การรักษาด้วยออกซิเจน

การรักษาด้วยออกซิเจนหรือออกซิเจนเสริม เป็นการใช้ออกซิเจนเป็นการรักษาทางการแพทย์[1] ใช้ในกรณีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย ความเป็นพิษคาร์บอนมอนออกไซด์ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ และการรักษาออกซฺเจนให้เพียงพอระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกชนิดสูดดม[2] ออกซิเจนระยะยาวมักมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำเรื้อรัง เช่น จากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือซิสติกไฟโบรซิสรุนแรง[3][1] สามารถให้ออกซิเจนได้หลายวิธี เช่น หลอดคาจมูก หน้ากากครอบหน้า และในห้องความกดอากาศสูง[4][5]

การรักษาด้วยออกซิเจน
บุคคลกำลังสวมหน้ากากครอบหน้าแบบธรรมดา
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่ออื่นsupplemental oxygen, enriched air
AHFS/Drugs.comข้อมูลยาของ FDA สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
ช่องทางการรับยาสูดดม
ประเภทยาแก๊สทางการแพทย์
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
ChemSpider
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรO2
สารานุกรมเภสัชกรรม

ออกซิเจนจำเป็นสำหรับเมแทบอลิซึมของเซลล์ปกติ[6] ความเข้มข้นสูงเกินสามารถทำให้เกิดภาวะพิษออกซิเจน เช่น ปอดได้รับบาดเจ็บหรือส่งผลให้การหายใจล้มเหลวในผู้โน้มเอียงเกิดโรค[2][7] ความเข้มข้นของออกซิเจนที่สูงขึ้นยังเพิ่มความเสี่ยงอัคคีภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะสูบบุหรี่ และหากไม่ให้ความชื้นร่วมยังสามารถทำให้จมูกแห้ง[1] ความอิ่มตัวของออกซิเจนเป้าหมายที่แนะนำขึ้นอยู่กับภาวะที่กำลังรักษา[1] ในภาวะส่วนใหญ่ แนะนำให้ความอิ่มตัวอยู่ที่ 94-98% ขณะที่ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งแนะนำที่ 88-92% มากกว่า และในผู้ที่มีภาวะพิษคาร์บอนมอนออกไซด์หรือหัวใจหยุดให้ความอิ่มตัวออกซิเจนสูงสุดเท่าที่ทำได้[1] อากาศตรงแบบมีออกซิเจน 21% โดยปริมาตรขณะที่การรักษาด้วยออกซิเจนสามารถเพิ่มค่านี้ไปได้ถึง 100%[7]

การใช้ออกซิเจนในการแพทย์แพร่หลายหลังปี 1917[8][9] อยู่ในรายการยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก[10] ราคาของออกซิเจนที่บ้านอยู่ที่ประมาณ 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในประเทศบราซิลและ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในสหรัฐ[3] การให้ออกซิเจนที่บ้านสามารถให้ทางถังออกซิเจนหรือเครื่องผลิตออกซิเจน (oxygen concentrator) เชื่อว่าออกซิเจนเป็นการรักษาที่ให้บ่อยที่สุดในโรงพยาบาลในประเทศพัฒนาแล้ว[11][1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 British national formulary : BNF 69 (69 ed.). British Medical Association. 2015. pp. 217–218, 302. ISBN 9780857111562.
  2. 2.0 2.1 WHO Model Formulary 2008 (PDF). World Health Organization. 2009. p. 20. ISBN 9789241547659. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  3. 3.0 3.1 Jamison, Dean T.; Breman, Joel G.; Measham, Anthony R.; Alleyne, George; Claeson, Mariam; Evans, David B.; Jha, Prabhat; Mills, Anne; Musgrove, Philip (2006). Disease Control Priorities in Developing Countries (ภาษาอังกฤษ). World Bank Publications. p. 689. ISBN 9780821361801. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10.
  4. Macintosh, Michael; Moore, Tracey (1999). Caring for the Seriously Ill Patient 2E (ภาษาอังกฤษ) (2 ed.). CRC Press. p. 57. ISBN 9780340705827. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18.
  5. Dart, Richard C. (2004). Medical Toxicology (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. pp. 217–219. ISBN 9780781728454. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18.
  6. Peate, Ian; Wild, Karen; Nair, Muralitharan (2014). Nursing Practice: Knowledge and Care (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 572. ISBN 9781118481363. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18.
  7. 7.0 7.1 Martin, Lawrence (1997). Scuba Diving Explained: Questions and Answers on Physiology and Medical Aspects of Scuba Diving (ภาษาอังกฤษ). Lawrence Martin. p. H-1. ISBN 9780941332569. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18.
  8. Agasti, T. K. (2010). Textbook of Anesthesia for Postgraduates (ภาษาอังกฤษ). JP Medical Ltd. p. 398. ISBN 9789380704944. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10.
  9. Rushman, Geoffrey B.; Davies, N. J. H.; Atkinson, Richard Stuart (1996). A Short History of Anaesthesia: The First 150 Years (ภาษาอังกฤษ). Butterworth-Heinemann. p. 39. ISBN 9780750630665. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10.
  10. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  11. Wyatt, Jonathan P.; Illingworth, Robin N.; Graham, Colin A.; Hogg, Kerstin; Robertson, Colin; Clancy, Michael (2012). Oxford Handbook of Emergency Medicine (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. p. 95. ISBN 9780191016059. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18.