ไดมอนด์พรินเซส (เรือ)

เรือสำราญ

ไดมอนด์พรินเซส เป็นเรือสำราญสัญชาติอังกฤษที่ดำเนินการโดยสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซส ซึ่งเริ่มดำเนินการเดินเรือในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 โดยล่องเรือในภูมิภาคเอเชียเป็นหลักในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ และบริเวณออสเตรเลียในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ เป็นเรือในชั้นย่อยของแกรนด์คลาส ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเรือชั้นเจมคลาส ไดมอนด์พรินเซส และเรือพี่น้อง แซฟไฟร์พรินเซส เป็นชั้นย่อยของเรือแกรนด์คลาส ที่มีขนาดกว้างที่สุดโดยมีความกว้างของลำเรือ 37.5 เมตร (123 ฟุต 0 นิ้ว) ในขณะที่เรือแกรนด์คลาสอื่น ๆ ทั้งหมดมีความกว้างของลำเรือ 36 เมตร (118 ฟุต 1 นิ้ว) ไดมอนด์พรินเซส และ แซฟไฟร์พรินเซส ถูกต่อขึ้นที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์

ไดมอนส์พรินเซส ทอดสมอบริเวณชายฝั่งเมืองโทบะ จังหวัดมิเอะ ญี่ปุ่น ธันวาคม 2562
ประวัติ
ชื่อไดมอนด์พรินเซส
เจ้าของบมจ. คาร์นิวาล คอร์ปอเรชัน (Carnival Corporation & plc)
ผู้ให้บริการพรินเซสครูซเซส
ท่าเรือจดทะเบียน
อู่เรือมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์
มูลค่าสร้าง$500 ล้านเหรียญสหรัฐ
Yard number2181
ปล่อยเรือ2 มีนาคม พ.ศ. 2545
เดินเรือแรก12 เมษายน พ.ศ. 2546
Christenedพ.ศ. 2547
สร้างเสร็จ26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
Maiden voyageพ.ศ. 2547
บริการมีนาคม พ.ศ. 2547
รหัสระบุ
สถานะถูกกักกัน[2]
หมายเหตุ[1]
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เรือสำราญชั้น เจมคลาส (Gem-class)
ขนาด (ตัน): 115,875 ตันกรอส
ความยาว: 290.2 m (952 ft 1 in)
ความกว้าง: 37.49 m (123 ft 0 in)
ความสูง: 62.48 m (205 ft 0 in)
กินน้ำลึก: 8.53 m (28 ft 0 in)
ดาดฟ้า: 18 ชั้น
ระบบพลังงาน: ดีเซลคอมมอนเรล วราตสิลา (Wärtsilä 46 series)
ระบบขับเคลื่อน: ใบจักรคู่
ความเร็ว: 22 นอต (41 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 25 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ความจุ: ผู้โดยสาร 2,670 คน
ลูกเรือ: 1,100 คน
หมายเหตุ: [1]

การสร้างเรือ แก้

เดิมทีเรือลำนี้ตั้งใจจะประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำในชื่อ แซฟไฟร์พรินเซส อย่างไรก็ตามการต่อเรืออีกลำหนึ่งที่เดิมตั้งใจจะตั้งชื่อเป็น ไดมอนด์พรินเซส (ปัจจุบันเดินเรือในชื่อ แซฟไฟร์พรินเซส) - ล่าช้าออกไปเมื่อมีเหตุไฟลุกไหม้บริเวณดาดฟ้าระหว่างการประกอบเรือ เนื่องจากการซ่อมแซมความเสียหายของเรือให้สมบูรณ์ต้องทำให้กำหนดการล่าช้าออกไป เรือพี่น้องซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างจึงได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ไดมอนด์พรินเซส แทน ซึ่งการแลกเปลี่ยนชื่อช่วยให้การส่งมอบของ ไดมอนด์พรินเซส ตรงเวลา[3] เรือลำนี้เป็นเรือของสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซส ลำแรกที่สร้างในอู่ต่อเรือญี่ปุ่น และไม่มี "ปีก" หรือ "สปอยเลอร์" บริเวณใกล้ปล่องไฟของเรือ ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของสกายวอร์กเกอร์ไนท์คลับที่เป็นที่รู้จักกันดี และสามารถพบได้ในเรือลำอื่นคือ แคริบเบียนพรินเซส, สตาร์พรินเซส และ คราวน์พรินเซส

