วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 เริ่มต้นจากการประท้วงขับไล่ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากข้อกล่าวหาการบริหารประเทศของรัฐบาลที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และได้ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้นำ และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ |
พรรคการเมืองหลักที่เกี่ยวข้อง
|
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย |
ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงสมัชชาคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่ สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ทักษิณประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่พรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน และพรรคชาติไทย ไม่ได้ร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ผลปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก แต่ในบางพื้นที่ของเขตซึ่งไม่มีผู้สมัครอื่นลงแข่งนั้น ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549
การประท้วงขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กำลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
เบื้องหลัง
แก้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน
แก้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในรัฐบาลทักษิณนั้น ถูกกล่าวหาว่ากระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองและพวกพ้อง ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือ การแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และความพยายามแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นในปี เดือน เมษายน [1] พ.ศ. 2544 การแปรรูปครั้งนี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการเปิดทางให้มีการคอรัปชั่น เป็นเครื่องมือสร้างความร่ำรวยให้กับนักการเมืองและพวกพ้อง โดยการแปรรูปในครั้งนี้มีข้อครหาในหลายเรื่อง เช่น คณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งในรัฐบาลทักษิณได้ประเมินมูลค่าหุ้นของ ปตท. ในราคาหุ้นละ 35 บาท ซึ่งอาจเป็นราคาที่ถูกกว่าความจริง[2] นอกจากนี้ในการจองซื้อหุ้นนั้นหุ้นได้ถูกขายหมดในเวลา 1 นาที 17 วินาที โดยที่ประชาชนที่เข้าคิวรอซื้อกลับไม่ได้[3] โดยหุ้นเหล่านั้นถูกจองซื้อโดยกลุ่มบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ามีความใกล้ชิดกับนักการเมืองและผู้มีอำนาจหลายคนด้วย[4]
ในส่วนของความพยายามในการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยทักษิณ ชินวัตรในขณะนั้นได้ให้สัมภาษณ์อย่างเกรี้ยวกราดว่า "ตายเป็นตาย รัฐบาลจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด" และได้ให้เหตุผลว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันกับเอกชน สามารถตรวจสอบได้ และเกิดการระดมทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ต่อไป[5] แต่มีผู้คัดค้าน เนื่องจากเกรงว่าผลประโยชน์อาจตกอยู่กับคนรอบข้างนายกรัฐมนตรีและคนในรัฐบาลดังเช่นการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย[6]
ภายหลังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ยื่นฟ้อง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร กับพวกต่อศาลปกครอง และศาลปกครองได้มีคำสั่งให้รัฐบาลแพ้คดีนี้โดยให้ระงับการกระจายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการยกเลิกพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ คือพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท กฟผฯ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพราะพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[7] เนื่องจากมีคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทบางคนมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้าม ทำให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวออกมา[8]
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของทักษิณ ชินวัตร
แก้ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถูกนักวิชาการบางกลุ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าอยู่ภายใต้ "ระบอบทักษิณ" คือ ไม่ใส่ใจต่อเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ข้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง[9] นอกจากนี้ยังไม่สามารถควบคุมความรุนแรงที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการกวาดล้างขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน[10] ทั้งนี้ ประชาชนบางกลุ่มได้ใช้คำว่า "ระบอบทักษิณ" สร้างความชอบธรรมในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ความขัดแย้งสนธิ-ทักษิณ และกรณีเมืองไทยรายสัปดาห์
แก้สนธิ ลิ้มทองกุล เคยสนับสนุนทักษิณในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก[11] ก่อนที่สนธิเปลี่ยนมาเป็นโจมตีทักษิณ หลังจากที่ตนเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ[12] ความขัดแย้งดังกล่าวได้ขยายตัวขึ้นเมื่อช่องโทรทัศน์ 11/1 ของสนธิถูกสั่งยุติการออกอากาศชั่วคราว จากการพิพาทในหนังสือสัญญากับผู้วางระเบียบของรัฐบาล[13][14]
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548 ศาสตราจารย์พิเศษ เรวัติ ฉ่ำเฉลิม ประธานกรรมการ อสมท ธงทอง จันทรางศุ กรรมการ อสมท และ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท มีมติให้ระงับการออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีอย่างไม่มีกำหนด[15][16] เนื่องจาก สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ ได้อ่านบทความเรื่อง "ลูกแกะหลงทาง" ซึ่งมีเนื้อหาโดยอ้อมกล่าวหารัฐบาลทักษิณและเชื่อมโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูง สนธิจึงเปลี่ยนเป็นการจัดรายการนอกสถานที่แทน[17]
กรณี "การละเมิดพระราชอำนาจ" และการทำบุญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แก้ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ได้ตีพิมพ์การเทศนาของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ อย่างหนัก เนื้อหาส่วนหนึ่งพาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณ ว่ามีการใช้อำนาจ "...มุ่งหน้าต่อประธานาธิบดีชัดเจนแล้วเดี๋ยวนี้ พระมหากษัตริย์เหยียบลง ศาสนาเหยียบลง ชาติเหยียบลง..."[18] ทำให้เกิดหัวข้อโต้เถียงกันเป็นวงกว้าง และนับตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการได้เขียนบทความกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีละเมิดอำนาจของพระมหากษัตริย์จากการเป็นประธานในพิธีทำบุญที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 10 เมษายน (ซึ่งโดยปกติสงวนไว้เป็นพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์)
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ศาตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ออกมาชี้แจงว่า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแล้ว[19] เช่นเดียวกับนายแพทย์ จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในขณะนั้น ได้สนับสนุนและอ้างว่าสำนักพระราชวังออกแบบพิธีทั้งหมด รวมทั้งการจัดตำแหน่งเก้าอี้ด้วย[20] อย่างไรก็ตาม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้ระบุว่า ในวันดังกล่าวไม่มีพระบรมราชานุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธี[21] ต่อมา ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ศาลแพ่งมีคำสั่งให้สนธิหยุดการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่ม[22]
กรณีการขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
แก้ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 74,000 ล้านบาท[23] หรือกว่า 49.61% ของหุ้นทั้งหมด[24] ทำให้ถูกโจมตีในประเด็นด้านการได้รับการยกเว้นภาษี การปล่อยให้ต่างชาติเข้าบริหารกิจการด้านความมั่นคง รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนและการหลีกเลี่ยงภาษีกำไรส่วนทุน[25]
