม่เชื่อมั่นในความโปร่งใส รวมถึงการทำหน้าที่มือประสานสิบทิศทางการเมือง ก็ยังถูกครหาเรื่องการซื้อตัว ส.ส.พรรคเล็ก และดีลการเมืองกับฝ่ายค้านอีกด้วย
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

มาดามแบนเก้อ     ด้วยบุคลิกเฉิดฉาย เด็ดเดี่ยว และโดดเด่น เดินหน้าแบนสามสารพิษ อย่างไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม แม้ต้องชนกับเจ้ากระทรวงของตัวเองก็ไม่หวาดหวั่น เดินหน้าตามธงที่ถือไว้ แต่จนแล้วจนรอด การแบนสามสารก็ยังไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
วาทะแห่งปี "อย่าเพิ่งเบื่อผมก็แล้วกัน ยังไงผมก็อยู่อีกนานพอสมควร"     วาทะของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) กล่าวระหว่างให้โอวาทเจ้าหน้าที่และนักกีฬาทีมชาติไทยที่จะเดินทางไปร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 30 ที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2562

ฉายารัฐบาลฯ ประจำปี 2563-ปัจจุบัน แก้

ปี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ฉายาและวาทะแห่งปี ความหมายหรือที่มา
พ.ศ.2563[9] 62 รัฐบาล VERY กู้     เปรียบเปรยการทำงานของรัฐบาล ที่ต้องกอบกู้วิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 กู้ชีวิตคนไทยให้อยู่รอดปลอดภัย แม้จะยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ แต่ก็ยังดีกว่าหลายประเทศ แม้จะไม่ถึงขั้น Very Good ก็ตาม

    ขณะเดียวกัน ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องคนไทยที่ต้องแบกรับภาระหนี้สินและภาวะตกงาน บางคนต้องจากโลกนี้ไปโดยไม่อาจรับได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลต้องกู้เงินสูงที่สุดในประวัติศาสตร์มาบรรเทาปัญหา

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

(นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

ตู่ไม่รู้ล้ม     เป็นการล้อคำ "โด่ไม่รู้ล้ม" ชื่อยาดองชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทำให้กระปี้กระเปร่า คึกคัก ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย สะท้อนถึงการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่ไม่ว่าจะประสบปัญหา อุปสรรคทางการเมือง หรือการชุมนุมขับไล่ถาโถมขนาดไหน ก็ยังยืนหยัดฝ่าฟันอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไป
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

ป้อมไม่รู้โรย     ล้อจากคำว่า "บานไม่รู้โรย" ด้วยภาพลักษณ์ของพี่ใหญ่ 3 ป. ในวัย 75 ปี ยังคงทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีเคียงข้างน้อง ๆ ได้อย่างแข็งขัน แถมยังแผ่บารมีควบเก้าอี้หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล

    เหมือนกับ "ดอกไม้ ที่แม้จะบานมายาวนานมากแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้โรย" แถมยังสอดคล้องกับวลีติดปากที่ พล.อ.ประวิตร มักจะพูดตอนตอบคำถามสื่อมวลชนแทบทุกครั้งว่า "ไม่รู้ ๆ" อีกด้วย

นายวิษณุ เครืองาม

(รองนายกรัฐมนตรี)

ไฮเตอร์ เซอร์วิส     เป็นการยกคุณสมบัติเด่นของนายวิษณุ ที่สามารถหาทางออกปัญหาหนักอกของคนในรัฐบาล โดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายได้อย่างเชี่ยวชาญ จนมักถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความน่าเชื่อถือของรัฐบาล

    เปรียบได้กับผลิตภัณฑ์ซักฟอกขาวยี่ห้อดังที่สามารถล้างคราบสกปรกให้ขาวสะอาดหมดจดได้ จนอาจทำให้เนื้อผ้าเสียหาย ขาดความสวยงาม คล้ายกับชื่อเสียงของรัฐบาลที่สึกกร่อนตามไปด้วย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

ทินเนอร์     ด้วยชื่อ "อนุทิน" ซึ่งพ้องกับทินเนอร์ สารระเหยที่มีทั้งคุณและโทษ ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หากสูดเดาเข้าไปมาก ๆ ก็อาจทำลายระบบประสาท กระทบกระเทือนความรู้สึกนึกคิด คล้าย "พฤติกรรมการใช้คำพูดที่ขาดความยั้งคิด ส่งผลลบต่อตนและรัฐบาลหลาย ๆ ครั้ง"

    โดยเฉพาะการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน จนกลายเป็นประเด็นลดความน่าเชื่อถือของตนเอง เช่น "โควิด...กระจอก, การไล่นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับประเทศ หรือแม้แต่การตอบโต้กับบุคลากรทางการแพทย์" จนเกิดกระแสต่อต้านจากสังคมหลายต่อหลายครั้ง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

เช้าสายบ่ายเคลม     สะท้อนการทำงานที่เห็นได้บ่อยครั้งว่านายจุรินทร์เป็นคนไม่ตรงต่อเวลา เข้าร่วมประชุมสายสม่ำเสมอ แถมมีบุคลิกการทำงานที่นิ่งเงียบ ไม่รับมือกับปัญหาที่ส่งผลลบต่อตนและพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถ้าเป็นเรื่องดี ๆ ที่มีผลต่อคะแนนนิยม นายจุรินทร์ก็จะรีบเคลมผลงานดังกล่าวทันที
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

ศักดิ์สบายสายเขียว     แม้จะต้องเผชิญกับปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว และอีกหลายโครงการที่ขัดแย้งกับหลายหน่วยงาน แต่นายศักดิ์สยามก็ยังได้รับการสนับสนุนเกื้อกูลอย่างดีจากนายกรัฐมนตรี จนระยะหลัง ๆ เรียกได้ว่า "ขึ้นหม้อ" ตามติดนายกรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิด

    ขณะที่การทำงานในพรรคภูมิใจไทย ก็อยู่ได้อย่างไร้ความกังวล เพราะมีพี่ชายที่ชื่อ "เนวิน ชิดชอบ" คอยดูแลปัดเป่าทุกข์ภัยต่าง ๆ ให้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สุขสบายไร้ความกังวลจริง ๆ

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

พัง PORN     สะท้อนการทำงานที่ล้มเหลวในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่ถูกนำมาใช้โจมตีรัฐบาลอย่างหนักหน่วงในช่วงหลัง ๆ

    แม้นายพุทธิพงษ์จะแก้ปัญหา ด้วยการเปิดศูนย์ Anti-Fake News ขึ้นมา แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ได้ และล่าสุดก็มีดรามาร้อน ๆ หลังนายพุทธิพงษ์สั่งปิดการเข้าถึงเว็บไซต์ปลุกใจเสือป่าชื่อดัง อย่าง "PornHub" จนเกิดกระแสต่อต้านและลุกลามบานปลายใหญ่โต

