รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (ท่าพระ-บางซื่อ-หัวลำโพง-หลักสอง-พุทธมณฑล สาย 4) (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Chaleom Ratchamongkon Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน (อังกฤษ: MRT Blue Line) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนนิยมเรียกว่า "รถไฟฟ้าใต้ดิน" เนื่องมาจากช่วงเริ่มแรกให้บริการรถไฟฟ้าเส้นนี้ เส้นทางเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยได้รับสัมปทานจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2539[4][5] และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[6] โดยในระยะแรก เส้นทางช่วง หัวลำโพง-ศูนย์ฯ สิริกิติ์-บางซื่อ จะเป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดโดยรัฐเป็นผู้ลงทุน แต่ภายหลังใหัเอกชนลงทุนและเปลี่ยนเป็นใต้ดินทั้งหมด โดยรัฐบาลมีมติเมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2538 ให้ก่อสร้างใต้ดิน รัฐเป็นผู้ลงทุนโยธา ส่วนเอกชนเป็นผู้ดำเนินระบบรถไฟฟ้าและกิจการ[7]
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขบวนรถไฟฟ้าซีเมนส์รุ่นอินสไปโรวิ่งส่วนทางยกระดับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น | รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | เปิดให้บริการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปลายทาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนสถานี | 42 (ทั้งหมด) 38 (เปิดให้บริการ) 4 (โครงการ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การดำเนินงาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปแบบ | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบ | รถไฟฟ้ามหานคร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2593)[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศูนย์ซ่อมบำรุง | ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยเพชรเกษม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขบวนรถ | ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-IBL) จำนวน 57 ตู้ (19 ขบวน) : ขบวนละ 3 ตู้ ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-BLE#1) จำนวน 105 ตู้ (35 ขบวน) : ขบวนละ 3 ตู้ ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-BLE#2) จำนวน 63 ตู้ (21 ขบวน) : ขบวนละ 3 ตู้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้โดยสารต่อวัน | 400,000 คน (พ.ศ. 2562)[2] 431,000 คน (สิงหาคม พ.ศ. 2566)[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปีที่เริ่ม | พ.ศ. 2539 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดเมื่อ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนต่อขยายล่าสุด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562สถานีสิรินธร - สถานีจรัญฯ 13 - สถานีท่าพระ) | (|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทางเทคนิค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะทาง | 48 km (30 mi) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนทางวิ่ง | 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะทางวิ่ง | ทางยกระดับ ทางใต้ดิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบจ่ายไฟ | 750 V DC รางที่สาม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเร็ว | 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาณัติสัญญาณ | ซีเมนส์ เทรนการ์ด แอลซีบี 700เอ็ม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ปัจจุบันมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหลักสอง ผ่านสถานีท่าพระ, สถานีหัวลำโพง สถานีบางซื่อ และวิ่งกลับมาสิ้นสุดที่สถานีท่าพระอีกครั้ง รวม 38 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ที่สถานีบางหว้า, สถานีสีลม, สถานีสุขุมวิท, สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีเพชรบุรี และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้มและรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อนได้ที่ สถานีบางซื่อ
นาม เฉลิมรัชมงคล เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานให้เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินในช่วงแรก คือช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ มีความหมายว่า "งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา"[8] ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม "เฉลิมรัชมงคล" สำหรับเส้นทางส่วนต่อขยายทั้งสองช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และช่วงบางซื่อ-ท่าพระอีกด้วย[9]
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศเหนือที่สถานีเตาปูน ไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์ และแยกท่าพระ และจากปลายทางด้านทิศใต้ สถานีหัวลำโพง ไปยังท่าพระและบางแค ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางเชื่อมต่อกันที่สถานีท่าพระ ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวน โดยโครงการได้มีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงบางซื่อ - เตาปูน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ช่วงหัวลำโพง - หลักสอง เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562 และช่วงเตาปูน - ท่าพระ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[10]
ภาพรวม
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทั้งทางยกระดับเหนือพื้นดินและเป็นอุโมงค์ใต้ดินเป็นสายแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในอดิต ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานโครงการในการร่วมทุนและดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือ PPP-Net Cost ภายในกรอบระยะเวลา 27 ปี จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และได้รับการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2560 ออกไปอีก 33 ปี รวมเป็น 60 ปี มีแนวเส้นทางเป็นแนววงกลมภายในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณหน้าห้างเดอะมอลล์บางแค ตามแนวถนนเพชรเกษม วิ่งผ่านแยกท่าพระ แล้วลดระดับลงเป็นเส้นทางใต้ดิน ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งพระนครภายในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สวนลุมพินี, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สวนจตุจักร และสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แนวเส้นทางจะยกระดับกลับเป็นเส้นทางลอยฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากลับสู่ฝั่งธนบุรี และกลับมาสิ้นสุดเส้นทางทั้งหมดที่แยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 47.8 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่เน้นการขนส่งผู้โดยสารระหว่างสายด้วยการเดินรถเป็นวงกลมรอบ ๆ กรุงเทพมหานครชั้นใน
