ประเทศไต้หวัน

ประเทศในเอเชียตะวันออก
(เปลี่ยนทางจาก Republic of China)

24°N 121°E / 24°N 121°E / 24; 121

สาธารณรัฐจีน


ตราประจำชาติ
中華民國之璽
"ตราของสาธารณรัฐจีน"

ดอกไม้ประจำชาติ

梅花
บ๊วย
เมืองหลวงไทเป[a][2]
25°04′N 121°31′E / 25.067°N 121.517°E / 25.067; 121.517
เมืองใหญ่สุดซินเป่ย์
ภาษาราชการภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน [b][5]

อักษรทางการจีนตัวเต็ม[6]
ภาษาประจำชาติ[d]
กลุ่มชาติพันธุ์
มากกว่า 95% ไต้หวันเชื้อสายฮั่น
—70% ฮกเกี้ยน
—14% แคะ
—14% ไว่เฉิ่งเหริน
2% ชนพื้นเมือง[10][e]
ศาสนา
เดมะนิมชาวไต้หวัน[11]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญ
ไล่ ชิงเต๋อ
เซี้ยว บี๊ขิม
จั๋ว หรงไท่
หาน กั๋ว-ยฺหวี
สฺวี่ จงลี่
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ
สถาปนา
• ก่อตั้ง
1 มกราคม ค.ศ. 1912
• ครอบครองไต้หวันและเผิงหู[f]
25 ตุลาคม ค.ศ. 1945
25 ธันวาคม ค.ศ. 1947
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1948
7 ธันวาคม ค.ศ. 1949
16 กรกฎาคม ค.ศ. 1992
พื้นที่
• รวม
36,197 ตารางกิโลเมตร (13,976 ตารางไมล์)[12][11]
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
23,451,837[13] (อันดับที่ 56)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010
23,123,866[14]
650 ต่อตารางกิโลเมตร (1,683.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 10)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.403 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[15] (อันดับที่ 19)
เพิ่มขึ้น 56,959 ดอลลาร์สหรัฐ[15] (อันดับที่ 13)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 759,104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[15] (อันดับที่ 21)
เพิ่มขึ้น 32,123 ดอลลาร์สหรัฐ[16] (อันดับที่ 29)
จีนี (ค.ศ. 2017)Negative increase 34.1[17]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.916[18]
สูงมาก · อันดับที่ 23
สกุลเงินดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (NT$) (TWD)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานประจำชาติ)
รูปแบบวันที่
ไฟบ้าน110 โวลต์–60 เฮิร์ซ[g]
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+886
รหัส ISO 3166TW
โดเมนบนสุด
ประเทศไต้หวัน
"ไต้หวัน" ในอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และ อักษรจีนตัวย่อ (ล่าง)
อักษรจีนตัวเต็ม臺灣 หรือ 台灣
อักษรจีนตัวย่อ台湾

ประเทศไต้หวัน[h] ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (อังกฤษ: Republic of China)[i] เป็นประเทศ[20] ที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก[21][22][23] ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (จีน: 金門), ไต้หวัน, เผิงหู (จีน: 澎湖), หมาจู่ (จีน: 馬祖), และอูชิว (จีน: 烏坵) รวมทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง พื้นที่ทั้งหมดเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (จีน: 臺灣地區)

เกาะหลักของไต้หวันมีพื้นที่ 35,808 ตารางกิโลเมตร (13,826 ตารางไมล์) มีเทือกเขาที่ครอบคลุมพื้นที่สองในสามทางด้านตะวันออกและที่ราบทางตะวันตกของเกาะซึ่งมีประชากรอาศัยหนาแน่นในลักษณะเป็นสังคมเมือง ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ มีกรุงไทเปเป็นเมืองหลวง[2] ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เกาสฺยง ไถจง ไถหนาน และเถา-ยฺเหวียน ด้วยจำนวนประชากร 23.5 ล้านคน[24] ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก[25][26]

เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคก๊กมินตั๋ง (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (共產黨) พรรคก๊กมินตั๋งจึงหนีมายังเกาะไต้หวันและสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหาก ส่วนฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้[27][28]

ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองไต้หวันได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เรียกว่าช่วงปาฏิหาริย์ของไต้หวัน ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า โดยมีส่วนสำคัญจากการผลิตเหล็กกล้า เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก[29][30] และเป็นอันดับ 15 ของโลกตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข[31] การศึกษา และดัชนีการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วย[32][33][34]

ชื่อ

แก้

เกาะไต้หวันมีชื่อเรียกหลายชื่อซึ่งยังคงได้รับการใช้งาน แต่ละชื่อมาจากนักสำรวจหรือผู้ปกครองในยุคสมัยนั้น ๆ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุด คือ "ฟอร์โมซา" มีอายุถึง ค.ศ. 1542 อันเป็นช่วงที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสพบเกาะนี้ซึ่งไม่ปรากฏในแผนที่ จึงบันทึกไว้ว่า "Ilha Formosa" แปลว่า "เกาะสวย"[35][36] ภายหลัง ชื่อ "ฟอร์โมซา" ก็ได้รับการใช้งานแทนชื่ออื่น ๆ ทั้งหมดในงานเขียนที่เป็นภาษาอังกฤษ[37] และได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้พูดภาษาอังกฤษสืบ ๆ มาจนเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20[38]

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 บริษัทอินเดียตะวันออกของดัชต์จัดตั้งสถานีทางการค้าขึ้นที่ป้อมซีแลนเดีย (Fort Zeelandia) บนเกาะ และเรียกป้อมนั้นว่า "เถา-ยฺเหวียน" (Tayouan) ตามชื่อของชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งน่าจะได้แก่ชาวต้าหมั่นจู๋ (大滿族) ที่ชาวดัชต์และโปรตุเกสเขียนนามไว้หลายแบบ เช่น "Taivoan", "Taiouwang", "Tayowan", "Teijoan", ฯลฯ[39] ภายหลัง ชื่อนี้ได้รับการยอมรับเข้าสู่ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในภาษาฮกเกี้ยนที่รับไปเป็นคำว่า "Tâi-oân" โดยใช้เป็นชื่อเรียกสันดอนที่ตั้งป้อมนั้นและปริมณฑล ชื่อ "ไต้หวัน" ในปัจจุบันก็วิวัฒนาการมาจากชื่อ "Tâi-oân" นี้ และในเอกสารประวัติศาสตร์ของจีน มีการเขียนคำว่า "ไต้หวัน" ไว้หลายแบบ เช่น "大員", "大圓", "大灣", "臺員", "臺圓", และ "臺窩灣"

ในภาษาจีน ตัวสะกดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ "臺灣" หรือ "台灣" การสะกดเช่นนี้ได้รับการใช้มายาวนานตั้งแต่ ค.ศ. 1684 ที่มีการจัดตั้งมณฑลไต้หวันขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ในไถหนานปัจจุบัน การเติบโตอย่างรวดเร็วของมณฑลนี้ทำให้เกาะฟอร์โมซาทั้งเกาะได้รับการเรียกขานเป็น "ไต้หวัน" ในที่สุด[40][41][42][43]

อนึ่ง วัง ต้า-ยฺเวียน (汪大渊) นักเดินทางชาวจีน เรียกเกาะนี้ว่า "หลิวฉิว" (流求) มาจากภาษาญี่ปุ่นว่า "รีวกีว" (Ryūkyū)[44] ชื่อ "หลิวฉิว" นี้ยังปรากฏในเอกสาร สุยชู (隋書) จาก ค.ศ. 636 แต่นักวิชาการยังเห็นแย้งกันในประเด็นว่า "หลิวฉิว" ตามเอกสารนี้ หมายถึงหมู่เกาะรีวกีวในญี่ปุ่น หมายถึงเกาะไต้หวัน หรือหมายถึงเกาะลูซอน[45]

ภูมิศาสตร์

แก้

สาธารณรัฐจีน มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ ทำให้ภูมิประเทศติดกับทะเล ไม่ติดกับประเทศใดเลย ห่างจากเกาะไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้เป็นประเทศฟิลิปปินส์และทะเลจีนใต้ ส่วนทิศตะวันออกเป็นมหาสมุทรแปซิฟิก[46]

เกาะหลักที่รู้จักกันในชื่อ ฟอร์โมซา คิดเป็น 99% ของพื้น โดยมีพื้นที่ 35,808 ตารางกิโลเมตร (13,826 ตารางไมล์) และอยู่ห่างจากช่องแคบไต้หวันประมาณ 180 กิโลเมตร (112 ไมล์) จากชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ มีทะเลจีนตะวันออกตั้งอยู่ทางเหนือ ทะเลฟิลิปปินส์อยู่ทางทิศตะวันออก ช่องแคบลูซอนอยู่ทางใต้ และทะเลจีนใต้ทางตะวันตกเฉียงใต้ เกาะที่มีขนาดเล็กกว่าประกอบด้วยเกาะจำนวนหนึ่งในช่องแคบไต้หวัน เช่น หมู่เกาะเผิงหู หมู่เกาะจินเหมิน และเกาะมัตสึ ใกล้ชายฝั่งจีน และบางส่วนของหมู่เกาะทะเลจีนใต้ เกาะหลักมีลักษณะเป็นรอยเลื่อนเอียง มีลักษณะตัดกันระหว่างด้านตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยเทือกเขาที่ขรุขระเป็นส่วนใหญ่ 5 แห่งขนานกับชายฝั่งตะวันออก และที่ราบเรียบเป็นที่ราบทางทิศตะวันตกที่สาม มียอดเขาหลายยอดสูงกว่า 3,500 เมตร ซึ่งสูงที่สุดคือหยูซานที่ 3,952 เมตร (12,966 ฟุต) ทำให้ไต้หวันเป็นประเทศเกาะที่มียอดเขาสูงเป็นอันดับสี่ของโลก และเกาะแห่งนี้ประสบกับแผ่นดินไหวหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีภูเขาไฟใต้น้ำที่ยังคุกรุ่นอยู่จำนวนมากในช่องแคบไต้หวัน ไต้หวันประกอบด้วยอีโครีเจียนภาคพื้นดินสี่แห่ง: ป่าดิบชื้นกึ่งกึ่งเขตร้อน Jian Nan หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ป่าฝนมรสุมใต้ของไต้หวัน และป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนของไต้หวัน ภูเขาทางทิศตะวันออกเป็นป่าทึบและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในขณะที่การใช้ที่ดินในพื้นที่ราบลุ่มทางตะวันตกและตอนเหนือนั้นเข้มข้นมาก ประเทศมีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ปี 2019 ที่ 6.38/10 อยู่ในอันดับที่ 76 ของโลกจาก 172 ประเทศในด้านความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้

ไต้หวันมีภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบเขตประเทศเขตร้อนทางทะเล ภาคเหนือและภาคกลางเป็นแบบกึ่งเขตร้อน ในขณะที่ภาคใต้เป็นเขตร้อนและบริเวณภูเขามีอากาศอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,600 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูฝนเกิดขึ้นพร้อมกันกับฤดูมรสุมเอเชียตะวันออกในฤดูร้อนในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ทั้งเกาะมีสภาพอากาศร้อนชื้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ไต้ฝุ่นพบมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน ในช่วงฤดูหนาว (พฤศจิกายน-มีนาคม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตอนกลางและตอนใต้ของเกาะจะมีแดดจัดเป็นส่วนใหญ่[47][48][49]

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยในไต้หวันเพิ่มขึ้น 1.4 °C (2.5 °F) ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสองเท่าของอุณหภูมิทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น[50] เป้าหมายของรัฐบาลไต้หวันคือการลดการปล่อยคาร์บอนลง 20% ในปี 2573 เมื่อเทียบกับระดับปี 2548 และลดลง 50% ในปี 2593 เมื่อเทียบกับระดับปี 2548 การปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92 ระหว่างปี 2548 ถึง 2559

ประวัติศาสตร์

แก้

ก่อนประวัติศาสตร์

แก้

อาณานิคมในศตวรรษที่ 17

แก้

บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามาจัดตั้งสถานีการค้าขึ้นที่หมู่เกาะเผิงหูในปี พ.ศ. 2165 (ค.ศ. 1622) แต่ในภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้แพ้สงครามกับจีนและถูกขับไล่ออกไปโดยราชวงศ์หมิง[51]

ในปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) บริษัทได้สร้างฐานที่มั่นซึ่งมีชื่อว่าป้อมซีแลนเดียบนเกาะชายฝั่งเถา-ยฺเหวียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของเขตอานผิง เมืองไถหนัน และบริษัทได้เริ่มนำเข้าแรงงานมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและเผิงหู

ในปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) ชาวสเปนเดินทางมาถึงและได้เข้ายึดครองบริเวณทางตอนเหนือของไต้หวัน ที่ท่าเรือของนครจีหลงและบริเวณชายฝั่งของนครซินเป่ย์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานในการขยายการค้า กลายเป็นยุคอาณานิคมของสเปนอยู่ 16 ปีจนกระทั่ง พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) เมื่อป้อมปราการสุดท้ายของสเปนถูกกองทัพเนเธอร์แลนด์เข้าตีได้สำเร็จ

ราชวงศ์ชิง

แก้
 
ภาพวาดชาวพื้นเมืองไต้หวันกำลังล่ากวาง สมัยราชวงศ์ชิง ปี ค.ศ 1796

ในปี ค.ศ. 1638 หลังการพ่ายแพ้ของหลานชายของเจิ้ง เฉิงกง จากการบุกโจมตีทางทัพเรือของราชวงศ์ชิงแมนจูที่นำทัพโดยชื่อ หลางจากทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน ทำให้ราชวงศ์ชิงผนวกยึดเกาะไต้หวันมาเป็นส่วนหนึ่งได้สำเร็จ และวางไว้ภายใต้เขตอำนาจของมณฑลฝูเจี้ยน ราชสำนักของราชวงศ์ชิงพยายามลดการละเมิดสิทธิ์และความไม่ลงรอยกันในพื้นที่โดยออกกฎหมายเพื่อจัดการตรวจคนเข้าเมืองและเคารพสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองไต้หวัน ผู้อพยพจากฝูเจี้ยนทางใต้ส่วนใหญ่ยังคงเดินทางไปไต้หวัน เขตแดนระหว่างดินแดนที่เสียภาษีและสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็นดินแดน "เขตอันตราย" เปลี่ยนไปทางทิศตะวันออกโดยชาวพื้นเมืองบางคนเข้ารีตรับวัฒนธรรมแบบจีน ในขณะที่คนอื่น ๆ ถอยกลับเข้าไปในภูเขา ในช่วงเวลานี้มีความขัดแย้งจำนวนมากระหว่างกลุ่มชาวจีนฮั่นด้วยกันเองจากภูมิภาคต่าง ๆ ของฝูเจี้ยนทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเฉวียนโจวกับฉางโจว และระหว่างฝูเจี้ยนตอนใต้และชาวพื้นเมืองไต้หวัน

จักรวรรดิญี่ปุ่น

แก้

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

แก้
 
เส้นทางการอพยพหนีภัยของรัฐบาลจีนคณะชาติ (พรรคก๊กมินตั๋ง) ไปยังเมืองไทเป เกาะไต้หวัน
 
แผนที่หลังสงครามกลางเมืองจีนยุติ
*สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนแผ่นดินใหญ่ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครอง   (สีแดง)
*สาธารณรัฐจีนที่รัฐบาลจีนคณะชาติลี้ภัยมาที่เกาะไต้หวัน   (สีน้ำเงิน)

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) การก่อการกำเริบอู่ชางในประเทศจีน เป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่ไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปครองอำนาจในจีนต่อไป

ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่ เหมา เจ๋อตง มีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศทั้งสองจีน คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน แย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า

พรรคก๊กมินตั๋งเรืองอำนาจ

แก้

ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:蔣介石/蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติได้สูญเสียสมาชิกภาพในฐานะตัวแทนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีน ทั้งสหรัฐก็ได้ถอนการรับรองว่าสาธารณรัฐจีนมีฐานะเป็นรัฐ ไต้หวันจึงกลายเป็นเพียงดินแดนที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ลูกชายที่ชื่อ เจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang Chingkuo) ได้เป็นผู้สืบทอดการปกครองไต้หวันต่อและเริ่มกระบวนการ วางรากฐานไปสู่ประชาธิปไตย

ปฏิรูปประชาธิปไตย

แก้
 
ในปี ค.ศ. 1988 หลี่ เติงฮุย ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่เป็นชาวพื้นเมืองไต้หวันคนแรกของสาธารณรัฐจีนและได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1996

หลังจากที่ประธานาธิบดี เจียง จิ่งกั๊วะ เสียชีวิต ไต้หวันจึงได้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ โดยการสนับสนุนของเจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang Chingkuo) ทั้งที่ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) นั้นเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวัน นาย รัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ตั้งฉายาประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ว่า "จิ้งจกปากหวาน" (A sweet-Talking Chameleon) ช่วงเวลาที่นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พวกก๊กมินตั๋ง ที่ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2) พวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดำรงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป

ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่นัดเจรจาหาทางออกของข้อขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) แต่ปรากฏว่าจีนแผ่นดินใหญ่ประวิงเวลาการลงนามในสัญญาหลายฉบับที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน ทำให้ผลของการเจรจาคราวนั้นไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน ความสัมพันธ์ระหว่างสองจีนเลวร้ายลงทุกที เมื่อประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย เดินทางไปเยือนสหรัฐและได้รับการยอมรับอย่างเอิกเกริก ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงกระทำการข่มขวัญไต้หวันกับประเทศที่ให้การสนับสนุนไต้หวัน ด้วยการทำการซ้อมรบขึ้นใกล้ ๆ เกาะไต้หวัน สหรัฐออกมาแสดงอาการปกป้องคุ้มครองไต้หวันด้วยการส่งกำลังกองเรือรบของสหรัฐฯ มาป้วนเปี้ยนอยู่ในน่านน้ำที่จีนซ้อมรบ

ขณะที่โลกกำลังล่อแหลมกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดในน่านน้ำจีนมากขึ้นทุกทีนั้น ไต้หวันก็จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้นเอง ไต้หวันก็ได้นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง

ไต้หวันเข้าสู่สภาวะวิกฤต เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ทำให้ประชากรส่วนมากที่เป็นชาวพื้นเมืองเสียชีวิตไป 2,000 คน ทั้งเมืองมีแต่เศษซากสิ่งปรักหักพังที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และช่วงนี้ไต้หวันต้องเผชิญความยากลำบากจากภัยธรรมชาติร้ายแรง จีนแผ่นดินใหญ่ก็เพิ่มความกดดันไม่ให้นานาชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับไต้หวันแม้ในยามคับขันเช่นนี้ โดยออกมาประกาศว่า หากมีประเทศใดจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือไต้หวัน จะต้องได้รับอนุญาตจากจีนก่อน ซึ่งคำประกาศของจีนแผ่นดินใหญ่สวนทางกับเมตตาธรรมของประเทศทั่วโลกที่ต้องการให้ความช่วยเหลือไต้หวัน

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีการเลือกตั้งใหม่ในไต้หวัน ชาวไต้หวันเลือกผู้แทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน ผู้ประกาศนโยบายการเมืองแข็งกร้าวว่าไต้หวันต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ยุติยุคของพรรคชาตินิยมที่ยังฝักใฝ่แผ่นดินใหญ่อยู่ จีนแผ่นดินใหญ่จึงถือว่าเป็นกบฏต่อการปกครองของจีน เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ไต้หวันไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระแยกจากจีน และจีนพูดอยู่เสมอว่าไต้หวันเป็นเด็กในปกครองที่ค่อนข้างจะหัวดื้อและเกเร หากไต้หวันประกาศว่าเป็นอิสระจากจีนเมื่อใด จีนก็จะยกกำลังจัดการกับไต้หวันทันที

ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองจีนในสายตาชาวโลกเลวร้ายลง จีนทั้งสองกลับมีการติดต่อทางการค้ากันมากขึ้น มีการผ่อนปรนอนุญาตให้ชาวไต้หวันเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเยี่ยมญาติได้ เกิดปรากฏการสำคัญคือนักธุรกิจไต้หวันหอบเงินทุนมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนดำเนินธุรกิจทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ จนกระทั่งขณะนี้ชาวไต้หวันกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่เป็นลำดับ 2 ของจีน

วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายสมรสปัจจุบันในเวลานั้นละเมิดรัฐธรรมนูญโดยปฏิเสธสิทธิสมรสของคู่รักเพศเดียวกันชาวไต้หวัน ศาลวินิจฉัยว่าหากสภานิติบัญญัติไม่ผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เพียงพอต่อกฎหมายสมรสของไต้หวันภายในสองปี การสมรสเพศเดียวกันจะชอบด้วยกฎหมายโดยอัตโนมัติในไต้หวัน[52] วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 สภานิติบัญญัติไต้หวันอนุมัติร่างกฎหมายทำให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว[53][54]

การปกครอง

แก้

การปกครองสาธารณรัฐจีนนั้นสถาปนาขึ้นตามรัฐธรรมนูญและลัทธิไตรราษฎร์ซึ่งระบุว่า สาธารณรัฐจีน "เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยของประชาชน ปกครองโดยประชาชน และเป็นไปเพื่อประชาชน"[55]

การปกครองนั้นแบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย เรียกว่า "สภา" (yuan) คือ สภาบริหาร (Executive Yuan) ได้แก่ คณะรัฐมนตรีและฝ่ายบริหารทั้งสิ้น, สภานิติบัญญัติ (Legislative Yuan), สภาตุลาการ (Judicial Yuan), สภาควบคุม (Control Yuan) เป็นฝ่ายตรวจสอบ, และสภาสอบคัดเลือก (Examination Yuan) มีหน้าที่จัดสอบคัดเลือกข้าราชการ

บริหาร

แก้
 
ไล่ ชิงเต๋อ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน

ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นจอมทัพกองทัพสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อยู่ในตำแหน่งวาระ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ มาและไปพร้อมกับรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ไล่ ชิงเต๋อ เขาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าคนปัจจุบัน และเป็นตัวแทนของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2024

ประธานาธิบดีมีอำนาจเหนือสภาบริหาร เพราะแต่งตั้งสมาชิกสภาบริหาร ซึ่งรวมถึง นายกรัฐมนตรี ผู้เป็นประธานสภาบริหารโดยตำแหน่ง ส่วนสมาชิกสภาบริหารนั้นรับผิดชอบนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน[55]

นิติบัญญัติ

แก้

สภานิติบัญญัตินั้นใช้ระบบสภาเดียว มีสมาชิก 113 คน 73 คนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วยระบบแบ่งเขต 34 คนมาจากการเลือกตั้งของพรรคการเมืองตามระบบสัดส่วน ที่เหลือ 6 คนนั้นมาจากการเลือกตั้งตามเขตชนพื้นเมือง 23 เขต สมาชิกสภานิติบัญญัติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่ก่อนยังมีสมัชชาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นคณะผู้เลือกตั้งและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจนิติบัญญัติบางประการด้วย แต่ภายหลังสมัชชานี้ยุบเลิกไปในปี 2005 อำนาจหน้าที่ของสมัชชาก็โอนต่อไปยังสภานิติบัญญัติและผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งแสดงออกด้วยประชามติแทน[55]

นายกรัฐมนตรีมาจากการสรรหาของประธานาธิบดี โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติ ขณะเดียวกัน สภานิติบัญญัติสามารถออกกฎหมายโดยไม่ต้องคำนึงประธานาธิบดี ส่วนประธานาธิบดีก็ดี นายกรัฐมนตรีก็ดี ไม่มีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายทั้งสิ้น[55] ฉะนั้น จึงมีน้อยครั้งที่ประธานาธิบดีและสภานิติบัญญัติจะเจรจากันเกี่ยวกับร่างกฎหมายในยามที่เห็นแย้งกัน[56]

