สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สถานีรถไฟหลักของประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก สถานีบางซื่อ)

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (อังกฤษ: Krung Thep Aphiwat Central Terminal Station) ชื่อเดิมคือ สถานีกลางบางซื่อ (อังกฤษ: Bang Sue Grand Station) เป็นสถานีรถไฟหลักในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ตั้งเป้าให้เป็นสถานีกลางแห่งใหม่ของประเทศไทยทดแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เดิมที่จะยกเลิกลงเหลือเพียงสถานีรายทางของรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ตัวสถานีตั้งอยู่ใจกลางศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่แขวงจตุจักร ใกล้กับศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ถือเป็นสถานีรถไฟกลางที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชานชาลามากถึง 26 ชานชาลา และเมื่อเปิดบริการครบทุกเส้นทางสถานีแห่งนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย และของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรุงเทพอภิวัฒน์

Krung Thep Aphiwat
สถานีฯ เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นสถานีกลางบางซื่อ
ที่ตั้ง336 ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°48′18″N 100°32′30″E / 13.80500°N 100.54167°E / 13.80500; 100.54167
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บนดิน)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ใต้ดิน)
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ชานเมือง)
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สายการรถไฟแห่งประเทศไทย รถไฟฟ้า สายสีแดง รถไฟฟ้ามหานคร
ชานชาลา26
ทางวิ่ง38
การเชื่อมต่อ บางซื่อ
รถโดยสารประจำทาง
แท็กซี่ / มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถ1,624 คัน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
สถานะรถไฟทางไกลทุกสาย ยกเว้นสายตะวันออก[1]
รหัสสถานี
  • KTW
  • กภ. (รถไฟระหว่างเมือง)
  • RN01, RS01 (สายสีแดงเข้ม)
  • RW01, RE01 (สายสีแดงอ่อน)
  • A9, HE02 (AERA1)
  • BL11 (สายสีน้ำเงิน)
ประเภทสถานีระดับที่ 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ2 สิงหาคม พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-08-02)
(สายสีแดงเข้ม)[2]
19 มกราคม พ.ศ. 2566; 19 เดือนก่อน (2566-01-19)
(รถไฟระหว่างเมือง)[1]
ติดตั้งระบบไฟฟ้า25 kV 50 Hz เหนือหัว
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายสีแดงอ่อน บางซ่อน
มุ่งหน้า ตลิ่งชัน
สายสีแดงเข้ม จตุจักร
มุ่งหน้า รังสิต
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายเหนือ ดอนเมือง
มุ่งหน้า เชียงใหม่
สายตะวันออกเฉียงเหนือ ดอนเมือง
สายใต้ บางบำหรุ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
กำแพงเพชร
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน
เชื่อมต่อที่ บางซื่อ
เตาปูน
มุ่งหน้า ท่าพระ
ที่ตั้ง
แผนที่

นาม กรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการสถานีกลางบางซื่อ มีความหมายว่า "ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร"[3]

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเริ่มให้บริการแก่บุคลากรภายในกระทรวงคมนาคมก่อน ก่อนจะเริ่มให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนตั้งแต่ 7 มิถุนายน จากนั้นได้เริ่มทดลองให้บริการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ก่อนเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน และเริ่มให้บริการรถไฟระหว่างเมืองตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เมื่อเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้วจะรองรับรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทยทุกเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ระบบรถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รวม 24 ชานชาลา อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง - สิงคโปร์ [en] ในเส้นทางหลัก ที่เป็นเส้นทางรถไฟจากสถานีรถไฟคุนหมิง ประเทศจีน ไปยังสถานีรถไฟจูรงตะวันออก ประเทศสิงคโปร์ โดยผ่านสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถานีชุมทางในการเปลี่ยนสายระหว่างช่วง กรุงเทพฯ - ลาว - จีน (สายอีสาน) และกรุงเทพฯ - มาเลเซีย - สิงคโปร์ (สายใต้)

