สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (อักษรย่อ: ปปง.)เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกระทรวงยุติธรรม[4] มีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Anti-Money Laundering Office
Anti-Money Laundering Office Logo.png
ตราสัญลักษณ์
Phaya Thai Road AMLO IMG 7021.jpg
อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2542
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
งบประมาณประจำปี374.1965 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • (ว่าง)[2], ประธานกรรมการ
  • จตุพร บุรุษพัฒน์, รองประธานกรรมการ
  • เทพสุ บวรโชติดารา[3], เลขาธิการ
  • พลตำรวจตรี เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์http://www.amlo.go.th

สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ [5] มีเลขาธิการ ปปง. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต่อมาภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตามกฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ [6] โดยไม่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการ[7]

รายนามเลขาธิการ ได้แก่

รายชื่อ
พลตำรวจโท วาสนา เพิ่มลาภ
พลตำรวจตรี พีรพันธุ์ เปรมภูติ
พันตำรวจเอก ยุทธบูล ดิสสะมาน
พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์
พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล
พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร
พลตำรวจตรี ปิยะพันธ์ ปิงเมือง​
นายเทพสุ บวรโชติดารา

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแก้ไข

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๓๘/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน[8]ส่งผลให้มีการเพิ่ม เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นกรรมการ

คณะกรรมการ​ชุดปัจจุบัน​แก้ไข

  1. จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาการประธานกรรมการ
  2. บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์​ ปลัดกระทรวงแรงงาน
  3. กฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง
  4. ศรัณย์ เจริญสุวรรณ​ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
  5. ​พงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม
  6. พลเอก สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  7. นารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด
  8. พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  9. ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ​ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  10. รื่นวดี สุวรรณมงคล​ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  11. นิวัติไชย เกษมมงคล​ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  12. เทพสุ บวรโชติบวรดารา เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นกรรมการและเลขานุการ
  13. พลตำรวจตรี เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ​ รองเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ภาพลักษณ์องค์กรแก้ไข

 
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พญาไท

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นหน่วยงานที่ถูกวิจารณ์ว่าทำตามคำสั่งของนักการเมืองในการดำเนินคดีต่าง ๆ อาทิ กรณีเข้าตรวจสอบบัญชีธนาคาร และการชำระภาษีย้อนหลัง ของสื่อมวลชน เช่นสมัย ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยตำแหน่ง สั่งสอบบัญชี สุทธิชัย หยุ่น[9] แม้ว่าเป็นหน่วยงานที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงใด แต่นายกรัฐมนตรีมักส่งบุคคลที่เขาไว้ใจได้ว่าจะนโยบายมาเป็นเลขาธิการ ไม่เว้นแม้แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่แต่งตั้ง พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เป็นเลขาธิการ [10] ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้มีการแก้กฎหมาย ยกเลิกให้ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ยกเลิกอธิบดีกรมการประกันภัย อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และประธานสมาคมธนาคารไทย จากการเป็นกรรมการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการปปง. ถูกย้ายเป็นที่ปรึกษาปปง. ในวันที่ 13 มีนาคม 2559 และ มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2560 เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยย้ายให้มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 และพล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร เลขาธิการปปง.ในขณะนั้น[11] ถูกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2561 ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[12]ซึ่งเท่ากับเขาเป็นเลขาธิการที่ทำงานเพียง 46 วัน[13]

หน่วยงานภายในแก้ไข

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมาย
  • กองกำกับและตรวจสอบ
  • กองข่าวกรองทางการเงิน
  • กองคดี 1
  • กองคดี 2
  • กองคดี 3
  • กองความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กองนโยบายและยุทธศาสตร์
  • กองบริหารจัดการทรัพย์สิน
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

อ้างอิงแก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. พลตำรวจตรี ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ลาออกหลังชูวิทย์แฉทุนจีนสีเทา
  3. ครม.ไฟเขียวเคาะต่ออายุข้าราชการระดับ 10 กรมธุรกิจพลังงาน ตั้ง “เทพสุ” นั่งเลขาฯ ปปง.
  4. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-01-15.
  5. http://www.goldtraders.or.th/downloads/amlo/AMLO_ACT2.pdf
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/098/1.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/029/45.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/201/75.PDF
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-12. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 159 ง พิเศษ หน้า 4 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร)
  12. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๒/๒๕๖๑ เรื่อง ให้ข้าราชการพ้นจากตำแหน่ง (พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร)
  13. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/810379

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข