สอาด ปิยวรรณ
สอาด ปิยวรรณ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 6 สมัย สังกัดพรรคชาติไทย
สอาด ปิยวรรณ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | พิภพ อะสีติรัตน์ |
ถัดไป | พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2469 อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง |
เสียชีวิต | 14 เมษายน พ.ศ. 2556 (86 ปี) กรุงเทพมหานคร |
พรรค | พรรคชาติไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงพรรณี ปิยวรรณ |
ประวัติแก้ไข
สอาด ปิยวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นบุตรคนที่ 4 ของคำสุก และจันทร์ทิพย์ ปิยวรรณ มีพี่น้อง 4 คน จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก 3 สถาบัน คือ นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม รัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเศรษฐศาสตรบัณฑิต จากประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก สาขารัฐศาสตร์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา[1]
การทำงานแก้ไข
สอาด ปิยวรรณ เป็นนักธุรกิจตันแทนจำหน่ายรถบรรทุก ต่อมาหันมาทำงานการเมืองเป็นกรรมการบริหารพรรคสหภูมิ และเป็นสมาชิกสภาจังหวัดลำปาง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยแรก สังกัดพรรคแรงงาน ซึ่งเขาเป็นเลขาธิการพรรค[2] ต่อจากนั้นเขาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีก 5 สมัย
สอาด ปิยวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11[3] เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2533[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
ดร.สอาด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคแรงงาน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคแรงงาน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคชาติไทย
ถึงแก่อนิจกรรมแก้ไข
สอาด ปิยวรรณ เสียชีวิตจากอาการติดเชื้อในลำไส้ ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ สิ้น"สอาด ปิยวรรณ" อดีตรมต.-รองปธ.สภา
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนพิเศษที่ 193ง หน้า 290 วันที่ 18 กันยายน 2518
- ↑ http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_73303.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ สิ้นอดีต รมว.ยุติธรรม สอาด ปิยวรรณ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