สถานีสุวรรณภูมิ เป็นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในเส้นทางสายซิตี้ ซึ่งแวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เปิดใช้งานเเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ในอนาคตจะสามารถไปเชื่อมกับท่าอากาศยานดอนเมืองและสถานีกลางบางซื่อ ตามโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน[1] มีโครงการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเงิน และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู

สุวรรณภูมิ
A1

Suvarnabhumi
ป้ายสถานีฯ หลังเอราวันเข้าเป็นผู้ให้บริการ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
พิกัด13°41′39″N 100°45′04″E / 13.6942°N 100.7511°E / 13.6942; 100.7511พิกัดภูมิศาสตร์: 13°41′39″N 100°45′04″E / 13.6942°N 100.7511°E / 13.6942; 100.7511
เจ้าของบมจ.ท่าอากาศยานไทย
บจก.รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
ผู้ให้บริการเอเชีย เอรา วัน (AERA1)
สาย
ชานชาลา4
ราง4
การเชื่อมต่อท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ
รถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีA1
รหัส IATABKK
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ23 สิงหาคม พ.ศ. 2553; 13 ปีก่อน (2553-08-23)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีต่อไป
ลาดกระบัง
มุ่งหน้า พญาไท
สายซิตี้ สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

อยู่ที่ชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พื้นที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากสถานีลาดกระบัง ประมาณ 6 กิโลเมตร

แผนผังสถานี แก้

B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-2, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
ร้านค้า, ทางเชื่อมไปยังโรงแรมโนโวเทลสุวรรณภูมิ
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายซิตี้ มุ่งหน้า พญาไท
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 2 สายซิตี้ มุ่งหน้า พญาไท
ชานชาลา 3 เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้ใช้งาน
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 4 เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้ใช้งาน

ทางเข้า-ออก แก้

รถโดยสารประจำทาง แก้

ให้บริการ ที่บริเวณศูนย์ขนส่งสาธารณะ รถขสมก. สาย 555 รถเอกชน สาย 554 558

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายซิตี้
ชานชาลาที่ 1 และ 2
A8 พญาไท จันทร์ - ศุกร์ 05:30 00:02
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:30 00:08


การเชื่อมต่อระหว่างระบบ แก้

ตัวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้มีการออกแบบและวางแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมอาคารผู้โดยสารหลัก อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1,2 และอาคารผู้โดยสารรอง ซึ่งจะก่อสร้างไปพร้อมกับการก่อสร้างส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยในระยะแรกมีทั้งหมด 2 สถานี ระยะทางรวม 1 กิโลเมตร สำหรับใช้เดินทางใต้รันเวย์สนามบิน โดยจะใช้รถไฟฟ้าล้อยางแบบไร้คนขับ (Automated People Mover) วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "High-Speed Rail Linked 3 Airport Project, Thailand". Railway Technology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้