ซีคอนบางแค
ซีคอนบางแค (Seacon Bang Khae) เป็นศูนย์การค้าขนาด 40 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ เปิดการใช้งานขึ้นครั้งแรกในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่ สถานีภาษีเจริญ ซึ่งเชื่อมเข้าสู่ศูนย์การค้าพอดี บริหารงานโดยบริษัท ซีคอนบางแค จำกัด เป็นศูนย์การค้าที่ปรับปรุงจากศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค บางแค เดิมซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยการตกแต่งเปลือกอาคารเดิม (façade) ด้วยการใช้สีส้มเป็นสีประจำสัญลักษณ์ของห้างสรรพสินค้า
![]() | |
![]() | |
ที่ตั้ง | 607 หมู่ 9 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 |
---|---|
พิกัด | 13°42′46″N 100°26′07″E / 13.712681°N 100.435193°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°42′46″N 100°26′07″E / 13.712681°N 100.435193°E |
เปิดให้บริการ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 (ฟิวเจอร์พาร์ค บางแค) 15 กันยายน พ.ศ. 2555 (ซีคอนบางแค) |
ผู้พัฒนา | บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (Seacon Development) |
ผู้บริหารงาน | บริษัท ซีคอนบางแค จำกัด (ในเครือ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)) |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 300,000 ตารางเมตร |
จำนวนชั้น | 7 ชั้น |
ที่จอดรถ | 4,000 คัน |
ขนส่งมวลชน | ![]() |
เว็บไซต์ | www |
พื้นที่ใช้สอยของโครงการ แก้
ศูนย์สรรพสินค้ามีพื้นที่กว่า 40 ไร่ บนพื้นที่ขนาด 300,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่เช่า 170,000 ตารางเมตร จากร้านค้ากว่า 300 ร้านค้า มีลานอเนกประสงค์หลัก (atrium) จำนวน 3 ลาน
มีร้าน Fashion และ Fashion Accessories พร้อมศูนย์รวม Health & Beauty ที่รวบรวมสถาบันเสริมความงามและสุขภาพไว้กว่า 40 ร้าน มีร้านจำหน่ายโทรศัพท์ ไอทีและอีเล็กทรอนิกส์ กว่า 150 ร้านค้า มีโรงภาพยนตร์ระบบดิจิตอลและ 3D กว่า 10 โรง และร้านค้าอาหาร รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ต[1][2][3][4][5][6]
การจัดสรรพื้นที่ แก้
ซีคอนบางแค ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้
- ร้านค้าในกลุ่มเครือเซ็นทรัล
- ท็อปส์
- เพาเวอร์บาย
- ซูเปอร์สปอร์ต
- บีทูเอส
- ออฟฟิศเมท
- ดอง ดอง ดองกิ
- โฮมโปร (ย้ายมาจากสาขาเอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค, โลตัส บางแค)
- เดอะเพาเวอร์
- นิโตริ
- สปอร์ตเวิลด์
- ศูนย์อาหาร
- ซีซันแฟชั่นมอลล์
- โมบายล์ซีคอน
- ไอทีซีคอน
- สวนสนุกเมกา ฮาร์เบอร์แลนด์
- โรงภาพยนตร์แกรนด์ อีจีวี ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 10 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์คิคส์ซีนีมา 1 โรงและ GLS (Giant Laser Screen) 1 โรง
พื้นที่จัดสรรในอดีต แก้
- คาร์ฟูร์ สาขาฟิวเจอร์พาร์ค บางแค (พื้นที่นี่ถูกเปลี่ยนเป็นซีซันแฟชั่นมอลล์)
- เยาฮัน สาขาฟิวเจอร์พาร์ค บางแค
- สวนสนุกฟิวเจอร์เวิลด์ สาขาฟิวเจอร์พาร์ค บางแค
- สวนสนุกโยโย่แลนด์ สาขาซีคอนบางแค (ย้ายสาขาไปยังซีคอนสแควร์ ส่วนพื้นที่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นสวนสนุกเมกาฮาร์เบอร์แลนด์)
- ฟู้ดแฟร์
- แฟมิลี่มาร์ท
- ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาซีคอนบางแค (ปิดกิจการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยได้ย้ายสาขาไปยังโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ และโรบินสัน สาขาเซ็นทรัล มหาชัย ส่วนที่ตั้งเดิมปรับปรุงเป็น ชั้นBที่ตั้งของ พาวเวอร์บาย (ย้ายมาจากจุดเดิม มาอยู่ฝั่ง โรบินสันเดิม เพื่อขยายใหญ่ขึ้น) , ชั้น1ที่ตั้งของ นิโตริ และ สปอตเวิล์ด , ชั้น2 ที่ตั้งของโฮมโปร )
การเดินทาง แก้
รถไฟฟ้า แก้
บริการ | สถานี | สาย |
---|---|---|
รถไฟฟ้ามหานคร | สถานีภาษีเจริญ | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล |
รถสาธารณะ แก้
สาย | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด |
---|---|---|
84 | ซอยหมอศรี | BTS กรุงธนบุรี (ทางออก 3) |
84ก | บ้านเอื้ออาทร ศาลายา | แยกบางยี่เรือ |
101 | อู่บรมราชชนนี | วัดยายร่ม |
509 | อู่บรมราชชนนี | อู่หมอชิต 2 |
80 | วัดศรีนวลธรรมวิมล | สนามหลวง (ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์) |
84 ปอ. | อู่วัดไร่ขิง | BTS กรุงธนบุรี (ทางออก 3) |
7ก | อู่บรมราชชนนี | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |
189 | วัดบางยาง | สนามหลวง (ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์) |
80ก | หมู่บ้าน วปอ.11 | สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ |
91 | หมู่บ้านเศรษฐกิจ | สนามหลวง (ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์) |
91ก | ตลาดธนบุรี สนามหลวง 2 | สนามหลวง (ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์) |
165 | อู่บรมราชชนนี | สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ |
80 กะสว่าง | สน.หนองแขม | กองสลาก |
147L / 4-25
147R / 4-25 |
เคหะธนบุรี > ท่าพระ >
เคหะธนบุรี > บางแค > |
บางแค
ท่าพระ |
547 / 4-63 | อู่ไทยสมายล์บัส ศาลายา | พระราม 3 |
146R / 4-52
146L / 4-52 |
ตลิ่งชัน > > > | บางแค |
7 / 4-36 | อู่ไทยสมายล์บัส เอกชัย | สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) |
165 / 4-56 (TSB) | อู่ไทยสมายล์บัส ตลิ่งชัน | BTS กรุงธนบุรี (ทางออก 4) |
163 / 4-55 | อู่ไทยสมายล์บัส ศาลายา | สนามกีฬาแห่งชาติ |
81 / 4-45 | เทศบาลตำบลบางกระทึก | สนามหลวง (ตรงข้าม ม.ธรรมศาสตร์) |
84 / 4-46 (TSB) | โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา | BTS กรุงธนบุรี (ทางออก 3) |
สองแถว 1452 | ราชมนตรี | โลตัสบางแค |
สองแถว 1476 | ตลาดเมตตา | วัดรางบัว |
สองแถว 1124 (สาย 4) | พุทธมณฑลสาย 4 | MRT-BTS บางหว้า (ขาเข้า) |
รถตู้ ต.83 (บางแค) | บางแคพลาซ่า | เมเจอร์รังสิต |
รถตู้ ต.145 | บางแคพลาซ่า | นัมเบอร์วันพลาซ่า |
อ้างอิง แก้
- ↑ "Seacon Bangkae".
- ↑ "ซีคอน บางแค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
- ↑ "Seacon Bangkae revival delayed | Bangkok Post: business". Bangkok Post. 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.
- ↑ "Bangkok Post article". Bangkok Post article. 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.
- ↑ Kwanchai Rungfapaisarn The Nation July 8, 2011 12:00 am (2011-07-08). "Seacon's Bang Khae mall to open next April - The Nation". Nationmultimedia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.
- ↑ Kwanchai Rungfapaisarn The Nation March 21, 2012 1:00 am (2012-03-21). "Seacon Bangkae set for grand opening in August - The Nation". Nationmultimedia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.