รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง

โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (อังกฤษ: The S.R.T. Red Line Mass Transit System Project) หรือ รถไฟฟ้าสายสีแดง เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตลอดจนพื้นที่ต่อเนื่องคือ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพในการให้บริการของรถไฟชานเมืองซึ่งทำหน้าที่ในการบริการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองตลอดจนพื้นที่ต่อเนื่องสามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบรางที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่นในเขตกรุงเทพมหานครอันได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้าบีทีเอส ของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) หรือแม้กระทั่งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของ รฟท. เองก็ตาม

รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, ฉะเชิงเทรา, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม, ราชบุรี, สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
จำนวนสถานี105 (ทั้งหมด)
13 (เปิดให้บริการ)
92 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟชานเมือง
เส้นทาง
ผู้ดำเนินงานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (SRTET)
ประวัติ
ปีที่เริ่มพ.ศ. 2552
เปิดเมื่อ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (2 ปีก่อน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง37.60 กิโลเมตร (23.36 ไมล์)
ลักษณะทางวิ่งทางระดับพื้นดิน และทางยกระดับ
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV AC จ่ายไฟเหนือหัว
แผนที่เส้นทาง

สายสีแดงเข้ม
บ้านภาชี
พระแก้ว
มาบพระจันทร์
บ้านม้า
อยุธยา
บ้านโพธิ์
สายสีแดงอ่อน
บางปะอิน
นครปฐม
เชียงรากน้อย
ต้นสำโรง
นวนคร
ท่าแฉลบ
เชียงราก
นครชัยศรี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วัดงิ้วราย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต
คลองมหาสวัสดิ์
คลองหนึ่ง
รังสิต
ศาลายา
หลักหก
ศาลาธรรมสพน์
กาญจนาภิเษก
บ้านฉิมพลี
ตลิ่งชัน
บางบำหรุ
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ดอนเมือง
จรัญสนิทวงศ์
การเคหะ
หลักสี่
ศิริราช
บางกรวย-กฟภ.
ทุ่งสองห้อง
แม่น้ำเจ้าพระยา
บางเขน
สะพานพระราม 6
วัดเสมียนนารี
บางซ่อน
จตุจักร
กรุงเทพอภิวัฒน์
กรุงเทพอภิวัฒน์
สามเสน
ราชวิถี
ราชวิถี
ยมราช
พญาไท
ยศเส
มักกสัน
หัวลำโพง
รามคำแหง
คลองสาน
หัวหมาก
วงเวียนใหญ่
บ้านทับช้าง
ตลาดพลู
ลาดกระบัง
ตากสิน
หัวตะเข้ (พระจอมเกล้าลาดกระบังฯ)
นางนอง
คลองหลวงแพ่ง
เอกชัย 10
คลองอุดมชลจร
วัดไทร
เปรง
วัดสิงห์
คลองแขวงกลั่น
เอกชัย 48
คลองบางพระ
ตลาดบางบอน
บางเตย
เอกชัย 76
ฉะเชิงเทรา
วงแหวน-บางบอน
สายสีแดงอ่อน
บางบอน 3
บางบอน 5
วัดโพธิ์แจ้
พระราม 2
วัดบ้านขอม
โรงพยาบาลมหาชัย
มหาชัย
แม่น้ำท่าจีน
นิคมสมุทรสาคร
คลองคันพนัง
คลองตาขำ
บ้านบ่อ
บางโทรัด
บ้านกาหลง
บ้านนาขวาง
บ้านนาโคก
เขตเมือง
ลาดใหญ่
แม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
บางขันทอง
ปลายโพงพาง
วัดเพลง
ปากท่อ

โครงการประกอบด้วยสองเส้นทางหลักตามแกนกลางของกรุงเทพมหานคร คือสายธานีรัถยา (เหนือ-ใต้) วิ่งระหว่างสถานีธรรมศาสตร์รังสิต - สถานีหัวลำโพง และสายนครวิถี (ตะวันออก-ตะวันตก) วิ่งระหว่างสถานีศาลายา - สถานีหัวหมาก โดยมีสถานีตลิ่งชันทำหน้าที่เป็นสถานีชุมทางแยกสายระหว่างสายหลักกับสายแยกเพื่อมุ่งหน้าไปยังโรงพยาบาลศิริราช ทั้งสองสายมีจุดเชื่อมต่อซึ่งเป็นสถานีหลักของโครงการคือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

นาม นครวิถี และ ธานีรัถยา เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงในสองช่วงแรก คือช่วงบางซื่อ-รังสิต ให้นามว่า ธานีรัถยา และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ให้นามว่า นครวิถี ทั้งสองนามมีความหมายว่า "เส้นทางของเมือง"

ปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีแดงได้มีการก่อสร้างในส่วนแรก (สายนครวิถี ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2554 และส่วนที่สอง (สายธานีรัถยา ช่วงบางซื่อ-รังสิต) รวมถึงอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2562 เริ่มเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดการเดินรถ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยระหว่างรอความชัดเจนเรื่องผู้ให้บริการ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราวจนกว่าจะได้เอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการใน พ.ศ. 2567 และอยู่ในระหว่างการเตรียมการก่อสร้างโครงการในส่วนที่สาม (สายนครวิถี ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช และสายธานีรัถยา ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์รังสิต) เพิ่มเติมรวมถึงสถานีในอนาคตอีกสามแห่งเพื่อขยายเส้นทางให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ประวัติ

แก้

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ดำเนินการแยกต่างหากจากรถไฟฟ้ามหานคร และ รถไฟฟ้าบีทีเอส โดยมีจุดเริ่มต้นจากความล้มเหลวของโครงการโฮปเวลล์ที่ไม่ดำเนินการตามแผนจนนำไปสู่การบอกเลิกสัญญาสัมปทานกับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ในเครือ โฮปเวลล์โฮลดิ้ง เมื่อ พ.ศ. 2541 รัฐบาลไทยได้นำเอาความล้มเหลวครั้งนี้ไปพัฒนาเป็นแผนแม่บทฉบับใหม่ (URMAP) และยกระดับโครงการโฮปเวลล์ขึ้นมาเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ในช่วงแรกประกอบไปด้วยสองเส้นทางคือ สายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน - หนองงูเห่า (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) และสายสีแดงเข้ม รังสิต - มหาชัย แต่จากความล่าช้าในการดำเนินงานรวมถึงการฟ้องร้องคดีความระหว่างโฮปเวลล์และการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำให้รัฐบาลตัดสินใจดึงบางส่วนของโครงการสายสีแดงอ่อนอันได้แก่ ช่วงพญาไท-หนองงูเห่า ออกมาก่อสร้างแยกต่างหากก่อนจนกลายเป็นระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใน พ.ศ. 2553 และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้โครงการนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนาโครงการสายสีแดงในเวลาต่อมา

ต่อมาใน พ.ศ. 2552 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเงินกู้สำหรับพัฒนาโครงการ 2.4 หมื่นล้านบาท จากรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับการก่อสร้างโครงการนี้ระยะทาง 67 กิโลเมตร[1][2] จึงได้เริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้งสองช่วง ได้แก่ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ได้รับการอนุมัติก่อสร้างทันทีใน พ.ศ. 2552 และช่วงบางซื่อ-รังสิต รวมถึงตัวอาคารสถานีกลางได้รับการอนุมัติในปี พ.ศ. 2553 แต่เกิดการล่าช้าเนื่องจากข้อพิพาททางสัญญาที่ซับซ้อน 2.5 ปี ทำให้เริ่มต้นก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 หลังจากเซ็นสัญญาใหม่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556[3] ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี

แต่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2556 โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จแค่ร้อยละ 3 เท่านั้นและล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้หลายเดือน เนื่องจากเกิดเหตุโครงสร้างโฮปเวลล์ถล่มในพื้นที่ จึงต้องใช้เวลาไปกับการรื้อถอนเสาตอม่อโฮปเวลล์[4] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 รฟท. ได้ขอเงินเพิ่มอีก 8.14 พันล้านบาท เพื่อปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้มจาก 3 รางเป็น 4 รางแทน และออกแบบสถานีใหม่ทั้งหมด และออกแบบสถานีบางซื่อใหม่มีชานชาลาที่ยาวขึ้น เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต[5] โดยจำนวนเงิน 8.14 พันล้านบาทนั้น แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 มูลค่า 4.32 พันล้านบาท (ปรับเปลี่ยนให้สถานีบางซื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง), สัญญาที่ 2 มูลค่า 3.35 พันล้านบาท (รางที่ 4 และการออกแบบสถานีใหม่) และ สัญญาที่ 3 มูลค่า 473 ล้านบาท จึงทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่างบประมาณสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มระยะที่ 1 ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความล่าช้าจำนวนมากและการออกแบบใหม่เพิ่มเติม จากเดิม 5.989 หมื่นล้านบาทในปี 2550 เป็น 7.555 หมื่นล้านบาทในปี 2552 และเป็น 8.038 หมื่นล้านบาทในปี 2555 ส่วนเงินที่ขอเพิ่มเติม 8.14 พันล้านบาท ทำให้งบประมาณปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 8.852 หมื่นล้านบาท

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติส่วนต่อขยายแรกทางด้านทิศใต้ของโครงการ ตั้งแต่ บางซื่อ ถึง หัวลำโพง อย่างไรก็ตามส่วนต่อขยายด้านเหนือ ระยะทาง 10 กม. จำนวน 4 สถานี จากรังสิตไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะสร้างขึ้นก่อนและคาดว่าจะประมูลได้ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561[6] แต่เกิดการล่าช้า ทำให้การเสนอราคาเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2562[7] อย่างไรก็ตาม การประกวดราคายังล่าช้าออกไปอีกจนถึงปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ร้องขอให้กรมรางตรวจสอบการดำเนินการประกวดราคาแบบ PPP สำหรับส่วนต่อขยายนี้[8]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 รฟท. ได้ยื่นแผนเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ 15-50 บาท สำหรับสายสีแดงเข้ม และ 15-38 บาท สำหรับสายสีแดงอ่อน โดยรวมค่าโดยสารสถานีในอนาคต 2 สถานีไว้ด้วย ก่อนได้รับการท้วงติงให้ปรับลดค่าโดยสารลงมาเหลือ 14-42 บาท เท่าโครงการรถไฟฟ้ามหานคร[9]

รูปแบบโครงการ

แก้

เป็นระบบขนส่งมวลชนทางราง ที่มีจุดมุ่งหมายในการปรับรูปแบบการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อันได้แก่ ขบวนรถไฟทางไกล และขบวนรถชานเมือง ที่ลากจูงด้วยหัวรถจักรดีเซล และระบบรถไฟฟ้า โดยติดตั้งระบบการป้องกันขบวนรถอัตโนมัติ (Automatic Train Protection – ATP) เพื่อให้ขบวนรถทั้งสองระบบเดินรถร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ภายใต้โครงสร้างในรูปแบบยกระดับจากพื้นถนน และแบบอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อลดการรอคอยการจัดการจราจรในบริเวณที่เป็นจุดตัดถนน อันเป็นสาเหตุเดิมที่ทำให้ขบวนรถไม่สามารถทำเวลาได้

เส้นทาง

แก้

โครงการระบบรถไฟชานเมือง ประกอบด้วย 2 สายตามแกนกลางกรุงเทพมหานคร คือ สายธานีรัถยา (สายสีแดงเข้ม) เป็นเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ มีระยะทาง 22.6 กิโลเมตร และสายนครวิถี (สายสีแดงอ่อน) เป็นเส้นทางแนวตะวันตก-ตะวันออก มีระยะทาง 14.67 กิโลเมตร ในช่วงเริ่มแรกมีสถานีทั้งหมด 13 สถานี (นับรวมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ที่เป็นสถานีร่วม 1 สถานี ไม่รวมสถานีในอนาคต 2 สถานี) รวมระยะทางทั้งสิ้น 37.60 กิโลเมตร

เส้นทาง เปิดให้บริการ ต่อขยายล่าสุด สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
สายสีแดงเข้ม 2564 - สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
(เขตบางซื่อ)
รังสิต
(อำเภอธัญบุรี)
26.0 กิโลเมตร (16.2 ไมล์) 10
สายสีแดงอ่อน 2564 - สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
(เขตบางซื่อ)
ตลิ่งชัน
(เขตตลิ่งชัน)
15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์) 4
รวม 37.60 กิโลเมตร (23.36 ไมล์) 13

ส่วนต่อขยาย

แก้

โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง เป็นโครงการที่ออกแบบเพื่อทดแทนระบบรถไฟชานเมืองเดิม และยังเป็นโครงการเสริมเพื่อยกระดับทางรถไฟปัจจุบันจากทางเดี่ยวเป็นทางคู่ ซึ่งเป็นการยกระดับทางรถไฟทั่วประเทศครั้งใหญ่ โดยอิงตามแผนแม่บทโครงการระบบรถไฟชานเมือง ทั้งสองเส้นทางมีแผนก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

สายธานีรัถยา

แก้
ส่วนต่อขยายด้านเหนือ

ส่วนต่อขยายด้านเหนือประกอบไปด้วยสองช่วง ดังนี้

สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
รังสิต
(อำเภอธัญบุรี)
ธรรมศาสตร์รังสิต
(อำเภอคลองหลวง)
10.30 กิโลเมตร (6.40 ไมล์) 4
ธรรมศาสตร์รังสิต
(อำเภอคลองหลวง)
บ้านภาชี
(อำเภอภาชี)
28.00 กิโลเมตร (17.40 ไมล์) 9
รวม 38.30 กิโลเมตร (23.80 ไมล์) 13
ส่วนต่อขยายด้านใต้

ส่วนต่อขยายด้านใต้ประกอบไปด้วยสามช่วง ดังนี้

สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
กรุงเทพอภิวัฒน์
(เขตบางซื่อ)
หัวลำโพง
(เขตปทุมวัน)
6.50 กิโลเมตร (4.04 ไมล์) 6
หัวลำโพง
(เขตปทุมวัน)
มหาชัย
(อำเภอเมืองสมุทรสาคร)
36.00 กิโลเมตร (22.37 ไมล์) 20
มหาชัย
(อำเภอเมืองสมุทรสาคร)
ปากท่อ
(อำเภอปากท่อ)
56.00 กิโลเมตร (34.80 ไมล์) 22
รวม 98.50 กิโลเมตร (61.21 ไมล์) 48

สายนครวิถี

แก้

ส่วนต่อขยายด้านตะวันตก

แก้

ส่วนต่อขยายด้านตะวันตกประกอบไปด้วยสามช่วง สองเส้นทางแยก ดังนี้

สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
ตลิ่งชัน
(เขตตลิ่งชัน)
ศาลายา
(อำเภอพุทธมณฑล)
14.80 กิโลเมตร (9.20 ไมล์) 4
ตลิ่งชัน
(เขตตลิ่งชัน)
ศิริราช
(เขตบางกอกน้อย)
5.70 กิโลเมตร (3.54 ไมล์) 3
ศาลายา
(อำเภอพุทธมณฑล)
นครปฐม
(อำเภอเมืองนครปฐม)
29.00 กิโลเมตร (18.02 ไมล์) 6
รวม 49.40 กิโลเมตร (30.70 ไมล์) 13

ส่วนต่อขยายด้านตะวันออก

แก้

ส่วนต่อขยายด้านตะวันออกประกอบไปด้วยสี่ช่วง สองเส้นทางแยก โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วง หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา ดังนี้

สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
กรุงเทพอภิวัฒน์
(เขตบางซื่อ)
หัวหมาก
(เขตสวนหลวง)
17.40 กิโลเมตร (10.81 ไมล์) 8
พญาไท
(เขตราชเทวี)
แม่น้ำ
(เขตยานนาวา)
6.00 กิโลเมตร (3.73 ไมล์) 3
หัวหมาก
(เขตสวนหลวง)
ฉะเชิงเทรา
(อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา)
40.00 กิโลเมตร (24.85 ไมล์) 10
รวม 56.00 กิโลเมตร (34.80 ไมล์) 21

