เถา-ยฺเหวียน (จีน: 桃園; พินอิน: Táoyuán) เป็นนครปกครองโดยตรง ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวัน ติดกับนครซินเป่ย์ (ไทเปใหม่), เทศมณฑลซินจู๋, และเทศมณฑลอี๋หลาน มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เขตเถา-ยฺเหวียน โดยเขตนี้กับเขตจงลี่ประกอบกันเป็นเขตมหานครขนาดใหญ่ เถา-ยฺเหวียนได้พัฒนาจากเมืองบริวารของเขตมหานครไทเป จนกลายเป็นเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 และนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ เนื่องจากการเดินทางไปยังนครไทเปนั้นมีความสะดวกรวดเร็ว ทำให้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เถา-ยฺเหวียนมีอัตราการเติบโตของประชากรมากที่สุดในบรรดาเมืองทุกเมืองในประเทศ[7]

นครเถา-ยฺเหวียน

桃園市อ้างอิงผิดพลาด: พารามิเตอร์ในป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง

เทอหึง
ธงของนครเถา-ยฺเหวียน
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนครเถา-ยฺเหวียน
โลโก้
แผนที่
ที่ตั้งของนครเถา-ยฺเหวียน
พิกัด: 24°59′28.6″N 121°18′51.58″E / 24.991278°N 121.3143278°E / 24.991278; 121.3143278
ประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
ศูนย์กลางการปกครองเขตเถา-ยฺเหวียน
เขต
การปกครอง
 • องค์กร
 • นายกเจิ้ง เหวินชั่น (พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า)
 • รองนายกชิว ไท่ซาน[1]
พื้นที่[2][3]
 • นครปกครองโดยตรง1,220.95 ตร.กม. (471.41 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,140 ตร.กม. (440 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 14 จาก 22
ประชากร
 (ตุลาคม 2019)[4]
 • นครปกครองโดยตรง2,245,059 คน
 • อันดับอันดับที่ 5 จาก 22
 • ความหนาแน่น1,800 คน/ตร.กม. (4,800 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[Note 1][5]8,535,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง7,500 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานชาติ)
รหัสไปรษณีย์320-338
รหัส ISO 3166TW-TAO
สัญลักษณ์ 
 • นกขุนแผนไต้หวัน[6] (Urocissa caerulea)
 • ดอกไม้ดอกท้อ
 • ต้นไม้ต้นท้อ
เว็บไซต์www.tycg.gov.tw/eng/ แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ (ในภาษาอังกฤษ)
  1. หมายถึงประชากรในเขตเมือง (urban area) ไทเป-เถายฺเหวียน
นครเถา-ยฺเหวียน
อักษรจีนตัวเต็ม桃園
อักษรจีนตัวย่อ桃园

"เถา-ยฺเหวียน" ในภาษาจีนหมายถึง "สวนลูกท้อ" เพราะบริเวณนี้เคยมีต้นท้อจำนวนมาก เมืองนี้เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมและสำนักงานใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง และยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการในไทเป และพื้นที่อื่น ๆ ทางตอนเหนือของไต้หวัน

ประวัติศาสตร์

แก้

ช่วงต้น

แก้

ในสมัยโบราณ ที่ราบสูงเถา-ยฺเหวียนเป็นที่อยู่ของชาวอะบอริจินที่ราบไต้หวัน ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีชาวเกอตากาลันตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า หนานกั้น [zh] ในช่วงปีแรก ๆ ของการล่าอาณานิคมของดัตช์, การล่าอาณานิคมของสเปน, และเจิ้งเหอแห่งราชวงศ์หมิง ยังไม่มีการเพาะปลูกหรือกิจกรรมทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใด ๆ ในพื้นที่นี้ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง ได้มีผู้คนจำนวนมากจากมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลกวางตุ้ง เริ่มอพยพมาที่นี่เพื่อเพาะปลูก โดยเฉพาะต้นท้อ ซึ่งจะบานสะพรั่งเต็มที่ในฤดูใบไม้ผลิ ทำให้บรรยากาศรอบ ๆ สวยงามมากจนผู้คนตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า Toahong [เทออ๊าหึง] (จีน: 桃仔園; พินอิน: Táozǐyuán; เป่อ่วยยี: Thô-á-hn̂g; แปลตรงตัว: "สวนลูกท้อ")

จักรวรรดิญี่ปุ่น

แก้
 
สถานีเถา-ยฺเหวียนในช่วงการปกครองของญี่ปุ่น

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1901 ในสมัยการปกครองของญี่ปุ่น มีการจัดตั้งสำนักงานการปกครองท้องถิ่นขึ้น ชื่อว่า โทชิเอ็งโจ (ญี่ปุ่น: 桃仔園廳โรมาจิToshien Chō) และเปลี่ยนชื่อเป็น โทเอ็งโจ (ญี่ปุ่น: 桃園廳โรมาจิTōen Chō) ใน ค.ศ. 1905 ต่อมาใน ค.ศ. 1920 พื้นที่ โทเอ็ง ได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชินจิกุ

ในสมัยของญี่ปุ่น จากนโยบายการอพยพ ทำให้เถา-ยฺเหวียนพัฒนาเป็นเมืองที่มีหลายวัฒนธรรม

สาธารณรัฐจีน

แก้

หลังญี่ปุ่นยกไต้หวันคืนแก่สาธารณรัฐจีนในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1945 พื้นที่ปัจจุบันของนครเถา-ยฺเหวียนในตอนนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเทศมณฑลซินจู๋ ต่อมาใน ค.ศ. 1950 ได้มีการก่อตั้งเทศมณฑลเถา-ยฺเหวียนขึ้น โดยแยกออกมาจากเทศมณฑลซินจู๋ ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1971 นครเถา-ยฺเหวียนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑลเถา-ยฺเหวียน ในตอนนั้น เทศมณฑลเถา-ยฺเหวียนแบ่งการปกครองออกเป็น 6 นคร, 1 เมือง และ 6 ตำบล