พื้นที่เส้นทางผ่าน
แก้แขวง/ตำบล | เขต/อำเภอ | จังหวัด |
---|---|---|
อ้อมน้อย | กระทุ่มแบน | สมุทรสาคร |
หนองค้างพลู | หนองแขม | กรุงเทพมหานคร |
บางแคเหนือ | บางแค | |
บางหว้า / ปากคลองภาษีเจริญ | ภาษีเจริญ | |
วัดท่าพระ / วัดอรุณ | บางกอกใหญ่ | |
พระบรมมหาราชวัง / วังบูรพาภิรมย์ | พระนคร | |
สัมพันธวงศ์ | สัมพันธวงศ์ | |
รองเมือง / ปทุมวัน / ลุมพินี | ปทุมวัน | |
สี่พระยา / สีลม | บางรัก | |
ทุ่งมหาเมฆ | สาทร | |
คลองเตย | คลองเตย | |
คลองเตยเหนือ | วัฒนา | |
มักกะสัน | ราชเทวี | |
บางกะปิ / ห้วยขวาง / สามเสนนอก | ห้วยขวาง | |
ดินแดง / รัชดาภิเษก | ดินแดง | |
จอมพล / จตุจักร | จตุจักร | |
บางซื่อ | บางซื่อ | |
บางอ้อ / บางยี่ขัน | บางพลัด | |
ศิริราช / บางขุนศรี / บ้านช่างหล่อ | บางกอกน้อย | |
แนวเส้นทาง
แก้แนวเส้นทางประกอบไปด้วยเส้นทางยกระดับและเส้นทางใต้ดิน มีจุดเริ่มต้นจากสถานีหลักสอง ที่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางแค มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนเพชรเกษม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมที่สถานีบางหว้า จากนั้นเข้าสู่ชานชาลาล่างของสถานีท่าพระซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางภายในสายทางเดียวกัน จากนั้นลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เข้าสู่สถานีอิสรภาพแล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ความลึก 38 เมตรจากผิวดิน เข้าสู่สถานีสนามไชย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีสามยอด จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนเจริญกรุง เข้าสู่ถนนพระรามที่ 4 ที่สถานีหัวลำโพง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกครั้งที่สถานีสีลม และมุ่งหน้าต่อจนถึงบริเวณย่านบ่อนไก่ - ตลาดคลองเตย แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไปทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีสุขุมวิท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางรถไฟสายตะวันออกที่สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือจนถึงบริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดพร้าว มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าถนนพหลโยธิน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีพหลโยธิน แล้วลอดใต้ถนนวิภาวดีรังสิต เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทอีกครั้งที่สถานีหมอชิต เลี้ยวขวาเข้าสู่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินตามแนวถนนกำแพงเพชร และยกระดับกลับไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน จากนั้นยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พื้นที่ฝั่งธนบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาสิ้นสุดที่ชานชาลาบนของสถานีท่าพระ รวมระยะทาง 47.8 กิโลเมตร
- แผนที่เส้นทาง
รายชื่อสถานี
แก้การเชื่อมต่อ
แก้รถไฟฟ้ามหานคร
แก้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่น ๆ ในระบบรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้ามหานคร | สถานีรถไฟฟ้ามหานคร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว[11] | |||
BL10 | สถานีเตาปูน | สายสีม่วง: สถานีเตาปูน | เชื่อมต่อโดยตรง |
BL15 | สถานีลาดพร้าว | สายสีเหลือง: สถานีลาดพร้าว | เชื่อมต่อโดยตรงผ่านทางออกที่ 3 ของสายสีเหลือง และระหว่างอาคารจอดรถจากลิฟต์ชั้นร้านค้าของสถานี หรือลิฟต์จากภายในกูร์เมต์ มาร์เก็ต ขึ้นมายังทางเชื่อมสถานีชั้น 4 |
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต [12] | |||
BL04 | สถานีบางขุนนนท์ | สายสีส้ม: สถานีบางขุนนนท์ | เชื่อมต่อโดยตรง |
BL19 | สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | สายสีส้ม: สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | เชื่อมต่อโดยตรง |
BL30 | สถานีสามยอด | สายสีม่วง: สถานีสามยอด | เชื่อมต่อโดยตรง |
รถไฟฟ้าบีทีเอส
แก้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้ามหานคร | สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว [13] | |||
BL13 | สถานีสวนจตุจักร | สายสุขุมวิท : สถานีหมอชิต | เชื่อมต่อโดยตรง |
BL14 | สถานีพหลโยธิน | สายสุขุมวิท : สถานีห้าแยกลาดพร้าว | เชื่อมต่อด้วยสะพานยกระดับจากตัวสถานีระยะทางประมาณ 350 เมตร |
BL22 | สถานีสุขุมวิท | สายสุขุมวิท : สถานีอโศก | เชื่อมต่อด้วยอาคารเชื่อม |
BL26 | สถานีสีลม | สายสีลม : สถานีศาลาแดง | เชื่อมต่อด้วยสะพานยกระดับจากตัวสถานีระยะทางประมาณ 150 เมตร |
BL34 | สถานีบางหว้า | สายสีลม : สถานีบางหว้า | เชื่อมต่อโดยตรง |
รถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน
แก้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองหรือรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
- สถานีหัวลำโพง เชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีหัวลำโพง ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-มหาชัย
- สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับสถานีมักกะสัน ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสถานีมักกะสัน ของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านสะพานเชื่อม
- สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ที่ชั้นใต้ดินของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
- สถานีบางขุนนนท์ เชื่อมต่อกับสถานีจรัญสนิทวงศ์ ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
เส้นทางสายรองนอกระบบรถไฟฟ้ามหานคร
แก้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางรถไฟฟ้าสายรองนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระบบรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
- สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ / สถานีคลองเตย / สถานีลุมพินี / สถานีท่าพระ : รถไฟฟ้าสายสีเทา (โครงการ)
- สถานีลุมพินี : รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (โครงการ)
เส้นทางการคมนาคมทางน้ำ
แก้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือโดยสารต่าง ๆ ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
- สถานีสนามไชย เชื่อมต่อกับท่าเรือราชินีของเรือด่วนเจ้าพระยา
- สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับท่าเรืออโศกของเรือโดยสารคลองแสนแสบ
- สถานีบางโพ เชื่อมต่อกับท่าเรือบางโพของเรือด่วนเจ้าพระยา
แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น
แก้ทางเดินเข้าอาคารข้างเคียง
แก้ในบางสถานี ผู้โดยสารสามารถเดินเข้าสู่อาคารข้างเคียงผ่านทางเชื่อมได้ดังนี้ (ตัวเอน หมายถึงกำลังก่อสร้าง)
- สถานีหลักสอง : เอ็มไลฟ์สโตร์ บางแค
- สถานีภาษีเจริญ : ซีคอนบางแค
- สถานีสามย่าน : จัตุรัสจามจุรี, สามย่านมิตรทาวน์
- สถานีสีลม : ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (สะพานเชื่อม), อาคารสีลมเอจ (สะพานเชื่อม)
- สถานีลุมพินี : วัน แบงค็อก รีเทล (พาเหรด และเดอะ สตอรีส์)
- สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- สถานีสุขุมวิท : เทอร์มินอล 21 อโศก, เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท สุขุมวิท และโรงแรมเวสทินแกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพ, โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพ, โรงแรมโซลาเรีย นิชิเทสซึ กรุงเทพ, เอ็กซ์เชนจ์ 21 (ผ่านอาคารเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอโศก)
- สถานีเพชรบุรี : สิงห์คอมเพล็กซ์
- สถานีพระราม 9 : เซ็นทรัล พระราม 9 และอาคาร จี ทาวเวอร์ แอท เซ็นทรัลแกรนด์
- สถานีบางโพ : เกทเวย์ แอท บางซื่อ, โรงพยาบาลบางโพ
รูปแบบของโครงการ
แก้- เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
- ทางวิ่ง ช่วงใต้ดิน 22 สถานี เป็นอุโมงค์คู่วางตามแนวราบ และตามแนวดิ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางภายในอุโมงค์ 5.7 เมตร ความลึกของอุโมงค์ 15-30 เมตรจากระดับพื้นดิน ทางเดินฉุกเฉินกว้าง 0.6 เมตร สูง 2.0 เมตร และช่วงลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สนามไชย-อิสรภาพ) มีความลึก 30 เมตรจากผิวน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และ 7 เมตรจากใต้ท้องน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และช่วงยกระดับ 20 สถานี ยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ มีกำแพงกันเสียงและตาข่ายกันสิ่งรบกวนในบางช่วง ยกเว้นช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (บางโพ-บางอ้อ) และช่วงข้ามทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี มีความสูง 24 เมตร และข้ามทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-ธนบุรี) มีความสูง 17 เมตร และช่วงข้ามทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม กับช่วงเข้าชานชาลาสถานีท่าพระชั้นบน มีความสูงประมาณ 19 เมตร
- ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
- ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
- ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
แก้โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งหมดสองแห่ง ได้แก่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9 ในพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถนนพระรามที่ 9 (สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า สาขา 1 (สีน้ำเงิน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รองรับการซ่อมบำรุงโครงการในฝั่งพระนคร และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยเพชรเกษม-กัลปพฤกษ์ ถนนกัลปพฤกษ์ รองรับการซ่อมบำรุงโครงการในฝั่งธนบุรี ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9
สิ่งอำนวยความสะดวก
แก้มีจุดจอดรถประจำสถานีที่สถานีใต้ดิน 7 สถานี มีจุดจอดรถที่ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์ 1 แห่ง จุดจอดรถบริเวณใต้ด่านอโศก 1 ของทางพิเศษศรีรัชซึ่งเป็นพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 1 แห่ง จุดจอดรถที่อาคารผู้โดยสารสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 1 แห่ง จุดจอดรถที่อาคารผู้โดยสารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ของรถไฟฟ้าสายสีแดง 1 แห่ง และมีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 5 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าว อาคารจอดรถสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อาคารจอดรถภายในโครงการแอชตัน อโศก สถานีสุขุมวิท (ให้บริการเฉพาะการจอดรถรายเดือน) และอาคารจอดรถสถานีหลักสอง 2 อาคาร
สถานี
แก้มีทั้งหมด 42 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 22 สถานี สถานียกระดับ 20 สถานี โดยนับสถานีเชื่อมต่อคือสถานีท่าพระเป็นสถานีเดียว
- รูปแบบสถานี
สถานีโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตร ยกเว้นสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยที่มีความยาวพิเศษถึง 358 เมตร เนื่องจากเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสถานีชุมทางสำหรับนำรถออกจากระบบขึ้นสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง สถานีออกแบบให้รองรับรถไฟฟ้าได้สูงสุด 6 ตู้ต่อสถานี มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height และ Full-Height ในทุกสถานี สถานีและทางวิ่งใต้ดินออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ส่วนสถานียกระดับออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ยกเว้นสถานีที่ต้องคร่อมอุโมงค์ใต้ดิน จะใช้วิธีการตั้งเสายึดสถานีจากทางเท้าแทน
ขบวนรถโดยสาร
แก้ปัจจุบันรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล มีการใช้ขบวนรถอยู่ถึง 2 รุ่น ได้แก่ ขบวนรถซีเมนส์ โมดูลาร์เมโทร และ ซีเมนส์ อินสไปโร
ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-IBL)
แก้สถานะ : ขบวนรถให้บริการตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 19
- หมายเลขประจำขบวน หมายเลข 1 ถึง 19
- ความยาว 3 ตู้ต่อ 1 ขบวน
- จำนวน 19 ขบวน
เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) ขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 19.23 เมตร และสูงประมาณ 3.8 เมตร ใช้ล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก ตัวรถมีระบบปรับอากาศ สามารถจุผู้โดยสารได้ 320 คนต่อคัน สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 40,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางไป-กลับ ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับขับเคลื่อนตัวรถ ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีจำนวนขบวนรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 19 ขบวน ซึ่งขบวนหมายเลข 1 ถูกส่งมาประเทศไทยโดยเครื่องบิน
ในปลาย พ.ศ. 2563 รถไฟฟ้ารุ่นนี้ ได้เริ่มทยอยนำมาปรับปรุง (Refurbished) ใหม่เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และความสะดวก ของผู้โดยสารภายในขบวนรถ โดยมีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และ จอแสดงสถานะขบวนรถ (LCD-DRM) โดยเริ่มที่ขบวนหมายเลข 4 (EMU-VN4) เป็นขบวนแรก
ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-BLE)
แก้หมายเลขประจำขบวน หมายเลข 20 ถึง 54
- ความยาว 3 ตู้ต่อ 1 ขบวน
- จำนวน 56 ขบวน ให้บริการแล้ว 35 ขบวน จัดหาเพิ่มอีก 21 ขบวน
รถไฟฟ้ารุ่นบีแอลอี ผลิตโดยซีเมนส์เช่นกัน มีทั้งหมด 35 ขบวน โดยจัดส่งรถไฟฟ้าขบวนแรกในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562[14] จัดส่งอีก 9 ขบวนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 และอีก 6 ขบวนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[15]
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2567 ได้มีมติอนุมัติสัญญาว่าจ้างให้แก่ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวนจากบริษัทซีเมนส์ รวมถึงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณ ปรับปรุงระบบเกี่ยวเนื่อง เพื่อนำมาเพิ่มความถี่ในระบบและเป็นการรองรับจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มมากขึ้นจากการเปิดให้บริการของสายสีส้มใน พ.ศ. 2570 โดยขบวนแรกคาดว่าจะจัดส่งและพร้อมทดสอบได้ใน พ.ศ. 2569
ระบบในการเดินรถ
แก้ในการเดินรถไฟฟ้าได้นำระบบอาณัติสัญญาณ Trainguard LZB700M เป็นระบบ Fixed Block ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยสูงสุด แบ่งเป็น 3 ระบบย่อย คือ
- "ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ" เรียกว่า ATO (Automatic Train Operation) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของขบวนรถไฟฟ้า เช่น การขับเคลื่อนรถไฟฟ้า, การควบคุมความเร็วของรถไฟฟ้า, การควบคุมการห้ามล้อ, การจอดรถไฟฟ้า และการรายงานสถานะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในตัวรถไฟฟ้าไปยังศูนย์ควบคุม
- "ระบบป้องกันอัตโนมัติ" เรียกว่า ATP (Automatic Train Protection) เป็นระบบที่คอยควบคุมไม่ให้รถไฟฟ้าใช้ความเร็วเกินกำหนด ควบคุมความเร็วรถให้อยู่ในพิกัดความเร็วที่สัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างรถไฟฟ้าข้างหน้า หากเกิดเหตุผิดปกติ ระบบ ATP จะสั่งการห้ามล้ออัตโนมัติ นอกจากนี้ยังควบคุมการเคลื่อนตัวของรถไฟฟ้าจากสถานีรถไฟฟ้า โดยหากประตูรถไฟฟ้าและประตูกั้นชานชาลายังปิดไม่เรียบร้อย ระบบ ATP จะไม่อนุญาตให้รถไฟฟ้าเคลื่อนตัวออกจากสถานี ต่างจากระบบ ATO ตรงที่มีความอิสระต่างกัน กรณีที่ระบบ ATO ขัดข้อง ต้องใช้คนควบคุมการเดินรถ ระบบ ATP จะยังคอยควบคุมการเดินรถต่อไป
- "ระบบกำกับการเดินรถอัตโนมัติ" เรียกว่า ATS (Automatic Train Supervision) เป็นระบบที่คอยควบคุมการเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบให้เป็นไปตามตารางการเดินรถ โดยจะส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ความเร็วของรถไฟฟ้าแต่ละขบวน ติดตามและแสดงตำแหน่งของรถไฟฟ้าทุกขบวนที่อยู่ในระบบ และจัดเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ ในการควบคุมการเดินรถ เมื่อระบบการเดินรถมีเหตุขัดข้อง
อุบัติเหตุ
แก้เหตุรถไฟฟ้าชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายละเอียด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันที่ | 17 มกราคม พ.ศ. 2548 09.20 เวลาประเทศไทย (UTC+07:00) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่ | สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สาย | สายสีน้ำเงิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 หลังจากเปิดบริการได้ 7 เดือน เกิดอุบัติเหตุที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สาเหตุเกิดจากรถไฟฟ้าขบวนหนึ่งได้เคลื่อนขึ้นไปที่ศูนย์ซ่อมบำรุงบนระดับพื้นดิน (ศูนย์ช่อมบำรุงอยู่ระหว่างสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยและสถานีพระราม 9) แต่เกิดปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องที่บริเวณทางโค้ง (เป็นบริเวณจุดสับราง) ก่อนถึงด้านบน ทางศูนย์ฯ จึงได้ส่งรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมาช่วยลากรถ แต่เนื่องจากรถไฟฟ้าที่เสียนั้นอยู่บริเวณจุดสับราง จึงไม่สามารถทำการลากรถได้ ทางศูนย์ฯ จึงได้สั่งให้พนักงานขับรถปล่อยเบรกลมออกเพื่อให้รถเคลื่อนที่ออกจากบริเวณจุดสับราง แต่ปรากฏว่าตัวรถเกิดไหลย้อนกลับลงไปในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในขณะเดียวกันมีรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งกำลังจอดรับผู้โดยสารอยู่ในสถานีฝั่งมุ่งหน้าไปสถานีพระราม 9 ระบบอัตโนมัติได้ปิดประตูรถไฟฟ้าเพื่อเตรียมออกสู่สถานีพระราม 9 แต่รถกลับไม่สามารถออกจากสถานีได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ในเวลาไม่กี่นาทีรถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารจึงถูกรถไฟฟ้าที่ไหลมาจากด้านบนชนประสานงา ทำให้มีผู้โดยสารรวมถึงพนักงานประจำสถานีบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต และขบวนรถได้รับความเสียหายทั้ง 2 ขบวน หลังจากเหตุการณ์นั้นทาง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกประกาศหยุดบริการเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อนำขบวนรถที่ชนกันกลับไปซ่อมแซมที่โรงงานบริษัทซีเมนส์และฟื้นฟูสภาพชานชาลาของสถานี พร้อมรับผิดชอบความเสียหายให้กับผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ
ส่วนต่อขยาย
แก้ส่วนต่อขยายด้านใต้ (หลักสอง-พุทธมณฑลสาย 4)
แก้- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน
- เส้นทาง เป็นโครงสร้างยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ต่อเนื่องจากเส้นทางช่วงแรกที่ทางแยกต่างระดับบางแค มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านเขตหนองแขม และไปสิ้นสุดที่แยกสาครเกษม รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร
- สถานี จำนวน 4 สถานี
- สถานะปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการประเมินยอดผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแบบครบรอบ[16]
รายชื่อสถานี
แก้รหัส | ชื่อสถานี | ระยะห่างจาก สถานีก่อนหน้า (กิโลเมตร) |