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

แก้
รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟทางไกล หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
RN01RS01
RW01RE01
กรุงเทพอภิวัฒน์ สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
สายใต้
เชื่อมภายในอาคารผู้โดยสาร
RN08 ดอนเมือง สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
RN10 รังสิต สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
RW05 บางบำหรุ สายใต้
RW06 ตลิ่งชัน สายใต้
รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
RN01RS01
RW01RE01
กรุงเทพอภิวัฒน์ สายสีน้ำเงิน : บางซื่อ เชื่อมโดยตรงกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
RW02 บางซ่อน สายสีม่วง : บางซ่อน เชื่อมต่อโดยตรง
RN06 หลักสี่ สายสีชมพู : หลักสี่ เชื่อมโดยตรง
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
RS07 หัวลำโพง สายสีน้ำเงิน : หัวลำโพง เชื่อมโดยตรง
RS09 วงเวียนใหญ่ สายสีม่วง : วงเวียนใหญ่ เชื่อมโดยตรง
RWS02 บางขุนนนท์ สายสีน้ำเงิน : ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Adjacent_stations บรรทัดที่ 59: attempt to concatenate local 'key' (a nil value)
สายสีส้ม : ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Adjacent_stations บรรทัดที่ 59: attempt to concatenate local 'key' (a nil value)
RWS03 ศิริราช สายสีส้ม : ศิริราช
RE04 มักกะสัน สายสีน้ำเงิน : เพชรบุรี
RE06 หัวหมาก สายสีเหลือง : หัวหมาก
รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
RS05 ยศเส สายสีลม : ยศเส เชื่อมโดยตรง
RS09 วงเวียนใหญ่ สายสีลม : วงเวียนใหญ่ เชื่อมด้วยทางเดินใต้ดินของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ระยะทางประมาณ 210 เมตร
RS11 วุฒากาศ สายสีลม : วุฒากาศ
RW06 ตลิ่งชัน สายสีลม : ตลิ่งชัน
RE03 พญาไท สายสุขุมวิท : พญาไท
RES01 เพลินจิต สายสุขุมวิท : เพลินจิต

การให้บริการ

แก้

ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า

แก้

ในคราวการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. เพื่อขออนุมัติโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท - บางซื่อ - ดอนเมือง เมื่อ พ.ศ. 2559 คนร. ได้มีการพิจารณาเรื่องบทบาทการให้บริการระบบขนส่งมวลชนของการรถไฟแห่งประเทศไทยใหม่ โดย คนร. ลงมติให้ ร.ฟ.ท. เปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและดำเนินโครงการทั้งส่วนของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในขณะนั้น และโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ภายใต้กรอบการลงทุนแบบหุ้นส่วนมหาชน-เอกชน (Public-Private Partnership) ตามแต่เห็นสมควร อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท. ได้ยื่นเรื่องขอทบทวนมติด้วยการขอรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงกลับมาบริหารเอง คนร. จึงมีมติให้ ร.ฟ.ท. จัดตั้งบริษัทเดินรถไฟฟ้าแห่งใหม่เพื่อขึ้นมาดำเนินการทดแทน โดยมีเงื่อนไขให้กระทรวงคมนาคมทำการประเมินตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก (Key Performance Indicator: KPI) ของโครงการในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันเปิดให้บริการ หากบริษัทดังกล่าวไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามแผน หรือเกิดกรณีแบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขึ้น ร.ฟ.ท. จะต้องเปิดประมูลโครงการหาเอกชนเข้ามาดำเนินการทันทีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง

โดย ร.ฟ.ท. ได้ยื่นเรื่องขอปรับสถานะของ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ใหม่ โดยปรับสถานะให้เป็นรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทจาก 140 ล้านบาทเป็น 3,000 ล้านบาท พร้อมทั้งของบประมาณในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าฝึกอบรมการใช้เครื่องกล และการเดินรถไฟฟ้า ณ​ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณและระบบรถไฟฟ้าที่นำมาใช้งานเป็นระบบใหม่ที่ไม่เคยใช้งานในประเทศไทยมาก่อน จึงต้องมีการเรียนรู้ระบบเพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า[10] และต่อมา ร.ฟ.ท. ได้อนุมัติสัญญาสัมปทานโครงการให้กับ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. เป็นระยะเวลา 30 ปี พร้อมทั้งโอนระบบรถไฟฟ้าที่เป็นผลสำเร็จจากสัญญาที่ 3 ให้เป็นทรัพย์สินของ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. โดยตรง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารให้กับ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. อันจะส่งผลให้สามารถบริหารโครงการได้เต็มที่กว่าครั้งที่บริหารรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพราะ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. มีรายได้เป็นของตัวเอง และการดำเนินการไม่จำเป็นต้องเปิดประมูลตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เสมือนว่า รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. มีสถานะบริษัทเทียบเท่า การบินไทย ที่สามารถดำเนินการต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