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 สภาบริหารได้อนุมัติแผนการยกสถานะเถา-ยฺเหวียนจากเทศมณฑลไปเป็นนครภายใต้การปกครองโดยตรงของรัฐบาลกลาง[8] และในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2014 เทศมณฑลเถา-ยฺเหวียนก็ได้ยกระดับไปเป็นนครปกครองโดยตรงเถา-ยฺเหวียน (桃園市)

ภูมิศาสตร์

แก้

เถา-ยฺเหวียนตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไทเปประมาณ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) และกินพื้นที่ 1,220 ตารางกิโลเมตร (470 ตารางไมล์) ประกอบด้วยที่ราบลุ่ม ภูเขาและที่ราบสูงที่เชื่อมต่อถึงกัน รูปร่างของนครเถา-ยฺเหวียนค่อนข้างยาวและแคบ จากทิศตะวันออกเฉียงใต้ลาดลงไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยทางตะวันออกเฉียงใต้มีเทือกเขาเสฺว่ชาน (雪山山脈) และปลายสุดเป็นชายฝั่งติดกับช่องแคบไต้หวัน

ในบริเวณที่ราบสูงเถา-ยฺเหวียนมีบ่อชลประทานจำนวนมาก ซึ่งทำให้เถา-ยฺเหวียนมีชื่อเล่นว่า "เมืองหนึ่งพันบ่อ" (千塘之鄉)[9]

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของไทเป (ค.ศ. 1981-2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 19.1
(66.4)
19.6
(67.3)
22.1
(71.8)
25.7
(78.3)
29.2
(84.6)
32.0
(89.6)
34.3
(93.7)
33.8
(92.8)
31.1
(88)
27.5
(81.5)
24.2
(75.6)
20.7
(69.3)
26.6
(79.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 16.1
(61)
16.5
(61.7)
18.5
(65.3)
21.9
(71.4)
25.2
(77.4)
27.7
(81.9)
29.6
(85.3)
29.2
(84.6)
27.4
(81.3)
24.5
(76.1)
21.5
(70.7)
17.9
(64.2)
23
(73.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.9
(57)
14.2
(57.6)
15.8
(60.4)
19
(66)
22.3
(72.1)
24.6
(76.3)
26.3
(79.3)
26.1
(79)
24.8
(76.6)
22.3
(72.1)
19.3
(66.7)
15.6
(60.1)
20.4
(68.7)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 83.2
(3.276)
170.3
(6.705)
180.4
(7.102)
177.8
(7)
234.5
(9.232)
325.9
(12.831)
245.1
(9.65)
322.1
(12.681)
360.5
(14.193)
148.9
(5.862)
83.1
(3.272)
73.3
(2.886)
2,405.1
(94.689)
ความชื้นร้อยละ 78.5 80.6 79.5 77.8 76.6 77.3 73 74.1 75.8 75.3 75.4 75.4 76.61
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1) 14.1 14.6 15.5 14.9 14.8 15.5 12.3 14 13.8 11.9 12.4 11.7 165.5
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 80.6 71.3 89.6 92.6 113.7 121.7 179 188.9 153.7 124 99.4 90.7 1,405.2
แหล่งที่มา: Central Weather Bureau[10]

ประชากร

แก้
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1985 1,211,249—    
1990 1,355,175+11.9%
1995 1,524,127+12.5%
2000 1,732,617+13.7%
2005 1,911,161+10.3%
2010 2,002,060+4.8%
2015 2,105,780+5.2%
2020 2,252,835+7.0%
ข้อมูล:"ประชากรแบ่งตามนครและเทศมณฑลในไต้หวัน". สำมะโนประชากรกระทรวงมหาดไทยไต้หวัน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-11-03.
ปี 1981 1982 1983 1984 1985 1986 1987 1988 1989 1990
ประชากร 1,093,621 1,129,576 1,160,709 1,189,752 1,211,249 1,232,209 1,259,503 1,288,626 1,320,359 1,355,175
ปี 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 2000
ประชากร 1,385,165 1,415,546 1,448,186 1,483,955 1,524,127 1,570,456 1,614,471 1,650,984 1,691,292 1,732,617
ปี 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010
ประชากร 1,762,963 1,792,603 1,822,075 1,853,029 1,880,316 1,911,161 1,934,968 1,958,686 1,978,782 2,002,060
ปี 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020
ประชากร 2,013,305 2,030,161 2,044,023 2,058,328 2,105,780 2,147,763 2,188,017 2,220,872 2,249,037 2,245,162

หมายเหตุ

แก้

คำในภาษาแม่

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2016. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. 《中華民國統計資訊網》縣市重要統計指標查詢系統網 (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  3. "Demographia World Urban Areas PDF (April 2016)" (PDF). Demographia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  4. 人口統計-桃園市政府民政局. cab.tycg.gov.tw (ภาษาจีน). 7 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  5. "Demographia World Urban Areas PDF" (PDF). Demographia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  6. "ขุนแผนไต้หวัน". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Yu Hsiang, Frances Huang (23 January 2021). "Taoyuan sees largest population growth among 6 municipalities in 2020". Focus Taiwan. สืบค้นเมื่อ 17 March 2021.
  8. "Rezoning Taiwan". Taiwan Today. 1 February 2011. สืบค้นเมื่อ 9 December 2020.
  9. 農田水利入口網. coa.gov.tw. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2014. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  10. "Climate". Central Weather Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2017. สืบค้นเมื่อ 27 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้