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตรวจสอบการซื้อขายดังกล่าว โดยได้ผลสรุปเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบุตรี พินทองทา คุณากรวงศ์ ปราศจากความผิด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการได้พบว่าบุตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ พานทองแท้ ชินวัตร ละเมิดกฎว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและข้อเสนอการประมูลสาธารณะในการซื้อขายระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการโอนภายในโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป แต่ก็ไม่พบการกระทำที่ผิดกฎ
ประเด็นในการเคลื่อนไหว
แก้- การต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งนายแก้วสรร อติโพธิ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ[26] ดังนี้
- หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ
- โกงกินชาติบ้านเมือง
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สำหรับกรณีของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เช่น เรื่องการกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรม ราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าความเป็นจริง สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐที่ลดลง การถือหุ้นผ่านกองทุนของต่างชาติ กำไรจากการขายก๊าซให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้น มีคำสั่งจากศาลปกครองว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[27]
- การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- การทุจริตในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเรื่องเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอกซ์ 9000[28]
- การใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและคุกคามสื่อ
- ประเด็นที่กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณใช้อ้างเป็นเหตุผลในการขับ[29]
- ผลประโยชน์ทับซ้อน
- ทำผิดจริยธรรม
- รวยเพราะผูกขาดกีดกัน
- เอฟทีเอแลกผลประโยชน์
- สถานการณ์ความไม่สงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- แปรรูปผิด ไม่รับผิด
- นโยบายการค้าเสรีกับต่างประเทศ
ลำดับเหตุการณ์
แก้เมื่อกลางปี พ.ศ. 2547 มีการรวมตัวของ กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ โดยมีแกนนำประกอบด้วย นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ นาย เอกยุทธ อัญชันบุตร นาย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อัมรินทร์ คอมันตร์ พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม นาย สมาน ศรีงาม นาย ประพันธ์ คูณมี นาย เพียร ยงหนู ได้มีการชุมนุมปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547[30] และมีการจัดรายการวิทยุ ทางคลื่นวิทยุชุมชน FM 92.25 MHz ของนาย ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ โดย นางสาว อัญชะลี ไพรีรัก ดำเนินรายการ และเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร
การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน และการทุจริตในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เริ่มขยายสู่วงกว้างขึ้น ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2548 เมื่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนาย สนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอความเห็นในเชิงสนับสนุนรัฐบาลมาตลอด จุดเปลี่ยนของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อยู่ที่การออกอากาศในคืนวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เมื่อนายสนธิได้อ่านบทความเรื่อง ลูกแกะหลงทาง[31] บทความซึ่งมีผู้โพสต์เข้าไปเข้าไปในเว็บไซต์ผู้จัดการ ออกอากาศทางโทรทัศน์ ส่งผลให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกถอดออกจากผังรายการอย่างกะทันหัน โดย ศาสตราจารย์ ธงทอง จันทรางศุ บอร์ด อสมท. ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน[32]
โดยการกระทำเช่นนี้ ถูกมองว่าอาจเป็นการคุกคามสื่อ และเป็นการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการปลดรายการว่าจาบจ้วงสถาบันฯ แม้ว่าผู้จัดรายการจะยืนยันว่าเนื้อความดังกล่าวเป็นการยกย่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และพูดถึงบางคนที่ไม่ฟังคำเตือนที่ปรารถนาดีของกษัตริย์ว่าเป็นลูกแกะหลงทางเท่านั้น โดยมิได้ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การปลดรายการดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จึงปรับรูปแบบเป็นรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร จัดขึ้นนอกสถานที่ ทุกเย็นวันศุกร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี และสื่ออื่น ๆ ในเครือผู้จัดการ ต่อมาเมื่อมีผู้ชมรายการมากขึ้นจึงขยับขยายมาจัดที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และย้ายไปจัดที่อาคารลีลาศ สวนลุมพินี
หลังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 14 ในคืนวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2549 มีการเปิดตัวผู้สนับสนุนคือ พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ คณิน บุญสุวรรณ สุวินัย ภรณวลัย ภูวดล ทรงประเสริฐ วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กล้านรงค์ จันทิก คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช [33] รวมไปถึงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านหลายคน มีการเดินเท้าเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากสวนลุมพินีมาที่ ทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการปิดล้อม ก่อนสลายตัวกลับ แต่ยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนยังชุมนุมต่อและถูกใช้กำลังสลายตัวในเช้าวันรุ่งขึ้น[34] เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้รัฐบาลเริ่มเพ่งเล็งและมีมาตรการเด็ดขาดขึ้น
การชุมนุมครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นัดชุมนุมที่สนามหลวง แต่สนามหลวงถูกจองใช้ จึงย้ายมาจัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก จากด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมถึงสี่แยกสวนมิสกวัน การชุมนุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน มีการถวายฎีกาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านทางพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และสำนักราชเลขาธิการ โดยมี พลเรือโท พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นตัวแทนรับ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยืนต่อ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทองทัพบก ในครั้งนี้มีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการชุมนุมครั้งต่อ ๆ ไป นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้ชื่อว่า "การชุมนุมกู้ชาติ" การชุมนุมครั้งนี้มีผู้มาชุมนุมมากกว่าทุกครั้งเนื่องจากความไม่พอใจในข่าวการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของครอบครัวนายกรัฐมนตรีให้กับ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์โดยไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากเป็นการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกฎหมายได้ระบุไว้ว่าให้ยกเว้นภาษี[35]
การชุมนุมครั้งถัดมาจัดที่ ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ใช้ชื่อว่า "ปิดบัญชีทักษิณ" มีผู้ร่วมชุมนุมหลากหลายขึ้นเนื่องจากเปลี่ยนผู้นำการชุมนุม พร้อมได้เปิดตัว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นครั้งแรก โดยมีแกนนำทั้งหมด 5 คน คือ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง นาย สนธิ ลิ้มทองกุล นาย พิภพ ธงไชย นาย สมศักดิ์ โกศัยสุข และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ในครั้งนี้รัฐบาลได้พยายามขัดขวางโดยให้เหตุผลว่ามีความไม่เหมาะสมและไม่สมควร เพราะสถานที่ที่นี้เป็นเขตพระราชฐาน จึงมีการนัดชุมนุมใหญ่ครั้งต่อไปที่สนามหลวงในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อไม่มีกำหนด จนกว่านายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่ง
