นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่ควบคุมและบริหารกิจการของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่โดยตรง คือ[1]

  • กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
  • สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  • รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติและกฎหมายอื่น ๆ

โดยตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะมีวาระทั้งหมด 4 ปี หากมีการสิ้นสุดก่อนครบวาระ เช่น ลาออก, เสียชีวิต, ถูกศาลสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจะดำรงตำแหน่งไปจนกว่าจะครบวาระ 4 ปี ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร เมื่อสภาครบวาระหรือยุบสภา วาระของสมาชิกจะสิ้นสุดลง

รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในปัจจุบัน

แก้
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในปัจจุบัน
จังหวัด รูปภาพ ชื่อ สังกัด วาระ หมายเหตุ
กระบี่   สมศักดิ์ กิตติธรกุล กลุ่มรักษ์กระบี่ ตั้งแต่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2540[2][a]
(27 ปี 162 วัน)
กาญจนบุรี   นายแพทย์ ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ กลุ่มพลังกาญจน์ ตั้งแต่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 152 วัน)
กาฬสินธุ์   เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565
(2 ปี 221 วัน)
กำแพงเพชร   สุนทร รัตนากร กลุ่มกำแพงเพชรสามัคคี ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555
(12 ปี 363 วัน)
ขอนแก่น   วัฒนา ช่างเหลา กลุ่มศิลาพัฒนา ตั้งแต่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
(140 วัน)
จันทบุรี   ธนภณ กิจกาญจน์ ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543
(25 ปี 81 วัน)
ฉะเชิงเทรา   กลยุทธ ฉายแสง กลุ่มรวมใจพัฒนา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
ชลบุรี   วิทยา คุณปลื้ม กลุ่มเรารักชลบุรี ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551
(17 ปี 8 วัน)
ชัยนาท   จิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(231 วัน)
ชัยภูมิ   สุรีวรรณ นาคาศัย ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(224 วัน)
ชุมพร   นพพร อุสิทธิ์ กลุ่มพลังชุมพร ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
เชียงราย   อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
เชียงใหม่   พิชัย เลิศพงศ์อดิศร พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ตรัง   บุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ กลุ่มนายกบุ่นเล้ง ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ตราด   วิเชียร ทรัพย์เจริญ กลุ่มลูกเมืองตราด ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
ตาก   อัจฉรา ทวีเกื้อกูลกิจ กลุ่มพัฒนาตาก ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567
(98 วัน)
นครนายก   นิดา ขยายงาม ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
นครปฐม   จิรวัฒน์ สะสมทรัพย์ กลุ่มชาวบ้าน ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
นครพนม   อนุชิต หงษาดี พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
นครราชสีมา   ยลดา หวังศุภกิจโกศล พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
นครศรีธรรมราช   วาริน ชิณวงศ์ กลุ่มนครเข้มแข็ง ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
(119 วัน)
นครสวรรค์   พลตำรวจเอก สมศักดิ์ จันทะพิงค์ กลุ่มนครสวรรค์บ้านเรา ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
นนทบุรี   พันตำรวจเอก ธงชัย เย็นประเสริฐ กลุ่มผึ้งหลวง ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
นราธิวาส   กูเซ็ง ยาวอะหะซัน ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
น่าน   นพรัตน์ ถาวงศ์ พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
บึงกาฬ   แว่นฟ้า ทองศรี กลุ่มนครนาคา ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
บุรีรัมย์   ภูษิต เล็กอุดากร กลุ่มฅนบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ปทุมธานี   พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง กลุ่มคนรักปทุม ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ประจวบคีรีขันธ์   สราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ปราจีนบุรี   ณภาภัช อัญชสาณิชมน พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
ปัตตานี   เศรษฐ์ อัลยุฟรี ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
พระนครศรีอยุธยา   สมทรง พันธ์เจริญวรกุล ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
พะเยา   ธวัช สุทธวงค์ พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(231 วัน)
พังงา   บำรุง ปิยนามวาณิช กลุ่มรักษ์พังงาพัฒนาพังงา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
พัทลุง   วิสุทธิ์ ธรรมเพชร กลุ่มพลังพัทลุง ตั้งแต่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555
(12 ปี 293 วัน)
พิจิตร   กฤษฏ์ เพ็ญสุภา กลุ่มบ้านสีเขียว ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
พิษณุโลก   มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ กลุ่มพลังพิษณุโลก ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
เพชรบุรี   ชัยยะ อังกินันทน์ กลุ่มรวมใจเพชร ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
เพชรบูรณ์   อัครเดช ทองใจสด ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
แพร่   อนุวัธ วงศ์วรรณ พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(17 ปี 104 วัน)
ภูเก็ต   เรวัต อารีรอบ กลุ่มภูเก็ตหยัดได้ ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
มหาสารคาม   พลพัฒน์ จรัสเสถียร พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
มุกดาหาร   วีระพงษ์ ทองผา ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
แม่ฮ่องสอน   อัครเดช วันไชยธนวงศ์ กลุ่มดีต่อเนื่อง ตั้งแต่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(18 ปี 89 วัน)
ยโสธร   วิเชียร สมวงศ์ พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ยะลา   มุขตาร์ มะทา กลุ่มยะลาพัฒนา ตั้งแต่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(16 ปี 281 วัน)
ร้อยเอ็ด   เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565
(2 ปี 179 วัน)
ระนอง   สีหราช สรรพกุล กลุ่มระนองก้าวหน้า ตั้งแต่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567
(168 วัน)
ระยอง   ปิยะ ปิตุเตชะ ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
(17 ปี 251 วัน)
ราชบุรี   วิวัฒน์ นิติกาญจนา กลุ่มพัฒนาราชบุรี ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ลพบุรี   อรพิน จิระพันธุ์วาณิช กลุ่มรักลพบุรี ตั้งแต่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(13 ปี 228 วัน)
ลำปาง   ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
ลำพูน   วีระเดช ภู่พิสิฐ พรรคประชาชน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
เลย   ชัยธวัช เนียมศิริ กลุ่มพัฒนา ตั้งแต่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567
(357 วัน)
ศรีสะเกษ   วิชิต ไตรสรณกุล กลุ่มฅนท้องถิ่น ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543
(25 ปี 81 วัน)
สกลนคร   นฤมล สัพโส พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
สงขลา   สุพิศ พิทักษ์ธรรม กลุ่มสงขลาพลังใหม่ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
สตูล   สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ กลุ่มสตูลสันติธรรม ตั้งแต่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(15 ปี 224 วัน)
สมุทรปราการ   สุนทร ปานแสงทอง กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
สมุทรสงคราม   เจษฎา ญาณประภาศิริ กลุ่มคนของประชาชน
คนสมุทรสงคราม
ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
สมุทรสาคร   อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ กลุ่มคนทำงาน ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
สระแก้ว   ฐานิสร์ เทียนทอง ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 362 วัน)
สระบุรี   สัญญา บุญ-หลง ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
สิงห์บุรี   ศุภวัฒน์ เทียนถาวร ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
สุโขทัย   มนู พุกประเสริฐ พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)
สุพรรณบุรี   อุดม โปร่งฟ้า พรรคชาติไทยพัฒนา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
สุราษฎร์ธานี   โสภา กาญจนะ กลุ่มพลังสุราษฎร์ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
สุรินทร์   ธัญพร มุ่งเจริญพร ผู้สมัครอิสระ ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
(120 วัน)
หนองคาย   วุฒิไกร ช่างเหล็ก พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
หนองบัวลำภู   ศรัณยา สุวรรณพรหม กลุ่มหนองบัวคุณธรรม ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
อ่างทอง   สุรเชษ นิ่มกุล กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
อำนาจเจริญ   พนัส พันธุ์วรรณ กลุ่มภูมิใจไทอำนาจ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
(50 วัน)
อุดรธานี   ศราวุธ เพชรพนมพร พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
(119 วัน)
อุตรดิตถ์   ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา กลุ่มรักอุตรดิตถ์บ้านเรา ตั้งแต่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(12 ปี 258 วัน)
อุทัยธานี   เผด็จ นุ้ยปรี กลุ่มคุณธรรม ตั้งแต่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547
(21 ปี 8 วัน)
อุบลราชธานี   กานต์ กัลป์ตินันท์ พรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 93 วัน)

