ถนนตะนาว (อักษรโรมัน: Thanon Tanao) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศาลเจ้าพ่อเสือกับแขวงเสาชิงช้า ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงบวรนิเวศ จากนั้นตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่ทางแยกคอกวัว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบวรนิเวศกับแขวงตลาดยอด จนไปจรดแยกที่ถนนบวรนิเวศน์ ถนนสิบสามห้าง และถนนตานีบรรจบกัน

ถนนตะนาว
Bangkok Thailand Street Close to Kao San Road.JPG
ถนนตะนาวช่วงบางลำพู ใกล้ถนนข้าวสาร
ประวัติ
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ สี่กั๊กเสาชิงช้า ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  ทางแยกคอกวัว ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปลายทางทิศเหนือ ถนนตานี ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

แต่เดิมถนนตะนาวเป็นส่วนหนึ่งของถนนเฟื่องนครซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406–2407 มีการสันนิษฐานว่าชื่อถนนตะนาวน่าจะตั้งตามชาวตะนาวศรีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้มาตั้งถิ่นฐาน เรียกกันว่า "ถนนบ้านตะนาวศรี" "ถนนบ้านตะนาว" หรือ "ถนนตะนาว"[1]

ปัจจุบัน ถนนตะนาวเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับความนับถือแม้กระทั่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ[2][3] และยังเป็นแหล่งของร้านอาหารอร่อยที่ขึ้นชื่ออีกจำนวนมากเช่นเดียวกับถนนมหรรณพ, แพร่งภูธร และแพร่งนรา ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาและเย็นตาโฟ ราดหน้าและหมูสะเต๊ะ กวยจั๊บ เผือกทอด ข้าวเหนียวมะม่วง บางร้านยังเป็นร้านที่ได้รับการแนะนำหรือบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์อีกด้วย[4]

สถานที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ลัดเลาะเลียบย่าน "ถนนตะนาว" เดินดูตึกเก่า ไหว้พระ ไหว้เจ้า ชิมของอร่อย". ผู้จัดการออนไลน์. 10 เมษายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2017.
  2. Sazabiz (26 กันยายน 2015). "ศาลเจ้าพ่อเสือ". thaihrhub. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2018.
  3. "SHRINES AND RELIGIOUS PLACES - Chao Pho Sua Shrine". P-Lepetit.com / Asiaphotos.org. 2015.
  4. "ก. พานิช". มิชลินไกด์. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′20″N 100°29′56″E / 13.755692°N 100.499014°E / 13.755692; 100.499014