สถานีมักกะสัน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สถานีมักกะสัน (อังกฤษ: Makkasan Station, รหัส: A6) หรือ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง เป็นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แบบยกระดับ ในเส้นทางสายซิตี้เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในพื้นที่ถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง) แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สถานีแห่งนี้เป็นสถานีเดียวในระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่มีจอแสดงผลข้อมูลเที่ยวบินตรงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิติดตั้งอยู่ และในอนาคตจะยังเป็นสถานีของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
มักกะสัน A6 Makkasan | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาคารสถานีมักกะสัน | |||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°45′4″N 100°33′40″E / 13.75111°N 100.56111°E | ||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | เอเชีย เอรา วัน (AERA1) | ||||||||||||||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 4 ชานชาลาต่างระดับ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 4 | ||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | เพชรบุรี อโศก | ||||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่จอดรถ | 500 คัน | ||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | A6 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 | ||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่ตั้ง
แก้บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก ถัดจากสถานีรถไฟมักกะสัน และสถานีราชปรารภ บริเวณจุดตัดถนนกำแพงเพชร 7 กับถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง) ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ในพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี
แก้U4 ชานชาลา | ||||
ชานชาลา 1 | สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ | |||
ชานชาลา 3 | เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน | ไม่ได้ใช้งาน | ||
ชานชาลา 4 | เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน | ไม่ได้ใช้งาน | ||
ชานชาลา 2 | สายซิตี้ มุ่งหน้า พญาไท | |||
U3 ชั้นขาออก |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ศูนย์บริการผู้โดยสาร, สถานีตำรวจรถไฟสุวรรณภูมิ เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, จุดตรวจบัตรโดยสารการบิน, จุดจำหน่ายบัตรโดยสารการบิน สายซิตี้ ทางออก 1-4, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, เพชรบุรี |
||
U2 ชั้นขาเข้า |
- | ทางออกสำหรับผู้โดยสาร HSR สายเชื่อมสนามบิน, จุดรับส่งผู้โดยสาร, ร้านค้า, ห้องกิจกรรม City Terminal Hall | ||
G ระดับถนน |
- | ทางออก 1-2, จุดรับส่ง (Drop-Off), ลานจอดรถยนต์ | ||
B ชั้นใต้ดิน |
- | ลานจอดรถยนต์ |
ในแผนเดิมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีมักกะสันจะเชื่อมต่อกับสถานีเพชรบุรีของรถไฟฟ้ามหานครที่ชั้น UB ของตัวอาคาร แต่เนื่องจากเมื่อสำรวจเส้นทางแล้ว พบว่าเส้นทางดังกล่าว มีท่อส่งน้ำมันของปตท. ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก ท่อน้ำประปาของการประปานครหลวง และท่อน้ำทิ้งลงคลองแสนแสบของกรุงเทพมหานคร ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรื้อย้ายจากจุดเดิมเพื่อก่อสร้างสถานีเพชรบุรี ขวางอยู่จึงทำให้การขุดเจาะทางเชื่อมเข้าตัวสถานีรถไฟฟ้ามหานครไม่สามารถทำได้ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้เปลี่ยนแผนจากเดิมมาเป็นการก่อสร้าง Skywalk ระยะทาง 166 เมตร จากชั้น U3 ของสถานีฝั่งสายซิตี้ ไปสิ้นสุดที่สถานีเพชรบุรี ทางออก 1 บริเวณลานจอดแล้วจรของสถานี โดยทางเชื่อมดังกล่าวแล้วเสร็จเปิดอย่างไม่เป็นทางการวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สิ่งอำนวยความสะดวก
แก้- ลิฟต์ สำหรับผู้พิการและผู้โดยสาร จากชั้นใต้ดินและชั้นลานจอดรถ ไปยังชั้นผู้โดยสารขาออกและผู้โดยสารขาเข้าจำนวน 2 จุด
- สะพานทางเชื่อมจากทางออก 2 ของสถานีซิตี้ไลน์ ไปยังฝั่งคอนโดมิเนียมไลฟ์ อโศก และสถานีเพชรบุรีของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน
- ลานจอดรถ 500 คัน รองรับการจอดรถทั้งระยะสั้นและระยะยาว
- พื้นที่จัดกิจกรรม ซิตี้เทอร์มินัลฮอลล์ โดยใช้ประโยชน์จากชั้นอาคารผู้โดยสารขาเข้าที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน
- เดิมมีแผนพัฒนาร้านค้าและศูนย์อาหารภายในอาคารหลัก แต่ปัจจุบันได้ยุติแผนดังกล่าว เหลือเพียงการพัฒนาร้านค้าในสถานีซิตี้ไลน์
จุดเช็คอินภายในเมือง
แก้ในช่วงแรกของการให้บริการ สถานีมีบริการเช็คอิน ผู้โดยสารที่ต้องการต่อเครื่องบินเพื่อเดินทางภายในหรือต่างประเทศ สามารถเช็คอินได้ที่จุดเช็คอิน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของทางเข้าชานชาลาสายเอกซ์เพรส ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเป็นจำนวนเงิน 150 บาท โดยผู้โดยสารจะต้องซื้อเหรียญโดยสารที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและขอรับใบเสร็จก่อน จากนั้นให้นำใบเสร็จพร้อมเอกสารไปทำการเช็คอิน ผู้โดยสารจะได้รับใบเสร็จที่ประทับตราของสายการบินเสร็จสิ้นพร้อม Boarding Pass
ปัจจุบัน จุดเช็คอินดังกล่าวได้ปิดทำการไปพร้อม ๆ กับการยุติการให้บริการสายเอกซ์เพรส โดยภายหลังการเสร็จสิ้นการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน มีแผนฟื้นฟูจุดเช็คอิน และเปิดทำการใหม่อีกครั้ง เพื่อรองรับการเช็คอินไฟลต์บินของทั้งสามท่าอากาศยาน
ทางเข้า-ออก
แก้- สถานีรถไฟธรรมดา
- 1 อาคารสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง, อาคารจอดรถ
- 2 ถนนอโศก-ดินแดง มุ่งหน้าแยกพระราม 9
- 3 ถนนอโศก-ดินแดง มุ่งหน้าแยกอโศกเพชร, ถนนกำแพงเพชร 7, คอนโดมิเนียมไลฟ์ อโศก, โรงพยาบาลผิวหนังอโศก
- 4 เพชรบุรี, ลานจอดรถสถานีเพชรบุรี, สิงห์คอมเพล็กซ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยาน
- 1 ถนนอโศก-ดินแดง, ถนนรัชดาภิเษก
- 2 ถนนจตุรทิศ, ทางพิเศษศรีรัช
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายซิตี้ | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
A1 | สุวรรณภูมิ | จันทร์ - ศุกร์ | 05:33 | 00:03 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:33 | 00:11 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
A8 | พญาไท | จันทร์ - ศุกร์ | 05:52 | 00:24 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:52 | 00:30 |
สถานีรถไฟทางไกล สถานีมักกะสัน
แก้สถานีรถไฟมักกะสัน หรือสถานีรถไฟชุมทางมักกะสัน ตั้งอยู่ที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทย
รถโดยสารประจำทาง
แก้ถนนกําแพงเพชร 7
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
556 (1) | อู่วัดไร่ขิง | ARL มักกะสัน | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
- โรงเรียนดอนบอสโกกรุงเทพฯ
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- โรงพยาบาลจักษุรัตนิน
- วัดอุทัยธาราม
- สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (รวมไปถึง สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์)
- ย่านสถานบันเทิง อาร์ซีเอ
ศูนย์การค้าและโรงแรม
แก้- โรงแรมสยาม
- โรงแรมอมารี เอเทรียม กรุงเทพฯ
- โรงแรมสวูเทล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาคารสำนักงาน
แก้- อาคาร 253 อโศก
- อาคารอโศก ทาวเวอร์
- อาคารเค ทาวเวอร์
- อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก
- อาคารบี.บี. บิวดิ้ง
- อาคาร จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เพลส
- อาคารไทยซัมมิท ทาวเวอร์
- อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์
- อาคารบางกอกทาวเวอร์
- อาคารธนภูมิ
- อาคารรสา ทู
- อาคารโอเอไอ
- อาคารดิ ออฟฟิศ แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์