โครงสร้าง | หมายเหตุ | จุดเปลี่ยนเส้นทาง | กำหนดเปิดให้บริการ |
---|---|---|---|---|---|---|
หลักสอง–พุทธมณฑล สาย 4 | ||||||
BL39 | พุทธมณฑล สาย 2 (Phutthamonthon Sai 2) | ยกระดับ | ระงับแผนชั่วคราวรอประเมินจำนวนผู้โดยสาร | |||
BL40 | ทวีวัฒนา (Thawi Watthana) | |||||
BL41 | หนองแขม (Nong Khaem) | |||||
BL42 | พุทธมณฑล สาย 4 (Phutthamonthon sai 4) | |||||
บริการ
แก้การให้บริการปกติ
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการเดินรถในแต่ละสถานีไม่เท่ากัน โดยเริ่มเดินรถขบวนแรกในเวลา 05.34 น. จากสถานีหลักสอง และสถานีท่าพระจากชานชาลาที่ 3-4 โดยความถี่การเดินรถจะขึ้นอยู่กับเวลา และความหนาแน่นของผู้โดยสาร แต่เวลาปิดให้บริการจะเร็วกว่าเวลาปิดทำการปกติของระบบ กล่าวคือเมื่อรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายออกจากสถานีสถานีรถไฟฟ้าจะปิดทำการทันที โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 23.08-00.24 น. จากสถานีหลักสองไปสถานีท่าพระ (ชานชาลาที่ 3-4) และเวลา 23.11-00.27 น. จากสถานีท่าพระ (ชานชาลา 3-4) ไปสถานีหลักสอง ตัวอย่างเช่น สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีรถขบวนสุดท้ายมุ่งหน้าไปสถานีท่าพระในเวลา 23.48 น. แต่มีรถขบวนสุดท้ายมุ่งหน้าไปสถานีหลักสองในเวลา 23.50 น. ฉะนั้นเวลา 23.50 น. จะเป็นเวลาปิดทำการของสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อนึ่ง เนื่องจากรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ให้บริการขบวนสุดท้ายตั้งแต่เวลา 23.00 น. จากสถานีคลองบางไผ่ และให้บริการขบวนสุดท้ายจากสถานีเตาปูนในเวลา 23.24 น. ช่วงเวลาตั้งแต่ 22.22-23.19 น. รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จะมีประกาศข้อความพิเศษว่า "รถไฟฟ้าขบวนนี้เป็นรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสีม่วงขบวนสุดท้าย ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสายสีม่วง กรุณาโดยสารไปกับรถขบวนนี้" และเมื่อรถเชื่อมต่อสายสีม่วงขบวนสุดท้ายออกจากสถานี สถานีจะติดป้ายประกาศแจ้งผู้โดยสารว่า "รถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสีม่วงขบวนสุดท้าย ออกจากสถานีเรียบร้อยแล้ว"
อัตราค่าโดยสาร
แก้ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จัดเก็บค่าโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ด้วยการคิดตามระยะทางเดินทางที่สั้นที่สุดจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง และไม่สนใจว่าผู้โดยสารเลือกเดินทางอย่างไร โดยที่ผู้โดยสารมีระยะเวลาอยู่ภายในระบบไม่เกิน 180 นาที หากเกินจากเวลาที่กำหนด จะต้องชำระค่าปรับเป็นอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่บริษัทฯ เรียกเก็บในขณะนั้น (45 บาท) อนึ่งอัตราค่าโดยสารที่ประกาศเรียกเก็บมีอายุ 2 ปีนับจากวันที่ 3 กรกฎาคม ของปีที่มีประกาศปรับอัตราค่าโดยสารเป็นลายลักษณ์อักษรจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม ในอีก 2 ปีถัดมา ปัจจุบันตามรอบปรับค่าโดยสารตั้งแต่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ เรียกเก็บอัตราค่าโดยสารดังต่อไปนี้
- อัตราค่าโดยสารแบบเงินสด
- อัตราค่าโดยสารสำหรับเหรียญโดยสาร
- บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 45 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- เด็ก เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 23 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 23 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 37 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตร M, MRT Plus+ และบัตรแรบบิท
- บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 45 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 40 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 65 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- เด็ก เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 23 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 23 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 35 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด กรณีเดินทางข้ามไปสายนัคราพิพัฒน์ ต้องชำระค่าโดยสารเพิ่มสูงสุด 23 บาทด้วยบัตรแรบบิทประเภทผู้สูงอายุ
- อัตราค่าโดยสารพิเศษ ใช้จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตรแมงมุม
- บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 45 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 40 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 65 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 9 บาท สูงสุด 23 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 37 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 45 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 70 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย (เฉพาะสายฉลองรัชธรรม) โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด และในบัตรมีงบค่าโดยสารในบัตรให้เดือนละ 500 บาท
- ผู้โดยสารต้องเปิดใช้งานบัตรแมงมุมมาจากสายฉลองรัชธรรมก่อนนำมาใช้เดินทางในสายเฉลิมรัชมงคล
- อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตรเดบิต/บัตรเครดิต วีซ่า และมาสเตอร์การ์ด ที่ออกโดยธนาคารในประเทศไทย
- บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 17 บาทสูงสุด 45 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 76 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
- บัตรที่สามารถใช้งานได้จะต้องรองรับวีซ่า เพย์เวฟ หรือมาสเตอร์การ์ด เพย์พาสแล้ว
- บัตรเดบิตที่สามารถใช้งานได้ในปัจจุบัน (พฤษภาคม พ.ศ. 2566) ได้เฉพาะบัตรเดบิตที่ออกโดย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย)
- เงื่อนไขการใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา
- ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา จะต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปี และ/หรือไม่เกินวันเกิดอายุครบ 23 ปี ในสังกัดสถาบันการศึกษา ขอสงวนสิทธิ์ให้ใช้ร่วมกับบัตรนักเรียน/นักศึกษาและบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่แสดงอายุได้ กรณีที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าวเมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ หรือใช้บัตรโดยสารผิดประเภทบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้โดยสารในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ บริษัทเรียกเก็บ ณ เวลานั้นๆ
- หมายเหตุ
- การเดินทางข้ามสาย หมายถึง การเดินทางระหว่างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ (สายสีเหลือง) โดยที่
- ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางข้ามสาย ระหว่างสายสีน้ำเงิน กับสายสีม่วง สามารถใช้เหรียญหรือบัตรโดยสารในการเดินทางได้ โดยไม่ต้องออกจากระบบระหว่างการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้า ณ สถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วม
- ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางข้ามสาย ระหว่างสายสีน้ำเงิน กับสายสีเหลือง ต้องใช้บัตรเดบิต/บัตรเครดิต วีซ่า และมาสเตอร์การ์ดใบเดียวกัน แตะออกจากระบบที่สถานีลาดพร้าว และต้องแตะกลับเข้าระบบภายในระยะเวลา 30 นาที ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องชำระค่าโดยสารเต็มอัตราทั้งสองระบบ แต่ระบบของ รฟม. จะคืนค่าแรกเข้าของสายที่สองให้ภายใน 3 วันทำการ
- ระยะทางที่สั้นที่สุด หมายถึง การคิดค่าโดยสารจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทางผ่านเส้นทางที่สั้นที่สุด โดยตัดจุดกึ่งกลางระบบภายในเส้นวงกลมที่สถานีสุทธิสาร ตัวอย่างเช่น จากสถานีหลักสอง - สถานีจรัญฯ 13 จะคิดค่าโดยสารจากสถานีหลักสองขึ้นมาจนถึงสถานีท่าพระ แล้วลัดไปคิดค่าโดยสารฝั่งจรัญสนิทวงศ์ทันที แม้ผู้โดยสารเลือกเดินทางอ้อมเส้นทางก็ตาม
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
แก้- สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และ/หรือ ไม่เกินวันเกิดอายุครบ 14 ปี และมีช่วงความสูงไม่เกิน 90 ซม. ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
- ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือตั้งแต่วันเกิดอายุครบ 60 ปี จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสารเช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- สำหรับประชาชนทุกคนในโอกาสวันสำคัญทางราชการ เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฯลฯ สามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้โดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลาที่ประกาศกำหนด
- สำหรับประชาชนทุกคนในพิธีการสำคัญระดับประเทศ เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ สามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้โดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลาที่ประกาศกำหนด
- สำหรับประชาชนที่เป็นบิดาหรือมารดาในวันพ่อแห่งชาติ และ วันแม่แห่งชาติ
- ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้รับการยกเว้นค่าโดยสารช่วงวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน
มาตรการความปลอดภัยและเวลาเร่งด่วน
แก้ข้อกำหนด ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547[17] รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลด้วยปรากฏว่ามีการโดยสารที่แออัดในเวลาเช้าทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลจึงประกาศข้อกำหนดดังต่อไปนี้
- ผู้โดยสารทุกคนมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ณ สถานีจตุจักร เฉพาะผู้เดินทางไปยังปลายทางสถานีบางซื่อ ในเวลา 6.50-9.15 ในบางขบวนผู้โดยสารกรุณาให้ความร่วมมือลงจากรถ ณ สถานีดังกล่าว และผู้โดยสารที่จะเดินทางไปปลายทางหัวลำโพงจากสถานีบางซื่อ, กำแพงเพชร และสถานีจตุจักร จะต้องรอรถโดยสารประมาณ 7 นาที
- เฉพาะชานชาลาชั้นบนของสถานีท่าพระ และสถานีหลักสอง จะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเข้าไปในตัวรถโดยสารโดยเด็ดขาด จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
- อาศัยอำนาจตาม กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา 3 ที่กำหนดไว้คนโดยสารหรือบุคคลอื่นในเขตระบบรถไฟฟ้ามีหน้าที่ปฏิบัติตามเครื่องหมาย, ประกาศ, ป้าย หรือสัญญาณอื่นใด ตลอดจนคำแนะนำและคำตักเตือนของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการบังคับตามข้อกำหนดนี้
- ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม มาตรา 62 มาตรา 77 พรบ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 บัญญัติให้สามารถกระทำได้[18]
ข้อกำหนดต่าง ๆ มีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้โดยสารอาทิเช่นมีการวิจัยว่าผู้โดยสารตั้งแต่สถานีจตุจักรไปยังสถานีหัวลำโพงมีจำนวนในช่วงเช้าจึงจำเป็นต้องให้ผู้โดยสารในสถานีต้นสาย เสียสละเวลาเล็กน้อย เพื่อลดความหนาแน่นในขบวนรถไฟในช่วงเช้าและจะได้มีความปลอดภัยในทรัพย์สินมากขึ้นเนื่องจากมักมีการปล้นทรัพย์โดยอาศัยความหนาแน่นของจำนวนผู้โดยสารซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีโอกาสเกิดได้มากกว่ากรณีที่ผู้โดยสารเบาบาง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องให้ผู้โดยสารออกนอกตัวรถเนื่องจากรถจะทำการกลับไปยังสถานีเดิม จึงต้องทำการตรวจรถโดยสารแต่ไม่ตรวจผู้โดยสาร และเชิญผู้โดยสารออกนอกรถด้วยวาจาสุภาพ อย่างไรก็ตามหากผู้โดยสารไม่ให้ความร่วมมืออาจมีความผิดฐานขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2,000 บาท และผู้โดยสารมีสิทธิฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการด้วยวาจาไม่สุภาพ, ข่มขู่, ทำร้าย หรือคุกคามได้ เฉพาะข้อหนึ่งของประกาศมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
การสนับสนุนภาครัฐ
แก้คนพิการขึ้นรถไฟฟ้าฟรี
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเพียงรถไฟฟ้าสายเดียวที่สนับสนุนโยบายภาครัฐในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรผู้พิการ โดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรผู้พิการที่ออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้บริการผ่านระบบโทรศัพท์ภายในบริเวณทางเข้าสถานี หรือผ่านศูนย์ข้อมูลผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่อให้พนักงานในสถานีส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมารับผู้โดยสาร จากนั้นผู้โดยสารจะต้องแจ้งสถานีปลายทางที่จะเดินทาง เพื่อประสานงานในการรับส่งผู้โดยสาร ณ สถานีปลายทางต่อไป หากแต่ผู้โดยสารประสงค์ที่จะเปลี่ยนสถานีกลางคัน ก็พึงทำได้โดยแจ้งพนักงานขับรถไฟฟ้าผ่านระบบอินเตอร์คอมภายในขบวนรถไฟฟ้า
ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สนับสนุนนโยบายลดค่าครองชีพของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ โดยสามารถโดยสารรถไฟฟ้ามหานครได้ฟรีโดยมีงบค่าโดยสารภายในบัตร 500 บาทต่อเดือน ผู้ที่ถือบัตรเวอร์ชัน 2.5 (มีตราสัญลักษณ์แมงมุมที่ด้านหลังบัตร) สามารถนำบัตรดังกล่าวไปเปิดใช้งานได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายฉลองรัชธรรม เพียงครั้งเดียว ก็สามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ใบนั้นไปแตะเข้าสู่ระบบได้ทันที ทั้งนี้วงเงินดังกล่าวสามารถติดลบได้เหมือนกับบัตรแมงมุมทั่วไป และจะหักออกจากงบ 500 บาท เมื่อถึงวันตัดรอบบัญชี แต่สำหรับผู้ถือบัตรเวอร์ชัน 3.0 และ 4.0 (มีตราสัญลักษณ์พร้อมท์การ์ดที่ด้านหลังบัตร) สามารถนำบัตรดังกล่าวไปออกเหรียญโดยสารเที่ยวเดียวได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร หากใช้บริการเกินวงเงิน เจ้าหน้าที่จะออกเหรียญโดยสารมูลค่าต่ำสุด (16 บาท) ให้ใช้เดินทาง และต้องชำระส่วนต่างที่สถานีปลายทางก่อนออกจากระบบ
การช่วยเหลือคนที่มีความต้องการพิเศษ
แก้พนักงานของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยมีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้มีความพิการ อาทิการจูงผู้พิการทางสายตาไปยังสถานี การให้บริการติดตามผู้โดยสารที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโดยให้พนักงานเดินทางไปด้วย เช่นผู้โดยสารที่เดินทางครั้งแรก ฯลฯ เพียงท่านแจ้งให้พนักงานสถานีทราบเท่านั้น
การรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลในทุกสถานีมีบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนดังต่อไปนี้
- บริการปุ่มหยุดฉุกเฉินบันไดเลื่อน
- บริการปุ่มแจ้งเหตุไฟไหม้
- บริการโทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
- บริการทางออกฉุกเฉินในสถานี
- บริการแจ้งเหตุกับตำรวจผ่านตู้รับเรื่องร้องเรียน
- บริการคันโยกฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าเพื่อเปิดประตูรถกรณีฉุกเฉิน
- บริการอุปกรณ์ดับเพลิง
- บริการกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
หมายเหตุ:
- ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม ข้อ 1-5 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินระวางโทษปรับ 1,000 บาท
- ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม 6-7 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือใช้ตามสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ ระวางโทษปรับ 1,000 บาท และ จำคุก 1 เดือน
- ผู้โดยสารที่ใช้บริการตามข้อ 1-7 หากมีผู้ใดฟ้องร้องในความผิดอื่นใดระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
- หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
- อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 374 หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
- อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 ห้ามผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงเสียในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำการอื่นใดให้สูญเสียความสงบเรียบร้อย หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
- อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 หากการกระทำนั้น เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
- อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ถ้าการกระทำอันเป็นการทะเลาะกัน หรือจงใจก่อให้เกิดเสียงอื่นใดนั้นส่งผลให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ปรับ 100 บาท
- อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 373 ห้ามผู้ใดที่ควบคุมบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตออกเที่ยวตามลำพัง หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
- ผู้โดยสารที่ ถูกประทุษร้าย ถูกโจรโจรกรรม ถูกกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล สามารถขอใช้บริการตรวจกล้องวงจรปิดได้
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จัดบริการสารคดี พระราชอารมณ์ขัน ให้แก่ผู้โดยสารชมฟรี ทุกขบวนรถ และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ด้วยการติดสติ๊กเกอร์ ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ที่บริเวณกระจกกั้นชานชาลาทุกสถานี
การรักษาความสะอาด
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535[19] ซึ่งหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท
ทั้งนี้อาจมีข้อบังคับอื่น ๆ เช่น ห้ามนำอาหารที่มีกลิ่นแรงเข้าภายในสถานีรถไฟฟ้า ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มภายในพื้นที่ชำระเงินแล้ว, ห้ามดื่มสุราภายในสถานี, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล, ห้ามถ่มน้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ, อาเจียน, ปัสสาวะ และคายหมากฝรั่งภายในสถานีบริเวณสถานีอย่างเด็ดขาดหากฝ่าฝืน จะมีโทษ ตามกฎกระทรวง และพรบ.ความสะอาด จำคุก 1 เดือน ปรับ 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การสูบบุหรี่ภายในสถานีถือว่ามีความผิด มีโทษปรับ 2,000 บาท และหากทิ้งบุหรี่ภายในสถานีจะมีโทษปรับเพิ่ม 2,000 บาท อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 [20] และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
พันธมิตรธุรกิจ
แก้รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร่วมกับสหพัฒนพิบูล จัดรายการ ให้ผู้โดยสารได้มีโอกาสรับประทานมาม่าฟรีตลอดทั้งปี โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2553 และยังคงมีจัดปีละครั้งนอกจากนั้นยังมีพันธมิตรธุรกิจลดราคาค่าโดยสารโดยมีเงื่อนไขเช่นเติมเงินทุก 300 บาท ฯลฯ หรือลดราคาให้ลูกค้าที่ใช้บริการกับพันธมิตรธุรกิจของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
การตรวจค้นกระเป๋า
แก้อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย[21] พนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด[22]
เจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลที่เครื่องตรวจจับโลหะชนิดเดินผ่าน[23]่ ส่งสัญญาณเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความเห็นวา มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด[24]
บริการอื่น ๆ
