การระบาดทั่วของโควิด-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทั่วโลก

การระบาดทั่วของโควิด-19 เป็นการระบาดทั่วโลกที่กำลังดำเนินไปของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19; โควิด-19) โดยมีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยพบครั้งแรกในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน[5][6] องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว ในวันที่ 11 มีนาคม 2563[7][8]

การระบาดทั่วของไวรัสโควิด-19
แผนที่แสดงจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันเฉลี่ยต่อ 100,000 คน ณ 20 พฤศจิกายน 2022
  ผู้ติดเชื้อยืนยันมากกว่า 3,000 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 1,000–3,000 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 300–1,000 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 100–300 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 30–100 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 0–30 คน
  ไม่มีผู้ติดเชื้อยืนยันหรือไม่มีข้อมูล
แผนที่แสดงจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งหมด
แผนที่การระบาดทั่ว ณ 20 พฤศจิกายน 2022
  ประเทศที่ยืนยันผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 1,000,000 คนขึ้นไป
  ประเทศที่ยืนยันผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 100,000– 999,999 คน
  ประเทศที่ยืนยันผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 10,000–99,999 คน
  ประเทศที่ยืนยันผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 1,000–9,999 คน
  ประเทศที่ยืนยันผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 100–999 คน
  ประเทศที่ยืนยันผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 1–99 คน
  ไม่มีผู้ติดเชื้อยืนยันหรือไม่มีข้อมูล
แผนที่แสดงผู้เสียชีวิตเฉลี่ยต่อหัว
แผนที่แสดงผู้เสียชีวิตต่อหัว ณ 20 ธันวาคม 2023
  ผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คนต่อล้านคน
  ผู้เสียชีวิต 10–100 คนต่อล้านคน
  ผู้เสียชีวิต 1–10 คนต่อล้านคน
  ผู้เสียชีวิต 0.1–1 คนต่อล้านคน
  ผู้เสียชีวิต 0–0.1 คนต่อล้านคน
  ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือไม่มีข้อมูล
(ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด)
โรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19)
สายพันธุ์ไวรัสไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการ
ทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2

(SARS-CoV-2)
แหล่งที่มาค้างคาว[1] ทางอ้อม[2]
สถานที่ทั่วโลก
ผู้ป่วยต้นปัญหาอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
30°35′14″N 114°17′17″E / 30.58722°N 114.28806°E / 30.58722; 114.28806
วันที่1 ธันวาคม 2019 – 13 เมษายน 2024
(3 ปี 5 เดือน 4 วัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม704,753,890คน[3]
หาย675,619,811 คน[3]
เสียชีวิต7,010,681 คน[4]
ดินแดน224 ดินแดน[4]

ไวรัสมีการแพร่เชื้อระหว่างคนในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่ โดยผ่านการติดเชื้อจากละอองเสมหะจากการไอ[9][10][11] ระยะระหว่างการสัมผัสเชื้อและมีอาการโดยทั่วไปแล้วอยู่ที่ 5 วัน แต่มีช่วงอยู่ระหว่าง 2 ถึง 14 วัน[11][12] อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก[11][12] ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึงปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน โดยยังไม่มีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตหรือยาต้านไวรัสจำเพาะ แต่กำลังมีการวิจัยอยู่ขณะนี้ การรักษาจึงพยายามมุ่งเป้าไปที่การจัดการกับอาการ และรักษาแบบประคับประคอง มาตรการป้องกันที่มีการแนะนำ คือ การล้างมือ การอยู่ห่างจากบุคคลอื่น (โดยเฉพาะกับบุคคลที่ป่วย) ติดตามอาการ และกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ในกรณีที่สงสัยว่าตนอาจติดเชื้อ[10][11][13]

การตอบสนองทางสาธารณสุขทั่วโลก ประกอบด้วย การจำกัดการท่องเที่ยว การกักด่าน การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน การยกเลิกการจัดงาน และการปิดสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมีการกักด่านทั้งหมดของประเทศอิตาลีและมณฑลหูเป่ย์ของประเทศจีน และมีการใช้มาตรการการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืนอย่างหลากหลายในประเทศจีนและประเทศเกาหลีใต้[14][15][16] มีการคัดกรองตามท่าอากาศยานและสถานีรถไฟ[17] และมีการออกคำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางไปยังภูมิภาคที่มีการแพร่เชื้อในระดับประชาคม[18][19][20][21] มีการปิดสถานศึกษาทั่วประเทศหรือส่วนท้องถิ่นในอย่างน้อย 115 ประเทศ ส่งผลกระทบกับนักเรียนนักศึกษามากกว่า 1.2 พันล้านคน[22]

การระบาดทั่วยังก่อให้เกิดอุบัติการณ์ ประกอบด้วย ความไม่มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ[23][24] อาการกลัวคนแปลกหน้าและการเหยียดเชื้อชาติชาวจีนและชาวเอเชียตะวันออก[25][26][27][28][29] และการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิด ๆ และทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับไวรัส[30][31][32]

จำนวนผู้ป่วยที่พบโรคนี้ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ และวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 อธิบดีองค์การอนามัยโลก เตโวโดรส อัดฮาโนม ได้ประกาศว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ทั่วโลกได้สิ้นสุดลงแล้ว ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า มีเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่า 6,921,614[33] คนทั่วโลก

