ชายแดนไทย–ลาว

ชายแดนระหว่างประเทศ

ชายแดนไทย–ลาว เป็นพรมแดนระหว่างประเทศระหว่างดินแดนไทยและลาว พรมแดนมีความยาวประมาณ 1,810 กิโลเมตร (1,120 ไมล์)[1] ถึง 1,845 กิโลเมตร (1,146 ไมล์)[2] โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง และลากจากสามเหลี่ยมทองคำติดกับพม่าทางตอนเหนือไปยังจุดสามเหลี่ยมมรกตติดกับกัมพูชาทางตอนใต้[2]

ชายแดนไทย–ลาว
แผนที่ของชายแดนไทย–ลาว
ข้อมูลจำเพาะ
พรมแดนระหว่าง ไทย ธงของประเทศลาว ลาว
ความยาว1,810–1,845 กิโลเมตร
ประวัติ
มีผลตั้งแต่3 ตุลาคม พ.ศ. 2436
วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
พรมแดนปัจจุบัน25 สิงหาคม พ.ศ. 2469
จัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขง
สนธิสัญญา • อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2446
 • ความตกลงสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2446
 • สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2449
 • อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2469

ความเป็นมา

แก้

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1860 ฝรั่งเศสเริ่มการใช้งานแผนที่ในภูมิภาคนี้ โดยเริ่มในกัมพูชาและเวียดนามสมัยใหม่ และอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430[3] อาณาจักรลาวเป็นรัฐสาขาของราชอาณาจักรสยาม (ชื่อเดิมของประเทศไทย) อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทั้งหมดทางตะวันออกของแม่น้ำโขงถูกผนวกเข้ากับอินโดจีนฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112[3][4][5] ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสได้ใช้กำลังทหารกดดันประเทศไทยด้วยการส่งกองกำลังจำนวน 1 กองพันไปยึดจันทบุรีด้วยข้ออ้างว่าป้องกันสยามไม่ทำตามข้อตกลง ซึ่งได้ลงนามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 สยามถูกบังคับให้ยกพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ครอบคลุมแขวงไชยบุรีสมัยใหม่และอีกครึ่งหนึ่งของแขวงจำปาสักทางตะวันตก[3][5] มีการสูญเสียที่ดินมากขึ้นในสนธิสัญญาอื่นในปี พ.ศ. 2447 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2449[3][5] เพื่อแลกเปลี่ยนจังหวัดตราด และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย รวมไปถึงอำนาจศาล กับเมืองเสียมราฐ ศรีโสภณ และพระตะบอง[1] อนุสัญญาในปี พ.ศ. 2469 ได้ขจัดปัญหาหลักเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเกาะเล็กเกาะน้อยในแม่น้ำโขง[3] หลังจากการรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศสของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2483 พื้นที่ที่ถูกยึดทางตะวันตกของแม่น้ำโขงและลาวตะวันตกเฉียงใต้ก็ถูกส่งกลับคืนสู่ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้ถูกยกเลิกหลังจากความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นและชายแดนก่อนสงครามถูกกลับมาบังคับใช้กลับคืนสู่สภาพเดิม[3]

ลาวได้รับเอกราชบางส่วนจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 และได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 จากนั้นเขตแดนก็กลายเป็นปัญหาระหว่างสองรัฐอธิปไตย ประเทศไทยอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่ยกให้แก่ลาวเป็นครั้งคราวในยุคอาณานิคม โดยมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นหลังจากชัยชนะของคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวในสงครามกลางเมืองลาวในปี พ.ศ. 2518[5] มีการลงนามสนธิสัญญามิตรภาพในปี พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2522 เพื่อพยายามยุติความตึงเครียดโดยทั้งสองฝ่าย และตระหนักถึงบูรณภาพแห่งดินแดนของอีกฝ่าย[5][6] อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2527 เหนือหมู่บ้านที่เป็นข้อพิพาทซึ่งอยู่ติดกับชายแดนในแขวงไชยบุรี/จังหวัดอุตรดิตถ์ และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2530-2531 ในพื้นที่ใกล้เคียง[5] คณะกรรมการร่วมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ อย่างไรก็ตาม การอภิปรายดำเนินไปตลอดทศวรรษ[5] คณะกรรมการเขตแดนร่วมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตาม งานของคณะกรรมการถูกระงับในปี พ.ศ. 2541 หลังเกิดวิกฤตการเงินในเอเชีย[5] ซึ่งปัจจุบันการปักปันเขตแดนแดนยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินอยู่[7][8] ทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งฝั่งประเทศไทยดำเนินการโดยกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ[9]

