บ้านเลขที่ 111 เป็นคำศัพท์ทางการเมืองไทย ที่ใช้เรียกอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จำนวน 111 คน ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งกระทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

รายนามอดีตคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

แก้

มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย แก้

มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย
ประเภทองค์การนอกภาครัฐ
ก่อนหน้าพรรคไทยรักไทย
ก่อตั้ง1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551; 15 ปีก่อน (2551-05-01)
ผู้ก่อตั้งอดีตนักการเมืองสังกัดพรรคไทยรักไทย
ถัดไปพรรคเพื่อไทย
พรรคภูมิใจไทย (บางส่วน)
สำนักงานใหญ่,
บุคลากรหลัก
อดีตนักการเมือง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มบ้านเลขที่ 111 ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ เพื่อก่อตั้ง มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย [1]โดยมีวัตถุประสงค์ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตอบแทนแก่สังคมและประชาชน ที่เคยมอบความไว้วางใจแก่กลุ่มบุคคลดังกล่าว ให้ปฏิบัติภารกิจบริหารประเทศ ในฐานะรัฐมนตรี คณะที่ 54, 55 ของไทย และในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ชุดที่ 21, 22 ของไทย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549[ต้องการอ้างอิง]

คณะกรรมการมูลนิธิ แก้

คณะกรรมการในวาระเริ่มแรก แก้

การจัดการมูลนิธิในวาระเริ่มแรก มีคณะกรรมการดำเนินงาน 11 คน คือ[2]

คณะกรรมการดำเนินการ แก้

ตามความในเอกสาร ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ทะเบียนเลขที่ 1712

วัตถุประสงค์ แก้

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมโครงการตามรอยพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์
  2. ดําเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมและ สนับสนุนการศึกษา การกีฬา การสาธารณสุข การบรรเทาสาธารณภัย และอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ ต่อสังคมและส่วนรวม
  3. ศึกษา ค้นคว้า เสนอยุทธศาสตร์ กําหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนา ประเทศในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การต่งประเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
  4. ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือ ดําเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุนสาธารณประโยชน์ของเครือข่ายชุมชนและพัฒนาอย่างบูรณาการ ให้เกิดกระบวนการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง นําไปสู่ภราดรภาพและสังคมสมานฉันท์อันเป็นจุดหมายปลายทางของการพัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม และแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้ตามมาตรฐานสากล
  6. ไม่ดําเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ประการใด

กิจกรรม แก้

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 วิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขาธิการมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 ไทยรักไทย ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอรับเงินบริจาคจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีการเปิดครัว “รวมใจช่วยภัยน้ำท่วม” ในการปรุงอาการแจกจ่ายผู้ประสบภัยวันละไม่น้อยกว่า 1 พันห่อ โดยมีการแนบรูปภาพกิจกรรมช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิมาเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจของสภาด้วย โดยทางประธานสภาได้ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดหาและจัดส่งสิ่งของอุปโภคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มี ไพจิต ศรีวรขาน สส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เป็นประธานไปพิจารณา

24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฏรในขณะนั้น ได้ทำพิธีมอบเงินบริจาคจำนวน 5 แสนบาท ให้แก่วิชิต และมอบเงิน 1 แสนบาทให้ศูนย์พักพิงผู้ปะสบอุทกภัย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี[3]

24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ อดีต สส.แพร่ พร้อมด้วย สุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีต สส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย ได้ร่วมกันนำตู้ไฟนับถอยหลังการพ้นจากถูกตัดสิทธิ์ 5 ปีของสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ภายใต้ชื่อ “5 ปี วันนั้นถึงวันนี้ บ้านเลขที่ 111” ที่บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 โดยตู้ไฟมีภาพของสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ทั้งหมดเรียงตามลำดับอักษรพร้อมมีข้อความ จำนวน 7 วัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะถอยหลังไปเรื่อยๆจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พร้อมด้วยป้ายภาพสมาชิกบ้านเลขที่ 111

ทศพรกล่าวว่า เนื่องในโอกาสจะครบ 5 ปีที่สมาชิกบ้านเลขที่ 111 จะพ้นจากการถูกเว้นวรรคทางการเมือง ตนจึงได้คิดโครงการตั้งตู้ไฟดังกล่าวขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ที่สมาชิกพรรคไทยรักไทยถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองโดยไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการปฏิวัติรัฐประหาร อีกทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังพิพากษาในลักษณะรับลูกด้วย พวกตนยืนยันไม่คิดจะแก้แค้น และยินดีจะให้อภัย เพียงแต่ขอให้คนที่กระทำการรู้สึกผิดและสำนึกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง เพราะที่ผ่านประเทศชาติเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ตนขอฝากไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เรียนรู้บทเรียนที่เกิดขึ้น และไม่สนับสนุนการปฏิวัติรัฐประหารอีก ซึ่งหากทำได้ทหารก็คงไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมได้อีกต่อไป และขอเรียกร้องไปยังกองทัพไม่ควรทำการปฏิวัติรัฐประหารอีกต่อไป นอกจากนี้ตนจะนำตู้ไฟดังกล่าวไปตั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ และกองทัพบก เพื่อเตือนสติถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา[4]

บทบาททางการเมืองในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์ แก้

ในช่วงก่อน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 มีข่าวลือเรื่องการมีสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ร่วมจัดสรรผู้สมัคร สส. สัดส่วนของพรรค เมื่อผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์ สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ซึ่งก็ถูกกล่าวหาว่าเป็น นอมินี ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร แต่กลับมีเรื่องพิพาทกับผู้สื่อข่าว จนเกิดวาทกรรมต่อสื่อมวลชนว่า “เมื่อคืนเสพเมถุนมาหรือ”[5]

บทบาททางการเมืองหลังครบกำหนดโทษ แก้

หลังครบกำหนด สมาชิกพรรคส่วนใหญ่ได้เข้าสังกัด พรรคเพื่อไทย เพื่อเตรียมพร้อมในการลงสมัครเลือกตั้งปี พ.ศ. 2557 ส่วนหนึ่งย้ายไปเข้าสังกัด พรรคภูมิใจไทย โดย อนุทิน ชาญวีรกูล รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากบิดาของตน

อ้างอิง แก้

  1. มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้ารับการอบรม[ลิงก์เสีย] จากประชาไทเว็บบอร์ด
  2. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย”
  3. "แฉบ้านเลขที่ 111 ขอเงินสภา 5 แสนทำกิจกรรมช่วยน้ำท่วม ติดรูป "ทักษิณ" หรา". mgronline.com. 2011-11-24.
  4. "'111'ตั้งตู้ไฟเคาท์ดาวน์ปลดล็อคกลางสภา". komchadluek. 2012-05-24.
  5. "คำต่อคำ : "หมัก" โชว์ภาวะผู้นำ! ถูกสื่อซักลั่นคำ "เมื่อคืนเสพเมถุนมาหรือ"". mgronline.com. 2007-11-09.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้