แก้วสรร อติโพธิ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
แก้วสรร อติโพธิ (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตแนวร่วมกลุ่ม กปปส.
แก้วสรร อติโพธิ | |
---|---|
ไฟล์:2009 Bangkok election poster- Kaewsan Atibhoti (cropped).JPG โปสเตอร์หาเสียงของแก้วสรรปี 2552 | |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม 2543 – 2 สิงหาคม 2549 | |
เขตเลือกตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2494 จังหวัดลำพูน ประเทศไทย |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | กปปส. |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน |
วิชาชีพ |
|
ญาติ | ขวัญสรวง อติโพธิ (ฝาแฝด) |
มีชื่อเสียงจาก | วิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร |
แก้วสรร ลาออกจากตำแหน่งรักษาการสมาชิกวุฒิสภา ลงสมัครเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 3 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับการทาบทามจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. แต่แล้วก็ไม่ได้รับการแต่งตั้ง โดยมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย คปค.ให้เหตุผลว่า เนื่องจากคุณสมบัติของแก้วสรรว่าไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ ซึ่งอาจเป็นข้อโต้แย้งถึงคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช. ในภายหลังได้
แก้วสรร อติโพธิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ คตส. ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ คตส.
แก้วสรร อติโพธิ เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ แกะรอยคอร์รัปชั่น และ ประธานมูลนิธิคุ้มครองเด็ก[1]
การศึกษา
แก้- โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ส.ก. 83 รุ่นเดียวกับ ธีรยุทธ บุญมี)
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิต (สอบได้อันดับที่ 6 ของรุ่นที่ 27) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
แก้- อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2539 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ. 2543 สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม
- พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2551
- ลาออกจาก รักษาการสมาชิกวุฒิสภา
- เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
- เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ แกะรอยคอร์รัปชั่น ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2552 ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเบอร์ 12 สังกัดอิสระ ในนามกลุ่มกรุงเทพฯใหม่
ชีวิตส่วนตัว
แก้แก้วสรรเป็นพี่น้องฝาแฝดกับ ขวัญสรวง อติโพธิ บิดาคือ ศิริ อติโพธิ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, ประธาน ปปป.
เขาเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.[2] ต่อมาในคราวการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาเป็นผู้ยื่นรายชื่อศิษย์เก่าต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อกดดันห้ามการชุมนุมในพื้นที่มหาวิทยาลัย[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ครูยุ่น" รับทราบข้อหาคดีทำร้ายเด็ก-ให้การปฏิเสธไทยพีบีเอส. 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 12:55 สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
- ↑ "อดีต กปปส. "แก้วสรร" โต้รุ่นพี่ธรรมศาสตร์ ไม่เคยกวักมือเรียกทหาร มาปฏิวัติ!". ข่าวสด. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
- ↑ "'แก้วสรร' ยื่นรายชื่อศิษย์เก่า มธ.หนุนอธิการฯห้ามชุมนุม ซัดม็อบลับๆล่อๆ ไม่โปร่งใส ปลุกปั่นจากไซเบอร์". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แก้วสรร อติโพธิ เก็บถาวร 2005-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์วุฒิสภา
- แก้วสรร อติโพธิ เก็บถาวร 2008-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์แก้วสรร
- ภาพจาก OSK Network