เครื่องกลเรือ แก้

โรงจักรดีเซลไฟฟ้าของ ไดมอนด์พรินเซส มีเครื่องยนต์กำเนิดกำลังดีเซลสี่เครื่อง และเครื่องยนต์กำเนิดกำลังกังหันก๊าซหนึ่งเครื่อง เครื่องยนต์กำเนิดกำลังดีเซลคือเครื่องยนต์คอมมอนเรลของบริษัท วราตสิลา (Wärtsilä) รุ่น 46 series เป็นเครื่องยนต์สูบเรียง 9 กระบอกสูบจำนวนสองแถว (9L46), และ 8 กระบอกสูบแถวเรียงจำนวนสองแถว (8L46) เครื่องยนต์ 8 สูบและ 9 สูบสามารถผลิตพลังงานได้ประมาณ 8,500 กิโลวัตต์ (11,400 แรงม้า) และ 9,500 กิโลวัตต์ (12,700 แรงม้า) ตามลำดับ เครื่องยนต์เหล่านี้ใช้เชื้อเพลิงชนิดน้ำมันเตาชนิดที่ 2 หรือน้ำมันเตาซี (Heavy Fuel Oil, HFO หรือ Bunker C) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (Marine Gas Oil, MGO) ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษทางอากาศ เนื่องจากการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว สร้างการปล่อยมลพิษที่ต่ำกว่ามากแต่ก็มีราคาที่สูงกว่ามาก

เครื่องยนต์กำเนิดกำลังกังหันก๊าซเป็นเครื่องของบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก รุ่น LM2500 ที่มีกำลังสูงสุด 25,000 กิโลวัตต์ (34,000 แรงม้า) ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลหมุนเร็ว (MGO) เครื่องยนต์กำเนิดกำลังนี้มีต้นทุนในการเดินเครื่องสูงกว่าเครื่องยนต์กำเนิดกำลังดีเซล และส่วนใหญ่จะใช้ในพื้นที่เช่น รัฐอะแลสกาที่กฎระเบียบการปล่อยมลพิษมีความเข้มงวด นอกจากนี้ยังใช้เมื่อต้องการความเร็วสูงเพื่อนำเรือเข้าเทียบท่าในระยะเวลาที่สั้นลง

มีเครื่องกลไฟฟ้าขับเคลื่อน (Propulsion Electric Motors, PEMs) สองตัวที่ขับเคลื่อนใบจักรแบบปีกปรับมุมบิดไม่ได้ และมีทรัสเตอร์ 6 ตัวซึ่งใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางของหัว/ท้ายเรือ ซึ่งสามตัวอยู่บริเวณหัวเรือและสามตัวที่ท้ายเรือ มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเป็นมอเตอร์ซิงโครนัสชนิดทั่วไปที่ผลิตโดยบริษัทอัลสตอม มอเตอร์ทั้งสองนั้นแต่ละตัวมีพิกัดอยู่ที่ 20 เมกะวัตต์ และมีความเร็วสูงสุด 154 รอบต่อนาที (พิกัดความเร็ว 0-145 รอบต่อนาที)

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ไดมอนด์พรินเซส ได้รับการดัดแปลงเพิ่มระบบหล่อลื่นด้วยอากาศที่ลำเรือ (Hull air lubrication system) เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซ CO2 จากการเดินเรือ[4]

เส้นทางล่องเรือ แก้

ก่อนปี พ.ศ. 2557 ไดมอนด์พรินเซส สลับการแล่นเรือไปทางทิศเหนือและทางทิศใต้ โดยเป็นโปรแกรม voyages of the glacier ซึ่งเป็นการล่องเรือชมธารน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อนทางซีกโลกเหนือและ โปรแกรมเดินทางจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในฤดูร้อนทางซีกโลกใต้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้เริ่มต้นการล่องเรือจากท่าเรือโยโกฮามะ (โตเกียว) หรือท่าเรือโคเบะ ในฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ[5]

สำหรับฤดูกาลเดินเรือ พ.ศ. 2559–2560 เป็นเส้นทางล่องเรือไปกลับในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ จากท่าเรือสิงคโปร์[6] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559[7] เพิ่มเมืองโกตากีนาบาลู เป็นส่วนหนึ่งของจุดหมายปลายทางพร้อมกับเทียบท่าเรือญาจาง ของเวียดนาม และกลับไปเริ่มเดินทางจากซิดนีย์ ออสเตรเลียในฤดูกาล พ.ศ. 2560-2561[8]

หลังจากเส้นทางการล่องเรือในปี พ.ศ. 2561 บริเวณออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แล้ว ไดมอนด์พรินเซสได้รับเส้นทางใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งปรับเปลี่ยนระหว่างญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, เวียดนาม, ไต้หวัน และมาเลเซีย[9] คาดว่าเส้นทางล่องเรือจะยังคงอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส่วนใหญ่ในน่านน้ำญี่ปุ่น) จนถึงต้นปี พ.ศ. 2565[10]

อุบัติการณ์บนเรือ แก้

พ.ศ. 2559 กรณีโรคทางเดินอาหารอักเสบอย่างเฉียบพลันจากไวรัส แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 บนเรือไดมอนด์พรินเซส ได้เกิดการระบาดของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) ที่เกิดจากการติดเชื้อโนโรไวรัส ทำให้เกิดอาการป่วยในผู้โดยสารและลูกเรือ 158 คนบนเรือ ซึ่งได้รับการยืนยันหลังจากเรือเดินทางถึงซิดนีย์ ออสเตรเลีย โดยกระทรวงสาธารณสุขนิวเซาท์เวลส์[11][12]

พ.ศ. 2563 กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 แก้

เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 ผู้โดยสารอายุ 80 ปีจากฮ่องกงลงเรือจากเมืองโยโกฮามะ ได้เดินทางในส่วนหนึ่งของแผนการเดินทางและลงจากเรือที่ฮ่องกงเมื่อวันที่ 25 มกราคม เขาได้เข้าพบแพทย์ในโรงพยาบาลท้องถิ่นในฮ่องกง หกวันหลังจากลงจากเรือ โดยหลังจากนั้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์[13][14] ผลทดสอบโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ของเขามีผลเป็นบวก

ในการเดินทางเที่ยวต่อมา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรืออยู่ในน่านน้ำญี่ปุ่น เมื่อผู้โดยสาร 10 คนได้รับการวินิจฉัยว่ามีเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในระหว่างการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2562–2563[15] เรือถูกกักไว้นานมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ในท่าเรือโยโกฮามะในญี่ปุ่น ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ผู้โดยสารและลูกเรือได้รับเชื้อไวรัสมากถึง 621 คนจากจำนวนทั้งหมด 3,711 คน[16] ซึ่งรวมถึงชาวอินเดียอย่างน้อย 138 คน (เป็นลูกเรือ 132 คนและผู้โดยสาร 6 คน), ชาวแคนาดา 32 คน, ชาวออสเตรเลีย 24 คน, ชาวอเมริกัน 13 คน, ชาวอินโดนีเซีย 4 คนและ ชาวอังกฤษ 2 คน[17][18][19] หลายประเทศรวมถึงแคนาดา, ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, ฮ่องกง[20] และสหราชอาณาจักร ได้มีมาตรการในการอพยพประชาชนและกักกันพวกเขาในประเทศของตนเอง และเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่นประกาศว่า ผู้โดยสารสองคนเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัส[21][22] ในวันที่ 1 มีนาคม ทุกคนบนเรือรวมทั้งลูกเรือและกัปตันได้ขึ้นจากเรือแล้วทั้งหมด[23] จนถึงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563 ผู้โดยสารและลูกเรืออย่างน้อย 712 คนจากทั้งหมด 3,711 คนมีผลตรวจการติดเชื้อไวรัสเป็นบวก[24]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Advanced Masterdata for the Vessel Diamond Princess". VesselTracker. 2012. สืบค้นเมื่อ 24 April 2012.
  2. Peel, Charlie; Snowden, Angelica (6 February 2020). "Coronavirus: Cases double on Diamond Princess overnight, still in lockdown". The Australian. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  3. "Mitsubishi Heavy Industries Cruise Ship "Sapphire Princess" To Be Delivered to Princess Cruises" (Press release). Mitsubishi Heavy Industries. May 26, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 18, 2014 – โดยทาง the Japan Corporate News Network.
  4. "Air lubrication system". Seatrade-cruise. 14 August 2018. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
  5. "Princess Cruises Unveils 2015 Japan Cruise Program". Princess Cruises. 21 April 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-10. สืบค้นเมื่อ 2020-02-22.
  6. "Princess Cruises Debuts 2016-2017 Exotics Sailings". Princess Cruises. 8 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2016.
  7. Mark Elliott (2 December 2016). "Princess Cruises adds Kota Kinabalu to Asian season". Travel Asia Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2018.
  8. "Emerald Princess cruise ship to debut in Sydney: Another cruise giant to call Australia home". Traveller. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  9. "Cruise Search Results:Princess Cruises". www.princess.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2017.
  10. "Diamond Princess Cruises". www.seascanner.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2020.
  11. Kembrey, Melanie (2016-02-04). "More than 150 passengers and crew sick with gastro on board cruise ship". WA Today. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  12. Brown, Michelle (2016-02-04). "Cruise ship hit by norovirus gastroenteritis docks in Sydney". ABC News. Australian Broadcasting Corporation (ABC). สืบค้นเมื่อ 7 February 2016.
  13. "Updates on Diamond Princess". Princess. 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  14. "Coronavirus: Dozens more catch virus on quarantined cruise ship". BBC. 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  15. Peel, Charlie; Snowden, Angelica (6 February 2020). "Coronavirus: Cases double on Diamond Princess overnight, still in lockdown". The Australian. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  16. Yasharoff, Julia Thompson and Hannah. "Coronavirus cases on Diamond Princess soar past 500, site of most infections outside China". USA TODAY. สืบค้นเมื่อ 2020-02-18.
  17. "Number of Canadians on Diamond Princess testing positive for COVID-19 virus rises to 32 | The Star". thestar.com. สืบค้นเมื่อ 2020-02-18.
  18. Justin McCurry; Rebecca Ratcliffe, บ.ก. (2020-02-18). "British couple on Diamond Princess question positive coronavirus test". The Guardian. Bangkok. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-02-18.
  19. Daniel Allman; Hollie Silverman; Konstantin Toropin. "13 Americans moved to Omaha facility from evacuation flights, US officials say". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-02-18.
  20. Rachel Wong (18 February 2020). "Coronavirus: Hong Kong sends charter flights to bring stranded cruise ship passengers home". Hong Kong Free Press HKFP.
  21. Bill Chappell, บ.ก. (20 February 2020). "2 Diamond Princess passengers die after contracting COVID-19". NPR.
  22. Julia Thompson; Hannah Yasharoff, บ.ก. (18 February 2020). "Coronavirus cases on Diamond Princess soar past 500, site of most infections outside China". www.usatoday.com.
  23. "All crew members have left virus-hit ship in Japan: Minister". News24. Agence France-Presse. 1 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-02. สืบค้นเมื่อ 2020-03-04.
  24. "新型コロナウイルス感染症の現在の状況と厚生労働省の対応について(令和2年3月17日版)". Ministry of Health, Labour and Welfare (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้