การชุมนุมที่สนามหลวงวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ได้รับการสนับสนุนจาก พล.ต. จำลอง ศรีเมือง ว่าจะนำเครือข่ายกองทัพธรรมและสันติอโศกเข้าร่วมชุมนุม ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงเชิญ พลตรี จำลอง ร่วมเป็นหนึ่งในแกนนำด้วย การประกาศตัวของ พลตรี จำลอง เป็นสัญญาณว่าการชุมนุมนี้จะยืดเยื้อยาวนาน และสร้างความกังวลให้กับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร[36] จนประกาศยุบสภาในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549
การยุบสภาผู้แทนราษฎร
แก้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[37] โดยหวังว่าชัยชนะอย่างถล่มถลายในการเลือกตั้งคราวนี้จะยุติเสียงวิพากษ์วิจารณ์ลงได้[38] พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์[39] และรณรงค์ให้ผู้ไปใช้สิทธิ์กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน[37] อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นของ สวนดุสิตโพล ระบุว่ามีผู้เห็นด้วยกับการคว่ำบาตรเพียง 28%[40]
มีการชุมนุมยืดเยื้อที่สนามหลวงใช้ชื่อว่า "เอาประเทศไทยของเราคืนมา" สลับกับการเคลื่อนขบวนใหญ่เพื่อกดดันสองครั้ง ในคืนวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 จากสนามหลวงมาที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2549 จากสนามหลวงมาที่ทำเนียบรัฐบาลระหว่างมีการประชุมคณะรัฐมนตรี และย้ายการชุมนุมมาปักหลักบริเวณสี่แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์สลับกับสี่แยกสวนมิสกวันและถนนพิษณุโลกช่วงข้างทำเนียบรัฐบาลไทย ประมาณจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลประเมินว่ามีผู้เข้าร่วมประมาณสองหมื่นคน ขณะที่ฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุมได้ประเมินว่ามีผู้ร่วมชุมนุมราวหนึ่งแสนคน[41]
มีการเคลื่อนขบวนย่อยไปชุมนุมที่สถานที่ต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง สถานทูตสิงคโปร์ ถนนสีลม การชุมนุมครั้งสำคัญสืบเนื่องจาก การเคลื่อนขบวนจากสนามกีฬาแห่งชาติ มาบริเวณสยามสแควร์และถนนสุขุมวิท ในวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2549 จากนั้นแกนนำได้คิดที่จะจัดการชุมนุมใหญ่ ณ บริเวณหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันพุธที่ 29 มีนาคม 2549 การชุมนุมครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของการชุมนุมทางการเมืองศูนย์ธุรกิจหลักประเทศ เพื่อต้องการล้มล้างรัฐบาลในขณะนั้น และเป็นการชุมนุมที่สร้างความเสียหายแก่ผู้ประกอบการ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ เป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องปิดทำการระหว่าง 29-30 มีนาคม พ.ศ. 2549 เพราะรัฐบาลให้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างเสรีและไม่มีการปะทะกันใด ๆ ทั้งสิ้น[42]
การเลือกตั้งทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549 และผลที่ตามมา
แก้ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549 พบว่าพรรคไทยรักไทยได้รับที่นั่งในรัฐสภาถึง 460 ที่นั่ง ด้วยคะแนนเสียง 56% ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอ้างว่าเขาได้รับเสียงถึง 16 ล้านเสียง[43] อย่างไรก็ตาม ผู้ลงสมัครพรรคไทยรักไทยใน 38 จังหวัดเลือกตั้งภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง 20% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชะลอผลของการเลือกตั้ง และจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549[44][45] พรรคประชาธิปัตย์ยื่นฎีกาต่อศาลปกครองกลางให้ยกเลิกการเลือกตั้งซ่อม[46] ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการถ่วงเวลาการเปิดประชุมสภาและขัดขวางมิให้การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จทันกำหนดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ[47] เช่นเดียวกับ พธม. ที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประกาศจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับ "นายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง"[48]
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2549 พ.ต.ท. ทักษิณ ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยอิสระเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง[49] แต่พรรคประชาธิปัตย์และ พธม. ไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการดังกล่าว และในวันรุ่งขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาแถลงไม่เข้ารับการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองในชาติ[50] ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ลาราชการและแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน ซึ่ง พธม. ได้เฉลิมฉลองในวันที่ 7 เมษายน และประกาศว่าการกำจัดระบอบทักษิณเป็นเป้าหมายต่อไป[47][51]
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8-6 เสียง ให้เพิกถอนการเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ ซึ่งกำหนดไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549[52] ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนยังได้เรียกร้องให้สมาชิกของคณะกรรมการการเลือกตั้งลาออกจากตำแหน่ง และเมื่อสมาชิกดังกล่าวปฏิเสธ ศาลอาญาจึงได้สั่งจำคุกและปลดคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่ง[53]
หลังจากได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 แล้ว กลุ่มผู้ที่ไม่ยอมรับในผลการลงคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตยและพยายามผลักดันให้ยกเลิกการเลือกตั้งครั้งนั้น ได้มีการร้องต่อศาลยุติธรรม ซึ่งต่อมาได้มีการตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนเป็นโมฆะ นับเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นผลให้การเคลื่อนไหวต่อต้านนายกรัฐมนตรีรุนแรงมากขึ้น ระหว่างเดือนมิถุนายน 2549 กิจกรรมต่อต้านนายกรัฐมนตรีเบาบางลงชั่วคราว เนื่องจากเป็นช่วงเดือนที่มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และในเดือนกรกฎาคม จึงมีการชุมนุม อภิปราย และสัมมนาขนาดย่อย ๆ อีกหลายครั้งโดยองค์การและสถาบันบางส่วนต่าง ๆ นายสนธิและนางสาว สโรชา พรอุดมศักดิ์ ได้กลับมาจัดการชุมนุมที่สวนลุมในอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่าเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร "คอนเสิร์ตการเมือง" ในระหว่างนั้นมีคดีที่นาย ถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา อันนำมาซึ่งคำพิพากษาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม[54] จนมีการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งใหม่ และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ได้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 วิรัช ชินวินิจกุล เลขานุการศาลฎีกา ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า เราต้องการให้ กกต.ทบทวนตัวเองอีกครั้ง[55]ก่อนการประชุมใหญ่ศาลฎีกาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549[56]ระหว่างที่ศาลได้มีคำตัดสินในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการเลือกตั้งหลายกลุ่มได้มาชุมนุมให้กำลังใจ จนเกิดกระทบกระทั่งกันกับกลุ่มฝ่ายตรงข้าม[57] และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาให้ผู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายรับโทษในกรณีหมิ่นศาล ผู้ดำเนินรายการสถานีวิทยุและเว็บไซต์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งศาลได้ปิดตัวลง
"แผนฟินแลนด์" และ "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ"
แก้ก่อนหน้าพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เพียงหนึ่งวัน หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ ผู้จัดการ ได้ตีพิมพ์บทความส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ "แผนฟินแลนด์"[58][59][60] ข้อกล่าวหา ว่า พ.ต.ท. ทักษิณ และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย มีแผนสมคบคิดเพื่อโค่นล่มราชวงศ์จักรีและยึดอำนาจการปกครองประเทศ[61][62] พ.ต.ท. ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ได้ฟ้องต่อสนธิ บรรณาธิการ คอลัมนิสต์ และฝ่ายบริหารอีกสองคนในข้อหาหมิ่นประมาท[63]คดีสิ้นสุดในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยศาลฎีกายกฟ้อง[64]สนธิ ลิ้มทองกุล เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ชัยอนันต์ สมุทวณิช ปราโมทย์ นาครทรรพ จำเลยทั้ง 4 คนในคดีนี้
ส่วนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 คำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ มีส่วนหนึ่งซึ่งพาดพิงถึง "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ"[65] ทำให้นักข่าวคาดกันว่าหมายถึง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 ทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดเผยว่า เขาหมายถึง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี[66]
ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม ระหว่างที่ พ.ต.ท. ทักษิณ เดินทางไปเปิดงานในฐานะประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึก นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ได้มีเสียงประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ จำนวนประมาณ 20 - 30 คน ได้ตะโกนเสียงดังขึ้นมาว่า "นายกฯ....คนเลว...ออกไป" จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจากทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทำร้ายร่างกายผู้ตะโกน 2 ราย[67][68]
หลังจากเหตุการณ์ที่สยามพารากอน ในวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2549 ได้มีการประชุมต่อเนื่องจากเหตุการณ์ทำร้ายกลุ่มผู้ต่อต้าน โดย รองศาตราจารย์ สังศิต พิริยะรังสรรค์ แกนนำเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายจำนวนหนึ่ง ได้จัดแถลงข่าว ที่อาคารสำนักวิทยบริการ ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และได้ให้ประชาชน 6 คน ที่ถูกกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีทำร้าย ขณะเกิดเหตุการเปิดงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนมาแสดงตัว ขณะที่ประชุม ที่ลานข้างล่างหน้าอาคารได้มีกลุ่มผู้สนับสนับสนุนนายกรัฐมนตรีใช้ชื่อว่ากลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ราว 50-60 คนที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ยืนถือป้ายผ้าและโปสเตอร์ด้วยความสงบเพื่อต่อต้าน รศ.ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์ และมีการปะทะคารมกัน[69]
เหตุการณ์ยังคงไม่คลี่คลาย มาจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม ได้เกิดเหตุในลักษณะเดียวกันอีกครั้ง ทั้งที่มีการวางกำลังตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอารักขานายกรัฐมนตรี ขณะไปเปิดงานอุทยานเรียนรู้ - ดิจิตอล ทีเคปาร์ค ที่ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ เพราะเกรงว่าอาจมีการลอบสังหารตามที่ทาง พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รายงานมาก่อนหน้า หรือเกรงจะเกิดการปะทะซ้ำรอยเหตุการณ์ที่สยามพารากอน โดยได้มีการปะทะคารมกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้าน จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและชายฉกรรจ์ในชุดสีเข้มไม่ทราบสังกัดทำร้ายร่างกาย เป็นชนวนให้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้น ผลคือมีการบาดเจ็บกันหลายคน ทราบชื่อได้แก่ น.ส. วศุพร บุญมี, นาย อิทธิพล สรวิษศกุล และ นาย ขวัญชัย จุ้ยมณี[70] ทั้งกลุ่มผู้ที่ต่อต้านนายกรัฐมนตรีและกลุ่มที่สนับสนุน บางส่วนของผู้ต่อต้านนายกฯ ถูกดำเนินคดีในข้อหารบกวนความสงบเนื่องจากเป็นต้นเหตุการก่อให้เกิดเสียงเอะอะรำคาญ[71] เหตุการณ์ทั้งสองถูกประณามว่านายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้านนายกรัฐมนตรีน่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันทั้งสองฝ่ายเพราะเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด[72]
กรณีคาร์บอมบ์ สิงหาคม พ.ศ. 2549
แก้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 รถคันหนึ่งซึ่งขนวัตถุระเบิดกว่า 67 กิโลกรัมได้หยุดบริเวณใกล้ที่พักของ พ.ต.ท. ทักษิณ ในเขตธนบุรี โดยมี ร.ท. ธวัชชัย กลิ่นชะนะ อดีตคนขับรถส่วนตัวของ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รักษาการผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นพลขับ โดยการสืบสวนของตำรวจพบว่า รถคนดังกล่าวได้ออกจากสำนักงานใหญ่ของ กอ.รมน. เมื่อเช้าวันเดียวกัน[73]
พล.อ.พัลลภ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และกล่าวว่า "ถ้าผมทำ นายกฯ หนีไม่พ้นผมหรอก..."[74][75] และกล่าวอ้างว่า "วัตถุระเบิดอยู่ระหว่างการขนส่ง ไม่ได้เก็บรวบรวมมาจุดระเบิด"[74] ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแผนสมคบคิดของรัฐบาล[76]
ร.ต.ท. ธวัชชัย ถูกจับกุมตัว และ พล.อ. พัลลภ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในทันที ในภายหลังได้มีการจับกุมนายทหารเพิ่มอีก 5 นาย เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง[77] แต่นายทหาร 3 นาย รวมทั้ง ร.ต.ท. ธวัชชัย ถูกปล่อยตัว ภายหลังการก่อรัฐประหารในเดือนกันยายน[78]
ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ศาลทหารมีคำสั่งลงโทษ พ.อ. มนัส สุขประเสริฐ พ.อ. สุรพล สุประดิษฐ์ จำคุก 6 ปี ร.ท. ธวัชชัย กลิ่นชะนะ จำคุก 4 ปี 6 เดือน [79]โดย จ.ส.อ. ชาคริต จันทระ เป็นพยานในคดีนี้
นอกจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนาย สนธิ ลิ้มทองกุล แล้ว ยังมีเหตุการณ์ต่อต้านนายทักษิณโดยกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในหลายพื้นที่ รวมทั้งการรวมตัวครั้งใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2549 ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่าเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนบางส่วนของหน่วยงานที่อ้างเหล่านั้น ทำการล่าชื่อ ปลุกกระแส ต้าน"ทักษิณ" ออกแถลงการณ์ให้ยุติบทบาทนายกรัฐมนตรีในทันที มีการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง เน้นการต่อต้านทักษิณตามแนวทางอหิงสาด้วยกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการถวายสัตย์ปฏิญญาในฐานะข้าราชการต่อพระบรมรูป 2 รัชกาลที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนรัฐประหาร พ.ศ. 2549
แก้แม้ว่าจะมีการประท้วงขับ ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง แต่ ณ เวลานั้น พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้แต่งตั้งตำรวจให้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิ พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย เป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ พล.ต.ท. วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธานสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง [80]พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ กรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พลตำรวจตรี พีระพันธุ์ เปรมภูติ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พลตำรวจตรี เอกชัย วารุณประภา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง พลตำรวจตรี สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พล.ต.อ. สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