ตามประวัติศาสตร์แล้ว สาธารณรัฐจีนมีผู้ปกครองจากพรรคการเมืองที่เข้มแข็งอยู่พรรคเดียวมาตลอด ทั้งรัฐธรรมนูญก็มิได้จำกัดอำนาจของประธานาธิบดีได้โดยแจ้งชัด เป็นเหตุให้อำนาจบริหารตกอยู่ในเงื้อมมือของประธานาธิบดียิ่งกว่านายกรัฐมนตรี[57]

ตุลาการ

แก้

สำหรับฝ่ายตุลาการนั้น สภาตุลาการเป็นองค์กรสูงสุด มีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และกฎ กับทั้งพิจารณาคดีทุกประเภท ไม่ว่าคดีปกครอง คดีรัฐธรรมนูญ หรือคดีอื่น ๆ ประธานสภาตุลาการ รองประธานสภาตุลาการ และตุลาการอื่นอีก 13 คน ประกอบกันเป็น "ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ" (Council of Grand Justices)[58] ตุลาการ ณ ที่ประชุมใหญ่เหล่านี้มาจากการเสนอชื่อและแต่งตั้งของประธานาธิบดีเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ[55]

ศาลชั้นสูงสุดของประเทศ คือ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ประกอบด้วย แผนกคดีแพ่งและคดีอาญาจำนวนหนึ่ง แต่ละแผนกมีตุลาการหัวหน้าแผนก 1 คน กับตุลาการสมทบอีก 4 คน ทั้ง 5 คนนี้อยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีวาระกำกับ อนึ่ง เคยมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นเอกเทศในปี 1993 เพื่อจัดการข้อพิพาทบางประการในทางรัฐธรรมนูญ รวมถึงจัดระเบียบพรรคการเมือง และเร่งรัดกระบวนการประชาธิปไตย[55]

สาธารณรัฐจีนไม่ใช้ลูกขุน แต่สิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอันเป็นธรรมนั้นได้รับความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ คดีบางประเภทให้ตุลาการมากคนพิจารณาก็มี[55]

โทษประหารยังคงใช้อยู่ในสาธารณรัฐจีน แต่ฝ่ายปกครองพยายามลดการประหารลงให้ได้ กระนั้น ในปี 2006 มีการสำรวจและพบว่า ชาวสาธารณรัฐจีนกว่าร้อยละ 80 ประสงค์ให้รักษาโทษประหารไว้[59]

อื่น ๆ

แก้

สำหรับสภาที่เหลือ คือ สภาควบคุม และสภาสอบคัดเลือกนั้น สภาควบคุมมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบสภาอื่น ๆ บางทีทำหน้าที่เป็นองค์คณะไต่สวนคดีปกครองด้วย อาจเทียบได้กับศาลตรวจสอบ (Court of Auditors) ของสหภาพยุโรป หรือสำนักงานเพื่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล (Government Accountability Office) ในสหรัฐ[55]

ส่วนสภาสอบคัดเลือกรับผิดชอบการตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการ วิธีสอบคัดเลือกยังคงเน้นตามการสอบขุนนางของจีนโบราณ สภานี้อาจเทียบได้กับสำนักงานสรรหาบุคลาการยุโรป (European Personnel Selection Office) ของสหภาพยุโรป หรือสำนักงานบริหารจัดการบุคลากร (Office of Personnel Management) ของสหรัฐ[55]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนปี ค.ศ. 1947 อาณาเขตของสาธารณรัฐจีนเป็นไปตาม "ขอบเขตของประเทศที่มีอยู่[60]

เมื่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีนล่าถอยไปไต้หวันในปี ค.ศ. 1949 สาธารณรัฐจีนมีดินแดนที่อ้างสิทธิ์ซึ่งประกอบด้วย 35 มณฑล, 12 นครปกครองโดยตรง, 1 เขตปกครองพิเศษ และ 2 เขตปกครองตนเอง อย่างไรก็ตามตั้งแต่การล่าถอย สาธารณรัฐจีนได้ควบคุมเพียงมณฑลไต้หวัน และเกาะบางแห่งของมณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐจีนยังปกครองหมู่เกาะปราตัสและเกาะไท่ผิงในหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ เป็นผลให้สาธารณรัฐเข้ามามีส่วนในการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวในทะเลจีนใต้ บรรดาเกาะดังกล่าวรัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้จัดให้อยู่ภายใต้การบริหารของนครเกาสฺยง หลังจากการล่าถอยไปไต้หวัน[61]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลได้ทำการเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตการปกครองในพื้นที่ภายใต้การบริหารควบคุมของรัฐบาล ได้แก่ กำหนดให้ไทเปกลายเป็นนครปกครองโดยตรงในปี ค.ศ. 1967 เช่นเดียวกับเกาสฺยง ในปี ค.ศ. 1979 และปรับปรุงการบริหารของระดับมณฑลทั้งสองมณฑลให้มีความคล่องตัวขึ้น โดยถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ของมณฑลไปยังรัฐบาลกลาง (มณฑลฝูเจี้ยนในปี ค.ศ. 1956 และมณฑลไต้หวันในปี ค.ศ. 1998)[62] ในปี ค.ศ. 2010 ซินเป่ย์ ไถจง และไถหนานได้รับการยกระดับเป็นนครปกครองโดยตรง และในปี ค.ศ. 2014 เทศมณฑลเถายฺเหวียน ก็ได้รับการยกระดับเป็นนครปกครองโดยตรงด้วย การยกฐานะดังกล่าวทำให้เขตการปกครองต่าง ๆ มีสถานะปัจจุบันเป็นเขตการปกครองระดับบนสุด[63]

ระดับ 1 2 3 4 5
ประเภท นครปกครองโดยตรง
(直轄市 zhíxiáshì) (6)
เขตชนพื้นเมืองภูเขา
(原住民區 yuánzhùmín qū) (6)
หมู่บ้านในเมือง
( )
ละแวก
( lín)
เขต
( ) (164)
มณฑล
( shěng) (2)
นคร
( shì) (3)
เทศมณฑล
( xiàn) (13)
นครภายใต้เทศมณฑล
(縣轄市 xiànxiáshì) (14)
เมือง
( zhèn) (38)
ตำบล
( xiāng) (122)
หมู่บ้านชนบท
( cūn)
ตำบลชนพื้นเมืองภูเขา
(山地鄉 shāndì xiāng) (24)
ทั้งหมด 22 368 7,851 147,785

ตามมาตรา 4 ของบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนครปกครองโดยตรงยังมีผลบังคับใช้กับเทศมณฑลที่มีประชากรเกิน 2 ล้านคนด้วย แม้ว่าในปัจจุบัน บทบัญญัตินี้ไม่ได้ใช้กับเทศมณฑลใด ๆ ของไต้หวัน แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยใช้กับเทศมณฑลไทเป (ปัจจุบันคือ นครซินเป่ย์) และเทศมณฑลเถายฺเหวียน (ปัจจุบันคือ นครเถายฺเหวียน)

การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน

แก้
 
การอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของสาธารณรัฐจีน อ้างสิทธิ์จากสมัยที่สาธารณรัฐจีนปกครองแผ่นดินใหญ่
  (พื้นที่สีเขียวเข้ม) พื้นที่ที่ควบคุมอยู่ในปัจจุบันหรือ(พื้นที่ไต้หวัน
  (พื้นที่สีเขียวอ่อน) พื้นที่ของสาธารณรัฐจีนเคยปกครองเมื่อครั้งอยู่ที่แผ่นดินใหญ่ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่สาธารณรัฐจีนอ้างสิทธิ์อธิปไตยเหนือดินแดน
 
ดินแดนที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) อ้างสิทธิ์

แม้ว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนจะยึดถือ ขอบเขตของประเทศที่เป็นไปอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ได้แบ่งเป็น 2 อาณาเขตบริเวณด้วยกันคือ

  • บริเวณแผ่นดินใหญ่ (จีนแผ่นดินใหญ่): เป็นอาณาเขตดินแดนเขตนอกเขตเสรี (พื้นที่ไต้หวัน) ที่สาธารณรัฐจีนอ้างสิทธิ์เรียกร้องอธิปไตยเหนือดินแดน โดยอ้างสิทธิ์ยึดตามเขตแดนที่สาธารณรัฐจีนปกครองแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ตั้งบนจีนแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ดังกล่าวควบคุมโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า, สาธารณรัฐจีนยังมีการเรียกร้องสิทธิ์เหนือดินแดนของภูมิภาคอื่น ๆ ดังไปต่อไปนี้โดยถือเป็นดินแดนที่ถูกต้องตามหลักนิตินัยตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน

นโยบายต่างประเทศ

แก้

ปัจจุบันสาธารณรัฐจีนยังคงมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 12 ประเทศ (เบลีซ, เอสวาตีนี, กัวเตมาลา, เฮติ, นครรัฐวาติกัน, หมู่เกาะมาร์แชลล์, ปาเลา, ปารากวัย, เซนต์คิตส์และเนวิส, เซนต์ลูเชีย, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์, และตูวาลู)[64] ไต้หวันมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เนื่องจากกรอบนโยบายจีนเดียว ไต้หวันจึงให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ในกรอบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกับประเทศต่าง ๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่)

สำหรับนโยบายต่างประเทศของไต้หวันต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไต้หวันได้ดำเนิน “นโยบายมุ่งสู่ใต้” (Go South Policy) เป็นนโยบายส่งเสริมให้ชาวไต้หวันมีการลงทุนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไต้หวันต้องพึ่งพาจีนและใช้เศรษฐกิจเป็นช่องทางกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ กรอบเวทีระหว่างประเทศที่ไต้หวันเป็นสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperartion - APEC) ซึ่งเป็นสมาชิกในฐานะเขตเศรษฐกิจ (economy) และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) โดยเป็นการเข้าร่วมในฐานะที่เป็นเขตศุลกากรพิเศษ (custom territory) การเข้าร่วมในเวทีทั้งสองของไต้หวันจึงเป็นการเข้าร่วมในสถานะที่ไม่ใช่รัฐ

สถานภาพทางการเมืองและกฎหมาย

แก้

สถานภาพทางการเมืองและกฎหมายของไต้หวันเป็นประเด็นพิพาท สาธารณรัฐประชาชนจีนอ้างว่ารัฐบาลสาธารณรัฐจีนไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกว่าเป็น "ทางการไต้หวัน"[65][66] สาธารณรัฐจีนมีเงินตรา หนังสือเดินทางที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ดวงตราไปรษณียากร โดเมนระดับบนสุดอินเทอร์เน็ต กองทัพและรัฐธรรมนูญ และยังมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นของตนเอง รัฐบาลไต้หวันไม่เคยยกเลิกการอ้างสิทธิ์เหนือแผ่นดินใหญ่อย่างเป็นทางการ แต่สื่อของรัฐลดทอนการอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[67]

ในระดับระหว่างประเทศ มีกรณีพิพาทว่าสาธารณรัฐจีนเป็นรัฐหรือรัฐสิ้นสภาพตามกฎหมายระหว่างประเทศเนื่องจากขากการรับรองทางทูตอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ แต่ประเทศไต้หวันไม่ใช่สมาชิกอย่างเป็นทางการหรือมีสถานภาพผู้สังเกตการณ์

กล่าวในภาพกว้าง ความเห็นสาธารณะในประเทศนิยมสถานะเดิม แต่เริ่มมีความเห็นนิยมประกาศเอกราชเพิ่มขึ้นนับแต่ประเทศกลายเป็นประชาธิปไตย ผลสำรวจในปี 2020 พบว่า ผู้ตอบร้อยละ 52.3 เห็นควรให้ชะลอการตัดสินใจออกไปก่อน หรือคงสถานะเดิมอย่างไม่มีกำหนด ร้อยละ 35.1 นิยมการประกาศเอกราช และร้อยละ 5.8 นิยมการรวมชาติ[68]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้
 
ประเทศที่มีการรับรองสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ
  มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
  มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ

หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งถอยหนีมาอยู่บนเกาะไต้หวัน ประเทศส่วนใหญ่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเอาไว้ แต่การรับรองสถานะก็ลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเมื่อในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มีหลายประเทศได้เปลี่ยนไปรับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน ในปัจจุบัน สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันยังคงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก 12 รัฐ จาก 193 รัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งนอกจากทำเนียบสันตะปาปาแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในแถบอเมริกากลางและแอฟริกา ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายที่จะไม่สานสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศที่รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีน และทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยจะต้องมีแถลงการณ์รับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือไต้หวัน

ในทางปฏิบัติแล้ว ถึงแม้ว่าประเทศส่วนใหญ่จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน และแถลงการณ์ที่ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องการนั้นก็ได้เขียนขึ้นโดยใช้คำกำกวมอย่างยิ่ง ประเทศสำคัญ ๆ บางประเทศที่ไม่ได้รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีนก็จะมี "สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป" หรือ "สำนักงานตัวแทนไทเป" ซึ่งปฏิบัติงานต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกับสถานทูต เช่น การออกวีซ่า เป็นต้น และในทำนองเดียวกัน หลายประเทศก็ได้จัดตั้งสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจขึ้นในสาธารณรัฐจีนเช่น สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน ซึ่งโดยพฤตินัยแล้วก็คือสถานทูตของประเทศต่าง ๆ นั่นเอง

สาธารณรัฐจีนเคยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในฐานะสมาชิกก่อตั้ง โดยได้อยู่ในตำแหน่งของประเทศจีนในคณะมนตรีความมั่นคงจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ที่ถูกขับออกโดย "มติสมัชชาสหประชาชาติที่ 2758 (General Assembly Resolution 2758)" และตำแหน่งทั้งหมดในองค์การสหประชาชาติก็ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางสาธารณรัฐจีนได้แสดงความพยายามหลายครั้งเพื่อกลับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ (ดูที่ จีนและองค์การสหประชาชาติ)

นอกจากความขัดแย้งกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือดินแดนบนแผ่นดินใหญ่แล้ว สาธารณรัฐจีนยังมีความขัดแย้งกับมองโกเลียอีกด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่สาธารณรัฐจีนได้อ้างสิทธิเหนือพื้นที่มองโกเลีย แต่ก็ถูกกดดันจากสหภาพโซเวียตจนกระทั่งยอมรับรองอิสรภาพของมองโกเลียในที่สุด หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้กลับคำรับรองนั้น และกล่าวอ้างสิทธิเหนือมองโกเลียอีกครั้งจนกระทั่งถึงเมื่อไม่นานนี้ นับจากช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์กับมองโกเลียได้กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้ง ความเคลื่อนไหวใด ๆ ในการยกเลิกอำนาจอธิปไตยเหนือมองโกเลียจะเกิดการโต้แย้งทันที เนื่องจากทางสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อ้างว่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศอิสรภาพไต้หวัน

กองทัพ

แก้
 
เครื่องยิงจรวดThunderbolt-2000 แห่งกองทัพบกสาธารณรัฐจีน
 
เครื่องบินรบ AIDC F-CK-1 Ching-kuo แห่งกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน
 
สารวัตรทหารแห่งสาธารณรัฐจีนขณะคุ้มกันสนามบิน

กองทัพสาธารณรัฐจีนมีรากฐานมาจากกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ซึ่งก่อตั้งโดยดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี ค.ศ. 1925 ในมณฑลกวางตุ้งโดยมีเป้าหมายในการรวมประเทศจีนภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง จนกระทั่งเมื่อกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนชนะสงครามกลางเมืองจีน กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจำนวนมากได้ถอยกลับมายังไต้หวันพร้อมกับรัฐบาลคณะชาติ ซึ่งต่อมาถูกปรับปรุงเป็นกองทัพสาธารณรัฐจีน หน่วยที่ยอมจำนนและยังคงอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ถูกยุบหรือรวมเข้ากับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน

ในปัจจุบันไต้หวันได้ดำรงรักษากองทัพขนาดใหญ่และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เป็นการป้องกันการคุกคามอย่างต่อเนื่องของการบุกรุกโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนได้บังคับใช้ "กฎหมายต่อต้านการแบ่งแยกดินแดน" (Anti-Secession Law) กฎหมายฉบับนี้ซึ่งผ่านรัฐสภาของจีนในปี 2005 ได้ปฏิเสธความเป็นรัฐเอกราชของไต้หวัน ให้ถือนโยบายจีนเดียว และได้กำหนดวิธีการต่าง ๆ ในการรวมชาติของสองแผ่นดินจีนให้เกิดขึ้นได้จริง กฎหมายฉบับนี้ยังได้ระบุถึง "การดำเนินการที่ไม่ใช่สันติวิธี" (ซึ่งก็คือการทำสงคราม) เอาไว้ด้วย หากจีนเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่การรวมชาติโดยไม่เสียเลือดเนื้อประสบความล้มเหลว

จากปี ค.ศ.1949 ถึงปี ค.ศ. 1970 ภารกิจหลักของกองทัพสาธารณรัฐจีนคือ "ทวงคืนเอาจีนแผ่นดินใหญ่กลับคืนมา" ผ่านภารกิจเกียรติยศแห่งชาติ เนื่องจากภารกิจนี้ถูกเลื่อนและยกเลิกไปชั่วคราว เนื่องจากความแข็งแกร่งทางการทหารของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก กองทัพสาธารณรัฐจีนเปลี่ยนนโยบายไปเป็นเน้นการป้องกันแทน นโยบายดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนการเน้นจากกองทัพที่โดดเด่นตามแบบดั้งเดิมมาเป็นกองทัพอากาศและกองทัพเรือ

รัฐบาลสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประชาธิปไตยในการทหารจึงได้เน้นการริเริ่มจัดให้มีการควบคุมโดยพลเรือนทำให้การควบคุมกองทัพสาธารณรัฐจีนก็เปลี่ยนผ่านเข้ามาอยู่ในการบริหารของรัฐบาลพลเรือน[69][70] ในขณะที่ทหารสาธารณรัฐจีนมีส่วนร่วมทางประวัติศาสตร์กับพรรคก๊กมินตั๋ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงรุ่นเก่าจึงมีความเห็นอกเห็นใจแนวคิดสนับสนุนพรรค อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมากที่เกษียณอายุราชการและมีผู้ที่ไม่ใช่ชาวแผ่นดินใหญ่เข้าร่วมในกองทัพในรุ่นต่อมาดังนั้นความเอนเอียงทางการเมืองของกองทัพจึงเข้ามาใกล้กับบรรทัดฐานของประชาชนในไต้หวัน[71] กองทัพสาธารณรัฐจีนได้เริ่มโครงการลดจำนวนกำลังพล หรือ "จิงฉืออัน" (Jingshi An) (เป็นโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ) เพื่อลดระดับกองทัพจากจำนวน 450,000 นาย ในปี ค.ศ. 1997 เป็น 380,000 นาย ในปี ค.ศ. 2001[72] การเกณฑ์ทหารในไต้หวันยังคงมีผลบังคับใช้สำหรับผู้ชายที่มีคุณสมบัติเริ่มตั้งแต่อายุสิบแปด แต่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดจำนวนมากเพื่อที่จะให้ได้รับโอกาสในการปฏิบัติราชการรับใช้ชาติตามข้อกำหนดร่างผ่านการรับใช้ราชการชาติทางเลือกและถูกส่งไปยังหน่วยงานราชการหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ[73]

เศรษฐกิจ

แก้

ศักยภาพทางเศรษฐกิจ

แก้
 
ตึกไทเป 101 ในกรุงไทเปเมืองหลวงและศูนย์กลางทางการเงินของไต้หวัน
 
เขตการค้าธุรกิจย่านซินยี่ กรุงไทเป ยามค่ำคืน
 
เขตธุรกิจในเมืองซินเป่ย์

สาธารณรัฐจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่14ของโลก หน่วยเงินตราที่ใช้ คือ ดอลลาร์ไต้หวัน

ทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่มีจำนวนน้อย แต่เป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นสูงอุตสาหกรรมนั้นเป็นเน้นไปที่การผลิต มีการนำเข้าน้ำมันดิบและแร่เหล็ก เพื่อนำไปผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ ส่งออกไปจำหน่าย ถือเป็นการค้าโดยการผลิต ในปัจจุบันมีการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมที่รวดเร็วและการเติบโตอย่างรวดเร็วของไต้หวันในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ได้รับการขนานนามว่า "ความมหัศจรรย์แห่งไต้หวัน" ไต้หวันถือเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการจัดอันดับขนานนามว่าเป็น "สี่เสือแห่งเอเชีย" เคียงคู่ไปกับฮ่องกง,เกาหลีใต้และสิงคโปร์

ภายใต้การปกครองไต้หวันแบบอาณานิคมของญี่ปุ่นก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองนำการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐและเอกชน, สิ่งที่เป็นที่รับรู้และมีชื่อเสียงที่สุดคือ พื้นที่ของงานสาธารณะซึ่งเปิดใช้งานการสื่อสารที่รวดเร็วและอำนวยความสะดวกการขนส่งทั่วเกาะไต้หวัน ญี่ปุ่นยังปรับปรุงการศึกษาของรัฐและทำให้เกิดการศึกษาบังคับสำหรับชาวไต้หวันทุกคน ในปี ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นได้แพ้สงครามโลกครั้งที่สองและได้คืนเกาะไต้หวันให้กับสาธารณรัฐจีน ได้เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันอันเป็นผลมาจากสงครามกับญี่ปุ่น เพื่อแยกไต้หวันออกจากปัญหาเศรษฐกิจในแผ่นดินใหญ่นั้น รัฐบาลจีนคณะชาติของสาธารณรัฐจีนได้สร้างพื้นที่ให้กับสกุลเงินใหม่สำหรับเกาะไต้หวันและเริ่มใช้กลยุทธ์รักษาเสถียรภาพราคา ความพยายามเหล่านี้ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างมาก

เมื่อรัฐบาลจีนคณะชาติของพรรคก๊กมินตั๋งได้หนีไปไต้หวัน ได้มีการโอนและขนย้ายทองคำแท่งมานับล้านตำลึง (ขณะนั้นมูลค่าอยู่ที่ 1 ตำลึง = 37.5 กรัม หรือ ~1.2 ทรอยออนซ์) ของทองคำ และเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งตามรายงานพรรคก๊กมินตั๋งระบุว่าราคามีเสถียรภาพและช่วยลดปัญหาภาวะเงินเฟ้อได้[74] บางทีที่สำคัญกว่านั้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการหลบหนีไปยังไต้หวัน พรรคก๊กมินตั๋งได้นำปัญญาชนและนักธุรกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่มายังเกาะไต้หวันด้วย จึงอาจสันนิษฐานได้ว่ามีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไต้หวันเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว[75] รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้จัดตั้งกฎหมายอำนวยเศรษฐกิจมากมายและเริ่มการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งไม่สามารถใช้อย่างมีประสิทธิภาพในจีนแผ่นดินใหญ่มาก่อนเลย รัฐบาลยังดำเนินนโยบายการทดแทนการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม โดยพยายามส่งเสริมการผลิตสินค้าบริโภคภายในประเทศ

ในปี ค.ศ. 1950 ด้วยการปะทุของสงครามเกาหลี เพื่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้สหรัฐเริ่มโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะไต้หวันซึ่งส่งผลให้ราคามีเสถียรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1952[76] การพัฒนาเศรษฐกิจได้รับการสนับสนุนจากความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของอเมริกาและการริเริ่ม เช่น คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อการฟื้นฟูชนบท ซึ่งทำให้ภาคเกษตรกรรมกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตในภายหลัง ภายใต้มาตรการกระตุ้นการรวมตัวของการปฏิรูปที่ดินและแผนพัฒนาการเกษตรการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 4 จากปี 1952 ถึง 1959 ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของประชากร 3.6%[77]

