ผู้ใช้:Panus234/ทดลองเขียน

การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎรตามมติของสภา[1] ในการเลือกประธานสภาและรองประธานสภานั้น สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ โดยการเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน[2] ให้ผู้ถูกเสนอชื่อกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุมภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยไม่มีการอภิปราย[3] ถ้าหากว่ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้าหากมีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ[4] เมื่อลงมติเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประธานประกาศชื่อผู้ใดรับเลือกต่อที่ประชุม[5] ในขณะที่การเลือกตั้งรองประธานให้ใช้วิธีการเดียวกับการเลือกตั้งประธาน[6] และให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์[7]

มิถุนายน พ.ศ. 2475 แก้

การเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นการเลือกตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสาบานตน จึงได้จัดให้มีการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร โดย สงวน ตุลารักษ์ เสนอชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี โดยมี พระยามานวราชเสวี เป็นผู้รับรอง ส่วน พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เสนอ พระยาพหลพลพยุหเสนา แต่พระยาพหลพลพยุหเสนาปฏิเสธ หลังจากนั้นพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์จึงเสนอ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา แต่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาปฏิเสธ สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร[8]

การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เอกฉันท์ 100
คณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนา (ถอนตัว)
อิสระ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ถอนตัว)

หลังจากเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ขึ้นบัลลังก์ดำเนินการประชุม และมีการเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดย พระยาศรีวิสารวาจา เสนอ พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี แต่พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดีปฏิเสธ หลังจากนั้นพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์จึงเสนอ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม แต่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมปฏิเสธ และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงเสนอ พระยาอินทรวิชิต สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้พระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร[9]

การเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ พระยาอินทรวิชิต เอกฉันท์ 100
อิสระ พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (ถอนตัว)
คณะราษฎร หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ถอนตัว)

กันยายน พ.ศ. 2475 แก้

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เสนาบดีกระทรวงธรรมการ จึงลาออกจากตำแหน่ง และ พระยาอินทรวิชิต รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปราชการที่ต่างประเทศ จึงลาออกเช่นเดียวกัน สภาผู้แทนราษฎรจึงประชุมในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2475 เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง โดย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เสนอ เจ้าพระยาพิชัยญาติ โดยมี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้รับรอง ในขณะที่ จรูญ สืบแสง เสนอ พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ โดยมี สงวน ตุลารักษ์ และ พระสุธรรมวินิจฉัย เป็นผู้รับรอง สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติด้วยวิธีการลับโดยการเขียนชื่อผู้ที่เห็นสมควรลงบนบัตรเลือกตั้ง[10]

การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่่ว่าง 2 กันยายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ เจ้าพระยาพิชัยญาติ 38 62.29
อิสระ พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ 20 32.79
อื่น ๆ 1 1.64
ผลรวม ุุ61 100
บัตรดี 61 100
บัตรเสีย
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2 3.28
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 61 87.14
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 70 100
อิสระ รักษาที่นั่ง

หลังจากเจ้าพระยาพิชัยญาติ ขึ้นบัลลังก์ดำเนินการประชุม และมีการเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เสนอ พระยาศรยุทธเสนี โดยมี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้รับรอง โดยได้รับการเสนอชื่อแต่เพียงผู้เดียว สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้พระยาศรยุทธเสนี เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร[11]

การเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่่ว่าง 2 กันยายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ พระยาศรยุทธเสนี เอกฉันท์ 100
อิสระ รักษาที่นั่ง

ธันวาคม 2476 แก้

หลังจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้ ได้มีการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 เป็นครั้งแรก โดยได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงตั้งสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรตามมติของสภาให้เป็นประธานแห่งสภาหนึ่งนาย เป็นรองประธานนายหนึ่งหรือหลายนายก็ได้[12]

อ้างอิง แก้

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 116
  2. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 6 วรรค 1
  3. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 6 วรรค
  4. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 6 วรรค 3
  5. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 6 วรรค 4
  6. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 7
  7. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 8 วรรค 1
  8. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
  9. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
  10. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2475
  11. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2475
  12. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม มาตรา 22