นอกจากนั้น พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้แต่งตั้งตำรวจทหารจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 ให้คุมกำลังพลทหารตำแหน่งสำคัญๆ อาทิ พลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น แม่ทัพภาคที่ 1 พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ เป็น รองเลขาธิการทหารบก พันเอก ไตรศักดิ์ อินทรรัสมี เป็นผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 พลโท จิรสิทธิ เกษะโกมล แม่ทัพน้อยภาค 1 พล.ร.ท.วัลลภ เกิดผล เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ พลตรี พฤณท์ สุวรรณทัต เป็น ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ พลอากาศโท สุเมธ โพธิ์มณี เป็น ผู้บังคับบัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน พลตรี ศานิต พรหมาศ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารม้า ที่ 2 รักษาพระองค์ พลตรี เรืองศักดิ์ ทองดี เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ หม่อมหลวงสุทธิรัตน์ เกษมสันต์ เป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธบริการ พลตรี พิรุณ แผ้วพลสง เป็น รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พลอากาศตรี สมชัย พละพงศ์ เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน พลอากาศตรี โฆษก ประคองทรัพย์ เป็น เสนาธิการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ พลตรี วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3 กองทัพภาคที่ 2 พลโท ฉัตรชัย ถาวรบุตร ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าวกรองทางการรบ พลตรี มนัส เปาริก รองแม่ทัพภาคที่ 3 พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ พลโท สุรพล เผื่อนอัยกา เป็น รองเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ พล.ต.ท. ชลอ ชูวงษ์ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท. ฉลอง สนใจ เป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 พลตำรวจโท วงกต มณีรินทร์ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า[81]พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8 พลโท อภิชัย ทรงศิลป์ เป็น ปลัดบัญชีทหารบก[82]พลตรี สุริโย อินทร์บำรุง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 พลอากาศตรี วันชัย ธนสุกาญจน์ เป็นหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ[83] พลโท ปรีชา วรรณรัตน์ เป็น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
และยังมีเพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22 ได้แก่ พลโท มะ โพธิ์งาม
ประกอบกับทหารไทยไม่ต้องการแสดงออกทางการเมือง เพราะย่อมจะหมายความก้าวหน้าในราชการหรือกองทัพอาจต้องหยุดชะงักลง[84] ทำให้คนไทยรวมทั้ง พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดรัฐประหารในประเทศไทย
ปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จในการรัฐประหารครั้งนี้คือ คำสั่งกองทัพบกที่ 423/2549 [85] เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2549 ซึ่งเป็นคำสั่งโยกย้ายนายทหารระดับผู้บังคับกองพันถึง 129 นายการแต่งตั้งโยกย้ายกำลังระดับผู้บังคับกองพันเป็นอำนาจโดยตรงของผู้บัญชาการทหารบกไม่ต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งการรัฐประหารในปี 2549 ผู้บังคับกองพันมีบทบาทมากในการคุมกำลังพลและรถถัง
ในปี พ.ศ. 2547 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งสิ้น ทั้งสิ้น 7,950 แห่ง [86]เฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล 6,744 แห่ง และต่อมา ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย) ลดลงเรื่อยๆ ภายหลังการรัฐประหาร[87]
รัฐประหาร พ.ศ. 2549
แก้การประท้วงขับ พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ก่อนจะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรฯและเครือข่าย โดยนาย สนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศยุติการชุมนุมทันที ทั้งที่ได้มีการนัดหมายกันในวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 15.00 น. ที่บริเวณลานพระรูป เนื่องจากมีการทำรัฐประหารเป็นที่เรียบร้อยแล้วและอาจจะเป็นการไม่ปลอดภัย[88]
ลักษณะกิจกรรมการต่อต้าน
แก้นายสนธิ ลิ้มทองกุล ร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมสร้างและเผยแพร่ทฤษฎี "ปฏิญญาฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยและก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามผู้ร่วมสร้างทฤษฎีไม่เคยแสดงหลักฐานแต่อย่างใดเพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีสมคบคิดนี้มีจริง ส่วนตัว พ.ต.ท. ทักษิณ นั้นได้ปฏิเสธเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลังจากที่ปฏิวัติยึดอำนาจไว้ได้ ก็ไม่ได้ตรวจสอบหรือสอบสวนรายละเอียดของแผนฟินแลนด์แต่อย่างใด[89][90][91]
การชุมนุมในแต่ละครั้งของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสริมบรรยากาศในการชุมนุม เช่น การแสดงดนตรี การแสดงงิ้วธรรมศาสตร์กู้ชาติ การละเล่นและบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ ละครศาลจำลอง การนำบุคคลต่าง ๆ และแขกรับเชิญนอกเหนือจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาสัมภาษณ์ รายการเสียงจากประชาชน (การพูดปราศรัยสั้น ๆ ของประชาชนโดยทั่วไปที่อาสาขึ้นเวที) กิจกรรมเกมส์ต่อต้านระบอบทักษิณ และกิจกรรมระดมทุน รับบริจาคและขายของที่ระลึก เป็นต้น ของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมในการประชุม ได้แก่ ผ้าพันคอและผ้าโพกศีรษะสีเหลือง/ขาวที่สกรีนข้อความ "กู้ชาติ" ผ้าผูกข้อมือ เสื้อยืด เอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ แฮนด์บิลล์ ซีดีเพลง บันทึกรายการในแต่ละครั้ง และอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละกลุ่ม บทเพลงยอดนิยมที่ผู้แต่งเพลงนิรนามส่งมาให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เปิด มีหลายบทเพลง เป็นบทเพลงที่บรรยายความไม่ชอบธรรมของระบอบทักษิณ และมีเนื้อหารุนแรง เพลงหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือเพลง ไอ้หน้าเหลี่ยม[92]
ครั้งหนึ่งของการเดินทางช่วยผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยหาเสียงของรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บริเวณซอยละลายทรัพย์ ถนนสีลม ได้มีปรากฏการณ์วัฒนธรรมต่อต้านเกิดขึ้น โดยมีกลุ่มแม่ค้าในพื้นที่ อาทิ นาง พิมพ์พร [93] ออกมาตะโกนขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่มผู้ติดตาม ด้วยวลีที่ใช้ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[94]
กิจกรรมการต่อต้านระบอบทักษิณ ยังรวมไปถึงการรณรงค์เรื่องอหิงสาและอารยะขัดขืน และนำไปสู่รูปแบบการต่อต้านในภาคประชาชน ในการเลือกตั้งที่กลุ่มผู้ต่อต้านอ้างว่า "ไม่ชอบธรรม" เริ่มต้นจากการพยายามยับยั้งไม่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549 ต่อมาเป็นการให้ออกมาเลือกตั้งแต่กาในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร" การกาด้วยปากกาแดง นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวจากปัจเจกชน เช่น การฉีกบัตรลงคะแนน ที่นำโดย รศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร ซึ่งอาจารย์ แก้วสรร อติโพธิได้กล่าวว่าการฉีกบัตรลงคะแนนเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือการกรีดเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อกาบัตรลงคะแนนโดย ดร. ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ส่วนในกรณี นพ. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ แกนนำกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา และชาวบ้านอีก 6 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ กรณีฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 ศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่จังหวัดตรัง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง นาย ทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ[95]
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ จากหลายกลุ่มองค์กร เช่น[96]
- กิจกรรมต่อต้านทางสังคม ที่เสนอโดยกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และ เครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ
- กิจกรรมสัมมนา เวทีอภิปรายในสถานศึกษา หรือถ่ายทอดทางสถานีวิทยุ 92.25, 97.75 และเอเอสทีวี
- การจัดทอล์คโชว์ เช่น แผนลอบสังหารท่านผู้นำของผม ที่ล้มเหลวและน่ารำคาญ โดย นายจรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือ ซูโม่ตู้