วิทยาการระบาด

แก้
ประเทศและดินแดน[A] ผู้ป่วย[B] เสียชีวิต[C] อ้างอิง
252 765,222,168 6,921,601 [35]
  สหรัฐ[D][E][F][G] 103,266,404 1,124,063 [37][38]
  สาธารณรัฐประชาชนจีน[H][I][J][K] 99,248,443 120,961 [39]
  อินเดีย 44,952,996 531,564 [40]
  ฝรั่งเศส[L][M] 38,930,489 162,868 [41][42]
  เยอรมนี[N] 38,403,667 173,044 [43][44]
  บราซิล 37,449,418 701,494 [45][46]
  ญี่ปุ่น 33,720,739 74,542 [47]
  เกาหลีใต้ 31,176,660 34,487 [48][49]
  อิตาลี[O] 25,788,387 189,738 [52][53]
  สหราชอาณาจักร[P][Q] 24,581,706 224,106 [55]
  รัสเซีย[R][S] 22,858,855 398,366 [59]
  ตุรกี 17,004,677 101,419 [60]
  สเปน[T][U] 13,825,052 120,715 [61]
  เวียดนาม 11,561,848 43,191 [62]
  ออสเตรเลีย[V][W] 11,210,651 20,119 [64]
  อาร์เจนตินา 10,044,957 130,472 [65][66]
  ไต้หวัน 9,970,937 17,672 [67]
  เนเธอร์แลนด์[X][Y][Z] 8,610,372 22,992 [69][70]
  อิหร่าน[AA] 7,607,744 146,058 [71][72]
  เม็กซิโก 7,587,447 333,908 [73]
  อินโดนีเซีย 6,776,984 161,327 [74]
  โปแลนด์ 6,513,979 119,555 [38][75]
  โคลอมเบีย 6,364,636 142,713 [76]
  ออสเตรีย 6,065,711 22,372 [77]
  กรีซ 6,018,544 36,754 [78]
  โปรตุเกส 5,581,619 26,575 [79][80]
  ยูเครน[AB][AC] 5,529,459 112,128 [81][82]
  ชิลี[AD][AE][AF][AG] 5,283,908 61,384 [83]
  มาเลเซีย 5,071,840 37,020 [84]
  อิสราเอล[AH] 4,822,313 12,493 [85]
  เบลเยียม[AI] 4,793,425 34,237 [86][87]
  ไทย 4,732,301 33,957 [88][89]
  แคนาดา 4,659,971 52,121 [90][91]
  เช็กเกีย 4,640,354 42,767 [92]
  เปรู 4,501,130 220,122 [93][94]
   สวิสเซอร์แลนด์[AJ] 4,402,432 13,995 [95][96]
  เกาหลีเหนือ 4,304,380 80 [97]
  ฟิลิปปินส์ 4,092,158 66,444 [98][99]
  แอฟริกาใต้ 4,072,533 102,595 [100][101]
  เดนมาร์ก[AK][AL] 3,411,909 8,556 [103][104]
  โรมาเนีย 3,393,902 68,089 [105][106]
  ฮ่องกง 2,876,106 13,466 [107]
  สวีเดน[AM] 2,706,122 24,070 [108]
  เซอร์เบีย[AN] 2,534,886 18,021 [109]
  อิรัก 2,465,545 25,375 [110]
  สิงคโปร์ 2,368,597 1,722 [111][112]
  นิวซีแลนด์ 2,251,440 2,736 [113]
  ฮังการี 2,201,355 48,762 [114]
  บังกลาเทศ 2,038,250 29,446 [115][116]
  สโลวาเกีย 1,866,470 21,167 [117]
  จอร์เจีย[AO] 1,840,187 17,059 [118]
  จอร์แดน 1,746,997 14,122 [119]
  ไอร์แลนด์ 1,710,302 8,849 [120][121]
  ปากีสถาน 1,580,631 30,656 [122]
  คาซัคสถาน 1,502,667 19,072 [123][124]
  นอร์เวย์[AP][AQ][AR] 1,483,222 5,435 [126]
  ฟินแลนด์[AS][AT] 1,473,603 9,308 [129]
  สโลวีเนีย 1,343,485 9,304 [130][131]
  ลิทัวเนีย 1,318,513 9,668 [132]
  บัลแกเรีย 1,304,393 38,328 [133][134]
  โมร็อกโก[AU] 1,273,463 16,297 [135]
  โครเอเชีย 1,272,886 18,180 [136]
  กัวเตมาลา 1,248,171 20,189 [137]
  เลบานอน 1,236,702 10,900 [138]
  คอสตาริกา 1,228,659 9,351 [139]
  โบลิเวีย 1,197,239 22,377 [140]
  ตูนิเซีย 1,152,612 29,387 [141]
  ปวยร์โตรีโก 1,116,823 5,891 [142][143]
  คิวบา[AV] 1,113,088 8,530 [144]
  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1,062,321 2,349 [145]
  เอกวาดอร์ 1,061,100 36,019 [146][147]
  อุรุกวัย 1,037,893 7,625 [148]
  ปานามา 1,036,733 8,621 [149][150]
  มองโกเลีย 1,007,970 2,136 [151]
   เนปาล 1,003,004 12,030 [152][153]
  เบลารุส 994,037 7,118 [154][155]
  ลัตเวีย 977,667 6,346 [38][156]
  ซาอุดีอาระเบีย 840,337 9,643 [157]
  อาเซอร์ไบจาน 831,386 10,242 [158]
  ปารากวัย 735,759 19,880 [159]
  ปาเลสไตน์ 703,228 5,708 [160]
  บาห์เรน 696,614 1,536 [161]
  ศรีลังกา 672,177 16,843 [162]
  คูเวต 665,741 2,570 [163]
  สาธารณรัฐโดมินิกัน 661,045 4,384 [164][165]
  ไซปรัส[AW] 658,450 1,354 [166]
  พม่า 635,102 19,492 [167]
  มอลโดวา[AX] 620,253 12,112 [168]
  เอสโตเนีย 618,173 3,001 [169]
  เวเนซุเอลา 552,578 5,856 [170]
  อียิปต์[AY] 515,970 24,826 [171]
  ลิเบีย 507,250 6,437 [172][173]
  กาตาร์ 506,323 690 [174]
  เอธิโอเปีย 500,837 7,574 [175]
  ฮอนดูรัส 472,533 11,112 [176][177]
  อาร์มีเนีย 449,062 8,747 [178]
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 402,848 16,337 [179]
  โอมาน 399,449 4,628 [180]
  มาซิโดเนียเหนือ 348,142 9,673 [181][182]
  แซมเบีย 343,910 4,058 [183][184]
  เคนยา 343,060 5,688 [185]
  แอลเบเนีย 334,090 3,604 [186]
  บอตสวานา 329,852 2,796 [187][188]
  ลักเซมเบิร์ก 319,959 1,232 [189]
  มอริเชียส 301,096 1,046 [190]
  มอนเตเนโกร 289,292 2,808 [191]
  บรูไน 288,051 157 [192][193]
  คอซอวอ 273,852 3,206 [194]
  แอลจีเรีย 271,719 6,881 [195][196]
  ไนจีเรีย 266,675 3,155 [197]
  ซิมบับเว 264,685 5,686 [198][199]
  อุซเบกิสถาน 253,009 1,637 [200]
  โมซัมบิก 233,417 2,243 [201]
  ลาว 218,077 671 [202]
  อัฟกานิสถาน 214,880 7,892 [203]
  ไอซ์แลนด์ 209,191 260 [204]
  คีร์กีซสถาน 206,888 2,991 [205]
  เอลซัลวาดอร์ 201,785 4,230 [206]
  ตรินิแดดและโตเบโก 191,350 4,387 [207][208]
  มัลดีฟส์ 186,435 313 [209][210]
  กานา 171,653 1,462 [211]
  นามิเบีย 171,222 4,090 [212]
  ยูกันดา 170,602 3,632 [213][214]
  จาเมกา 154,786 3,536 [215][216]
  กัมพูชา 138,733 3,056 [217]
  รวันดา 133,194 1,468 [218][219]
  แคเมอรูน 124,983 1,971 [220][221]
  มอลตา 118,524 835 [222]
  บาร์เบโดส 107,466 588 [223]
  แองโกลา 105,384 1,934 [224]
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  96,212 1,464 [225]
  เซเนกัล 88,997 1,971 [226]
  มาลาวี 88,638 2,686 [227]
  โกตดิวัวร์ 88,325 834 [228]
  ซูรินาม 82,495 1,404 [229]
  นิวแคลิโดเนีย 80,058 314 [230]
  เฟรนช์พอลินีเชีย 78,488 649 [231]
  เอสวาตีนี 74,627 1,425 [232]
  กายอานา 73,162 1,298 [233]
  เบลีซ 70,782 688 [234]
  ฟีจี 68,918 883 [235][236]
  มาดากัสการ์ 68,236 1,424 [237]
  เจอร์ซีย์[AZ] 66,391 161 [238]
  ซูดาน 63,993 5,046 [239][240]
  มอริเตเนีย 63,617 997 [241][242]
  กาบูเวร์ดี 63,473 413 [243]
  ภูฏาน 62,666 21 [244]
  ซีเรีย[BA] 57,423 3,163 [245]
  บุรุนดี 53,740 15 [246]
  กวม 51,179 413 [37][247]
  เซเชลส์ 50,937 172 [248]
  ทรานส์นีสเตรีย[BB] 49,186 1,192 [249]
  กาบอง 48,981 306 [250]
  อันดอร์รา 47,974 159 [251]
  ปาปัวนิวกินี 46,842 670 [252]
  กือราเซา 45,798 301 [253]
  อารูบา 44,114 287 [254]
  แทนซาเนีย 42,973 846 [255][256]
  โตโก 39,487 290 [257]
  สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์[BC] 38,851 2,927 [258]
  กินี 38,462 467 [259][260]
  บาฮามาส 38,084 844 [261][262]
  ไอล์ออฟแมน[AZ] 38,008 116 [263]
  เกิร์นซีย์[AZ] 35,326 67 [264]
  หมู่เกาะแฟโร 34,658 28 [265][104]
  เลโซโท 34,490 706 [266]
  เฮติ 34,228 860 [267]
  มาลี 33,144 743 [268]
  หมู่เกาะเคย์แมน 31,472 37 [269]
  เซนต์ลูเชีย 30,052 409 [270][271]
  เบนิน 28,014 163 [272]
  โซมาเลีย[BD] 27,334 1,361 [273]
  สหพันธรัฐไมโครนีเซีย 26,080 64 [274]
  สาธารณรัฐคองโก 25,192 389 [275][276]
  หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ 24,919 130 [277]
  หมู่เกาะโซโลมอน 24,575 153 [278][279]
  ซานมารีโน 24,132 125 [280]
  ติมอร์-เลสเต 23,428 138 [281]
  บูร์กินาฟาโซ 22,056 396 [282][283]
  ลิกเตนสไตน์ 21,464 87 [284]
  ยิบรอลตาร์ 20,550 113 [285]
  เกรเนดา 19,693 238 [286][287]
  เบอร์มิวดา 18,860 165 [288]
  ซูดานใต้ 18,368 138 [289][290]
  ทาจิกิสถาน 17,786 125 [291][292]
  อิเควทอเรียลกินี 17,130 183 [293]
  ตองงา 16,814 12 [294]
  โมนาโก 16,749 67 [295]
  ซามัว 16,737 31 [296]
  สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ 16,081 17 [297][298]
  โดมินิกา 15,760 74 [299]
  นิการากัว 15,697 245 [38][300]
  จิบูตี 15,690 189 [301]
  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 15,367 113 [302]
  อับคาเซีย 15,292 230 [303]
  หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา 13,839 41 [304]
  แกมเบีย 12,626 372 [305]
  วานูอาตู 12,016 14 [306]
  กรีนแลนด์ 11,971 21 [307][104]
  เยเมน 11,945 2,159 [308]
  ซินต์มาร์เติน 11,030 92 [309]
  เอริเทรีย 10,189 103 [310]
  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 9,611 124 [311]
  ไนเจอร์ 9,513 315 [312]
  กินี-บิสเซา 9,350 176 [313]
  คอโมโรส 9,109 160 [314]
  แอนติกาและบาร์บูดา 9,106 146 [315]
  อเมริกันซามัว 8,329 34 [316]
  ไลบีเรีย 8,090 294 [317]
  ชาด 7,820 194 [318]
  เซียร์ราลีโอน 7,762 125 [319][320]
  หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 7,305 64 [321]
  นอร์เทิร์นไซปรัส 7,139 33 [322]
  หมู่เกาะคุก 7,062 2 [323][324]
  เซนต์คิตส์และเนวิส 6,598 46 [325]
  หมู่เกาะเติกส์และเคคอส 6,565 38 [326][327]
  เซาตูเมและปรินซีปี 6,562 80 [328]
  ปาเลา 5,999 9 [329]
  นาอูรู 5,393 1
  คิริบาส 5,025 24 [330][331]
  สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์[BC] 4,723 437 [332]
  โซมาลีแลนด์ 4,608 311 [333][334]
  แองกวิลลา 3,904 12 [335]
  มาเก๊า 3,514 121 [336]
  วาลิสและฟูตูนา 3,427 7 [337][338]
  แซงปีแยร์และมีเกอลง 3,426 2 [339]
  เซาท์ออสซีเชีย[BE] 3,339 60+ [303]
  ตูวาลู 2,779
  สาธารณรัฐอาร์ทซัค 2,751 31 [303]
  เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา 2,166 [340][341]
  หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ 1,923 [342]
  โบแนเรอ 1,586 17 [343]
  มอนต์เซอร์รัต 1,403 8 [344]
  นีอูเอ 747
  สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี[BF] 732 42 [345]
  แอนตาร์กติกา 58 0 [346]
  นครรัฐวาติกัน 26 0 [347]
  ซินต์เอิสตาซียึส 20 0 [348]
  ซาบา 7 0 [349]
  บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี 5 0 [350][351]
  โตเกเลา 5 0
  หมู่เกาะพิตแคร์น 4
  อ่าวกวนตานาโม 2 0 [352]
พาหนะระหว่างประเทศ 
  เรือยูเอสเอส ทีโอดอร์รูสเวลต์[BG] 1,102 1 [353][354]
  เรือชาร์ลเดอโกล[BH] 1,081 0 [355]
  เรือไดมอนด์พรินเซส[BI] 712 14 [356][357]
  เรือคอสตาแอตแลนติกา 148 0 [358][359]
  เรือเกร็กมอร์ติเมอร์[BJ] 128 1 [360][361]
  เรือเอ็มเอส ซานดัม[BK] 13 4 [363][364]
  เรือคอรัลพรินเซส[BL] 12 3 [365]
  เรือซีดรีมวัน[BM] 9 0 [366][367]
  เรือฮาเอ็นเอลเอ็มเอส ดลแฟง[BN] 8 0 [368][369]
ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
 หมายเหตุ 
  1. ประเทศ ดินแดน รวมถึงเขตอำนาจรัฐเหนือเรือที่ชักธงของตน การโอนสิทธิในที่ดินระหว่างประเทศ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าพบผู้ติดเชื้อ แต่ละกรณีอาจมีความแตกต่างทางด้านสัญชาติ ในบางประเทศอาจครอบคลุมถึงหลายพื้นที่ตามที่ระบุไว้
  2. รายงานเฉพาะจำนวนผู้ป่วยยืนยันแล้ว จำนวนผู้ป่วยจริงอาจสูงกว่าที่รายงาน แต่ไม่สามารถยืนยันจำนวนดังกล่าวได้[34] เกณฑ์การรายงานและความสามารถในการทดสอบนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
  3. ยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดอาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้น เนื่องจากความถี่ของการอัปเดตข้อมูลในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน
  4. รวมกรณีบนเรือสำราญ แกรนด์พรินเซส ซึ่งเทียบท่าที่รัฐแคลิฟอร์เนีย และไม่รวมกรณีจาก ดินแดนโพ้นทะเลของสหรัฐ
  5. ไม่ใช่ทุกรัฐหรือดินแดนโพ้นทะเลที่รายงานข้อมูลผู้รักษาหาย
  6. กรณีผู้ป่วยรวมถึงกรณีจากการวินิจฉัยทางคลินิก ผู้รักษาหายและเสียชีวิต รวมถึงการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้น และผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวจากการกักกัน เป็นไปตามวิธีปฏิบัติของ CDC[36]
  7. กรณีของเรือยูเอสเอส ทีโอดอร์ รูสเวลต์ ปัจจุบันเทียบท่าอยู่ที่กวม รายงานแยกจากกรณีของประเทศ แต่รวมอยู่ในรายงานของกองทัพเรือสหรัฐ
  8. รวมกรณีที่มีการวินิจฉัยทางคลินิกและกรณีเสียชีวิต ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมาในจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลหูเป่ย์ และไม่รวมกรณีในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง, มาเก๊า และไต้หวัน
  9. ไม่รวม 1,268 กรณีไม่แสดงอาการซึ่งอยู่ภายใต้การสังเกตอาการโดยแพทย์ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน
  10. กรณีไม่แสดงอาการไม่ถูกรายงานก่อนวันที่ 31 มีนาคม
  11. ไม่รวมกรณีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ 448 ราย ภายใต้การดูแลของแพทย์ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2563
  12. การทดสอบการติดเชื้อสงวนไว้สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น รวมกรณีในจังหวัดโพ้นทะเลคือ เฟรนช์เกียนา, กัวเดอลุป, มาร์ตีนิก, มายอต, เรอูนียง, แซ็ง-บาร์เตเลมี และ แซ็ง-มาแต็ง และไม่รวมอาณานิคมโพ้นทะเลคือ เฟรนช์พอลินีเชีย, นิวแคลิโดเนีย, แซ็งปีแยร์และมีเกอลง
  13. จำนวนผู้รักษาหายรวมเฉพาะผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันและจำนวนผู้เสียชีวิตรวมทั้งจากโรงพยาบาลและจากสถานพักฟื้น (ESMS: établissements sociaux et médico-sociaux)
  14. หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ไม่ได้รายงานจำนวนผู้รักษาหายครบทุกรัฐ
  15. ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 มีการวินิจฉัยผลการติดเชื้อเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงเท่านั้น[50][51]
  16. ไม่รวมกรณีจากดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน และ เขตสังกัดของพระมหากษัตริย์ ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร
  17. ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม รัฐบาลสหราชอาณาจักรไม่ได้เผยแพร่จำนวนผู้รักษาหาย ข้อมูลของวันที่ 22 มีนาคม รายงานผู้รักษาหาย 135 ราย[54]
  18. รวมกรณีในดินแดน ไครเมีย และ เซวัสโตปอล ซึ่งถูกรัสเซียผนวกในปี 2557 แต่นานาชาติยังคงรับรองเป็นดินแดนของยูเครน
  19. ไม่รวมกรณีบนเรือสำราญ ไดมอนด์พรินเซส ซึ่งถูกแบ่งแยกเป็น "กรณีบนยานพาหนะระหว่างประเทศ" กรณีเสียชีวิตหนึ่งรายบนเรือนั้นไม่ได้ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลรัสเซีย[56][57][58]
  20. ไม่รวมกรณีผู้ป่วยยืนยัน จากการตรวจแอนติบอดีในซีรัม
  21. รวมกรณีจากดินแดนปกครองตนเอง เซวตา และ เมลียา
  22. ไม่รวมกรณีบนเรือสำราญ ไดมอนด์พรินเซส ซึ่งถูกแบ่งแยกเป็น "กรณีบนยานพาหนะระหว่างประเทศ" ผู้ติดเชื้อจำนวน 10 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงผู้เสียชีวิต 1 ราย บันทึกไว้โดยรัฐบาลออสเตรเลีย
  23. รวมกรณีบนเรือสำราญเอ็มวี อาร์ตาเนีย ซึ่งมีรายงานผู้ป่วยโดยหน่วยงานของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย[63]
  24. แยกรายงานกรณีจากกลุ่มประเทศองค์ประกอบของเนเธอร์แลนด์คือ อารูบา, กือราเซา และ ซินต์มาร์เติน
  25. แยกรายงานกรณีของเขตเทศบาลพิเศษคือ ซาบา, ซินต์เอิสตาซียึส และ โบแนเรอ
  26. รัฐบาลของเนเธอร์แลนด์ (RIVM) ซึ่งรับผิดชอบประเทศองค์ประกอบด้วย ไม่สรุปจำนวนผู้รักษาหาย[68]
  27. เนื่องจากภาวะขาดแคลน การทดสอบการติดเชื้อถูกจำกัดเฉพาะในกรณีที่มีอาการรุนแรง จำนวนกรณีรวมถึงที่มีการวินิจฉัยทางคลินิกและการเสียชีวิตตั้งแต่ 9 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา
  28. ไม่รวมกรณีในดินแดน ไครเมีย และ เซวัสโตปอล ซึ่งถูกรัสเซียผนวกในปี 2557 โดยนานาชาติยังรับรองเป็นดินแดนของยูเครน
  29. ไม่รวมกรณีของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์
  30. รวมถึงดินแดนเขตพิเศษของเกาะอีสเตอร์
  31. วันที่ 29 เมษายน 2563 รัฐบาลชิลีเริ่มแจ้งจำนวนผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการแยกจากจำนวนผู้ป่วยที่ยืนยันอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน กรณีผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด (ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่) จะรวมอยู่ในรายงานอย่างเป็นทางการ
  32. กระทรวงสาธารณสุขชิลี พิจารณารายงานจำนวนผู้รักษาหายจากผู้ป่วยยืนยันที่ติดเชื้อมาแล้ว 14 วันไม่ว่าผู้นั้นจะยังมีอาการป่วยหรือยังมีผลทดสอบเป็นบวกต่อไวรัส โดยหักออกเฉพาะจำนวนผู้เสียชีวิตเท่านั้น
  33. จำนวนผู้เสียชีวิต รายงานเฉพาะกรณีที่มีผลตรวจเชื้อไวรัสเป็นบวกเท่านั้น
  34. รวมกรณีจากดินแดนที่เป็นข้อโต้แย้ง ที่ราบสูงโกลัน และไม่รวมกรณีจากรัฐปาเลสไตน์
  35. จำนวนผู้เสียชีวิตยังรวมถึงกรณีผู้ป่วยที่ไม่ได้ทดสอบหาเชื้อ และกรณีในบ้านพักคนชราที่สันนิษฐานว่าเสียชีวิตจาก COVID-19
  36. แม้ว่าจะพบผู้ป่วยที่ให้ผลการตรวจเป็นบวกอีกจำนวนมากในสวิสเซอร์แลนด์ แต่ตัวเลขที่รายงานในที่นี้เป็นเพียงเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วเท่านั้น
  37. แยกกรณีจากหมู่เกาะแฟโร และ กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเขตการปกครองตนเองของเดนมาร์ก
  38. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2563 ถึง 1 เมษายน เกณฑ์สำหรับการเข้าตรวจสอบผลติดเชื้อ มีเพียงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและบุคลากรทางสาธารณสุขเท่านั้นที่สามารถเข้ารับการตรวจสอบได้ ช่วงเวลาก่อนหน้าและหลังจากนั้น การตรวจสอบเชื้อเป็นโดยทั่วไปรวมทั้งผู้มีอาการน้อยและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย[102]
  39. การทดสอบกรณีที่สงสัยว่าติดเชื้อ ถูกระงับชั่วคราวทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2563 เพื่อเน้นความพยายามเพิ่มขึ้น ไปที่ผู้ที่มีความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยที่รุนแรง และภาวะแทรกซ้อน
  40. ไม่รวมกรณีในคอซอวอ ซึ่งเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างกัน
  41. ไม่รวมกรณีผู้ป่วยในดินแดน อับคาเซีย และ เซาท์ออสซีเชีย ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐที่มีการรับรองอย่างจำกัด
  42. ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2563 การตรวจสอบผลติดเชื้อของผู้ที่มีอาการปกติถูกยกเลิก และสงวนไว้สำหรับบุคลากรทางสาธารณสุขและผู้ป่วยเฉียบพลันในกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น
  43. กระทรวงสาธารณสุขแห่งนอร์เวย์ ระบุว่ามีผู้ติดเชื้อในนอร์เวย์มากกว่าตัวเลขที่รายงาน สันนิษฐานว่าตัวเลขที่ไม่ได้แสดงจะสูงกว่าเนื่องจากการจำกัดการทดสอบ อย่างไรก็ตาม จำนวนการทดสอบทั้งหมดต่อประชากร 1 คน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 ค่อนข้างสูง[125]
  44. ประมาณการจำนวนผู้ติดเชื้อตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมจากแพทย์เวชปฏิบัติ 40% มีผู้ป่วย 20,200 รายตามหลักเกณฑ์ "corona code" R991, จำนวนในตารางรวมทั้งกรณีตรวจสอบพบเชื้อและกรณีตามเกณฑ์วินิจฉัย corona code ของสถาบันการสาธารณสุขนอร์เวย์ (FHI)
  45. รวมกรณีจากหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งเป็นเขตการปกครองตนเองของฟินแลนด์[127]
  46. จำนวนผู้หายป่วยเป็นค่าประมาณตามรายงานกรณีผู้ป่วยที่ได้รับอย่างน้อยสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และไม่มีข้อมูลการติดตามอื่น ๆ เกี่ยวกับโรคนี้ ยังไม่ทราบจำนวนผู้หายป่วยที่แน่ชัด เนื่องจากมีผู้ป่วยเพียงเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[128]
  47. รวมกรณีดินแดนที่มีข้อพิพาทเวสเทิร์นสะฮารา ในส่วนที่ควบคุมโดยโมร็อกโก และไม่รวมดินแดนในส่วนของรัฐโดยพฤฒินัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี
  48. รวมกรณีบนเรือ เอ็มเอส แบรมาร์
  49. รวมกรณีในแอโครเทียรีและดิเคเลีย และไม่รวมกรณีในนอร์เทิร์นไซปรัส
  50. นับรวมกรณีที่รายงานโดยดินแดนปกครองตนเองทรานส์นีสเตรียที่เป็นข้อพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐมอลโดวา ในขณะที่กรณีที่รายงานโดยสาธารณรัฐมอลเดเวียพรีดเนสโตรวี ไม่รวมอยู่ด้วย
  51. รวมกรณีของเรือสำราญในแม่น้ำไนล์ ริเวอร์ อะนูเคต ที่เมืองลักซอร์
  52. 52.0 52.1 52.2 เป็นดินแดนปกครองตนเอง เขตสังกัดของพระมหากษัตริย์ ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร
  53. ไม่รวมกรณีจากดินแดนที่มีข้อพิพาท ที่ราบสูงโกลัน
  54. ยกเว้นกรณีที่รายงานโดยดินแดนปกครองตนเองทรานส์นีสเตรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐมอลโดวา
  55. 55.0 55.1 กรณีของดินแดนที่ไม่ได้รับการรับรอง สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์ และ สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์ ไม่ถูกนับรวมกับจำนวนของแคว้นโดเนตสค์และลูฮันสค์ของยูเครน
  56. ไม่รวมจำนวนของรัฐโดยพฤตินัย โซมาลีแลนด์
  57. กรณีผู้ป่วยในรัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเซาท์ออสซีเชีย ไม่ถูกนับรวมกับกรณีของจอร์เจีย
  58. กรณีผู้ป่วยในรัฐโดยพฤฒินัย สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ไม่ถูกนับรวมกับกรณีของโมร็อกโก
  59. แม้เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส ทีโอดอร์รูสเวลต์ จะเทียบท่าอยู่ที่กวม แต่ได้แยกการรายงานกรณีผู้ติดเชื้อ
  60. เรือบรรทุกเครื่องบิน ชาร์ลเดอโกล ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ได้แยกการรายงานกรณีผู้ติดเชื้อ
  61. กรณีเรือสัญชาติอังกฤษ ไดมอนด์พรินเซส ได้ถูกกักกันอยู่ในน่านน้ำญี่ปุ่น และดูแลจัดการผู้โดยสารอยู่ภายในเรือโดยรัฐบาลญี่ปุ่น กรณีนี้จึงไม่รวมอยู่ในการนับจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างเป็นทางการของรัฐบาลญี่ปุ่น หรือสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลก แบ่งแยกกรณีเป็น "กรณีบนยานพาหนะระหว่างประเทศ"
  62. แม้เรือ'เกร็กมอร์ติเมอร์ จะเทียบท่าอยู่ที่ประเทศอุรุกวัย แต่ได้แยกการรายงานกรณีผู้ติดเชื้อ
  63. กรณีเรือเอ็มเอส ซานดัม จอดอยู่ในน่านน้ำนอกชายฝั่งชิลีหลังถูกปฏิเสธการเข้าเทียบท่าตั้งแต่ 14 มีนาคม เรือเอ็มเอส รอตเทอร์ดัม มาสมทบกับเรือเอ็มเอส ซานดัม เพื่อให้การช่วยเหลือในวันที่ 26 มีนาคม ทั้งสองลำแสดงความประสงค์ที่จะผ่านคลองปานามา แต่ถูกปฏิเสธไม่มีท่าเรือที่แยกเฉพาะใดให้เทียบท่า[362] จำนวนกรณีบนเรือทั้งสองไม่นับรวมกับกรณีของชาติใด ๆ
  64. กรณีพบผลตรวจเชื้อผู้โดยสารบนเรือ คอรัลพรินเซส เป็นบวก ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2563 แต่ไม่มีท่าเรือที่แยกเฉพาะใดให้เทียบท่า จำนวนกรณีบนเรือไม่นับรวมกับกรณีของชาติใด ๆ
  65. จำนวนกรณีบนเรือ ซีดรีมวัน ปัจจุบันไม่ถูกนับรวมกับกรณีของชาติใด ๆ
  66. กรณีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรือดำน้ำ ดลแฟง (HMLMS Dolfijn) ถูกรายงานขณะที่เรืออยู่ในน่านน้ำระหว่างสกอตแลนด์และเนเธอร์แลนด์ ไม่ชัดเจนว่า สถาบันสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ (RIVM) รวมกรณีเหล่านี้ในการนับรวมในรายงานหรือไม่ และเนื่องจาก RIVM ไม่ได้รายงานจำนวนผู้รักษาหาย สำหรับกองทัพเนื่องจากความกังวลใน ความมั่นคงในการปฏิบัติการ จึงสันนิษฐานว่าไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับจำนวนผู้รักษาหาย

ในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยที่ผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกจำนวนมากมีความเชื่อมโยงกับตลาดค้าอาหารทะเลหฺวาหนานมาก่อน ชี้ให้เห็นว่าไวรัสดังกล่าว "น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากสัตว์"[370] ไวรัสที่ก่อให้เกิดการระบาดนั้นรู้จักกันในชื่อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสใหม่ที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับไวรัสโคโรนาในค้างคาว[371] ไวรัสโคโรนาในลิ่น[372] และไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง[373] โดยเชื่อว่าไวรัสอาจมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาวในสกุลค้างคาวมงกุฎ[374]

อาการแรกสุดมีรายงานในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในบุคคลที่ไม่ได้มีการสัมผัสกับตลาดค้าอาหารทะเลหฺวาหนานหรืออีก 40 คนที่เหลือของกลุ่มผู้มีอาการครั้งแรกจากไวรัส[375][376] ขณะที่ 2 ใน 3 ของกลุ่มแรกนี้พบว่ามีความเชื่อมโยงกับตลาดสดซึ่งค้าสัตว์มีชีวิตแห่งนี้[375][377][378][379]

องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 30 มกราคม[7] โดยเทดรอส อัดเฮนอม ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ยังคงกล่าวชื่นชมการตอบสนองของประเทศจีนต่อไวรัส เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ว่า "เป็นการหลีกเลี่ยงการมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย" แม้ว่าโรคจะมีศักยภาพในการแพร่ภายในท้องถิ่นในบริเวณอื่น ๆ ของโลกด้วยก็ตาม[380]

ในช่วงเริ่มแรก จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ เจ็ดวันครึ่ง[381] ในช่วงต้นและกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ไวรัสเกิดการแพร่กระจายไปยังมณฑลอื่น ๆ ของประเทศจีน ผ่านการโยกย้ายของประชากรในช่วงตรุษจีน และเนื่องจากนครอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางการขนส่งในประเทศจีน ผู้ติดเชื้อจึงเดินทางไปได้อย่างรวดเร็วทั่วประเทศ[382]

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลกรายงานว่า จากการที่ผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศจีนลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศอิตาลี ประเทศอิหร่าน และประเทศเกาหลีใต้ ทำให้จำนวนผู้ป่วยรายใหม่นอกประเทศจีนเพิ่มสูงกว่าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศจีนเป็นครั้งแรก[383] นอกจากนี้ยังมีรายงานการพบในเด็ก ซึ่งพบได้ "น้อยมาก" ด้วย[12] จากรายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ป่วยที่อายุ 19 ปี และต่ำกว่าเพียงร้อยละ 2.4 จากจำนวนผู้ป่วยทั่วโลก[384]

การวิเคราะห์วิทยาการระบาดของการระบาดทั่ว ทำให้องค์การอนามัยโลกและหลายรัฐบาลยอมรับว่าเหตุนี้เป็นการระบาดทั่วครั้งแรก ที่สามารถควบคุมได้อย่างน้อยในหลายภูมิภาคของโลก[385]

ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งตรงกับวันสิ้นปี รายงานจำนวนผู้เสียชีวิต ทั่วโลก รายงานผู้เสียชีวิตที่ 5,453,867 ราย[386]ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งตรงกับวันสิ้นปี รายงาน จำนวนผู้เสียชีวิต ทั่วโลก รายงานผู้เสียชีวิต 6,962,397 ราย[387]ในระยะเวลาสองปีระหว่าง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีผู้เสียชีวิต 1,508,530 ราย

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567 ซึ่งตรงกับ วันมหาสงกรานต์ มีผู้เสียชีวิตรวม 7,010,681 ราย

การเสียชีวิต

แก้

ผู้ที่เสียชีวิตจากโรค มีระยะเวลาตั้งแต่การพัฒนาอาการของโรคโควิด-19 ไปจนถึงแก่ชีวิตนั้นมีช่วงอยู่ระหว่าง 6 ถึง 41 วัน โดยมีมัธยฐานอยู่ที่ 14 วัน[12]

ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 7,900 คน จากโควิด-19[3] จากข้อมูลของ NHC ประเทศจีนพบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ประมาณร้อยละ 80 ของผู้เสียชีวิตพบว่าเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 75 มีภาวะทางสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจหลอดเลือด[388]

มีการยืนยันผู้เสียชีวิตรายแรกในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 ในนครอู่ฮั่น[389] ส่วนผู้เสียชีวิตนอกประเทศจีนรายแรกเกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์[390][391][392][393] และผู้ป่วยนอกเอเชียรายแรกเกิดขึ้นในกรุงปารีส[394] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้เสียชีวิตมากกว่าสิบสองรายนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เกิดขึ้นในประเทศอิหร่าน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศอิตาลี[395][396][397] วันที่ 13 มีนาคม มีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 40 ประเทศและดินแดน ในทุกทวีป (ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา)[398]

แผนภาพ

แก้

อาการและอาการแสดง

แก้
อาการ[382] %
ไข้ 87.9%
ไอแห้ง 67.7%
ล้า 38.1%
มีเสมหะ 33.4%
หายใจลำบาก 18.6%
ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดในข้อ 14.8%
เจ็บคอ 13.9%
ปวดศีรษะ 13.6%
หนาวสะท้าน 11.4%
คลื่นไส้หรืออาเจียน 05.0%
คัดจมูก 04.8%
อาการท้องร่วง 03.7%
ไอเป็นเลือด 00.9%
การคั่งในเยื่อตา 00.8%
 
อาการของโควิด-19
 
หยุดการแพร่เชื ้อโรค

อาการของโรคโควิด-19 นั้นไม่เจาะจงและผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการหรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น ไข้ ไอ ล้า หายใจลำบาก หรือปวดกล้ามเนื้อ โดยอาการทั่วไปและความชุกแสดงไว้ดังตาราง[382]

การพัฒนาต่อไปของโรคอาจนำไปสู่การปอดบวม กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ และเสียชีวิตได้ ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการ ซึ่งให้ผลการทดสอบที่ยืนยันว่าติดเชื้อแต่ไม่มีอาการแสดง ดังนั้น นักวิจัยจึงได้ออกคำแนะนำว่าบุคคลที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว ควรมีการติดตามและทดสอบการติดเชื้ออย่างใกล้ชิด[403][404][405][375]

ระยะฟักตามปกติ (เวลาระหว่างที่ได้รับเชื้อและมีอาการเกิดขึ้น) มีช่วงตั้งแต่ 1 ถึง 14 วัน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 5 วัน[406][407] อย่างไรก็ตาม มีการรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อรายหนึ่งที่มีระยะฟักถึง 27 วัน[408]

สาเหตุ

แก้

การแพร่เชื้อ

แก้
วีดีโออภิปรายค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐานและอัตราป่วยตายในบริบทของการระบาดทั่วของโรคโควิด-19

การแพร่เชื้อหลักนั้นเป็นการแพร่ผ่านละอองเสมหะ (droplets) ที่บุคคลขับออกมา เช่น เมื่อไอหรือจาม[409][410][9] ละอองเสมหะจะค้างอยู่ในอากาศเป็นช่วงสั้น ๆ เท่านั้น แต่อาจคงอยู่ต่อได้บนพื้นผิวที่เป็นโลหะ แก้ว หรือพลาสติก[411] รายละเอียดของไวรัสโควิด-19 นั้นไม่มีเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และมีการสันนิษฐานว่ามันนั้นคล้ายไวรัสโคโรนาอื่น ซึ่งสามารถอยู่รอดได้นานถึงเก้าวันที่อุณหภูมิห้อง[412] สารฆ่าเชื้อที่ใช้บนพื้นผิวอาจใช้สาร เช่น เอทานอล 62–71% บนพื้นผิวเป็นเวลาหนึ่งนาที[412]

องค์การอนามัยโลกระบุว่าความเสี่ยงของการแพร่จากบุคคลที่ไม่มีอาการนั้น "ต่ำมาก" และการส่งผ่านอุจจาระนั้นก็ "ต่ำ"[413] แต่การวิเคราะห์การติดเชื้อในประเทศสิงคโปร์และเมืองเทียนจิน ประเทศจีน ได้เปิดเผยว่าการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในหลายคนอาจแพร่ผ่านคนที่เพิ่งติดเชื้อไวรัส และยังไม่ได้เริ่มแสดงอาการ การค้นพบนี้หมายความว่า การแยกกักบุคคลเมื่อเริ่มต้นรู้สึกป่วยนั้นมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่คาดไว้[414]

ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (จำนวนเฉลี่ยของบุคคลที่บุคคลที่ติดเชื้อมีแนวโน้มจะแพร่ใส่) สำหรับการแพร่เชื้อระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ของไวรัสอยู่ที่ประมาณ 2.13[415] ถึง 4.82[416][417] ซึ่งคล้ายกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV)[418]

วิทยาไวรัส

แก้

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) เป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงสายพันธุ์ใหม่ ผู้ป่วยสายรายแรกที่ถูกแยกมีอาการปอดบวมที่เชื่อมกับกลุ่มของผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจในอู่ฮั่น เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[373]

SARS-CoV-2 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ SARS-CoV แรกเริ่ม[419] โดยมีแนวคิดว่ามีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ (zoonotic) การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม เปิดเผยว่ากลุ่มพันธุกรรมของไวรัสโคโรนากับสกุลเบตาไวรัสโคโรนา ในสกุลย่อยซาร์เบโคไวรัส (เชื้อสาย B) ร่วมกับไวรัสโคโรนาสองสายพันธุ์ที่ได้จากค้างคาว พบว่ามีความเหมือนกันในระดับจีโนมทั้งหมดร้อยละ 96 กับไวรัสโคโรนาตัวอย่างอื่น (BatCov RaTG13)[420][382] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นักวิจัยชาวจีนพบว่า มีความแตกต่างของกรดอะมิโนเพียงตัวเดียวในลำดับจีโนมบางอย่าง ระหว่างไวรัสที่พบในตัวลิ่นและจากมนุษย์ ซึ่งหมายความว่า ตัวลิ่น อาจเป็นพาหะขั้นกลางของไวรัส[421]

การวินิจฉัย

แก้

การติดเชื้อไวรัสนั้นสามารถวินิจฉัยเป็นการชั่วคราวบนพื้นฐานของอาการ โดยการยืนยันการติดเชื้อในท้ายที่สุดแล้วจะใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (rRT-PCR) จากสิ่งคัดหลั่งที่ติดเชื้อ (ความไวร้อยละ 71) และการใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT scan) (ความไวร้อยละ 98)[422]

การทดสอบไวรัส

แก้

องค์การอนามัยโลกเผยแพร่เกณฑ์วิธีการทดสอบอาร์เอ็นเอสำหรับ SARS-CoV-2 มาหลายฉบับ โดยฉบับแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม[423][424][425][426] ซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับแบบตามเวลาจริง[427] การทดสอบสามารถทำได้โดยใช้ตัวอย่างจากระบบหายใจหรือเลือด[428] และโดยทั่วไป ผลจะพร้อมใช้ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงจนถึงเป็นวัน[429][430]

บุคคลที่ถือว่ามีความเสี่ยง หากมีการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดภายใน 14 วันก่อนหน้า หรือมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ จะมีตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจลำบาก ส่วนตัวชี้วัดอื่น ๆ ได้แก่ ล้า อาการปวดกล้ามเนื้อ ภาวะเบื่ออาหาร มีเสมหะ และเจ็บคอ[431]

การถ่ายภาพ

แก้

สมบัติการถ่ายภาพแบบการถ่ายภาพรังสีและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ได้รับการอธิบายในผู้คิดเชื้อจำนวนจำกัด[432] สมาคมรังสีวิทยาอิตาลีกำลังรวบรวมข้อมูลออนไลน์ระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการถ่ายภาพที่นำไปสู่การค้นพบผู้ติดเชื้อยืนยัน[433] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการทับซ้อนกับการติดเชื้ออื่น เช่น Adenoviridae การถ่ายภาพโดยไม่มีการยืนยันโดยวิธี PCR จึงถูกใช้ยืนยันการป่วยโรคโควิด-19 อย่างจำกัด[432]

การป้องกัน

แก้
 
อธิบายวิธีการหยุดการแพร่ของเชื้อโรค

คำแนะนำในการป้องกัน ได้แก่ การรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือเมื่อเหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก หรือปากด้วยมือที่ไม่ได้ล้าง ไอและจามใส่กระดาษชำระและทิ้งกระดาษชำระนั้นลงถังขยะโดยตรง และ (สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแล้ว) สวมหน้ากากในที่สาธารณะ[434][435][436] มาตรการการทิ้งระยะทางสังคมก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่แนะนำเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดด้วย[437][438]

รัฐบาลหลายแห่งแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น ไปยังประเทศและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด[439] ในประเทศจีนมีการห้ามการค้าและการบริโภคสัตว์ป่าด้วย[440]

สำหรับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่ต้องดูแลบุคคลอื่น อาจดำเนินการตามข้อระวังมาตรฐานการติดเชื้อ (infected standard precautions) ข้อระวังการสัมผัส (contact precautions) และข้อระวังทางอากาศ (airborne precautions) โดยแนะนำให้ป้องกันดวงตา[441]

ผู้สัมผัสโรค (contact tracing) เป็นวิธีการที่สำคัญสำหรับหน่วยงานสาธารณสุข ในการกำหนดแหล่งของการติดเชื้อ และป้องกันการแพร่ต่อของเชื้อ[442]

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ นั้นกำลังถูกเผยแพร่ไป เช่น การล้างจมูก การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก และการกินกระเทียม ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสแต่อย่างใด[443]

การล้างมือ

แก้

มีการแนะนำให้ล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ (CDC) แนะนำให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้บ่อยครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเข้าห้องน้ำหรือเมื่อมือสกปรกอย่างเห็นได้ชัด ก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากไอหรือจาม นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมให้ใช้สารล้างมือที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์อย่างน้อยร้อยละ 60 โดยปริมาตร เมื่อไม่สามารถใช้สบู่และน้ำได้[434] องค์การอนามัยโลกยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก หรือปากเมื่อไม่ได้ล้างมือด้วย[435][444]

การเว้นระยะทางสังคม

แก้

การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) รวมถึงการควบคุมการติดเชื้อ มีจุดมุ่งหมายในการชะลอการแพร่ระบาดของโรค ด้วยการลดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคลให้น้อยลง วิธีการนี้ประกอบด้วย การกักด่าน การจำกัดการเดินทาง และการปิดสถานศึกษา สถานที่ทำงาน สนามกีฬา โรงภาพยนตร์ หรือศูนย์การค้า โดยบุคคลอาจใช้การทิ้งระยะทางสังคม โดยการอยู่แต่บ้าน จำกัดการเดินทาง หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด ไม่สัมผัสมือผู้อื่น และทิ้งระยะทางกายจากผู้อื่น[445][446][447] ขณะนี้หลายรัฐบาลกำลังสั่งการหรือแนะนำให้มีการทิ้งระยะทางสังคมในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด[448][449][450]

ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเรื้อรังรุนแรงจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการป่วยรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน โดย CDC ของสหรัฐแนะนำให้คนกลุ่มนี้หลีกเลี่ยงฝูงชนและอยู่แต่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดในระดับชุมชน[451]

อนามัยทางเดินหายใจ

แก้
 
ผู้คนสวมใส่ผ้าปิดจมูกในกว่างโจว

องค์การด้านอนามัยแนะนำให้ปิดปากและจมูกโดยการงอศอกเข้ามาปิด หรือใช้กระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม (ซึ่งกระดาษชำระนั้นควรกำจัดทิ่งในทันที)[435][452]

มีการแนะนำให้ใช้ผ้าปิดจมูกในผู้ที่อาจติดเชื้อ[453][454][455] เนื่องจากสามารถจำกัดปริมาณและระยะในการเดินทางของละอองเสมหะลงได้ เมื่อพูดตุย จาม และไอ[456] โดยองค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับเมื่อใดที่ควรใช้ผ้าปิดจมูกและควรใช้อย่างไร[457]

นอกจากนี้ยังมีการใช้ผ้าปิดจมูกสำหรับผู้ที่ดูแลบุคคลที่อาจเป็นโรคด้วย[455] นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพยังได้รับคำแนะนำให้สวมหน้ากากที่มีการป้องกันอย่างน้อยในระดับ N95 (ตามมาตรฐาน NIOSH), FFP2 (มาตรฐานสหภาพยุโรป) หรือเทียบเท่า นอกเหนือจากอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอื่น ๆ[455][ต้องการอ้างอิง]

แต่หน้ากากนั้นไม่ได้มีการแนะนำสำหรับคนส่วนใหญ่ โดยมีหลักฐานอย่างจำกัดว่า การสวมผ้าปิดจมูกในบุคคลที่ไม่ติดเชื้อนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ[455] แม้ว่าอาจช่วยให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าได้ ผ้าปิดปาก (Surgical masks) นั้นมีระดับการป้องกันต่ำที่สุด และได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้อื่นจากผู้สวมใส่เป็นหลัก หน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้สวมใส่เป็นทางเทคนิคเรียกว่า "เครื่องช่วยหายใจ" (respirators) แต่โดยทั่วไปแล้วจะเรียกว่า "หน้ากาก" (masks) โดยมีเพียงประเทศจีนเท่านั้น ที่มีการแนะนำให้ใช้หน้ากากในสาธารณชนที่มีสุขภาพดี[399][456][458] อย่างไรก็ตาม การใช้หน้ากากอย่างกว้างขวางก็ถูกใช้โดยคนที่มีสุขภาพดีในฮ่องกง[459] ประเทศญี่ปุ่น[460] ประเทศมาเลเซีย[461] และประเทศสิงคโปร์[462][463]

การกักตัว

แก้

การกักตนเอง (self-isolation) ที่บ้านนั้นเป็นที่แนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 และผู้ต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อ[464]

เป็นที่เชื่อกันว่าไวรัสได้ไปถึงจุดที่มีการระบาดในชุมชนในส่วนใหญ่ของโลก ซึ่งหมายความว่า ไวรัสจะแพร่กระจายในชุมชนที่สมาชิกที่ไม่ได้เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง หน่วยงานด้านสุขภาพแนะนำให้บุคคลมีการกักตนเอง หากบุคคลเหล่านั้นมีอาการไออย่างต่อเนื่อง หรือมีไข้สูง โดยระยะเวลาการกักตนเองควรใช้เวลาอย่างน้อย 14 วัน แต่ควรนานกว่านั้น[465] นอกจากนี้ บุคคลที่เพิ่งเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง หรือผู้ที่มีการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยโรคโควิด-19 ก็จะถูกเรียกร้องจากหน้วยงานให้ทำการกักตนเอง หรือทิ้งระยะทางสังคมเป็นระยะเวลา 14 วัน นับตั้งแต่เวลาที่ได้สัมผัสที่เป็นไปได้ล่าสุด[10][11][466]

