สุนีย์ สินธุเดชะ

รองศาสตราจารย์ สุนีย์ สินธุเดชะ นายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต อดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พวกเรารู้จักกันโดยทั่วไปว่า "อาจารย์แม่" หรือที่นักเรียนในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม และอนุบาลเรียกว่า "คุณยาย"[1] และเป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคถิ่นไทย[2]


สุนีย์ สินธุเดชะ

เกิดสุนีย์ เครือนิล
7 มกราคม พ.ศ. 2479 (88 ปี)
อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์
นักพูด
พิธีกร
นักแสดง
นักการเมือง
คู่สมรสพล.อ.ต.ประเทศ สินธุเดชะ
บุตรดร.นิธินาถ เตลาน

ประวัติ

แก้

รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ (เครือนิล) เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2479 ที่ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เริ่มเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนสตรีผดุงปัญญา จังหวัดตาก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีอักษรศาสตรบัณฑิตและครุศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ) [3] ศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัย Shatee University ประเทศสิงคโปร์ศึกษาดูงานการเรียนการสอนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยฮาวาย ศึกษาดูงานการศึกษาภาษาต่างประเทศและกิจกรรมด้านการเรียนวิชาการโรงแรม ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา สาขาพัฒนศึกษา จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลังจบการศึกษาจึงเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาจึงย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษ โรงเรียนผู้บังคับหมวดทหารอากาศ สถาบันจิตวิทยาและความมั่นคง มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล (มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชในปัจจุบัน) วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ และอีกหลายสถาบัน

อาจารย์แม่สมรสกับ พลอากาศตรี ประเทศ สินธุเดชะ มีบุตรสาวคนเดียว คือ ดร.นิธินาถ สินธุเดชะ เตลาน หลังเกษียณอายุราชการแล้ว รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ ได้เข้ามารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2554 และนายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555[4]

งานการเมือง

แก้

อาจารย์สุนีย์ เคยร่วมงานการเมืองกับ ดร.พิจิตต รัตตกุล โดยเข้ารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคถิ่นไทย ในปี พ.ศ. 2543 ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ลาออกจากพรรคถิ่นไทย จึงได้ลดบทบาททางการเมืองลงไป

งานการพูด

แก้

อาจารย์แม่นั้นมีชื่อเสียงมาจากการโต้วาทีที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในช่วง 14 ตุลาและ 6 ตุลากับการโต้วาทีกับนักศึกษา โดยมีการโต้ที่เด็ดขาด เฉียบแหลม สามารถตอบโต้ได้ทุกคำค้านของฝ่ายค้าน หยิบประเด็นใดมาก็สามารถโต้ได้หมด โดยอาจารย์แม่เคยเป็นนักพูดประจำรายการทีวีวาที เป็นแขกรับเชิญยุคแรกกับรายการจันทร์กะพริบ รายการสี่ทุ่มสแควร์ และมักถูกเชิญให้ไปเป็นกรรมการตัดสินการพูดโต้วาทีหลายครั้ง เมื่ออาจารย์แม่มีอายุมากขึ้นก็เริ่มรับงานน้อยลงวางมือทั้งงานพูดและงานบริหาร

งานบันเทิง

แก้

ผลงานภาพยนตร์

แก้

ผลงานละคร

แก้
  • พ.ศ. 2535 - ดอกไม้ของนายแย้ (ช่อง 3)

ผลงานพิธีกร

แก้

ผลงานโฆษณา

แก้
  • โฆษณา ยาสีฟันอีโมฟอร์ม(emofrom)
  • โฆษณา น้ำยาบ้วนปากอีโมฟอร์ม(emofrom)
  • โฆษณา ขนมgussen
  • โฆษณา RBAC

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ลูกยุคโลกาภิวัฒน์, หน้า 28-31. "แม่บ้านสราญ" โดย รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ. นิตยสารสราญ: ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กันยายน 2540
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค นโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และกรรมการบริหารพรรคถิ่นไทย
  3. "ข้อมูลจากโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา IES". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  4. สารนายกสภามหาวิทยาลัย
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๓, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