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

หวีดดับ     ภาพลักษณ์อดีตแกนนำ กปปส. ยังคงเป็นภาพจำที่ผู้คนไม่อาจลบเลือน เช่นเดียวกับนกหวีดที่ถูกหยิบยกมาใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อเปรียบเปรย แม้นายณัฏฐพลจะได้กำกับดูแลงานในกระทรวงเกรดเอ แต่เขากลับไม่มีผลงานโดดเด่นเลย จะมีก็เพียงข่าวกระแสต่อต้านรายวัน หนักหน่วงที่สุด ก็คือ "การถูกกลุ่มนักเรียน-นักศึกษารวมตัวเรียกร้องและขับไล่หน้าตึกกระทรวง"
นายสันติ พร้อมพัฒน์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)

ค้างคลัง     ต่อให้ฝันไกล แต่นายสันติก็ยังไปไม่ถึงดวงดาว แม้ตำแหน่ง รมว.คลัง จะมีการปรับเปลี่ยนถึง 2 ครั้ง แต่คนนอกสายตาก็ยังคงเป็นคนนอกสายตา ถูกรั้งให้เป็นได้แค่ รมช.คลัง ทั้งที่นายสันติทุ่มเทให้กับพรรค แถมเคยออกตัวแรง แสดงชัดเจนว่า "ตนพร้อมมาก ที่จะทำหน้าที่นี้" แต่สุดท้ายนายสันติก็ยังค้างอยู่ที่ตำแหน่งเดิม
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์

(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

แชมป์ไตรกีฬา     "ไตรกีฬา" ประกอบด้วยกีฬา 3 ชนิดคือ วิ่ง ว่ายน้ำ และปั่นจักรยาน สะท้อนภาพลักษณ์นางนฤมลได้อย่างครบถ้วนชัดเจน เพราะเธอควบทั้งตำแหน่ง รมช. และเหรัญญิกของพรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องวิ่งเต้น เข้าหาผู้ใหญ่ และปลุกปั่นกระแส

    แม้จะถูกกล่าวหาว่าลืมบุญคุณ "นายอุตตม สาวนายน (อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ)" ผู้ชักนำเข้าสู่เส้นทางการเมือง แต่เธอก็ไม่หวั่นเสียงวิจารณ์ เดินหน้าจนสามารถคว้าตำแหน่งที่ต้องการได้สำเร็จ ทั้งที่เป็นนักการเมือง และ ส.ส. สมัยแรกเท่านั้น

วาทะแห่งปี "ไม่ออก...แล้วผมทำผิดอะไรหรือ"     วาทะของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) กล่าวระหว่างตอบข้อซักถามสื่อมวลชน พร้อมกับบรรดาคณะรัฐมนตรีที่ยืนเรียงหน้าประกาศความเหนียวแน่น ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563

    หลังกลุ่มผู้ชุมนุมยื่นข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง

พ.ศ.2564[10] 62 รัฐบาล ยื้อยุทธ์     ภาพของรัฐบาลที่ยื้อแย่งกันเองทั้งในส่วนของอำนาจและตำแหน่ง โดยไม่สนใจประชาชน ทำให้การเดินหน้าบริหารประเทศ ถูกมองว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

    ประกอบกับ การดำรงอยู่ของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะผู้นำรัฐบาล ก็คล้ายกับการทำทุกวิถีทาง เพื่อยื้อยุดให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ต่อ ไม่หวั่นแม้จะมีการชุมนุมขับไล่ไสส่งอย่างต่อเนื่อง "ใครไม่อยู่ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ ยังคงอยู่"

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

(นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)

ชำรุดยุทธ์โทรม     การบริหารราชการแผ่นดินตลอดทั้งปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่รับบทหนักที่สุดแห่งปี ถูกมองว่าทำงานล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาโควิด-19 การกระตุ้นเศรษฐกิจ การบริหารราชการ หรือแม้แต่เรื่องการเมือง จนถูกโจมตีจากรอบด้าน

    แม้ยังคงอยู่ในตำแหน่งได้ แต่ก็ชำรุด ทรุดโทรม เสื่อมสภาพ และบอบช้ำ ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

รองช้ำ     ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา พี่ใหญ่ในตระกูล 3 ป. อย่าง "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ประสบกับเรื่องช้ำ ๆ เจ็บซ้ำ ๆ มาโดยตลอด หลายสถานการณ์ต้องตกเป็นรอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องการเมือง

    โดยเฉพาะปัญหาภายในพรรคพลังประชารัฐที่เกิดความแตกแยกอย่างหนัก สะเทือนถึงพี่น้องอีก 2 ป. สั่นคลอนนิยาม "3 ป. Forever" ซ้ายก็น้องรัก (ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา) ขวาก็ลูกน้องที่รัก (กลุ่ม 3 ช. ประกอบด้วย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า, นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์, นายสันติ พร้อมพัฒน์) หักใจเลือกใครก็ไม่ได้ สุดท้ายต้องยอมแบกความเจ็บช้ำไว้คนเดียว

นายอนุทิน ชาญวีรกูล

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

ว้ากซีน     เป็นการล้อมาจากคำว่า "วัคซีน" เพราะช่วงที่ผ่านมา ภาพบุคลากรทางการแพทย์ดาหน้าออกมาเรียกร้องวัคซีนชนิด mRNA ประกอบกับประชาชนพากันว้าก โวย เหวี่ยง ตำหนิการจัดหาและให้บริการวัคซีนที่ถูกเลื่อนแบบไม่มีกำหนด เพราะวัคซีนที่สั่งซื้อไม่มาตามนัด

    ไม่ว่านายอนุทินจะชี้แจงอย่างไร กระแสตอบรับโดยเฉพาะในสื่อสังคมออนไลน์กลับไม่มีคำว่ารักษาน้ำใจ หรือเห็นถึงความพยายามในการแก้ปัญหาท่ามกลางภาวะวิกฤต จนนายอนุทินต้องออกมาโต้ตอบอย่างดุเดือดผ่านสื่อและโซเชียลทุกครั้งที่มีโอกาส

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

นายกฯ บางโพล     แม้ปีนี้จะยังไม่เข้าสู่ช่วงการเลือกตั้งใหญ่ แต่หัวหน้าพรรคการเมืองหลายพรรคก็แสดงความพร้อมประกาศตัวเป็นนายกรัฐมนตรี หนึ่งในนั้น คือ "นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีผลสำรวจความคิดเห็น หรือโพลบางสำนักเท่านั้นที่ต้องการให้ นายจุรินทร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป เปรียบได้กับการเป็นนายกรัฐมนตรีแค่บางโพล แต่ไม่ใช่ทุกโพลที่ต้องการให้เป็น
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

(รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)

มหาเฉื่อย 4D     ตลอดการดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ นายสุพัฒนพงษ์ยังแสดงฝีมือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ไม่เด่นชัด ทำให้ประชาชนกลายเป็นประชาจน เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ตั้งแต่ ปัญหาราคาน้ำมันแพง จนสมาคมรถบรรทุกออกมาประท้วงและหยุดวิ่ง

    แม้จะแก้ปัญหาด้วยการผุดโครงการต่าง ๆ ออกมามากมาย แต่ก็มิวายถูกมองว่าเป็นนโยบายขายฝัน ด้วยเอกลักษณ์เดินถือแก้วกาแฟสบายใจเฉิบ มอบนโยบายเหมือนบรรยายธรรม โดยเฉพาะนโยบาย 4D ที่ตนท่องจนเป็นคาถาติดปาก จึงไม่แปลกที่เขาจะได้รับฉายานี้ไป

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)

ดีลล่มระดับโลก     การท่องเที่ยวถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศไทย การจัดอีเวนต์จึงเป็นหนทางฟื้นเศรษฐกิจและทำให้ทั่วโลกหันกลับมามองประเทศไทย นายพิพิฒน์จึงวาดฝันจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ออกตัวการันตีว่า "ลิซา จากวง BLACKPINK" ศิลปินเกาหลีสัญชาติไทยที่โด่งดังในระดับโลก ได้ตอบรับมาร่วมงานนี้แน่นอน

    แต่ดีลก็ล่มไม่เป็นท่า เมื่อต้นสังกัด YG Entertainmen ออกแถลงการณ์ดับฝัน ทำให้รัฐบาลเสียเครดิต

    หรือแม้แต่โครงการจังหวัดนำร่องที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยโดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน อย่าง "Sandbox" ก็เกือบจะเป็น Sadbox เพราะต้องลดพื้นที่ให้เหลือแค่จังหวัดภูเก็ตเพียงจังหวัดเดียว เป็นผลมาจากโควิด-19 ที่ระบาดรุนแรงอีกระลอก

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

สายขม นมชมพู     ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่คาราคาซังมานานข้ามปียังไม่มีข้อยุติ ผลพวงมาจากภาระหนี้สินก้อนใหญ่ที่ยังหาทางออกไม่ได้ กลายเป็นเรื่องขมคอของหลาย ๆ หน่วยงาน

    ซ้ำร้ายนายศักดิ์สยาม ยังมีภาพหลุดที่ ส.ส. พรรคเล็กขุดมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า "นายศักดิ์สยาม มีส่วนเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์โควิด-19 สถานบันเทิงย่านทองหล่อ"

    ก่อนจะออกมาชี้แจงว่าภาพดังกล่าว เป็นการสะท้อนชีวิตแบบหนุ่มโสด ที่ชอบร้องคาราโอเกะ ดื่มนมชมพู หาความสุขหลังเลิกงาน ไม่ใช่ชายเสเพล ใช้ชีวิตประมาท จนเกิดคลัสเตอร์การระบาด

นายสุชาติ ชมกลิ่น

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)

สุชาติ ชมเก่ง     เกือบทุกครั้งในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เมื่อพูดถึงนโยบายของรัฐบาล หรืองานในความรับผิดชอบ นายสุชาติมักจะขึ้นต้นประโยคด้วยการชื่นชม พล.อ.ประยุทธ์ หรือ พล.อ.ประวิตร หัวหน้าพรรคของตน แถมยังยังติดสอยห้อยตามการลงพื้นที่ต่าง ๆ จนเรียกว่ายกยอปอปั้นอยู่เสมอ ๆ ก็คงจะได้

    อีกทั้งยังเป็นรัฐมนตรีหนึ่งเดียวที่ขันอาสาออกหน้ารับคำท้า ขึ้นชกมวยคาดเชือกกับนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ แทนนายกรัฐมนตรี ที่ออกมาท้าว่าใครแพ้ต้องลาออก และหากไม่รับคำท้าก็ไม่ใช่ลูกผู้ชาย

วาทะแห่งปี "นะจ๊ะ"     เป็นวาทะติดปากของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) แม้จะเป็นคำสามัญธรรมดาที่ใช้ทั่วไป แต่กลายเป็นคำไม่ธรรมดาเมื่อออกจากปากของผู้นำประเทศท่ามกลางวิกฤติที่ประชาชนสิ้นหวัง มีผู้คนล้มตายข้างถนน ตกงาน และขาดรายได้จากวิกฤตโควิด–19

    แม้นายกรัฐมนตรีจะเลือกใช้คำดังกล่าว เพื่อลดอุณหภูมิของสถานการณ์ดังกล่าวให้เย็นลง แต่สังคมกลับมองว่าเป็นการเลือกใช้คำที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ จนเกิดการกระทบกระเทือนจิตใจผู้ฟัง

    โดยเฉพาะการพูดคำ ๆ นี้ หลังการประชุมวัคซีนและการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) ณ ตึกภักดีบดิทร์ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2564 ที่ประชาชนต่างรอคอยการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี ในการพิจารณาข้อเสนอมาตรการล็อกดาวน์กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สะท้อนภาวะความเป็นผู้นำที่ล้มเหลวในการสื่อสารท่ามกลางภาวะวิกฤติ

พ.ศ.2565[11] 62 รัฐบาล หน้ากากคนดี     เป็นอีกหนึ่งปีที่ทุกคนยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ขณะเดียวกันภายใต้หน้ากากของรัฐบาลที่สร้างภาพจำตลอดเวลาว่าเป็น "คนดี" นโยบายทุกอย่างทำเพื่อบ้านเมืองและประชาชน แต่กลับเกิดข้อกังขาว่ายังเดินตามเจตนารมณ์ที่ประกาศไว้ได้หรือไม่

    ตั้งแต่ "นโยบายกัญชา" ที่อวดอ้างทำเพื่อประชาชน แต่เมื่อเกิดผลกระทบจากการใช้ผิดวัตถุประสงค์ กลายปัญหาสังคมบานปลาย แม้แต่การออกกฎหมายควบคุมการใช้ยังทำไม่ได้ สุดท้ายผลักภาระเพิ่มให้ตำรวจ เพียงเพราะต้องการเช็กลิสต์ตามนโยบายที่หาเสียงไว้ นโยบายประชานิยมที่ออกแนวหาเสียง ให้ทั้งเบ็ด ทั้งปลา หรือการประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีความคลุมเครือ ว่าประโยชน์ที่ได้นั้น เป็นของประชาชนหรือนักการเมืองกันแน่

    แต่ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของพรรคการเมืองใด เมื่อออกมาในนามรัฐบาล ประชาชนจึงเกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่า "ภายใต้หน้ากากที่ประกาศเป็นคนดีนั้นจริงหรือไม่?"

