สมศักดิ์ ชูโต
ศาสตราจารย์ สมศักดิ์ ชูโต เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42) เป็นอดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516
สมศักดิ์ ชูโต | |
---|---|
ไฟล์:สมศักดิ์ ชูโต.jpg | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | พลตรี อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
ถัดไป | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2474 |
การทำงาน
แก้ศ.สมศักดิ์ ชูโต หรือ ศ.ดร.สมศักดิ์ ชูโต ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติแต่งตั้งขึ้นในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)[1] ดำรงตำแหน่งจนครบวาระในปี พ.ศ. 2521
ต่อมาในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง จนกระทั่งในอีก 1 ปีถัดมาจึงถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีดังกล่าว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่โฆษกรัฐบาลเช่นเดิม
สมศักดิ์ ชูโต เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2530[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๘๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