บริษัทผลิตสารกึ่งตัวนำไต้หวัน จำกัด (อังกฤษ: Taiwan Semiconductor Manufacturing Company, Limited หรือ Taiwan Semiconductor) ย่อเป็น ทีเอสเอ็มซี (TSMC) เป็นบริษัทผลิตและออกแบบสัญญาสารกึ่งตัวนำข้ามชาติสัญชาติไต้หวัน เป็นบริษัทสารกึ่งตัวนำที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก[3] เป็นโรงงานผลิตสารกึ่งตัวนำโดยเฉพาะแห่งใหญ่สุดของโลก[4] และบริษัทใหญ่อันดับต้น ๆ ของประเทศไต้หวัน โดยมีสำนักงานใหญ่และแหล่งประกอบการหลักในอุทยานวิทยาศาสตร์ซินชูในซินชู มีเจ้าของหลักเป็นนักลงทุนต่างชาติ[5]

บริษัทผลิตสารกึ่งตัวนำไต้หวัน (ทีเอสเอ็มซี) จำกัด
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS8740391003
อุตสาหกรรม
ก่อตั้งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซินซู ประเทศไต้หวัน
(1987; 37 ปีที่แล้ว (1987))
ผู้ก่อตั้งมอร์ริส จาง
สำนักงานใหญ่,
ประเทศไต้หวัน
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • Mark Liu (Chairman)
  • C.C. Wei (President and CEO)
ผลิตภัณฑ์Central processing units
Graphics processing unit
Chipsets
Microprocessors
Systems-on-chip (SoCs)
Motherboard chipsets
Network interface controllers
Digital signal processors
Digital light processors
Integrated circuits
Embedded processors
Drivers
ผลผลิต
  • เพิ่มขึ้น แว่นผลึกเทียบเท่า 12 นิ้ว 14 ล้านชิ้น (2021)
รายได้เพิ่มขึ้น US$57,220 ล้าน (2021)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น US$23,430 ล้าน (2021)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US$21,350 ล้าน (2021)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$134,290 ล้าน (2021)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$77,480 ล้าน (2021)
พนักงาน
เพิ่มขึ้น 65,152 (2021)
บริษัทในเครือ
  • WaferTech
  • TSMC Nanjing Company Ltd.
  • SSMC
  • JASM
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม台灣積體電路製造股份有限公司
Abbreviation
อักษรจีนตัวเต็ม台積電
เว็บไซต์www.tsmc.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1][2]

บริษัทฯ ก่อตั้งโดยมอร์ริส จางในปี 1987 เป็นโรงงานผลิตสารกึ่งตัวนำโดยเฉพาะแห่งแรกของโลก และเป็นบริษัทแถวหน้าในอุตสาหกรรมดังกล่าวมาช้านาน[6][7] บริษัทฯ ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันตั้งแต่ปี 1993 และในปี 1997 ได้เป็นบริษัทไต้หวันบริษัทแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก นับแต่ปี 1994 เป็นต้นมา ทีเอสเอ็มซีมีอัตราเติบโตต่อปีแบบทบต้นของรายได้ 17.4% และอัตราเดียวกันของรายรับ 16.1%[8] ในเดือนมิถุนายน 2022 ทีเอสเอ็มซีมีมูลค่าตลาดคิดเป็นประมาณ 90% ของจีดีพีไต้หวัน[9]

ทีเอ็สเอมซีมีกำลังการผลิตแว่นผลึก (wafer) เทียบเท่า 300 มม. ที่ 30 ล้านชิ้นต่อปีในปี 2020 และผลิตชิปแก่ผู้บริโภคโดยมีกระบวนการผลิต (process node) ตั้งแต่ 2 ไมครอนถึง 5 นาโนเมตร ทีเอสเอ็มซีเป็นโรงงานผลิตแห่งแรกที่มีความสามารถผลิต 7 นาโนเมตรและ 5 นาโนเมตร และเป็นรายแรกที่ขายเทคโนโลยีเอ็กซ์ตรีมอัลตราไวโอเล็ตลิโธกราฟฟี (EUV) ในปริมาณมาก

อ้างอิง แก้

  1. "Taiwan Semiconductor Manufacturing Company". TSMC. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  2. "TSMC Ltd 2021 Annual Report (Form 20-F)". SEC.gov. U.S. Securities and Exchange Commission. 14 April 2022.
  3. Nellis, Stephen; Shepardson, David (15 May 2020). "Taiwan's TSMC to build Arizona chip plant as U.S.-China tech rivalry escalates". Reuters.
  4. "Advanced Technology Key to Strong Foundry Revenue per Wafer". IC Insights. 12 October 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  5. "TSMC becomes safe haven for foreign investors; market cap hits high". Taiwan News. Central News Agency. 17 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-26. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.
  6. "Company Info". TSMC. สืบค้นเมื่อ 20 December 2010.
  7. "D&R Foundry Corner - TSMC". Design & Reuse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 18 May 2014.
  8. 11 March, Tim Phillips |; TSM, 2020 | More on (11 March 2020). "Forget China Mobile. Buy This Stock to Play the 5G and AI Supercycle". The Motley Fool Hong Kong (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 9 July 2020.
  9. Mak, Robyn (17 December 2021). "Breakingviews – TSMC can fix Taiwan's stalled green transition". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 June 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้