ในวิทยุกระจายเสียง และการสื่อสารวิทยุ สัญญาณเรียกขาน (อังกฤษ: Call sign) หมายถึงชื่อเฉพาะที่กำหนดให้สำหรับสถานีส่ง ซึ่งในบางประเทศอาจใช้เป็นชื่อของสถานีที่ส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงด้วย สัญญาณเรียกขานนั้นจะถูกกำหนดโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ และกำหนดตามข้อบังคับวิทยุบัญญัติโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และใช้บังคับกับประเทศที่เป็นสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้กำหนดให้สถานีวิทยุดังต่อไปนี้ต้องมีสัญญาณเรียกขานระหว่างประเทศตามที่กำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

  1. สถานีวิทยุที่ให้บริการติดต่อสาธารณะระหว่างประเทศ
  2. สถานีวิทยุซึ่งอาจทำให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงเกินพื้นที่ของประเทศซึ่งสถานีนั้นตั้งอยู่
  3. สถานีวิทยุสมัครเล่น

วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

แก้

สำหรับสัญญาณเรียกขานของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์นั้น จะกำหนดเป็นชื่อเฉพาะสำหรับสถานี โดยในวิทยุกระจายเสียงจะใช้ข้อความธรรมดาที่แสดงถึงข้อมูลสถานีให้เป็นที่จดจำ ซึ่งจะไม่ใช้เป็นชื่อสากล ใช้เพียงในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยสัญญาณเรียกขานนั้นอาจจะมีการเหมือนหรือคล้ายคลึงกันในต่างเมือง หรือในประเทศอื่น[1]

ในกรณีของสถานีที่มีการออกอากาศและมีผลผูกพันตามกฎหมาย มักจะใช้สัญญาณเรียกขานที่อ้างอิงตามสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งสามาระบอกข้อมูลเบื้องต้นของสถานีได้จากสัญญาณเรียกขานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ[2][3][1] อาทิ สัญญาณเรียกขานในการออกอากาศวิทยุคลื่นสั้น[4]

วิทยุการบิน

แก้
 
อดีตเครื่องบินโดยสารของการบินไทย "ลพบุรี" มีสัญญาณเรียกขาน HS-TDH ติดอยู่บริเวณลำตัวและใต้ปีก

การบินพลเรือน

แก้

สัญญาณเรียกขานในระบบวิทยุการบิน จะแบ่งรหัสเป็น 2 ชุด[5] ชุดแรกระบุว่าเครื่องนั้นจดทะเบียนในประเทศไหน ชุดที่สองคือหมายเลขทะเบียนหรือรหัสของเครื่องบิน โดยระหว่างตัวเลขทั้งสองชุด ซึ่งสามารถประกอบได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข จะมีเครื่องหมายขีดคั่นตรงกลางหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งในการเรียกขานนั้นจะเรียกขานรวมกันจากรหัสทั้งสองชุด

การบินทหาร

แก้

สัญญาณเรียกขานของอากาศยานทหาร จะใช้เป็นรหัสตัวเลข หรือชื่อเรียกตามฝูงบินที่สังกัด ตามด้วยหมายเลขเครื่องภายในฝูงบิน นอกจากนี้ในนักบินเครื่องบินขับไล่อาจจะมีสัญญาณเรียกขานเป็นของตนเองก็ได้[6]

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขานอากาศยานทหาร

วิทยุการเดินเรือ

แก้

ในการเดินเรือ สัญญาณเรียกขานจะถูกใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสำนักงานควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเลของประเทศนั้น ๆ ผ่านทางคลื่นวิทยุสื่อสารย่าน VHF ซึ่งประเทศไทยกำกับดูแลโดยกรมเจ้าท่า โดยใช้อักษรขึ้นต้นตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ บางครั้งอาจพบเห็นการใช้ธงประมวลสากลในการแจ้งสัญญาณเรียกขานเรือของตนในเรือรบ

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขานประจำเรือพลเรือน

 
เรือหลวงนเรศวรมีสัญญาณเรียกขานว่า HSME[11]

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขานประจำเรือรบ

นอกจากนี้ยังมีการรายงานสภาพอากาศทางทะเลผ่านสถานีรายงานของแต่ละประเทศทั่วโลก ผ่านระบบ Radiofax หรือรู้จักกันในชื่อ HF fax เป็นการส่งสัญญาณภาพผ่านคลื่นความถี่วิทยุย่าน HF[12]

วิทยุสมัครเล่น

แก้

สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นนั้น ตามกฎข้อบังคับของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มาตรา 19 บทจำเพาะข้อที่ 19.68 และ 19.69[13] กำหนดให้ใช้คำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศไม่เกิน 2 ตัวอักษรแล้วตามด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละประเทศซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันและจะต้องผ่านการจัดสรรอย่างเป็นระบบ

ในบางประเทศ นักวิทยุสมัครเล่นสามารถที่จะเลือกที่จะกำหนดสัญญาณเรียกขานเฉพาะของตัวเองได้โดยต้องเป็นไปตามกฎหมายของท้องถิ่น[14] ซึ่งมีทั้งในรูปแบบที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในบางประเทศ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในบางประเทศเช่นกัน ซึ่งในสหรัฐอเมริกาในอดีตจะต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ภายหลังถูกยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558[15]

 
การออกอากาศของนักวิทยุสมัครเล่นในการแข่งขัน โดยมีป้ายสัญญาณเรียกขานวางอยู่บนเครื่องรับส่งวิทยุ

รูปแบบของสัญญาณเรียกขาน

แก้

รูปแบบของสัญญาณเรียกขานของกิจการวิทยุสมัครเล่นนั้น ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักด้วยกันคือ คำนำหน้า ตัวเลขแยก และส่วนต่อท้าย

  • ส่วนนำหน้า จะประกอบไปด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขจำนวนไม่เกิน 2 หลัก
  • ตัวเลขแยก ประกอบไปด้วยตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9
  • ส่วนต่อท้าย ประกอบไปด้วยทั้งตัวเลขและอักษร ไม่เกิน 4 หลัก ซึ่งปกติจะเป็นตัวอักษร

ตัวอย่างรูปแบบของสัญญาณเรียกขานในแต่ละประเทศ

สัญญาณเรียกขาน ส่วนนำหน้า (กำหนดโดย ITU) ตัวเลขแยก ส่วนต่อท้าย ประเภทรูปแบบ
K4X K 4 X รูปแบบ 1×1 กิจกรรมพิเศษแบบจำกัดเวลา (สหรัฐ)[16]
B2AA B 2 AA รูปแบบ 1×2 (จีน)
N2ASD N 2 ASD รูปแบบ 1×3 (สหรัฐอเมริกา)
A22A A2 2 A รูปแบบ 2×1 (บอตสวานา)
I20000X I 2 0000X รูปแบบ 1×5 กิจกรรมพิเศษ (อิตาลี)
4X4AAA 4X 4 AAA รูปแบบ 2×3 (อิสราเอล)
3DA0RS 3DA 0 RS รูปแบบ 3×2 (เอสวาตีนี)
E23FSY E2 3 FSY รูปแบบ 2×3 (ไทย)

ประเภทรูปแบบสัญญาณเรียกขาน

แก้

โดยทั่วไปแล้ว สัญญาณเรียกขานของวิทยุสมัครเล่นจะเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยกำหนดให้

  • P - คืออักษรนำหน้า มีทั้งอักษรตัวเดียว และสองตัว อาจจะเป็นหลักหนึ่งเป็นอักษรอีกหลักเป็นตัวเลข หรือเป็นอักษรทั้งสองตัว โดยเป็นไปตามที่ ITU กำหนด
  • N - คือตัวเลขหลักเดียว ที่แยกส่วนนำหน้าและส่วนต่อท้ายออกจากกัน (ใช้หมายเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9) และมักใช้ Ø สัญลักษณ์ศูนย์แบบตัดขวางแทนเลขศูนย์เพื่อแยกกับอักษรตัวโอ
  • S - คืออักษรต่อท้าย (ตัวอักษรหรือตัวเลข โดยอักษรตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร) โดยทั่วไปจะใช้ตัวอักษรในอักษรต่อท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับตัวเลขแยก

โดยประเภทรูปแบบมักจะเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้

PNS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 1×1
มักถูกกำหนดสำหรับการออกอากาศในกิจกรรมพิเศษ โดยอักษรตัวแรก และตัวสุดท้ายเป็นหลักเดียว ซึ่งคำนำหน้าสามารถใช้ได้เฉพาะอักษร B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W
PPNS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×1
คำนำหน้าอาจจะเป็น อักษร-อักษร อักษร-ตัวเลข หรือ ตัวเลข-อักษร
สำหรับสัญญาณเรียกขานที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลข 2 หลัก และอักษร จะเป็นรูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×1 เสมอ
สำหรับสัญญาณเรียกขานที่ประกอบไปด้วย อักษร-ตัวเลข-ตัวเลข-อักษร ถ้าตัวอักษรตัวแรกไม่ใช่ B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W จะเป็นรูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×1
PNSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 1×2
ในรูปแบบนี้ คำนำหน้าจะเป็นตัวอักษรเสมอ โดยส่วนต่อท้ายจะเป็นตัวอักษรเสมอเพื่อป้องกันการสับสนกับรูปแบบ 2×1
สำหรับสัญญาณเรียกขานที่ประกอบไปด้วย อักษร-ตัวเลข-ตัวเลข-อักษร ถ้าตัวอักษรตัวแรกเป็น B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W จะเป็นรูปแบบ 1×2
PNSSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 1×3
มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับรูปแบบ 1×2 เพื่อป้องกันความสับสนกับรูปแบบ 2×2
PPNSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×2
มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับรูปแบบ 2×1 เพื่อป้องกันความสับสนกับรูปแบบ 1×3
PPNSSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×3
เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการใช้งาน
PPNSSSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×4 หรือมากกว่านั้น
อักษรต่อท้าย 4 หลักหรืออาจจมากกว่า ถูกกำหนดโดยบางประเทศ เพื่อข้อกำหนดพิเศษ อาทิ สำหรับขั้นพิเศษของนักวิทยุ สำหรับกิจกรรมพิเศษ
PPPNSS หรือ PPPNSSS, 3×2, 3×3 ขึ้นไป
ถูกกำหนดขึ้นเมื่ออักษรนำหน้า 2 หลักไม่เพียงพอที่จะใช้กำหนดเป็นส่วนนำหน้าที่กำหนดให้ประเทศนั้น ๆ อาทิ ประเทศฟิจิ (3DN–3DZ) ประเทศเอสวาตีนี (3DA–3DM)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "AM FM TV Call-Signs". www.dxinfocentre.com.
  2. "Radio Thailand". nbt1.prd.go.th.
  3. "Radio Thailand WS". Radioth.net.
  4. "Shortwave Call-Signs". www.dxinfocentre.com.
  5. "[เด็กการบิน] จะรู้ได้ยังไงว่า เครื่องบินมาจากประเทศใด?". www.blockdit.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ""นักบิน F16"คนที่4 ที่ จะได้เป็น "ผบ.ทอ."". LLpch.news - LapLuangPrangChannel.com. 2021-09-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
  7. Flightradar24. "MM62303 Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Flightradar24. "734 Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Flightradar24. "16-20821 Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "เจาะขุมกำลัง 'เพื่อนปุ่น-ป็อป' ผงาดคุม 'กองทัพ'". Spacebar.
  11. "Ship RTN SHIP 421 (Military Ops) Registered in Thailand - Vessel details, Current position and Voyage information - IMO 0, MMSI 567015500, Call Sign HSME". MarineTraffic.com (ภาษาอังกฤษ).
  12. lui_gough (2019-01-27). "Radiofax: HSW64 (Weather Forecast Division, Thai Meteorological Department)". Gough's Tech Zone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. "ARTICLE 19 Identification of stations, Section III – Formation of call signs" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
  14. "Common Filing Task: Obtaining Vanity Call Sign". FCC.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-27. สืบค้นเมื่อ 2007-06-02.
  15. "Vanity Call Sign Fees". ARRL. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  16. "Amateur Call Sign Systems". Federal Communications Commission (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-28.