อาคารสถานี

แก้

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2564 ใช้งบประมาณในย่านสถานีทั้งสิ้น 34,142 ล้านบาท[4] อาคารสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวม 274,192 ตารางเมตร (ไม่รวมพื้นที่สถานีใต้ดิน)[4] ออกแบบภูมิสถาปัตย์โดย บริษัท ดีไซน์ คอนเซปท์ จำกัด

ประกอบด้วย 26 ชานชาลา เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย 24 ชานชาลา และของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 2 ชานชาลา

อาคารสถานีมีทั้งหมด 7 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน ชั้นใต้ดิน 2 ชั้นฝั่งใต้เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานคร ชั้นใต้ดินส่วนที่เหลือ 1 ชั้นเป็นลานจอดรถใต้ดิน ชั้นเหนือพื้นดินทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนบริการรถไฟ และส่วนบริการผู้โดยสาร สำหรับส่วนบริการรถไฟ ชั้นระดับดินเป็นห้องจำหน่วยตั๋วและโถงพักคอยผู้โดยสาร ชั้นที่สองให้บริการรถไฟรางหนึ่งเมตร ชั้นที่สามให้บริการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และส่วนบริการผู้โดยสาร ประกอบด้วยชั้นระดับดินเป็นโถงต้อนรับ พื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสารสำหรับรถไฟทางไกล และศูนย์อาหาร ชั้นลอยเป็นร้านค้า และชั้น 3 เป็นพื้นที่สำนักงาน ประกอบด้วยสำนักงานใหญ่ของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟที่ใช้ทางร่วม สำนักงานบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่รองรับแขกวีไอพี

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์จะแตกต่างจากสถานีกรุงเทพเดิมเนื่องจากถูกออกแบบให้เป็นสถานีระบบปิด ผู้โดยสารที่ไม่มีตั๋วโดยสารรถไฟจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่พื้นที่ผู้โดยสารขาออกของสถานี (พื้นที่ส่วนบริการรถไฟบริเวณทิศเหนือของสถานี) ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543

ประวัติ

แก้
 
แผนที่ที่ตั้งแสดงอยู่ภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

ในปี 2536-2537 รัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้มีการจ้างวานบริษัทที่ปรึกษาในการศึกษาความเป็นไปได้ของรถไฟความเร็วสูง ประกอบไปด้วยบริษัท วิลเบอร์สมิธแอสโซซิเอทส์ อิงค์ , บริษัททรานมาร์ค จำกัด , บริษัท เอเซี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอลซัลแตนส์ จำกัด , บริษัท ทีมคอลซันติ้ง เอนจิเนียร์ จำกัด ผลการศึกษาพบว่าควรสร้างสายกรุงเทพ-หนองงูเห่า-ระยอง โดยให้เหตุผลว่าความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและช่วยสนับสนุนพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้มีการอนุมัติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โดยตั้งพื้นที่ห้วยขวางเป็นสถานีกลางกรุงเทพ[5] เชื่อมกับโครงการโฮปเวลล์ และเชื่อมกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน [6]โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบ และดำเนินการหาเอกชนมาร่วมลงทุน แต่โครงการถูกชะงักเพราะเกิดการยุบสภา ปัจจุบันพิ้นที่โครงการรถไฟสายกรุงเทพ-หนองงูเห่า-ระยอง[7] คือกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ [8]ก่อนที่จะมีการปรับสถานีกลางกรุงเทพเป็นสถานีกลางบางซื่อตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 22 พฤษภาคม 2550 ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ [9] โดยที่พื้นที่สถานีกลางกรุงเทพเดิม ปัจจุบันถูกใช้ประโยชน์เป็นที่ทำการใหญ่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

ในคราวการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เมื่อ พ.ศ. 2552 ได้ออกแบบให้มีการก่อสร้างทางยกระดับบางส่วนสำหรับเข้าสถานีกลางบางซื่อ แต่ครั้งนั้นยังไม่อนุมัติให้มีการก่อสร้างตัวสถานี เนื่องจากปัญหาการบุกรุกพื้นที่ และความไม่ชัดเจนในการออกแบบตัวสถานี ทำให้มีการโยกงานติดตั้งเสาจ่ายไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า (OCS) ทั้งหมดไปรวมกับสายสีแดงเข้ม เพื่อเปลี่ยนระบบเป็นระบบไฟฟ้าในคราวเดียว จึงทำให้โครงการถูกทิ้งร้าง ไม่ได้มีการใช้งานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2553 ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติในหลักการ สถานีกลางบางซื่อ โดยถูกเสนอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ชั้นที่ 1 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟทางไกล ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ส่วนต่อขยาย (ช่วงพญาไท-บางซื่อ) แต่ในปีเดียวกันเกิดการยุบสภา โครงการจึงหยุดชะงักลง

ต่อมาในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงนามในสัญญาก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และ โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556[10] โดยเริ่มเปิดพื้นที่การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556 หลังเริ่มก่อสร้างเพียงไม่นาน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) สั่งการให้ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงและปรับแบบทางวิ่งช่วงบางซื่อ-รังสิต จาก 3 ทางเป็น 4 ทางเพื่อให้รถไฟทางไกลสามารถวิ่งสวนกันได้โดยไม่ต้องจอดรอหลีก,ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาล่าช้าของขบวนรถ และไม่จำเป็นต้องใช้ห่วงทางสะดวก[11] อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการยุบสภาของคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในปลายปี 2556 [12][13] ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมทั้งโครงการล่าช้าไปอย่างน้อยครึ่งปี

บริษัท ขนส่ง จำกัด เคยมีแนวคิดจะย้ายขนส่งหมอชิตมาอยู่ที่ขนส่งรังสิต [14]เพื่อคืนพื้นที่ให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสร้างสถานีกลางบางซื่อ แต่ภายหลังพบว่าต้องใช้งบประมาณราว 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบที่สูงเกินเท่าตัว บริษัท ขนส่ง จำกัด จึงปรับพื้นที่ใหม่ลดจาก 90 ไร่เป็น 50 ไร่เพื่อนำพื้นที่บางส่วนใช้เป็นสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงปรับแบบการก่อสร้างสถานีเดินรถจากความสูง 5 ชั้นเหลือเพียง 2 ชั้น[15][16]

ในสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 สถานีกลางบางซื่อเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงก่อนเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เริ่มให้บริการแก่บุคลากรภายในกระทรวงคมนาคมก่อน ก่อนจะเริ่มให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนตั้งแต่ 7 มิถุนายน[17] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 เป็นสถานที่จัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 20 เพื่อเป็นการฉลองการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครบรอบ 50 ปี และครบรอบ 125 ปีการรถไฟแห่งประเทศไทย [18] และในวันที่ 29 กันยายน ปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามแก่สถานีนี้ว่า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยมีความหมายถึง "ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร"[3] พร้อมกับทางพิเศษประจิมรัถยา ซึ่งมีความหมายถึง "เส้นทางไปยังทิศตะวันตก"[19]

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เริ่มให้บริการรถไฟครั้งแรกในการเปิดอย่างไม่เป็นทางการของรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564[20] ก่อนเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน[21] และเริ่มทำการย้ายรถไฟระหว่างเมืองในกลุ่มขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ของสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมจำนวน 52 ขบวน จากสถานีกรุงเทพ มาเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[22] ส่วนรถไฟในกลุ่มขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยว จำนวน 62 ขบวน ยังคงเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามเดิม[5]

ศูนย์การขนส่ง

แก้

บริการขบวนรถไฟ

แก้

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ให้บริการขบวนรถดังต่อไปนี้

เชื่อมต่อบริการขบวนรถไฟ

แก้

สายต่อไปนี้มีสถานีที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

แผนผังสถานี

แก้
U3
ชั้นชานชาลาบน
(สแตนดาร์ดเกจ)

(ยังไม่เปิดใช้งาน)
ชานชาลา 24 HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 23 HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี
ชานชาลา 22 HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 21 HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี
ชานชาลา 20 HSR เหนือ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 19 HSR เหนือ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่
ชานชาลา 18 เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 17 เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา
ชานชาลา 16 เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 15 เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา
ชานชาลา 14 สายซิตี้ และ เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน มุ่งหน้า ดอนเมือง
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 13 สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ
เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน มุ่งหน้า อู่ตะเภา
พื้นที่รับรองพิเศษ
และสำนักงาน
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด, บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (สำนักงานบริหารโครงการ),
สำนักงานบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง, ห้องรับรองแขกคนสำคัญ, สำนักงานบริหารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
U2
ชั้นชานชาลาล่าง
(มีเตอร์เกจ)
ชานชาลา 12 สายใต้ สถานีปลายทาง
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 11 สายใต้ สถานีปลายทาง
ชานชาลา 10 สายสีแดงอ่อน สถานีปลายทาง
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ทางลงเชื่อม สายสีแดงเข้ม
ชานชาลา 9 สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า ตลิ่งชัน
ชานชาลา 8 สายใต้ มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 7 สายใต้ มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก
ชานชาลา 6 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีปลายทาง
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 5 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีปลายทาง
ชานชาลา 4 สายสีแดงเข้ม สถานีปลายทาง
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ทางลงเชื่อม สายสีแดงอ่อน
ชานชาลา 3 สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า รังสิต
ชานชาลา 2 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ เชียงใหม่, อุบลราชธานี หรือ เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 1 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ เชียงใหม่, อุบลราชธานี หรือ เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
ร้านค้า ร้านค้า, ร้านอาหาร, ภัตตาคาร
G
ระดับถนน
ทางออกถนนเทอดดำริ ป้ายรถประจำทาง,   บางซื่อ ทางออก 1-2 และ 3B
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
เชื่อมต่อ ชุมทางบางซื่อ
ทางออก W ประตู 5-13, ป้ายรถประจำทาง ทางไป ชุมทางบางซื่อ
โถงผู้โดยสาร โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร , ร้านค้า
  บางซื่อ ทางออก 3A
ทางออก E ประตู 1-4, ป้ายรถประจำทาง, ถนนเวียนเข้าลานจอดรถ, ทางขึ้นทางพิเศษศรีรัช
B1
ลานจอดรถใต้ดิน
ที่จอดรถชั้นใต้ดิน 1,100 คัน
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
(รถไฟฟ้ามหานคร)
ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารและทางออกเอสซีจี, ทางออก 1-3, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชั้นชานชาลาใต้ดิน
(รถไฟฟ้ามหานคร)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย

สถานีเชื่อมต่อ

แก้

สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ

แก้
ชุมทางบางซื่อ
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา4
ทางวิ่ง4
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1007 (บซ.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2441; 126 ปีที่แล้ว (2441)
ปิดให้บริการ15 สิงหาคม พ.ศ. 2559; 8 ปีก่อน (2559-08-15)
(บางซื่อ 1)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สามเสน สายเหนือ ดอนเมือง
มุ่งหน้า พิษณุโลก
สายตะวันออกเฉียงเหนือ ดอนเมือง
มุ่งหน้า สุรินทร์
สายใต้ บางบำหรุ

สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีชุมทางรถไฟ ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้ ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเหลือเพียงขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมืองที่มีปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) จะหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีนี้[25]

สถานีรถไฟบางซื่อเปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2441 โดยเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยระหว่างสถานีกรุงเทพ – อยุธยา[26] ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2470 ได้กลายเป็นชุมทางของรถไฟสายเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ หลังจากมีการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีบางซื่อกับสถานีตลิ่งชันด้วยสะพานพระราม 6 หลังจากนั้น พ.ศ. 2532 บางซื่อถูกแยกออกเป็นสองสถานีรถไฟ อาคารเดิมเปลี่ยนชื่อเป็น "บางซื่อ 1" เพื่อให้บริการขบวนรถสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอาคารใหม่ "บางซื่อ 2" ใช้ให้บริการขบวนรถสายใต้ ระยะห่างระหว่างอาคารห่างกันประมาณ 200 เมตร อาคารสถานีบางซื่อ 1 ปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ ขณะที่รถไฟทุกสายในปัจจุบันใช้บริการที่อาคารสถานีบางซื่อ 2 ซึ่งยังคงเปิดดำเนินการอยู่[27]