- การเรียกร้องขอให้ข้าราชการอย่าทำตามคำสั่งที่ไม่ชอบธรรมของนักการเมือง โดยเครือข่ายเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย และจัดกิจกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ตามแนวทางอหิงสา (จากการประชุมเครือข่ายครั้งใหญ่ ในวันที่ 2 กันยายน 2549) [97] ได้แก่
- เรียกร้องให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาดทันที เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรตรวจสอบเข้ามาพิสูจน์ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่มีต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ
- เรียกร้องให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐคำนึงถึงศักดิ์ศรีว่ามิใช่ข้าพนักงานของบริษัทรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรม
- เรียกร้องให้ประชาชนอย่าได้เคารพกราบไหว้บุคคลผู้ไร้สัตย์ อย่าต้อนรับ อย่าให้ความสำคัญกับบุคคลประเภทนี้ไม่ว่าบุคคลประเภทนี้จะไปปรากฏกาย ณ สถานที่ใด ๆ และร่วมกันแสดงพลังคัดค้านและประท้วงโดยสันติทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องจนกว่า พ.ต.ท. ทักษิณจะยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาด ทำกิจกรรมที่เน้นหลักอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่จะใช้ความอดทน เช่น
- การเดินขบวนเรียกร้อง จนกว่าจะขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ
- ไม่อยากให้มีการตะโกนไล่ แต่อยากเห็นคนไทยไม่ต้อนรับ พ.ต.ท. ทักษิณ เมื่อพบเห็นก็รวมกลุ่มกันหัวเราะไล่ผู้นำดีกว่าการใช้ความรุนแรง
- ไม่สนับสนุนหรือซื้อสินค้าของบริษัท ห้างร้าน ที่เชื่อว่าสนับสนุนระบอบทักษิณ เช่น เซเว่น อีเลฟเว่น ไทยแอร์เอเชีย เป็นต้น
การเคลื่อนไหวของสังคมออนไลน์
แก้- thaksingetout.org การรณรงค์ให้เจ้าของเว็บไซต์ร่วมแสดงจุดยืนในการขับ โดยคาดแถบข้อความว่า "Thaksin Get Out"
- มีการถ่ายถอดเสียงการชุมนุมขับผ่านทางเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น สถานีวิทยุประชาชน 92.25 Mhz หรือ fm9225.net[98], สถานีวิทยุผู้จัดการ (คลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน) 97.75 Mhz หรือ managerradio[99] และมีการถ่ายถอดเสียงการต่อต้านการชุมนุมขับและให้กำลังใจโดย FM 94.25 คลื่นคนรักชาติ
- มีการรณรงค์ต่อต้านการแสดงความเห็นลักษณะสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นในเวบบอร์ดยอดนิยมพันทิป.คอม ห้องการเมืองที่ใช้ชื่อว่าราชดำเนิน โดยกลุ่มสมาชิกราชดำเนินกลุ่มหนึ่ง มีจำนวนกว่า 300 คน ได้จัดตั้งเวบบอร์ดขึ้นมาใหม่เป็นเวทีพูดคุยแทนห้องราชดำเนิน โดยใช้ชื่อว่า ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ด[100] ในทางกลับกัน ก็มีกลุ่มสมาชิกราชดำเนินอีกกลุ่มที่คัดค้านการต่อต้านและให้กำลังใจโดยใช้ชื่อกลุ่มว่าชื่อกลุ่ม รักเมืองไทย-ให้กำลังใจนายก[101] มีสมาชิกร่วมให้กำลังใจเป็นจำนวนประมาณกว่า 1,500 คน และอีกกลุ่มที่ต่อต้านการขับนี้ที่ชื่อกลุ่ม ฅนผ่านฟ้ารักษาประชาธิปไตย[102] เน้นตรวจสอบสื่อ สมาชิกประมาณ 300 คน มีแกนนำบางคนมาจากกลุ่มรักเมืองไทยฯ
- ในช่วงก่อนวันเสาร์อาทิตย์ที่ 29-30 สิงหาคม 2549 ได้มีเหตุการณ์วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม เกี่ยวเนื่องกับกรณีคดี กกต. ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และการสนับสนุนให้ทั้งทักษิณและกกต. ให้ทำงานต่อ ทำให้เว็บบอร์ดต้องปิดตัวชั่วคราวระหว่างวันสุดสัปดาห์ 2 วันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขัดแย้งและกระทู้ที่หมิ่น / ละเมิดอำนาจศาล และเปิดทำการใหม่ตามปรกติในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม[103]
- เว็บไซต์ เครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ[104] ได้มีการเชื้อเชิญให้ติดแผ่นป้ายต่อต้าน เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนโดยสันติวิธี
- เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ออนไลน์ของ The Reporter[105] ได้จัดรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเคเบิล โดยมีโครงการเริ่มต้นที่ UBC9 (TATV-โทรทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวทาง UBC) แต่ต่อมาอ้างว่ามีความขัดข้องทางเทคนิค แล้วย้ายมาจัดทางอินเทอร์เน็ตแทนที่นี่แทน รายการที่ได้รับการประชาสัมพันธ์และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จัดโดย นายสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ อดีต รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เนื้อหาเป็นการสนทนาปัญหาบ้านเมืองในแนวทางสนับสนุนและต่อต้าน เนื่องจากกลุ่มนี้เชื่อว่าส่วนใหญ่บิดเบือนและให้ร้ายต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ
- วันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดการรัฐประหาร เว็บไซต์ที่สนับสนุนทักษิณ ถูกปิดกั้นทั้งหมด รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ MV1 และเว็บไซต์ของพรรคไทยรักไทย และได้มีการออกคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ให้กระทรวง ICT ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร[106]
การคุกคามสื่อระหว่างเหตุการณ์
แก้ได้มีบางส่วนของกลุ่มคาราวานคนจนมาชุมนุมบริเวณด้านหน้าของสำนักงานหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เนื่องจากมีการตีพิมพ์ข่าวไม่เหมาะสม เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งหมิ่นเบื้องสูง โดยอ้างอิงถึงคลิปวิดีโอการให้สัมภาษณ์[107] จากการออกมาปฏิเสธของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก จึงทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไปจนถึงขั้นมีเหตุการณ์ชุลมุน และในเวลาต่อมาไม่นาน ได้มีกลุ่มขบวนรถมอเตอร์ไซด์หลายร้อยคันไปชุมนุมที่บ้านพระอาทิตย์ สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการในวันเดียวกัน แต่การชุลมุนก็จบลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด
กลุ่มที่มีความเห็นตรงข้ามกับการชุมนุม
แก้กลุ่มที่ชื่นชอบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
แก้กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ และกลุ่มอื่น ๆ ที่สนับสนุนแนวทางการดำเนินการทางการเมือง ตามแนวทางประชาธิปไตย แบบที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำไป และเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ดีที่สุด มีหลายกลุ่มเช่นกัน เช่น กลุ่มผู้มาให้กำลังใจมอบดอกกุหลาบแดงให้ในหลายวาระ รวมทั้งการรวมพลปราศรัยครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549
กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น
- รองศาสตราจารย์สุนีย์ สินธุเดชะ (อาจารย์แม่) อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- พ.ต.ท. สำเนียง ลือเจียงคำ [108]
- กลุ่มชาวบ้านจากจังหวัดในภาคเหนือบางส่วน [109]
- คลื่นวิทยุ Wisdom Radio FM 105 Mhz, FM.94.25 Mhz โดยเฉพาะช่วง รายการ "เปิดแฟ้มความคิด" โดย นายมังกรดำ หรือนาย ธรชัย ศักดิ์มังกร และปกภูมิ เดชดีหนูแก้ว ซึ่งต่อมาได้ถูกปิดรายการลงหลังจากมีกรณีหมิ่นศาล[110]
- รศ.ดร. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเปค (ฝ่ายสัมมนาและเผยแพร่) เจ้าของแนวความคิด "ไม่เลือกทักษิณ หรือจะเลือกทุนนิยมล้าหลัง?"[111]
- นาย เทพพนม ศิริวิทยารักษ์ ประธานสมัชชาภาคอีสานพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และในฐานะแกนนำ ผู้ประสานนำตัว 16 ผู้สนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในกรณีเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล[112]
- นายมงคล เสมอภาพ แกนนำ กลุ่มรักสันติสามัคคีเพื่อประชาธิปไตย ราว 100 คน เป็นกลุ่มที่จะชุมนุมให้กำลังใจกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทุกวันตามสถานที่สำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร[113]
- ฯลฯ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ตำนานการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
- ↑ ASTVผู้จัดการออนไลน์.ปตท.ในอุ้งมืออำมาตย์ เรื่องลวงโลกแดงปั่นหัวแดง[ลิงก์เสีย]. สืบค้นเมื่อ 27-03-2557.