โดยสรุปแล้ว มีนายก อบจ. ที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง มีดังนี้

พรรคการเมือง สังกัดของนายก อบจ.
ในนามพรรค มีความเกี่ยวข้องกับพรรค รวมทั้งสิ้น
พรรคเพื่อไทย 17 9 26
พรรคภูมิใจไทย 21 21
พรรคพลังประชารัฐ 8 8
พรรคประชาธิปัตย์ 7 7
พรรครวมไทยสร้างชาติ 5 5
พรรคกล้าธรรม 3 3
พรรคประชาชาติ 3 3
พรรคชาติไทยพัฒนา 1 1 2
พรรคประชาชน 1 1
นักการเมืองอิสระ -
ว่าง -
รวมทั้งสิ้น 76

เชิงอรรถ

แก้
  1. อ้างอิงโดยนับวันที่บังคับใช้พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

เกร็ดข้อมูล

แก้
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพศชายที่อายุมากที่สุด คือ สุนทร วิลาวัลย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี โดยมีอายุ 85 ปีในวันที่ครบวาระ[3]
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพศหญิงที่อายุมากที่สุด คือ สมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีอายุ 77 ปี
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพศชายที่อายุน้อยที่สุด คือ สีหราช สรรพกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง โดยอายุนับจากวันที่ได้รับตำแหน่ง คือ 37 ปี[4]
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพศหญิงที่อายุน้อยที่สุด คือ ศุภพานี โพธิ์สุ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม โดยอายุนับจากวันที่ได้รับตำแหน่ง คือ 36 ปี[5]
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ สมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ โดยเริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งรวมทั้งสิ้น 27 ปี[6]
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน คือ พันตำรวจเอก ชวลิต ชิดชอบ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่การเลือกตั้งโดยประชาชนครั้งแรก คือ

(หมายเหตุ: นับเฉพาะบุคคลที่ยังดำรงตำแหน่งเท่านั้น)

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "รู้จัก "นายก อบจ." มีหน้าที่อะไร ? | Thai PBS NOW". Thai PBS. 2024-07-01.
  2. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
  3. "สุนทร วิลาวัลย์ ประวัติ "โกทร" นายก อบจ.ปราจีนบุรี บ้านใหญ่ และพ่อของอดีตรัฐมนตรี". www.sanook.com/news. 2024-12-12.
  4. k, adisorn. "'ผู้ใหญ่แบงค์' ว่าที่นายกอบจ.อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ขอบคุณชาวระนอง หลังมอบคะแนนให้เข้ามาพัฒนาจังหวัด". เดลินิวส์.
  5. "ทำความรู้จัก ลูกสาวครูแก้ว "น้องขวัญ" ว่าที่ผู้สมัคร นายก อบจ.นครพนม". mgronline.com. 2020-08-03.
  6. "สมศักดิ์ (โกหงวน) กิตติธรกุล นายก อบจ.กระบี่ 7 สมัย คนแรกและคนเดียว / รายงานพิเศษ – มงคล วัชรางค์กุล". matichonweekly.com. 2021-01-19.