ในปี ค.ศ. 1962 ไต้หวันมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ระดับต่ำ) ต่อหัว (GNP) อยู่ที่ 170 ดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจของไต้หวันถือว่าเป็นที่เท่าเทียมเมื่อเทียบกับของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก บนความเท่าเทียมกันของกำลังซื้อ (PPP) พื้นฐาน GDP ต่อหัวของประชากรในช่วงต้นทศวรรษ 1960 อยู่ที่ 1,353 ดอลลาร์ (ในราคา 1990) ภายในปี ค.ศ. 2011 GNP ต่อหัวซึ่งปรับสำหรับกำลังซื้อภาค (PPP) เพิ่มขึ้นเป็น 37,000 เหรียญสหรัฐ มีส่วนทำให้ของไต้หวันยกระดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) เทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ HDI ของไต้หวันในปี ค.ศ. 2012 อยู่ที่ 0.890 (อันดับที่ 23 ถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก) ตามวิธีการคำนวณใหม่ "การปรับความไม่เท่าเทียมกันของ HDI" ของสหประชาชาติ

ในปี ค.ศ. 1974 ประธานาธิบดีเจียง จิ่งกั๊วะ ได้ริเริ่มดำเนินการสิบโครงการก่อสร้างสำคัญเป็นการเริ่มต้นวางรากฐานที่ช่วยให้ไต้หวันพัฒนาเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจขับเคลื่อนการส่งออกในปัจจุบัน นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา บริษัท เทคโนโลยีในไต้หวันจำนวนหนึ่งได้ขยายการเข้าถึงไปทั่วโลก บริษัทเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่นิยมและรู้จักกัน ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในไต้หวัน ได้แก่ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Acer Inc. และ Asus, ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ HTC รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ Foxconn ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์สำหรับ Apple, Amazon และ Microsoft งาน Computex Taipei เป็นงานแสดงสินค้าคอมพิวเตอร์ที่สำคัญซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981

การพัฒนาอุตสาหกรรม

แก้

ประเทศไต้หวันเติบโตขึ้นในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำจากบริษัทผลิตสารกึ่งตัวนำไต้หวัน จำกัด (TSMC) และบรรษัทยูไนเต็ดไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (UMC)[78] ในเดือนมิถุนายน 2565 TSMC มีมูลค่าตลาดคิดเป็นประมาณ 90% ของจีดีพีไต้หวัน[79]

การท่องเที่ยว

แก้

ปัจจุบันที่ไต้หวันเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนไทย ที่ได้ยกเว้นการขอวีซ่าวีซ่าไต้หวัน และด้วยประเทศไต้หวันเองมีสถานที่เที่ยวมากมาย ทั้งที่เที่ยวในเมืองไทเป หรือจะที่เที่ยวแบบธรรมชาติอย่างเกาสฺยง อีกทั้งค่าครองชีพไม่สูงมากนัก ทำให้นักเดินทางที่ชอบไปเที่ยวด้วยตัวเอง ต่างก็ยกให้ ไต้หวันเป็นประแทศที่เที่ยวด้วยเองได้ง่าย ๆ ให้ประเทศไต้หวันเป็นอันดับแรก ๆ ที่เที่ยวไต้หวัน มีเยอะ ทั้งแลนด์มาร์คดัง ๆ อย่างตึกไทเป 101 (Taipei 101), หมู่บ้านโบราณจิ่วเฟิ่น (Jioufen), ตลาดปลาไทเป (Taipei Fish Market) อีกทั้งยังเป็นดินแดนแห่งสตรีทฟู้ดที่อร่อยอีกด้วย เนื่องจากมีตลาดกลางคืนมากมาย เช่น ตลาดซีเหมินติง (Ximending), ตลาดซื่อหลิน (Shilin Night Market) เป็นต้น

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การคมนาคม และ โทรคมนาคม

แก้

คมนาคม

แก้
 
เครื่องบินของสายการบิน ไชนาแอร์ไลน์ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน

กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐจีนเป็นหน่วยงานระดับคณะรัฐมนตรีของเครือข่ายการขนส่งในไต้หวัน ชาวไต้หวันนิยมใช้ สกู๊ตเตอร์ (จักรยานยนต์) ในการเดินทาง ในเดือนมีนาคม 2019 มีการจดทะเบียนถึง 13.86 ล้านคัน คิดเป็นสองเท่าของการจดทะเบียนรถยนต์ ทั้งทางหลวงและทางรถไฟกระจุกตัวอยู่ใกล้ชายฝั่ง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ โดยมีทางหลวงพิเศษ 1,619 กม. (1,006 ไมล์) รถไฟในไต้หวันใช้สำหรับบริการผู้โดยสารเป็นหลัก โดย Taiwan Railway Administration (TRA) ดำเนินการเส้นทางวงกลม และ Taiwan High Speed ​​Rail (THSR) ที่ให้บริการความเร็วสูงบนชายฝั่งตะวันตก ระบบขนส่งมวลชนในเมือง ได้แก่ รถไฟใต้ดินไทเป รถไฟฟ้าใต้ดินเกาสฺยง รถไฟใต้ดินเถา-ยฺเหวียน และรถไฟใต้ดินไทเปใหม่ สนามบินหลัก ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน เกาสฺยง ไทเป ซงซาน และไถจง ปัจจุบันมีสายการบิน 7 สายในไต้หวัน โดยใหญ่ที่สุดคือ ไชนาแอร์ไลน์ และ EVA Air มีท่าเรือระหว่างประเทศสี่แห่งได้แก่: จีหลง เกาสฺยง ไถจง และฮัวเหลียน

การศึกษา

แก้
 
มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุดของไต้หวัน ตั้งอยู่ในกรุงไทเป

ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไต้หวันก่อตั้งขึ้นโดยญี่ปุ่นในช่วงยุคอาณานิคม อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สาธารณรัฐจีนเข้ายึดครองในปี 1945 ระบบก็ถูกแทนที่โดยทันทีด้วยระบบเดียวกับในจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งผสมผสานคุณลักษณะของระบบการศึกษาของจีนและอเมริกันเข้าด้วยกัน[80] ไต้หวันขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติตามกระบวนทัศน์ของขงจื๊อในการประเมินคุณค่าการศึกษาเพื่อพัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การลงทุนอย่างหนักและการประเมินคุณค่าทางวัฒนธรรมของการศึกษาได้ผลักดันให้จากการเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับการศึกษาระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการอ่านออกเขียนได้ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในปี 2015 นักศึกษาชาวไต้หวันได้รับผลการเรียนที่ดีที่สุดในโลกด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยผ่านการทดสอบโดยโครงการประเมินนักศึกษานานาชาติ (Program for International Student Assessment - PISA) โดยมีคะแนนเฉลี่ยนักเรียนอยู่ที่ 519 คะแนน เทียบกับค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 493 คะแนน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 7 ในโลก

ระบบการศึกษาของไต้หวันได้รับการยกย่องจากหลายสาเหตุ รวมถึงการทดสอบที่เข้มข้น และบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน ในขณะเดียวกันก็สร้างแรงงานที่มีการศึกษาสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไต้หวันยังได้รับการยกย่องในเรื่องอัตราการเข้ามหาวิทยาลัยในระดับสูง โดยอัตราการตอบรับของมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นจากประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ก่อนปี 1980 เป็น 49% ในปี 1996 และมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย[81][82][83] อัตราการเข้ามหาวิทยาลัยในระดับสูงของประเทศได้สร้างแรงงานที่มีทักษะสูง ทำให้ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการศึกษาสูงที่สุดในโลก โดยร้อยละ 68.5 ของนักเรียนมัธยมปลายชาวไต้หวันเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย[84] ไต้หวันมีประชากรจำนวนมากที่มีวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูง โดยที่ 45 เปอร์เซ็นต์ของชาวไต้หวันอายุ 25-64 ปีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 33 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มประเทศสมาชิก OECD

สาธารณสุข

แก้
 
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

ระบบการรักษาพยาบาลในไต้หวันในปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าการประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHI, Chinese: 全民健康保險) ก่อตั้งขึ้นในปี 1995 NHI เป็นแผนประกันสังคมภาคบังคับรายบุคคลที่รวมศูนย์การเบิกจ่ายกองทุนการรักษาพยาบาล ระบบการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองทุกคน และความครอบคลุมของประชากรถึง 99 เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปี 2004 NHI ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเป็นส่วนใหญ่ผ่านเบี้ยประกัน ซึ่งอิงจากภาษีเงินเดือน และเสริมด้วยการชำระเงินร่วมแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเงินทุนจากรัฐบาลโดยตรง บริการสุขภาพเชิงป้องกัน ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ทหารผ่านศึก เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้ประสบโรคร้ายแรง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระเงินร่วม ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยจะได้รับความคุ้มครอง 100 เปอร์เซ็นต์จาก NHI และจะลดลงอีกสำหรับผู้ทุพพลภาพหรือผู้สูงอายุบางคน

ในช่วงต้นของโปรแกรม ระบบการชำระเงินส่วนใหญ่เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับบริการ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพส่วนใหญ่ดำเนินการในภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจำนวนมากใช้ประโยชน์จากระบบนี้โดยเสนอบริการที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากรัฐบาล เมื่อเผชิญกับความสูญเสียที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นในการควบคุมต้นทุน NHI ได้เปลี่ยนระบบการชำระเงินจากค่าธรรมเนียมสำหรับบริการเป็นงบประมาณทั่วโลก ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินในอนาคตในปี 2002

การดำเนินการด้านสุขภาพถ้วนหน้าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพน้อยลงสำหรับพลเมืองที่มีรายได้น้อยในไต้หวัน จากการสำรวจที่เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้ป่วย 3,360 รายที่ทำแบบสำรวจในโรงพยาบาลที่สุ่มเลือก ผู้ป่วยร้อยละ 75.1 กล่าวว่าพวกเขา "พอใจมาก" กับบริการของโรงพยาบาล ร้อยละ 20.5 กล่าวว่าพวกเขา "พอใจ" กับบริการ ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่กล่าวว่า "ไม่พอใจ" หรือ "ไม่พอใจอย่างยิ่ง" กับบริการหรือการดูแลจากสถานพยาบาล

หน่วยงานควบคุมโรคของไต้หวันคือศูนย์ควบคุมโรคแห่งไต้หวัน (CDC) และระหว่างการระบาดของโรคซาร์สในเดือนมีนาคม 2003 มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน 347 ราย ระหว่างการระบาดของโรค CDC และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดตั้งสถานีเฝ้าระวังตลอดการขนส่งมวลชน สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ด้วยการกักกันอย่างเต็มรูปแบบ จึงไม่มีกรณีของโรคซาร์สตั้งแต่นั้นมา[85] ด้วยบทเรียนจากโรคซาร์ส ศูนย์บัญชาการสุขภาพแห่งชาติจึงก่อตั้งขึ้นในปี 2004 ซึ่งรวมถึงศูนย์บัญชาการแพร่ระบาดกลาง (CECC) นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา CECC มีบทบาทสำคัญในแนวทางการระบาดของไต้หวัน ซึ่งรวมถึงการระบาดทั่วของโควิด-19

ในปี 2019 อัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ที่ 4.2 คนต่อการเกิด 1,000 คน โดยมีแพทย์ 20 คนและเตียงในโรงพยาบาล 71 เตียงต่อผู้ป่วย 10,000 คน[86] อายุขัยเฉลี่ยในปี 2020 คือ 77.5 ปี และ 83.9 ปี สำหรับเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ

ประชากร

แก้

เชื้อชาติ

แก้
 
ประชากรส่วนใหญ่ของไต้หวันเป็นชาวฮั่น

รัฐบาลรายงานว่ากว่าร้อยละ 95 ของประชากรเป็นชาวฮั่น ซึ่งส่วนใหญ่รวมถึงลูกหลานของผู้อพยพชาวจีนฮั่นตอนต้นที่เดินทางมาถึงไต้หวันเป็นจำนวนมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 อีกนัยหนึ่ง กลุ่มชาติพันธุ์ของไต้หวันอาจถูกแบ่งออกอย่างคร่าว ๆ ระหว่างชาวฮกเกี้ยน (70 เปอร์เซ็นต์) แคะ (14 เปอร์เซ็นต์) Waishengren (14 เปอร์เซ็นต์) และชนพื้นเมือง (2 เปอร์เซ็นต์) ชาวฮกเกี้ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด (ร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด) ซึ่งบรรพบุรุษของฮั่นอพยพมาจากบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของฝูเจี้ยน ข้ามช่องแคบไต้หวันตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ชาวแคะประกอบด้วยประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด และสืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่นจากมณฑลกวางตุ้งทางตะวันออก[87] ผู้คนที่มาจากฮั่นเพิ่มมากขึ้นรวมถึงลูกหลานของผู้รักชาติ 2 ล้านคนที่หนีไปไต้หวันหลังจากชัยชนะของคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินใหญ่ในปี 2492

