การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล (ฮีบรู: מגפת הקורונה בישראל) เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ผู้ป่วยรายแรกในประเทศอิสราเอลได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 เมื่อพลเมืองหญิงคนหนึ่งได้รับผลตรวจเป็นบวกสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ศูนย์การแพทย์ชีบาหลังจากการกักด่านบนเรือไดมอนด์พรินเซสในประเทศญี่ปุ่น[3] ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดกฎการแยกกักที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วันสำหรับทุกคนที่เคยไปเยือนเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น และมีการสั่งห้ามผู้ที่ไม่มีถิ่นที่อยู่และไม่ใช่พลเมืองที่อยู่ในเกาหลีใต้เป็นเวลา 14 วันก่อนเดินทางมาถึง[4]

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอิสราเอล
<div class="center" style="width:auto; margin-left:auto; ไม่ผ่านไม่อนุมัติแว็บอ้างอิงออนไลค์หลอกหลวงประสงร้าย
โรคโควิด-19
สายพันธุ์ไวรัสSARS-CoV-2
สถานที่ประเทศอิสราเอล
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยอินเด็กซ์รามัตกัน
วันที่มาถึง21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
(4 ปี 9 เดือน 2 สัปดาห์ 4 วัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม2,387,131 คน[1]
ผู้ป่วยปัจจุบัน531,430 คน[1]
ผู้ป่วยอาการร้ายแรง814 คน[1]
หาย1,846,939 คน[1]
เสียชีวิต
8,458 คน[1]
อัตราเสียชีวิต0.48%[2]
เว็บไซต์ของรัฐบาล

ประเทศอิสราเอลเริ่มบังคับใช้การเว้นระยะห่างทางสังคมตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม และกฎเกณฑ์อื่น ๆ เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของการติดเชื้อ การชุมนุมครั้งแรกถูกจำกัดไว้ที่ไม่เกิน 100 คน[5] และในวันที่ 15 มีนาคมตัวเลขนี้ลดลงเหลือ 10 คนโดยผู้เข้าร่วมควรมีระยะห่างระหว่างกัน 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว)[6] ครั้นวันที่ 19 มีนาคม นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ โดยกล่าวว่าข้อจำกัดที่มีอยู่จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ ชาวอิสราเอลไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านเว้นแต่จำเป็นจริง ๆ บริการที่จำเป็นซึ่งรวมถึงร้านขายอาหาร, ร้านขายยา และธนาคารจะยังคงเปิดให้บริการอยู่ ข้อจำกัดในการเคลื่อที่ได้เข้มงวดยิ่งขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมและ 1 เมษายนโดยทุกคนได้รับคำสั่งให้ทำการปิดจมูกและปากนอกบ้าน จากการที่โคโรนาไวรัสได้รับการวินิจฉัยว่าแพร่ระบาดในบเนบรัค ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเกือบ 1,000 คนเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา[7] คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้เมืองนี้เป็น "เขตหวงห้าม" โดยจำกัดการเข้าออกเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ประจวบกับเทศกาลปัสคาในคืนวันที่ 8 เมษายน ฝ่ายนิติบัญญัติสั่งห้ามเดินทาง 3 วันและได้รับคำสั่งให้ชาวอิสราเอลอยู่ห่างจากบ้านไม่เกิน 100 ม. (330 ฟุต) ในคืนปัสคา และเมื่อวันที่ 12 เมษายน ย่านนิกายฮาเรดีในเยรูซาเลมถูกปิด

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์วัย 88 ปีในเยรูซาเลมซึ่งต้องทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยก่อนหน้านี้ได้รับการประกาศให้เป็นผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศ[8][9]

คลื่นลูกแรกของการระบาดได้เกิดขึ้นท่ามกลางภายใต้รัฐบาลรักษาการ เนื่องจากไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมใหม่หลังการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติในอิสราเอล ค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นครั้งที่สามนับตั้งแต่การยุบรัฐบาลในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 เนทันยาฮูยังคงทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี และถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเพิ่มเติมของความพยายามในการตรวจสอบรวมถึงควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส ซึ่งรัฐบาลแห่งชาติได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ส่วนในช่วงระลอกที่สอง การเคลื่อนไหว เช่น 'ธงดำ'[10] และการชุมนุมหน้าที่พักของเนทันยาฮูได้ประท้วงการตอบสนองของรัฐบาลต่อไวรัส[11] กระทั่งช่วงระลอกที่สามในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2020 รัฐบาลแห่งชาติได้ล่มสลาย ทำให้มีการเลือกตั้งครั้งที่สี่ในรอบสองปี[12]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "נגיף הקורונה בישראל - תמונת מצב כללית" (ภาษาฮิบรู). Israel Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 12 July 2021.
  2. "Israel Overview". CoronaTracker. สืบค้นเมื่อ 12 July 2021.
  3. "Israel confirms first coronavirus case as cruise ship returnee diagnosed". The Times of Israel. 21 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
  4. "How is Israel Dealing With Coronavirus?". 16 March 2020.
  5. "Israel limits gatherings to 100 people as coronavirus cases climb to 97". The Jerusalem Post. 11 March 2020.
  6. "No more daycare, restaurants, gyms or prayer quorums: The new virus regulations". 15 March 2020.
  7. "Bnei Brak coronavirus cases near 1000 as Haredi cities hit hardest". Ynetnews. 2 April 2020. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  8. Rabinovitch, Ari (20 March 2020). "Israel reports first coronavirus fatality". news.yahoo.com. Reuters.
  9. Estrin, Daniel (21 March 2020). "Holocaust Survivor Is First Coronavirus Death In Israel". NPR (ภาษาอังกฤษ).
  10. "A bipartisan protest movement is rocking Israel". Jewish Chronicle. 5 August 2020.
  11. "Thousands gather in Tel Aviv for Black Flag protest against coalition". The Jerusalem Post. 26 April 2020.
  12. "Israel's government collapses, not with a bang but a whimper, triggering fourth election in 2 years". CNN. 22 December 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
อื่น ๆ