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา(นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) แปดเปื้อน     ปมวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี สั่นคลอนภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีตลอดปีที่ผ่านมา และกลายเป็นข้อครหาถึงความชอบธรรมในการครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีต่อเนื่องยาวนาน

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ที่ศาลมีคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ แม้จะเพียงแค่ 38 วัน ก็ทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยในตัวของ พล.อ. ประยุทธ์ ที่มักจะพูดเสมอว่า "ไม่ยึดติดอำนาจ ทุกอย่างทำเพื่อบ้านเมืองและประชาชน ไม่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง"

    ยิ่งเมื่อปัญหาใต้พรมถูกขุดคุ้ยขึ้นใกล้ตัวเกินกว่าจะปัดความเกี่ยวโยงได้ ทั้งนโยบายประชานิยม ทุนสีเทาสนับสนุนพรรคการเมือง หรือแม้แต่นักการเมืองใกล้ตัว นายทหารใกล้ชิด ที่ได้ไปนั่งอยู่ในบอร์ดบริหารบริษัทพลังงาน แม้พิสูจน์กันทางกฎหมายไม่ได้ แต่ก็ทำให้ถูกมองว่า ไม่ได้ใสสะอาด ผุดผ่องอีกต่อไป

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

ลองนายกฯ     แม้จะเป็นเวลาเพียง 38 วัน ที่ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ได้ทำอย่างสุดกำลัง ถึงแม้จะไม่ใช่ครั้งแรกที่ได้ลองเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะหลายครั้งที่นายกรัฐมนตรีตัวจริงอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ ต้องไปปฏิบัติภารกิจต่างประเทศ พี่ใหญ่ในกลุ่ม 3 ป. ในฐานะ สร.2 (หรือ รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 2) ก็ทำหน้าที่แทนมาโดยตลอด แต่ก็มิอาจยาวนานเช่นครั้งนี้ ซึ่งมีอำนาจเต็ม (ในขณะนั้น) หากจะยุบสภาฯ ก็สามารถทำได้

   บรรดากองหนุนและกองเชียร์ปั่นกระแสจนเคลิบเคลิ้ม ถึงกับประกาศใช้ประโยคจากเพลง "ใจบันดาลแรง" ของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ลุยงานรัว ๆ ทำเอากองเชียร์นายกฯ ตัวจริง ร้อน ๆ หนาว ๆ แต่สุดท้ายก็ทำได้แค่ "ลอง" เท่านั้น

นายวิษณุ เครืองาม

(รองนายกรัฐมนตรี)

เครื่องจักรซักล้าง     ความเอกอุด้านกฎหมายระดับปรมาจารย์ในตำนาน ถูกใช้สนองตอบความต้องการของรัฐบาลทุกช่องทาง ทั้งพรรคหลักพรรคร่วม ไม่มีเลือกปฏิบัติ ช่วยยกภูเขาออกจากอก ลดปัญหาหนักใจ ทำหน้าที่เสมือนเครื่องจักรกล คอยซักล้างความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลให้ผ่านพ้น เรื่องไหนผ่านมือเนติบริกรคนนี้ อย่าหวังว่าจะมีใครโต้แย้งได้ ตั้งแต่ "ปม 8 ปีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่เรื่องเหมืองทองอัครา"
นายอนุทิน ชาญวีรกูล

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)

ภูมิใจดูด พูดแล้วดอย     "พูดแล้วทำ" คือ สโกแกนพรรคภูมิใจไทย แต่ทำแล้วสำเร็จหรือไม่เป็นอีกเรื่อง แม้จะปลดล็อกกัญชาจากการเป็นยาเสพติด แต่กฎหมายควบคุมกลับค้างเติ่งติดดอย ไปต่อไม่ได้ เกิดเป็นปัญหาสังคมบานปลาย เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงกัญชาได้อย่างง่ายดาย เมื่อจวนตัวกลับโยนให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ หัวจะปวดกันทั้งประเทศ

    ขณะที่บทบาทพรรคร่วมรัฐบาล ถือได้ว่าเป็นเด็กดีมาโดยตลอด แต่เมื่อเสียงปี่กลองเลือกตั้งดังขึ้น กลับสวมบทไดโวโชว์พลังดูด ส.ส. นักการเมือง ทั้งจากพวกเดียวกัน และต่างขั้ว ชนิดไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม โดดเด่นไม่แพ้การนำเสนอนโยบายกัญชาเลยทีเดียว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)

ประกันไรได้     "ประกันรายได้" เป็นนโยบายหาเสียงหลักของพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ในฐานะหัวหน้าพรรค แถมยังนั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีและกระทรวงค้าขาย ก็จัดหนักนโยบายนี้ จนแทบไม่โฟกัสงานอื่น ๆ แม้ข้าวของจะขึ้นราคาไม่หยุด แต่สินค้าเกษตรกลับต้องทุ่มเงินไปประกันอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดคำถามกับการแก้ปัญหาของรัฐบาลด้วยวิธีประกันรายได้ ว่าถูกทางจริงหรือ? "ที่ว่าประกันนั้น 'ประกันไรได้บ้าง'?"
นายดอน ปรมัติวินัย(รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ลุ่ม ๆ ดอน ๆ     การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก (APEC) ถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่งในรอบ 20 ปีของไทย ที่มาพร้อมโอกาสทางเศรษฐกิจหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 นโยบายเปิดประเทศจึงเป็นความหวังของทุกคน ที่จะทำให้ประเทศพ้นกับดักต่าง ๆ

    แต่บทบาทในฐานะรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง กลับไม่สามารถสร้างการรับรู้ หรือดึงดูดความสนใจของคนในประเทศได้เท่าที่ควร การเป็นเจ้าภาพเอเปก (APEC) จึงเหมือนรับรู้กันเฉพาะในวงที่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องพูดถึงความสนใจจากทั่วโลกที่ดูน้อยมาก จนเกิดการเปรียบเทียบกับรัฐบาลในอดีตที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานสำคัญ ล้มเหลวตั้งแต่ระบบลงทะเบียน ลามไปจนถึงกิจกรรมประชาสัมพันธ์โหมโรง ที่ไม่ลุกโชนตามความตั้งใจ แม้แต่ธงโบกสะบัดยังปักเป็นหย่อม ๆ ก่อนงานเพียงไม่กี่วัน

    และมีเสียงเล่าลือกันหนาหูว่า "การทำงานในกระทรวงร่วมกับข้าราชการ ก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่เปิดกว้างรับฟัง เกิดเป็นภาพการทำงานที่ล่าช้า ตกยุค ไม่ทันสมัย"

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

(รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)

Powerblank     วิกฤตพลังงาน เป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสสำหรับคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก หลายมาตรการที่เข็นออกมาไม่ขาดสาย นอกจากชักเนื้อรัฐบาลมาอุดหนุน ก็ยังไม่เห็นว่ามีสิ่งไหนทำได้จริง ยิ่งการล้วงเงินจากกระเป๋าเอกชนอย่างโรงกลั่นน้ำมันโครมครามอยู่พักใหญ่ แล้วก็หายไปกับสายลม เหมือนการขายที่ดินให้ต่างชาติแลกเงินลงทุน เกิดกระแสตีกลับระเนระนาด ถอยตั้งหลักแทบไม่ทัน จึงเกิดข้อสงสัยกันว่า "เป็นรัฐมนตรีพลังงาน หรือ รัฐมนตรีไม่มีพลังงานกันแน่?"
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

วันทอง 2 ป.     ด้วยรักและเคารพพี่น้อง 2 ป. ทั้ง "พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร" ไปไหนไปกัน ตามติดแทบทุกภารกิจ

    ครั้นมาถึงทางแยก ต้องเลือกว่าจะอยู่ไหม หรือไปต่อกับใคร จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจ เหตุการณ์ที่ทำเอานักข่าวลืมไม่ลง นั่นคือ "วันที่ 2 ป. มีภารกิจชนกัน" แม้แยกร่างไม่ได้ แต่มีวิชาแยกเงา... เช้าบึ่งรถไปส่ง พล.อ.ประยุทธ์ขึ้นเครื่อง ก่อนส่งทีมงานตามติดไปแทน บ่ายรีบบึ่งรถรีบไปเดินตาม พล.อ.ประวิตร ทำภารกิจลงพื้นที่ เรียกได้ว่าไม่มีขาดตกบกพร่อง

    เปรียบเสมือนกับนางในวรรณคดีอย่าง "วันทอง" ที่รักขุนแผน แต่แพ้ความดีขุนช้าง ยากจะตัดสินใจว่าจะไปต่อกับใครดี

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) หน้าชัด หลังเบลอ     ในบรรดาพี่น้อง 3 ป. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา สามารถควบคุมภาพลักษณ์ที่แสดงออกต่อสาธารณชนได้สงบนิ่งที่สุด แม้สื่อมวลชนจะได้สัมผัสความหลากของอารมณ์ขึ้น ๆลง ๆ ไม่ต่างจากพี่น้องอีก 2 ป.ก็ตาม

    เบื้องหน้าเราจะได้รับรู้และเห็นเฉพาะในสิ่งที่ต้องการให้เห็นเท่านั้น แต่ฉากหลังกลับคลุมเครือไม่ชัดเจน เรียกได้ว่า "เก็บมิด ปิดเงียบ" ถ้าไม่ได้เห็นคะแนนไว้วางใจที่มาเป็นอันดับโหล่ ก็ไม่มีทางรู้เลยว่า เกมเขย่าเก้าอี้ มท.1 ไต่ระดับทะลุ 10 ริกเตอร์ไปแล้ว

นายสุชาติ ชมกลิ่น

(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)

รมต.แรงลิ้น     ยังคงคอนเซ็ปต์ "ปากหวานไม่สร่าง" ขยันอวย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขั้นสุดในทุกด้าน เอ่ยปากแต่ละครั้งก็แรงจัดชัดเจน

    ต้นปีเปิดศึกแตกหักกับบ้านใหญ่เมืองชล (ตระกูลคุณปลื้ม) จนเกิดวิวาทะ "ทรยศ หักหลัง" สนั่นออนไลน์ ปลายปีตีจาก "บิ๊กป้อม" คนที่ออกปากเองว่ารักเหมือนพ่อ พร้อมข้อครหาหอบ ส.ส. ตาม "บิ๊กตู่" ที่ปากบอกว่ารักเหมือนแม่ ไปอยู่พรรครวมไทยสร้างชาติ

    ลิ้นมหาเสน่ห์วาดวิมานในทุ่งลาเวนเดอร์ จะขนพลพรรคมาเป็นฐานดัน "บิ๊กตู่" สู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีอีกสมัย แว่วว่าเจ้าที่บ้านหลังใหม่ก็แรงไม่แพ้ใคร เกิดอาการลิ้นคับปาก คับที่อยู่ยาก คับใจก็ต้องทนอยู่

วาทะแห่งปี "เกลียดหรือไม่เกลียดก็ช่างคุณเถอะ เพราะผมไม่รู้"     วาทะของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 65 ที่สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ในหัวข้อ "บทบาทของภาครัฐ เอกชน และการเมือง ในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ" เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2565

สถิติน่าสนใจ แก้

จำนวนตำแหน่งรัฐมนตรี (รมว.) ที่มักได้รับการตั้งฉายา แก้

จำนวน (ครั้ง) ตำแหน่ง ปี
23 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2523, 2524, 2527, 2529 (2 ตำแหน่ง), 2530, 2532, 2533, 2534, 2536, 2537, 2538, 2541, 2544, 2546, 2547, 2552, 2553, 2554, 2555, 2562, 2563, 2564, 2565
21 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2524, 2525, 2530, 2531, 2532, 2534, 2536, 2537 (2 ตำแหน่ง), 2538, 2541, 2542, 2544, 2545, 2546, 2548, 2552, 2553, 2554, 2555, 2565
20 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2523, 2524, 2525 (2 ตำแหน่ง), 2526 (3 ตำแหน่ง), 2529, 2531, 2534 (3 ตำแหน่ง), 2536, 2541 (2 ตำแหน่ง), 2542 (2 ตำแหน่ง), 2548, 2552, 2553
16 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 2523, 2526, 2527, 2529, 2530, 2532, 2533, 2534, 2541, 2545, 2546, 2552, 2555, 2562, 2563, 2564
15 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 2526, 2527, 2529, 2531, 2532, 2533, 2536, 2538, 2541, 2542, 2544, 2546, 2552, 2553, 2555
11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 2524, 2526, 2527, 2530, 2532, 2533, 2536, 2538, 2542, 2547, 2548
9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2523, 2529, 2531, 2532, 2537, 2538, 2541, 2546, 2554
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2531, 2532, 2533, 2537, 2542, 2546, 2552, 2554, 2565
8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 2544, 2552, 2553, 2555, 2562, 2563, 2564, 2565
7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 2526, 2529, 2534, 2538, 2545, 2548, 2554
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2532, 2545, 2547, 2562, 2563, 2564, 2565
6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

(อดีตคือ...

- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน

- ทบวงมหาวิทยาลัย

- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

2523, 2524, 2525, 2526, 2554, 2555
4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 2548, 2554, 2564, 2565
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2544, 2546, 2547, 2563
3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

(อดีตคือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

2553, 2563, 2565
2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2545, 2562
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

(อดีตคือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม)

2564, 2565
1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2564
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2548
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 2546

จำนวนตำแหน่งรัฐมนตรีช่วย (รมช.) ที่มักได้รับการตั้งฉายา แก้

จำนวน (ครั้ง) ตำแหน่ง ปี
13 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2523, 2527 (2 ตำแหน่ง), 2530, 2531 (4 ตำแหน่ง), 2533 (2 ตำแหน่ง), 2541, 2542, 2544
7 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2537, 2544, 2545, 2547, 2562 (2 ตำแหน่ง), 2563
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 2523, 2524, 2525, 2530, 2536, 2537, 2544
6 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 2530, 2536, 2538, 2541, 2553, 2563
3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2524, 2525, 2555
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2523, 2533, 2542
2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 2525, 2534
1 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 2545
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2544
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 2525

รายชื่อบุคคลที่ได้รับการจัดอันดับ และการตั้งฉายามาก-น้อยที่สุด แก้

**โดยไม่ยึดโยงกับตำแหน่งทางการเมือง

จำนวน รายชื่อ การจัดอันดับ และฉายา ปี
7 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รัฐมนตรีที่น่าเบื่อที่สุด / นักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุด / มีคนโอ๋มากที่สุด / ขวัญใจชนบท / บุรุษยอดทรหด / แชมป์ตลอดกาล / อารมณ์บูดที่สุด 2523, 2524, 2525, 2526, 2527, 2529, 2530
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ กาวใจไร้น้ำยา / รัฐมนตรีป่าลั่น / ตุ๊กแกตีนเหนียว / กาวใจไร้ยาง / รมต. ฉก. / ชาละวันสันหลังหวะ / มาเฟียเสียฟอร์ม / ลิ้นชาละวัน 2530, 2531, 2532, 2536, 2537, 2541, 2542, 2553
6 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ป้อมพลัง "ป" / ป้อมทะลุเป้า / พี่ใหญ่สายเอ็นฯ / ป้อมไม่รู้โรย / รองช้ำ / ลองนายกฯ 2552, 2553, 2562, 2563, 2564, 2565
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หน้ากากเทวดา / เศรษฐีเหลิงลิม / เทวดา / นายทาส / ผู้นำจานด่วน / พ่อมดมนต์เสื่อม 2538, 2544, 2545, 2546, 2547, 2548
นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีที่ออกข่าวและตกเป็นข่าวมากที่สุด / รัฐมนตรีด่วนมหาภัย / ซวยที่สุด / ปลาไหลพันธุ์สั้น / เสือสิ้นลาย / หลงจู๊เสียศูนย์ 2523, 2529, 2530, 2532, 2533, 2538
5 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ สิงห์เดี้ยง / ขงเบ้งตะกายดาว / คลื่นใต้น้ำ / เสือเฒ่าจำศีล / ขุน...สึก 2536, 2537, 2538, 2544, 2547
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีนักชกนักชน / รัฐมนตรีบ่อนแตก / จอมวางยา / กุมารทอง คะนองศึก / กันชนตระกูลชิน 2531, 2533, 2538, 2554, 2555
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สาระแนหน้าจอ / รัฐอิสระ / เช้าสายบ่ายเคลม / นายกฯ บางโพล / ประกันไรได้ 2541, 2562, 2563, 2564, 2565
นายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีที่แก้ปัญหาด้วยปากเปล่ามากที่สุด / รัฐมนตรีต้านเอดส์ / จอมฟุตเวิร์ก / ช่างทาสี / นายประกันชั้น 1 2524, 2532, 2536, 2541, 2542
นายมนตรี พงษ์พานิช รัฐมนตรีท่าดีทีเหลว / หมดท่าที่สุด / รัฐมนตรีโครงการแสนล้าน / นักบุญคนบาป / นักรื้อจอมล้วง 2529, 2530, 2532, 2533, 2538
นายวิษณุ เครืองาม เนติบริกร / ทนายหน้าหอ / ศรีธนญชัยรอดช่อง / ไฮเตอร์ เซอร์วิส / เครื่องจักรซักล้าง 2545, 2548, 2562, 2563, 2565
4 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีที่น่าหมั่นไส้มากที่สุด / น้าชาติ...มาดนักซิ่ง / นักบริหารชั้นยอด / ปลาไหลใส่สเกต 2524, 2531, 2532, 2533
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อิเหนาเมาหมัด / ตู่ไม่รู้ล้ม / ชำรุดยุทธ์โทรม / แปดเปื้อน 2562, 2563, 2564, 2565
นายประมวล สภาวสุ ขวัญใจนายทุน / ซานตาคลอส / รัฐมนตรีขี้โอ่ / หน่อมแน้ม 2530, 2531, 2532, 2533
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีมีอนาคต / ข้างหลังภาพ / เหนือคำบรรยาย / อาทิตย์ผิดฟ้า 2530, 2536, 2537, 2541
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เทพสะท้าน ป่าสะเทือน / กล่องดำนายหัว / แม่นม อมทุกข์ / ทศกัณฐ์กรำศึก 2537, 2541, 2552, 2553
นายอนุทิน ชาญวีรกูล สารหนู / ทินเนอร์ / ว้ากซีน / ภูมิใจดูด พูดแล้วดอย 2562, 2563, 2564, 2565
3 พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา คุณปู่ใจน้อย / รัฐมนตรีเต่าล้านปี / หงส์ในหมู่กา 2531, 2532, 2533
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ลื่นที่สุด / รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ / มลภาวะเป็นพิษ 2525, 2531, 2532
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ มืปราบสายเดี่ยว / ไม้บรรทัดงอ / คนดีที่ลืมโลก 2544, 2545, 2547
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ขุนคลังตลาดแตก / นักกู้สิบทิศ / คนขายฝัน 2536, 2541, 2542
นายเนวิน ชิดชอบ ยี้ห้อยร้อยยี่สิบ / จิ้งจกตีนกาว / ห้อย...จัดให้ 2538, 2545, 2547
นายพิชัย รัตตกุล คลายทุกข์ชาวบ้านมากที่สุด / มนุษยสัมพันธ์ยอดเยี่ยม / แม่ไก่ดี๊ดด๊าด 2526, 2527, 2529
นายมีชัย ฤชุพันธ์ น่ารักที่สุด / รัฐมนตรีซึมไม่สร่าง / พิมพ์ดำ 2525, 2529, 2534
นายวัฒนา เมืองสุข ไก่ชน GMO / เขยเอื้ออาทร / อิกคิวเซ็ง 2546, 2547, 2548
นายวัฒนา อัศวเหม ขวัญใจฉันทนา / เจ้าพ่ออสรพิษ / อัศว-เหิม 2531, 2541, 2542
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ โอ๋ แซ่รื้อ / ศักดิ์สบายสายเขียว / สายขม นมชมพู 2562, 2563, 2564
นายสมัคร สุนทรเวช เซลส์แมนฝันเฟื่อง / สิงห์จอมโว / ไดโนเสาร์ติดหล่ม 2526, 2527, 2538
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ หอกข้างแคร่ / ส.โหย / พี.อาร์. 25 ชั่วโมง 2542, 2547, 2548
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จอมจัดฉาก / เลขาฯ ก๊วนชวนอิ่ม / ซากซีทีเอ็กซ์ 2545, 2546, 2548
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร่างทรงตึกไทย / สมรู้ร่วมคิด / ชายน้อยประชารัฐ 2544, 2546, 2562
นายอดิศัย โพธารามิก ขุนนางค้างสต็อก / ครูพันธุ์ดื้อ / เอี้ยมจุ๊นติดหล่ม 2544, 2546, 2547
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หวานแต่เจ็บ / ตุ๊กตาทอง 2 หน้า / หน้าเด้งดอตคอม 2537, 2545, 2547
2 พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร ว่าที่นายกฯ ตลอดกาล / รัฐมนตรีไม่มีปัญหา 2527, 2530
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีที่กล้าหาญที่สุด / ช่างจำนรรจาที่สุด 2524, 2525
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย รับจนเละ / เฮงที่สุด 2529, 2530
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีที่ขยันให้ข่าวมากที่สุด / รัฐมนตรีที่เลือดร้อนมากที่สุด 2523, 2524
ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้มีสปิริตยอดเยี่ยม / รัฐมนตรีบุญน้อย 2527, 2529
ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม จุ้นจ้านที่สุด / จุ้น...ไม่เสร็จ 2525, 2526
นายกรณ์ จาติกวณิช ทวิต-กู้ / โย่งคาเฟ่ 2552, 2553
นายเกษม ศิริสัมพันธ์ รัฐมนตรีที่ทำตัวน่าหมั่นไส้ขี้จุ๊ยได้ดีที่สุด / รัฐมนตรีที่อยู่นานที่สุด 2523, 2524
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ปุเลง...นอง / ลูกไก่ไวต์ไล 2554, 2555
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล สตั๊นท์เฒ่าเฝ้าเก้าอี้ / เสืออิ่ม สิงห์โอด 2552, 2553
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รัฐมนตรีปากไว...ใจเร็ว / ตลกหลวง 2531, 2542
นายทวี ไกรคุปต์ ฉาวโฉ่ที่สุด / จอจุ้น 2525 / 2536
นายบุญชู โรจนเสถียร รัฐมนตรีที่น่ารัก (น่าหมั่นไส้) ที่สุด / บุญชู บุญไม่ช่วย 2523, 2536
นายปลอดประสพ สุรัสวดี ผีเจาะปลอด / ปั้นน้ำเป็นทุน 2554, 2555
นายพงส์ สารสิน สบายที่สุด / นักธุรกิจการเมือง 2530, 2532
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา สิงห์ซุ่ม / ร.ม.ต.นอร์หัก 2545, 2546
นายวีระ มุสิกพงศ์ รัฐมนตรีที่มีความใฝ่ฝันจะได้ภริยาเป็นดารามากที่สุด / น่วมที่สุด 2524, 2525
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ร้อยลิ้นพันล้าน / โคบาลเป่าปี่ 2546, 2547
นายสมหมาย ฮุนตระกูล คุณ...ตัวดูด / ซามูไรทมิฬ 2526, 2527
นายสันติ ชัยวิรัตนะ รัฐมนตรีไฮเทค / บูมเมอแรง 2531, 2533
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ช่างจัดฉาก / กริ๊ง...สิงสื่อ 2552, 2553
นายสุชาติ ชมกลิ่น สุชาติ ชมเก่ง / รมต.แรงลิ้น 2564, 2565
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ มหาเฉื่อย 4D / Powerblank 2564, 2565
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย วิญญูชนจอมปลอม / ผู้ดีฟอร์มยักษ์ 2538, 2546
นายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีฟิวส์ขาด / เสือร้องไห้ 2531, 2533
นายอมเรศ ศิลาอ่อน ต้นกล้าทระนง / พ่อค้าฉุน 2533, 2534
นายอบ วสุรัตน์ ผลงานดีเด่นที่สุด / ฝ่านค้านใน ครม. 2526, 2527
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หล่อหลักลอย / ซีมาร์กโลชัน 2552, 2553
นายอุทัย พิมพ์ใจชน มันจุกอก / โบนัสสีทอง 2536, 2537
คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ฉุยฉาย / ตุ๊กตาทองเค 2541, 2542
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ นกแก้ว / ปูกรรเชียง 2554, 2555
นางพรทิวา นาคาศัย เจ้าแม่แพ้หน้าเน็ต / นาง "ฟ้า" สต็อกลม 2552, 2553
1 พลเอก วิมล วงศ์วาณิช กันชนคุณภาพ 2534
พลเอก หาญ ลีนานนท์ รัฐมนตรีหิ่งห้อย 2529
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา หน้าชัด หลังเบลอ 2565
พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี ตุ๋ย...โธ่เอ๊ย 2534
พลเรือเอก อมร ศิริกายะ รัฐมนตรีที่มีอัธยาศัยดีที่สุด 2523
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา รมต.พลัง "น้ำ" 2548
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ สุภาพบุรุษที่สุด 2525
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต ตามล่าหน้าหล่อ 2555
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ประแจปากตาย 2554
พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ ปลั๊กหลวม 2548
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก อินทรีหลงป่า 2554
พลตรี จำลอง ศรีเมือง จอมสร้างภาพ 2537
พลตรี สุตสาย หัสดิน รัฐมนตรีที่ถูกเมินมากที่สุด 2524
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ รัฐมนตรีที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งบ่อยครั้งที่สุด 2523
นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ พ่อมดหมดฤทธิ์ 2537
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เทามนัส 2562
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อธิบดีคลัง 2546
เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ สุภาพบุรุษที่สุด 2526
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นาย...ลิขิต 2545
นายแพทย์สุชัย เจริญรัตนกุล เด็กนายหญิง 2548
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หมอหลังฉาก 2544
นายกษิต ภิรมย์ ไส้ติ่งรัฐบาล 2552
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กั๊ก-กอบ-โกย 2552
นายโกศล ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีเจ้าอารมณ์ 2527
นายขุนทอง ภูผิวเดือน รัฐมนตรีที่ปกป้องศีลธรรมและวัฒนธรรมไทยได้ยอดเยี่ยมที่สุด 2523
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ สิงห์สำรอง 2555
นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ไฟแรงที่สุด 2525
นายจุติ ไกรฤกษ์ หัวเทียนบอด-แบน 2553
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ โฟร์แมนสแตนบาย 2555
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ วันทอง 2 ป. 2565
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ลาดื้อ 2538
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จิ้งจกเปลี่ยนสี 2538
นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ สร้างสรรค์กีฬามากที่สุด 2526
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ หวีดดับ 2563
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ไพร่เทียม 2555
นายดอน ปรมัติวินัย ลุ่ม ๆ ดอน ๆ 2565
นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ประชาสัมพันธ์ยอดเยี่ยมที่สุด 2526
นายตามใจ ขำภโต รัฐมนตรีที่ชาวบ้านด่ามากที่สุด 2523
นายธีระ วงศ์สมุทร ขงเบ๊ 2554
นายนที ขลิบทอง ตั๋วจำนำ 2544
นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ สุภาพบุรุษจำยอม 2537
นายนุกูล ประจวบเหมาะ วิ่งสู้ฟัด 2534
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กันชนสายเสมอ 2537
นายบุญชู ตรีทอง บัตรเขียวตีนโต 2536
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ บุญทรุด 2555
นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ คนว่างงาน 2527
นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ บัวในดงบอน 2533
นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ รัฐมนตรีที่น่าสงสารที่สุด 2524
นายประชา มาลีนนท์ เถ้าแก่บ้อท่า 2544
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ไอ้ก้านน่วม 2545
นายประภาศน์ อวยชัย รัฐมนตรีศรีธนญชัย 2534
นายปองพล อดิเรกสาร หนังใหญ่เมืองสุพรรณ 2541
นายพิภพ อะสีติรัตน์ ใช้หัว...มากที่สุด 2526
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ไอเดียกระฉอก 2554
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ ดีลล่มระดับโลก 2564
นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล โกลบอล (ปาก) บอน 2541
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ พัง PORN 2563
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เฮีย...ฟุ้ง 2547
นายไพจิตร เอื้อทวีกุล รัฐมนตรีแรมโบ 2534
นายมั่น พัธโนทัย หยากไย่ 2553
นายมีชัย วีระไวทยะ รัฐมนตรีทอล์กโชว์ 2534
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ทักษิโด้ โชว์ห่วย 2554
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ด.ดันดี 2555
นายวราวุธ ศิลปอาชา สัปเหร่อออนท็อป 2562
นายวิเศษ จูภิบาล โบรกเกอร์รัฐบาล 2548
นายสมบัติ อุทัยสาง มรดกบาป 2544
นายสมศักดิ์ ชูโต รัฐมนตรีที่ให้ข่าวน้อยที่สุด 2523
นายสอาด ปิยวรรณ ดร.ห้าแต้ม 2529
นายไสว พัฒโน เด่นที่สุด 2530
นายสันติ พร้อมพัฒน์ ค้างคลัง 2563
นายสาวิตต์ โพธิวิหค พรานม้วนเสื่อ 2536
นายสุธี สิงห์เสน่ห์ รัฐมนตรีปรมาจารย์ 2529
นายสุบิน ปิ่นขยัน รัฐมนตรีหน้าเนื้อใจเสือ 2532
นายสุวิทย์ คุณกิตติ กลวง 2544
นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ คลื่นแทรก 2548
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล "ปึ้ง" เป้าเป๊ะ 2554
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ หางเครื่องลุงแซม 2542
นายเสนาะ อูนากูล อัจฉริยะไอซียู 2534
นายโสภณ ซารัมย์ ภูมิใจ "นาย" 2552
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ ลูกโป่งหลงจู๊ 2546
นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ รัฐมนตรีที่มีมนุษยสัมพันธ์ (กับนักข่าว) ดีที่สุด 2523
นายอานันท์ ปันยารชุน ผู้ดีมีปัญหา 2534
นายโอภาส พลศิลป ขวัญใจเสี่ยฮะ 2527
นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา รัฐมนตรีเงาเตี่ย 2542
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ มาดามแบนเก้อ 2562
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ แชมป์ไตรกีฬา 2563
นางปวีณา หงสกุล แม่พระผิดโบสถ์ 2542
นางสายสุรี จุติกุล ดุ๊ยดุ่ย 2534
นางอุไรวรรณ เทียนทอง มรดกเจ้าพ่อ 2545

