เสาวนีย์ อัศวโรจน์
ศาสตราจารย์ เสาวนีย์ อัศวโรจน์ สกุลเดิม สุจริตกุล (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2495) หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ เสาวนีย์ อัศวโรจน์ เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย
ศาสตราจารย์ เสาวนีย์ อัศวโรจน์ หรือที่รู้กันในนาม ศาสตราจารย์ ดร.เสาวนีย์ อัศวโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน คตส. ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย[1] จนครบวาระ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2558
คุณวุฒิ
แก้- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2515
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2516
- ประกาศนียบัตร U.S. LEGAL SYSTEM PROGRAM, Georgetown University, Washington D.C., U.S.A. พ.ศ. 2518
- Master of Laws (International Legal Studies) มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก พ.ศ. 2519 โดยทุนรัฐบาลไทย พ.ศ. 2518
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2523
- Master of Laws (General Studies) มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก พ.ศ. 2527
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2543
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2551
ประสบการณ์
แก้- ศาสตราจารย์ (ระดับ 10) ประจำคนแรกของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์ทางกฎหมายคนแรกของประเทศไทย ที่เป็นสตรี
- รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ประธานกรรมการห้องสมุด คณะนิติศาสตร์
- ประธานคณะกรรมการวิชาการ คณะนิติศาสตร์
- กรรมการประจำคณะนิติศาสตร์
- กรรมการปรับปรุงกฎหมายอนุญาโตตุลาการ
- กรรมการปรับปรุงกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท
- กรรมการในคณะอนุกรรมการวินิจฉัยหนี้และจัดสรรหนี้
- เกียรติคุณอื่น ๆ
- ได้รับคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ สร้างชื่อเสียงและเผยแพร่ชื่อเสียงหรือปกป้องเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในรอบ 70 ปีของการสถาปนามหาวิทยาลัย
- ได้รับคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นในรอบ 72 ปีของการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับคัดเลือกเป็นเกียรติภูมินิติโดม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2560
- ได้รับโล่สามศร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2567
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ เลือก 'คณิต' นั่งกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตามโผ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2009-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน