กฎหมายอาญา
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
กฎหมายอาญา เป็นประชุมกฎหมายที่สัมพันธ์กับอาชญากรรม โดยห้ามความประพฤติที่รัฐมองว่าคุกคาม หรือเป็นภัยต่อทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของประชาชน กฎหมายอาญาส่วนใหญ่สร้างขึ้นเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งตราขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ กฎหมายอาญามีบทลงโทษและการทำให้กลับคืนดีซึ่งประชาชนผู้ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว
กฎหมายอาญาต่างจากกฎหมายแพ่ง ซึ่งเน้นการระงับข้อพิพาทและการใช้ค่าสินไหมทดแทน มากกว่าการลงโทษหรือการทำให้กลับคืนดี
วัตถุประสงค์
แก้กฎหมายอาญามีความพิเศษจากผลลัพธ์ที่อาจรุนแรงหรือบทลงโทษที่ละเว้นการปฏิบัติตามหลักกฎหมายอาญา[1] อาชญากรรมทุกประเภทมีองค์ประกอบแห่งความผิดอาญา โทษทางอาญามีทั้งโทษประหารชีวิต ซึ่งบางเขตอำนาจศาลใช้บังคับสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด, การลงโทษทางกาย เช่น การเฆี่ยน แม้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกห้ามการลงโทษลักษณะนี้แล้ว, การกักขังในเรือนจำหรือคุกในสภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการแยกขังเดี่ยว ส่วนระยะเวลานั้นอาจมีตั้งแต่ 1 วันไปจนถึงตลอดชีวิต, การคุมความประพฤติ เช่น การกักให้อยู่แต่ในบ้าน (house arrest) และผู้ต้องโทษอาจถูกบังคับให้ปฏิบัติตามแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติ , ปรับ , และริบทรัพย์เป็นเงินหรือทรัพย์สิน
มีการยอมรับวัตถุประสงค์ 5 ประการสำหรับการบังคับใช้กฎหมายอาญาโดยการลงโทษ ได้แก่ การตอบแทน การป้องปราม การหมดความสามารถ การทำให้กลับคืนดีและการคืนสภาพ เขตอำนาจศาลต่าง ๆ ให้น้ำหนักแก่คุณค่าต่างกันไป
- การตอบแทน (retribution): มองว่าอาชญากรสมควรถูกลงโทษในทางใดทางหนึ่ง เป็นเป้าหมายที่มองกันแพร่หลายมากที่สุด อาชญากรใช้ข้อได้เปรียบอย่างไม่เหมาะสม หรือก่อความเสียหายอย่างอยุติธรรมต่อผู้อื่น ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงต้องทำให้อาชญากรได้รับผลเสียอันไม่น่าพึงประสงค์เพื่อให้ "สมดุลกัน" ในทำนองเดียวกัน ประชาชนยอมรับต่อกฎหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิในการไม่ถูกฆ่า และหากมีประชาชนฝ่าฝืนกฎหมายข้อนี้ ถือว่าพวกเขายอมสละสิทธิที่กฎหมายมอบให้ ดังนั้นบุคคลที่ฆ่าผู้อื่นจึงอาจถูกประหารชีวิตด้วย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี "การรักษาสมดุล"
- การป้องปราม (deterrence): การป้องปรามปัจเจกมุ่งต่อผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายคือการกำหนดบทลงโทษให้หนักเพียงพอเพื่อให้ประชาชนไม่คิดกระทำความผิด การป้องปรามทั่วไปมุ่งต่อสังคมทั้งหมด
- การหมดความสามารถ (incapacitation): ออกแบบมาเพื่อกันอาชญากรจากสังคมเพื่อให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิด โทษอาจมีทั้งจำคุก ประหารชีวิตหรือเนรเทศ
- การทำให้กลับคืนดี (rehabilitation): มุ่งแปลงสภาพผู้กระทำความผิดให้กลับเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณค่า เป้าหมายหลักคือป้องกันการกระทำความผิดซ้ำโดยการจูงใจผู้กระทำความผิดว่าการกระทำของเขาผิด
- การคืนสภาพ (restoration): ตามทฤษฎีการลงโทษที่เน้นผู้เสียหาย เป้าหมายคือการใช้อำนาจรัฐแก้ไขความเสียหายใด ๆ ที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อผู้เสียหาย
ประเภทของความผิด
แก้ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ
- ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
- ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค
ลักษณะของการทำความผิดทางอาญา
แก้กฎหมายอาญากระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ
- ความผิดโดยการกระทำ
- ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
- ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ
สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
แก้โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเข้าสู่สังคมอย่างเดิม
กฎหมายอาญาบางส่วน
แก้องค์ประกอบแห่งความผิดอาญา
แก้กฎหมายอาญาโดยทั่วไปห้ามการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการพิสูจน์ความผิดอาญาจึงอาศัยการพิสูจน์การกระทำบางอย่าง นักวิชาการระบุว่าเป็นข้อกำหนดการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญา (actus reus) ความผิดอาญาบางอย่าง โดยเฉพาะความผิดในข้อบังคับสมัยใหม่ไม่ต้องมีการพิสูจน์การกระทำ เรียก ความผิดความรับผิดโดยสิ้นเชิง (strict liability) เช่น การขับขี่ยานพานหะโดยมีแอลกอฮอลในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี เนื่องจากโทษอาญาอาจรุนแรง ผู้พิพากษาในระบบคอมมอนลอว์จึงมองหาการพิสูจน์เจตนาร้าย (mens rea) ด้วย สำหรับความผิดอาญาที่กำหนดทั้งการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญาและเจตนาร้ายนั้น ผู้พิพากษาสรุปว่าองค์ประกอบทั้งสองจะต้องเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่เกิดขึ้นติดต่อกันตามวาระกัน[2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Dennis J. Baker (2011). "The Right Not to be Criminalized: Demarcating Criminal Law's Authority". Ashgate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2011-11-11.
- ↑ This is demonstrated by R v. Church [1966] 1 QB 59. Mr. Church had a fight with a woman which rendered her unconscious. He attempted to revive her, but gave up, believing her to be dead. He threw her, still alive, in a nearby river, where she drowned. The court held that Mr. Church was not guilty of murder (because he did not ever desire to kill her), but was guilty of manslaughter. The "chain of events," his act of throwing her into the water and his desire to hit her, coincided. In this manner, it does not matter when a guilty mind and act coincide, as long as at some point they do. See also, Fagan v. Metropolitan Police Commissioner [1968] 3 All ER 442, where angry Mr Fagan would not take his car off a policeman's foot