แผนผังสถานี
ระดับดิน ทางออกถนนเทอดดำริ ป้ายรถประจำทาง,   บางซื่อ ทางออก 1-2
ราง 1 สายใต้ มุ่งหน้า สุพรรณบุรี หรือ สวนสนประดิพัทธ์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ราง 2 สายใต้ มุ่งหน้า กรุงเทพ (หัวลำโพง)
ราง 3 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า พิษณุโลก หรือ สุรินทร์
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ราง 4 สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า กรุงเทพ (หัวลำโพง)
ทางออกถนนกำแพงเพชร เชื่อมต่อ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีบางซื่อ

แก้
 
ชานชาลาสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน
 
ทางเข้าสถานีรถไฟฟ้ามหานคร

สถานีบางซื่อ (อังกฤษ: Bang Sue Station, รหัส BL11) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ดำเนินการโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริเวณชั้นใต้ดินของสถานีกลางบางซื่อในลักษณะแนวตัดขวาง

สถานีบางซื่อ เปิดให้บริการเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นปลายทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินในระยะแรก จนถึงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินส่วนที่ 1 บางซื่อ-เตาปูน ทำให้สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อสิ้นสุดการเป็นสถานีปลายทาง และเมื่อวันที่ 4 และ 23 ธันวาคม พ.ศ 2562 รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ได้เปิดทดลองให้บริการส่วนที่ 3 เตาปูน-สิรินธร และสิรินธร-ท่าพระตามลำดับ

สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
กำแพงเพชร
มุ่งหน้า หลักสอง ผ่าน หัวลำโพง
สายสีน้ำเงิน เตาปูน
มุ่งหน้า ท่าพระ

ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน

แก้

ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน หรือ ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนรางมากกว่า 50 ราง เป็นย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ รวมความยาว (ตามแนวเส้นทาง) ถึง 4 กม. เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของประเทศไทย อยู่ห่างจากตัวอาคารสถานีรถไฟไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 1.5 กิโลเมตร

โรงรถจักรดีเซลกลางบางซื่อ

แก้

โรงรถจักรดีเซลกลางบางซื่อ เป็นโรงซ่อมบำรุงและโรงจอดรถจักรดีเซลที่ใช้ในการลากขบวนรถไฟ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟไปตามแนวเส้นทางในระยะประมาณ 1.5 กิโลเมตร นอกจากที่กลางบางซื่อแล้ว ยังมีโรงรถจักรที่ สถานีรถไฟธนบุรี สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟนครลำปาง สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และ สถานีรถไฟชุมพร

ตารางเวลาเดินรถ

แก้

รถไฟฟ้า

แก้
 
ขบวนรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม จอดที่ชานชาลาสถานีกลางบางซื่อ
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีแดงเข้ม[28]
ชานชาลาที่ 3 และ 4
RN10 รังสิต ทุกวัน 05:00 24:00
สายสีแดงอ่อน[28]
ชานชาลาที่ 9 และ 10
RW06 ตลิ่งชัน ทุกวัน 05:00 24:00
สายสีน้ำเงิน[29]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง
(ผ่านหัวลำโพง)
จันทร์ – ศุกร์ 05:58 23:33
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:33
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ จันทร์ – ศุกร์ 05:54 00:05
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 00:05
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:18

