ภูวดล ทรงประเสริฐ

ศาสตราจารย์ ภูวดล ทรงประเสริฐ (เกิด 21 มกราคม พ.ศ. 2493 [1] - ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช) ศาสตราจารย์ระดับ 10[2] ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยเป็นรองหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ ​คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2550 ถึง พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2554

ภูวดล ทรงประเสริฐ บนเวทีของทางกลุ่มพันธมิตรฯ ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551

ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการแล้ว

ภูวดล ทรงประเสริฐ เกิดที่ตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ปริญญาตรีและโทด้าน ประวัติศาสตร์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมอนาช ประเทศออสเตรเลีย

ภูวดล ทรงประเสริฐ เป็นผู้ที่เคลื่อนไหวทางด้านสังคมและการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ขณะเรียนอยู่ปี 2 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลหลายเล่ม เช่น ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2546 เป็นต้น และเป็นบุคคลแรกในประเทศไทยที่สอนวิชาประวัติศาสตร์เกาหลี

เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เข้าร่วมชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นขาประจำบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของผู้ชุมนุม เพราะมีลีลาการปราศรัยที่เผ็ดร้อนและมีข้อมูลเชิงลึก แต่หลายครั้งก็เต็มไปด้วยอารมณ์และคำหยาบ จนกระทั่งหลังการปราศรัยเสร็จในคืนวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯได้ขึ้นเวทีไปตำหนิ และหลังจากนั้น ศ.ดร.ภูวดลก็มิได้ขึ้นเวทีของทางกลุ่มพันธมิตรฯอีกเลย แม้จะมีเสียงเรียกร้องจากผู้ชุมนุมก็ตาม[3] งานวิจัยที่สำคัญของอาจารย์ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจบทบาทของจีนโพ้นทะเลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ทุนจีนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดีบุกและยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=7062
  2. http://eoffice.ku.ac.th/kuoffice/psdttj/BMW645.pdf
  3. น้อยใจโดน"จำลอง"ไล่"ลงเวที"ภูวดล"หายหน้า พธม.ฮาร์ดคอร์โหยหา[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๗, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