การประชุมสุดยอดอาเซียน
การประชุมสุดยอดอาเซียน[2] (อังกฤษ: ASEAN Summit) เป็นการประชุมประจำปีที่จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ของเหล่าสมาชิก
การประชุมสุดยอดอาเซียน | |
---|---|
คำขวัญ: "One Vision, One Identity, One Community" (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม) | |
สีเขียวคือสมาชิกอาเซียน | |
สำนักงานใหญ่ | อินโดนีเซีย |
รัฐสมาชิก | |
ผู้นำ | |
• | อินโดนีเซีย[1] |
• ประธาน | เหงียน ซวน ฟุก |
ลิม จก โฮย | |
สถาปนา | 8 สิงหาคม 2510 |
เว็บไซต์ http://www.asean.org/ |
ประวัติ
แก้ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งหัวหน้ารัฐบาลแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี[3] อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน[3] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[4]
การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้
- ผู้นำของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายใน
- ผู้นำของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
- การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดอาเซียน
- การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ครั้งที่ | วันที่ | ประเทศ | สถานที่จัดการประชุม | |
---|---|---|---|---|
1 | 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 | อินโดนีเซีย | บาหลี | |
2 | 4-5 สิงหาคม 2520 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์ | |
3 | 14-15 ธันวาคม 2530 | ฟิลิปปินส์ | มะนิลา | |
4 | 27-29 มกราคม 2535 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | |
5 | 14-15 ธันวาคม 2538 | ไทย | กรุงเทพมหานคร | |
6 | 15-16 ธันวาคม 2541 | เวียดนาม | ฮานอย | |
7 | 5-6 พฤศจิกายน 2544 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |
8 | 4-5 พฤศจิกายน 2545 | กัมพูชา | พนมเปญ | |
9 | 7-8 ตุลาคม 2546 | อินโดนีเซีย | บาหลี | |
10 | 29-30 พฤศจิกายน 2547 | ลาว | เวียงจันทน์ | |
11 | 12-14 ธันวาคม 2548 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์ | |
12 | 11-14 มกราคม 25501 | ฟิลิปปินส์2 | เซบู | |
13 | 18-22 พฤศจิกายน 2550 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | |
143 | 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 | ไทย | ชะอำ, หัวหิน | |
10–11 เมษายน 2552 | พัทยา | |||
15 | 23-25 ตุลาคม 2552 | ชะอำ, หัวหิน | ||
16 | 8-9 เมษายน 2553 | เวียดนาม | ฮานอย | |
17 | 28-31 ตุลาคม 2553 | |||
18 | 7-8 พฤษภาคม 2554 | อินโดนีเซีย4 | จาการ์ตา | |
19 | 14-19 พฤศจิกายน 2554 | บาหลี | ||
20 | 3-4 เมษายน 2555 | กัมพูชา | พนมเปญ | |
21 | 17–20 พฤศจิกายน 2555 | |||
22 | 24–25 เมษายน 2556 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |
23 | 9–10 ตุลาคม 2556 | |||
24 | 10–11 พฤษภาคม 2557 | พม่า | กรุงเนปยีดอ | |
25 | 10–12 พฤศจิกายน 2557 | |||
26 | 26‒27 เมษายน 2558 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์, เกาะลังกาวี | |
27 | 18–22 พฤศจิกายน 2558 | กัวลาลัมเปอร์ | ||
28 | 6–8 กันยายน 2559 | ลาว | เวียงจันทน์ | |
29 | ||||
30 | 26-27 เมษายน 2560 | ฟิลิปปินส์ | ปาไซ | |
31 | 10-14 พฤศจิกายน 2560 | |||
32 | 25-28 เมษายน 2561 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | |
33 | 11–15 พฤศจิกายน 2561 | |||
34 | 20–23 มิถุนายน 2562[5] | ไทย | กรุงเทพมหานคร | |
35 | 31 ตุลาคม–4 พฤศจิกายน 2562[6] | กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี[7][8] | ||
36 | 14 เมษายน 2563 | เวียดนาม | ฮานอย (ประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์)5 | |
37 | 11–15 พฤศจิกายน 2563 | |||
387 | 26–28 ตุลาคม 2564 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์)5 | |
397 | ||||
407 | 10–13 พฤศจิกายน 2565 | กัมพูชา | พนมเปญ | |
417 | ||||
427 | 9–11 พฤษภาคม 2566 | อินโดนีเซีย | ลาบูอันบาโจ | |
437 | 5–7 กันยายน 2566 | จาการ์ตา | ||
447 | 6–11 ตุลาคม 2567 | ลาว | เวียงจันทน์ | |
457 | ||||
1 การประชุมเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 10-14 ธันวาคม เนื่องจากภัยไต้ฝุ่น. | ||||