แนวพรมแดน

แก้

พรมแดนเริ่มต้นทางเหนือที่สามเหลี่ยมทองคำติดกับพม่าที่จุดบรรจบของน้ำแม่กกและแม่น้ำโขง ตามแม่น้ำโขงไปทางตะวันออกเฉียงใต้[3] จากนั้นแยกออกจากแม่น้ำและเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ไปตามสันเขาต่าง ๆ ลงสู่แม่น้ำเหือง จากนั้นจะไปตามแม่น้ำสายนี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำโขง จากนั้นยึดตามร่องน้ำลึกแม่น้ำโขงต่อไปซึ่งถือเป็นส่วนใหญ่ของความยาวพรมแดน จนกระทั่งถึงทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากเซ เส้นพรมแดนจะแยกออกจากแม่น้ำโขงแล้วไปต่อตามสันทิวเขาพนมดงรักไปทางใต้จนบรรจบสามเหลี่ยมมรกตติดกับกัมพูชา[3]

สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง

แก้

สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปักปันเขตแดนไทย–ลาว ประกอบไปด้วย[10]

  • อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1904)
  • ความตกลงสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1904)
  • สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1907) และพิธีสารแนบท้าย
  • อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)

เขตการปกครองที่ติดพรมแดน

แก้
หลักเขตแดนของลาวและไทย
 
หลักเขตแดนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวเมื่อปี พ.ศ. 2545
  ไทย   ลาว
ประเทศพม่า
  เชียงราย แขวงบ่อแก้ว
แขวงไชยบุรี
  น่าน
  เลย
แขวงบอลิคำไซ
  หนองคาย
นครหลวงเวียงจันทน์
  บึงกาฬ แขวงบอลิคำไซ
  นครพนม
แขวงคำม่วน
  อำนาจเจริญ แขวงสุวรรณเขต
  อุบลราชธานี
แขวงสาละวัน
แขวงจำปาศักดิ์
ประเทศกัมพูชา

จุดผ่านแดน

แก้

ข้อมูลเมื่อ ปี พ.ศ. 2563[11] มีจุดผ่านแดนถาวร 20 จุด และจุดผ่อนปรนการค้า 29 จุด[12][13]

