พรรคไทยก้าวหน้า (พ.ศ. 2565)

พรรคการเมืองไทย

พรรคไทยก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งพรรคเมื่อ พ.ศ. 2565 ปัจจุบันวัชรพล บุษมงคล เป็นหัวหน้า[2] มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 คน

พรรคไทยก้าวหน้า
หัวหน้าวัชรพล บุษมงคล
เลขาธิการว่าง
เหรัญญิกมลฤดี ดวงศรี
นายทะเบียนสมาชิกศตภพ อานไทสง
กรรมการบริหารวัชรินทร์ ศรีถาพร
วุฒิชัย จุลวงศ์
ฉัตรชัย คำใส
อภิญญา พิมพ์ทอง
ไกรสิทธิ์ พิรุณ
ปณิษ รุ่งตรานนท์
สมชาย ยนวิลาศ
ธีระศักดิ์ อริยะอรชุน
เสฐียรพงษ์ สำแดงสุข
พรีม นิสสัยพันธุ์
พิมลแข กองแก้ว
ลำโขง ธารธนศักดิ์
ประธานที่ปรึกษาพลเอกสิทธิ์ สิทธิมงคล
คำขวัญยึดมั่น ส่งเสริม ศรัทธาการปกครองในระบบประชาธิปไตย
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (2 ปี)
ที่ทำการ84-84/2 หมู่ 5 ถ.บ้านกล้วย-ไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
สมาชิกภาพ5,821 คน[1]
อุดมการณ์ประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุด
สภาผู้แทนราษฎร
1 / 495
เว็บไซต์
https://thaiprogressparty.wordpress.com/
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

แก้
 
ตราสัญลักษณ์แรกของพรรคไทยก้าวหน้า (2565-2567)

พรรคไทยก้าวหน้าจดทะเบียนก่อตั้งพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นลำดับที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีนายวัชรพล บุษมงคล อดีตเลขาธิการพรรคแทนคุณแผ่นดิน เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายภูมินทร์ วรปัญญา ญาติของนายนิยม วรปัญญา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี (ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเคยเป็นเลขานุการ ส.ส. ของนายนิยม อดีตคณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก มีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 57 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี[3] โดยใช้เครื่องหมายมีลักษณะเป็นริ้วสีน้ำเงิน และริ้วสีแดงซ้อนกัน ในลักษณะช้อนขึ้นรองรับอักษรภาษาไทยสีน้ำเงินคําว่า “พรรคไทยก้าวหน้า” ทั้งหมดอยู่บนพื้นสีขาว

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ภูมินทร์ได้ลาออกจากสมาชิกและเลขาธิการพรรคไทยก้าวหน้า และเมื่อวันที่ 13-17 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีกรรมการบริหารพรรคไทยก้าวหน้าลาออกจากสมาชิกเกินครึ่งหนึ่ง ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยก้าวหน้าได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยที่ประชุมได้เลือกวัชรพลกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคตามเดิม ส่วนเลขาธิการพรรคเป็นของภูชิสส์ ศรีเจริญ

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยก้าวหน้าได้จับมือกับพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ไม่ได้ที่นั่งในสภาอีก 4 พรรคคือพรรคทางเลือกใหม่, พรรคภาคีเครือข่ายไทย, พรรคประชากรไทย และพรรคไทยชนะ ออกแถลงการณ์ร่วมกันเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วที่สุด[4]

 
ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สส. พรรคไทยก้าวหน้า

พรรคไทยก้าวหน้าเริ่มเป็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางหลังจากที่นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ หรือ ปูอัด อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครของพรรคก้าวไกล ซึ่งถูกขับออกจากพรรคจากกรณีคุกคามทางเพศ ย้ายเข้ามาสังกัดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทำให้นายไชยามพวานเป็นสภาผู้แทนราษฎรคนแรกและคนเดียวของพรรคไทยก้าวหน้าในปัจจุบัน[2]

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 พรรคไทยก้าวหน้าได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2567 โดยมีไชยามพวานเข้าร่วมงานด้วย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีการแก้ไขข้อบังคับพรรค โดยเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคเป็นริ้วสี่เหลี่ยมสีส้ม 3 ชั้น และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยที่ประชุมได้เลือกวัชรพลและภูชิสส์ ศรีเจริญ กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคตามเดิม แต่เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารที่เหลือส่วนใหญ่ และประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองใหม่ว่า "ประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุด"[5]

จากนั้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ภูชิสส์ในฐานะเลขาธิการพรรคได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคโดยให้มีผลในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เพื่อแสดงความรับผิดชอบในกรณีที่ไชยามพวานซึ่งเป็น ส.ส. ของพรรคถูกกล่าวหาว่ากระทำการข่มขืนนักท่องเที่ยวชาวไต้หวันที่จังหวัดเชียงใหม่[6]

บุคลากร

แก้

หัวหน้าพรรค

แก้
ลำดับที่ รูปภาพ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1   วัชรพล บุษมงคล 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค

แก้
ลำดับที่ รูปภาพ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1   ภูมินทร์ วรปัญญา 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ลาออกจากตำแหน่งและสมาชิกพรรค
2   ภูชิสส์ ศรีเจริญ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

การเลือกตั้ง

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคไทยก้าวหน้าส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งสิ้น 13 คน แบบแบ่งเขตจำนวน 5 คนและเสนอชื่อแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรคจำนวน 2 คน คือนายวัชรพล หัวหน้าพรรค และพลเอกสิทธิ์ สิทธิมงคล ประธานที่ปรึกษาพรรค[7] ผลปรากฏว่าทางพรรคได้คะแนนเพียง 34,559 คะแนนและไม่ได้ที่นั่งในสภาแม้แต่ที่นั่งเดียว[4]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
2566
0 / 500
35,094 ไม่ได้รับเลือกตั้ง วัชรพล บุษมงคล

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  2. 2.0 2.1 "ทำความรู้จัก "พรรคไทยก้าวหน้า" หลังอดีต สส.กทม.พรรคก้าวไกล ย้ายซบ". กรุงเทพธุรกิจ.
  3. "อัพเดต 88 พรรคล่าสุด "ไทยก้าวหน้า" นักธุรกิจ-อดีตที่ปรึกษา รมต.ก่อตั้ง". กรุงเทพธุรกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "5 พรรคการเมืองไร้ ส.ส. ออกแถลงการณ์ร่วมกัน สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วที่สุด". เดอะสแตนดาร์ด.
  5. "คึกคัก! พรรคไทยก้าวหน้า จัดประชุมใหญ่ ส.ส.ปูอัด ส.ส.คนแรกพรรค ประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง "ประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสูงสุด"". บางกอกทูเดย์.
  6. "เลขาธิการพรรคไทยก้าวหน้า ประกาศลาออกเซ่นปมร้อน "สส.ปูอัด"". พีพีทีวีเอชดี. 11 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "พรรคไทยก้าวหน้า". sanook.com.