ศาสนา

แก้

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิในการปฏิบัติตามความเชื่อของประชาชน[88] ตามสถิติในปี ค.ศ. 2005 ประเทศไต้หวันมีพุทธศาสนิกชน 8,086,000 คน (35.1%) ศาสนิกชนเต๋า 7,600,000 คน (33.0%) คริสต์ศาสนิกชน 903,000 คน (3.9%) โดยเป็นโปรเตสแตนต์ 605,000 คน (2.6%) และโรมันคาทอลิก 298,000 คน (1.3%) และศาสนิกชนลัทธิอนุตตรธรรม 810,000 คน (3.5%) เป็นต้น[89][90]

ภาษา

แก้

แมนดารินเป็นภาษาหลักที่ใช้ในธุรกิจและการศึกษา และพูดโดยประชากรส่วนใหญ่[91] ใช้ภาษาจีนตัวเต็มเป็นระบบการเขียน[92] สาธารณรัฐจีนไม่มีภาษาราชการที่กำหนดโดยกฎหมาย แต่ภาษาจีนกลางมีบทบาทเป็นภาษาราชการโดยพฤตินัย ตั้งแต่ขบวนการสี่พฤษภาคม ภาษาจีนพื้นถิ่นที่เขียนได้เข้ามาแทนที่ภาษาจีนคลาสสิกและกลายเป็นภาษาจีนที่ใช้เขียนกระแสหลักในสาธารณรัฐจีน แต่ภาษาจีนคลาสสิกยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เอกสารของรัฐบาลส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐจีนเขียนเป็นภาษาจีนคลาสสิกจนถึงการปฏิรูปในปี 1970 ในขบวนการปฏิรูปที่นำโดยประธานาธิบดีเยน เจียกัง เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเขียนเป็นแบบภาษาจีนกลางและแบบจีนคลาสสิกที่ผสมผสานกันมากขึ้น (文白合一行)[93]

ทุกวันนี้ ภาษาจีนคลาสสิกล้วนถูกนำมาใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ รวมถึงพิธีกรรมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมในไต้หวันเป็นครั้งคราว ตัวอย่างเช่น เพลงชาติของสาธารณรัฐจีน (中華民國國歌) เป็นภาษาจีนคลาสสิก ตำราลัทธิเต๋ายังคงรักษาไว้เป็นภาษาจีนคลาสสิกตั้งแต่สมัยที่แต่งขึ้น ตำราหรือพระสูตรทางพุทธศาสนายังคงเก็บรักษาไว้ในภาษาจีนคลาสสิกตั้งแต่ตอนที่เรียบเรียงหรือแปลจากแหล่งภาษาสันสกฤต ในทางปฏิบัติ มีความต่อเนื่องที่เป็นที่ยอมรับของสังคมระหว่างภาษาจีนพื้นถิ่นและภาษาจีนคลาสสิก เอกสารราชการ กฎหมาย คำตัดสินของศาล และเอกสารทางตุลาการส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนกลางและจีนคลาสสิกผสมกัน (文白合一行文) ตัวอย่างเช่น ประกาศอย่างเป็นทางการและจดหมายที่เป็นทางการส่วนใหญ่เขียนด้วยสำนวนภาษาจีนคลาสสิกจำนวนมาก (เช่น คำทักทาย คำลงท้าย) ในทางกลับกัน จดหมายส่วนตัวส่วนใหญ่จะเขียนเป็นภาษาพื้นถิ่น แต่มีวลีคลาสสิกบางประโยค ขึ้นอยู่กับเนื้อหา ระดับการศึกษาของผู้เขียน เป็นต้น[94]

เมืองใหญ่

แก้

รายชื่อเมืองใหญ่ในสาธารณรัฐจีนเรียงตามประชากร

 
 
นครและนครปกครองโดยตรงที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
อันดับ ชื่อ เขตการปกครอง ประชากร
 
ซินเป่ย์
 
ไถตง
1 ซินเป่ย์ นครซินเป่ย์ 4,000,164  
เกาสฺยง
 
ไทเป
2 ไถตง นครไถตง 2,809,004
3 เกาสฺยง นครเกาสฺยง 2,773,229
4 ไทเป นครไทเป 2,661,317
5 เถายฺเหวียน นครเถายฺเหวียน 2,230,653
6 ไถหนาน นครไถหนาน 1,883,078
7 ซินจู๋ นครซินจู๋ 446,701
8 จีหลง นครจีหลง 369,820
9 เจียอี้ นครเจียอี้ 268,474
10 จางฮว่า เทศมณฑลจางฮว่า 232,505

กีฬา

แก้
 
การแข่งขันลีกเบสบอลอาชีพ (CPBL) ในไต้หวัน

เบสบอลเป็นกีฬาประจำชาติของไต้หวัน ทีมเบสบอลชายชาวไต้หวันและทีมเบสบอลหญิงเป็นอันดับ 2 ของโลกในการจัดอันดับ WBSC ณ เดือนมิถุนายน 2021 มีผู้เล่นเบสบอลเมเจอร์ลีกชาวไต้หวันจำนวน 16 รายในสหรัฐอเมริกา ณ ฤดูกาล MLB ปี 2020 ลีกเบสบอลอาชีพในไต้หวัน (CPBL) ก่อตั้งขึ้นในปี 1989[95] และในที่สุดก็เข้าสู่การแข่งขัน Taiwan Major League ในปี 2003 ในปี 2019 CPBL มีสี่ทีม โดยมีผู้เข้าชมเฉลี่ยมากกว่า 5,826 ต่อเกม[96]

นอกจากเบสบอลแล้ว บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยม[97] P. League+ ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 2020 เป็นลีกบาสเกตบอลอาชีพของไต้หวันและประกอบด้วยสี่ทีม ซูเปอร์บาสเก็ตลีกกึ่งมืออาชีพ (SBL) ก็มีให้เล่นตั้งแต่ปี 2003 เช่นกัน[98] ไต้หวันเข้าร่วมในองค์กรกีฬาระหว่างประเทศและกิจกรรมภายใต้ชื่อ "ไชนีสไทเป" เนื่องจากสถานะทางการเมือง ในปี 2009 ไต้หวันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติสองรายการบนเกาะ การแข่งขัน World Games 2009 จัดขึ้นที่เกาสฺยงระหว่างวันที่ 16 ถึง 26 กรกฎาคม กรุงไทเปเป็นเจ้าภาพจัดงาน Summer Deaflympics ครั้งที่ 21 ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน นอกจากนี้ ไทเปยังเป็นเจ้าภาพจัดงาน Summer Universiade ในปี 2017 ในอนาคตอันใกล้ ไทเปและนิวไทเปจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน World Masters Games ปี 2025 ซึ่งควบคุมโดย International Masters Games Association (IMGA)[99]

เทควันโดได้กลายเป็นกีฬาที่เติบโตและประสบความสำเร็จในไต้หวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 Chen Shih-hsin และ Chu Mu-yen ได้รับรางวัลสองเหรียญทองแรกในประเภทฟลายเวทหญิงและรุ่นฟลายเวทชายตามลำดับ ผู้เข้าแข่งขันเทควันโดรุ่นต่อมา เช่น Yang Shu-chun ได้เสริมสร้างวัฒนธรรมเทควันโดของไต้หวัน

ไต้หวันยังมีจุดเด่นในด้านกีฬาเทเบิลเทนนิสและแบดมินตัน โดยคว้าเหรียญรางวัลหลายรายการในกีฬาโอลิมปิก และการแข่งขันชิงแชมป์โลก

ฟุตบอล

แก้

ฟุตบอลทีมชาติจีนไทเป มีประวัติความสำเร็จในระดับเอเชียคือคว้าอันดับ 3 เอเชียนคัพ ปี 1960 และคว้าเหรียญทองในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เมื่อปี 1954 และ 1958 ปัจจุบันอยู่ในอันดับ 151 ของโลกตามการจัดอันดับฟีฟ่า สมาคมฟุตบอลจีนไทเป (CTFA) ก่อตั้งขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ในฐานะสมาคมฟุตบอลจีน (CFA) ในปี 2467 และย้ายไปไต้หวันในปี 2492 เมื่อสิ้นสุดสงครามกลางเมืองจีน และเข้าร่วมกับฟีฟ่าในปี พ.ศ. 2475 ในฐานะจีนแผ่นดินใหญ่ และเข้าร่วมฟีฟ่าอีกครั้งในปี พ.ศ. 2497 ครั้งแรกภายใต้ชื่อทีมไต้หวัน

วัฒนธรรม

แก้

วัฒนธรรมของไต้หวันเป็นการผสมผสานแบบผสมผสานจากแหล่งต่าง ๆ โดยผสมผสานองค์ประกอบของวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมส่วนใหญ่ วัฒนธรรมอะบอริจิน อิทธิพลทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ความเชื่อของลัทธิขงจื๊อดั้งเดิม และค่านิยมตะวันตกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ในช่วงกฎอัยการศึกที่สาธารณรัฐจีนเป็นฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเป็นทางการ พรรคก๊กมินตั๋งได้ส่งเสริมวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมที่เป็นทางการเหนือไต้หวันเพื่อเน้นว่าสาธารณรัฐจีนเป็นตัวแทนดั้งเดิมที่แท้จริงของวัฒนธรรมจีน ตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์จีน[100] รัฐบาลเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่าขบวนการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมจีนในไต้หวันเพื่อต่อต้านการทำลายล้างทางวัฒนธรรมที่เกิดจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม สมัชชาวัฒนธรรมจีน (中華文化總會) ก่อตั้งขึ้นในฐานะสภาส่งเสริมการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมจีนในไต้หวันและต่างประเทศ เป็นแผนโครงสร้างแผนแรกของก๊กมินตั๋งเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมในไต้หวัน เชียงเองเป็นหัวหน้าสมัชชาใหญ่แห่งวัฒนธรรมจีน ประธานาธิบดีคนต่อไปของสาธารณรัฐจีนก็กลายเป็นหัวหน้าสมัชชาใหญ่ครั้งนี้ด้วย ขบวนการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมจีนในไต้หวันประกอบกับการศึกษาวัฒนธรรมจีนในไต้หวันช่วยยกระดับความประณีตทางวัฒนธรรม กิริยาท่าทาง และความสุภาพเรียบร้อยของชาวไต้หวันจำนวนมาก ตรงกันข้ามกับการทำลายวัฒนธรรม (พฤติกรรมที่ไม่ได้รับวัฒนธรรม) ของจีนแผ่นดินใหญ่จำนวนมากเนื่องจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[101] สิ่งนี้ยังนำไปสู่วัฒนธรรมจีนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีในไต้หวันมากกว่าในจีนแผ่นดินใหญ่ ตัวอย่างของการอนุรักษ์นี้คือการใช้ภาษาจีนตัวเต็ม อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อสามารถพบได้ในพฤติกรรมของชาวไต้หวันซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องความเป็นมิตรและความสุภาพมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่[102]

การยกระดับกฎอัยการศึกทำให้เกิดยุคประชาธิปไตยโดยเสรีภาพในการพูดและการแสดงออก นำไปสู่วรรณคดีไต้หวันและสื่อมวลชนที่เฟื่องฟูในไต้หวัน การเมืองยังคงมีบทบาทในแนวความคิดและการพัฒนาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจีน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แนวความคิดเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมของไต้หวันได้รับการเสนอเป็นมุมมองทางเลือก ซึ่งอนุญาตให้รวมชาวแผ่นดินใหญ่และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เข้าในนิยามใหม่ของวัฒนธรรมไต้หวันอย่างต่อเนื่องในฐานะระบบที่รวบรวมความคิดและพฤติกรรมร่วมกันของชาวไต้หวัน การแยกตัวทางการเมืองจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเวลากว่าร้อยปี ได้นำไปสู่ประเพณีที่แตกต่างกันในหลายด้าน รวมทั้งอาหารและดนตรี