เที่ยวขึ้น

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ21 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10 06.10 อุบลราชธานี 14.00
ร135 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10 07.10 อุบลราชธานี 18.00
ร111 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30 07.30 เด่นชัย 16.30
ดพ43 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30 07.30 สุราษฎร์ธานี 16.20
ด75 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.45 08.45 หนองคาย 17.30
ดพ7 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05 09.05 เชียงใหม่ 19.30
ด71 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.35 10.35 อุบลราชธานี 19.50
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 14.15 เชียงใหม่ 04.05
ร171 กรุงเทพอภิวัฒน์ 15.10 15.10 สุไหงโก-ลก 10.10
ดพ37 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 16.10 สุไหงโก-ลก 10.35
ดพ45 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 16.10 ปาดังเบซาร์ 08.05
ดพ31 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.50 16.50 ชุมทางหาดใหญ่ 07.05
ร169 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.30 17.30 ยะลา 11.05
ดพ9 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.40 18.40 เชียงใหม่ 07.15
ด83 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.50 18.50 ตรัง 08.15
ร139 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.25 19.25 อุบลราชธานี 06.15
ด85 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.50 19.50 นครศรีธรรมราช 09.40
ดพ13 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.05 20.05 เชียงใหม่ 08.40
ดพ25 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25 20.25 หนองคาย 06.25
ร167 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.30 20.30 กันตัง 11.25
ร107 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.45 20.45 เด่นชัย 05.15
ดพ23 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.05 21.05 อุบลราชธานี 06.35
ร173 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.10 21.10 นครศรีธรรมราช 10.15 งดเดินรถ
ร133 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.25 21.25 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 09.05
ร105 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.45 21.45 ศิลาอาสน์ 05.15 งดเดินรถ
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 22.30 เชียงใหม่ 12.10
ดพ39 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.50 22.50 สุราษฎร์ธานี 07.50
ดพ41 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.50 22.50 ยะลา 13.40 งดเดินรถ
ร141 กรุงเทพอภิวัฒน์ 23.05 23.05 อุบลราชธานี 10.20
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า
ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางบางซื่อ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช303 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04.15 04.33 ลพบุรี 07.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช339 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.05 05.24 ชุมทางแก่งคอย 08.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ261 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.20 09.40 สวนสนประดิพัทธ์ 14.00
ธ201 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.30 09.50 พิษณุโลก 17.55
ธ209 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.15 11.33 บ้านตาคลี 15.40
ธ233 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.30 11.52 สุรินทร์ 20.00
ธ211 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.55 13.15 ตะพานหิน 19.15
ธ207 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.10 16.51 นครสวรรค์ 19.35
ช301 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.30 16.51 ลพบุรี 19.40
ช355 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.40 17.02 สุพรรณบุรี 20.04
ช341 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.00 17.22 ชุมทางแก่งคอย 20.00
ช317 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.30 17.51 ลพบุรี 20.20 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช313 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.20 18.41 ชุมทางบ้านภาชี 20.30 ยกเว้นวันหยุดราชการ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวล่อง

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ44 สุราษฎร์ธานี 18.25 03.45 กรุงเทพอภิวัฒน์ 03.45
ร142 อุบลราชธานี 17.35 04.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.10
ร108 เด่นชัย 19.05 04.30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.30
ร174 นครศรีธรรมราช 15.10 04.40 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.40 งดเดินรถ
ดพ24 อุบลราชธานี 19.00 04.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.50
ด52 เชียงใหม่ 15.30 05.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ร168 กันตัง 14.15 05.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ดพ26 หนองคาย 19.40 05.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.50
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 06.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ด86 นครศรีธรรมราช 16.00 06.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ดพ10 เชียงใหม่ 18.00 06.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50
ดพ42 ยะลา 15.35 06.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50 งดเดินรถ
ด84 ตรัง 17.00 07.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.05
ร140 อุบลราชธานี 20.30 07.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10
ร134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 18.25 07.30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30
ร172 สุไหงโก-ลก 12.10 07.30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30
ดพ32 ชุมทางหาดใหญ่ 17.45 08.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.10
ดพ38 สุไหงโก-ลก 14.15 09.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ดพ46 ปาดังเบซาร์ 17.00 09.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ร170 ยะลา 16.30 10.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.50
ร106 ศิลาอาสน์ 07.30 14.10 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.10 งดเดินรถ
ด72 อุบลราชธานี 05.40 14.30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.30
ด76 หนองคาย 07.45 16.35 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.35
ร112 เด่นชัย 07.30 17.20 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.20
ร136 อุบลราชธานี 07.00 17.55 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.55
ดพ40 สุราษฎร์ธานี 09.00 18.05 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.05
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 18.55 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.55
ร102 เชียงใหม่ 06.30 20.25 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ดพ22 อุบลราชธานี 14.50 22.35 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า
ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางบางซื่อ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช314 ชุมทางบ้านภาชี 04.45 06.26 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.50 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช302 ลพบุรี 04.30 07.12 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 07.35
ช356 สุพรรณบุรี 04.00 07.46 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.05
ช342 ชุมทางแก่งคอย 05.30 08.07 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.30
ช318 ลพบุรี 06.00 08.27 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.50 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ208 นครสวรรค์ 05.00 09.52 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.15
ช304 ลพบุรี 08.00 10.10 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.30
ช340 ชุมทางแก่งคอย 08.45 10.50 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.10 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ212 ตะพานหิน 05.30 11.47 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.10
ธ202 พิษณุโลก 06.05 13.42 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.05
ธ234 สุรินทร์ 05.20 14.02 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.25
ธ262 สวนสนประดิพัทธ์ 14.35 18.55 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.20
ธ210 บ้านตาคลี 16.00 20.15 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 20.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

