สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา

สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟระดับ 3 ระยะทางจากกรุงเทพถึงสถานีชุมทางบ้านดารา คือ 458.31 กิโลเมตร

ชุมทางบ้านดารา

Ban Dara Junction
สถานีระดับที่ 3
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย
พิกัด17°22′57″N 100°04′58″E / 17.38250°N 100.08278°E / 17.38250; 100.08278พิกัดภูมิศาสตร์: 17°22′57″N 100°04′58″E / 17.38250°N 100.08278°E / 17.38250; 100.08278
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา2
ราง3
โครงสร้าง
ที่จอดรถมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1137 (ดร.)
ประวัติ
สร้างใหม่พ.ศ. 2511; 55 ปีที่แล้ว (2511)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ไร่อ้อย สายเหนือ ท่าสัก
มุ่งหน้า เชียงใหม่
สถานีปลายทาง สายเหนือ คลองมะพลับ
มุ่งหน้า สวรรคโลก
ชุมทางบ้านดารา
Ban Dara Junction
กิโลเมตรที่ 458.31
คลองมะพลับ
Khlong Maphlap
+8.01 กม.
ไร่อ้อย
Rai Oi
–4.33 กม.
ท่าสัก
Tha Sak
+3.49 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
Map

สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา สถานีรถไฟชุมทางแห่งแรกในภาคเหนือมีทางรถไฟเชื่อมไปยังอำเภอสวรรคโลกผ่านสถานีรถไฟคลองมะพลับ และสิ้นสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ชื่อของสถานีรถไฟมีมาพร้อม ๆ กับการตั้งชื่อตำบล เนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสทางรถไฟมาถึงสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นจุดพักรถเพื่อเติมน้ำรถจักรไอน้ำ เมื่อพระองค์ทราบว่าสถานีรถไฟนี้ยังไม่มีชื่อ จึงพระราชทานชื่อ "บ้านดารา" เป็นชื่อของสถานีรถไฟแห่งนี้ มาจากพระนามของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรแห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเรียกพระนางว่า "นางดารา" และเพื่อเป็นหมุดหมายว่ากำลังจะเข้าเขตแดนล้านนา คือเขตแดนบ้านของนางดารา ปัจจุบันชื่อดาราจึงกลายเป็นชื่อของชุมชน หมู่บ้าน และชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

ระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ แก้ไข

ประแจกลสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลาชนิดมีเสาเตือน เสาเข้าเขตใน และเสาออก (ก.3)

สถานที่ใกล้สถานีชุมทางบ้านดารา แก้ไข

  1. ที่ทำการนายตรวจทางบ้านดารา (นตท.ดร.) ส่วนสังกัดฝ่ายการช่างโยธา
  2. ที่ทำการนายตรวจสายบ้านดารา (นตส.ดร.) ส่วนสังกัดฝ่ายการอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม
  3. ตู้รถสินค้า (ตญ.) เก่า
  4. สะพานปรมินทร์ (สะพานบ้านดารา)
  5. สวนสาธารณใต้สะพานปรมินทร์
  6. ป้ายสะพานปรมินทร์เก่า ก่อนตัวสะพานจะถูกระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
  7. ลูกระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
  8. วัดบ้านดารา

ตารางเวลาการเดินรถ แก้ไข

เที่ยวล่อง แก้ไข

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางบ้านดารา ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร106 ศิลาอาสน์ 07.30 07.59 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.10
ร112 เด่นชัย 07.30 09.03 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.20
ท405 ศิลาอาสน์ 10.00 10.31 สวรรคโลก 11.00
ร102 เชียงใหม่ 06.30 12.19 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ท408 เชียงใหม่ 09.30 16.09 นครสวรรค์ 19.55
ท410 ศิลาอาสน์ 16.30 17.02 พิษณุโลก 18.10
ดพ4 ศิลาอาสน์ 19.50 20.24 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04.00 งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ร108 เด่นชัย 19.05 20.50 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.30
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

เที่ยวขึ้น แก้ไข

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางบ้านดารา ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร105 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.45 04.48 ศิลาอาสน์ 05.15
ท403 พิษณุโลก 05.55 07.05 ศิลาอาสน์ 07.40
ท407 นครสวรรค์ 05.00 08.36 เชียงใหม่ 14.35
ท406 สวรรคโลก 11.35 11.48 ศิลาอาสน์ 12.45
ร111 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30 14.51 เด่นชัย 16.30
ดพ3 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.50 17.01 ศิลาอาสน์ 19.15 งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ดพ3 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.50 18.35 ศิลาอาสน์ 19.15 งดเดินรถจากสถานการณ์โควิด-19
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 21.46 เชียงใหม่ 04.05
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

อ้างอิง แก้ไข

  1. หนังสือรถไฟสัมพันธ์ฉบับที่7 5มิ.ย.45
  2. หนังสือเส้นทางเดินรถสายเหนือ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข