ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน10
การคมนาคมในประเทศไทย
แก้ทางบก
แก้ถนน
แก้ทางแยกในกรุงเทพมหานคร
แก้
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)
แก้- กรุงเทพ-ชลบุรี-มาบตาพุด (M7) เปิดให้บริการแล้ว
- บางปะอิน-โคราช (M6) กำลังก่อสร้างและเปิดให้ใช้งานฟรีในบางช่วง
- บางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) กำลังก่อสร้างและเปิดให้ใช้งานฟรีในบางช่วง
- บางขุนเทียน – ปากท่อ (M82) บนถนนพระราม 2 กำลังก่อสร้าง (ระยะทาง 81 กิโลเมตร ในระยะแรกจะดำเนินการก่อสร้างช่วงบางขุนเทียนถึงทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว) โดยมีจุดเริ่มต้นต่อจากทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก (ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2567)
รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์
แก้- รายละเอียดปลีกย่อยของระบบ
- โครงการรถโดยสาร BRT EV (รถจะมีประตูสำหรับขึ้นลง 2 ด้าน)
ก่อสร้าง 2 ป้ายรถโดยสารใหม่ ได้แก่ สถานีแยกจันทน์-นราธิวาสราชนครินทร์ และ สถานีแยกนราธิวาสราชนครินทร์-รัชดาภิเษก พร้อมขยายเส้นทางจากสถานีสาทร ถึงรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลุมพินี รวมทั้งเส้นทางส่วนต่อขยายในอนาคต จากสถานีลุมพินี ไปตามถนนวิทยุ ถึงรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีเพลินจิต สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด โดยจะให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ความถี่ในการให้บริการไม่เกินกว่า 15 นาทีต่อคัน โดยช่วงเวลาเร่งด่วนไม่เกินกว่า 10 นาทีต่อคัน ช่วงนอกเวลาเร่งด่วนไม่เกินกว่า 15 นาทีต่อคัน[1]
รถโดยสารประจำทาง
แก้- รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย
- รายการเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
ทางเรือ
แก้ทางอากาศ
แก้ทางราง
แก้ทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย
แก้รถรางในประเทศไทย
แก้ในอดีตประเทศไทยเคยมีการใช้รถรางครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431[2] โดยสายบางคอแหลมเป็นสายแรกเมื่อเริ่มแรกใช้กำลังม้าลากรถไปตามราง ซึ่งใช้เวลาการเดินทางมากจึงไม่เป็นที่นิยม ภายหลังเปลี่ยนมาใช้กำลังไฟฟ้าเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2437[2] และจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2511 ได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร[3]
รถรางกรุงเทพในอดีต
แก้ระบบรถรางได้เปิดให้บริการทั้งสิ้น 11 สาย ดังนี้
- สายบางคอแหลม ระยะทาง 9.2 กม. วิ่งระหว่างศาลหลักเมือง เข้าถนนเจริญกรุงถึงถนนตก (เส้นสีแดงเข้ม)
- สายสามเสน ระยะทาง 11.3 กม. เริ่มจากบางซื่อ ไปตามถนนสามเสน เข้าถนนราชินี ออกมาเยาวราช เข้าถนนพระราม 4 และไปสิ้นสุดที่คลองเตย (เส้นสีแดงรวมกับเส้นสีน้ำเงิน)
- สายดุสิต ระยะทาง 11.5 กม. เริ่มจากถนนสามเสนน่าจะเป็นบริเวณแยกซังฮี้ มาตามถนนสามเสน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพิษณุโลก จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนนครสวรรค์ ออกถนนจักรพรรดิพงษ์ เข้าถนนวรจักร และมาสิ้นสุดที่บริเวณจักรวรรดิ์
- สายกำแพงเมือง ระยะทาง 7.0 กม. วิ่งเป็นวงกลมไปตามถนนมหาราช ถนนพระอาทิตย์ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร และกลับมายังถนนมหาราชใหม่อีกครั้ง
- สายบางซื่อ ระยะทาง 4 กม. เริ่มต้นที่สถานีรถไฟบางซื่อ ถนนเทอดดำริ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปูนซิเมนต์ไทย ถนนเตชะวณิช ผ่านตลาดบางซื่อ วัดธรรมาภิรตาราม เลี้ยวขวาเข้าถนนทหาร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสามเสน เลี้ยวขวาเข้าซอยสามเสน 23 สุดที่ท่าเขียวไข่กา
- สายหัวลำโพง ระยะทาง 4.4 กม. เริ่มจากสถานีรถไฟหัวลำโพง มาตามถนนกรุงเกษม เลี้ยวซ้ายเข้าถนนบำรุงเมือง ไปออกถนนตะนาว และสิ้นสุดที่บางลำพู
- สายสีลม ระยะทาง 4.5 กม. เริ่มจากถนนสีลมปลายด้านถนนเจริญกรุง ไปตามถนนสีลม ออกถนนราชดำริ และไปสิ้นสุดที่ท่าเรือประตูน้ำ