จุดผ่านแดนถาวร

แก้
ลำดับ   ประเทศไทย   ประเทศลาว เวลาทำการ (น.) หมายเหตุ
ถนน จุดผ่านแดน ถนน จุดผ่านแดน
1   ทล.1020 จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงของ, อ.เชียงของ จ.เชียงราย ด่านสากลห้วยทราย, ห้วยทราย, แขวงบ่อแก้ว 08.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
และ   แพขนานยนต์[14]
2   ทล.1356 จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ–ห้วยทราย), อ.เชียงของ จ.เชียงราย   ท.3 ด่านสากลบ้านดอน, ห้วยทราย, แขวงบ่อแก้ว 06.00 - 22.00 จุดผ่านแดนทาง
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 4
3   ทล.1129 จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงแสน, อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ด่านท้องถิ่นต้นผึ้ง, ต้นผึ้ง, แขวงบ่อแก้ว 08.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
4   ทล.1290 จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ, อ.เชียงของ จ.เชียงราย ด่านสามเหลี่ยมทองคำ, ต้นผึ้ง, แขวงบ่อแก้ว 06.00 - 20.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
5   ทล.1093 จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก, อ.ภูซาง จ.พะเยา ด่านปางมอน, เชียงฮ่อน, แขวงไชยบุรี 06.00 - 18.00
6   ทล.101 จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น, อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ด่านสากลบ้านน้ำเงิน, เงิน, แขวงไชยบุรี 08.00 - 20.00
7   ทล.1268 จุดผ่านแดนถาวรภูดู่, อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ ด่านท้องถิ่นผาแก้ว, ปากลาย, แขวงไชยบุรี 06.00 - 20.00
8   ทล.2480 จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย - ลาว (บ้านนากระเซ็ง), อ.ท่าลี่ จ.เลย   ท.4 ด่านน้ำเหือง, แก่นท้าว, แขวงไชยบุรี 07.00 - 18.00 จุดผ่านแดนทาง
สะพานมิตรภาพน้ำเหือง
9 จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย, อ.ท่าลี่ จ.เลย ด่านท้องถิ่นแก่นท้าว, แก่นท้าว, แขวงไชยบุรี 08.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
10   ทล.211 จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงคาน, อ.เชียงคาน จ.เลย ด่านท้องถิ่นสานะคาม, สานะคาม, แขวงเวียงจันทน์ 08.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
11   ทล.211 จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่, อ.ปากชม จ.เลย ด่านท้องถิ่นบ้านวัง, สานะคาม, แขวงเวียงจันทน์ 08.00 - 16.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
12 ซ.หายโศก จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ, อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย ด่านท้องถิ่นท่าเดื่อ, หาดซายฟอง, นครหลวงเวียงจันทน์ 08.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
13     ถ.มิตรภาพ จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย–ลาว, อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย ด่านสากลมิตรภาพ (บ้านดงพูลี), หาดซายฟอง, นครหลวงเวียงจันทน์ 06.00 - 22.00 จุดผ่านแดนทางถนนและทางรถไฟ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
การให้บริการรถไฟระหว่างสถานีรถไฟหนองคาย–ท่านาแล้ง[15]
และสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์–เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)[16]
14   ทล.212 จุดผ่านแดนถาวรบึงกาฬ, อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ด่านสากลปากซัน, ปากซัน, แขวงบอลิคำไซ 08.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
และ   แพขนานยนต์[17]
15 ถ.สุนทรวิจิตร จุดผ่านแดนถาวรนครพนม, อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม ด่านท่าแขก, ท่าแขก, แขวงคำม่วน 06.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
16     ทล.295 จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม–คำม่วน), จ.นครพนม   ท.13 ด่านสากลมิตรภาพ 3, ท่าแขก, แขวงคำม่วน 06.00 - 22.00 จุดผ่านแดนทาง
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 3
17 จุดผ่านแดนถาวรมุกดาหาร, อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ด่านไซยะภูมิ, ไกสอนพมวิหาร, แขวงสุวรรณเขต 06.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
18     ทล.239 จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต), อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ด่านสากลมิตรภาพ 2, ไกสอนพมวิหาร, แขวงสุวรรณเขต 06.00 - 22.00 จุดผ่านแดนทาง
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 2
19 จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง, อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี ด่านท้องถิ่นบ้านปากตะพาน, ละคอนเพ็ง, แขวงสาละวัน 08.00 - 18.00   จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก
20 จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก, อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ด่านสากลวังเต่า, โพนทอง, แขวงจำปาศักดิ์ 06.00 - 20.00

จุดผ่อนปรนการค้า

แก้

การข้ามพรมแดนนี้เปิดให้เฉพาะการค้าข้ามพรมแดนในท้องถิ่นเท่านั้น มีจุดผ่อนปรนการค้าจำนวน 29 จุด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยรับรองอย่างเป็นทางการตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ การเข้าประเทศตรงข้ามนอกเหนือจากจุดตรวจเหล่านี้และตลาดอื่น ๆ ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