บริการอนามัยแห่งชาติสหราชอาณาจักร (National Health Services) ได้แนะนำให้ผู้ที่กักตนเองที่บ้าน อยู่ให้ห่างจากผู้อื่นในบ้านเป็นระยะสองเมตร บุคคลที่กำลังกักตนเองควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่กำลังกักตนเองควรล้างมือเป็นประจำเพื่อไม่ให้เป็นแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นในบ้าน หรือบนพื้นผิวที่ผู้อื่นอาจจะสัมผัสได้ และตราบใดที่อาการไม่ได้แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ควรติดต่อกับบริการด้านสุขภาพ[464]

การวิจัยวัคซีน

แก้

ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีวัคซีนต้านโควิด-19 ได้ บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยหลายแห่งกำลังพัฒนาวัคซีนขึ้น โดยโครงการวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งมีการประสานงานโดยพันธมิตรเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด ได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนแก่ผู้สมัครที่เป็นไปได้จำนวนสามราย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะไม่มีการทดลองทางคลินิกก่อนปี พ.ศ. 2564[467][468]

การจัดการ

แก้

การระบาด

แก้
 
เป้าหมายของการบรรเทาชุมชน (1) ชะลอจุดสูงสุดของการระบาด (2) ลดภาระสูงสุดของสาธารณสุข ทำให้เส้นโค้งแบนลง (3) ลดจำนวนผู้ติดเชื้อและผลกระทบทางสุขภาพในภาพรวม[469][470]

กลยุทธ์พื้นฐานสองข้อในการควบคุมการระบาด คือ การยับยั้ง (containment) และ การบรรเทา (mitigation) การยังยั้งจะกระทำในระยะแรกของการระบาด และมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการติดตามและแยกผู้ติดเชื้อออก เพื่อหยุดโรคมิให้แพร่กระจายไปยังประชากรส่วนที่เหลือ เมื่อไม่สามารถยับยั้งการแพร่ของโรคได้อีกต่อไป จะมีการเปลี่ยนความพยายามไปเป็นการบรรเทาแทน โดยมาตรการจะถูกนำมาใช้เพื่อลดการแพร่และบรรเทาผลกระทบจากการระบาดต่อระบบสาธารณสุขและสังคม การรวมกันของทั้งมาตรการการยับยั้งและการบรรเทาอาจถูกนำมาใช้ไปพร้อมกัน[471]

ส่วนหนึ่งของการจัดการโรคระบาดติดเชื้อ คือการพยายามที่ลดลงจุดสูงสุดของการระบาด (epidemic peak) ลง เรียกว่า การทำให้เส้นโค้งการระบาดแบนลง (flattening the epidemic curve)[469] โดยสิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการบริการด้านสาธารณสุขที่กำลังจะพ่ายแพ้ และให้มีเวลาที่มากขึ้นในการพัฒนาวัคซีนและยารักษา[469]

การแทรกแซงที่ไม่ใช่ทางเภสัชภัณฑ์ที่อาจจัดการการระบาดได้ ประกอบด้วย มาตรการการป้องกันส่วนบุคคล เช่น การรักษาสุขอนามัยของมือ การสวมหน้ากากอนามัย และการกักตนเอง มาตรการทางชุมชนที่มุ่งเน้นไปที่การทิ้งระยะทางสังคม เช่น การปิดสถานศึกษา และการยกเลิกกิจกรรมที่ทำให้เกิดการรวมกันของฝูงชน การทำข้อตกลงของชุมชนเพื่อให้มีการส่งเสริมยอมรับ และมีส่วนร่วมในการแทรกแซงดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส[472]

การกระทำเหล่านี้รุนแรงมากขึ้นในประเทศจีน เมื่อความรุนแรงของการระบาดชัดเจนขึ้น เช่น มีการกักด่านเมืองทั้งเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากร 60 ล้านคนในมณฑลหูเป่ย์ และการห้ามการท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด[473] ขณะที่ประเทศอื่นก็มีการใช้มาตรการที่หลากหลาย เพื่อกำจัดการแพร่ของไวรัส ตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้มีการนำการตรวจคัดกรองมวลชน การกักด่านในท้องถิ่น และใช้การแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของบุคคลที่ได้รับผลกระทบมาใช้ สิงคโปร์ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ติดเชื้อที่ทำการกักตนเอง ในทางกลับกันก็มีการตั้งค่าปรับจำนวนมากสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเช่นกัน ไต้หวันเพิ่มการผลิตหน้ากาก และมีแนวทางการลงโทษสำหรับการกักตุนเวชภัณฑ์[474] ส่วนบางประเทศได้มีการกำหนดให้พลเมืองต้องรายงานอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต่อแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเพิ่งมีการเดินทางไปยังจีนมา[475]

การป่วย

แก้

ยังไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะกับไวรัสนี้ แต่อยู่ในระหว่างการพยายามพัฒนา ความพยายามในการบรรเทาอาการจึงอาจประกอบด้วย การรับประทานยาแก้ไข้ตามปกติ (ยาที่สามารถซื้อขายกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์)[476] การดื่มน้ำ และพักผ่อน[434] อาจต้องใช้การรักษาด้วยออกซิเจน การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และการช่วยหายใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ[477] ส่วนการใช้สเตียรอยด์อาจทำให้ผลลัพธ์ออกมาแย่ลง[478] และยังมีการตรวจสอบสารประกอบหลายชนิด ที่ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้สำหรับการรักษาไวรัสตัวอื่น เช่น ฟาวิพิราเวียร์, ไรบาวิริน, เรมเดซิเวียร์,[479] และกาลิเดซิเวียร์[480][481]

ประวัติ

แก้
 
กรณีผู้ป่วยในแต่ละประเทศ มาตราส่วนกึ่งเชิงลอการิทึม

มีหลายทฤษฎีว่าผู้ป่วยรายแรก (First case) หรือผู้ป่วยต้นปัญหา (Index Case) อาจเกิดที่ใด[482] กรณีที่เป็นที่ทราบกันครั้งแรกของผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ถูกตรวจสอบย้อนกลับไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน[483] การกล่าวอ้างที่ไม่ยืนยันในภายหลังได้อ้างถึงเอกสารรัฐบาลจีนที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยกรณีแรกเป็นชายอายุ 55 ปีที่ป่วยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[484]

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม กลุ่มแพทย์จากโรงพยาบาลกลางอู่ฮั่นนำโดย พญ. อ้าย เฟิน (艾芬) ได้เริ่มเผยแพร่การแจ้งเตือนเรื่อง "ไวรัสโคโรนา-คล้ายโรคซาร์ส" แพทย์ชาวจีนแปดคนถูกรัฐบาล จับกุมตัวในข้อหาแพร่ข่าวลือที่เป็นเท็จ รวมถึงนายแพทย์ หลี่ เหวินเลี่ยง (李文亮) ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร เหรินวู่ (人物) อ้าย เฟิน กล่าวว่าเธอถูกตำหนิหลังจากแจ้งผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของเธอเกี่ยวกับการพบกรณี ไวรัส-คล้ายโรคซาร์ส ในผู้ป่วยในเดือนธันวาคม[485]

ภายในเดือนถัดมา จำนวนผู้ป่วยกรณีไวรัสโคโรนาในมณฑลหูเป่ย์ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นสองร้อยคนก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีการรายงานผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ไม่ทราบสาเหตุจำนวนหนึ่งต่อหน่วยงานด้านสุขภาพในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์[486] ซึ่งทำให้เกิดการเริ่มต้นสอบสวนโรค[487] กรณีเหล่านี้ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับตลาดขายส่งอาหารทะเลหวฺหนาน ซึ่งขายสัตว์มีชีวิตด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าโรคจากไวรัสนี้เป็นโรครับจากสัตว์[488]

ในช่วงแรกของการระบาดจำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็นสองเท่าทุก 7 1/2 วัน[381] ในช่วงต้นและกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ไวรัสแพร่กระจายไปยังมณฑลอื่น ๆ ของจีน โดยอาจเกิดจากช่วงเวลาชุน-ยฺวิ่น หรือการเดินทางในช่วงเทศกาลตรุษจีน[382] เมื่อวันที่ 20 มกราคม จีนได้รายงานผู้ป่วยรายใหม่เกือบ 140 กรณีในหนึ่งวัน รวมถึงสองรายในนครปักกิ่ง และอีกหนึ่งรายในเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง[489] ข้อมูลอย่างเป็นทางการในภายหลังได้แสดงว่ามี 6,174 คนที่มีอาการป่วยแล้วภายในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563[490]

เมื่อวันที่ 10 มกราคมจากรายงานของทางการจีน องค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำการเดินทางเพื่อขอให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามแนวทาง "เพื่อลดความเสี่ยงโดยทั่วไปของการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน ขณะเดินทางในหรือจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (นครอู่ฮั่น)"[491] ในขณะที่ข้อสังเกตรูปแบบของการแพร่กระจายของไวรัสนั้นไม่ชัดเจน แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้ "การใช้การ จำกัดการเดินทางหรือการค้ากับจีน" เมื่อวันที่ 12 มกราคม ตามข้อมูลเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน ทาง WHO ระบุว่า "ในขั้นตอนนี้ไม่มีการติดเชื้อในหมู่คนทำงานด้านการดูแลสุขภาพ และไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามนุษย์มีการถ่ายทอดสู่มนุษย์"[492]

ในวันที่ 13 มกราคม กรณีผู้ติดเชื้อไวรัสที่ทราบกันเป็นครั้งแรกนอกประเทศจีนได้รับการยืนยันในประเทศไทย โดยเป็นกรณีนักเดินทางชาวจีน องค์การอนามัยโลกระบุว่าคาดว่าจะมีกรณีเช่นนี้และเรียกร้องให้ "มีการติดตามและเตรียมความพร้อมในประเทศอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง"[493] เมื่อวันที่ 20 มกราคมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนยืนยันว่า การติดเชื้อโรค COVID-19 จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ปรากฏขึ้นแล้ว[494] เมื่อวันที่ 24 มกราคม องค์การอนามัยโลก ได้ปรับปรุงคำแนะนำการเดินทาง โดยแนะนำการคัดกรองการผ่านเข้าออกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่ยังคงให้คำแนะนำต่อการจำกัดการเดินทาง[495] เมื่อวันที่ 27 มกราคม WHO ประเมินความเสี่ยงของโรค COVID-19 ว่า "สูงในระดับโลก"[496]

เมื่อวันที่ 30 มกราคม องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของโรคเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยเตือนว่า "ทุกประเทศควรเตรียมพร้อมสำหรับการกักกันโรค รวมถึงการเฝ้าระวังอย่างแข็งขัน การตรวจหาเชื้อแต่เนิ่น ๆ การแยกผู้ป่วยและการจัดการรายกรณี การติดตามการติดต่อของผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และการป้องกันการเพิ่มการแพร่กระจายโรค[7][497]

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เทดรอส อัดเฮนอม เตือนว่าไวรัสอาจกลายเป็น "โรคระบาดทั่ว (Pandemic)" เนื่องจากมีผู้ป่วยนอกประเทศจีนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก[380] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ WHO ได้เพิ่มการประเมินความเสี่ยงของการแพร่ระบาดไปทั่วโลกว่า "สูงมาก"[498]

ในวันที่ 11 มีนาคม องค์การอนามัยโลกได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า การระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "โรคระบาดทั่ว" หลังจากมีการติดต่อเชื้อในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่องช่วงเวลาหนึ่งในหลายภูมิภาคของโลก[385] ในวันที่ 13 มีนาคม WHO ได้ประกาศให้ยุโรปเป็นศูนย์กลางของการระบาดใหญ่ครั้งใหม่ หลังจากที่อัตราผู้ป่วยรายใหม่ในยุโรปสูงกว่าภูมิภาคอื่นของโลกนอกเหนือจากจีน[499] เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 จำนวนกรณีผู้ป่วยทั่วโลกที่อยู่นอกประเทศจีนมีจำนวนมากกว่าในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่[500] ในวันที่ 19 มีนาคม 2563 ประเทศจีนรายงานว่าไม่มีกรณีผู้ป่วยในประเทศกรณีใหม่ (ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเดินทางมาจากต่างประเทศ) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดการระบาด ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในอิตาลีมากกว่าในประเทศจีน[501]

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 นักวิทยาศาสตร์จีนได้รายงานว่า มากถึง 10% ของผู้ที่รักษาหายจากโรคติดเชื้อ COVID-19 และมีผลทดสอบการติดเชื้อเป็นลบ สามารถมีผลทดสอบการติดเชื้อเป็นบวกอีกครั้ง[502]

การตอบสนองระหว่างประเทศ

แก้

[380]การวิจัยการรักษา

แก้

หลายองค์กรทั่วโลกกำลังพัฒนาวัคซีน หรือทำการทดสอบยาต้านไวรัส โดยองค์กรที่กำลังพยายามอยู่ประกอบด้วย:

ผลกระทบ

แก้

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคม

แก้
 
การซื้อจากความตื่นตระหนกในการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสิงคโปร์และที่อื่น ๆ รวมถึงกระดาษชำระ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปังข้าว ผัก ยาฆ่าเชื้อ และแอลกอฮอล์

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเหตุให้เกิดการขาดแคลนอุปทานสินค้าในหลายภาคส่วนอันเนื่องมาจาก การใช้อุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับการระบาด, การซื้อจากความตื่นตระหนกและการหยุดชะงักของโรงงานและห่วงโซ่อุปทาน องค์การอาหารและยาของสหรัฐได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการขาดแคลนยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น และการหยุดชะงักของผู้ผลิตและจัดหาสินค้า[515] หลายท้องที่เช่นสหรัฐ[516], อิตาลี[517] และฮ่องกง[518] มีปรากฏการณ์การซื้อจากความตื่นตระหนกที่นำไปสู่ชั้นวางสินค้าอุปโภคจำเป็นในร้านขายของชำที่ว่างเปล่า เช่น อาหาร, กระดาษชำระ และน้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนอุปทานสินค้าตามมา[519] อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้รับคำเตือนโดยเฉพาะ เกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์[520] คุณ Tedros Adhanom ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกระบุว่า ความต้องการอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 100 เท่า และความต้องการนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสูงถึงยี่สิบเท่าของราคาปกติ และทำให้เกิดความล่าช้าในการจัดหาเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ประมาณสี่ถึงหกเดือน[521][522]

ผู้บริหารระดับจังหวัดจำนวนมากของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกให้ออกตำแหน่ง จากปัญหาการจัดการการกักกันโรคในภาคกลางของจีน ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงความไม่พอใจต่อหน่วยงานทางการเมืองในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคในภูมิภาคนั้น[523] นักวิจารณ์บางคนเสนอว่าการกล่าวร้องออกมาดัง ๆ ในเรื่องโรคอาจเป็นการประท้วงที่เกิดขึ้นไม่บ่อยต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน[524] นอกจากนี้การประท้วงในเขตการปกครองพิเศษของฮ่องกง มีความเข้มข้นเนื่องจากความกลัวการอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่[525] ไต้หวันก็แถลงแสดงความกังวลเกี่ยวกับการถูกรวมอยู่ในการห้ามการเดินทางใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเนื่องจาก "นโยบายจีนเดียว" และสถานะทางการเมืองที่ขัดแย้งกัน[526]

เนื่องจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้า การระบาดของไวรัสจึงเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก Agathe Demarais จากหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (EIU) ได้คาดการณ์ว่าตลาดจะยังคงมีความผันผวนจนกว่าภาพที่ชัดเจนจะปรากฏในผลของเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่า อัตราการล่มสลายทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคในครั้งนี้ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของโลกอาจเกินกว่าครั้งการระบาดของโรคซาร์สได้[527] ดร. Panos Kouvelis ผู้อำนวยการ "ศูนย์โบอิง" ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันในนครเซนต์หลุยส์ คาดการณ์ผลกระทบมากกว่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐในระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก ที่อาจกินเวลานานถึงสองปี[528] องค์การของประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (โอเปก) รายงานว่า "มีการโต้เถียงกัน" หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างหนักเนื่องจากความต้องการที่ลดลงจากจีน[529] ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกร่วงลงเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เนื่องจากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนอกจีนแผ่นดินใหญ่[530][531] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ดัชนีหุ้นของสหรัฐ หลายดัชนีรวมถึง แนสแด็ก-100, ดัชนี เอสแอนด์พี 500 และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมของดาวน์โจนส์ ติดลบมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2551 โดยดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 1,191 จุด ซึ่งมากที่สุดในการลดลงในหนึ่งวันนับตั้งแต่การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินใน พ.ศ. 2550-2551[532] ดัชนีทั้งสามลดลงกว่าร้อยละ 10 เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์[533] เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์บริษัทจัดอันดับเครดิต สโคปเรตติง (Scope Ratings) จากเยอรมัน ยืนยันการจัดอันดับเครดิตของจีน แต่ยังคงมุมมองเชิงลบ[534] หุ้นตกต่ำอีกครั้งตามความวิตกเรื่องไวรัสโคโรนา ซึ่งการร่วงของราคาที่มากที่สุดเกิดขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม 2563.[535] ทำให้มีหลายความคิดเห็นคาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย[536][537][538]

 
สภาพเกือบร้างของโถงผู้โดยสารขาเข้าที่ ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ในเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563

การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคที่ได้รับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดเนื่องจากการห้ามเดินทาง การปิดสถานที่สาธารณะ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว และการให้คำแนะนำของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับการระมัดระวังการท่องเที่ยวใด ๆ ทั่วโลก เป็นผลให้สายการบินจำนวนมากยกเลิกเที่ยวบินเนื่องจากความต้องการลดลงรวมถึงบริติชแอร์เวย์, ไชน่าอีสเทิร์น และควอนตัส ในขณะที่สายการบินภูมิภาคของอังกฤษ ฟลายบี (Flybe) ต้องปิดกิจการ[539] สถานีรถไฟและท่าเรือเฟอร์รีหลายแห่งก็ปิดตัวลงเช่นกัน[540] การแพร่ระบาดของโรคใกล้เคียงกับ ชุน-ยฺวิ่น หรือ ฤดูเดินทางแห่งเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ที่เกี่ยวข้องกับวันหยุดปีใหม่ของจีน เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฝูงชนจำนวนมาก ถูกยกเลิกโดยรัฐบาลระดับชาติและระดับภูมิภาครวมถึงงานเทศกาลปีใหม่ บริษัทเอกชนต่างก็ปิดร้านค้าและแหล่งท่องเที่ยวเช่น ดิสนีย์แลนด์ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ดิสนีย์แลนด์พาร์ก[541][542] กิจกรรมวันตรุษจีนและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งถูกปิด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงนครต้องห้ามในปักกิ่ง และงานประเพณีในวัดแบบดั้งเดิม[543] ใน 24 จาก 31 มณฑล, เขตเทศบาล และภูมิภาคของจีน เจ้าหน้าที่ได้ขยายวันหยุดปีใหม่จนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ โดยสั่งให้สถานที่ทำงานส่วนใหญ่ไม่เปิดทำการใหม่จนกระทั่งถึงวันนั้น[544][545] ภูมิภาคเหล่านี้คิดเป็น 80% ของจีดีพีของประเทศและ 90% ของการส่งออก[545] ฮ่องกงยกระดับการตอบสนองต่อโรคติดเชื้อให้อยู่ในระดับสูงสุด และประกาศภาวะฉุกเฉิน สั่งปิดโรงเรียนจนถึงเดือนมีนาคม และยกเลิกการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน[546][547]

แม้จะมีความชุกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงในภาคเหนือของอิตาลี และพื้นที่บริเวณนครอู่ฮั่น และความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่สูงขึ้นในทั้งสองพื้นที่ทำให้เกิดผลกระทบจากการขาดแคลนอาหารเฉียบพลัน มาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยจีนและอิตาลีต่อการกักตุนและการค้าผลิตภัณฑ์ที่สำคัญนั้นประสบความสำเร็จ โดยหลีกเลี่ยงการขาดแคลนอาหารเฉียบพลันที่มีการคาดว่าจะเกิดขึ้นในยุโรปและรวมทั้งในอเมริกาเหนือ ภาคเหนือของอิตาลีซึ่งมีการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญไม่ได้มีผลผลิตลดลงมาก แต่ราคาอาจเพิ่มขึ้นจากการค้าของผู้แทนจำหน่าย ชั้นวางอาหารเปล่าพบเพียงชั่วคราวแม้กระทั่งในนครอู่ฮั่น ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนได้ปล่อยโควตาสำรองเนื้อสุกร เพื่อให้มั่นใจว่าประชากรมีอาหารบริโภคที่เพียงพอ มีกฎหมายที่คล้ายกันในอิตาลีที่กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องเก็บสำรองในกรณีฉุกเฉิน[548][549]

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกนั้นปรากฏขึ้นในประเทศจีน ตามรายงานของสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ว่าเศรษฐกิจในประเทศจีนได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรกของ พ.ศ. 2563 อันเนื่องมาจากมาตรการของรัฐบาลในการกำจัดการระบาดของไวรัส โดยตัวเลขยอดขายปลีกลดลงถึง 20.5%[550]


ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Zoumpourlis V, Goulielmaki M, Rizos E, Baliou S, Spandidos DA (ตุลาคม 2020). "[Comment] The COVID‑19 pandemic as a scientific and social challenge in the 21st century". Molecular Medicine Reports. 22 (4): 3035–3048. doi:10.3892/mmr.2020.11393. PMC 7453598. PMID 32945405.
  2. "WHO-convened global study of origins of SARS-CoV-2: China Part". องค์การอนามัยโลก. 30 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WOM
  4. 4.0 4.1 "Coronavirus COVID-19 Global Cases by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University (JHU)". ArcGIS. Johns Hopkins CSSE. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  5. "Coronavirus disease (COVID-19) outbreak". who.int. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  6. "Coronavirus declared global health emergency". BBC News Online. 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV)". World Health Organization. 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
  8. "WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020". World Health Organization. 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  9. 9.0 9.1 "Getting your workplace ready for COVID-19" (PDF). World Health Organization. 27 February 2020.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Q&A on coronaviruses". World Health Organization (WHO). 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "Symptoms of Novel Coronavirus (2019-nCoV) | CDC". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 10 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Rothan HA, Byrareddy SN (February 2020). "The epidemiology and pathogenesis of coronavirus disease (COVID-19) outbreak". Journal of Autoimmunity: 102433. doi:10.1016/j.jaut.2020.102433.
  13. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษ). 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
  14. "Coronavirus: Shanghai neighbour Zhejiang imposes draconian quarantine". South China Morning Post. 6 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  15. Marsh S (23 February 2020). "Four cruise ship passengers test positive in UK – as it happened". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  16. 新型肺炎流行の中国、7億8000万人に「移動制限」 [China's new pneumonia epidemic 'restricted movement' to 780 million people] (ภาษาญี่ปุ่น). CNN.
  17. "Coronavirus Update: Masks And Temperature Checks In Hong Kong". Nevada Public Radio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  18. "Coronavirus Disease 2019 Information for Travel". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 3 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  19. Deerwester J, Gilbertson D. "Coronavirus: US says 'do not travel' to Wuhan, China, as airlines issue waivers, add safeguards". USA Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2020. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  20. "Coronavirus Live Updates: Europe Prepares for Pandemic as Illness Spreads From Italy". The New York Times. 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  21. "Coronavirus (COVID-19): latest information and advice". Government of the United Kingdom. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  22. "Coronavirus impacts education". UNESCO. 4 March 2020. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  23. "Here Comes the Coronavirus Pandemic – Now, after many fire drills, the world may be facing a real fire". The New York Times. 29 February 2020. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
  24. Krugman P (27 February 2020). "When a Pandemic Meets a Personality Cult". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.
  25. Young E (31 January 2020). "'This is racism': Chinese-Australians say they've faced increased hostility since the coronavirus outbreak began". Special Broadcasting Service.
  26. Iqbal N (1 February 2020). "Coronavirus fears fuel racism and hostility, say British-Chinese". The Observer. ISSN 0029-7712. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  27. "Coronavirus fears trigger anti-China sentiment across the globe". Global News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  28. Yeung J. "As the coronavirus spreads, fear is fueling racism and xenophobia". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  29. Darrach A (25 February 2020). "The new coronavirus and racist tropes". Columbia Journalism Review.
  30. "Fake Facts Are Flying About Coronavirus. Now There's A Plan To Debunk Them". NPR. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  31. Perper, Rosie (5 March 2020). "As the coronavirus spreads, one study predicts that even the best-case scenario is 15 million dead and a $2.4 trillion hit to global GDP". Business Insider – โดยทาง Yahoo!.
  32. Clamp, Rachel (5 March 2020). "Coronavirus and the Black Death: spread of misinformation and xenophobia shows we haven't learned from our past". The Conversation – โดยทาง Yahoo!.
  33. สรุปรายงานที่สำคัญทางระบาดวิทยา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  34. Lau, Hien; Khosrawipour, Veria; Kocbach, Piotr; และคณะ (March 2020). "Internationally lost COVID-19 cases". Journal of Microbiology, Immunology, and Infection [Wei Mian Yu Gan Ran Zia Zhi]. 53 (3): 454–458. doi:10.1016/j.jmii.2020.03.013. PMC 7102572. PMID 32205091.
  35. • “Situation reports”. WHO. • “Coronavirus COVID-19 Global Cases by Johns Hopkins CSSE”. Johns Hopkins University. • “Coronavirus Update (Live)”. worldometer.info.
  36. "Cases in U.S." CDC. 7 May 2020.
  37. 37.0 37.1 "COVID-19/Coronavirus Real Time Updates With Credible Sources in US and Canada | 1Point3Acres". coronavirus.1point3acres.com.
  38. 38.0 38.1 38.2 38.3 "Coronavirus COVID-19 Global Cases by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University (JHU)". ArcGIS. Johns Hopkins CSSE. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  39. 截至9月21日24时新型冠状病毒肺炎疫情最新情况 (ภาษาChinese (China)). National Health Commission. 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  40. "Home – Ministry of Health and Family Welfare – GOI". mohfw.gov.in (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  41. "info coronavirus covid-19". Gouvernement.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  42. "COVID-19 : bilan et chiffres clés en France". www.santepubliquefrance.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  43. "Corona-Karte Deutschland: COVID-19 live in allen Landkreisen und Bundesländern". Tagesspiegel (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  44. "Wie sich das Coronavirus in Ihrer Region ausbreitet" [How the coronavirus affects your region] (ภาษาเยอรมัน). Zeit Online. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  45. "Painel Coronavírus" (ภาษาโปรตุเกส). Ministry of Health (Brazil). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  46. "Brasil passa de 137 mil mortes por Covid-19; média móvel é de 748 na última semana". G1 (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  47. 新型コロナウイルス感染症の現在の状況と厚生労働省の対応について(令和2年9月22日版). Ministry of Health, Labour and Welfare (Japan) (ภาษาญี่ปุ่น). 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  48. "Coronavirus Disease-19, Republic of Korea". ncov.mohw.go.kr (ภาษาอังกฤษ). Ministry of health and welfare. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  49. 보도자료 [Press releases] (ภาษาเกาหลี). 질병관리본부 (KCDC).
  50. "Italy blasts virus panic as it eyes new testing criteria". AP NEWS. February 27, 2020.
  51. Perrone, Alessio (March 14, 2020). "How Italy became the ground zero of Europe's coronavirus crisis" – โดยทาง www.wired.co.uk.
  52. "COVID-19 ITALIA" [COVID-19 ITALY]. opendatadpc.maps.arcgis.com (ภาษาอิตาลี). Protezione Civile. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  53. "Ministero della Salute – Nuovo coronavirus". www.salute.gov.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  54. "Historic data". Public Health England. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  55. "Coronavirus (COVID-19) in the UK". coronavirus.data.gov.uk. Public Health England. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  56. "First death from coronavirus registered in Moscow". TASS. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  57. "О подтвержденных случаях новой коронавирусной инфекции COVID-2019 в России". Rospotrebnadzor. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  58. "Оперштаб заявил об отсутствии в России летальных исходов от коронавируса". RBC (ภาษารัสเซีย). 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  59. Оперативные данные. По состоянию на 22 сентября 10:30. Стопкоронавирус.рф (ภาษารัสเซีย). 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  60. "T.C Sağlık Bakanlığı Türkiye Genel Koronavirüs Tablosu". covid19.saglik.gov.tr. 22 September 2020.
  61. "La pandemia del coronavirus, en datos, mapas y gráficos". RTVE (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  62. "TRANG TIN VỀ DỊCH BỆNH VIÊM ĐƯỜNG HÔ HẤP CẤP COVID-19" (ภาษาเวียดนาม). BỘ Y TẾ (Ministry of Health). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  63. McGowan, Mark (2020-05-06). "WA COVID-19 update for Wednesday 6 May 2020". @MarkMcGowanMP (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.
  64. "Coronavirus (COVID-19) current situation and case numbers". Australian Government Department of Health. 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  65. "Información epidemiológica" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  66. "REPORTE DIARIO MATUTINO NRO 371 SITUACIÓN DE COVID-19 EN ARGENTINA" (PDF) (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  67. "首頁-衛生福利部疾病管制署" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Taiwan Centres for Disease Control. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  68. "Coronavirus in the Netherlands: the questions you want answered". Dutch News. 2020-03-12.
  69. "Actuele informatie over het nieuwe coronavirus (COVID-19)" (ภาษาดัตช์). RIVM. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  70. "Statistieken over het Coronavirus en COVID-19". allecijfers.nl. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  71. "اخبار کرونا ویروس" [Corona virus news]. Ministry of Health and Medical Education.
  72. "COVID-19 kills 178 more Iranians over past 24 hours". IRNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  73. "Covid-19 Mexico" (ภาษาสเปน). Instituciones del Gobierno de México. 18 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
  74. "Peta Sebaran" (ภาษาอินโดนีเซีย). COVID-19 Response Acceleration Task Force. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  75. Ministerstwo Zdrowia [@MZ_GOV_PL] (22 September 2020). "W ciągu doby wykonano ponad 22,5 tys. testów na #koronawirus" (ทวีต) (ภาษาโปแลนด์) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  76. "CORONAVIRUS (COVID-19)". covid19.minsalud.gov.co. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  77. "Bundesministerium für Inneres: Aktuelle Zahlen zum Corona-Virus" (ภาษาเยอรมัน). Innenministerium. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  78. "covid19 Ελλάδα". Υπουργείο Υγείας (ภาษากรีก). 11 August 2020.
  79. "Ponto de Situação Atual em Portugal" (ภาษาโปรตุเกส). Direção-Geral da Saúde. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  80. "Já se encontra disponível o relatório de situação de hoje, 22 de setembro" (ภาษาโปรตุเกส). Direção-Geral da Saúde. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  81. "Оперативна інформація про поширення коронавірусної інфекції 2019-nCoV" [Operational information on the spread of coronavirus infection 2019-nCoV] (ภาษายูเครน). Ministry of Healthcare (Ukraine). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  82. "МОЗ повідомляє". Ministry of Healthcare (Ukraine). 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020 – โดยทาง Facebook.
  83. "Casos confirmados COVID-19". Gobierno de Chile (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  84. "Covid-19 (Latest Updates)". Ministry of Health of Malaysia. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  85. "נגיף הקורונה בישראל - תמונת מצב כללית" [Corona virus in Israel]. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  86. "Coronavirus COVID-19". info-coronavirus.be (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  87. "COVID-19 - Epidemiologische situatie". Sciensano (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  88. "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)". ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
  89. "COVID-19 Outbreak". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  90. "Tracking every case of COVID-19 in Canada". CTV News. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  91. "Maladie à coronavirus (COVID-19) : Mise à jour sur l'éclosion" (ภาษาฝรั่งเศส - แคนาดา). Gouvernement du Canada. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  92. "COVID-19 | Onemocnění aktuálně od MZČR" (ภาษาเช็ก). en:Ministry of Health (Czech Republic). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  93. Ministry of Health (Peru) (21 September 2020). "Sala Situactional COVID-19 Perú" (ภาษาสเปน).
  94. "Minsa: Casos confirmados por coronavirus Covid-19 ascienden a 772 896 en el Perú (Comunicado N°247)". gob.pe (ภาษาสเปน - ละตินอเมริกา). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  95. "Current situation in Switzerland". Federal Office of Public Health. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
  96. "Cas d'infection au Sars-CoV-2 en Suisse". Tribune de Genève (ภาษาฝรั่งเศส - สวิส). สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
  97. 전국적인 전염병전파 및 치료상황 통보 [Nationwide spread of infectious diseases and notification of treatment status]. kcna.kp. 9 June 2022.
  98. "COVID-19 CASE BULLETIN". Department of Health (Philippines). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  99. "COVID-19 Tracker". Department of Health (Philippines). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  100. "COVID-19 Statistics in South Africa". sacoronavirus.co.za (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  101. Dr Zweli Mkhize [@DrZweliMkhize] (16 September 2020). "As of today, the total number of confirmed #COVID19 cases is 653 444, the total number of deaths is 15 705 and the total number of recoveries is 584 195" (ทวีต) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  102. name. "Epidemiologiske overvågningsrapporter om COVID-19". www.ssi.dk (ภาษาเดนมาร์ก). สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
  103. "Tal og overvågning af COVID-19" (ภาษาเดนมาร์ก). Sundhedsstyrelsen (Danish Health Authority). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  104. 104.0 104.1 104.2 "Overvågning af COVID-19" (ภาษาเดนมาร์ก). Statens Serum Institut (State Serum Institute). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  105. "Comunicate de presă". Ministry of Internal Affairs (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  106. "Comunicate de presă". Ministry of Health (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  107. "Coronavirus Disease (COVID-19) in HK". Hong Kong: Department of Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  108. "Antal fall av covid-19 i Sverige - data uppdateras 11:30 och siffrorna är tillgängliga 14:00". Public Health Agency of Sweden – Official statistics at arcgis (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 18 September 2020. Data updated daily at 11:30 [CEST]
  109. "COVID-19". covid19.rs. Ministry of Health (Serbia). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  110. "The daily epidemiological situation of registered infections of the emerging coronavirus in Iraq" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Health of Iraq. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020 – โดยทาง Facebook.
  111. "Updates on COVID-19 (Coronavirus Disease 2019) Local Situation". Ministry of Health (Singapore). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  112. "COVID-19 (Coronavirus Disease 2019)". Ministry of Health (Singapore). 21 September 2020.
  113. "COVID-19 – current cases". Ministry of Health (New Zealand). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  114. "Tájékoztató oldal a koronavírusról Aktualis". koronavirus.gov.hu. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  115. "করোনা ভাইরাস ইনফো ২০১৯". corona.gov.bd. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  116. "কোভিড-১৯ ট্র্যাকার | বাংলাদেশ কম্পিউটার কাউন্সিল (বিসিসি)" [COVID-19 Tracker]. covid19tracker.gov.bd. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  117. "Coronavirus in Slovakia". korona.gov.sk (ภาษาอังกฤษ). National Health Information Center. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  118. კორონავირუსის საქართველოში გავრცელების პრევენცია [Prevention of Coronavirus spread in Georgia] (ภาษาจอร์เจีย). Government of Georgia. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  119. "فيروس كورونا المستجد (كوفيد-١٩)". corona.moh.gov.jo. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  120. "Latest updates on COVID-19 (Coronavirus)". Department of Health (Ireland). 15 August 2020.
  121. "200 more cases of Covid-19 'deeply concerning', says Glynn". RTÉ News and Current Affairs. 15 August 2020.
  122. "COVID-19 Health Advisory Platform by Ministry of National Health Services Regulations and Coordination". covid.gov.pk. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  123. Ситуация с коронавирусом официально. coronavirus2020.kz (ภาษารัสเซีย). Kazinform. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  124. "Қазақстан Республикасы Денсаулық сақтау министрлігі" (ภาษาคาซัค). Kazakhstan Ministry of Healthcare. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  125. "Total COVID-19 tests performed per million people". Our World in Data.
  126. Nilsen AS, Skjetne OL, Sfrintzeris Y, Røset HH, Hunshamar C, Fraser S, Løkkevik O. "Live: Corona-viruset sprer seg i Norge og verden". VG Nett. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  127. "Åland Islands confirms first coronavirus cases, recommends quarantine for visitors from Finland". Yle. 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  128. Särkkä H (2020-04-01). "HUS:n ylilääkäri: Suomessa satoja koronasta parantuneita – vanhimmat yli 80-vuotiaita". Ilta-Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  129. "Varmistetut koronatapaukset Suomessa (COVID-19)". experience.arcgis.com (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  130. "Statistični pregled koronavirusa v Sloveniji". www.rtvslo.si. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  131. "Coronavirus disease COVID-19". Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  132. "Relevant information about Coronavirus (COVID-19)". Government of the Republic of Lithuania. 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  133. "14069 са общо доказаните у нас случаи на COVID-19 според Националната информационна система" (ภาษาบัลแกเรีย). Ministry of Health (Bulgaria). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  134. "COVID-19 in Bulgaria". สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  135. "Covid-19: 3,426 Recoveries in 24 Hours, A Record [ⴰⴼⵉⵔⵓⵙ "ⴽⵓⵕⵓⵏⴰ" : ⵜⵜⵓⵣⵎⵎⴻⵎⵏ 1.376 ⵓⵎⴷⵢⴰ ⴰⵎⴰⵢⵏⵓ ⴳ 24 ⵜⵙⵔⴰⴳⵜ ⵉⵣⵔⵉⵏ, ⴷ 3.426 ⵓⵎⴷⵢⴰ ⵏ ⵜⵊⵊⵉⵜ]". Maghreb Arabe Press. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  136. "Službena stranica Vlade". Croatian Institute of Public Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  137. "Coronavirus" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud Pública (Guatemala). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  138. "الجمهورية اللبنانية – وزارة اﻹعلام – الموقع الرسمي لمتابعة أخبار فيروس الكورونا في لبنان" (ภาษาอาหรับ). Lebanese Ministry of Information. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  139. "Situacion Nacional Covid-19" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud (Costa Rica). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  140. "Datos Oficiales". Bolivia Segura (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  141. "Ministère de la santé وزارة الصحة" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  142. "RESULTADO DE PRUEBAS PARA COVID-19 EN PUERTO RICO" (ภาษาสเปน). Departamento de Salud de Puerto Rico. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  143. "Puerto Rico COVID-19" (ภาษาสเปน). Departamento de Salud. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  144. "Infecciones por coronavirus – COVID-19". temas.sld.cu (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  145. "UAE CORONAVIRUS (COVID-19) UPDATES". UAE's national emergency crisis and disaster management authority. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  146. "Las cifras del COVID-19 en Ecuador" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  147. "Actualización de casos de coronavirus en Ecuador". Ministerio de Salud Pública. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  148. "Visualizador de casos coronavirus COVID-19 en Uruguay". Sistema Nacional de Emergencias (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  149. Ministerio de Salud de Panama [@MINSAPma] (21 September 2020). "Compartimos la actualización de datos sobre #COVID19 en nuestro país" (ทวีต) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  150. "Casos de Coronavirus COVID-19 en Panamá". Ministerio de Salud de la República de Panamá (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  151. А.Амбасэлмаа: Дөрвөн хүний шинжилгээнд коронавирус илэрч, нийт батлагдсан тохиолдол 297 боллоо. ikon.mn (ภาษามองโกเลีย). 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  152. "COVID-19 Dashboard" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Health and Population (Nepal). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  153. "नेपाल कोभिड-१९ ड्यासबोर्ड [Nepal COVID19 Monitor]". สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  154. В Беларуси 224 новых случая коронавируса в сутки и пять смертей. tut.by (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  155. "У Беларусі — 76 104 выпадкі захворвання на COVID-19. Выздаравелі 73 386 чалавек" [There are 76,104 cases of COVID-19 in Belarus. 73,386 people recovered]. Звязда (ภาษาเบลารุส). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  156. "Sākumlapa | Covid-19". covid19.gov.lv (ภาษาลัตเวีย). 11 August 2020.
  157. "COVID 19 Dashboard: Saudi Arabia" (ภาษาอาหรับ). وزارة الصحة - مركز القيادة والتحكم لكوفيد ١٩ - مركز العمليات الوطني للطوارئ الصحية [Ministry of Health (Saudi Arabia)]. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  158. "Azərbaycanda cari vəziyyət" (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  159. "CONTADOR OFICIAL COVID-19 EN PARAGUAY" (ภาษาสเปน). Ministry of Public Health and Social Welfare (Paraguay). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  160. "فايروس كورونا (COVID-19) في فلسطين" [Corona Virus (COVID-19) in Palestine]. corona.ps (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  161. "Covid-19 Updates". Ministry of Health (Bahrain). 20 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  162. "COVID-19 National epidemiological report – Sri Lanka". වසංගත රෝග විද්‍යා ඒකකය,සෞඛ්‍ය අමාත්‍යංශය (Epidemiology Unit, Ministry of Health). สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  163. "COVID 19 Updates .::. Home". corona.e.gov.kw. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  164. "COVID-19 Numbers". Dominican Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  165. "Publicaciones Oficiales". Ministerio de Salud Pública (Dominican Republic) (ภาษาสเปน). 20 April 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
  166. "Coronavirus: 25 new cases, one death announced on Tuesday". Cyprus Mail (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  167. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Surveillance Dashboard (Myanmar)". doph.maps.arcgis.com. ကျန်းမာရေးနှင့်အားကစားဝန်ကြီးဌာန [Ministry of Health and Sports]. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  168. "COVID-19 în Republica Moldova: situaţia la zi". gismoldova.maps.arcgis.com (ภาษามอลโดวา). สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
  169. "Information about Coronavirus disease COVID-19". Estonian Health Board. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  170. "Estadísticas Venezuela". MPPS COVID Patria (ภาษาสเปน). 20 September 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
  171. وزيرة الصحة تتابع مستجدات فيروس كورونا وتوجه بتذليل أي تحديات لسير العمل بالمستشفيات (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020 – โดยทาง Facebook.
  172. "البوابة الجغرافية لمراقبة انتشار فيروس كورونا في ليبيا". ncdc.org.ly (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  173. "الوضع الوبائي المحلي ليوم الجمعة السبت 11 أغسطس 2020م" (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  174. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". Ministry of Public Health Qatar. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  175. "የኢትዮጵያ የተቀናጀ የኮቪድ-19 መቆጣጠሪያ ስርዓት". covid19.et. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  176. Secretaría de Salud [@saludhn] (21 September 2020). "COMUNICADO No.197 del Sistema Nacional de Gestión de Riesgos (SINAGER)" (ทวีต) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  177. "DATOS ESTADÍSTICOS COVID-19" (ภาษาสเปน). Secretaria de Salud de Honduras. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  178. "Հաստատված դեպքերն ըստ օրերի – NCDC Armenia". สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  179. "COVID-19 in Bosnia and Herzegovina". Ministry of Civil Affairs of Bosnia and Herzegovina. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  180. "Covid-19 cases in Oman". Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  181. "Последни информации за КОВИД-19 и мерките за спречување на ширењето на Владата" [Latest information on COVID-19 and measures for prevention of spreading issued by the Government] (ภาษามาซิโดเนีย). Ministry of health (North Macedonia). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  182. "Real-time Coronavirus condition in North Macedonia". gdi.net (ภาษามาซิโดเนีย). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  183. @ZMPublicHealth (11 August 2020). "COVID19 update" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  184. "Ministry of Health Zambia" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  185. @MOH_Kenya (14 August 2020). "COVID-19 UPDATE" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  186. "Coronavirus Albania | Statistika" (ภาษาแอลเบเนีย). Agjencia Kombëtare e Shoqerisë së Informacionit. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  187. "COVID 19 CASE REPORT". Botswana Government. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  188. "COVID-19 Botswana Dashboard". covid19portal.gov.bw. Botswana Government. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  189. "Coronavirus: COVID-19". Government of Luxembourg. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  190. "Covid19 | Coronavirus Mauritius". covid19 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 4 August 2020.
  191. "Virus korona COVID 19". Government of Montenegro. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  192. "Ministry of Health – pressreleaseCOVID-19". www.moh.tgov.bn. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  193. "COVID-19 Hub". The Scoop. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  194. "COVID19 - Kosova" (ภาษาแอลเบเนีย). Ministry of Health (Kosovo). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  195. "COVID-19 : Carte épidémiologique" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministry of Health, Population, and Hospital Reform (Algeria). สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