2 พม่าไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เนื่องจากความกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป. | ||||
3 การประชุมถูกเลื่อนออกไปสองครั้งเนื่องจากการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล. | ||||
4 อินโดนีเซียเสนอแลกเปลี่ยนกับบรูไนอาจจะเป็นเจ้าภาพเอเปค (และอาจมีการประชุม G20) ในปี 2013. | ||||
5 เวียดนามและบรูไนเป็นประธานการประชุมสมัยพิเศษว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบการประชุมทางไกล. | ||||
6 เลื่อนจากกำหนดเดิมปลายเดือนเมษายน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยเวียดนามเป็นประธานการประชุม. | ||||
7 ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 38 พม่าซึ่งอยู่ในสถานการณ์การประท้วงอันสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม แม้อาเซียนจะมีหนังสือเชิญผู้แทนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ตาม[9][10][11] |
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4
แก้จัดขึ้นใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) การประชุมในครั้งนี้ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของเหล่าประเทศสมาชิก ในการป้อนหรือส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดโลก โดยเปิดเสรีทางการค้าและลดภาษีซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญ รวมทั้งลดข้อกีดขวางทางการค้าต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาษีด้วย
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12
แก้การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ณ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยผู้นำอาเซียนได้เลื่อนการจัดตั้งสมาคมอาเซียนจากเดิมที่จะจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ให้มาเป็น พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เร็วขึ้นจากเดิมห้าปี นอกจากนี้ ยังมีการตรากฎบัตรอาเซียนขึ้นเป็นกรอบทางสถาบันและกฎหมายอันมีผลใช้บังคับแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก
การประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษ
แก้การประชุมสุดยอดอาเซียน และผู้นำอเาซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) สมัยพิเศษว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยเป็นการประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์ ที่ประชุมได้สนับสนุนข้อเสนอของไทยเกี่ยวกับการจัดตั้ง “กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19” เพื่อจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยพัฒนายาและวัคซีน[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.lowyinterpreter.org/post/2010/06/29/Indonesia-as-ASEAN-Chair-A-test-of-democracy.aspx
- ↑ "การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)". กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 20 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 ASEAN Structure เก็บถาวร 2007-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ASEAN Primer.
- ↑ Denis Hew (2005). Roadmap to an Asean Economic Community. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 981-230-347-2.
- ↑ "รายละเอียดการประชุม 34th ASEAN Summit". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- ↑ "รายละเอียดการประชุม 35th ASEAN Summit and Related Summits". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- ↑ กำหนดการสื่อมวลชน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง เก็บถาวร 2020-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเทพฯ และนนทบุรี
- ↑ "ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-01. สืบค้นเมื่อ 2019-11-01.
- ↑ "ASEAN summit begins without Myanmar after top general barred". Al Jazeera. October 26, 2021. สืบค้นเมื่อ November 3, 2021.
- ↑ "Southeast Asia leaders struggle with Myanmar crisis at summit". Al Jazeera. November 11, 2022. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
- ↑ Widakuswara, Patsy (September 6, 2023). "Myanmar's Seat Empty as VP Harris Speaks to ASEAN Leaders". Voice of America. สืบค้นเมื่อ January 4, 2024.
- ↑ "'อาเซียน' ตั้งกองทุน ระดมซื้ออุปกรณ์สู้โควิด". ฐานเศรษฐกิจ. 17 เมษายน 2563.