- สายปทุมวัน ระยะทาง 4.5 กม. เริ่มจากสะพานกษัตริย์ศึก แยกกษัตริย์ศึก (ยศเส) ไปตามถนนพระรามที่ 1 มาบุญครอง สยาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชดำริ ผ่านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ สิ้นสุดทางที่ท่าเรือประตูน้ำ
- สายสุโขทัย ระยะทาง 0.6 กม. น่าจะเริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงสุดถนนสุโขทัย เลี้ยวขวาเข้าถนนขาวและเลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชวิถี สิ้นสุดที่ถนนสามเสนตรงแยกซังฮี้
- สายอัษฏางค์ ระยะทาง 0.5 กม. เริ่มจากบริเวณท่าเรือราชินีมายังถนนพระพิพิธ
- สายราชวงศ์ ระยะทาง 0.5 กม. เริ่มจากท่าน้ำราชวงศ์มาบรรจบถนนเจริญกรุง
รถไฟไทย
แก้ทางรถไฟของประเทศไทย
แก้- ทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย คือ ทางรถไฟสายปากน้ำ (ไม่ใช่ สายกรุงเทพ-นครราชสีมา)
- ทางรถไฟสายสวรรคโลก เป็นทางรถไฟสายย่อยของทางรถไฟสายเหนือ ที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา มีระยะทาง 29 กม. และมีจำนวน 7 สถานี
สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทย
แก้มีทั้งหมด 15 ชุมทาง ประกอบด้วย
- กรุงเทพมหานคร
- ภาคกลาง
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว จังหวัดสระบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี พระนครศรีอยุธยา
- สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี
- ภาคเหนือ
- สถานีรถไฟชุมทางเด่นชัย จังหวัดแพร่
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา
- ภาคใต้
- สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่
แก้สายเหนือ
แก้ช่วงลพบุรี–ปากน้ำโพ
แก้- ระยะทางทั้งหมด 148 กิโลเมตร โดยมีทางรถไฟยกระดับที่ยาวที่สุดในประเทศไทย (ระยะทาง 19 กิโลเมตร) [4] จากสถานีรถไฟลพบุรี ไปยัง สถานีรถไฟปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ปัจจุบันความคืบหน้า 87%)
ช่วงเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ
แก้- สายชุมทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เริ่มต้นจากสถานีรถไฟเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ผ่านจังหวัดพะเยา และปลายทางที่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยจะมีอุโมงค์รถไฟทั้งสิ้น 4 จุด คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2571 ความก้าวหน้ารวมทั้งโครงการ ณ สิ้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 = 9.4% (เร็วกว่าแผน 0.2%)[5]
ช่วงนครสวรรค์–แม่สอด
แก้- สายชุมทางนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด เริ่มต้นจากสถานีรถไฟปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ไปยัง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
- สายชุมทางนครสวรรค์-บ้านไผ่ (เชื่อมต่อกับสายตะวันออกเฉียงเหนือ)
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้ช่วงมาบกะเบา–ชุมทางถนนจิระ
แก้ระยะทาง 135 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 สถานีรถไฟมาบกะเบา - สถานีรถไฟคลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กิโลเมตร โดยมีอุโมงค์ทางรถไฟ ดังนี้
- มาบกระเบา - หินลับ เป็นอุโมงค์คู่ทางเดี่ยว ยาว 5,850 เมตร (ยาวที่สุดในประเทศไทย)
- มวกเหล็ก เป็นอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ ยาว 265 เมตร
- สถานีรถไฟคลองขนานจิตร - เขื่อนลำตะคอง เป็นอุโมงค์คู่ทางเดี่ยว ยาว 1,150 เมตร
ทางรถไฟยกระดับ ยาว 5 กิโลเมตร และมีเสาตอม่อรถไฟที่สูงที่สุดในประเทศไทย 50 เมตร
ช่วงที่ 2 สถานีรถไฟคลองขนานจิตร - สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กิโลเมตร (ยังไม่ก่อสร้าง อยู่ระหว่างปรับแบบก่อสร้าง ในพื้นที่เขตอำเภอเมืองนครราชสีมา)
ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น
แก้เปิดให้บริการแล้ว
ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
แก้เตรียมเสนอ ครม.
ช่วงขอนแก่น-หนองคาย
แก้ครม.อนุมัติแล้ว เตรียมการประมูล
- รถไฟทางคู่สายใหม่ ระยะทาง 355 กิโลเมตร
- จำนวนสถานี: 18 สถานี 12 ป้ายหยุดรถ
- ผ่าน 6 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม (สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพ 3)
- คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2570
- ความเร็วรองรับสูงสุด: 160 กม./ชม.
