สถานีกรุงเทพ
สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระรามที่ 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานคร
สถานีรถไฟกรุงเทพ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | 1 ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
พิกัด | 13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E |
เจ้าของ | ![]() |
สาย | รฟท. เหนือ (เฉพาะขบวนรถดีเซลและขบวนรถไฟชั้น 3) รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ (เฉพาะขบวนรถดีเซลและขบวนรถไฟชั้น 3) รฟท. ตะวันออก รฟท. ใต้ (เฉพาะขบวนรถดีเซลและขบวนรถไฟชั้น 3) |
ชานชาลา | 12 ชานชาลาราง (ตัวสถานี) 8 ชานชาลาราง (โรงรถดีเซลราง) |
การเชื่อมต่อ | สายเฉลิมรัชมงคล สายธานีรัถยา |
โครงสร้าง | |
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน |
ระดับชานชาลา | ชั้นพิเศษ |
ที่จอดรถ | ด้านข้างสถานี |
ข้อมูลอื่น | |
รหัสสถานี | 1001 |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 |
ผู้โดยสาร | |
ผู้โดยสาร (พ.ศ. 2544) | 60,000+ คนต่อวัน |
|
สถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง
ก่อนปี 2566 สถานีกรุงเทพเคยมีรถไฟกว่า 100 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561) และโดยเฉพาะช่วงวันสำคัญและวันหยุดเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันมีเพียงรถไฟทางไกลขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวนเท่านั้น ที่ยังคงเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกรุงเทพ ส่วนขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ รวมจำนวน 52 ขบวน ได้ย้ายไปเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[1]
ข้อมูลจำเพาะแก้ไข
- ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้ และสายตะวันออก
- รหัส : 1001
- ชื่อภาษาไทย : กรุงเทพ
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Bangkok
- ชื่อย่อภาษาไทย : กท.
- ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : BKK.
- ชั้นสถานี : สถานีรถไฟชั้นพิเศษ
- ระบบอาณัติสัญญาณ : ไฟฟ้า-รีเลย์ ไฟสีสองท่า
- พิกัดที่ตั้ง : บริเวณแยกหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4
- ที่อยู่ : 1 ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
- ขบวนรถ/วัน:จอด 100+ ขบวน รถนำเที่ยว รถด่วนพิเศษดีเซลราง รถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถรวม รถชานเมือง
- ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 60,000+ คน
- สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้ : ป้ายหยุดรถยมราช
- สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟจิตรลดา
- สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก : ป้ายหยุดรถอุรุพงษ์
- สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟมักกะสัน / สถานีรถไฟแม่น้ำ
- ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 0.00 กิโลเมตร
ประวัติแก้ไข
สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ
ลักษณะของสถานีแก้ไข
ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้านนอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่ว ๆ ไป
บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบดอลบีดิจิตอล ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอยมีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟ
ที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน
ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีการจัดงาน Clash de Cartier ซึ่งเป็นงานปาร์ตี้พร้อมการจัดแสดงเครื่องเพชรของคาร์เทียร์ ที่สถานีกรุงเทพ[2]
การให้บริการแก้ไข
กิจการรถไฟในปัจจุบัน มีเส้นทางที่ออกจากสถานีกรุงเทพ จำนวน 4 สาย ได้แก่
- ทางรถไฟสายเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ปลายทาง สถานีรถไฟเชียงใหม่ ระยะทาง 751.42 กิโลเมตร
- ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจะแยกออกเป็น 2 สาย ดังนี้
- ปลายทางสถานีรถไฟอุบลราชธานี ระยะทาง 575.10 กิโลเมตร
- ปลายทางสถานีรถไฟหนองคาย ระยะทาง 621.10 กิโลเมตร
- ทางรถไฟสายตะวันออก ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราแล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือ
- ปลายทางสถานีรถไฟอรัญประเทศ ระยะทาง 254.50 กิโลเมตร
- ปลายทางสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง ระยะทาง 184.03 กิโลเมตร
- ทางรถไฟสายใต้ ต้นทางสถานีกรุงเทพ และสถานีธนบุรีเมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่แล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือ
- ปลายทางสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 973.84 กิโลเมตร (นับถึงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์)
- ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ระยะทาง 1,142.99 กิโลเมตร
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพจะมีทางเดินเชื่อมไปยังสถานีหัวลำโพง ในเส้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ภายในชั้นใต้ดินของสถานีรถไฟ
แผนผังสถานีแก้ไข
G ชานชาลารถไฟทางไกล |
ชานชาลา
15 |
||||
ชานชาลา 14 | |||||
ชานชาลา 13 | |||||
ชานชาลา 12 | |||||
ชานชาลา 11 | |||||
ชานชาลา 10 | |||||
ชานชาลา 9 | |||||
ชานชาลา 8 | |||||
ชานชาลา 7 | |||||
ชานชาลา 6 | |||||
ชานชาลา 5 | |||||
ชานชาลา 4 | |||||
ชานชาลา 3 | |||||
ชานชาลา 2 | |||||
ชานชาลา 1 | |||||
G ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ทางออก | |||
B1-B2 ส่วนของสถานีรถไฟฟ้ามหานคร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางเดินเชื่อมไปยัง สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร), ชั้นขายบัตรโดยสาร (รถไฟฟ้ามหานคร), ชานชาลาสถานี |