อย่างไรก็ดีในสมัย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นิรุฒ มณีพันธ์ เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการทบทวนบทบาทการให้บริการของ ร.ฟ.ท.​ และรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ใหม่ โดยลงมติให้ ร.ฟ.ท. ต้องเปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. เนื่องมาจากความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม การก่อสร้างส่วนต่อขยายเพื่อขยายเส้นทาง และการขอเพิ่มงบประมาณในส่วนของ Variation Order (VO) ที่เกิดขึ้นจากการปรับรายละเอียดโครงการในสัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 3 ประกอบกับวงเงินกู้ที่ใช้ก่อสร้างโครงการขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นได้หมดลงและไม่สามารถกู้เพิ่มได้อีก และรัฐบาลไทยจำเป็นต้องดึงงบประมาณคืนส่วนหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กระทรวงคมนาคมตัดสินใจทบทวนบทบาทของ ร.ฟ.ท. และขอให้เปิดประมูลโครงการโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท. อยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียดการเปิดประมูลโครงการ และจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป คาดว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จและได้เอกชนเข้าร่วมลงทุนใน พ.ศ. 2565 เริ่มก่อสร้างส่วนต่อขยายใน พ.ศ. 2566 และสามารถเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ใน พ.ศ. 2567 โดยระหว่างนี้ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จะรับหน้าที่เข้าบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดงแทน ร.ฟ.ท. เป็นการชั่วคราวโดยไม่เปิดพัฒนาพื้นที่บนสถานี ยกเว้นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ที่ ร.ฟ.ท. จะเปิดหาเอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่เอง

การให้บริการปกติ

แก้

รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง เปิดให้บริการเดินรถ โดยเริ่มเดินรถเที่ยวแรกในเวลา 05.00 น. จากสถานีต้นทางสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีรังสิต และสถานีตลิ่งชัน มุ่งหน้ารังสิต โดยความถี่การเดินรถตามปกติอยู่ที่ 15 นาทีนอกช่วงเวลาเร่งด่วน และ 10 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วนเฉพาะสายธานีรัถยา ส่วนสายนครวิถีให้บริการที่ความที่ 20 นาทีตลอดเวลาให้บริการ และมีขบวนรถเที่ยวสุดท้ายให้บริการในเวลา 0.00 น. ก่อนปิดให้บริการ ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องใช้งานบัตรโดยสารให้ถูกประเภท

อัตราค่าโดยสาร

แก้

รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง มีอัตราค่าโดยสารตามปกติที่เรียกเก็บเริ่มต้น 12 - 42 บาท คิดตามระยะทางจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง

เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง จะมีอัตราค่าโดยสารตามระยะทางเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่โดยสารมาจากสายนครวิถีข้ามไปสายธานีรัถยา หรือสายธานีรัถยาข้ามไปสายนครวิถี โดยคำนวณจากอัตราค่าโดยสารตามระยะทางของสายธานีรัถยา บวกกับอัตราค่าโดยสารของสายนครวิถี หักลบด้วยค่าธรรมเนียมแรกเข้าระบบ 1 ครั้ง ทำให้อัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 60 บาท เมื่อเดินทางข้ามสาย และเช่นกัน เมื่อเดินทางมาจาก สายฉลองรัชธรรม จะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ 12 บาท เมื่อเดินทางต่อในสายสีแดง ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยผู้โดยสารจะต้องใช้งานบัตรเครดิตตามมาตรฐาน EMV แตะออกระบบที่ สถานีบางซ่อน แล้วแตะกลับเข้าระบบใหม่อีกครั้งภายในเวลา 10 นาที ถึงจะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ 12 บาท ทั้งนี้การเดินทางจากสายสีแดงไปสายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีชมพู จะต้องจ่ายอัตราค่าโดยสารเต็มจำนวน ตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นแรงจูงใจในการดึงผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการ รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง จะเก็บอัตราค่าโดยสารในรูปแบบอัตราค่าโดยสารคงที่แม้มีการเปลี่ยนสายทางเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนสัมปทาน กล่าวคือผู้โดยสารที่เดินทางจากสถานีรังสิต ไปยังสถานีตลิ่งชันโดยผ่านสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะเสียอัตราค่าโดยสารในอัตราสูงสุดเพียง 42 บาท และยังได้จำหน่ายตั๋วโดยสารแบบ 30 วัน 30 เที่ยว ราคา 800 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 26.67 บาท ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นระยะเวลา 3 ปี ในส่วนของอัตราค่าโดยสารร่วมระหว่างสายสีแดงกับสายฉลองรัชธรรม ผู้โดยสารจะต้องชำระค่าโดยสารโดยคำนวณจากอัตราค่าโดยสารของสายอื่น ๆ บวกกับอัตราค่าโดยสารของสายสีแดง (จากสถานีต้นทางและปลายทางจนถึงสถานีเปลี่ยนเส้นทาง) หักลบด้วยค่าธรรมเนียมแรกเข้า 12 บาท ทำให้อัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 70 บาท เมื่อเดินทางข้ามไปยังหรือมาจากสายฉลองรัชธรรม

ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 มีมติเห็นชอบหลักการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเหลือสูงสุด 20 บาทตลอดสาย โดยนำร่องที่รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง โดยจะจัดเก็บอัตราค่าโดยสารที่ 12-20 บาท กรณีเดินทางภายในสายสีแดงหรือข้ามไปสายสีม่วง หรือสูงสุดที่ 49 บาท กรณีเดินทางข้ามไปสายสีน้ำเงิน (โดยผ่านสายสีม่วงที่สถานีบางซ่อน และเข้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน) 50 บาท กรณีเดินทางข้ามไปสายสีชมพู (โดยผ่านสายสีม่วงที่สถานีบางซ่อน และเข้าสายสีชมพูที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี) และ 62 บาท กรณีเดินทางข้ามไปสายสีเหลือง (โดยผ่านสายสีม่วงที่สถานีบางซ่อน เข้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน และเข้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว) รวมถึงยกเลิกการจำหน่ายเที่ยวโดยสารเหมาจ่ายลงชั่วคราว ทั้งนี้จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากกระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง[11]

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

มีจุดจอดรถประจำสถานีทุกสถานี รวมถึงมีจุดจอดรถบริเวณท่าอากาศยานดอนเมืองซึ่งเป็นพื้นที่ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 1 แห่ง และมีจุดจอดแล้วจร (park and ride) 1 แห่ง ที่ชั้นใต้ดินของอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สามารถจอดได้ 1,100 คัน

อุบัติเหตุ

แก้
  • เมื่อเวลา 22.30 น. ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565 เจ้าหน้าที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ และเจ้าหน้าที่สถานีตำรวจรถไฟนพวงศ์ ได้รับแจ้งจาก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการเดินรถชั่วคราวของโครงการ ว่าขบวนรถไฟฟ้าจากสถานีจตุจักรมุ่งหน้าสถานีวัดเสมียนนารี ได้เกิดเหตุชนชายไม่ทราบชื่อเสียชีวิตคาที่ โดยสภาพศพศีรษะขาดกระเด็น แขนกับขาขาดทั้งสองข้าง ลำตัวติดอยู่กับรางรถไฟฟ้า จากการสอบสวนเบื้องต้น พนักงานผู้ควบคุมรถระบุว่าขบวนรถเป็นขบวนมุ่งหน้าสถานีรังสิต เมื่อพ้นสถานีจตุจักร ตนได้ยินเสียงตึงดังมาจากใต้ท้องรถ จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถและศูนย์ควบคุมความปลอดภัยของโครงการทำการตรวจสอบพื้นที่ทันทีและพบว่ามีผู้เสียชีวิต รฟฟท. จึงสั่งหยุดการเดินรถทั้งระบบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการอพยพร่างผู้เสียชีวิต พร้อมทั้งตรวจสอบกล้องวงจรปิดทั้งหมดในพื้นที่ทันที[12] ซึ่งจากการตรวจสอบ รฟฟท. ได้สันนิษฐานว่า ผู้เสียชีวิตอาจลักลอบปีนรั้วเข้ามาจากช่วงทางระดับดินที่เป็นทางเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง และเดินขึ้นมาตามทางรถไฟฟ้า เพราะกล้องวงจรปิดพบแค่ว่าผู้เสียชีวิตอยู่บนทางรถไฟฟ้าอยู่แล้ว อีกทั้งรางรถไฟฟ้าสายสีแดง มีระบบกายภาพที่แตกต่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถไฟฟ้ามหานคร เพราะไม่มีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านบนราง จึงทำให้การเดินบนรางรถไฟฟ้าแทบไม่เป็นอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงเลย

ภายหลัง กรมการขนส่งทางราง ได้หารือร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ รฟฟท. เพื่อลงทุนดำเนินการเปลี่ยนระบบกล้องวงจรปิดทั้งหมดของโครงการให้เป็นแบบ Motion Sensor ที่เชื่อมกับระบบการเดินรถ เพื่อให้กล้องวงจรปิดสามารถสั่งหยุดการเดินรถไฟฟ้าได้ทันทีเมื่อมีผู้บุกรุกเข้ามาในเขตทาง อันเป็นป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ เนื่องจากเหตุรถไฟฟ้าชนผู้เสียชีวิตครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่สองของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในประเทศไทย หลังจากเกิดเหตุครั้งแรกในโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เมื่อ พ.ศ. 2560[13]

  • เมื่อเวลา 22.45 น. ของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ขณะที่ขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงขาเข้าเมืองซึ่งออกจากสถานีหลักหก กำลังมุ่งหน้าไปทางสถานีดอนเมือง ได้เกิดเหตุมีบุคคลลักลอบเข้ามาในพื้นที่รางรถไฟฟ้าซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้าม ส่งผลให้เกิดการเฉี่ยวชน โดยบริเวณจุดเกิดเหตุห่างจากสถานีหลักหกประมาณ 500 เมตร เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า จึงได้ดำเนินการแจ้งศูนย์ควบคุมการเดินรถ เมื่อศูนย์ควบคุมการเดินรถรับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้าได้ดำเนินการเข้าตรวจสอบพื้นที่ช่วงเส้นทางขาเข้าเมืองระหว่าง สถานีหลักหก - สถานีดอนเมือง ฝั่งขาเข้าเมืองพบร่างผู้เสียชีวิตบริเวณกลางรางใต้ขบวนรถไฟฟ้า ศูนย์ควบคุมการเดินรถจึงดำเนินการแจ้งทุกสถานีในเส้นทางบางซื่อ - รังสิต และแจ้งให้บริการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่เต็มรูปแบบและแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยกู้ภัย ทีมแพทย์ เพื่อเข้าพื้นที่ตรวจสอบโดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยกู้ภัย และทีมแพทย์เข้าตรวจสอบพื้นที่พบผู้เสียชีวิตเป็นชาย แต่ไม่มีเอกสารใดติดตัว ทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงได้เคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตออกจากพื้นที่ดังกล่าว ไปยังสถาบันนิติเวชโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ รังสิต เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป[14]

เหตุการณ์รถไฟฟ้าชนคนเสียชีวิตครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่สามของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในประเทศไทย

อ้างอิง

แก้
  1. "Abhisit wins backing for train deal". Bangkok Post. 7 February 2009.
  2. "B23bn MRT loan inked". Bangkok Post. 30 March 2009.
  3. "Contracts signed for Red Line stations". The Bangkok Post. Bangkok. 31 January 2013.
  4. "ไล่ทุบซากตอม่อ "โฮปเวลล์" รับรถไฟฟ้าสายใหม่ "บางซื่อ-รังสิต"". Prachachat. 6 January 2014.
  5. "SRT seeks extra B8bn for Red Line". The Bangkok Post. Bangkok. 27 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
  6. "Ministry to forward plans for 2 Red Line extensions". Bangkok Post. 19 January 2017.
  7. "SRT eyeing B40bn budget". Bangkok Post. 9 June 2019.
  8. ""ศักดิ์สยาม" เปิดปมทำไม "รถไฟฟ้าสายสีแดง" เลื่อนเปิดปี'64". Prachachat. 19 July 2020.
  9. "สรุปแล้ว! ค่าโดยสาร 'รถไฟฟ้าสายสีแดง' เก็บอัตรา 14-42 บาท". The Bangkok Insight. 20 January 2020.
  10. แอร์พอร์ตลิงก์ดึงงบ ร.ฟ.ท. เพิ่มทุน 3 พันล้าน!!
  11. "เริ่มวันนี้! รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นำร่อง 2 เส้นทาง". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 16 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. เศร้า! รถไฟฟ้าสายสีแดง ชนดับ ทับร่างชายปริศนา ช่วงวัดเสมียนฯ เร่งเช็กวงจรปิด
  13. รฟฟท. ลุยติดตั้งกล้องซีซีทีวีแบบใหม่ แจ้งเตือนคนเข้าพื้นที่เดินรถไฟสีแดง!
  14. "รถไฟฟ้าสายสีแดง" แถลงฯ ชนคนเสียชีวิตบนรางช่วงสถานีหลักหก - ดอนเมือง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้