แก้- ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร มีพื้นที่จอดรถสำหรับการจอดรถรายวันให้ในบริเวณสถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีสามย่าน และสถานีอิสรภาพ นอกเหนือจากนั้นจำเป็นจะต้องใช้ที่จอดรถของอาคารข้างเคียง และยังมีพื้นที่พิเศษซึ่งเตรียมไว้สำหรับการจอดรถเป็นจำนวนมาก ได้แก่ สถานีบางซื่อ บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สามารถจอดได้ 1,100 คัน สถานีสวนจตุจักร บริเวณขนส่งหมอชิตเดิม หรือด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถจอดได้ถึง 1,250 คัน และสถานีเพชรบุรี ที่บริเวณใต้ทางพิเศษศรีรัช (ด่านอโศก 1) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สามารถจอดได้ 300 คัน และพื้นที่ภายในสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถจอดได้ประมาณ 500 คัน
- อาคารจอดแล้วจร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีบริการอาคารจอดรถและจุดจอดรถจักรยานยนต์ 3 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดรถ 9 ชั้นบริเวณสถานีลาดพร้าว อาคารจอดรถ 3 ชั้นบริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และอาคารจอดแล้วจร 1-2 บริเวณสถานีหลักสอง ซึ่งบริการทั้งแบบรายวันและรายเดือน[25] ทั้งนี้ผู้ที่ใช้บริการจะได้รับบัตร MRT Plus "Park n' Ride" ซึ่งเป็นบัตรสำหรับจอดรถและบัตรโดยสารรถไฟฟ้าในตัว หากทำบัตรสูญหายจะมีโทษปรับ 500 บาทไม่เว้นทุกกรณี พร้อมทั้งต้องแสดงหลักฐานเป็นเจ้าของรถมาแสดง ผู้โดยสารสามารถใช้บัตร MRT Plus "Park n' Ride" ในการเดินทางภายในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ทั้งสายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรมได้โดยไม่ต้องออกบัตรโดยสารใหม่ โดยมีวงเงินการเดินทางต่อครั้งไม่เกิน 500 บาท และผู้โดยสารจะต้องแตะบัตรที่สถานีปลายทางเพื่อบันทึกการใช้งาน จากนั้นผู้โดยสารจะต้องนำบัตรมาคืน พร้อมชำระค่าโดยสาร ค่าจอดรถและรับรถคืนภายในเวลาที่กำหนด กล่าวคือเฉพาะเวลา 05.00-01.00 น. เท่านั้น แต่หากลืมแตะบัตรจะคิดในราคาเท่ากับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล คือ 50 บาทต่อชั่วโมง การจอดรถนานเกินช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอัตราโทษปรับตามเกณฑ์ที่กำหนดในขณะนั้น ๆ ปัจจุบันคือผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ปรับ 300 บาท หากไม่ใช้บริการปรับ 1,000 บาท เนื่องจากไม่รับฝากรถเพียงแค่รับฝากเฉพาะผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เท่านั้น
- ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีบริการศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่สถานีกำแพงเพชร เปิดเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์เท่านั้น
- ศูนย์การค้า มีบริการศูนย์การค้าเมโทรมอลล์ที่ สถานีคลองเตย, สถานีสุขุมวิท, สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร ซึ่งรวมทั้งร้านค้าบริการ และร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มภายในสถานี และมีบริการซูเปอร์มาร์เก็ต กูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่สถานีลาดพร้าว และสถานีเพชรบุรี ซึ่งให้บริการซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตให้นำเข้าในบริเวณชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร
- ตู้ถอนเงิน มีบริการตู้ถอนเงินในทุกสถานีจากหลากหลายธนาคาร
- โทรศัพท์ ในอดีตมีบริการโทรศัพท์และตู้ทำธุรกรรมทางการเงินจาก ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้บริการแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ เอไอเอส, ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ในการวางโครงข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G และ 4G ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ครม.ไฟเขียวให้เอกชนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายรูปแบบ PPP net cost
- ↑ "ผู้โดยสารเฮ! รถไฟฟ้า MRT เตรียมนำ 'ตั๋วเที่ยว' กลับมาขายใหม่". The Bangkok Insight. 18 กรกฎาคม 2562.
- ↑ "ปริมาณผู้โดยสาร ประจำเดือนสิงหาคม". Facebook กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม. 20 กันยายน 2566.
- ↑ ประวัติ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[ลิงก์เสีย]
- ↑ ก่อสร้าง รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ สยามรัฐรายวัน (18 ตุลาคม 2560). "รายงานพิเศษ | น้ำพระทัยฯ ทรงเปี่ยมล้นหลั่งคนกรุง เสด็จทรงเปิด "รถไฟฟ้า" แก้ปัญหาจราจร". siamrath.co.th. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เอกชนเป็นผู้ดำเนินระบบรถไฟฟ้าและกิจการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-08-07.
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร" เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย.
- ↑ พระราชทานชื่อ “เฉลิมรัชมงคล” รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย
- ↑ ไทยรัฐ (13 พฤศจิกายน 2563). ""ในหลวง-พระราชินี" ทรงเปิด ส่วนขยายสายสีน้ำเงิน 14 พ.ย. สถานีสนามไชย-หลักสอง". thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เว็บไซต์ MRTA เก็บถาวร 2021-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แผนที่บริเวณสถานีของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- ↑ จุดเชื่อมต่อสายสีส้มในอนาคต[ลิงก์เสีย]
- ↑ เว็บไซต์ MRTA เก็บถาวร 2021-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แผนที่บริเวณสถานีของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- ↑ รถไฟฟ้าขบวนใหม่ขบวนแรกเดินทางถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้ว, MRT Bangkok Metro
- ↑ เปิด Timeline รถไฟฟ้าขบวนแรกถึงไทยเมษายนนี้, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- ↑ ขึ้นฟรีรถไฟฟ้า ‘หัวลำโพง-บางแค’ ก.ค.นี้ ลุ้นสร้างต่อ ‘พุทธมณฑล’
- ↑ เริ่มต้นวันใหม่อย่างไร ทำอะไรดีที่สุด และเมื่อไหร่
- ↑ "พรบ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-29.
- ↑ พระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
- ↑ พรบ.ความสะอาด จำคุก 1 เดือน ปรับ 3,000 บาท
- ↑ "พรบ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-29.
- ↑ การมีอยู่ของตัวเราเอง
- ↑ อุ่นใจนั่ง “รถไฟฟ้า MRT” เที่ยวปีใหม่
- ↑ กฎหมายฮาเฮ : ตรวจกระเป๋าก่อนลงรถไฟใต้ดิน
- ↑ "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-01. สืบค้นเมื่อ 2018-08-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เก็บถาวร 2016-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย เก็บถาวร 2019-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เก็บถาวร 2016-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย โดย สนข. เก็บถาวร 2007-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน