คาร์ฟูร์ (ฝรั่งเศส: Groupe Carrefour) เป็นกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส มีสาขาอยู่ทั่วโลก ถ้าคิดจากรายได้แล้ว คาร์ฟูร์จะเป็นกลุ่มค้าปลีกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงวอลมาร์ต

คาร์ฟูร์
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
ยูโรเน็กซต์ปารีสCA
CAC 40 Component
อุตสาหกรรมการค้าปลีก
ก่อตั้ง1 มกราคม ค.ศ. 1958 ที่อานซี จังหวัดโอต-ซาวัว ประเทศฝรั่งเศส
ผู้ก่อตั้งMarcel Fournier Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่จังหวัดเอซอน ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
จำนวนที่ตั้งเพิ่มขึ้น 12,300
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักอเล็กซ์ซานเดร์ บอมพาร์ด
(ประธาน และ CEO)
ผลิตภัณฑ์Cash & Carry, warehouse club, discount store, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์เซ็นเตอร์, ซูเปอร์สโตร์, ซูเปอร์มาร์เก็ต
รายได้77.91 พันล้านยูโร (2018)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
758 ล้านยูโร (2018)[1]
รายได้สุทธิ
–344 ล้านยูโร (2018)[1]
สินทรัพย์47.37 พันล้านยูโร (2018)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้น11.28 พันล้านยูโร (2018)[1]
พนักงาน
374,478 (2018)[1]
บริษัทในเครือSee below
เว็บไซต์www.carrefour.com

ประวัติ

แก้

คาร์ฟูร์เปิดร้านสาขาแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ซึ่งเป็นเพียงแค่ร้านแค่เล็กๆตั้งอยู่ย่านปริมณฑลของเมืองอานซี (Annecy) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทางแยก (คำว่า "ทางแยก" ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Carrefour) โดย มาร์เซล โฟร์เนียร์ , เดนิส ดอฟเฟรี่ และ จัสเคย์ ดอฟเฟรี่ ซึ่งในปัจจุบันสาขานี้เป็นสาขาที่เล็กที่สุดในโลกของคาร์ฟูร์

ปี ค.ศ. 1970 คาร์ฟูร์มีสาขารวม 7 แห่งและคาร์ฟูร์ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ในปี ค.ศ. 1972 เปิดได้เปิดสาขาที่ใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ 24,000 ตารางเมตรขึ้นที่เมืองตูลูส และปี ค.ศ. 1985 คาร์ฟูร์ก็ได้ผลิตสินค้าในตราสัญลักษณ์ของคาร์ฟูร์ ออกสู่ตลาด จนในปี ค.ศ. 1992 คาร์ฟูร์มีสาขาทั้งหมด 120 สาขา

คาร์ฟูร์ในต่างประเทศ

แก้
 
คาร์ฟูร์ทั่วโลก (2024)
  เปิด
  กำลังจะปิดกิจการ
  ปิดกิจการแล้ว

เอเชีย

แก้
ประเทศ เปิดให้บริการสาขาแรก จำนวนสาขา

ไฮเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

ซูเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

Hard Discounters

จำนวนสาขา

Convenience Stores

จำนวนสาขา

Cash & Carry

จีน 1995 231[2]
บาห์เรน 2008 1
ญี่ปุ่น 2000 7
จอร์แดน 2006 3 14
คูเวต 2007 1
เลบานอน 2013 1
โอมาน 2000 7
ปากีสถาน 2009 6
อินโดนีเซีย 1998 88
อิหร่าน 2009 3 4
อิรัก 2012 3 1
กาตาร์ 2000 3 1
ซาอุดิอาระเบีย 2004 11 4
ซีเรีย 2009 1
ไต้หวัน 1989 64 33
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[3] 1995 19 28
  • คาร์ฟูร์ในอิหร่านและปากีสถาน อนู่ภายใต้การดำเนินการของ MAF ภายใต้ชื่อไฮเปอร์สตาร์
 
คาร์ฟูร์สาขาที่ 78 ในจีนตั้งอยู่ที่ เซี่ยงไฮ้ เปิดบริการเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2005

แอฟริกา

แก้
ประเทศ เปิดให้บริการสาขาแรก จำนวนสาขา

ไฮเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

ซูเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

Hard Discounters

จำนวนสาขา

Convenience Stores

จำนวนสาขา

Cash & Carry

อียิปต์ 2002 10 26
โมร็อกโก 2000 10 30
ตูนีเซีย 2001 1 69* 1
เคนย่า 2016 3[4][5]

คาร์ฟูร์ขายกิจการในแอลจีเรียและเปิดสาขาที่โมร็อกโกในปีเดียวกัน
นอกจากนี้ในตูนิเซีย ยังมี "คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต" 37 สาขา และ 32 สาขา ในรูปแบบ คาร์ฟูร์ เอ็กซ์เพลส [6]

ยุโรป

แก้
ประเทศ เปิดให้บริการสาขาแรก

(ค.ศ.)

จำนวนสาขา

ไฮเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

ซูเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

Hard Discounters

จำนวนสาขา

Convenience Stores

จำนวนสาขา

Cash & Carry

แอลแบเนีย 2011 2 15
อาร์เมเนีย 2015 1
เบลเยี่ยม 1969 45 370 225
ฝรั่งเศส 1960 221 1,021 897 3,245 134
จอร์เจีย 2012 2 4
อิตาลี 1993 57 412 586 13
มาซิโดเนีย 2012 1 1
โมนาโก 1[7]
โปแลนด์ 1997 84 277 5
โปรตุเกส 1991 365
โรมาเนีย 2001 32 202 6 59 -
สเปน 1973 173 162 - 122 114
สโลวาเกีย 2000 5 0 0
ตุรกี 1993 73 99 519


ใน วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2008 คาร์ฟูร์ขายธุรกิจในรัสเซียโดยอ้างถึง "การขาดโอกาสในการเติบโตและการเติบโตทางชีวภาพที่เพียงพอ"[8]

อเมริกา

แก้
 
คาร์ฟูร์ในประเทศบราซิล
  • คาร์ฟูร์มีสำนักงานอยู่ใน 3 ประเทศในอเมริกา ได้แก่ บราซิล (ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดนอกประเทศฝรั่งเศส) อาร์เจนตินาและสาธารณรัฐโดมินิกัน คาร์ฟูร์มีบทบาทในการกระจายสินค้าปลีก 3 ประเภทคือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์มาร์เก็ต และ hard discounters คาร์ฟูร์ยังเคยเปิดในเม็กซิโกระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง 2548 และยังเคยเปิดสาขาในโคลอมเบียและปิดกิจการสาขาทั้งหมดในปี พ.ศ. 2555 และ ร้านค้าปลีกสัญชาติชิลี Cencosud ยังซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศชิลีทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็น "จัมโบ้" [9]


ประเทศ เปิดให้บริการสาขาแรก

(ค.ศ.)

จำนวนสาขา

ไฮเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

ซูเปอร์มาร์เก็ต

จำนวนสาขา

Hard Discounters

จำนวนสาขา

Convenience Stores

จำนวนสาขา

Cash & Carry

อาร์เจนตินา 1982 59 103 395
บราซิล 1975 103 40 305 97 143
โดมินิกัน 2000 5 10 20 85

รูปแบบร้าน

แก้
 
8 à Huit ใน Étretat ประเทศฝรั่งเศส
ไฮเปอร์มาร์เก็ต

คาร์ฟูร์, Atacadão,[10]

ซูเปอร์มาร์เก็ต

คาร์ฟูร์ ไบอาโร่, คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต[10] แชมป์เปี้ยน, โกบิ, จีบี ซูเปอร์มาร์เก็ต, จีเอส, คาร์ฟูร์ มินิ, จีม่า, ซูเปโก[11]

ร้านสะดวกซื้อ

คาร์ฟูร์ เอ็กซ์เพลส,[10] คาร์ฟูร์ ซิตี้,[10] คาร์ฟูร์ คอนแทค,[10] Carrefour Montagne, 5 minutes, 8 à Huit, มาร์เช่ พลัส,[12] Proxi, Sherpa, Dìperdì, สไมล์ มาร์เก็ต, เอ็กซ์เพลส, โชปี

ร้านขายส่ง (Cash & carry)

Promocash, ดอช มาร์เก็ต, Gross IPer

 
คาร์ฟูร์ ซิตี้ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

คาร์ฟูร์ในประเทศไทย

แก้
 
ห้างคาร์ฟูร์ในประเทศไทย

บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด เป็นชื่อของคาร์ฟูร์ เมื่อเข้ามาประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย โดยชื่อมาจาก central + carrefour เนื่องด้วยเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น (ซีอาร์ซี) และ คาร์ฟูร์เนเธอร์แลนด์บีวี ในอัตราส่วน 60:40 ในปีพ.ศ. 2539 แต่ภายหลัง ซีอาร์ซี ได้จำนองหุ้นระยะยาวให้กับคาร์ฟูร์ เนื่องด้วยวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 แต่ตามพรบ.ค้าปลีกฯ ไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นทั้งหมด หุ้นจำนวนดังกล่าวจึงอยู่ที่บริษัทโฮลดิ้งที่จัดตั้งขึ้นใหม่แทนและดำเนินธุรกิจเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2553 ทางคาร์ฟูร์เนเธอร์แลนด์บีวี ได้ตัดสินใจถอนการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่สามารถสร้างผลกำไรได้มากเป็นปีที่ 5 โดยเบื้องต้นมีผู้เสนอเข้าประมูลกิจการถึง 4 ราย คือ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), Casino Guichard-Perrachon หรือกลุ่มคาสิโน จากประเทศฝรั่งเศส (ถือหุ้นอยู่ใน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)), บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (BJC) และ ปตท.

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 กลุ่มคาสิโนได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร (ประมาณ 25,044,000,000 บาท) โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทจะร่วมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขาทันที จาก 60 สาขา คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท และยังส่งผลให้ตลาดค้าปลีกในประเทศไทยเหลือเพียง 2 เจ้าใหญ่เท่านั้น ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ซึ่งกิจการก็ได้ควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2554 และบิ๊กซีได้บูรณะห้างคาร์ฟูร์จำนวนทั้งหมด 41 สาขาให้กลายเป็นบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 25 สาขา, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า 15 สาขา, บิ๊กซี จัมโบ้ 1 สาขาซึ่งเป็นสาขาทดลองตลาด [13]โดยบิ๊กซีได้กำหนดแบรนด์ใหม่ที่จะมาใช้แทนคาร์ฟูร์คือ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า เป็นการนำเอาจุดเด่นในด้านการคัดสรรสินค้าจากทุกมุมโลกและการบริการที่เป็นเลิศของคาร์ฟูร์ มารวมกับราคาคุณภาพของบิ๊กซี เพื่อจับกลุ่มลูกค้าในระดับ A+ โดยเฉพาะ ทั้งนี้เป็นผลการศึกษาการให้บริการของ Extra ที่เป็นแบรนด์ไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศบราซิลของกลุ่มคาสิโน

ข้อวิพากษ์วิจารณ์และข้อถกเถียง

แก้

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พนักงานกว่า 30 คนของคาร์ฟูร์ ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง หลังจากได้รับผลกระทบจาก CO2 ซึ่งตั้งอยู่ชั้นใต้ดินของห้างสรรพสินค้าซึ่งมีการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 บริษัท ถูกตัดสินลงโทษในข้อหาปลอมแปลงโฆษณา โดยคาร์ฟูร์จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาไว้ไม่เพียงพอและไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัท ยังถูกตัดสินลงโทษในการขายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าต้นทุนและรับสินบนจากผู้ค้าส่ง คาร์ฟูร์ได้รับคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวน 2 ล้านยูโร

ในคาร์ฟูร์ ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีชั้นวางของโลหะสูง 5 เมตรวางทับอยู่บนเด็กชายอายุ 3 ปีโดยเสียชีวิตทันทีเนื่องจากมีเลือดออกภายใน หลังจากนั้นครอบครัวของเหยื่ออ้างว่าคาร์ฟูร์ ได้ปฏิเสธที่จะพบกับพวกเขาเพื่อยุติคดี อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการองค์กรของคาร์ฟูร์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Annual Report 2018" (PDF). Carrefour Group. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
  2. "Opening of the 231th hypermarket". Carrefour. 27 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-29. สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
  3. "Carrefour Branches in United Arab Emirates (UAE) – TEN Yellow Pages". Yp.theemiratesnetwork.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-08. สืบค้นเมื่อ 19 April 2011.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  6. "la grande distribution en Tunisie par". Carrefour Tunisie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-28. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  7. "Carrefour Monaco". Carrefour.fr. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  8. "Resilient sales in a persistently changing environment" (PDF). Carrefour. 15 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-22. สืบค้นเมื่อ 15 October 2010.
  9. "Carrefour sells Colombia assets to Chile's Cencosud for $2.6 billion". 19 October 2012. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017 – โดยทาง Reuters.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Zentes, J.; Morschett, D.; Schramm-Klein, H. (2016). Strategic Retail Management: Text and International Cases. Springer Fachmedien Wiesbaden. p. 190. ISBN 978-3-658-10183-1. สืบค้นเมื่อ October 29, 2016.
  11. "Opening of the first Supeco store". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2017-12-20.
  12. Marketing Management, 2E. McGraw-Hill Education (India) Pvt Limited. p. 194. ISBN 978-0-07-015327-1. สืบค้นเมื่อ October 29, 2016.
  13. "อวสานคาร์ฟูร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-15.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้