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 วีระ เลิศสมพร. (2546). ชื่อ ฉายา และสมญานามทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2545 เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : กิจเสรีการพิมพ์. https://onedrive.live.com/?id=2771A82432FEB0BE%21231&cid=2771A82432FEB0BE
  2. สื่อตั้งฉายารัฐบาล 2548 "ประชาระทม" https://mgronline.com/daily/detail/9480000178881
  3. "ทักษิณ" ประกาศใครไม่เลือก ทรท.ช่วยทีหลัง https://mgronline.com/politics/detail/9480000150744
  4. สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายารัฐบาล 2552 "ใครเข้มแข็ง" https://www.posttoday.com/politic/news/5599
  5. ฉายารัฐบาล 2553 "รอดฉุกเฉิน" - นายกฯ "ซีมาร์กโลชัน" https://www.thairath.co.th/content/137597
  6. ฉายา 2554 "นายกฯ นกแก้ว" สื่อทำเนียบตั้งฉายาลักษณ์ รัฐบาล "ทักษิณส่วนหน้า" https://www.thairath.co.th/content/226130
  7. ฉายารัฐบาล ปี 2555 "พี่ชายคนแรก" ยิ่งลักษณ์ "ปูกรรเชียง"https://www.sanook.com/news/1161028/
  8. รวมฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และ วาทะแห่งปี ประจำปี 2562 https://www.bbc.com/thai/thailand-50891016
  9. ฉายารัฐบาล 2563 : สื่อทำเนียบตั้งฉายา พล.อ. ประยุทธ์ "ตู่ไม่รู้ล้ม" กับรัฐบาล "VERY กู้" https://www.bbc.com/thai/thailand-55463071
  10. ฉายารัฐบาล 64 “ยื้อยุทธ์” อุ้มนายกฯ “ชำรุดยุทธ์โทรม” มอบ “นะจ๊ะ” วาทะแห่งปี https://www.sanook.com/news/8494754/
  11. ฉายารัฐบาล 2565 "หน้ากากคนดี" ส่วนนายกฯ ได้ฉายา "แปดเปื้อน" https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/187186

แหล่งข้อมูลอื่น แก้