ลำดับ   ประเทศไทย   ประเทศลาว เวลาทำการ (น.)[18] หมายเหตุ
จังหวัด จุดผ่านแดน แขวง จุดผ่านแดน
1   เชียงราย จุดผ่อนปรนการค้าบ้านสวนดอก, อ.เชียงแสน บ่อแก้ว บ้านสีเมืองงาม, ต้นผึ้ง 08.00 - 18.00
2 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านแจมป๋อง, อ.เวียงแก่น บ้านด่าน, ห้วยทราย 08.00 - 18.00
3 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหาดบ้าย, อ.เชียงของ บ้านดอยแตง, ต้นผึ้ง 06.00 - 18.00
4 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านร่มโพธิ์ทอง, อ.เทิง ไชยบุรี บ้านปางไฮ, คอบ 08.00 - 18.00
5 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยลึก, อ.เวียงแก่น บ้านครกหลวง - บ้านปากตีน, ห้วยทราย 06.00 - 18.00
6   น่าน จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยสะแตง, อ.ทุ่งช้าง บ้านป่าหว้าน, เชียงฮ่อน 09.00 - 16.00 ทุกวันที่ 15, 30
ของทุกเดือน
ยกเว้นการ
รักษาพยาบาลฉุกเฉิน
เข้าออกได้ตลอดเวลา
7 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านใหม่ชายแดน, อ.สองแคว บ้านเตสอง, เชียงฮ่อน 08.00 - 16.00 ทุกวันที่ 5, 10, 15,
20, 25, 30 ของทุกเดือน
8 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยต่าง, อ.บ้านโคก บ้านขอนแก่น, บ่อแตน ทุกวันอังคารและพุธ
เวลากลางวัน
9   เลย จุดผ่อนปรนการค้าบ้านเหมืองแพร่, อ.นาแห้ว บ้านเหมืองแพร่, บ่อแตน 08.00 - 18.00 เฉพาะวันพระ
10 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านนาข่า, อ.ด่านซ้าย บ้านนาข่า, บ่อแตน 08.00 - 18.00 ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี
11 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านนากระเซ็ง, ท่าลี่ บ้านเมืองหมอ, แก่นท้าว 07.00 - 18.00 ทุก 1 ค่ำและ 9 ค่ำ
12 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองผือ, อ.ท่าลี่ บอลิคำไซ บ้านเมืองแก่นท้าว, แก่นท้าว 07.00 - 18.00 ทุก 3 ค่ำและ 8 ค่ำ
13 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านอาฮี, อ.ท่าลี่ บ้านนาแก่งม้า, แก่นท้าว 07.00 - 18.00 ทุก 7 ค่ำและ 15 ค่ำ
14   หนองคาย จุดผ่อนปรนการค้าบ้านเปงจาน, อ.รัตนวาปี บ้านทวย, ท่าพระบาท 08.00 - 18.00 ทุกวันอาทิตย์และพุธ
15 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านม่วง, อ.สังคม บ้านโคกแห่, สักทอง 08.00 - 16.00 ทุกวันพุธและเสาร์
16 จุดผ่อนปรนการค้าหมู่ 1 ตำบลจุมพล, อ.โพนพิสัย นครหลวงเวียงจันทน์ บ้านโดนใต้, ปากงึม 08.00 - 16.00 ทุกวันอังคารและเสาร์
17 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหม้อ, อ.ศรีเชียงใหม่ บ้านด่านดำ, สีโคดตะบอง 08.00 - 17.00 ทุกวันอังคารและเสาร์
18   บึงกาฬ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านบุ่งคล้า, อ.บุ่งคล้า บอลิคำไซ บ้านปากกระดิ่ง, ปากกระดิ่ง 08.00 - 18.00 ทุกวันอังคารและศุกร์
19 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยคาด, ต.ปากคาด บ้านทวย, ท่าพระบาท 08.00 - 16.00 ทุกวันจันทร์และพฤหัสบดี
20   นครพนม จุดผ่อนปรนการค้าหนาดท่า, อ.เมืองนครพนม บ้านปากเป่ง, ท่าแขก 08.00 - 14.00 ทุกวันอังคารและพุธ
21 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านดอนแพง, อ.บ้านแพง บ้านบุ่งกวาง, ปากกระดิ่ง 09.00 - 16.00
09.00 - 13.00
ทุกวันจันทร์
ทุกวันอังคาร, พุธ, ศุกร์
22 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านธาตุพนมสามัคคี, อ.ธาตุพนม คำม่วน
สุวรรณเขต
บ้านด่าน, หนองบก
บ้านปากเซบั้งไฟ, ปากกระดิ่ง
07.00 - 14.00 ทุกวันจันทร์
และพฤหัสบดี
23 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านท่าอุเทน, อ.ท่าอุเทน คำม่วน บ้านหินบูน, หินบูน 08.00 - 16.00 น. เปิดทุกวันจันท
ร์และพฤหัสบดี
24   อำนาจเจริญ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านยักษ์คุ, อ.ชานุมาน สุวรรณเขต บ้านเหล่ามะหูด, ไซพูทอง 06.00 - 18.00 เปิดทุกวันพุธ
และอาทิตย์
25   อุบลราชธานี จุดผ่อนปรนการค้าหน้าที่ว่าการอำเภอเขมราฐ, อ.เขมราฐ บ้านนาปากซัน, สองคอน 08.00 - 15.00 เปิดทุกวันจันทร์ถึงศุกร์
26 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านสองคอน, อ.โพธิ์ไทร สาละวัน บ้านหนองแสง, ละครเพ็ง 09.00 - 15.00 เปิดทุกวันพฤหัสบดี
27 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านคันท่าเกวียน, อ.โขงเจียม บ้านคันทุงไซ, คงเซโดน
28 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านด่านเก่า, อ.โขงเจียม จำปาศักดิ์ บ้านสิงสัมพัน, ชะนะสมบูน 09.00 - 15.00 เปิดทุกวันพฤหัสบดี, เสาร์
29 จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองแสง (ช่องตาอู), อ.บุณฑริก บ้านเหียง, สุขุมา 08.00 - 15.00 เปิดทุกวันจันทร์, พุธ, ศุกร์
 