อาหาร

แก้
 
นาข้าวในเทศมณฑลฮวาเหลียน

ประวัติศาสตร์การทำอาหารของชาวไต้หวันนั้นมีความเชื่อมโยงกับรูปแบบการอพยพและการล่าอาณานิคม อาหารไต้หวันทั้งในและต่างประเทศประกอบด้วย หมู อาหารทะเล ไก่ ข้าว และถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมที่พบบ่อย

ข้าวแบบดั้งเดิมเป็นพื้นฐานของอาหารไต้หวันส่วนใหญ่ ก่อนยุคอาณานิคมของญี่ปุ่นข้าวส่วนใหญ่ที่ปลูกในไต้หวันเป็นข้าวพันธุ์อินดิกาที่มีเมล็ดยาว ญี่ปุ่นได้แนะนำข้าวจาโปนิก้าที่มีเมล็ดสั้นซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการกินของชาวไต้หวันอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมรดกตกทอดนี้ชาวไต้หวันมักชอบข้าวที่มีกลิ่นหอมเนื้อแน่นและหวานเล็กน้อย ในช่วงอาณานิคมของญี่ปุ่นอาหารไต้หวันถูกแบ่งออกเป็นร้านอาหารระดับไฮเอนด์ที่เรียกว่าโรงไวน์โดยให้บริการอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากจีนเช่น เป็ดปักกิ่ง หูฉลามพร้อมซุปรังนก และเต่าตุ๋น โดยมักเป็นอาหารของชนชั้นสูงในอาณานิคม ชนชั้นกลางจะนิยม ข้าว, โจ๊ก , ผักดองและใบมันเทศ น้ำมันปรุงอาหารถือเป็นของฟุ่มเฟือยและใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น[103]

อาหารของไต้หวันยังได้รับอิทธิพลจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ชาวไต้หวันอาศัยอยู่บนเกาะที่มีผู้คนพลุกพล่านจึงต้องหลีกเลี่ยงจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อหาแหล่งโปรตีน เป็นผลให้อาหารทะเลมีความโดดเด่น ปลาขนาดใหญ่เช่นปลาทูน่าและปลาเก๋าได้รับความนิยม รวมถึงปลาขนาดเล็กเช่นปลากะตัก[104]

เนื้อวัวนั้นพบได้น้อยกว่าโปรตีนชนิดอื่น ๆ และชาวไต้หวันบางคน (โดยเฉพาะคนรุ่นสูงอายุ) ยังคงละเว้นที่จะกิน[105] ชาวไต้หวันบางคนมีความเชื่อดั้งเดิมในการไม่ฆ่าและไม่ทานเนื้อวัว เพื่อแสดงขอบคุณในการทำงานหนักให้แก่มนุษย์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการหลั่งไหลเข้ามาของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1900 ซุปก๋วยเตี๋ยวเนื้อในไต้หวันจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ความช่วยเหลือด้านอาหารของชาวอเมริกันในช่วงหลายทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าวสาลี เนื้อวัว และเนื้อสัตว์แปรรูป ได้เปลี่ยนอาหารของชาวไต้หวันไปตลอดกาลด้วยบะหมี่ที่ทำจากข้าวสาลีขนมปังและเกี๊ยวซึ่งมีบทบาทสำคัญในอาหารมากขึ้น การบริโภคข้าวในไต้หวันสูงถึง 80-90 กิโลกรัมต่อคนต่อปีในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ก่อนที่จะลดลงเนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนการบริโภคไปยังอาหารที่ทำจากข้าวสาลี อย่างไรก็ตามชาวไต้หวันยังคงบริโภคข้าวในปริมาณมากโดยเฉพาะข้าวกล้องและข้าวพันธุ์แปลก ๆ เช่น ข้าวสีดำ สีม่วง และสีแดง

ในอาหารหลาย ๆ เมนูชาวไต้หวันได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกเครื่องเทศ ได้แก่ ซอสถั่วเหลือง ไวน์ข้าว น้ำมันงา หัวไชเท้าดองและผักกาด ถั่วลิสง พริก ผักชี (บางครั้งเรียกว่าผักชีฝรั่งจีน) และโหระพา (九層塔; káu-chàn-tha̍h;) อาหารจากจีนแผ่นดินใหญ่ เช่น ติ่มซำ ก็เป็นที่นิยมทั่วประเทศ[106][107]

เชิงอรรถ

แก้
  1. ไทเปเป็นที่ตั้งอย่างเป็นทางการของรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีนไม่ได้กล่าวถึงเมืองหลวงโดยนิตินัยก็ตาม[1]
  2. จีนกลาง (โดยพฤตินัย)[3]

    ภาษาจีนพื้นถิ่น (ใช้ในพิธีส่วนใหญ่)

    จีนคลาสสิก (ใช้ในพิธีทางการ พิธีทางศาสนาหรือวัฒนธรรม และเอกสารราชการ)[4]
  3. 3.0 3.1 3.2 ไม่กำหนดแต่ตรงตามบัญญัติกฎหมาย
  4. ภาษาประจำชาติถูกบัญญัติเป็น "ภาษาแม่ที่ใช้โดยกลุ่มคนดั้งเดิมของไต้หวันและภาษามือไต้หวัน"[9]
  5. รวมลูกครึ่งชนพื้นเมืองกับฮั่นในส่วนของชาวจีนเชื้อสายฮั่น
  6. การตีความเกี่ยวกับดินแดนที่ถ่ายทอดให้กับสาธารณรัฐจีนมีความหลากหลาย ญี่ปุ่นสละการอ้างสิทธิไต้หวันและเผิงหูในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกเมื่อ ค.ศ. 1952; ดูเพิ่มที่ Retrocession Day, ทฤษฎีสถานะที่ไม่กระจ่างชัดของไต้หวัน และสถานะทางการเมืองของไต้หวัน
  7. 220 โวลต์สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าสูง เช่นเครื่องปรับอากาศ
  8. (เป่อ่วยจี: Tâi-oân; แคะถิ่นซื่อเซี่ยน: Tǒi-vǎn; จีน: 臺灣 หรือ 台灣; พินอิน: Táiwān, ไถวาน)
  9. ฮากกาสำเนียงซี่เซียน: Chûng-fà Mìn-koet; จีน: 中華民國; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó

อ้างอิง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Since the implementation of the Act Governing Principles for Editing Geographical Educational Texts (地理敎科書編審原則) in 1997, the guiding principle for all maps in geographical textbooks was that Taipei was to be marked as the capital with a label stating: "Location of the Central Government"". 4 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 1 November 2019.
  2. 2.0 2.1 "Interior minister reaffirms Taipei is ROC's capital". Taipei Times. 5 December 2013.
  3. "推動雙語國家政策問題研析". www.ly.gov.tw (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 25 May 2021.
  4. "法律統一用語表-常見公文用語說明" (PDF) (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  5. "笨蛋,台灣有第一官方語嗎?". opinion.cw.com.tw (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 11 July 2021.
  6. "行政院第3251次院會決議". www.ey.gov.tw (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 25 May 2021.
  7. "Indigenous Languages Development Act". law.moj.gov.tw. สืบค้นเมื่อ 22 May 2019.
  8. "Hakka Basic Act". law.moj.gov.tw. สืบค้นเมื่อ 22 May 2019.
  9. 國家語言發展法. law.moj.gov.tw (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 22 May 2019.
  10. The Republic of China Yearbook 2016. Executive Yuan, R.O.C. 2016. p. 10. ISBN 9789860499490. สืบค้นเมื่อ 31 May 2020. Ethnicity: Over 95 percent Han Chinese (including Holo, Hakka and other groups originating in mainland China); 2 percent indigenous Austronesian peoples
  11. 11.0 11.1 11.2 "Taiwan". The World Factbook. United States Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 6 May 2019.
  12. "TAIWAN SNAPSHOT". สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  13. "Statistics from Statistical Bureau". National Statistics, Republic of China (Taiwan). สืบค้นเมื่อ 26 September 2021.
  14. "General Statistical analysis report, Population and Housing Census" (PDF). National Statistics, ROC (Taiwan). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 December 2016. สืบค้นเมื่อ 26 November 2016.
  15. 15.0 15.1 15.2 "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  16. "GDP: Preliminary Estimate for 2020Q4 and Outlook for 2021" (PDF). dgbas.gov.tw. Directorate General of Budget, Accounting and Statistics. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
  17. "Percentage share of disposable income by quintile groups of income recipients and measures of income distribution". stat.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-14. สืบค้นเมื่อ 26 June 2019. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  18. "國情統計通報(第 014 號)" (PDF). Directorate General of Budget, Accounting and Statistics, Executive Yuan, Taiwan (ROC). 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  19. "ICANN Board Meeting Minutes". ICANN. 25 June 2010.
  20. ปรากฏในแหล่งอ้างอิงหลายแหล่งดังต่อไปนี้เป็นต้น
    • Michael Kort (2005). The Handbook Of East Asia. Lerner Publishing Group. p. 7. ISBN 978-0761326724. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022. South Korea is another emerging economic powerhouse, as is the Republic of China (ROC), a small country that occupies the island of Taiwan in the shadow of its enormous and hostile mainland neighbor, the PRC.
    • Donald S. Zagoria (30 October 2003). Breaking the China-Taiwan Impasse. ABC-CLIO. pp. 68–. ISBN 978-0-313-05755-7. OCLC 1058389524. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022. Taiwan possesses all of the elements of a sovereign state: a legitimate government, population, and a well-defined territory. The fact is that the People's Republic of China (PRC), while claiming sovereignty over Taiwan, has never ruled Taiwan since the PRC's establishment in 1949. Thus, Taiwan is in fact a sovereign country from our perspective.
  21. Fell, Dafydd (2018). Government and Politics in Taiwan. London: Routledge. p. 305. ISBN 978-1317285069. Moreover, its status as a vibrant democratic state has earned it huge international sympathy and a generally positive image.
  22. French, Duncan (2013). Statehood and Self-Determination: Reconciling Tradition and Modernity in International Law. Cambridge: Cambridge University Press. p. 26. ISBN 978-1107311275. The population on the islands of Formosa and the Pescadores is governed by an effective government to the exclusion of others, but Taiwan is not generally considered a state.
  23. Albert, Eleanor (7 December 2016). "China-Taiwan Relations". Council on Foreign Relations. สืบค้นเมื่อ 30 March 2018. The People’s Republic of China (PRC) views the island as a province, while in Taiwan—a territory with its own democratically elected government—leading political voices have differing views on the island’s status and relations with the mainland. Some observe the principle that there is “one China” comprising the island and the mainland, but in their eyes this is the Republic of China (ROC) based in Taipei; others advocate for a de jure independent Taiwan.
  24. "Taiwan Population (2021) - Worldometer". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ).
  25. "National Statistics, Republic of China (Taiwan)". eng.stat.gov.tw.
  26. "Taiwan Population, 1950 – 2021 | CEIC Data". www.ceicdata.com.
  27. "Countries That Recognize Taiwan 2021". worldpopulationreview.com.
  28. Horton, Chris (2019-07-08). "Taiwan's Status Is a Geopolitical Absurdity". The Atlantic (ภาษาอังกฤษ).
  29. CIA World Factbook- GDP (PPP) เก็บถาวร 2019-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  30. Chan, Rachel (17 June 2009). "Taiwan needs to boost public awareness on climate change: EU envoy". China Post. สืบค้นเมื่อ 2009-07-22.
  31. Yao, Grace; Cheng, Yen-Pi; Cheng, Chiao-Pi (5 November 2008). "The Quality of Life in Taiwan". Social Indicators Research. 92 (2): 377–404. doi:10.1007/s11205-008-9353-1. ISSN 0303-8300. a second place ranking in the 2000 Economist's world healthcare ranking
  32. Yao, Grace; Cheng, Yen-Pi; Cheng, Chiao-Pi (5 November 2008). "The Quality of Life in Taiwan". Social Indicators Research. 92 (2): 377–404. doi:10.1007/s11205-008-9353-1. S2CID 144780750. a second place ranking in the 2000 Economist's world healthcare ranking
  33. http://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf
  34. "2010中華民國人類發展指數 (HDI)" (PDF) (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Directorate General of Budget, Accounting and Statistics, Executive Yuan, R.O.C. 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-07-02.
  35. "Chapter 3: History" (PDF). The Republic of China Yearbook 2011. Government Information Office, Republic of China (Taiwan). 2011. p. 46. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 May 2012.
  36. "Ilha Formosa: the Emergence of Taiwan on the World Scene in the 17th Century". National Palace Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2018. สืบค้นเมื่อ 12 April 2018.
  37. Davidson (1903), p. 10: "A Dutch navigating officer named Linschotten [ตามต้นฉบับ], employed by the Portuguese, so recorded the island in his charts, and eventually the name of Formosa, so euphonious and yet appropriate, replaced all others in European literature."
  38. see for example:
  39. Mair, Victor H. (2003). "How to Forget Your Mother Tongue and Remember Your National Language". Pīnyīn.info. The true derivation of the name "Taiwan" is actually from the ethnonym of a tribe in the southwest part of the island in the area around Ping'an. As early as 1636, a Dutch missionary referred to this group as Taiouwang. From the name of the tribe, the Portuguese called the area around Ping'an as Tayowan, Taiyowan, Tyovon, Teijoan, Toyouan, and so forth. Indeed, already in his ship's log of 1622, the Dutchman Cornelis Reijersen referred to the area as Teijoan and Taiyowan.
  40. 蔡玉仙; และคณะ, บ.ก. (2007). 府城文史 (ภาษาจีน). Tainan City Government. ISBN 978-986-00-9434-3.
  41. Shih Shou-chien, บ.ก. (2003). 福爾摩沙 : 十七世紀的臺灣、荷蘭與東亞 [Ilha Formosa: the Emergence of Taiwan on the World Scene in the 17th Century] (ภาษาจีน). Taipei: National Palace Museum. ISBN 978–957–562–441–5. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  42. Kato, Mitsutaka (2007) [1940]. 昨日府城 明星台南: 發現日治下的老臺南 (ภาษาจีน). แปลโดย 黃秉珩. 臺南市文化資產保護協會. ISBN 978-957-28079-9-6.
  43. Oosterhoff, J.L. (1985). "Zeelandia, a Dutch colonial city on Formosa (1624–1662)". ใน Ross, Robert; Telkamp, Gerard J. (บ.ก.). Colonial Cities: Essays on Urbanism in a Colonial Context. Springer. pp. 51–62. ISBN 978-90-247-2635-6.
  44. Thompson (1964), p. 166.
  45. Thompson (1964), p. 163.
  46. "Taiwan | History, Flag, Map, Capital, Population, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  47. "Taiwan's Geography and Climate | Life of Taiwan Tours". Life of Taiwan.
  48. "Discover the climate and geography of Taiwan". World Travel Guide (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  49. "Taiwan geography, maps, climate, environment and terrain from Taiwan | - CountryReports". www.countryreports.org.
  50. "Climate of Taiwan". Travel Tips - USA Today (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-29. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  51. Wills, John E., Jr. (2006). "The Seventeenth-century Transformation: Taiwan under the Dutch and the Cheng Regime". ใน Rubinstein, Murray A. (บ.ก.). Taiwan: A New History. M.E. Sharpe. pp. 84–106. ISBN 978-0-7656-1495-7.
  52. Wu, J. R. (24 May 2017). "Taiwan court rules in favor of same-sex marriage, first in Asia". Reuters. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
  53. "Taiwan gay marriage: Parliament legalises same-sex unions". bbc.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 2019-05-17.
  54. "Taiwan legalizes same-sex marriage in historic first for Asia". edition.cnn.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 2019-05-17.
  55. 55.0 55.1 55.2 55.3 55.4 55.5 55.6 55.7 55.8 "Chapter 4: Government". The Republic of China Yearbook. Government Information Office, Republic of China (Taiwan). 2011. pp. 55–65. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
  56. Huang, Jei-hsuan (14 September 2006). "Letter: KMT holds the key". Taipei Times. p. 8. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  57. Jayasuriya, Kanishka (1999). Law, capitalism and power in Asia. Routledge. p. 217. ISBN 978-0-415-19743-4.
  58. Additional Articles of the Constitution of the Republic of China (2005) . Article 5 – โดยทาง Wikisource.
  59. Chang, Rich (2 January 2006). "Nation keeps death penalty, but reduces executions". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 2 November 2009.
  60. "Laws & Regulations Database of The Republic of China". law.moj.gov.tw.
  61. "World: Asia-Pacific Analysis: Flashpoint Spratly". BBC. 14 February 1999.
  62. Hwang, Jim (1 ตุลาคม 1999). "Gone with the Times". Taiwan Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2012.
  63. "中華民國國情簡介 政府組織". Taipei: Government Information Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.
  64. www.mofa.gov.tw/en/AlliesIndex.aspx?n=DF6F8F246049F8D6&sms=A76B7230ADF29736
  65. "The One-China Principle and the Taiwan Issue". PRC Taiwan Affairs Office and the Information Office of the State Council. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2006. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) Section 1: "Since the KMT ruling clique retreated to Taiwan, although its regime has continued to use the designations "Republic of China" and "government of the Republic of China," it has long since completely forfeited its right to exercise state sovereignty on behalf of mainland China and, in reality, has always remained only a separate state on the island of Taiwan."
  66. "Taiwan flashpoint: Introduction – Present status". BBC News. British Broadcasting Corporation (BBC). 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2020. สืบค้นเมื่อ 6 December 2020. But Taiwan's leaders say it is clearly much more than a province, arguing that it is a sovereign state. It has its own constitution, democratically-elected leaders, and 400,000 troops in its armed forces.
  67. Chang, Bi-yu (2015). Place, Identity, and National Imagination in Post-war Taiwan. Oxon, UK, and New York City: Routledge. pp. 35–40, 46–60. ISBN 978-1-317-65812-2.
  68. "Taiwan Independence vs. Unification with the Mainl". Election Study Center, National Chengchi University. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021.
  69. Fravel, M. Taylor (2002). "Towards Civilian Supremacy: Civil-Military Relations in Taiwans's Democratization". Armed Forces & Society. 29 (1): 57–84. doi:10.1177/0095327X0202900104.
  70. "Committed to Taiwan". The Wall Street Journal. 26 April 2001. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  71. Swaine & Mulvenon 2001, p. 65: "[...]the ROC military functioned until very recently as an instrument of KMT rule [...] the bulk of the officer corps is still composed of Mainlanders, many of whom allegedly continue to support the values and outlook of more conservative KMT and New Party members. This is viewed as especially the case among the senior officers of the ROC Army. Hence, many DPP leaders insist that the first step to building a more secure Taiwan is to bring the military more fully under civilian control, to remove the dominant influence of conservative KMT elements, and to reduce what is regarded as an excessive emphasis on the maintenance of inappropriate ground force capabilities, as opposed to more appropriate air and naval capabilities."
  72. Bishop, Mac William (1 January 2004). "Women Take Command". Government Information Office, Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2011. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
  73. "ASIA-PACIFIC | Military alternative in Taiwan". BBC News. 1 May 2000. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  74. "Gold Shipped to Taiwan in 1949 Helped Stabilize ROC on Taiwan". Kuomintang News Network. 6 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2011. สืบค้นเมื่อ 14 June 2011. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) Translated from 王銘義 (5 April 2011). 1949年運台黃金 中華民國保命本. China Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-21. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015.
  75. Roy, Denny (2003). Taiwan: A Political History. Ithaca, NY: Cornell University Press. pp. 76, 77. ISBN 978-0-8014-8805-4.
  76. Makinen & Woodward 1989: "มันเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองการคลังของไต้หวันเช่นเดียวกับในยุโรป ตอนที่ในที่สุดก็นำมาซึ่งความมั่นคงด้านราคา มันเป็นนโยบายความช่วยเหลือที่ทำให้งบประมาณมีความสมดุลและเมื่อนโยบายความช่วยเหลือครบตามสัดส่วนในปี ค.ศ. 1952 ราคามีเสถียรภาพ"
  77. Ralph Clough, "Taiwan under Nationalist Rule, 1949–1982," in Roderick MacFarquar et al., ed., Cambridge History of China, Vol 15, The People's Republic Pt 2 (Cambridge: Cambridge University Press, 1991), p. 837
  78. How Taiwan Created TSMC (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 23 May 2022
  79. Mak, Robyn (17 December 2021). "Breakingviews – TSMC can fix Taiwan's stalled green transition". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.
  80. Mak, Grace (1997). Asian Higher Education: An International Handbook and Reference Guide (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-28901-9.
  81. "Higher Education Crisis in Taiwan | Inside Higher Ed". www.insidehighered.com (ภาษาอังกฤษ).
  82. Weise, Elizabeth. "Taiwan's problem? Too many college graduates, too few machinists". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  83. Chou, Chuing Prudence (-001-11-30T00:00:00+00:00). "Education in Taiwan: Taiwan's Colleges and Universities". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  84. Sechiyama, Kaku (2013). Patriarchy in East Asia: A Comparative Sociology of Gender. Brill Publishers. p. 254. ISBN 978-9004230606.
  85. "衛生福利部疾病管制署一般民眾版". web.archive.org. 2016-08-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  86. 統計處 (2020-07-17). "Statistics of Medical Care Institution's Status & Hospital Utilization 2019". 統計處.
  87. Yan, Margaret Mian (2006). Introduction to Chinese Dialectology. LINCOM Europa. p. 169. ISBN 978-3-89586-629-6.
  88. Constitution of the Republic of China – Chapter II, Article 13: "The people shall have freedom of religious belief."
  89. "Taiwan Yearbook 2006". Government of Information Office. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-01.
  90. "2006 Report on International Religious Freedom". U.S. Department of State. 2006. สืบค้นเมื่อ 2007-09-01.
  91. "What Languages Are Spoken In Taiwan?". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-04-25.
  92. https://web.archive.org/web/20120514004814/http://www.gio.gov.tw/taiwan-website/5-gp/yearbook/docs/ch02D.pdf
  93. "Taiwan - Languages". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  94. Keoni Everington (2017-02-02). "Map of Taiwan's living languages | Taiwan News | 2017-02-02 21:52:00". Taiwan News.
  95. "Intro of CPBL". web.archive.org. 2009-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  96. https://www.cpbl.com.tw/footer/fans.html
  97. "Taiwan Review". web.archive.org. 2012-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  98. "ASEAN Basketball League to tip off with two teams from Taiwan | Taiwan News | 2019-10-31 14:24:00". Taiwan News. 2019-10-31.
  99. "Mayors sign hosting deal for World Masters Games - Taipei Times". www.taipeitimes.com. 2020-12-12.
  100. 陳鐵健、黃鐵炫 (1992). 《蔣介石與中國文化》 (in Chinese). Hong Kong: 中華書局. p. 122.
  101. "5 Reasons Why Chinese Tourists Are So Rude". Jeraldine Phneah (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  102. "Keeping traditional Chinese culture alive". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  103. "History behind Taiwanese cuisine revealed - Taipei Times". www.taipeitimes.com. 2014-10-30.
  104. "Popular Food Culture in Taiwan". web.archive.org. 2012-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  105. "The divine bovine - Taipei Times". www.taipeitimes.com. 2021-03-17.
  106. Nguyen-Okwu, Leslie (2019-03-06). "The 16 Essential Dishes That Define Taiwanese Food". Eater (ภาษาอังกฤษ).
  107. "Taiwan's Food and Drink | Life of Taiwan Tours". Life of Taiwan.

ผลงานที่อ้างอิง

แก้

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ภาพรวมและข้อมูล

แก้

หน่วยงานรัฐบาล

แก้