อุบัติเหตุแก้ไข
- พ.ศ. 2529 เหตุหัวรถจักรจีอี6คันไร้คนขับชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529
- พ.ศ. 2559 เหตุการณ์ไฟไหม้สถานีกรุงเทพ
- พ.ศ. 2559 เหตุการณ์ระเบิดบริเวณสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2559เนื่องจากนำก้นบุหรี่ไปทิ้งในขวดเครื่องดื่มชูกำลัง
- และรวมถึงเหตุการณ์รถไฟตกรางในย่าน หลายครั้ง
โครงการในอนาคตแก้ไข
เมื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564 และกลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สถานีกรุงเทพต้องลดสถานะเป็นสถานีรองแทน ซึ่งในอนาคตสถานีกรุงเทพจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง และจะพัฒนาพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทยและศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งมีกลุ่มคนบางส่วนคัดค้าน เช่น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากการยกเลิกสถานีกรุงเทพนั้นจะทำให้คนที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองโดยใช้รถไฟทุกวันจะได้รับความเดือดร้อน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี ได้ร่วมแถลงการณ์คัดค้านนโยบายการปิดสถานีกรุงเทพ ขอให้มีการจัดมรดกทางวัฒนธรรมของสถานีกรุงเทพให้ชัดเจน เป็นต้น
โดยในช่วงแรกที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้ จะมีเพียงรถไฟทางไกลบางขบวนเท่านั้นที่สามารถขึ้นไปใช้ได้ เช่น ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น JR-West Blue train (บนท.ป.JR) ที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งจะพ่วงกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car), ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น CNR ชุด 115 คันซึ่งมีห้องน้ำเป็นระบบปิดและมีรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car) อยู่ในริ้วขบวน ส่วนรถไฟทางไกลขบวนอื่น ๆ จะยังคงใช้สถานีกรุงเทพต่อไปจนกว่าจะปรับปรุงห้องน้ำในตู้โดยสารเป็นระบบปิดจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะทยอยไปรวมที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ต่อไป
โดยในปี พ.ศ. 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกล 28 ขบวนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์อีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน[3] แต่สุดท้ายแผนก็ได้เลื่อนออกไป จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกลกลุ่มขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ของสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมจำนวน 52 ขบวนไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[4] ส่วนขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวน ยังคงให้บริการที่สถานีรถไฟกรุงเทพตามเดิม[1]
สมุดภาพแก้ไข
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 714 (C56-16) ที่ย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ
ชานชาลาที่ 8 สำหรับขบวนรถเร็วที่ 109 กรุงเทพ - เชียงใหม่
รูปปั้นช้างเอราวัณ ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ
รถจักรดีเซลไฟฟ้า เอเอชเค รถดีเซลรางสปรินเทอร์ และแดวู ในย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 83 กรุงเทพ - ตรัง จอดเทียบชานชาลาที่ 10 ในปี พ.ศ. 2549
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 "ดีเดย์ 'ศักดิ์สยาม' นำทีมเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์สถานีกลางฯ-มธ.รังสิต". ไทยโพสต์. 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โอดี้ NEWS ข่าวส่งเสริมสังคม – คาร์เทียร์เนรมิตงานปาร์ตี้ Clash de Cartier สุดยิ่งใหญ่แห่งปี เผยความงามที่อยู่เหนือความคาดหมายของเครื่องประดับที่ฉีกทุกกรอบ ทลายทุกกฏ".
- ↑ ดีเดย์ 1 ก.ย.นี้! รถไฟทางไกลให้บริการ @สถานีกลางบางซื่อ 28 ขบวน www.dailynews.co.th สืบค้นเมื่อ 29-05-2565.
- ↑ "ดีเดย์ 19 ม.ค.66 รถไฟทางไกล 52 ขบวน เปิดหวูด สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- กรมรถไฟหลวง, รายงานกองบัญชาการครั้งที่ 20 กล่าวด้วยการเดินรถไฟหลวงทางขนาดใหญ่ในกรุงสยามประจำพระพุทธศักราช 2459 (ปีคฤศต์ศักราช 1916-17), โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2460 (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- กรมรถไฟหลวง,งานฉลองรถไฟหลวง 50 ปี, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2490
- ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สถานีรถไฟกรุงเทพ |
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีกรุงเทพ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E
- เฟซบุ๊ค
- ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
สถานีใกล้เคียงแก้ไข
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีปลายทาง | รฟท. ตะวันออก | ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์ มุ่งหน้า สถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก มุ่งหน้า สถานีบ้านพลูตาหลวง | ||
สถานีปลายทาง | รฟท. ใต้ | ป้ายหยุดรถไฟยมราช มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี มุ่งหน้า สถานีหาดใหญ่ มุ่งหน้า สถานีปาดังเบซาร์ มุ่งหน้า สถานีสุไหงโก-ลก | ||
สถานีปลายทาง | รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ | ป้ายหยุดรถไฟยมราช มุ่งหน้า สถานีหนองคาย มุ่งหน้า สถานีอุบลราชธานี | ||
สถานีปลายทาง | รฟท. เหนือ | ป้ายหยุดรถไฟยมราช มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่ | ||
สถานียศเส มุ่งหน้า สถานีบ้านภาชี |
สายธานีรัถยา | สถานีคลองสาน มุ่งหน้า สถานีปากท่อ | ||
สถานีวัดมังกร มุ่งหน้า สถานีหลักสอง |
สายเฉลิมรัชมงคล เชื่อมต่อที่ สถานีหัวลำโพง |
สถานีสามย่าน มุ่งหน้า สถานีเตาปูน |