คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ชื่อย่อ คตส.) เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในเรื่องที่ได้กระทำการให้รัฐเสียหายเฉพาะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น ตั้งขึ้นตาม ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 [1] ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ประกอบด้วย
- นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานกรรมการตรวจสอบ[2]
- นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
- นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบ
- นายกล้านรงค์ จันทิก
- คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
- นายจิรนิติ หะวานนท์
- นายบรรเจิด สิงคะเนติ
- นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์
- นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ลาออก)
- นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์
- นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
- นายอำนวย ธันธรา
บทบาทและอำนาจหน้าที่
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อำนาจหน้าที่ของ คตส.เป็นไปตาม ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 โดยเฉพาะข้อ 9 ได้บัญญัติว่า
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุคคลใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริต หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงานเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่างแต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้วแต่กรณี
คณะกรรมการชุดเดิม
แก้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เป็นคณะกรรมการชุดใหม่ที่ตั้งขึ้นทดแทน คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ที่มีอำนาจตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติ หรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง โดยผลการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งตั้งขึ้นตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 23 [3] ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ หน่วยงานรองรับ ให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยขยายอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมถึงความผิดอันเกิดจากการหลีกเลี่ยงกฎหมายภาษีอากร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และตัดรายชื่อกรรมการที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่ามีความใกล้ชิดกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรออกไป [4]
คณะกรรมการชุดเดิมที่มีนายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธาน ประกอบด้วย
- นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
- ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน - คือ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
- อัยการสูงสุด - คือ นายพชร ยุติธรรมดำรง
- เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ - คือ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
- เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน - คือ พลตำรวจตรี พีรพันธุ์ เปรมภูติ
- เจ้ากรมพระธรรมนูญ - คือ พลเอก อัฎฐพร เจริญพานิช
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย - คือ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - คือ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
การรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
แก้ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทางสภามหาวิทยาลัยรังสิตได้มีมติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง ให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐทั้งหมด โดยได้รับปริญญานี้พร้อมกับ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา และนายวีระ สมความคิด นักเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนด้วย[5]
อ้างอิง
แก้- The Bangkok Post, New Thaksin charges, June 16, 2008.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
- ↑ http://www.thaiinsider.com/ShowNewsPost.php?Link=News/Political/2006-10-02/19-56.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2006-10-02.
- ↑ http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0101011049&day=2006/10/01[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ม.รังสิต ประกาศยกย่อง มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่อดีตคตส. - ก๊วนคนไม่เอา"แม้ว"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-12-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 (ภาษาอังกฤษ). AsianLii. สืบค้นเมื่อ 29-12-2552.