มหาวิทยาลัยฮ่องกง

มหาวิทยาลัยรัฐในฮ่องกง

มหาวิทยาลัยฮ่องกง (อังกฤษ: University of Hong Kong; อักษรย่อ: HKU) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในฮ่องกง โดยตั้งอยู่ในเกาะฮ่องกง บริเวณเขตโป๊ก ฟู แล่ม โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2430 โดยจักรวรรดิอังกฤษ ในปัจจุบันการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยเน้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก

มหาวิทยาลัยฮ่องกง
คติพจน์Sapientia et Virtus (ละติน)
Wisdom and Virtue(อังกฤษ)
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา1 ตุลาคม 1887; 137 ปีก่อน (1887-10-01) (ในฐานะโรงเรียนการแพทย์แห่งฮ่องกง)
30 มีนาคม 1911; 113 ปีก่อน (1911-03-30) (ในฐานะมหาวิทยาลัยฮ่องกง)
อธิการบดีจอห์น ลี[หมายเหตุ 1]
รองอธิการบดีเจียง ชาง
ผู้เป็นประธานY.C. Richard Wong[1]
Pro-chancellorเดวิด ลี
อาจารย์8,266[2]
เจ้าหน้าที่4,295[2]
ผู้ศึกษา29,791[3]
ปริญญาตรี17,106 (57.4%)[3]
บัณฑิตศึกษา9,813 (32.9%)[3]
ที่ตั้ง,
22°17′03″N 114°08′16″E / 22.28417°N 114.13778°E / 22.28417; 114.13778
สี  เขียวเข้ม[4]
เครือข่ายASAIHL, Universitas 21, ACU, JUPAS, AACSB, EQUIS, APRU, UGC, Heads of Universities Committee, คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพร่วม, กองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์, BHUA,[5] GHMUA
มาสคอต
สิงโต
เว็บไซต์hku.hk
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ香港大学
อักษรจีนตัวเต็ม香港大學
เยลกวางตุ้งHēunggóng Daaihhohk

ประวัติศาสตร์การก่อตั้ง

แก้
 
ตัวอาคารหลักของมหาวิทยาลัยในปี 2455

แรกเริ่มเดิมทีของมหาวิทยาลัยฮ่องกง เดิมทีเป็นเพียงสถาบันการศึกษาแพทย์ของฮ่องกงซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2430[6] โดยนายแพทย์ที่มีชื่อว่าโฮ ไล ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อในภายหลังว่า โรงเรียนการแพทย์แห่งฮ่องกง (Hong Kong College of Medicine)

โรงเรียนการแพทย์นี้ยังไม่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัย แต่เป็นแหล่งเรียนรู้การแพทย์และการรักษาของคนในฮ่องกงเท่านั้น แนวความคิดที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในช่วงประมาณปี 2452–2454 เซอร์เฟรเดอลิก ลุการ์ด (Sir Frederick Lugard) ข้าหลวงใหญ่ผู้ว่าการเกาะฮ่องกงในตอนนั้น มีความคิดที่จะสร้างมหาวิทยาลัยขึ้นในกลุ่มดินแดนจีนตามกระแสของชาติมหาอำนาจในยุโรปในตอนนั้น ที่หลายชาติก็เริ่มมีการตั้งสถาบันการศึกษาภายในจีน เช่น ปรัสเซียที่ได้ก่อตั้งสถาบันการแพทย์เยอรมันประจำถงจี้ ที่เซี่ยงไฮ้[7] ทางเซอร์เฟรเดอลิกจึงจัดระดมทุนในการสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น ซึ่งได้รับความเห็นด้วยจากหลายฝ่าย เช่นนักลงทุนจากอินเดีย เซอร์โฮมัสจี นโรจี โมดี ซึ่งลงทุนบริจาคไปมากกว่า 180,000 ดอลล่าร์ฮ่องกง[8] (ค่าเงินในตอนนั้นยังไม่รวมเงินเฟ้อในปัจจุบัน) และยังมีกลุ่มทุนใหญ่เช่นกลุ่มสเวอร์ (Swire Group) หรือกลุ่มทุนธนาคารฮ่องกง (HongkongBank) รวมทั้งยังมีการผลักดันให้มีการสร้างมหาวิทยาลัยจากกลุ่มธุรกิจในเอเชียตะวันออกและฮ่องกงในการสร้างมหาวิทยาลัยด้วย ทำให้ลุการ์ดประสบความสำเร็จในการระดมทุนในการสร้างมหาวิทยาลัยในปี 2454 โดยใช้พื้นที่เดิมของโรงเรียนการแพทย์ฮ่องกงเป็นฐานของสถาบันการศึกษาใหม่ ในนามของมหาวิทยาลัยฮ่องกง

ตอนที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮ่องกงขึ้น แม้ว่าแรกเริ่มจะเปิดการศึกษาสามคณะคือ คณะศิลปศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศกรรมศาสตร์ ทว่าลุการ์ดมองว่าสังคมจีนในขณะนั้นไม่เหมาะกับการเรียนในสายวิชาแบบมานุษยวิทยา จึงเอาต้นแบบมาจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ โดยเน้นหลักไปที่การศึกษาสายวิทยาศาสตร์มากกว่าสายสังคม จึงทำให้มหาวิทยาลัยฮ่องกงในตอนนั้นเน้นหลักในการศึกษาและดูเป็นสถาบันที่สร้างเสริมความเข้าใจและสร้างอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ และความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก

ทศวรรษระหว่างสงคราม

แก้
 
ตัวอาคารหลักของมหาวิทยาลัยในช่วงปี 2489 ซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังจากที่จีนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในปี 2454 ความผันผวนทางการเมืองของจีนตลอดจนการเกิดขึ้นของลัทธิชาตินิยมนำพาทำให้สถาบันการศึกษาในฮ่องกงต้องปรับตัวด้วยการปฏิรูปตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมจีน ซึ่งการปฏิรูปตัวเองนี้ไม่ใช่เพราะเหตุผลทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะการบริจาคเงินทุนโดยชาวจีนที่คอยสนับสนุนมหาลัยโดยตลอด การได้รับเงินทุนทำให้มหาวิทยาลัยฮ่องกงต้องทำตัวเองให้เป็นจีนด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อญี่ปุ่นบุกเกาะฮ่องกงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การเรียนการสอนตลอดจนการรักษาพยาบาลหยุดชะงัก มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงสงคราม กว่าที่จะมีการเปิดการเรียนการสอนอีกครั้งก็ต้องรอไปในปี 2488 ซึ่งเป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

หลังจากสงครามจบและมีการบูรณะมหาวิทยาลัยขนานใหญ่ ทางมหาลัยก็ได้มีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับการศึกษาโลกที่เปลี่ยนไป ด้วยการเพิ่มการเรียนการสอนในสายสังคมศาสตร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคณะนิติศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ รวมทั้งยังมีการรับผู้เรียนเพิ่มมากขึ้นด้วย

ภายใต้การกำกับของรัฐบาลจีน

แก้

พ.ศ.2540 รัฐบาลอังกฤษได้มอบคืนเกาะฮ่องกงให้ขึ้นตรงกับรัฐบาลจีน กิจการภายในเกาะฮ่องกงทั้งหมดล้วนแล้วแต่ขึ้นตรงกับผู้บริหารเกาะฮ่องกงชุดใหม่ ที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลจีน แน่นอนว่าการที่อำนาจเปลี่ยนไปอยู่ในมือของรัฐบาลเผด็จการคอมมิวนิสต์ ส่งผลกระทบต่อการบริหารภายในมหาวิทยาลัยฮ่องกงด้วย

ในช่วงยุคก่อนหลังจากที่มีการปฏิรูปตัวมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฮ่องกงกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนทางการเมือง ทำให้หลังจากที่มีการส่งมอบเกาะฮ่องกงให้กับจีน ทางจีนจึงเริ่มควบคุมการบริหารภายในเกาะฮ่องกงมากขึ้น และยังรวมไปถึงการเข้ามาของทุนนิยมที่ทำให้เสรีภายในการพูดและการแสดงออกเริ่มถูกจำกัดตามความต้องการของผู้บริจาคหรือผู้ให้เงินรายใหญ่แก่มหาวิทยาลัย

 
ตัวอาคารหลักของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

ในปี 2554 หลี่ เค่อเฉียง ที่ในตอนนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีจีนอยู่นั้น ได้เดินทางเยือนฮ่องกงและมหาวิทยาลัยฮ่องกง ในวันที่มีการเดินทางมาเยือนนั้นมหาวิทยาลัยถูกสั่งปิดและถูกควบคุมโดยตำรวจที่ตรึงกำลังเอาไว้อย่างแน่นหนา การกระทำนั้นสร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษาเป็นอย่างมากจนเหตุการณ์บานปลายและนำไปสู่การกระทบกระทั่งกันของนักศึกษาและตำรวจที่เข้าใช้กำลังในการสลายการรวมตัวของนักศึกษา ผลของเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้แลป ชี สุ่ย (Lap-Chee Tsui) อธิการบดีมหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้รับเสียงวิจารณ์มากจากทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า จนต้องมีการประชุมหารือกันเพื่อวางแผนกำหนดทิศทางไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ในมหาลัยอีกในอนาคต ตลอดจนยังคงให้คำมั่นว่ามหาวิทยาลัยจะยังคงมีเสรีภาพในการพูดเสมอ[9]

อย่างไรก็ตามการกระทำภายในมหาวิทยาลัยแทบจะสวนทางกับสิ่งที่อธิการบดีพูด และยิ่งตอกย้ำด้วยการที่สภามหาวิทยาลัยคัดค้านการตั้งโจฮันเนส ชาน ขึ้นเป็นรองอธิการบดี แม้ว่าทางโจฮันเนส ชาน จะได้รับคะแนนเสียงจากคณะกรรมสรรหารองอธิการบดีอย่างเป็นเอกฉันท์ก็ตาม ทั้งนี้โจฮันเนส ชาน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกงนั้น เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงอย่างมากในการผลักดันรัฐธรรมนูญฮ่องกงและสิทธิมนุษยชน รวมทั้งยังวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปฏิรูปการเมืองภายในฮ่องกงมาโดยตลอด[10][11] กล่าวโดยสรุป คือเขาเป็นคนที่โปรประชาธิปไตยและเป็นคนลิเบอรัล ซึ่งเมื่อเรื่องการที่คณะกรรมสรรหาตั้งใจที่จะให้โจฮันเนส ชานเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮ่องกงถูกเผยแพร่ไป ก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสำนักพิมพ์ที่โปรรัฐบาลจีน ที่ตบเท้าออกมาเผยแพร่บทวิเคราะห์โจมตีดิสเครดิตชานเป็นจำนวนมาก[12][13] ส่วนทางสภามหาวิทยาลัยนั้นก็เลื่อนวาระการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในเดือนกันยายนปี 2558 สภามหาวิทยาลัยมีมติ 12 ต่อ 8 คัดค้านการตั้งโจฮันเนส ชานขึ้นเป็นรองอธิการบดี ทั้งนี้สภามหาวิทยาลัยฮ่องกงทั้ง 20 คนนั้น สมาชิก 6 คน ถูกแต่งตั้งโดยผู้บริหารเกาะฮ่องกง และอีก 5 คน ถูกแต่งตั้งโดยสภาประชาชนจีน หรือครึ่งนึงของสภาเป็นคนของรัฐบาลจีนนั่นเอง

การที่สภามหาวิทยาลัยมีความเห็นคัดค้านไม่แต่งตั้งโจฮันเนส ชาน นำไปสู่แรงกระเพื่อมและความไม่พอใจของหมู่นักศึกษา กลุ่มองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่องกง (Hong Kong University Students' Union) และสมาพันธ์นักศึกษาแห่งชาติฮ่องกง (Hong Kong Federation of Students) รวมตัวกันออกมาคัดค้านและแสดงความเป็นห่วงต่อระบบการศึกษาชั้นอุดมศึกษาภายในฮ่องกงที่ตอนนั้นไร้ซึ่งกฎเกณฑ์และเสรีภาพทางการพูดไปแล้ว พร้อมกันนั้นยังประณามการกระทำนี้ว่าทำให้ระบบการศึกษาฮ่องกงต้องเสื่อมเสียอีกด้วย

ในปัจจุบันหลังจากที่รัฐบาลจีนเริ่มเข้มงวดในการคุมฮ่องกงมากขึ้น เสรีภาพในการพูดและการให้ความเห็นในมหาวิทยาลัยก็กลายเป็นสิ่งต้องห้าม สัญลักษณ์ที่เป็นประชาธิปไตยถูกจำกัด และการเคลื่อนไหวถูกเพ่งเล็งและจับตามองอย่างใกล้ชิด เช่นในกรณีที่ผ่านมาก็มีการเคลื่อนย้ายอนุสรณ์เสาแห่งความอัปยศออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ของการสังหารหมู่ที่เทียนอันเหมิน

 
เสาแห่งความอัปยศ สัญลักษณ์ของการสังหารหมู่ที่เทียนอันเหมินภายในมหาวิทยาลัยฮ่องกง ก่อนที่จะถูกเคลื่อนย้ายออกไปในปี 2564
 
กลุ่มยามและตำรวจฮ่องกงขณะกำลังรื้อถอนเสาแห่งความอัปยศภายในมหาวิทยาลัยฮ่องกง ระหว่างปี 2564

หมายเหตุ

แก้
  1. โดยตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "President's Office". The University of Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2022.
  2. 2.0 2.1 "QuickStats - Staff Profiles". The University of Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 "QuickStats - Student Profiles 2018 / 2019 (In Headcounts)". The University of Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020.
  4. "The "HKU 100" Logo". The University of Hong Kong Centenary. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2022.
  5. "McDonnell International Scholars Academy". Global.
  6. Mellor, Bernard (1980). The University of Hong Kong, An informal History. Hong Kong University Press. ISBN 978-962-209-023-1. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2019.
  7. "University History - - About HKU - HKU". www.hku.hk.
  8. Sayer, G.R.; Evans, D.M.E. Hong Kong 1862–1919: Years of Discretion. Hong Kong University Press (1985)
  9. Tsui, Professor Lap-Chee. "About The University of Hong Kong Centenary Ceremony". The University of Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011.
  10. Ng, Joyce (29 กันยายน 2015). "Johannes Chan's appointment vote at Hong Kong University: why it's a big deal". South China Morning Post.
  11. Pomfret, James (29 กันยายน 2015). "Hong Kong university faces pressure from pro-Beijing opponents of liberal scholar". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2017.
  12. Cheng, Kris (30 กันยายน 2015). "Explainer: The HKU Council pro-vice-chancellor debacle". Hong Kong Free Press.
  13. Ng, Joyce (13 กุมภาพันธ์ 2015). "HKU law professors unite to denounce Wen Wei Po attack on Johannes Chan". South China Morning Post. p. A3.