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". www.saranukromthai.or.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "Laos". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "International Boundary Study No. 20 – Laos – Thailand Boundary" (PDF). US Department of State. 18 September 1962. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
  4. Stuart-Fox, Martin (1997). A History of Laos. Cambridge University Press. pp. 24–25. ISBN 0-521-59746-3.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 St John, Ronald Bruce. "The Land Boundaries of Indochina: Cambodia, Laos and Vietnam" (PDF). International Boundaries Research Unit, Department of Geography, University of Durham. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  6. Brown, MacAlister, and Joseph J. Zasloff. "Relations with Thailand". Laos: a country study (Andrea Matles Savada, ed). Library of Congress Federal Research Division (July 1994)
  7. "More than 200 markers installed along Laos-Thailand border". UTCC. 22 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
  8. "Laos, Thailand move forward with border demarcation". The Nation. 26 January 2015. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
  9. พุทซาคำ, สุวิชา (2021-07-15). "เจาะลึกภารกิจงานด้านเขตแดนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง 'แม่น้ำโขง' พรมแดนไทย-ลาว". The Cloud.
  10. "ข้อมูลเขตแดน". กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (ภาษาอังกฤษ).
  11. สถานการณ์การค้าชายแดนระหว่างไทยและ สปป.ลาว ในปัจจุบัน (PDF). กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. 2563.
  12. "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน". Foreign Affairs Division Office, Office of the Permanent Secretary, Ministry of the Interior.
  13. "ດ່ານຊາຍແດນລະຫວ່າງ ສປປ ລາວ - ຣາຊະອານາຈກັ ໄທ" (PDF).
  14. เชียงใหม่นิวส์ (2020-02-19). "บนเส้นทางเศรษฐกิจพิเศษ จากเชียงของสู่เมืองลาว". Chiang Mai News.
  15. "รถไฟข้ามโขง "หนองคาย-ท่านาแล้ง" เพียง 20 บาท ทางเลือกข้ามแดน "ไทย-ลาว" สะดวก ประหยัด". mgronline.com. 2023-03-06.
  16. "ทดสอบรถไฟกรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ เริ่มบริการ 19 ก.ค.นี้". Thai PBS.
  17. "แพขนานยนต์ขนส่งสินค้าผ่านพรมแดนบึงกาฬ-ปากซัน ขึ้นค่าบริการ". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-06-07.
  18. จุดผ่านแดนบริเวณชายแดนไทย - ลาว (PDF). กระทรวงมหาดไทย. 2557.