- มูลค่าโครงการ: 55,458 ล้านบาท
สายใต้
แก้ช่วงนครปฐม - หัวหิน
แก้ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์
แก้ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร
แก้คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567
อุโมงค์ทางรถไฟลอด
แก้อุโมงค์ทางรถไฟลอดของไทยมีทั้งหมด 7 แห่ง ดังนี้
- อุโมงค์ขุนตาน เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 1,352.10 เมตร ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ระหว่างอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
- อุโมงค์พระพุทธฉาย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดที่ยาวเป็นอันดับที่ 2 และเป็นอุโมงค์เพียงแห่งเดียวในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก มีความยาวรองจากอุโมงค์ขุนตาน ตัวอุโมงค์ยาว 1,197 เมตร ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟบุใหญ่ กับสถานีรถไฟวิหารแดง ในเขตตำบลพระฉาย อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
คิฮะ 183
แก้คิฮะ 183 ซีรีส์ จำนวน 17 คันได้รับบริจาคจากประเทศญี่ปุ่น โดย 3 คันได้บูรณะเสร็จในเดือนกันยายน 2565 และเริ่มให้บริการปลายปี 2565
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
แก้- ใช้โครงสร้างร่วมกับสายเชื่อมสนามบิน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง และสายเหนือ ช่วงดอนเมือง - บ้านภาชี (อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) โดยทางวิ่งจะยกระดับที่ความสูง 20 เมตรตลอดเส้นทางดังกล่าวนี้ แบ่งช่วงการก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
- ช่วงสถานีกลางบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทาง 11.83 กิโลเมตร (ก่อสร้างโดยบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด)
- ช่วงดอนเมือง - นวนคร ระยะทาง 21.80 กิโลเมตร
- ช่วงนวนคร - บ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 23 กิโลเมตร
- ช่วงบ้านโพ - พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร
- ช่วงพระแก้ว - สระบุรี ระยะทาง 31.6 กิโลเมตร
- ช่วงสระบุรี - แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กิโลเมตร
เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งเชื่อมระหว่างสามสนามบิน คือ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มีอายุสัมปทาน 50 ปี มีการเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อาจมีการย้ายตำแหน่งของบางสถานีทำให้ต้องจัดทำรายงาน EIA ฉบับใหม่ ทำให้มีผลกระทบต่องานก่อสร้าง และการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับผู้รับสัมปทานยังไม่ครบถ้วน โดยเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” จะสร้างเสร็จใน 5 ปี เดิมจะเปิดบริการในปี พ.ศ. 2569 ส่วนเฟสที่สองช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะพร้อมเปิดบริการในปี พ.ศ. 2571[6]
- ความคืบหน้า
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567 อยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญา โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะส่งให้ ครม.อนุมัติในวันที่ 29 ต.ค.2567[7]
แม่แบบ:ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร
แก้การมองเห็นเริ่มต้นของแม่แบบนี้ ปัจจุบันมีค่าเริ่มต้นเป็น autocollapse
หมายความว่า หากมีวัตถุอื่นที่มีคุณลักษณะยุบได้วางอยู่ในหน้า (navbox, sidebar หรือตารางที่ยุบได้) แม่แบบนี้จะถูกซ่อนให้เหลือแต่แถบชื่อเรื่อง หากไม่มี ก็จะสามารถเห็นได้ทั้งหมด
ในการตั้งค่าการมองเห็นเริ่มต้นของแม่แบบนี้ ให้ใช้พารามิเตอร์ |state=
ดังนี้
{{ยุทธนาสาระขันธ์|state=collapsed}}
จะแสดงแม่แบบนี้ในสภาพยุบ กล่าวคือ ถูกซ่อนให้เหลือแต่แถบชื่อเรื่อง{{ยุทธนาสาระขันธ์|state=expanded}}
จะแสดงแม่แบบนี้ในสภาพขยาย กล่าวคือ สามารถเห็นได้ทั้งหมด
อ้างอิง
แก้- ↑ รอบีอาร์ทีโฉมใหม่ใช้รถเมล์ไฟฟ้าติด GPS ขยายไปถึง MRT ลุมพินี
- ↑ 2.0 2.1 เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูล. "ประวัติรถราง". เมืองไทยในอดีต. พระนคร : วัฒนาพานิช, 2503.
- ↑ "นิตยสารสกุลไทย - สะพานเก่าในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-02.
- ↑ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ
- ↑ รถไฟทางคู่เด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ
- ↑ รถไฟไทย-จีน VS ไฮสปีด CP สายไหนจะสร้างเสร็จก่อนกัน
- ↑ แก้สัญญา 'ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน' ฉลุย รฟท.เล็งลงนาม CP ธ.ค.นี้