ฉบับร่าง:พรรคไทยก้าวหน้า (พ.ศ. 2565)

  • ความคิดเห็น: ฉบับร่างถูกปัดตกแล้ว ไม่สามารถส่งซ้ำได้ครับ Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:25, 27 มีนาคม 2567 (+07)
  • ความคิดเห็น: อ้างอิงทั้งหมดขาดการกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ อ้างอิงทั้งหมดเป็น trivial coverage Sry85 (คุย) 11:09, 8 ธันวาคม 2566 (+07)

พรรคไทยก้าวหน้า
หัวหน้าวัชรพล บุษมงคล
เลขาธิการภูชิสส์ ศรีเจริญ
เหรัญญิกธนภัทร สว่างวงศ์
นายทะเบียนสมาชิกสมชาย ยนวิลาศ
กรรมการบริหาร
  • สุรเดช ปิ่นทองดี
  • เอกณัฏฐ์ เรืองเดชธนาวุฒิ
  • ฉัตรชัย คำใส
  • วุฒิชัย จุลวงศ์
  • ลำโขง ธารธนศักดิ์
  • ปฏิเวศน์ อิสเรศโยธิน
  • ธีรศักดิ์ อริยะอรชุน
  • สายันต์ สายเจียง
  • ศตภพ อานไทสง
ประธานที่ปรึกษาพลเอกสิทธิ์ สิทธิมงคล
คำขวัญไทยก้าวหน้า ประชาเป็นสุข
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (1 ปี)
ที่ทำการ84-84/2 หมู่ที่ 5 ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)5,022 คน
สี  น้ำเงิน
สภาผู้แทนราษฎร
1 / 500
เว็บไซต์
thaiprogressparty.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทยก้าวหน้า (อังกฤษ: The Progress Party; ชื่อย่อ: ทกน. (TPG.)) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบันมีนายวัชรพล บุษมงคล เป็นหัวหน้าพรรค และนายภูชิสส์ ศรีเจริญ เป็นเลขาธิการพรรค

ประวัติ แก้

พรรคไทยก้าวหน้าจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีนายวัชรพล บุษมงคล อดีตเลขาธิการพรรคแทนคุณแผ่นดิน เป็นหัวหน้าพรรค นายภูมินทร์ วรปัญญา อดีตที่ปรึกษาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

บทบาททางการเมือง แก้

พรรคไทยก้าวหน้าส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ 13 คน และแบ่งเขต 5 คน และเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี 2 คน ได้แก่วัชรพล บุษมงคล และ พลเอก สิทธิ์ สิทธิมงคล[1] และมีนโยบายของพรรคที่ใช้ในการหาเสียง 7 นโยบาย ซึ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจและสวัสดิการเป็นหลัก[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยก้าวหน้าได้ร่วมกับพรรคเล็กอีก 4 พรรค ได้แก่ พรรคทางเลือกใหม่ พรรคภาคีเครือข่ายไทย พรรคไทยชนะ และพรรคประชากรไทย ออกแถลงการณ์ต้องการให้จัดตั้งรัฐบาลและมีผู้บริหารประเทศโดยเร็วที่สุด เพื่อปากท้องของประชาชน หลังจากในขณะนั้นการเลือกตั้งผ่านมาแล้วมากกว่า 80 วัน แต่ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้[3]

 
ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ส.ส.คนแรกของพรรค

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เว็บไซต์ของระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แก้ไขประวัติของนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกขับออกจากพรรคก้าวไกลกรณีคุกคามทางเพศ โดยระบุว่านายไชยามพวานอยู่ในสังกัดพรรคไทยก้าวหน้า[1] โดยนายไชยามพวานถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของพรรค[4]

บุคลากร แก้

หัวหน้าพรรค แก้

ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 วัชรพล บุษมงคล 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค แก้

ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 ภูมินทร์ วรปัญญา 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565
2 ภูชิสส์ ศรีเจริญ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

กรรมการบริหารพรรค แก้

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 วัชรพล บุษมงคล หัวหน้าพรรค
2 ภูชิสส์ ศรีเจริญ เลขาธิการพรรค
3 ธนภัทร สว่างวงศ์ เหรัญญิกพรรค
4 สมชาย ยนวิลาศ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5 สุรเดช ปิ่นทองดี กรรมการบริหารพรรค
6 เอกณัฏฐ์ เรืองเดชธนาวุฒิ
7 ฉัตรชัย คำใส
8 วุฒิชัย จุลวงศ์
9 ลำโขง ธารธนศักดิ์
10 ปฏิเวศน์ อิสเรศโยธิน
11 ธีรศักดิ์ อริยะอรชุน
12 สายันต์ สายเจียง
13 ศตภพ อานไทสง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ระบบสำนักเลขาธิการสภาฯ เปลี่ยน สังกัดพรรคของ 'สส.ไชยามพวาน' จาก 'ก้าวไกล' เป็น 'ไทยก้าวหน้า'". สำนักข่าวทูเดย์. 29 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""ปูอัด" ได้พรรคใหม่แล้ว! ซบไทยก้าวหน้า หลังก้าวไกลขับออก". ผู้จัดการออนไลน์. 28 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ""5พรรคนอกสภาฯ" แถลงการณ์หนุนตั้งรัฐบาลโดยเร็ว". กรุงเทพธุรกิจ. 3 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "สส.คนแรก! "ไชยามพวาน" เข้าพรรคไทยก้าวหน้า". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 29 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้