- ↑ THAIPUBLICA.แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ตอน6) : การขายหุ้น ปตท. 2544 – IPO ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย". สืบค้นเมื่อ 27-03-2557.
- ↑ บรรยง พงษ์พานิช."ตำนาน “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” … ปตท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ 2544. สืบค้นเมื่อ 27-03-2557.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์."การแปรรูป กฟผ. : บทเรียนจาก ปตท เก็บถาวร 2006-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 01-05-2557.
- ↑ สถาบันนโยบายศึกษา."คน กฟผ. ค้านนโยบายแปรรูป". สืบค้นเมื่อ 01-05-2557.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์.“แม้ว” ฝันสลาย ศาลปกครองสั่งยกเลิกกระจายหุ้น กฟผ[ลิงก์เสีย]. สืบค้นเมื่อ 01-05-2557.
- ↑ thannews.“เปิดสัมพันธ์ โอฬาร-ทักษิณ กลไกขับเคลื่อน 'ความทับซ้อน. สืบค้นเมื่อ 01-05-2557.
- ↑ แก้วสรร อติโพธิ. หยุดระบอบทักษิณ เก็บถาวร 2006-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ Thailand War on Drugs Turns Murderous, 600 Killed This Month. StoptheDrugWar.org. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2553.
- ↑ The Nation. Old views haunt govt critic เก็บถาวร 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 31-12-2552.
- ↑ The Nation. The Truth about Thaksin, Sondhi [1]index.php?news=headlines_19281265.html เก็บถาวร] 2012-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ "UBC complies, drops channel". Bangkok Post. 2004-07-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-21. สืบค้นเมื่อ 2020-10-16.
- ↑ "UBC to resume televising Channel 11/1". Bangkok Post. 2004-07-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-21. สืบค้นเมื่อ 2020-10-16.
- ↑ "Ch 9 drops Sondhi for royal references". The Nation. 2005-09-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-07. สืบค้นเมื่อ 2020-10-16.
- ↑ "Monastic feud could lead to a schism". The Bangkok Post. 2005-03-05.
- ↑ Jonathan Head. Rifts behind Thailand's political crisis. BBC News. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ↑ "หลวงตามหาบัว เทศน์เรื่อง "เทวทัตยังรู้โทษ" ฉบับเต็ม". ASTVผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-09. สืบค้นเมื่อ 2006-09-21.
- ↑ The Nation. Premier had ‘approval from King’. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ The Nation. PM’s Office dismisses report in 'Phujadkarn'. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ ASTV ผู้จัดการออนไลน์. ประมวลข่าว ลิ่วล้อเคลื่อนพล-ระดมฟ้อง"สนธิ"หมิ่นฯ! (หน้า 2) เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ The Nation. Court issues gag order on Sondhi. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ Bloomberg. Thai Prime Minister Thaksin's Family Sells Shin Corp. (Update2). สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ The Age. Thai PM rings up a billion reasons for family affair. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ AsiaMedia. SINGAPORE: Temasek's acquisition of Shin Corp เก็บถาวร 2010-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
- ↑ คำจำกัดความและรายละเอียดของระบอบทักษิณ เก็บถาวร 2006-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, แก้วสรร อติโพธิ
- ↑ "คำสั่งศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-08-23. สืบค้นเมื่อ 2006-04-17.
- ↑ CTX 9000 ขึ้นเขียงสัปดาห์หน้าตกกุ้งแถมได้ปลาใหญ่ใน ทอ.
- ↑ "เว็บไซต์ของกลุ่มเครือข่ายฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
- ↑ "มีการรวมตัวของ กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-01. สืบค้นเมื่อ 2006-10-06.
- ↑ ลูกแกะหลงทาง---บทกวีกำเนิดสนธิและการขับไล่นายกทักษิณ
- ↑ "บอร์ด อสมท. ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ 2006-10-12.
- ↑ คลื่นปชช.ร่วมอุดมการณ์เคลื่อนขบวนขับไล่ “ทักษิณ” หน้าทำเนียบ
- ↑ "ไม่มีการปิดล้อม ก่อนสลายตัวกลับ แต่ยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนยังชุมนุมต่อและถูกใช้กำลังสลายตัวในเช้าวันรุ่งขึ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
- ↑ "นัดชุมนุมที่สนามหลวง แต่สนามหลวงถูกจองใช้ จึงย้ายมาจัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-04. สืบค้นเมื่อ 2006-10-08.
- ↑ "เครือข่ายกองทัพธรรมและสันติอโศกเข้าร่วมชุมนุม ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-10-08.
- ↑ 37.0 37.1 สถาบันนโยบายการศึกษา. บทเรียนการเมืองจากคดียุบพรรค (ตอนที่ 1) เก็บถาวร 2021-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ Jeerawat Na Thalang . Thaksinocracy: just the same old patronage system? เก็บถาวร 2011-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Nation. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2553
- ↑ ทรท.เมินฝ่ายค้านเล่นบทบอยคอต[ลิงก์เสีย]. FTA Watch อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.
- ↑ สวนดุสิตโพล. สวนดุสิตโพลล์: ความคิดเห็นของ ประชาชน เกี่ยวกับการ บอยคอต หรือ ไม่ร่วมสังฆกรรม ในการเลือกตั้ง ส.ส. ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ "มีการชุมนุมยืดเยื้อที่สนามหลวงใช้ชื่อว่า "เอาประเทศไทยของเราคืนมา"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-10-08.
- ↑ ปิดห้างพารากอน พันธมิตรให้ชุมนุมแค่ 2 วัน
- ↑ "Thai Rak Thai win 16 million votes : Thaksin". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2006-09-21.
- ↑ The Nation. 38 one-horse candidates fail. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ "Second round of elections be held on April 23". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-08. สืบค้นเมื่อ 2006-09-21.
- ↑ "Democrat executive asks court to cancel 2nd round of election". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2006-09-21.
- ↑ 47.0 47.1 "Thai rally toasts Thaksin's exit". CNN.com. 2006-04-07. สืบค้นเมื่อ 2006-09-21.
- ↑ The Nation. PAD ignores vote results. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ Thomas Fuller. Thailand Leader Cushions Claim of Ballot Victory. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ The Nation. I will not accept post of premier in the next government : Thaksin เก็บถาวร 2011-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ The Nation. PAD leaders swear to fight on to eradicate Thaksin regime. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ "Constitution Court invalidate the April election and order new election". The Nation. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006.
- ↑ "EC Commissioners arrive at Bangkok Remand Prison". The Nation. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2549.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข่าวคำพิพากษาจาก นสพ.มติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
- ↑ จับตา! สั่งคดีพรุ่งนี้-ศาลฎีกาถก 31 พ.ค.แย้มท่าทีคว่ำบาตร 3 กกต.[ลิงก์เสีย]
- ↑ เมื่ออดีตไล่ล่าประธาน กกต. “วาสนา เพิ่มลาภ” จำคุก 2 ปี จากวิกฤตเลือกตั้ง ปี 2549…ผมเป็นแพะบูชายัญ
- ↑ "ศาลได้มีคำตัดสินในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-10-08.
- ↑ คำนูณ สิทธิสมาน. ปฏิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ทักษิณ เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ คำนูญ สิทธิสมาน. ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และ...ปฏิญญาฟินแลนด์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ ปราโมทย์ นาครทรรพ. ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์: แผนเปลี่ยนการปกครองไทย? เก็บถาวร 2016-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ Weerayut Chokchaimadon. Thaksin clearly wanted republic, critics charge เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Nation. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ Wassayos Ngamkham. THAILAND: Sondhi expands on 'Finland Plan' เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bangkok Post via AsiaMedia. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ THAILAND: Manager sued for articles on 'Finland plot' เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bangkok Post via AsiaMedia. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ↑ ยกฟ้อง คดี 'ปฏิญญาฟินแลนด์'
- ↑ The Nation. POLITICAL BATTLE: Sondhi files complaint over PM's ouster claim. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.
- ↑ ‘เปรม’ คือผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ พัลลภยันสุรยุทธ์วางแผนด้วย[ลิงก์เสีย]
- ↑ เกิดเหตุการณ์ชุลมุนจากทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวจากมติชนรายวัน 20 สค.49 เจอตะโกนไล่คา"พารากอน" สั่งรวบรวมหลักฐานเอาผิด
- ↑ ข่าว"ทรท."ปูดฝ่ายต้าน"แม้ว" มีแผนฆ่า! รุมประณามรปภ.นายกฯ จากมติชน 21 สค.49
- ↑ ม็อบชนม็อบ ครั้งที่ 2 ในรอบ 3 วัน เจ็บจนต้องส่งโรงพยาบาล
- ↑ ดำเนินคดีในข้อหารบกวนความสงบ เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2549
- ↑ "ประมวลข่าวแก๊งค์เชลียร์แม้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-10-12.
- ↑ The Nation. It is not a hoax : police spokesman. เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ 74.0 74.1 The Nation. 'If I was behind it, PM would be dead'. เก็บถาวร 2011-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ The Nation. Army officer arrested in alleged car bomb attempt is Pallop's driver: police เก็บถาวร 2009-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ The Nation. 'Car bomb' a govt ploy, ex-security chief alleges เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 28-12-2552.
- ↑ Jonathan Head. Thai arrests over Thaksin 'plot'. BBC. 7 September 2006
- ↑ The Nation. Car-bomb suspects get bail เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 30 September 2006
- ↑ ศาลทหารยกฟ้องคดีคาร์บอมบ์ลอบฆ่าทักษิณ
- ↑ รัฐตำรวจ ดร.ประยูร อัครบวร
- ↑ "ประวัติความเป็นมาศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-21. สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอน 56 ง หน้า 1 วันที่ 8 มิถุนายน 2549
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 34 ง หน้า 32 วันที่ 28 เมษายน 2548
- ↑ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ.พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 หน้า 129.
- ↑ ปฏิบัติการหักปีกทักษิณ
- ↑ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ปฏิบัติตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสารราชการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ รัฐประหารกำลังดึงการปกครองท้องถิ่นสู่ยุคกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย
- ↑ "ย้อนรอยรัฐประหารยึดอำนาจ '". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
- ↑ The Nation,"'Finland plot' on dangerous ground" เก็บถาวร 2007-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 25 May 2006 (อังกฤษ)
- ↑ The Nation, "Burning Issue: Finland, monarchy: a dangerous mix", May 25, 2006 (อังกฤษ)
- ↑ The Bangkok Post, "Manager sued for articles on 'Finland plot'" เก็บถาวร 2006-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 May 2006 (อังกฤษ)
- ↑ เพลงไอ้หน้าเหลี่ยม[ลิงก์เสีย]
- ↑ “เจ๊พิมพ์พร” ยันไม่ใช่ “เจ๊ไก่” - ชี้เพื่อนทุกคนเป็นวีรสตรี
- ↑ "การเดินทางช่วยผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยหาเสียงของรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
- ↑ ผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ มติชน 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
- ↑ ประสบการณ์ประชาสังคม (35) การะเกด 49 กับอารยะแข็งขืน
- ↑ ข่าวมติชน 92"หมอ-เภสัช-อจ."จี้"แม้ว" วางมือทันที! ปลุกชาวบ้านเลิก"ต้อนรับ"
- ↑ "สถานีวิทยุประชาชน 92.25 Mhz". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-24. สืบค้นเมื่อ 2006-05-07.
- ↑ สถานีวิทยุผู้จัดการ (คลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน) 97.75 Mhz
- ↑ เว็บไซต์ของขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ด
- ↑ "เว็บไซต์กลุ่มรักเมืองไทย-ให้กำลังใจนายก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2006-05-06.
- ↑ "เว็บไซต์ของฅนผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-18. สืบค้นเมื่อ 2007-04-06.
- ↑ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย(เรื่องราวต่าง ๆ)
- ↑ "เครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
- ↑ "รายการโทรทัศน์ออนไลน์ของ The Reporter". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-21. สืบค้นเมื่อ 2007-04-06.
- ↑ ICT ขอ ครม.เลิกคำสั่ง คปค.ฉบับที่ 5 ที่คุมการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์
- ↑ กลุ่มคาราวานคนจนมาชุมนุมบริเวณด้านหน้าของสำนักงานหนังสือพิมพ์คมชัดลึก คลิปวิดีโอ
- ↑ "ข่าว'ผบช.ภ.3' เรียกประชุมชี้มูลคดีแจ้งจับ "สนธิ" 17 พ.ย.นี้ จาก นสพ.ผู้จัดการ 14 พย.48". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-03.
- ↑ "ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ 3มีค 49 กลุ่มเชียร์'ทักษิณ'จากเหนือ รวมตัวลานพระรูป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-04. สืบค้นเมื่อ 2006-08-03.
- ↑ "ข่าว'มังกรดำ' ชิ่ง 105 ชี้เหตุปล่อยคนด่าศาลหลังส่งกกต.เข้าคุก จากผู้จัดการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-02.
- ↑ บทสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์ 9-10 มีนาคม 2549
- ↑ ข่าว“ทนายแม้ว-ทีมหมิ่นศาล” จ๋อย! เข้ารายงานตัวตามหมายเรียกแล้ว โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2549[ลิงก์เสีย]
- ↑ กลุ่มรักสันติสามัคคีเพื่อประชาธิปไตย ข่าวจากมติชน 30 สค 49