  196. "Algeria COVID-19 Tracker". dz-covid19.com. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
  197. "NCDC Covid-19 Page". Nigeria Centre for Disease Control. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  198. "Zimbabwe COVID-19 Cases". covid19zw.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  199. @MoHCCZim (11 August 2020). "COVID-19 Update: As at 11 August 2020, Zimbabwe had 4 818 confirmed cases, including 1 544 recoveries and 104 deaths" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  200. "инфекцияси (COVID-19) тўғрисида нимани билиш керак" (ภาษาอุซเบก). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  201. "Início". COVID 19 - Fica Atento (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  202. ຄະນະສະເພາະກິດເພື່ອປ້ອງກັນ, ຄວບຄຸມ ແລະ ແກ້ໄຂການລະບາດ: ຂອງພະຍາດອັກເສບປອດ ຈາກເຊື້ອຈຸລະໂລກສາຍພັນໃຫມ່ (COVID-19) (ภาษาลาว). สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
  203. "Afghanistan Covid-19 Cases". Ministry of Public Health (Afghanistan). 15 August 2020.
  204. "COVID-19 á Íslandi – Tölfræði". www.covid.is (ภาษาไอซ์แลนด์). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  205. Информации (ภาษารัสเซีย). Ministry of Health (Kyrgyz Republic). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  206. "SITUACIÓN NACIONAL". Ministry of Health (El Salvador) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  207. "COVID-19 (Novel Coronavirus)". สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  208. "ArcGIS Dashboards". uwi.maps.arcgis.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.
  209. "Health Protection Agency Maldives - COVID-19 Statistics Dashboard". สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  210. "ކޮވިޑް-19 ކަވަރޭޖް. ދިވެހިރާއްޖެ ސިއްހީ ކުއްލި ނުރައްކަލުގެ ހާލަތުގައި" [Covid-19 Outbreak in Maldives]. Avas.
  211. "COVID-19 Updates". ghanahealthservice.org. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  212. "Ministry of Health and Social Services-Namibia" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-15 – โดยทาง Facebook.
  213. "MoH Uganda: COVID-19 Information Portal". covid19.gou.go.ug. Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  214. "Ministry of Health Uganda". 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  215. "COVID-19". Ministry of Health & Wellness, Jamaica. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  216. Christopher Tufton [@christufton] (14 August 2020). "COVID-19 UPDATE" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  217. ចំនួនករណីឆ្លងជំងឺកូវីដសរុប [Total number of cases of COVID-19] (ภาษาเขมร). Ministry of Health of Cambodia. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  218. "Coronavirus Disease COVID-19". Rwanda Biomedical Centre. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  219. @RwandaHealth (12 August 2020). "Ministry of Health | Rwanda" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  220. "STATISTIQUES COVID-19". covid19.minsante.cm (ภาษาฝรั่งเศส). 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020.
  221. "Point Statistiques Covid 19". Journal du Cameroun (ภาษาฝรั่งเศส). 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  222. "COVID-19 Malta - Data Dashboard". deputyprimeminister.gov.mt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  223. "COVID-19 Update: One-Year-Old Tests Positive". Barbados GIS. 12 August 2020.
  224. "Covid-19: Cinquenta e seis positivos, dois mortos e seis recuperados". angop.ao (ภาษาโปรตุเกสแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  225. "Situation Épidémiologique en RDC" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministère de la Santé. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  226. "Coronavirus : Riposte à l'épidémie : Tableau Récapitulatif des dons"" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministry of Health and Social Action (Senegal). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  227. "Covid 19 National Information Dashboard". Ministry of Health and Population, Malawi. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  228. "Ministère de la Santé et de l'Hygiène Publique" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  229. "COVID-19". COVID SURINAME (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  230. "Info coronavirus Covid-19". gouv.nc (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  231. "Coronavirus Covid-19". service-public.pf. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  232. Eswatini Government [@EswatiniGovern1] (11 August 2020). "Ministerial Statement: Minister of Health Lizzie Nkosi's #COVID19 update" (ทวีต) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  233. "Ministry of Public Health – Home". www.health.gov.gy. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  234. "Office of Director of Health Services" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  235. "COVID-19 UPDATES". Ministry of Health and Medical Services (Fiji). สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
  236. "Fiji records its first COVID-19 related death". Fijian Broadcasting Corporation (ภาษาNew Zealand English). 31 July 2020. สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
  237. "Situation Covid-19" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Public Health (Madagascar). 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  238. "Coronavirus (COVID-19) cases" (ภาษาอังกฤษ). States of Jersey. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  239. "وزارة الصحَّة الإتحاديَّة" [Federal Ministry of Health] (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  240. The official page of the Federal Ministry of Health, Sudan [@FMOH_SUDAN] (15 August 2020). "التقرير الوبائي ليوم الخميس 13 أغسطس 2020" (ทวีต) (ภาษาอาหรับ) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  241. "Status 11 August 2020" (ภาษาอาหรับ). Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  242. "النشرة اليومية حول حصيلة كورونا فيريس". Ministère de la santé (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  243. "COVID 19 — Corona Vírus". covid19.cv. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  244. "COVID-19 IN BHUTAN". བརྡ་དོན་དང་བརྒྱུད་འབྲེལ་ལྷན་ཁག། དཔལ་ལྡན་འབྲུག་གཞུང། [Ministry of Information and Communications, Royal Government of Bhutan]. สืบค้นเมื่อ 5 September 2020.
  245. "Health Ministry: 30 new Coronavirus cases registered, 2 patients pass away". Syrian Arab News Agency. 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  246. Burundi Government [@BurundiGov] (9 August 2020). "Burundi, 7 août 2020 : Mise à jour de la situation épidémiologique de la COVIDー19 avant et pendant la campagne de dépistage de masse" (ทวีต) (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 9 August 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  247. "JIC RELEASE NO. 265 - Cumulative Results: Twenty-five Test Positive for COVID-19; Profiles of Confirmed Cases; Updated DPHSS Medical Triage Phone Numbers". ghs.guam.gov. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  248. Laurence, Daniel (8 August 2020). "Seychelles back down to only 1 active COVID-19 case; testing capacity ramping up". Seychelles News Agency. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  249. Коронавирус: официальная информация по Приднестровью [Coronavirus: official information on Transnistria]. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  250. "Situations Épidémiologique au Gabon". Comité de Pilotage du Plan de Veille (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  251. "Actualitat coronavirus". www.govern.ad. Govern d'Andorra. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  252. "Official Covid-19 website". covid19.info.gov.pg. 10 August 2020. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  253. "COVID-19 Update: 33rd case reported". Curacao Chronicle. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  254. "Casonan di Corona Virus na Aruba pa 15 di Augustus 2020". Aruba Covid-19 (ภาษาปาเปียเมนโต). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  255. "Covid-19: Tanzania updates will resume after improvements at national laboratory". THECITIZEN (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  256. "Zanzibar confirms 29 new cases, plus 11 recoveries". ippmedia.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  257. "Coronavirus au Togo" (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  258. Новости | МИНИСТЕРСТВО ЗДРАВООХРАНЕНИЯ ДОНЕЦКОЙ НАРОДНОЙ РЕСПУБЛИКИ. mzdnr.ru (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  259. Agence Nationale de Sécurité Sanitaire [@anss_guinee] (11 August 2020). "COVID-19 Decompte des cas" (ทวีต) (ภาษาฝรั่งเศส) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  260. "Situation du coronavirus en Guinée" (ภาษาฝรั่งเศส). Agence Nationale de Sécurité Sanitaire. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  261. "COVID-19 Bahamas Dashboard". Ministry of Health (Bahamas). สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  262. "The Bahamas Ministry of Health" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  263. "Latest updates". Isle of Man Government. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
  264. Public Health Services. "COVID-19 Coronavirus – Testing results". www.gov.gg (ภาษาอังกฤษ). St Peter Port. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
  265. "Corona í Føroyum". Corona í Føroyum (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  266. "COVID-19 Statistics Lesotho". Ministry of Health Lesotho/Nacosec. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  267. "Visualisez en temps réel l'évolution du Coronavirus en Haïti". coronahaiti.org (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  268. "COMMUNIQUES DU MINISTERE DE LA SANTE ET DES AFFAIRES SOCIALES SUR LE SUIVI DES ACTIONS DE PREVENTION ET DE RIPOSTE FACE A LA MALADIE A CORONAVIRUS". www.sante.gov.ml (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  269. "Coronavirus (COVID-19)". Cayman Islands Government. 27 July 2020.
  270. SAINT LUCIA'S COVID-19 DASHBOARD, Ministry of Health and Wellness, 30 July 2020, สืบค้นเมื่อ 11 August 2020
  271. "BREAKING NEWS: Saint Lucia records 19th COVID-19 case" (Press release). Saint Lucia News Online. 4 June 2020. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
  272. "Coronavirus (Covid-19)". Gouvernement de la République du Bénin (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  273. "COVID-19 DASHBOARD, Somalia". moh.gov.so (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
  274. "MV Chief Mailo Returns to FSM After More Than One Year Abroad; One Isolated But Confirmed Case of COVID-19 on Board, Citizens Encouraged To Keep Distance From the Vessel & Quarantine Sites Until Further Notice". gov.fm. 2021-01-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-01-09.
  275. "Situation épidémiologique au 9 août 2020" (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  276. "MINISTERE DE LA SANTE, DE LA POPULATION, DE LA PROMOTION DE LA FEMME ET DE L'INTEGRATION DE LA FEMME AU DEVELOPPEMENT". www.sante.gouv.cg. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  277. "COVID-19". USVI Department of Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  278. "Solomon Islands: WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard". covid19.who.int. สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
  279. "BREAKING: Four More Positive COVID-19 Case". SolomonTimes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-27.
  280. "Nuovo caso di Covid-19 a San Marino: subito identificato e isolato". www.iss.sm. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
  281. "COVID-19: Timor-Leste rejects kazu foun, dahuluk dezde loron 15 Maiu" (ภาษาเตตุม). สืบค้นเมื่อ 4 August 2020.
  282. "Ministère de la Santé - Burkina Faso" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 June 2020 – โดยทาง Facebook.
  283. "TABLEAU DE BORD COVID-19" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministry of Health (Burkina Faso). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  284. "Ministerium für Gesellschaft" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  285. @GibraltarGov (12 August 2020). "Coronavirus information 12 August" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 13 August 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  286. "GIS - Government Information Service of Grenada". สืบค้นเมื่อ 18 June 2020 – โดยทาง Facebook.
  287. "Covid-19 update 15 may 2020". NOW Grenada. 30 July 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  288. "Novel Coronavirus (COVID-19)". www.gov.bm (ภาษาอังกฤษ). 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  289. @SouthSudanGov (8 June 2020). "South Sudan now has a cumulative total of 194 cases with 2 recoveries" (ทวีต) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 June 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  290. "Coronavirus disease (COVID-2019) situation reports". who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  291. "COVID-19. Дар Тоҷикистон шумораи гирифторони коронавируси нав ба 7912 нафар расид". Khovar. 12 August 2020.
  292. "КОРОНАВИРУС". 12 August 2020.
  293. "Covid 19 de Guinea Ecuatorial". AhoraEG (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
  294. Dreaver, Barbara (29 October 2021). "Tonga's Cabinet to meet after first Covid case arrives from NZ". 1 News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2021. สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.
  295. "CORONAVIRUS – Cinq nouveaux cas positifs supplémentaires". 11 August 2020.
  296. "Samoa records first positive Covid test result". Stuff. 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
  297. "Marshall Islands: WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard". covid19.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
  298. "Marshall Islands repatriation group has three Covid cases". RNZ. 19 November 2020. สืบค้นเมื่อ 19 November 2020.
  299. "Updates - Government of the Commonwealth of Dominica". dominica.gov.dm. สืบค้นเมื่อ 2 June 2020.
  300. "Minsa reporta 4,115 casos de Covid-19 y 128 muertes en Nicaragua". La Prensa (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  301. "Ministere de la Santé de Djibouti". สืบค้นเมื่อ 12 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  302. MSP Centrafrique [@MSPCentrafrique] (11 August 2020). "Communiqué de presse" (ทวีต) (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  303. 303.0 303.1 303.2 "Coronavirus live updates | Ban on entering and exiting Tbilisi lifted". OC Media (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  304. "Commonwealth Healthcare Corporation". chcc.gov.mp. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  305. "COVID19 – MINISTRY OF HEALTH" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  306. "Vanuatu PM declares Covid contained". RNZ. 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  307. "Coronavirus-ip nutaap siaruarnera malinnaaffigiuk" (ภาษาเดนมาร์ก).
  308. @YSNECCOVID19 (12 August 2020). "آخر إحصائيات انتشار فيروس #كورونا في #اليمن #معا_لمواجهة_كورونا" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  309. "Coronavirus Disease Update August 13th 2020". Government of Sint Maarten. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  310. "Announcement from the Ministry of Health". www.shabait.com. สืบค้นเมื่อ 7 August 2020.
  311. "St Vincent and the Grenadines Coronavirus (COVID-19) Report". Official website of the Government of Saint Vincent and the Grenadines. 10 August 2020. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  312. "Évolution du Coronavirus au Niger en temps réel – Coronavirus, Covid19" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  313. "INÍCIO". INFOCOVID-19 (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  314. "Stop Covid-19 Comores". Stop Coronavirus.km (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  315. "No New Cases Of Covid-19". สืบค้นเมื่อ 4 August 2020.
  316. "Covid-19 positive sailor in American Samoa port". Radio New Zealand. 21 December 2020. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  317. "National Public Health Institute of Liberia-NPHIL". สืบค้นเมื่อ 12 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  318. "Ministère de la Santé Publique du Tchad" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  319. "The Ministry of Information and Communication - Sierra Leone" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  320. "COVID-19 UPDATES". covid19.mic.gov.sl (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  321. "BVI Reports No Active Cases Of COVID-19". 5 August 2020. สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
  322. "KKTC Sağlık Bakanlığı". saglik.gov.ct.tr (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  323. "Cook Islands: WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard With Vaccination Data". World Health Organisation (ภาษาอังกฤษ). covid19.who.int. 3 December 2021. สืบค้นเมื่อ 6 December 2021.
  324. "COVID-19 - Te Marae Ira Cook Islands Ministry of Health". Cook Islands Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 6 December 2021.
  325. "GOVERNMENT OF ST. KITTS AND NEVIS – COVID – 19 UPDATES". สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  326. "TCI COVID-19 DASHBOARD 14 August 2020". TCI Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020 – โดยทาง Facebook.
  327. "TCI COVID-19 Dashboard". Ministry of Health, Agriculture, Sports and Human Services.
  328. "Situação Actual em São Tomé e Príncipe". สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  329. "Coronavirus Update (Live)". worldometer.info.
  330. Radio Kiribati. "Kiribati crew confirmed with Covid-19". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  331. Radio Kiribati. "Kiribati confirms second Covid-19 case". Facebook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  332. Информация о новой коронавирусной инфекции COVID19 » Министерство здравоохранения Луганской Народной Республики (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
  333. "COVID-19 DASHBOARD, Somalia". moh.gov.so (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  334. Maxamed, Khadar (5 July 2020). "Somaliland oo diiwaangelisay Kiisas Cusub oo Xannuunka Covid-19" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Wargeyska Dawan. สืบค้นเมื่อ 5 July 2020.
  335. "Results Negative for COVID-19 in Sudden Death Investigation; All Three Confirmed Cases Now". COVID-19: The Anguillian Response. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  336. "Special webpage against Epidemics". www.ssm.gov.mo. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  337. "Wallis and Futuna: WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard". covid19.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-27.
  338. "Second Covid-19 case in Wallis and Futuna". RNZ (ภาษาNew Zealand English). 2020-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-11-15.
  339. "Saint-Pierre et Miquelon : un "porteur sain", premier cas avéré de Covid-19". www.cnews.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.
  340. "COVID-19 Response Level Escalated to Level 2 RED – Ascension Island Government". สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
  341. "Arriving Passenger Tests Positive for COVID-19". St Helena Government (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-03-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
  342. "COVID-19 Public update 30 April 2020". Falkland Islands Government. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
  343. "Gezaghebber waarschuwt voor veslapping in corona preventie". Bonaire.nu (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
  344. "Covid-19 - Government of Montserrat". Government of Montserrat. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  345. "وزارة الصحة العمومية تؤكد استقرار في حالات الإصابة اليومية بفيروس كورونا". Sahara Press Service (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
  346. "Reportan brote de coronavirus en base chilena en la Antártida". infobae (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 2020-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.
  347. "Dichiarazione del Direttore della Sala Stampa della Santa Sede, Matteo Bruni, 06.06.2020". Officialthe Holy See website. สืบค้นเมื่อ 7 June 2020.
  348. "Coronavirus Update (COVID-19) Sint Eustatius May 5th 2020". The Government of Sint Eustatius. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020 – โดยทาง Facebook.
  349. "August 12, Covid-19 update". Saba News. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
  350. "In the Studio with Capt. Blizzard". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ). AFN Diego Garcia. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  351. "In the Studio with Capt. Blizzard". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ). AFN Diego Garcia. สืบค้นเมื่อ 2021-05-19.
  352. Affairs, This story was written by Naval Station Guantanamo Bay, Cuba Public. "Naval Station Guantanamo Bay Announces Positive COVID-19 Case". www.navy.mil (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
  353. "U.S. Navy COVID-19 Updates". Navy Live (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 April 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
  354. "USS Theodore Roosevelt resumes operations more than two months after COVID-19 outbreak began". The San Diego Union-Tribun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 June 2020.
  355. "Florence Parly s'exprime devant les députés de la commission de la Défense nationale et des forces armées". defense.gouv.fr. 17 April 2020.
  356. 国内感染者1万6395人 死者773人(クルーズ船除く)新型コロナ. nhk.or.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 20 May 2020.
  357. "How lax rules, missed warnings led to Japan's second coronavirus cruise-ship hot spot". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 9 May 2020.
  358. @ngs_ken_iryou (25 April 2020). 令和2年4月25日(土)18時現在、長崎県内の新型コロナウイルス感染症状況 (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  359. "Virus-hit Italian cruise ship leaves Nagasaki". The Japan Times. 31 May 2020.
  360. "Nearly 130, Including Australians, On Antarctic Cruise Ship Have Coronavirus". 10daily (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 April 2020.
  361. "El Sinae confirmó décimo fallecido y 528 casos positivos". radiouruguay.uy.
  362. "Statement Regarding Zaandam | Holland America Blog" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-01.
  363. "Deal is done: Cruise ship with sick passengers and sister ship will be allowed to dock in Florida". NBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  364. "Indonesian crew member of virus-hit Zaandam cruise ship dies in Florida". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 10 April 2020. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
  365. "Passengers on the Coral Princess are still trying to get home". CNN Travel. 8 April 2020. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
  366. "Seven COVID-19 Cases On SeaDream 1". Barbados Government Information Service. 14 November 2020. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.
  367. Hunter, Marnie; Oppmann, Patrick (17 November 2020). "SeaDream cancels remaining 2020 cruises following Covid outbreak". CNN. Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 19 November 2020.
  368. "Zr.Ms. Dolfijn breekt reis af vanwege corona - Nieuwsbericht - Defensie.nl". www.defensie.nl (ภาษาดัตช์). 30 March 2020.
  369. "Bemanning onderzeeboot Dolfijn na corona-besmetting weer uit isolatie". Noordhollands Dagblad (ภาษาเฟลมิช). สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
  370. Novel Coronavirus Pneumonia Emergency Response Epidemiology Team (17 February 2020). "The Epidemiological Characteristics of an Outbreak of 2019 Novel Coronavirus Diseases (COVID-19) in China". Zhonghua Liu Xing Bing Xue Za Zhi = Zhonghua Liuxingbingxue Zazhi (ภาษาจีน). 41 (2): 145–151. doi:10.3760/cma.j.issn.0254-6450.2020.02.003.
  371. Perlman S (February 2020). "Another Decade, Another Coronavirus". The New England Journal of Medicine. 382 (8): 760–762. doi:10.1056/NEJMe2001126. PMID 31978944.
  372. Wong MC, Cregeen SJ, Ajami NJ, Petrosino JF (February 2020). "Evidence of recombination in coronaviruses implicating pangolin origins of nCoV-2019". bioRxiv. doi:10.1101/2020.02.07.939207.
  373. 373.0 373.1 "Outbreak of severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2): increased transmission beyond China – fourth update" (PDF). European Centre for Disease Prevention and Control (ECDC). 14 February 2020. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  374. "Transmission of Covid-19 may have begun in November". Fiocruz.
  375. 375.0 375.1 375.2 Huang C, Wang Y, Li X, และคณะ (February 2020). "Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China". Lancet. 395 (10223): 497–506. doi:10.1016/S0140-6736(20)30183-5. ISSN 0140-6736. PMID 31986264.  
  376. Wang C, Horby PW, Hayden FG, Gao GF (February 2020). "A novel coronavirus outbreak of global health concern". Lancet. 395 (10223): 470–473. doi:10.1016/S0140-6736(20)30185-9. PMID 31986257.  
  377. Joseph A (24 January 2020). "New coronavirus can cause infections with no symptoms and sicken otherwise healthy people, studies show". STAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  378. Chan JF, Yuan S, Kok KH, To KK, Chu H, Yang J, และคณะ (February 2020). "A familial cluster of pneumonia associated with the 2019 novel coronavirus indicating person-to-person transmission: a study of a family cluster". Lancet. 395 (10223): 514–523. doi:10.1016/S0140-6736(20)30154-9. PMID 31986261.  
  379. Schnirring, Lisa (25 January 2020). "Doubts rise about China's ability to contain new coronavirus". CIDRAP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  380. 380.0 380.1 380.2 "WHO Head Warns of 'Potential Pandemic' after Initially Praising China's Response to Coronavirus". National Review. 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  381. 381.0 381.1 Li, Qun; Guan, Xuhua; Wu, Peng; Wang, Xiaoye; Zhou, Lei; Tong, Yeqing; Ren, Ruiqi; Leung, Kathy S. M.; Lau, Eric H. Y.; Wong, Jessica Y.; Xing, Xuesen (29 January 2020). "Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus-Infected Pneumonia". The New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2001316. ISSN 1533-4406. PMID 31995857.  
  382. 382.0 382.1 382.2 382.3 382.4 WHO-China Joint Mission (16–24 February 2020). "Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)" (PDF). World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  383. "WHO Director-General's opening remarks at the mission briefing on COVID-19 – 26 February 2020". World Health Organization. 26 February 2020.
  384. Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (Report). World Health Organization. 2020.
  385. 385.0 385.1 "WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 – 11 March 2020". World Health Organization. 11 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  386. total-deaths
  387. total-deaths
  388. "Coronavirus: Window of opportunity to act, World Health Organization says". BBC News. 5 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  389. "Coronavirus Death Toll Climbs in China, and a Lockdown Widens". The New York Times. 23 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  390. Holm, Phil; Moritsugu, Ken. "Where the virus has spread". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  391. Philippines, World Health Organization (1 February 2020). "A 44-year-old male is confirmed as the second person with Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in the Philippines. He passed away on 1 February 2020.pic.twitter.com/5a5tPWtvpc". @WHOPhilippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
  392. Ramzy, Austin; May, Tiffany (2 February 2020). "Philippines Reports First Coronavirus Death Outside China". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
  393. "Coronavirus updates: U.S., Japanese citizens die in Wuhan". NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  394. "Coronavirus Live Updates: First Death Outside Asia Reported in France". The New York Times. 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
  395. "Legislator from Iran's Qom alleges virus coverup". Al Jazeera. 24 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
  396. "코로나바이러스감염증-19 국내 발생 현황(일일집계통계, 9시 기준)". 24 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-05. สืบค้นเมื่อ 2020-03-01.
  397. "Coronavirus, sette morti in Italia, 229 contagi. Le vittime di oggi hanno tutte più di 80 anni". La Repubblica (ภาษาอิตาลี). 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
  398. Gumbrecht, Jamie (n.d.). "Pandemic: The World Health Organization says coronavirus is a "never before seen" outbreak". CNN. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  399. 399.0 399.1 399.2 399.3 疫情通报 (ภาษาจีน). National Health Commission of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
  400. 400.0 400.1 400.2 "Tracking coronavirus: Map, data and timeline". BNO News. 18 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  401. The Novel Coronavirus Pneumonia Emergency Response Epidemiology Team. The Epidemiological Characteristics of an Outbreak of 2019 Novel Coronavirus Diseases (COVID-19) – China, 2020. China CDC Weekly, 2020, 2(8): 113–122.
  402. Roser, Max; Ritchie, Hannah; Ortiz-Ospina, Esteban (4 March 2020). "Coronavirus Disease (COVID-19)". Our World in Data. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  403. Guan WJ, Ni ZY, Hu Y, Liang WH, Ou CQ, He JX, และคณะ (February 2020). "Clinical Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China". The New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2002032.
  404. Pan, Xingfei; Chen, Dexiong; Xia, Yong; Wu, Xinwei; Li, Tangsheng; Ou, Xueting; Zhou, Liyang; Liu, Jing (19 February 2020). "Asymptomatic cases in a family cluster with SARS-CoV-2 infection". The Lancet Infectious Diseases. 0. doi:10.1016/S1473-3099(20)30114-6. ISSN 1473-3099.
  405. "2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV)". Centers for Disease Control and Prevention. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
  406. "WHO COVID-19 situation report 29" (PDF). World Health Organization. 19 February 2020.
  407. "Q&A on coronaviruses (COVID-19): How long is the incubation period for COVID-19?". who.int. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  408. "Coronavirus incubation could be as long as 27 days, Chinese provincial government says". Reuters. 22 February 2020.
  409. "How COVID-19 Spreads". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  410. "UpToDate". uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  411. "Novel coronavirus (COVID-19) – Frequently asked questions – Alerts". health.nsw.gov.au. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  412. 412.0 412.1 Kampf G, Todt D, Pfaender S, Steinmann E (March 2020). "Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and their inactivation with biocidal agents". The Journal of Hospital Infection. 104 (3): 246–251. doi:10.1016/j.jhin.2020.01.022.  
  413. "Q&A on coronaviruses (COVID-19)". who.int. 23 February 2020.
  414. Ganyani, Tapiwa; Kremer, Cecile; Chen, Dongxuan; Torneri, Andrea; Faes, Christel; Wallinga, Jacco; Hens, Niel (2020-03-08). "Estimating the generation interval for COVID-19 based on symptom onset data". MedRxiv (preprint) (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1101/2020.03.05.20031815.
  415. Leung G, Wu J (27 January 2020). "Real-time nowcast and forecast on the extent of the Wuhan CoV outbreak, domestic and international spread" (PDF). Wuhan-coronavirus-outbreak AN UPDATE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  416. "中疾控分析九千新冠患者:老年男性风险大 R0为3.77". news.163.com. 13 February 2020.
  417. Yang Y, Lu Q, Liu M, Wang Y, Zhang A, Jalali N, Dean N, Longini I, Halloran ME, Xu B, Zhang X, Wang L, Liu W, Fang L (21 February 2020). "Epidemiological and clinical features of the 2019 novel coronavirus outbreak in China". medRxiv (preprint). doi:10.1101/2020.02.10.20021675.
  418. Riou, Julien; Althaus, Christian L. (23 January 2020). "Pattern of early human-to-human transmission of Wuhan 2019-NCoV". bioRxiv (preprint). doi:10.1101/2020.01.23.917351.
  419. Zhu, Na; Zhang, Dingyu; Wang, Wenling; Li, Xinwang; Yang, Bo; Song, Jingdong; Zhao, Xiang; Huang, Baoying; Shi, Weifeng; Lu, Roujian; Niu, Peihua (24 January 2020). "A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China, 2019". New England Journal of Medicine. United States. 382 (8): 727–733. doi:10.1056/NEJMoa2001017. ISSN 0028-4793. PMID 31978945.
  420. Zhou, Peng; Yang, Xing-Lou; และคณะ (23 January 2020). "Discovery of a novel coronavirus associated with the recent pneumonia outbreak in humans and its potential bat origin". bioRxiv: 2020.01.22.914952. doi:10.1101/2020.01.22.914952. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  421. Xiao K, Zhai J, Feng Y, Zhou N, Zhang X, Zou JJ, Li N, Guo Y, Li X, Shen X, Zhang Z (February 2020). "Isolation and Characterization of 2019-nCoV-like Coronavirus from Malayan Pangolins". bioRxiv (preprint). doi:10.1101/2020.02.17.951335.
  422. "CT provides best diagnosis for COVID-19". ScienceDaily. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  423. Laboratory testing of 2019 novel coronavirus (‎‎‎‎‎‎‎‎‎‎‎‎2019-nCoV)‎‎‎‎‎‎‎‎‎‎‎‎ in suspected human cases: interim guidance, 17 January 2020. World Health Organization. 17 January 2020. hdl:10665/330676. ISBN 9789240000971. License: CC BY-NC-SA 3.0.
  424. "Laboratory testing for coronavirus disease 2019 (‎COVID-19)‎ in suspected human cases: interim guidance, 2 March 2020". World Health Organization. 2 March 2020. hdl:10665/331329. WHO/COVID-19/laboratory/2020.4. License: CC BY-NC-SA 3.0.
  425. Schirring, Lisa; 2020 (16 January 2020). "Japan has 1st novel coronavirus case; China reports another death". CIDRAP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  426. "Laboratory testing for 2019 novel coronavirus (2019-nCoV) in suspected human cases: Interim guidance". World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  427. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Situation Summary". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
  428. "Real-Time RT-PCR Panel for Detection 2019-Novel Coronavirus". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 29 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  429. Brueck, Hilary (30 January 2020). "There's only one way to know if you have the coronavirus, and it involves machines full of spit and mucus". Business Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  430. "Curetis Group Company Ares Genetics and BGI Group Collaborate to Offer Next-Generation Sequencing and PCR-based Coronavirus (2019-nCoV) Testing in Europe". GlobeNewswire News Room. 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  431. "COVID-19 – History and exam". BMJ Best Practice. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  432. 432.0 432.1 Li Y, Xia L (March 2020). "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19): Role of Chest CT in Diagnosis and Management". AJR. American Journal of Roentgenology: 1–7. doi:10.2214/AJR.20.22954.
  433. "COVID-19 DATABASE | SIRM" (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  434. 434.0 434.1 434.2 "Prevention & Treatment". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 15 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2019. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  435. 435.0 435.1 435.2 "Advice for public". World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  436. "What to do if you are sick with 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV)". United States: Centers for Disease Control and Prevention. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  437. CDC (11 February 2020). "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  438. "Coronavirus (COVID-19) – 5 things you can do to protect yourself and your community – Public health matters". Government of the United Kingdom. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  439. "COVID-19 Information for Travel". United States: Centers for Disease Control and Prevention. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  440. "China bans trade, consumption of wild animals due to coronavirus". CNBC. 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  441. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". United States: Centers for Disease Control and Prevention. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  442. "Expert interview: What is contact tracing? – Public health matters". Government of the United Kingdom. สืบค้นเมื่อ 28 February 2020.
  443. "Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public: Myth busters". World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  444. "Coronavirus public information campaign launched across the UK". Government of the United Kingdom. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  445. "Advice for public". www.who.int. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  446. "Singapore: The Model for COVID-19 Response?". www.medpagetoday.com. 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  447. "What every American and community can do now to decrease the spread of the coronavirus" (PDF). CDC.
  448. Ivana Kottasová; Lindsay Isaac. "Italy shuts all schools over coronavirus outbreak". CNN. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  449. "Coronavirus (COVID-19): What is social distancing? – Public health matters". publichealthmatters.blog.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
  450. Pueyo, Tomas (12 March 2020). "Coronavirus: Why You Must Act Now". Medium. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  451. CDC (11 February 2020). "People at Risk for Serious Illness from COVID-19". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  452. Home. "Novel Coronavirus". Health Protection Surveillance Centre. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  453. "Severe Respiratory Disease associated with a Novel Infectious Agent". Hong Kong: Centre for Health Protection, Department of Health. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  454. "Updates on Wuhan Coronavirus (2019-nCoV) Local Situation". Singapore: Ministry of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  455. 455.0 455.1 455.2 455.3 "Advice on the use of masks the community, during home care and in health care settings in the context of the novel coronavirus (2019-nCoV) outbreak". World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
  456. 456.0 456.1 "2019-nCoV: What the Public Should Do". United States: Centers for Disease Control and Prevention. 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
  457. "Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public: When and how to use masks". World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
  458. "Coronavirus (COVID-19)". Australia: Department of Health. 21 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
  459. "As Hongkongers clamour for surgical masks, 25,000 stolen from warehouse". South China Morning Post. Hong Kong. 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  460. Takahashi R. "Amid virus outbreak, Japan stores scramble to meet demand for face masks". Japan Times. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  461. Harun HN, Teh AY, Solhi F (31 January 2020). "Demand for face masks, hand sanitisers soars". New Straits Times. Malaysia. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  462. munsan (31 January 2020). "Wuhan virus: Who needs to wear a mask and what's the proper way to wear it?". The Straits Times. Singapore. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  463. Chia RG. "These 12 Twitter posts show the insane queues for masks in Singapore, Shanghai and Hong Kong, which are all sold out". Business Insider Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-01. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  464. 464.0 464.1 "Stay at home: guidance for people with confirmed or possible coronavirus (COVID-19) infection". GOV.UK. Public Health England. 12 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  465. "Overview -Coronavirus (COVID-19)". nhs.uk. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
  466. CDC (11 February 2020). "COVID-19 Travel Precautions". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 6 March 2020.
  467. Kormann, Carolyn. "How Long Will It Take to Develop a Coronavirus Vaccine?". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  468. "Coronavirus vaccine: Development, timeline, and more". www.medicalnewstoday.com. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  469. 469.0 469.1 469.2 Anderson, R. M.; Heesterbeek, H.; Klinkenberg, D.; Hollingsworth, T. D. (March 2020). "How will country-based mitigation measures influence the course of the COVID-19 epidemic?". Lancet. doi:10.1016/S0140-6736(20)30567-5. A key issue for epidemiologists is helping policy makers decide the main objectives of mitigation—eg, minimising morbidity and associated mortality, avoiding an epidemic peak that overwhelms health-care services, keeping the effects on the economy within manageable levels, and flattening the epidemic curve to wait for vaccine development and manufacture on scale and antiviral drug therapies.
  470. Qualls, Noreen; Levitt, Alexandra; Kanade, Neha; Wright-Jegede, Narue; Dopson, Stephanie; Biggerstaff, Matthew; Reed, Carrie; Uzicanin, Amra; Levitt, Alexandra; Dopson, Stephanie; Frank, Mark; Holloway, Rachel; Koonin, Lisa; Rasmussen, Sonja; Redd, Stephen; de la Motte Hurst, Christopher; Kanade, Neha; Qualls, Noreen; Rainey, Jeanette; Uzicanin, Amra; Biggerstaff, Matthew; Jernigan, Daniel; Reed, Carrie (21 April 2017). "Community Mitigation Guidelines to Prevent Pandemic Influenza — United States, 2017". MMWR. Recommendations and Reports. 66 (1): 1–34. doi:10.15585/mmwr.rr6601a1. PMC 5837128. PMID 28426646.
  471. Baird, Robert P. (11 March 2020). "What It Means to Contain and Mitigate the Coronavirus". The New Yorker.
  472. "Community Mitigation Guidelines to Prevent Pandemic Influenza – United States, 2017". Recommendations and Reports. US Centers for Disease Control and Prevention. 66 (1). 12 April 2017 – โดยทาง Stacks.CDC.gov.
  473. Qin, Amy (7 March 2020). "China May Be Beating the Coronavirus, at a Painful Cost". The New York Times.
  474. Bangkok, Justin McCurry Rebecca Ratcliffe in; Kong, Helen Davidson in Hong (11 March 2020). "Mass testing, alerts and big fines: the strategies used in Asia to slow coronavirus". The Guardian.
  475. "Wuhan pneumonia: Hong Kong widens net but can hospitals cope?". South China Morning Post. 17 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
  476. "Coronavirus". WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  477. "Overview of novel coronavirus (2019-nCoV) – Summary of relevant conditions". The BMJ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  478. "Novel Coronavirus – COVID-19: What Emergency Clinicians Need to Know". EBMedicine.net. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
  479. Grady, Denise (6 February 2020). "China Begins Testing an Antiviral Drug in Coronavirus Patients". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  480. Li, G.; De Clercq, E. (March 2020). "Therapeutic options for the 2019 novel coronavirus (2019-nCoV)". Nature Reviews: Drug Discovery. 19 (3): 149–150. doi:10.1038/d41573-020-00016-0.
  481. "The Nuffield Department of Medicine is supporting global efforts in tackling nCoV". Nuffield Department of Medicine, University of Oxford. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  482. Duarte, Fernando (24 February 2020). "As the cases of coronavirus increase in China and around the world, the hunt is on to identify "patient zero"". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  483. Cohen, Jon (January 2020). "Wuhan seafood market may not be source of novel virus spreading globally". Science. doi:10.1126/science.abb0611.
  484. Ma, Josephina (13 March 2020). "Coronavirus: China's first confirmed Covid-19 case traced back to November 17". South China Morning Post. Hong Kong.
  485. 安德烈 (12 March 2020). "网络保卫战 艾芬医生谈新冠隐情 一次次遭删帖一次次再复活" (ภาษาจีน). Radio France Internationale. สืบค้นเมื่อ 31 March 2020.
  486. "Novel Coronavirus". World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  487. "Mystery pneumonia virus probed in China". BBC News. 3 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  488. Novel Coronavirus Pneumonia Emergency Response Epidemiology Team (February 2020). "[The epidemiological characteristics of an outbreak of 2019 novel coronavirus diseases (COVID-19) in China]". Zhonghua Liu Xing Bing Xue Za Zhi=Zhonghua Liuxingbingxue Zazhi (ภาษาจีน). 41 (2): 145–151. doi:10.3760/cma.j.issn.0254-6450.2020.02.003.
  489. "China confirms sharp rise in cases of SARS-like virus across the country". 20 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
  490. The Novel Coronavirus Pneumonia Emergency Response Epidemiology Team (17 February 2020). "The Epidemiological Characteristics of an Outbreak of 2019 Novel Coronavirus Diseases (COVID-19)—China, 2020". China CDC Weekly. 2 (8): 113–122. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
  491. "WHO advice for international travel and trade in relation to the outbreak of pneumonia caused by a new coronavirus in China". World Health Organization. 10 January 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  492. "Novel Coronavirus—China". World Health Organization. 12 January 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  493. Joseph, Andrew (13 January 2020). "Woman with novel pneumonia virus hospitalized in Thailand—the first case outside China". Stat News. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  494. Kuo, Lily (21 January 2020). "China confirms human-to-human transmission of coronavirus". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  495. "Updated WHO advice for international traffic in relation to the outbreak of the novel coronavirus 2019-nCoV". World Health Organization. 24 January 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  496. "WHO says global risk of China virus is 'high'". Agence France Presse. 27 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  497. Kennedy, Merrit (30 January 2020). "WHO Declares Coronavirus Outbreak A Global Health Emergency". NPR. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  498. "WHO raises global risk from coronavirus to highest level". Kyodo News. 29 February 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  499. "Europe 'now epicentre of coronavirus pandemic'". BBC News. 13 March 2020.
  500. Regan, Helen. "More coronavirus cases outside mainland China than inside as pandemic accelerates". CNN.
  501. "Coronavirus: Italy's death toll overtakes China's". BBC. 19 March 2020.
  502. Feng, Emily (27 March 2020). "Mystery In Wuhan: Recovered Coronavirus Patients Test Negative ... Then Positive". NPR News. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  503. "With Wuhan virus genetic code in hand, scientists begin work on a vaccine". Reuters. 2020-01-24. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  504. Levine, Jon (2020-01-25). "Scientists race to develop vaccine to deadly China coronavirus". New York Post. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  505. "China CDC developing novel coronavirus vaccine". Xinhua. 2020-01-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-01-29.
  506. "Chinese scientists race to develop vaccine as coronavirus death toll jumps". SCMP. 2020-01-26.
  507. hermesauto (2020-01-23). "Wuhan virus: Work to start on three possible vaccines, says epidemic response group". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  508. "Molecular Clamp: a Novel Protein Vaccine for Influenza, RSV, Ebola and Other Human and Veterinary Viruses". www.pharmalicensing.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  509. "CEPI to fund three programmes to develop vaccines against the novel coronavirus, nCoV-2019". CEPI-US. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  510. Insider, James Hennessy, Business. "Australia's Been Asked to Make a Coronavirus Vaccine at 'Unprecedented Speed'". ScienceAlert-gb. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  511. "Inovio, Moderna score CEPI funding for vaccine work against deadly coronavirus". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  512. "Infectious Diseases | Moderna, Inc". www.modernatx.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-05. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  513. 513.0 513.1 "Local Biotech Company Developing Coronavirus Vaccine". NBC 7 San Diego-US. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  514. Cheung, Elizabeth (28 January 2020). "Hong Kong researchers have developed coronavirus vaccine, expert reveals". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  515. Commissioner, Office of the (28 February 2020). "Coronavirus (COVID-19) Supply Chain Update". FDA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
  516. Tkyo, Kelly (29 February 2020). "Coronavirus fears empty store shelves of toilet paper, bottled water, masks as shoppers stock up". USA Today.
  517. Sirletti, Sonia; Remondini, Chiara; Lepido, Daniele (2020-02-24). "Virus Outbreak Drives Italians to Panic-Buying of Masks and Food". Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  518. "Viral hysteria: Hong Kong panic buying sparks run on toilet paper". CNA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  519. Rummler, Orion. "Household basics are scarce in Hong Kong under coronavirus lockdown". Axios. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  520. Strumpf, Dan (31 January 2020). "Tech Sector Fears Supply Delays as Effects of Virus Ripple Through China". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  521. swissinfo.ch, S. W. I.; Corporation, a branch of the Swiss Broadcasting. "Procura por máscaras aumenta 100 vezes e prejudica luta contra o coronavírus". SWI swissinfo.ch (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 12 February 2020.
  522. Boseley, Sarah (7 February 2020). "WHO warns of global shortage of face masks and protective suits". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 12 February 2020.
  523. Bostock, Bill. "China sacked a brace of top officials in Hubei province, likely in a move to protect Xi Jinping from people's anger over the coronavirus outbreak". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  524. Yu, Sun (9 February 2020). "Coronavirus death toll tops Sars as public backlash grows". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  525. "Hong Kong protesters torch planned Wuhan virus quarantine building". CNA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  526. "Taiwan hits out at China virus travel bans". medicalxpress.com. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  527. "China's coronavirus epidemic threatens global economy". DW.COM. 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  528. Miller, Jill Young (7 February 2020). "WashU Expert: Coronavirus far greater threat than SARS to global supply chain | The Source | Washington University in St. Louis". The Source. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  529. Reed, Stanley (3 February 2020). "OPEC Scrambles to React to Falling Oil Demand From China". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 14 February 2020.
  530. Business, Rob McLean, Laura He and Anneken Tappe, CNN. "Dow plunges 1,000 points as coronavirus cases surge in South Korea and Italy". CNN.
  531. "FTSE 100 plunges 3.7 per cent as Italy confirms sixth coronavirus death". CityAM. 24 February 2020.
  532. Business, Anneken Tappe, CNN. "Dow falls 1,191 points – the most in history". CNN. สืบค้นเมื่อ 28 February 2020.
  533. Oh, Sunny (28 February 2020). "Stocks record worst week since financial crisis as coronavirus concerns heat up". Market Watch. สืบค้นเมื่อ 28 February 2020.
  534. "Scope affirms China's sovereign rating at A+ and maintains the Outlook at Negative". Scope Ratings GmbH. 28 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  535. "Stocks Plummet as Grim Economic Outlook Grips Markets: Live Updates". The New York Times. 16 March 2020. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  536. Rabouin, Dion (28 February 2020). "Economists now say the coronavirus could cause a recession". Axios. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  537. Irwin, Neil (2 March 2020). "Why a Coronavirus Recession Would Be So Hard to Contain". The New York Times.
  538. Long, Heather; McGregor, Jena (1 March 2020). "Recession fears grow as Wall Street investors brace for a wild week for stocks". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  539. "Collapsed Flybe: 'Do not travel to the airport'". BBC News Online. 5 March 2020.
  540. "Coronavirus scare: Complete list of airlines suspending flights". India Today. Reuters. 27 February 2020. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  541. "New virus mutes Lunar New Year celebrations worldwide". AP NEWS. 25 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
  542. "Shanghai Disney shuts to prevent spread of virus". CNBC. 24 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  543. "China cancels Lunar New Year events over deadly virus fears". Deutsche Welle. 23 January 2020. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  544. Gigi Choy, Echo Xie (4 February 2020). "As China goes back to work, will the coronavirus spread even more rapidly?". South China Morning Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  545. 545.0 545.1 Cheng, Evelyn (1 February 2020). "More than half of China extends shutdown over virus". CNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  546. "Hong Kong Chinese New Year". Hong Kong Tourism Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  547. Lum, Alvin; Sum, Lok-kei (25 January 2020). "China coronavirus: Hong Kong leader hits back at delay criticism as she suspends school classes, cancels marathon and declares city at highest level of emergency". South China Morning Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  548. Askew K. "Coronavirus: 'Food excellence could fall into the eye of the hurricane' Italian food sector warns". Food navigator.com. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  549. Wernau J. "How China Kept Its Supermarkets Stocked as Coronavirus Raged". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  550. "Coronavirus devastates China's economy and the 'nightmare' is not over". CNN. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.


บทอ่านเพิ่มเติม

แก้

จีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง

WHO

  • World Health Organization (2020). "Surveillance case definitions for human infection with novel coronavirus (nCoV)‎: interim guidance v1, January 2020". World Health Organization. hdl:10665/330376. WHO/2019-nCoV/Surveillance/v2020.1.
  • World Health Organization (2020). "Laboratory testing of human suspected cases of novel coronavirus (nCoV)‎ infection: interim guidance, 10 January 2020". World Health Organization. hdl:10665/330374. WHO/2019-nCoV/laboratory/2020.1.

ยุโรป

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้