การล้างมือ (อังกฤษ: Hand washing) คือ การทำความสะอาดมือเพื่อกำจัดดิน สิ่งสกปรก และจุลินทรีย์

การล้างมือ
การแทรกแซง
การล้างมือด้วยสบู่ที่อ่างล้างจานในห้องครัว

การล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำในบางช่วงที่ "สำคัญ" ระหว่างวันป้องกันการแพร่โรคได้จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น อาการท้องร่วงและอหิวาตกโรค ซึ่งแพร่เชื้อผ่านทางอุจจาระ–ปาก ผู้คนยังสามารถติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ถ้าไม่ได้ล้างมือก่อนสัมผัสตา จมูก หรือปาก (ในกรณีนี้คือเยื่อบุเมือก) ห้าช่วงสำคัญระหว่างวันที่ควรล้างมือด้วยสบู่ ได้แก่ ก่อนและหลังถ่ายอุจจาระ หลังทำความสะอาดก้นเด็กหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนป้อนอาหารเด็ก ก่อนรับประทานอาหาร และก่อนและหลังเตรียมอาหารหรือจัดการกับเนื้อ ปลา หรือสัตว์ปีกดิบ[1] ถ้าใช้น้ำและสบู่ไม่ได้ สามารถใช้ขี้เถ้าในการล้างมือแทนได้[2]

อนามัยมือทางการแพทย์หมายถึงการปฏิบัติทางสุขศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนทางการแพทย์ การล้างมือก่อนการให้ยาหรือการดูแลทางการแพทย์สามารถป้องกันหรือลดอัตราการแพร่เชื้อโรคได้ จุดประสงค์ทางการแพทย์หลักของการล้างมือ คือ การทำความสะอาดมือจากจุลชีพก่อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส หรือจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่สามารถก่อโรคได้) และสารเคมีที่สามารถก่ออันตรายหรือโรค การล้างมือเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะยิ่งสำหรับผู้คนที่ต้องจัดการกับอาหารหรือทำงานเกี่ยวข้องกับการแพทย์ รวมถึงสาธารณชนทั่วไปด้วย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "UNICEF Malawi". www.unicef.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
  2. "The Hygiene Improvement Project (HIP) – Tippy-Tap: A simple low-cost technology for handwashing when water is scarce". USAID. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2015.