รถประจำทางสายที่ผ่าน

แก้

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (ด้านหลัง)

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3 (1)   อู่กําแพงเพชร คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
5 (1) สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
49 (1)  สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลําโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

67 (1)   สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์   เซ็นทรัลพระราม 3 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

77 (2)   อู่สาธุประดิษฐ์   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

96 (1)   อู่มีนบุรี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
134 (2-20) (1)   อู่บัวทองเคหะ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

136 (1)   อู่คลองเตย   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
138   (1)   อู่ราชประชา   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
  ท่านํ้าพระประแดง
145 (3-18) (3)   อู่แพรกษาบ่อดิน   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

เมกาบางนา
509 (2)   อู่บรมราชชนนี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
536 (2)   อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

รถช่วยวิ่ง (เหตุการณ์รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) ตัดจอดเนื่องจากปัญหาการซ่อมบำรุง)

แก้
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
138 5
(กปด.15)
  อู่ราชประชา   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ขสมก. รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) **รถช่วยวิ่งจากสาย 15
  ท่านํ้าพระประแดง

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ

52 (1-6)  

ปากเกร็ด   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

2.รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

บจก.สมาร์ทบัส เฉพาะขาไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
104 (2-16)   ปากเกร็ด   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

2.รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

บจก.สมาร์ทบัส เฉพาะขาไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

529E (4-29E)  

แสมดำ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
170 (4-49)     อู่​บรมราชชนนี   สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
555 (S6)     สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ✈ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ราชาโร้ด

สถานีชุมทางบางซื่อ

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
50 (2)   พระราม 7 คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู

ขสมก.
65 (2) วัดปากน้ำนนทบุรี สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
67 (1)   วัดเสมียนนารี   เซ็นทรัลพระราม 3 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

70 (3) ประชานิเวศน์ 3 สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

134 (เสริมพิเศษ) (1) หมู่บ้านบัวทองเคหะ สถานีชุมทางบางซื่อ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง 1.มีเฉพาะวันธรรมดาเท่านั้น

2.ให้บริการเฉพาะตอนเช้า 1 รอบ

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ

30 (2-4)  

วัดปากน้ำนนทบุรี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส

97 (2-15)  

กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสงฆ์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
1-33   สถานีบางซื่อ บางเขน
2-17   วงกลม: สถานีบางซื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วนขวา)
วงกลม: สถานีบางซื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วนซ้าย)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Trains to most parts of Thailand now leaving from Bang Sue Grand Station". TheStar. Nov 1, 2022.
  2. "Free rides on Red Line during trial". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
  3. 3.0 3.1 "พระราชทานชื่อ รถไฟสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ "นครวิถี-ธานีรัถยา" และ "สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์"". ผู้จัดการออนไลน์. 29 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2022.
  4. 4.0 4.1 “สถานีกลางบางซื่อ” อลังการงานสร้าง ศูนย์กลางระบบรางใหญ่ที่สุดในอาเซียน ผู้จัดการออนไลน์. 18 ธันวาคม 2563
  5. 5.0 5.1 โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองงูเห่า-ระยอง
  6. https://www.nesdc.go.th/suvarnabhumi/articles_center/rapid_train_in_thailand/rapid_train_summary%20-%20january2539.pdf
  7. https://www.nesdc.go.th/suvarnabhumi/articles_center/rapid_train_in_thailand/rapid_train_summary%20-%20march2537.pdf
  8. การเข้าสู่วาระนโยบายระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย: กรณีศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงโดยใช้ตัวแบบของคิงด็อน วิทยานิพนธ์ของนายประสงค์ชัย เศรษฐสุรวิชญ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
  9. สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550
  10. “ชัชชาติ”สั่งร.ฟ.ท.เน้นระบบเชื่อมต่อสถานีบางซื่อสายสีแดง หวั่นซ้ำรอยแอร์พอร์ตลิงก์ ผู้จัดการ. 18 มกราคม พ.ศ. 2556
  11. ปรับแบบรับ'ไฮสปีด'ค่าก่อสร้างสายสีแดงพุ่ง กรุงเทพธุรกิจ. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
  12. [http://www.cabinet.soc.go.th/doc_image/2558/9931215719.pdf ที่คค (ปคร)0811.2/28 กระทรวงคมนาคม
  13. มติคณะรัฐมนตรี ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
  14. Buyers, Home. "สรุปแล้ว ย้ายบขส หมอชิตกลับที่เดิม BTS หมอชิต คาดปี 66 เปิดให้บริการ". www.home.co.th/news.
  15. ข่าวช่อง 8. "บขส.สรุปไม่ย้ายหมอชิตไปรังสิต เล็งปรับแผนใช้พื้นที่ใหม่ | ข่าวช่อง 8". www.thaich8.com.
  16. 23 (2016-10-31). "บขส.คุยรฟท.ขอปักหลักหมอชิต 2 ไม่ย้ายไปรังสิต". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  17. คมนาคมเปิดวันแรก 'ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ' รับบุคลากรขนส่งมวลชน
  18. Pafun (2022-01-17). "งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50 จัดที่สถานีกลางบางซื่อ". ประชาชาติธุรกิจ.
  19. "พระราชทานชื่อ "ประจิมรัถยา" ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ". Thai PBS.
  20. "2 ส.ค.ฤกษ์ดี นายกฯ กดปุ่มเที่ยวปฐมฤกษ์รถไฟชานเมืองสายสีแดง". ไทยโพสต์. 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "ร.ฟ.ท.เปิดผังเดินทาง รถไฟฟ้าสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "ดีเดย์ 'ศักดิ์สยาม' นำทีมเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์สถานีกลางฯ-มธ.รังสิต". ไทยโพสต์. 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. ""MRT" เปิดทางเชื่อมสถานีบางซื่อ-สถานีกลางบางซื่อ 2 ส.ค.นี้". คมชัดลึก. 2021-07-31.
  24. "Updated แผนผังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ล่าสุด จุดเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน". Thailandplus. 2023-04-11.
  25. "การรถไฟฯ กำหนดให้วันที่ 19 มกราคม 2566 ปรับเปลี่ยนขบวนรถไฟทางไกล เหนือ ใต้ อีสาน ของขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวน" [The State Railway of Thailand scheduled on January 19, 2023 to modify the long-distance trains north, south, northeast of special express trains, express trains, and fast trains in the amount of 52 trains.]. State Railway of Thailand. January 17, 2023.[ลิงก์เสีย]
  26. "State Railway of Thailand (SRT) - History". Ministry of Transport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21.
  27. "ลาชานชาลา". The Cloud. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14.
  28. 28.0 28.1 "ข้อมูลกำหนดเวลาเดินรถ กรุงเทพอภิวัฒน์". www.srtet.co.th.
  29. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.